บ้านไม้หลังเล็ก แบบไทยในอ้อมกอดธรรมชาติ

บ้านไม้หลังเล็ก รูปแบบเรียบง่ายสำหรับเป็นที่พักผ่อนอันเงียบสงบ มีบ่อน้ำอยู่หน้าบ้าน สร้างตามแนวคิดของบ้านเรือนไทยสมัยก่อนที่แยกส่วนใช้สอยออกเป็นเรือนแต่ละหลัง ซึ่งแต่ละเรือนจะมีขนาดพอประมาณ เชื่อมต่อกันด้วยชานไม้ที่มีระดับสูงต่ำต่างกัน ภายในเรือนทุกหลังสามารถเปิดโล่งได้ และมีร่มไม้แผ่คลุมให้ความร่มเย็น บ้านไม้หลังเล็ก ที่สร้างโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นบ้านพักผ่อนที่เงียบสงบ เพราะปกติเจ้าของบ้านมีวิถีชีวิตประจำวันรวมถึงหน้าที่การงานอยู่ในกรุงเทพฯ จึงมุ่งหวังที่จะสร้างบ้านไว้ปลีกวิเวกแต่ลำพังเพียงผู้เดียว ที่ดินผืนนี้อยู่ในจังหวัดปริมณฑล แต่ด้วยสภาพแวดล้อมและบรรยากาศของบ้านกลับทำให้รู้สึกเหมือนอยู่ต่างจังหวัด ที่ดินขนาด 2 ไร่กว่านี้ เจ้าของบ้านเพียรค้นหามาหลายแห่งเพียงเพราะต้องการที่ดินริมน้ำหรือติดแม่น้ำ โดยก่อนหน้านี้เคยไปดูที่ดินริมแม่น้ำนครชัยศรี แต่ก็ยังไม่ถูกใจ จนในที่สุดเจ้าของบ้านได้เห็นแผ่นพับขายที่ดินจัดสรรแห่งหนึ่ง ซึ่งภาพตามที่โครงการร่างไว้นั้นดูสวยงามตรงกับความต้องการพอดี เพราะมีหนองน้ำอยู่หน้าบ้าน เจ้าของบ้านจึงตกลงใจซื้อตั้งแต่ยังไม่เห็นที่ดิน ทว่าก่อนที่จะสร้างบ้านก็จำเป็นต้องไปดูสถานที่จริง แต่สิ่งที่เห็นกลับทำให้ตะลึง เพราะที่ดินนั้นเป็นที่นาธรรมดา ไม่มีหนองน้ำดังภาพร่าง ภายหลังจึงได้รับคำอธิบายจากโครงการว่า ที่ดินทุกแปลงจะมีการขุดดินสร้างเป็นบ่อน้ำหรือหนองน้ำดังในภาพ ด้วยเหตุผลที่น่าสนใจคือ เพื่อนำน้ำในบ่อมาใช้รดน้ำต้นไม้ในช่วงหน้าแล้ง ซึ่งถูกใจเจ้าของบ้านยิ่งนัก เพราะตั้งใจจะปลูกต้นไม้ให้เป็นป่าอยู่แล้ว ความตั้งใจอีกประการคือ เจ้าของบ้านต้องการสร้าง บ้านไม้หลังเล็ก  รูปแบบเรียบง่ายไว้เป็นที่พักผ่อนที่สงบเงียบ ซึ่งตอนแรกเจ้าของบ้านยังไม่ทราบว่าจะเริ่มต้นอย่างไรดี จนกระทั่งได้คุยกับกับเพื่อนที่มีสามีเป็นสถาปนิกชื่อดัง แต่ไม่กล้าขอให้สถาปนิกท่านนี้ออกแบบให้ เพราะงานที่เขาทำล้วนเป็นงานของลูกค้าระดับเศรษฐี ทว่าพอทราบเรื่องเขากลับรับทำบ้านหลังนี้ให้โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย เนื่องจากเห็นว่าเจ้าของบ้านทำงานเพื่อสังคมมามากแล้ว ทำให้เจ้าของบ้านรู้สึกปลื้มใจและขอบคุณสถาปนิกท่านนี้มาก จุดเริ่มต้นของ บ้านไม้หลังเล็ก นี้อยู่ที่หลังคาไม้ที่เจ้าของบ้านได้มาก่อนส่วนอื่น ๆ ส่วนตัวบ้านซื้อจากร้านขายเก่า ซึ่งทราบแต่เพียงว่าเป็นโรงเรียนเก่าที่เขารื้อถอนเพื่อสร้างตึกขึ้นแทน ลักษณะบ้านเป็นไปตามแนวคิดของบ้านเรือนไทยสมัยก่อน คือแยกส่วนใช้สอยออกเป็นเรือนแต่ละหลัง โดยมีการก่อสร้างเป็นสองช่วง ช่วงแรกเป็นการก่อสร้างเรือนกลุ่มใหญ่ก่อน […]

บ้านเรือนหมู่แบบไทยที่สร้างจากดินและไม้

บ้านดินหลังงามที่มีกลิ่นอายแบบไทยโมเดิร์น มีสนามหลังบ้านให้ออกไปเดินเล่นผ่อนคลายอิริยาบถ สัมผัสกับวิวทุ่งนาได้สุดสายตา โดยในความเป็นไทยของบ้านนี้คือการมีองค์ประกอบแบบไทย ๆ เช่น หลังคาและวัสดุต่าง ๆ ส่วนโมเดิร์นคือการเน้นใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อช่วยให้บ้านอยู่สบายขึ้นในบริบทแบบไทย แม้ว่า “เชียงใหม่” จะเปลี่ยนแปลงไปหลาย ๆ ด้านด้วยปัจจัยทางเศรษฐกิจและวิถีการดำเนินชีวิต แต่ถึงอย่างไรก็ยังคงมีเสน่ห์ ในแบบเฉพาะตัวซึ่งไม่มีใครลอกเลียนได้ จึงเป็นเหตุผลที่ไม่ว่าจะผ่านไปนานเท่าไร ที่นี่ก็ยังคงได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว ไม่เสื่อมคลาย รวมไปถึงการเป็นจุดหมายของการมาพักอาศัยสร้างบ้านที่อบอุ่นสำหรับครอบครัวท่ามกลางธรรมชาติบริสุทธิ์ ซึ่งตอบโจทย์ทั้งความเรียบง่าย เงียบสงบ ห่างไกลจากเมืองที่พลุกพล่าน แต่ไม่ทิ้งความสะดวกสบายไปเสียทีเดียว จากองค์ประกอบที่ครบถ้วนนี้ ทำให้ คุณพอล วัลเลอร์  และ คุณธัญชนก สุวรรณชัย ตัดสินใจเลือกอำเภอหางดง ซึ่งห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่เพียง 30 นาทีเพื่อสร้างบ้านหลังงามที่มีกลิ่นอายแบบไทยโมเดิร์น มีสนามหลังบ้านให้ออกไปเดินเล่นผ่อนคลายอิริยาบถ สัมผัสกับวิวทุ่งนาได้สุดสายตา โดยในความเป็นไทยของบ้านนี้คือการมีองค์ประกอบแบบไทย ๆ เช่น หลังคาและ วัสดุต่าง ๆ ส่วนโมเดิร์นคือการเน้นใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อช่วยให้บ้านอยู่สบายขึ้นในบริบทแบบไทย มี คุณมาร์คูส โรเซลีบ สถาปนิกจากบริษัท Chiangmai Life Architects (CLA) ซึ่งเชี่ยวชาญด้านการนำวัสดุธรรมชาติมาออกแบบและสร้างงานสถาปัตยกรรมได้อย่างมีเอกลักษณ์ มาช่วยดูแลตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ จนกระทั่งการก่อสร้างแล้วเสร็จ […]

THAI HOUSE VIBE จำลองบรรยากาศบ้านไม้ไทย โซนพักผ่อนใหม่ใน THE BARISTRO ASIAN STYLE

หลังจาก The Baristro, Asian Style จังหวัดเชียงใหม่ ได้รับเสียงตอบรับจากลูกค้าเป็นอย่างดี จนทำให้ต้องออกแบบโซนพักผ่อนนั่งเล่นเพิ่มเติมต่อจาก Speed Bar และ Slow Bar จนกลายเป็นพื้นที่เฟสใหม่ภายใต้ธีม Thai house vibe DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: pommballstudio ด้วยการจำลองบรรยากาศบ้านไทย เพื่อสร้างความรู้สึกสบายเป็นกันเอง โดยไม่ละทิ้งโจทย์เด่นของการออกแบบ อย่างการสอดแทรกวัฒนธรรมสไตล์เอเชียที่ทุกคนคุ้นเคย เพราะต้องการให้ลูกค้าที่มาเยี่ยมเยือนเกิดความรู้สึกประทับใจ และมีประสบการณ์ร่วมไปพร้อมกัน ครั้งนี้ pommballstudio ได้ออกแบบเฟสใหม่ให้เป็นอาคารไม้ชั้นเดียว กับการออกแบบที่ไม่ซับซ้อนได้มู้ดแบบบ้านไทย โดยจำลองบรรยากาศเหมือนเดินขึ้นมาบนบ้าน สิ่งแรกที่จะพบเห็นคือ “เติ๋น” หรือชานบ้าน (ภาษาท้องถิ่นภาคเหนือ) ซึ่งทำการจัดวางเบาะนั่งนุ่ม ๆ พร้อมหมอนอิงทรงสามเหลี่ยม ให้ลูกค้าได้นั่งผ่อนคลายอิริยบถ เหมือนมาพักผ่อนอยู่บนบ้านจริง ๆ ก่อนนำสู่ด้านในที่ออกแบบมุมด้านหนึ่งให้ยกพื้นสูง วางที่นั่งสไตล์ญี่ปุ่น และเบาะนั่งแบบไทย ซึ่งเป็นสองวัฒนธรรมที่นิยมการนั่งพื้นเหมือนกัน เหมาะกับคนที่ต้องการนั่งพักแบบสบาย ๆ ทั้งยังมีโซนที่นั่งแบบเก้าอี้ให้นั่งห้อยขา แล้วแต่ลูกค้าจะเลือกตามอัธยาศรัย  นอกจากฟังก์ชันการใช้งานที่เรียบง่ายแล้ว การออกแบบของที่นี่ยังคงมีแนวคิดเชื่อมโยงกับกลิ่นอายความเป็นธรรมชาติ ผ่านการเลือกใช้วัสดุธรรมชาติอย่าง ไม้ ซึ่งเป็นไม้เก่าหาได้ง่ายทั้งจากจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน […]

บ้านกับ “กาล”เปลี่ยนแปลง ผ่านมุมมองของ 8 กูรู แห่งวงการบ้านและการออกแบบ

นิตยสารบ้านและสวนเริ่มต้นขึ้นมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2519 ด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจของคุณชูเกียรติ อุทกะพันธุ์ เพื่อเป็นสื่อกลางในการให้ความรู้ความเข้าใจพร้อมคำ แนะนำดีๆ แก่คนรักบ้าน และนำ ไปปรับใช้สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เป็นเจตนารมณ์ครั้งแรกที่ทำ ให้เกิดการรวบรวมทีมสถาปนิกและมัณฑนากรมาช่วยกันเขียนหนังสือบอกเล่าไอเดียดีๆ และช่วยเป็นเพื่อนที่ปรึกษาแก้ปัญหาต่างๆ ของบ้าน โดยสิ่งเหล่านี้ได้ถูกส่งผ่านทีมกองบรรณาธิการจากรุ่นสู่รุ่นมาตลอด 45 ปีเต็ม การออกแบบบ้านในประเทศไทย ตลอดการนำเสนอบ้านสวยผ่านหน้านิตยสารทำ ให้เราได้เห็นวิวัฒนาการของการออกแบบบ้านที่เหล่าสถาปนิกและเจ้าของบ้านพยายามสร้างสรรค์และผสมผสานฟังก์ชัน ความงาม และรสนิยม ซึ่งมักได้รับอิทธิพลจากเรื่องราวเหตุการณ์และประวัติศาสตร์ในช่วงยุคสมัยนั้นๆ เข้าไปด้วยเสมอ การได้หันไปมองอดีต ทำให้เข้าใจถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้ดีขึ้น และแน่นอนว่าจะเป็นแนวทางของการพัฒนาไปสู่อนาคตด้วยเช่นกัน ครั้งนี้เราจึงมีบทสัมภาษณ์จาก 8 บุคคลในแวดวงของบ้านและการออกแบบ มาช่วยบอกเล่าถึง การออกแบบบ้านในประเทศไทย และมุมมองของบ้านกับ“กาล” เปลี่ยนแปลงที่ผ่านเวลาจากอดีต ผสมผสานมาสู่รูปแบบของบ้านในปัจจุบัน พร้อมคำแนะนำไปถึงการเตรียมปรับปรุงบ้านเพื่อวิถีชีวิตในอนาคตอันใกล้นี้ให้เราได้นำแนวทางไปใช้กัน บ้านกับการเปลี่ยนแปลงในช่วง 45 ปี ผมเชื่อว่าการอยู่อาศัยของมนุษย์จะเปลี่ยนทุก 10 ปี เจเนอเรชั่นของคนจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ คนจะเริ่มมีลูกอีกรอบหนึ่ง แล้วตัวเองก็จะประสบความสำเร็จอีกแบบหนึ่ง หรือพ่อแม่ประสบความสำ เร็จแล้วตัวเองต่อยอดขึ้นมาหรือในช่วงอายุของรุ่นผมคุณพ่อคุณแม่จะเหนื่อย แล้วเราก็ต่อสู้ประสบความสำเร็จด้วยตัวเอง สิ่งนี้ส่งผลต่อการใช้สอยในพื้นที่อยู่อาศัยค่อนข้างเยอะนึกย้อนสมัยตัวเองเป็นเด็ก เรื่องรายละเอียดของการอยู่อาศัยมันมินิมัลลิสต์มาก ในเชิงที่ต้องดูแลสิ่งแวดล้อม การต้องระวังขโมยขโจร การต้องระวังเรื่องโรคระบาด หรือความกังวลเรื่องความปลอดภัย บางคนเกิดมาในห้องแถวติดถนนใหญ่ ไม่เห็นมีใครบ่นว่าลูกจะวิ่งออกมาโดนรถชน (หัวเราะ) […]

บ้านไม้ริมคลอง ที่อยู่ร่วมกับธรรมชาติมาร่วมร้อยปี

บ้านไม้ริมคลอง ที่ประกอบด้วยบ้านไม้สักสีธรรมชาติฉลุลายแบบขนมปังขิงหนึ่งหลัง ส่วนอีกหลังเป็นบ้านไม้สไตล์โคโลเนียลทาสีเขียวอ่อน ซึ่งผ่านกาลเวลามาได้เกือบร้อยปี

บ้านกลางสวน ที่เปิดมุมมองรับธรรมชาติรอบตัว

บ้านกลางสวน สบายๆ แบบรีสอร์ตที่เปิดโล่ง แบ่งโซนนิ่งของบ้านด้วยคอร์ตยาร์ดสองคอร์ตโดยเน้นปลูกต้นไม้ใหญ่ให้ความร่มรื่น พร้อมช่องเปิดเพื่อเชื่อมมุมมองธรรมชาติ

30 วัสดุก่อสร้าง – ตกแต่งบ้านต้องรู้จัก

ใครที่กำลังสร้างบ้านหรือปรับปรุงบ้านใหม่ วันนี้เราได้รวบรวม วัสดุก่อสร้าง และวัสดุตกแต่งบ้านที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นวัสดุก่อ – ฉาบผนัง วัสดุปูพื้น กรุผนัง จนถึงวัสดุหลังคา พร้อมบอกคุณสมบัติ ขนาด และราคาเบื้องต้น รักชอบแบบใด เลือกมาใช้งานกันได้ตามสะดวก วัสดุก่อสร้าง วัสดุก่อ – ฉาบผนัง 1.อิฐมอญ – อิฐดินเผา วัสดุพื้นฐานสำหรับการก่อสร้างและตกแต่งอาคาร ผลิตจากดินเหนียว ทราย แกลบ และน้ำ ผสมกัน สำหรับอิฐพิเศษอื่นๆ จะผสมสารหรือวัสดุพิเศษเพิ่มเพื่อการใช้งานเฉพาะด้าน ขนาด : มีหลายขนาด ขึ้นอยู่กับรูปแบบและแหล่งผลิต มีทั้งประเภทก้อนตันและมีรูตรงกลาง เช่น ขนาด 6.5 x 14 x 4 เซนติเมตร 9 x 19 x 6.5 เซนติเมตร ราคา : ตารางเมตรละ 450 บาท (รวมค่าวัสดุก่อฉาบ) […]

Domestic Loom รีดีไซน์กี่ทอผ้าสู่การพัฒนาหัตถกรรมผ้าทอ

ในขณะเราพยายามนำพางานหัตถกรรมดั้งเดิมให้ก้าวไปข้างหน้าพร้อมกับโลกที่หมุนไปอย่างรวดเร็ว แต่นอกเหนือไปจากการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ที่ตอบโจทย์ยุคสมัย ทั้งแหล่งที่มาของวัตถุดิบ และกระบวนการเบื้องหลังงานฝีมือก็เป็นเรื่องที่ไม่อาจมองข้าม และยังคงต้องการการพัฒนาไม่แพ้กัน Domestic Loom คือกี่ทอผ้าดีไซน์ใหม่ ที่ชวนให้เราหันกลับมามองต้นทางของงานหัตถกรรมสิ่งทออีกครั้ง Domestic Loom กี่ทอผ้าฝีมือการออกแบบของ คุณพิบูลย์ อมรจิรพร สถาปนิกและนักออกแบบจาก Plural Designs ถือเป็นตัวแทนบอกเล่าความเป็นไปได้ใหม่ในการ “รีดีไซน์” เครื่องไม้เครื่องมือเบื้องหลังงานหัตถกรรมสิ่งทอ ให้ตอบโจทย์ยุคสมัย และสอดคล้องกับวิถีชีวิตของช่างผีมือยุคใหม่ได้ดียิ่งขึ้น จุดเริ่มต้นของโปรเจ็คต์นี้มาจากประสบการณ์ของคุณพิบูลย์ ที่ได้มีโอกาสเดินทางพบปะ ทำงานร่วมกับช่างทอ และนักออกแบบสิ่งทอในหลากหลายชุมชนหัตถกรรม ซึ่งเมื่อมองในภาพรวมจะพบว่าเครื่องมือหลักของช่างทอทั่วประเทศ ล้วนเป็นกี่ไม้เรียบง่าย ที่ผลิตขึ้นใช้เองในท้องถิ่น และแน่นอนว่าคนทอไม่ได้เป็นผู้สร้าง และคนสร้างไม่เคยได้ลองใช้ทอ คุณพิบูลย์: “ในชุมชนช่างทอ เราจะเห็นกี่ทำจากโครงไม้เป็นส่วนใหญ่ คล้ายกันแทบทุกหมู่บ้าน อาจเป็นเพราะทำง่าย ใช้วัสดุในท้องถิ่นได้เลย แต่ก็ยังไม่เห็นกี่ที่มีการพัฒนาให้ดูสวยขึ้น ช่วยให้นั่งใช้งานได้สบายขึ้น กี่แบบดั้งเดิมมีเสา 4 ด้าน ดูเกะกะ มักใช้งานไม่สะดวกสำหรับช่างทอผู้เฒ่าผู้แก่ จริง ๆ ผมเคยคิดไว้นานแล้ว แต่ยังไม่เคยมีโอกาสได้ลองทำ คราวนี้ได้คุยกับอาจารย์นุสรา เตียงเกตุ ที่ศูนย์การเรียนรู้การทอผ้า บ้านไร่ใจสุข จังหวัดเชียงใหม่ อาจารย์ก็บอกให้ลองทำดู เพราะส่วนใหญ่ช่างทอกับช่างทำกี่ […]

บ้านไม้ไทย เปิดโปร่ง ใต้ถุนโล่ง

บ้านไม้ไทย ริมน้ำที่จังหวัดลำพูนหลังนี้ดูลึกลับเมื่อซ่อนอยู่ใต้ร่มไม้ใหญ่ใบหนา จนแทบมองไม่เห็นในครั้งแรก แต่เมื่อก้าวผ่านประตูใหญ่ด้านหน้าเข้าไป จึงรู้สึกได้ถึงความสดชื่นร่มเย็นของบ้านซึ่งแทรกตัวอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ สร้างความอบอุ่นสบายใจแก่ผู้มาเยือนได้ทันที เจ้าของ – ตกแต่ง : คุณสาธิต กาลวันตวานิช สถาปัตยกรรม : อาจารย์จุลพร นันทพานิช เจ้าของ บ้านไม้ไทย หลังนี้คือ คุณสาธิต กาลวันตวานิช CreativeDirector ของ Propaganda บริษัทออกแบบผลิตภัณฑ์และของแต่งบ้านซึ่งเป็นที่รู้จักและนิยมทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น ผลงานชุด Mr. P และผู้กำกับภาพยนตร์โฆษณาแห่ง Phenomena เขาเริ่มต้นเล่าว่า “ที่ดินเดิมมีขนาดประมาณครึ่งไร่ ภายหลังผมซื้อเพิ่มเติมและมีที่งอกตรงชายตลิ่งบ้าง ปัจจุบันจึงกลายเป็นเกือบหนึ่งไร่ต้นไม้เดิมมีแค่ลำไยแก่ๆ 6 ต้น หลายปีก่อนตอนปลูกบ้านต้องตัดทิ้งไป 2 ต้น เพื่อการใช้พื้นที่ได้สะดวกขึ้น หลังจากนั้นก็หาไม้พื้นบ้านและไม้ผลมาปลูกโดยได้รับคำแนะนำจาก อาจารย์จุลพร นันทพานิช สถาปนิกและอาจารย์สอนที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเน้นการสอนแนวทางส่งเสริมสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นและสถาปัตยกรรมแบบยั่งยืน ท่านบอกว่า ให้ลงไม้ที่เกิดจากเมล็ดและเป็นไม้พื้นบ้านซึ่งเหมาะกับระดับทะเลในพื้นที่ รวมทั้งไม่ให้ถมดิน เพราะดินเดิมเป็นดินชายน้ำที่อุดมสมบูรณ์ เต็มไปด้วยตะกอนของหน้าดินที่พัดมา ซึ่งเป็นประโยชน์กับพืชปรากฏว่า แค่ปีเดียวต้นไม้โตท่วมศีรษะ สองปีสูงเกินสะพานที่เชื่อมตัวบ้านกับศาลาชายน้ำ สามปีก็แผ่กิ่งคลุมตัวบ้านและศาลา […]

บ้านล้านนาประยุกต์ในอ้อมกอดธรรมชาติ

บ้านฝรั่งหัวใจไทยที่หลงใหลในมนตร์เสน่ห์เมืองล้านนา ออกแบบบ้านโดยอิงกับงานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น บนทำเลที่ตั้งอยู่กลางหุบเขาซึ่งแวดล้อมด้วยทุ่งนา เจ้าของบ้านจึงทำระเบียงไว้รอบบ้านเพื่อให้ไม่ว่าจะอยู่ตรงไหนของบ้านก็ขอให้ได้เห็นวิวอันงดงามราวกับสวรรค์สร้างนี้ทุกเวลา เจ้าของ : คุณจอห์น มาร์ และคุณณัฐนันท์ พัศดุธาร ออกแบบ : คุณจอห์น มาร์ บ้านล้านนาประยุกต์ ผมเชื่อว่าใครก็ตามที่ได้มาเห็นความอ่อนช้อยของศิลปวัฒนธรรมไทยผสานกับภูมิประเทศที่งดงามของบ้านหลังนี้จะรู้สึกหลงใหลในมนตร์เสน่ห์แห่งความเรียบง่ายนี้ และผมก็คิดว่า คุณจอห์น มาร์ เจ้าของบ้านชาวอังกฤษผู้นี้คงรู้สึกเช่นเดียวกัน ทว่าเขาไม่เพียงชื่นชอบศิลปวัฒนธรรมล้านนาเท่านั้น แต่ยังตกหลุมรักแม่หญิงเชียงใหม่ คุณณัฐนันท์ พัศดุธาร กระทั่งตัดสินใจใช้ชีวิตอยู่ที่ประเทศไทย คุณจอห์นเริ่มบทสนทนาว่า  “ผมทำธุรกิจเกี่ยวกับนำเข้าและส่งออกเฟอร์นิเจอร์อยู่ที่อังกฤษ ทำให้ต้องเดินทางไปดูสินค้าตามประเทศต่างๆเป็นประจำ เมื่อประมาณ 10 ปีก่อนได้มาเที่ยวเชียงใหม่ตามคำชักชวนของเพื่อนชาวไทยซึ่งเป็นพี่ชายของภรรยา พอได้มาสัมผัสวิถีชีวิตความเป็นอยู่และงานศิลปะของชาวล้านนาก็เกิดความชื่นชอบจนถึงขั้นหลงใหล เลยตัดสินใจซื้อที่ดินเพื่อปลูกบ้านที่เชียงใหม่ ครั้งหนึ่งภรรยาพาไปเที่ยวคุ้มเจ้าบุรีรัตน์(น้อยมหาอินทร์)ในตัวเมืองเชียงใหม่ ผมรู้สึกชอบรูปทรงของตัวอาคาร จึงนำมาเป็นไอเดียในการทำบ้าน โดยทำเป็นเรือนหลักสำหรับพักอาศัยเองเพียงเรือนเดียว ไหนๆก็อยู่กันแค่สองคน มีแค่ห้องนอนกับห้องรับแขกอย่างละห้องก็พอ เนื่องจากทำเลของบ้านตั้งอยู่กลางหุบเขาที่แวดล้อมด้วยทุ่งนา ผมคิดว่าไม่ว่าจะนั่งอยู่ตรงไหนของบ้านก็ขอให้ได้เห็นวิว จึงทำระเบียงเสียรอบบ้านเลย” คุณณัฐนันท์เสริมว่า  “คุณจอห์นชอบธรรมชาติมากแต่เป็นฝรั่งขี้หนาว เปิดแอร์เปิดพัดลมไม่ได้เลย บ้านหลังนี้จึงไม่ได้ติดแอร์ แต่มีประตูอยู่รอบบ้านแทน ที่สำคัญคืออยากให้บ้านดูกลมกลืนกับธรรมชาติให้มากที่สุด ชั้นล่างของบ้านจึงทำเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ส่วนชั้นบนเป็นไม้ ส่วนเรือนรับรองที่สร้างแยกไปอีกหลังก็เกิดจากแนวคิดที่ว่าเวลามีญาติหรือเพื่อนฝูงมาจะไปพักที่โรงแรมก็ไม่สะดวก จึงทำไว้เพื่อความเป็นส่วนตัวของทั้งเราและแขกด้วย โดยเรือนรับรองได้แนวคิดมาจากเรือนไทยที่วังสวนผักกาด ลักษณะเป็นบ้านไทยในอยุธยา ใช้โทนสีดำ […]

เรือนขนมปังขิง…อิงทะเล

บ้านขนมปังขิงสีขาวที่เจ้าของต้องการให้เป็นบ้านพักตากอากาศริมชายทะเลสไตล์ยุโรป ลักษณะเป็นทาวน์เฮ้าส์สองชั้นที่ตั้งอยู่ริมทะเลบางปู ภายในเน้นตกแต่งในสไตล์คลาสสิกอ่อนหวาน ให้ความรู้สึกอบอุ่นน่าพักผ่อน  ตกแต่ง : บริษัทแฟนตาเซีย วิลล่า จำกัด โดยคุณอรมัทน์ เธียรปรีชา โทรศัพท์ 08-1694-2156  / เจ้าของ : คุณกาลติกา-คุณทวีชัย ชวาลภาฤทธิ์ บ้านขนมปังขิง ความฝันของหลายๆครอบครัวคือการได้มีบ้านตากอากาศหลังเล็กๆอยู่ริมทะเล นอนฟังเสียงซัดสาดเข้าหาฝั่งกันเพลินๆ พร้อมสูดโอโซนริมให้เต็มปอดในวันพักผ่อนของครอบครัว เหล่านี้เป็นแรงบันดาลใจให้ครอบครัวของ คุณกาลติกา – คุณทวีชัย ชวาลภาฤทธิ์ เลือกมองหาทำเลริมทะเลบางปูซึ่งอยู่ไม่ไกลจากเมืองมากนัก ทั้งนี้ก็เพื่อให้สามารถเดินทางมาพักผ่อนได้สะดวกและประหยัดเวลาเดินทาง  “แม้ทะเลบางปูจะไม่ได้มีหาดทรายสวยๆ  แต่เราก็ชอบเพราะเดินทางสะดวก  อีกทั้งยังได้วิวติดทะเลด้วย  เดิมบ้านหลังนี้เป็นทาวน์เฮ้าส์สองชั้น เหมือนหมู่บ้านทั่วไป แต่ต้องการสร้างบรรยากาศให้ดูเหมือนบ้านพักตากอากาศริมชายทะเลสไตล์ ยุโรป  จึงเลือกตกแต่งบ้านเป็นเรือนทรงขนมปังขิง ซึ่งเราโชคดีที่ได้รู้จักกับ คุณอรมัทน์  เธียรปรีชา ดีไซเนอร์ที่เราเห็นผลงานออกแบบบ้านสไตล์ยุโรป ในโครงการแฟนตาเซียววิลล่า เราจึงติดต่อใหมาเติมแต่งบ้านทาวน์เฮ้าส์ริมทะเลหลังนี้ให้กลายเป็นบ้านพักตากอากาศในฝันของครอบครัว”  บ้านขนมปังขิง หลังนี้ตั้งอยู่บนพื้นที่ 100 ตารางวา ห้องหัวมุมอยู่ริมสุด ด้านข้างติดป่าชายเลนจึงเงียบสงบและเป็นส่วนตัว อีกทั้งยังได้พื้นที่สวน มากกว่าบ้านหลังอื่นๆ ด้านหน้าออกแบบให้เป็นสวนสไตล์คันทรี โดยตั้งใจให้มีอารมณ์เหมือนสวนดอกไม้ในธรรมชาติตามแบบสวนสไตล์ยุโรป ซึ่งมักนิยมปลูกไม้ดอกรวมๆ กันแบบไม่เป็นระเบียบนัก เพื่อให้เกิดองค์ประกอบของดอกไม้สีสันต่างๆ ผสมผสานกัน นอกจากนี้ยังได เพิ่มศาลาไม้สีขาวโปร่งกลางสวนไว้นั่งเล่นชมวิวทะเลแบบเต็มสายตา ภายนอกตกแต่งด้วยไม้สังเคราะห์ตีซ้อนเกล็ดแล้วทาสีขาวทั้งหลัง ตกแต่งราวระเบียงด้วยเสาปูนหล่อ ส่วนชายคารอบบ้านและหน้าจั่วตกแต่งด้วยงานไม้ฉลุลวดลายอ่อนช้อยกลายเป็นเรือนขนมปังขิงในพริบตา สำหรับการตกแต่งภายในก็ไม่ได้เป็นรองจากภายนอก ชั้นล่างเป็นห้องโถงรวมเปิดโล่งถึงกันจึงดูกว้างขึ้น เลือกใช้ผ้าลายดอกสีแดงบนพื้นขาวมาตกแต่งพื้นที่ต่างๆ ในมุมรับแขก ทั้งเฟอร์นิเจอร์และผ้าม่านให้อารมณ์ผู้หญิงดูอ่อนหวาน นอกจากยังได้ประดับแสงไฟจากโคมข้างเตาผิงจำลองเพิ่มความรู้สึกอบอุ่นน่านั่งพักผ่อน ถัดเข้าไปเป็นมุมรับประทานอาหารและครัวแบบเปิดโล่งรับวิวสวนหลังบ้าน  พื้นที่ผนังรอบๆ เพ้นต์ลายเถาองุ่นสีหวานสร้างบรรยากาศให้เหมือนรับประทานอาหารอยู่กลางสวน โถงบันไดทางเดินขึ้นชั้นสองตกแต่งใหม่ด้วยลายวอลล์เปเปอร์และราวบันไดไม้ฉลุสไตล์อเมริกันวิกตอเรีย เมื่อขึ้นมาแล้วจะพบกับห้องนอนใหญ่ 2 ห้องที่มองเห็นวิวทะเลตกแต่งด้วยโทนสีฟ้าเพื่อให้เข้ากับบรรยากาศริมทะเล ฝ้าเพดานเปิดโล่งให้ห้องดูสูงโปร่ง มีระเบียงเล็กสามารถออกไปนั่งเล่นชมวิวแบบพานอรามาได้ ส่วนห้องนอนด้านหลังก็สามารถเปิดหน้าต่างเพื่อชมวิวป่าชายเลนสีเขียวชอุ่มได้  ด้านตกแต่งโทนสีครีมส้มได้บรรยากาศร่มรื่นไปอีกแบบ จากการสัมภาษณ์ทำให้เราได้ทราบแนวคิดของเจ้าของบ้านและดีไซเนอร์  ซึ่งต่างก็ทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี จึงไม่แปลกใจเลยที่บ้านหลังนี้มีสวยงามลงตัวไปทุกจุด […]

บ้านในสถาปัตยกรรม โมเดิร์นทรอปิคัล ริมน้ำแม่กลอง

ครอบครัวอารยอสนี เติบโตและประกอบธุรกิจที่อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม มายาวนาน จึงตั้งใจจะสร้างบ้านหลังใหม่ในพื้นที่ที่ตนเองและครอบครัวมีความผูกพันมาตลอด กระทั่งได้ที่ดินผืนงามติดกับคุ้งน้ำ ซึ่งเป็นจุดบรรจบกันของแม่น้ำสายสำคัญ 2 สาย อันเป็นเส้นทางหลักที่นักท่องเที่ยวมักนั่งเรือโดยสารไปทำบุญ 9 วัด และชมหิ่งห้อยยามค่ำคืน  ด้วยศักยภาพของทำเลที่ตั้งดังกล่าว  จึงเป็นโจทย์ท้าทายให้สถาปนิกจาก D minus plus B ต้องออกแบบบ้านหลังใหม่สไตล์ โมเดิร์นทรอปิคัล ที่โดดเด่น หรือเป็นภาพจำให้แก่ผู้คนที่สัญจรผ่านไปมา ราวกับเป็นอีกหนึ่งแลนด์มาร์กที่จะถูกกล่าวถึงในอัมพวา พร้อมๆ กับตอบโจทย์การอยู่อาศัยในทุกแง่มุม เนื่องจากบ้านหลังนี้ทางครอบครัวอารยอสนีตั้งใจจะให้เป็นบ้านที่อยู่ประจำ พื้นที่ใช้สอยจึงมีขนาดใหญ่ถึง 1,500 ตารางเมตร โดยใช้เวลาออกแบบและก่อสร้างนานถึง 3 ปี จึงแล้วเสร็จ ทั้งนี้ทางเจ้าของบ้านได้เปิดโอกาสให้สถาปนิกเสนอไอเดียได้อย่างเต็มที่ เพียงแค่ขอให้บ้านอยู่แล้วรู้สึกโปร่งโล่งในสไตล์ โมเดิร์นทรอปิคัล สามารถรับวิวและธรรมชาติอันเต็มไปด้วยเสน่ห์ของอัมพวาได้อย่างเต็มที่ เมื่อได้โจทย์เบื้องต้นมาแล้ว สถาปนิกจึงเริ่มกำหนดตำแหน่งพื้นที่ใช้สอย และขนาดห้องต่าง ๆ ไปพร้อมกับการออกแบบสถาปัตยกรรมภายนอกไปพร้อมกัน ส่วนพื้นที่ใช้สอยถูกแบ่งอย่างชัดเจนด้วยกำแพงขนาดใหญ่บริเวณทางเข้าหลักของบ้าน นอกจากจะสร้างเพื่อความเป็นส่วนตัวจากสายตาคนภายนอก ไม่ให้มองเข้ามาเห็นพื้นที่ส่วนตัวในบ้านแล้ว ยังใช้กำแพงหินนี้ช่วยสร้างมุมมองที่เรียกว่า Surprise Space ก่อนเปิดเข้าไปพบกับโถงทางเดินที่สามารถมองทะลุไปยังแม่น้ำแม่กลองได้ โดยสถาปนิกได้วางตำแหน่งของพื้นที่ใช้สอยไว้ทั้งสองฝั่งโถงทางเดินที่มีลักษณะเป็นพื้นที่กึ่งภายนอกอาคาร ฝั่งซ้ายเป็นห้องนอนแขก ห้องเกม และสระว่ายน้ำขนาดใหญ่ เพื่อสร้างความรู้สึกว่าแม่น้ำและบ้านได้ถูกเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน […]

บ้านปูน ที่มีความเป็นพื้นถิ่นไทยร่วมสมัย

คําว่า “บ้านไทยพื้นถิ่น” เป็นสิ่งที่หลายคนคงจะนึกภาพตามได้ไม่ยาก แต่ บ้านปูน สไตล์โมเดิร์นหลังนี้ที่จังหวัดอ่างทองสามารถคลี่คลายนิยามของคําว่า “บ้านไทยพื้นถิ่นร่วมสมัย” ได้อย่างลงตัวและสวยงาม เพราะเป็นบ้านที่มีเอกลักษณ์แบบโมเดิร์น แต่ไม่ทิ้งภูมิปัญญาเดิม และมีความเข้าใจสภาพภูมิอากาศของไทย ชานบ้านเป็นพื้นที่โปรดของครอบครัว ทั้งใช้นั่งเล่น รับแขก วันหยุดก็นั่งอ่านหนังสือชมวิวสวนจากตรงนี้ บ้านหลังนี้ยัง เปิดรับลมรับแดดที่เป็นความสบายแบบชนบทอยู่ เพราะคําว่าพื้นถิ่นไม่จําาเป็นว่าจะต้องกลับไปใช้ไม้เป็นวัสดุหลัก หลังคาต้องมุงจาก หรือทําาลวดลายแบบไทยดั้งเดิม แม้ว่าสิ่งเหล่านั้นจะมีความสําคัญในเชิงวัฒนธรรม แต่สิ่งที่สําคัญกว่าก็คือพื้นฐานของการอยู่อาศัยร่วมกับธรรมชาติ ซึ่ง บ้านปูน หลังนี้คือตัวอย่างของการทําความเข้าใจในบริบทพื้นถิ่นและวิถีการอยู่อาศัยที่เหมาะสม “เราชอบของเราแบบนี้ อยากให้บ้านมีเอกลักษณ์ เพราะที่นี่เป็นต่างจังหวัด อยากให้คนขับรถผ่าน แล้วก็รู้ว่านี่ แหละบ้านคุณพยอม” คุณพยอม อัคควุฒิ เจ้าของบ้าน เอ่ยตอบเราอย่างอารมณ์ดีเมื่อถามว่าทํา ไมผู้ใหญ่วัยใกล้เกษียณถึงทํา บ้านปูน ที่ดูทันสมัยได้เช่นนี้ แนวคิด บ้านปูน ผสมความเป็นชนบท “ผู้ออกแบบมาคุยกับเราและอธิบายส่วนต่างๆ ของบ้าน จริงๆ ก็เป็นบ้านที่เหมือนบ้านชนบทเรานี่แหละ ตรงชานบ้านเป็นพื้นที่โปรดของเราเลย ทั้งใช้นั่งเล่น รับแขก วันหยุดก็นั่งอ่านหนังสือชมวิวสวนจากตรงนี้ ไม่ใช่บ้านโมเดิร์นที่ปิดทึบเปิดแอร์ตลอดเวลา บ้านนี้ยังเปิดรับลมรับแดดที่เป็นความสบายแบบชนบทอยู่”คุณอุ้ม- รักตระกูล ใจเพียร และคุณแมน- ศตวรรษ […]

BLU395 อาคารที่ตั้งใจสร้างพลังงานดีๆคืนสู่ย่านและผู้คน

อาคารสีขาวที่ถูกคว้านเป็นทรงกรวยแปลกตาทั้งยังห่อหุ้มไว้ด้วยเหล็กตะแกรงนี้ตั้งอยู่ในย่านสะพานควาย ย่านที่พลุกพล่านที่สุดย่านหนึ่งของกรุงเทพฯ เพื่อสร้างให้เกิดภาพจำเชิงสัญญะแก่ผู้สัญจร และเพื่อให้อาคารแห่งนี้เป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่จะสร้างพลังงานที่ดีคืนแก่บริบทของย่านและเหล่าผู้คนที่ผ่านไปมาริมถนน การออกแบบความเชื่อมโยงระหว่างภายนอกและภายในจึงเป็นส่วนสำคัญ และผู้ที่เข้ามารับหน้าที่นี้ก็คือ PHTAA สตูดิโอออกแบบที่โดดเด่นในการตีความสร้างนิยามใหม่ๆให้กับงานทุกชิ้นที่ได้ผ่านมือพวกเขา BLU395 เป็นอาคารแบบ Mixed Used ที่มีห้องพัก 84 ห้อง และร้านค้า 3 ร้านผสมเข้าด้วยกัน อาจกล่าวได้ว่าอาคารหลังนี้มีจริตแบบ Modernism อยู่ในตัว ด้วยการแสดงออกอย่างชัดเจนจากภายนอกถึงลักษณะของโครงสร้างและพื้นที่การใช้งาน จากภายนอก ผู้สัญจรจะสามารถมองเห็นตะแกรงเหล็กที่นำมาใช้เป็น Facade ได้อย่างเด่นชัด ทั้งเป็นองค์ประกอบที่สร้างขึ้นเพื่อกำหนดขอบเขต แต่ก็โปร่งพอที่จะเห็นลักษณะของอาคารได้อย่างชัดเจน พื้นที่พิเศษเพื่อพักสายตาแล้วเดินต่อ ส่วนที่โดดเด่นที่สุดของอาคาร BLU395หลังนี้คงหนีไม่พ้น ต้นไม้ใหญ่ที่ตั้งอยู่กึ่งกลางของโถงบันไดซึ่งวางตัวเป็นทรงกรวยตั้ง ค่อยๆบานออกที่ชั้นบน โถงบันไดนี้มีการขึงผ้าใบสีขาวเรียบเกลี้ยงเอาไว้กั้นระหว่างความเป็นภายนอกและภายใน ทั้งทำหน้ากรองแสง กั้นความเป็นส่วนตัว และทำหน้าที่รับเงาของแสงที่ส่องผ่านโครงสร้างเปลือกอาคารลงมาเกิดเป็นเส้นโค้งที่ล้อไปกับรูปฟอร์มและตำแหน่งของไม้ใหญ่ ขับเน้นให้มุมมองสายตาที่ไล่เรียงจากชั้นพื้นที่ไม้ใหญ่นั้นเหมือนเป็นส่วนหนึ่งส่วนเดียวกับบาทวิถี ค่อยๆไล่เรียงขึ้นไปยังอาคาร และแหงนมองสู่ฟ้าในที่สุด พื้นที่นี้เป็นทั้งพื้นที่ที่ให้ความรู้สึกพิเศษ ทั้งสำหรับตัวผู้ใช้อาคารเอง และผู้ที่สัญจรผ่านไปมา ได้พักสายตาจากหมู่ตึกและการจราจรที่คับคั่งอีกด้วย แฝงกลิ่นอาย “ตึกแถวไทย” ด้วยรูปแบบการใช้อาคารหลังนี้อาจพาให้นึกไปถึง “ตึกแถวไทย” ได้แต่ทั้งหมดนั้นก็ได้ถูกตีความและสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ในแบบ PHTAA โดยที่จากชั้นล่างซึ่งเปรียบได้กับพื้นที่หน้าตึกแถวที่มักมีสวนเล็กๆและพื้นที่หย่อนใจ ซึ่งมักเป็นพื้นที่แบบ Semi-Public ก่อนที่จะขึ้นสู่ชั้นบนด้วยโถงบันไดนำพาไปยังพื้นที่ส่วนตัวซึ่งเป็นห้องพักในที่สุด ประกอบกับพื้นที่เชิงพาณิชย์ที่ชั้นล่าง […]

รวม 35 แบบลายเหล็กดัด สวยๆ ช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้บ้านแบบมีดีไซน์

แบบลายเหล็กดัด ที่ดูซ้ำซากจำเจก็สามารถเปลี่ยนให้กลายเป็นความสนุกสนานที่จะทำให้บ้านคุณดูเก๋และโดดเด่นไม่ซ้ำใคร

บ้านไม้ชั้นเดียวสไตล์ญี่ปุ่น ที่เน้นความโปร่งโล่งแบบไทย และอยู่อย่างสมถะแบบญี่ปุ่น

บ้านไม้ชั้นเดียวสไตล์ญี่ปุ่น ปนไทย โดยออกแบบให้ดูเรียบง่าย มีความสมถะ ซึ่งตรงกับความเป็นเซนที่พบในบ้านญี่ปุ่น แต่ประยุกต์ใช้วัสดุและพื้นที่ใช้สอยให้เหมาะกับเมืองไทย โดยเฉพาะการเลือกใช้ไม้เก่าอย่างรู้คุณค่า พร้อมทำผนังบ้านให้โปร่งโล่งเพื่อเปิดรับธรรมชาติอันสวยงามของปากช่อง เจ้าของ : คุณวรพจน์ – คุณศิริพร ประพนธ์พันธ์ุ ออกแบบ : คุณประวิทย์ จงยิ่งศิริ บ้านไม้ชั้นเดียวสไตล์ญี่ปุ่น หลังนี้เป็นบ้านพักหลังเล็กๆในจังหวัดนครราชสีมาของ คุณวรพจน์ ประพนธ์พันธ์ุ ผู้คร่ำหวอดอยู่ในวงการของเก่ามานาน โดยผสมผสานความเป็นบ้านไทยเข้ากับสไตล์เซนของญี่ปุ่นได้อย่างกลมกล่อม “ผมตั้งใจออกแบบบ้านหลังนี้ให้เป็นเหมือนโรงเตี๊ยมหลังเล็กๆสำหรับพักผ่อนในวันหยุด อยู่ท่ามกลางทุงหญ้าป่าเขาที่ปากช่องแห่งนี้ โดยออกแบบเป็นบ้านไม้ชั้นเดียว รูปทรงสี่เหลี่ยมที่มีพื้นที่ใช้สอยเท่าที่จำเป็น ที่เหลือก็ปล่อยให้เป็นธรรมชาติโอบล้อมบ้านเอาไว้” จากแนวคิดเบื้องต้นทำให้บ้านหลังนี้ตกแต่งในรูปแบบผสมผสานระหว่างความเป็นไทยกับญี่ปุ่น โดยดึงเอางานไม้สัก หลังคาทรงปั้นหยา บานประตูหน้างต่าง บานกระทุ้งและบานเฟี้ยมของไทยมาประยุกต์ใช้ แต่ปรับเปลี่ยนพื้นที่ใช้สอยใหม่โดยนำข้อดีของบ้านญี่ปุ่นมาประยุกต์ โดยยกพื้นขึ้นเล็กน้อยและโรยกรวดรอบบ้านกันสัตว์ร้ายปีนขึ้นบ้าน นอกจากนี้ยังใช้บานเลื่อนโชจิที่เป็นโรงไม้กรุกระดาษสา ทำให้สามารถเลื่อนปิดกันฝนหรือกันลมหนาว หากฤดูร้อนก็สามารถเปิดออกรับลมเข้าบ้านอย่างเต็มที่ เรียกได้ว่าบ้านนี้เกิดจากการผสมผสานข้อดีของเรือนไทยและญี่ปุ่นมาไว้ด้วยกัน เพื่อให้เหมาะกับสภาพอากาศของปากช่อง ซึ่งมีทั้งช่วงอากาศร้อน ฝนและหนาว การแบ่งพื้นที่ใช้สอยภายในบ้านก็เป็นไปอย่างเรียบง่าย โดยใช้ทุกมุมเป็นมุมพักผ่อนได้ทั้งหมด เน้นพื้นที่โถงหน้าบ้านเปิดโล่งเป็นทางยาวเชื่อมต่อกับระเบียงรอบบ้านได้ทุกมุมเพื่อรับลมเย็นๆ แบ่งส่วนห้องน้ำและครัวแพนทรี่ไว้ฝั่งตะวันตกให้แสงแดดช่วยฆ่าเชื้อโรค และช่วยบังความร้อนที่จะเข้าสู่ตัวบ้าน ส่วนภายในมีการยกระดับขึ้นแบ่งสัดส่วนและสามารถปิดมุมมองด้วยบานเลื่อนเพื่อความเป็นส่วนตัว กั้นห้องเท่าที่จำเป็น โดยกั้นแค่ห้องนอนเล็กๆและห้องน้ำเท่านั้น ที่เหลือสามารถใช้งานได้อเนกประสงค์ “งานโครงสร้างและพื้นที่ใช้สอยนั้นผมต้องยกความดีให้เพื่อนสนิทอย่าง คุณประวิทย์ จงยิ่งศิริ […]

ฟาร์มออร์แกนิกแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรแบบ lifestyle farming ที่ CORO Field

เปิดวาร์ปไปสัมผัสฟาร์มสไตล์ญี่ปุ่น ด้วยระยะทางจากกรุงเทพฯเพียงร้อยกว่าโล ในอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี บนพื้นที่กว่า 104 ไร่ ถูกเปลี่ยนให้เป็นฟาร์มออร์แกนิกที่หวังปลุกแรงบันดาลใจให้คนรุ่นใหม่เห็นว่า การเป็นชาวสวนก็เป็นเรื่องสนุกไม่แพ้กัน CORO Field ไลฟ์สไตล์ฟาร์มมิ่งที่อยากให้คุณมาใช้ช่วงเวลาพักผ่อนสบาย ๆ ไปพร้อมกับพืช ผัก ผลไม้ และวิถีฟาร์มออร์แกนิกที่ทันสมัย กดปุ่มรีเฟรชตัวเองแบบเต็มสูบ ด้วยแรงบันดาลใจดี ๆ จากแปลงผักออร์แกนิกและผลผลิตที่คุณภาพดีปลอดภัยไร้สารพิษ พื้นที่ของฟาร์มแบ่งเป็นโซนด้วยกิจกรรมที่สอดคล้องและครอบคลุม ตั้งแต่ขั้นตอนของการเพาะปลูก เก็บเกี่ยว จนถึงการนำวัตถุดิบไปปรุงอาหาร จากผลผลิตภายในฟาร์ม ที่ได้รับการดูแลใส่ใจเป็นพิเศษ ด้วยเทคโนโลยีทางการเกษตรที่ทันสมัย เพื่อให้ได้มาซึ่งผลผลิตที่มีคุณภาพ รสอร่อย ไม่ว่าจะเป็นเมล่อน , มะเขือเทศ , มันม่วง และผักสลัดหลากหลายพันธุ์ ลิ้มรสความอร่อยด้วยรสของธรรมชาติที่ส่งต่อจากฟาร์มถึงจานคุณในไม่กี่นาที เพราะชีวิตที่ดี เริ่มต้นจากการกินที่ดี CORO HOUSE กรีนเฮ้าส์ขนาดใหญ่ ควบคุมดูแลพืชผักด้านในโรงเรือนด้วยเทคโนโลยีจากประเทศอิสราเอล ด้วยระบบน้ำหยด ดึงน้ำแร่ใต้ฟาร์มมาใช้รดน้ำ รวมถึงการให้ปุ๋ยและสารอาหาร ป้องกันแมลงด้วยระบบคอมพิวเตอร์  ด้านในปลูกพืชที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษอย่างโทมิเมล่อน เมลอนสีเหลืองทอง ลายตาข่าย และมะเขือเทศเชอร์รี่สายพันธุ์จากประเทศฮอลแลนด์ โทมิเมล่อน ถือว่าเมลอนแห่งความมั่งคั่ง มักถูกมอบให้เป็นของขวัญ ผิวด้านนอกของเมล่อนพันธุ์มีสีเหลืองทอง […]

รวม แบบบ้านโครงสร้างเหล็ก สวยๆที่อยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างกลมกลืน

แบบบ้านโครงสร้างเหล็ก เป็นแนวทางการสร้างที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะสร้างได้รวดเร็วและเอื้อต่อการออกแบบให้ดูทันสมัย พิเศษ และแตกต่างได้มากขึ้น