LITTLE STOVE & LITTLE STUMP คาเฟ่และเพลย์กราวด์บรรยากาศราวกับอยู่ในโลกนิทาน

Little Stove & Little Stump อีกสถานที่พักผ่อนดี ๆ ในย่านพระราม 2 ซอย 33 หรือวัดยายร่ม ที่มีทั้งคาเฟ่และสถานที่เล่นของเด็ก ๆ ตอบโจทย์คนทุกวัย โดยเฉพาะกลุ่มครอบครัวที่กำลังมองหาพื้นที่สำหรับมาใช้เวลาคุณภาพร่วมกันในวันหยุด คุณพราว-พราว พุทธิธรกุล สถาปนิกผู้ออกแบบโครงการ Little Stove & Little Stump จาก NITAPROW Architects และคุณพีช-วงศ์ณิชา วงศ์สืบชาติ สองพาร์ตเนอร์จากทั้งหมด 5 ท่าน เล่าถึงที่มาของที่นี่ให้ฟังว่า เริ่มต้นมาจากครอบครัวของทั้งคุณพราวและคุณพีชที่ต่างก็เป็นคุณแม่ จึงมีความเห็นร่วมกันว่า ควรมีพื้นที่สาธารณะที่อำนวยความสะดวกให้แก่ครอบครัวที่มีลูกเล็ก ๆ จากแนวคิดดังกล่าวจึงนำมาคุยกันในกลุ่มพาร์ตเนอร์ว่า เมื่อเด็ก ๆ อ่านหนังสือ พวกเขามักจินตนาการเป็นเรื่องราวต่าง ๆ จึงเห็นว่า “นิทาน” เป็นการสื่อสารที่ดีสำหรับเด็ก เกิดเป็นแนวคิดการสร้างนิทานที่เกี่ยวข้องกับที่นี่ ด้วยการติดต่อไปยังสำนักพิมพ์สานอักษร แล้วเล่าไอเดียให้แก่นักเขียนนิทานและนักวาดภาพประกอบฟัง โดยมีแรงบันดาลใจมาจากสถานที่จริง จนเกิดหนังสือนิทานเรื่อง “บ้านตอไม้กับสหายนักซ่อม” ทั้งฉากและตัวละครสำคัญ ๆ ในนิทาน […]

12 FEB HOMEY CAFE คาเฟ่สไตล์ญี่ปุ่น ฟีลลิ่งอบอุ่นเหมือนบ้านน้อยริมธาร

12 Feb Homey Café คาเฟ่เชียงใหม่ ที่พาเราหวนนึกถึงวัยเด็ก เมื่อคุณครูให้วาดภาพ หลายคนเลือกวาดภาพบ้านหลังเล็กหลังคาทรงจั่ว มีธารน้ำไหลผ่านข้าง ๆ บ้าน ก่อนเพิ่มเติมด้วยต้นไม้ ดอกไม้ สัตว์เลี้ยงตัวน้อย และรูปของพ่อ แม่ ลูก จากภาพที่แสนอบอุ่นนั้น ได้กลายเป็นที่มาของการออกแบบคาเฟ่แห่งนี้ ที่ให้บรรยากาศราวกับเป็นบ้านไม้หลังน้อย โดยมีงานแลนด์สเคปเข้ามาเติมเต็มให้เรื่องราวยิ่งสวยงามดุจภาพวาด 12 Feb Homey Café ตั้งอยู่ในอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ เริ่มต้นมาจากคู่สามีภรรยาเจ้าของร้านที่ฝันอยากมีคาเฟ่เป็นของตัวเองไว้นั่งจิบกาแฟชิล ๆ ในบรรยากาศที่แสนอบอุ่น โดยตั้งชื่อคาเฟ่ให้จดจำง่าย และมีความหมายลึกซึ้งตามวันเกิดของภรรยา มาพร้อมโจทย์การออกแบบที่ทั้งคู่อยากได้คาเฟ่ไซซ์เล็ก มีมู้ดแอนด์โทนแบบโฮมมี่ สถาปนิกจาก pommballstudio จึงนำความต้องการนั้น มาต่อยอดสู่คาเฟ่ที่ดีไซน์ให้เหมือนบ้านสไตล์ Japandi โดยผสมสไตล์ญี่ปุ่นและนอร์ดิกเข้าด้วยกัน ตัวอาคารของคาเฟ่ตั้งอยู่ในที่ดินที่มีลักษณะลึกยาว โดยออกแบบให้ตัวอาคารอยู่ด้านในสุดของที่ดิน เลี่ยงที่จะสร้างแบบเต็มพื้นที่เพราะต้องการเผื่อสเปซด้านหน้าไว้สำหรับสร้างอาคาร หรือแลนด์สเคปเพิ่มเติมในอนาคต ดีไซน์ของอาคารมีรูปทรงเป็นแนวยาวตรงกับทิศเหนือ มีโครงสร้างทำจากคอนกรีตและเหล็ก ผนังด้านนอกกรุด้วยไม้เทียมเพราะทนทานต่อสภาพอากาศ แสงแดด และความชื้น โดยเลือกใช้ไม้เทียมไบโอวู้ดผ่านการขัดผิวหน้าให้มีสีอ่อนลง ส่วนหลังคามุงด้วยเมทัลชีทลอนเรียบ พื้นที่ส่วนที่เป็นระเบียงโรยกรวดล้าง-ทรายล้าง เพื่อให้มู้ดความเป็นพื้นที่พับลิกที่ไม่ใช่บ้านเสียทีเดียว เลือกคว้านสเปซแต่ละรูปด้านให้ลึกเข้าไปให้กลายเป็นระเบียง และสวนที่จำลองให้มีบ่อน้ำอยู่ด้านหน้าเป็นแลนด์สเคปที่เว้าลึกเข้าไป […]

โกปี๊ฮับ ร้านติ่มซำ-ชาชัก กับบรรยากาศใหม่ในร้านเก่า ตกแต่งสไตล์จีน-ไทยอย่างลงตัว

โกปี๊ฮับ l KopiHub คาเฟ่ติ่มซำ-ชาชักเจ้าดังสาขาบางแสน กับการพลิกโฉมร้านเก่าในอาคารพาณิชย์อายุกว่า 40 ปี ให้กลับมาเล่าเรื่องราวผ่านงานดีไซน์ที่สื่อถึงความพิเศษของสาขาออริจินัลที่เปิดมานานกว่า 6 ปี หลังจากเปิดกิจการมานานกว่า 6 ปี สำหรับสาขาแรกที่บางแสน หรือต้นตำรับของ โกปี๊ฮับ ก็ถึงคราวต้องรีโนเวตใหม่ เปลี่ยนบรรยากาศบ้านไม้สไตล์แอนทีคผสมสภากาแฟในอาคารพาณิชย์อายุกว่า 40 ปี ให้กลายเป็นร้านใหม่ที่สะดุดตาด้วยฟาซาดอาร์กโค้ง (Arch) จัดเต็มด้วยเรื่องราวการสร้างแบรนด์ดิ้งผ่านงานดีไซน์ ที่กลายเป็น Corporate Identity หรือ Ci ของร้านอย่างชัดเจน โดยมีสถาปนิกจาก Does studio มารับหน้าที่ออกแบบ เพื่อให้ทุกสาขาของโกปี๊ฮับเป็นที่น่าจำจด ขยับลุคร้านติ่มซำให้เป็นมากกว่าแค่ร้านอาหาร จากที่ Does studio เคยฝากผลงานไว้กับการออกแบบโกปี๊ฮับสาขา 2 พระยาสัจจา-อ่างศิลา กับอาคารรูปแบบสแตนอโลนเด่นด้วยสถาปัตยกรรมทรงโค้งที่ถอดแบบมาจากเข่งติ่มซำ มาคราวนี้พวกเขาได้รับหน้ารีโนเวตร้านสาขา 1 ซึ่งถือเป็นสาขาออริจินอล โดยเจ้าของร้านมีโจทย์ว่าอยากให้โกปี๊ฮับไม่ใช่ร้านติ่มซำทั่วไป แต่อยากเล่าเรื่องผ่านงานดีไซน์ที่สะท้อนถึงท้องถิ่นภาคใต้ ต้นตำรับติ่มซำของร้านที่มีสูตรมาจากหาดใหญ่ โดยมีความเป็นจีนเข้ามาผสมแต่ไม่ใช่สไตล์จีนแบบร้อยเปอร์เซ็นต์ ภายใต้คอนเซ็ปต์ที่อยากให้เป็นร้านอาหารของครอบครัวเหมาะกับคนทุกวัย โดยมี Ci หรือเอกลักษณ์ด้านงานดีไซน์ปรากฏขึ้นในหลายจุด ทั้งนี้มีความเชื่อมโยงไปถึงสาขาที่ 2 […]

CAFFE DEL POPOLO เปลี่ยนซอกตึกเป็น คาเฟ่ไซส์มินิ

คาเฟ่ไซส์มินิ โปรเจ็กต์ที่เป็นเสมือนการทดลองงานออกแบบ เพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่า แม้ในพื้นที่ที่ถูกทิ้งร้าง คับแคบ และมุมอับ

CIRCLE POUND แปลงโฉมโกดังเก่าสู่ คาเฟ่เค้ก ไซส์มินิ

Circle Pound คาเฟ่เค้ก ไซส์มินิในบรรยากาศอบอุ่น เรียบง่าย ตั้งอยู่มุมสงบด้านในโครงการ Heng Station ย่านวัดเกต

HIDING คาเฟ่เชียงใหม่ ไซส์มินิจากตู้คอนเทนเนอร์

HIDING คาเฟ่ขนาดย่อมที่เกิดจากการดัดแปลงตู้คอนเทนเนอร์เก่าให้กลายเป็นคาเฟ่บรรยากาศอบอุ่น

ปัจจัยสี่คาเฟ่ ร้านกาแฟสระบุรี บ้านไม้กึ่งอิฐ ที่ตีความการใช้วัสดุ และโทนสี

ปัจจัยสี่คาเฟ่ ร้านกาแฟหน้าบ้านพริกแกง บ้านไม้กึ่งอิฐ ที่ตีความการใช้วัสดุ และโทนสีมาจากสีสันของพริกแกงและรูปลักษณ์ของครก

GROUNDWORK SPECIALTY COFFEE & WORKSPACE ปลุก ย่านราชวัตร ด้วยคาเฟ่และโคเวิร์คกิ้งสเปซแนวคิดใหม่

GROUNDWORK Specialty Coffee & Workplace รีโนเวตอาคารเก่าใกล้สี่แยกบริเวณ ย่านราชวัตร เป็นคาเฟ่เอาใจทั้งสายกาแฟ และไลฟ์สไตล์แบบ Workation

KAOMAI TEA BARN ( เก๊าไม้ ที บาร์น ) จิบชาในบรรยากาศโรงบ่มยาสูบจากหลายทศวรรษก่อน

เก๊าไม้ ที บาร์น โรงชาในโครงการ Kaomai Estate 1955 หรือที่คุ้นหูกันในชื่อ เก๊าไม้ลานนารีสอร์ท ตั้งอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่

THE MEMORY CAFE คาเฟ่อุบลราชธานี ดื่มกาแฟชมวิวน่าจดจำริมโขง

ความทรงจำ : The Memory Cafe คาเฟ่อุบล ที่ตั้งใจให้งานสถาปัตยกรรมเป็นส่วนหนึ่งของความทรงจำ พร้อมกับวิวพานอรามาของโขงเจียม คาเเฟ่อุบล แห่งนี้ มีจุดตั้งต้นมาจากแนวคิดการรีแบรนด์ดิ้ง Memory Café จากร้านกาแฟที่ผู้คนมาเพียงซื้อกาแฟ แล้วออกไปเสพวิวแลนด์สเคปที่รังสรรค์โดยธรรมชาติ ให้ร้านกลายเป็นส่วนหนึ่งของบริบทริมแม่น้ำโขงอย่างกลมกลืน และเป็นจุดหมายใหม่ของการมาเยือนอุบลฯ ออกแบบโดยสถาปนิกจาก SA-ARD architecture & construction ด้วยทำเลและบริบทที่มีศักยภาพสูง อย่างพื้นที่หน้ากว้างของร้านที่เปิดรับวิวพานอรามาริมโขงสวยตราตรึงใจ ประกอบกับทางเจ้าของคาเฟ่ชื่นชอบการถ่ายภาพด้วยกล้องฟิล์ม ทุกองค์ประกอบจึงถูกจัดวางอย่างมีที่มา นำมาต่อยอดเป็นแนวความคิดในการออกแบบตัวอาคารใหค่อย ๆ สร้างประสบการณ์การเข้าถึงให้กับลูกค้า หากมองจากหน้าร้านภายนอกจะเห็นฟาซาดแนวเฉียง ระหว่างช่องว่างกรุด้วยแผ่นพอลิคาร์บอเนตสีขาวขุ่น จงใจไม่เปิดวิวในคราวเดียว เพราะตั้งใจจะเก็บวิวไว้เป็นเซอร์ไพรส์ในสเปซซีนสุดท้าย มีประตูทางเข้าถูกวางตำแหน่งอยู่ตรงกลางของผนัง ทำหน้าที่เสมือนเป็นวิวไฟน์เดอร์ของกล้อง และหากมองตรงไปจะพบกับเคาน์เตอร์ขนาดใหญ่ และวิวของโขงเจียมที่อยู่ด้านหลัง ประหนึ่งเหมือนเรากำลังกดชัตเตอร์ แล้วจะได้ภาพวิวพานอรามา โดยมีสถาปัตยกรรมเป็นกรอบของภาพ เส้นสายจากฟาดซาดเส้นเฉียงได้ถูกดึงต่อมาเป็นฝ้าภายในคาเฟ่ โดยความเฉียงที่เกิดขึ้นนี้ จะเป็นองศาที่เกิดจาก Mirror เช่นเดียวกับหลักการการสะท้อน เวลาถ่ายรูปจากกล้อง เพื่อให้เส้นสายทั้งภายในและภายนอกเกิดความเชื่อมต่อ อีกทั้งยังออกแบบให้ระดับของฝ้ามีความสูงลดหลั่นกัน จากระดับพื้นถึงฝ้าราว 2.80 เมตร และจากบริเวณประตูทางเข้าไปจนถึงเคาน์เตอร์บาร์ห่างกัน 4 เมตร เพื่อสร้างมิติในการรับรู้ […]

GRAPH PHUKET ชุบชีวิตตึกเก่าเป็นคาเฟ่ เพื่อส่งต่อรสชาติกาแฟจากเหนือสู่แดนใต้

GRAPH Phuket คาเฟ่ภูเก็ต ท่ามกลางความเคลื่อนไหวของเมืองท่องเที่ยวอย่างภูเก็ต ริมถนนพังงาที่มุ่งหน้าสู่สี่แยกธนาคารชาร์เตอร์ ปรากฏคาเฟ่ชื่อ GRAPH Phuket สาขาน้องใหม่ล่าสุดของ GRAPH แบรนด์คาเฟ่ชื่อดังจากเชียงใหม่ ที่ขอขยายสาขามุ่งหน้าลงใต้สู่ภูเก็ต เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้แก่นักดื่มกาแฟ พร้อมการนำตัวเองเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเมือง ภายในตึกแถวสไตล์ชิโน-ยูโรเปียนอายุกว่าร้อยปี จากแนวทางของ GRAPH หลาย ๆ สาขา จะพบว่ามักตั้งอยู่ในเมืองเก่าที่มีคาแร็คเตอร์ชัดเจน ทั้งวัฒนธรรมและการเป็นเมืองท่องเที่ยว ภูเก็ตก็เช่นกัน นี่จึงเป็นเหตุผลให้ภูเก็ตถูกเลือกให้เป็นทำเลใหม่ในการขยายสาขาครั้งนี้ ซึ่งแน่นอนว่าต้องมีเรื่องราวให้พูดถึงไม่แพ้สาขาอื่น เริ่มตั้งแต่ฟาซาดที่ยังเก็บรายละเอียดของสถาปัตยกรรมชิโน-ยูโรเปียนไว้ให้คงเสน่ห์และกลิ่นอายดั้งเดิม ร่วมกับแนวทางการรีโนเวตที่กลมกลืนกับอาคารหลังอื่น ๆ ในย่านโอล์ดทาวน์ของภูเก็ต คุณฆฤพร สาตราภัย เจ้าของแบรนด์ GRAPH เล่าว่า เดิมที่นี่เป็นตึกร้างและทรุดโทรมมานาน กระทั่งได้ตัดสินใจเช่าและรีโนเวตใหม่ โดยให้ความสำคัญกับคุณค่าด้านสถาปัตยกรรมเป็นหลัก สิ่งต่อเติมใดที่ไม่ตรงกับยุคของอาคาร และวัสดุที่ชำรุดจะถูกรื้อออกเกือบหมด เช่น หลังคาสังกะสี ฝ้า โครงสร้างไม้ และบันไดผุพัง ก่อนเสริมด้วยโครงสร้างใหม่ให้แข็งแรง อย่างพื้นชั้น 2 ที่นำไม้เนื้อแข็งมาปูลงไปใหม่ ตงและคานไม้ก็เปลี่ยนใหม่เช่นกัน ทั้งยังลดทอนความสูงของโถงอาคารที่สูงถึง 4 เมตร ด้วยการเพิ่มพื้นที่ชั้นลอยให้เพียงพอกับการใช้งาน บันไดเก่าถูกแทนที่ด้วยบันไดเวียนตรงกลาง ด้วยโครงสร้างที่วิ่งขึ้นไปเป็นทรงกระบอกไม้กลม […]

VE/LA AT MEDIUMS ช้อปอุปกรณ์ศิลปะ แวะจิบกาแฟใน คาเฟ่เอกมัย ถูกใจสายอาร์ต

คาเฟ่เอกมัย VE/LA AT MEDIUMS ซ่อนตัวอยู่ที่ Mediums ร้านขายอุปกรณ์เครื่องเขียนและทำงานศิลปะย่านเอกมัย กับคอนเซ็ปต์ออกแบบธรรมชาติ

ANONYMOUS COFFEE คาเฟ่พระราม 9 ดีไซน์โปร่งแสง กับนามที่กลืนหายไปกับบริบท

ANONYMOUS COFFEE คาเฟ่พระราม 9 เด่นด่วยตัวอาคารสไตล์โมเดิร์น กลาสเฮ้าส์ โชว์ความโปร่ง (ใส) สะท้อนแสงเงา ราวกับหลบหายไปในบริบท

PLAYWORKS SHOP&CAFE ช็อปขายของที่ระลึกและคาเฟ่เชียงใหม่ แรงบันดาลใจจากร้านชำสไตล์ญี่ปุ่น

คาเฟ่เชียงใหม่ PLAYWORKS SHOP&CAFE ช็อปขายของที่ระลึกและคาเฟ่ในโครงการ Think Park ได้แรงบันดาลใจการตกแต่งมาจากร้านชำสไตล์ญี่ปุ่น

HEY! BEANSTRO เอาใจชาวออฟฟิศ คาเฟ่ย่านวิภาวดี กลางวันนั่งชิล กลางคืนชนแก้ว

หลายคนคงเคยได้ลิ้มลองกาแฟคุณภาพของแบรนด์ Hey! Coffee คาเฟ่ย่านวิภาวดี มาบ้างแล้ว วันนี้ room จึงอยากพาไปพบกับภาพลักษณ์ใหม่ของ HEY! Beanstro ที่ไม่ใช่เพียงแต่เป็นคาเฟ่เท่านั้น แต่ยังเพิ่มบาร์ที่เสิร์ฟความหลากหลายให้แก่ลูกค้าที่มีความต้องการหลากสไตล์

POB Coffee & Living Space คาเฟ่สุทธิสาร จุดนัด “พบ” ของคนรักกาแฟ ในคาเฟ่อบอุ่นละมุนด้วยเส้นโค้ง

คาเฟ่สุทธิสาร จากบ้านไม้หลังเดิม บรรยากาศร่มรื่น ปรับเปลี่ยนใหม่ให้กลายเป็น คาเฟ่สุทธิสาร พื้นที่นัดพบของคนรักกาแฟ โดยใช้ชื่อว่า

BLUE COFFEE AT AGRICULTURE CMU คาเฟ่เชียงใหม่ อบอุ่นพร้อมมุมโคเวิร์กกิ้งสเปซ

Blue Coffee At Agriculture CMU คาเฟ่เชียงใหม่ ควบรวมโคเวิร์กกิ้งสเปซมาไว้ในคาเฟ่ ให้นั่งทำงานชิล ๆ พร้อมชมวิวแปลงเกษตรทดลอง

SCHOOL COFFEE ย้อนวัยเด็กสู่คาเฟ่บรรยากาศเหมือนโรงเรียนไม้ต่างจังหวัด

“School Coffee” แบรนด์กาแฟซึ่งมีจุดเริ่มต้นมาจากความรักและหลงใหลในกาแฟของหุ้นส่วนเพื่อนรัก 4 คน ที่สนิทและรู้จักกันมาตั้งแต่สมัยเรียนมัธยมที่ขอนแก่น จากเดิมที่ School Coffee เคยตั้งร้านอยู่ตรงข้ามม.เกษตรฯ บางเขน วันนี้ได้ย้ายมายังโครงการ Heng Station ริมถนนรถไฟ จังหวัดเชียงใหม่ ที่เกิดจากการเปลี่ยนโกดังเก่าของธุรกิจค้าส่งกระเทียม “เสี่ยมเฮงพืชผล” สู่คอมมูนิตี้เล็ก ๆ ที่รวมร้านค้าซึ่งเป็นเสมือนสถานที่รวมตัวของกลุ่มเพื่อน ผู้มีแนวทางการทำร้านไม่ธรรมดา โดยการออกแบบร้านในทำเลใหม่ครั้งนี้ ค่อนข้างมีความเป็นอิสระ เนื่องจากอยู่ภายในโกดังเปล่า ผู้ออกแบบซึ่งเป็นลูกค้าประจำของคาเฟ่ที่มีความเข้าใจในคอนเซ็ปต์ของแบรนด์ ร่วมกับผู้ร่วมก่อตั้งร้าน School Coffee อย่างคุณบิ๊ก-บริรักษ์ อภิขันติกุล ช่วยกันใส่องค์ประกอบและงานดีไซน์เพื่อสื่อถึง “โรงเรียนต่างจังหวัด” และ “บ้านบนดอย” ได้อย่างเต็มที่ ซึ่งคอนเซ็ปต์ที่ว่านั้นเป็นทั้งการเชื่อมโยงร้านใหม่เข้ากับบรรยากาศของร้านเก่า และยังสะท้อนภาพการทำงานกับเกษตรกรกลุ่มชาติพันธุ์ในขั้นตอนการโปรเสสกาแฟ เมื่อทีมงานจะต้องขึ้นดอยไปพักค้างแรมกับชาวบ้าน จากความตั้งใจดังกล่าว วัสดุที่ใช้ออกแบบตกแต่งร้าน จึงมีความเรียบง่าย และธรรมดาสามัญที่สุด อาทิ การทำพื้นปูนที่ไม่ต้องขัด หรือฉาบให้ยุ่งยาก ร่วมกับวัสดุไม้จริง มีไม้แป้น และไม้ซี่ปิดร่อง ที่เลียนแบบมาจากบ้านของชนเผ่าปากาเกอะญอ ส่วนกรอบหน้าต่าง หรือแม้แต่ป้ายชื่อไม้ที่บอกตำแหน่ง “ห้องกาแฟ”และ “ห้องคั่วกาแฟ” มองครั้งแรกก็ให้ความรู้สึกเหมือนป้ายหน้าห้องพักครูตามโรงเรียนต่างจังหวัด […]