Forest Villa บ้านโมเดิร์นกลางธรรมชาติ ที่พลิกมุมมองการอยู่อาศัยของครอบครัวจีนยุคใหม่

บ้านโมเดิร์นกลางธรรมชาติ ตั้งอยู่ย่านชานเมืองเหอเฝย์ (Hefei) เมืองหลวงของมณฑลอานฮุย (Anhui) ทางฝั่งตะวันออกของจีน ตัวบ้านอยู่ไม่ไกลนักจากวนอุทยานแห่งชาติต้าซู (Dashu Mountain National Forest Park) จึงโอบล้อมด้วยบรรยากาศธรรมชาติของเทือกเขาหวงซานอันงดงามราวภาพวาด และกลายเป็นแรงบันดาลใจให้ทีมสถาปนิกจาก HAS design and research (HAS) สร้างสรรค์พื้นที่อยู่อาศัย ที่สะท้อนวิถีชีวิต และจิตวิญญาณแห่งวัฒนธรรมจีนในยุคสมัยใหม่ได้อย่างน่าสนใจ บ้านโมเดิร์นกลางธรรมชาติ สร้างประสบการณ์ที่แตกต่างด้วยพื้นที่เปลี่ยนผ่าน จากบ้านสำเร็จรูปเดิมมี 3 ชั้น พร้อมชั้นใต้ดินอีก 2 ชั้น ได้รับการออกแบบใหม่ให้รองรับการอยู่อาศัยของครอบครัวขนาดกลาง โดยมีการปรับเปลี่ยนพื้นที่ใช้สอยโดยอิงกับโครงสร้างเดิม ภายใต้โจทย์ที่ต้องการหลอมรวมภูมิประเทศธรรมชาติโดยรอบให้เชื่อมโยงกับสเปซภายใน ผนวกกับแรงบันดาลใจจากบ้านจีนโบราณ ที่มักมีพื้นที่เปลี่ยนผ่าน เช่น โถงหรือคอร์ตก่อนจะเข้าสู่พื้นที่ใช้สอย สถาปนิกจึงให้ความสำคัญกับการสร้างพื้นที่เปลี่ยนผ่านหรือเชื่อมต่อ (transition space) ระหว่างพื้นที่ใช้สอยต่าง ๆ โดยใช้องค์ประกอบหลักอย่างเปลือกหุ้มอาคาร (shell) ช่องทางเดิน (hole) และช่องเปิด (void) ที่สร้างเลเยอร์ของสเปซภายในบ้าน เปลือกหุ้มอาคารชั้นนอก มีช่องเปิดเป็นจังหวะ จงใจสร้างกรอบภาพที่มองเห็นจากภายในเป็นภาพต่อเนื่องของทิวทัศน์สวนป่าซึ่งโอบล้อมบ้านไว้ จากประตูทางเข้านำเข้าไปสู่ระเบียงทางเดิน ซึ่งทำหน้าที่เป็นพื้นที่ว่างแห่งการเปลี่ยนผ่านทางประสาทสัมผัส และการรับรู้ของผู้ใช้งาน […]

Yellow House บทกวีที่เรียกว่า “บ้าน”

บ้านที่ออกแบบสร้างเพื่อเชื่อมโยงบริบทโดยรอบสู่การใช้ชีวิต โดยคงไว้ซึ่งลักษณะดั้งเดิมของพื้นที่ รวมถึงต้นไม้ที่ยังอยู่แต่เดิมด้วย เปิดรับธรรมชาติผ่านมุมมองทางสถาปัตยกรรมในหลากรูปแบบซึ่งล้วนแต่งดงาม ดั่งบทกวีที่เรียงร้อยขึ้นด้วยสถาปัตยกรรม DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: JOYS Architects Yellow House คือ บ้านที่เหมือนเป็นภาคต่อของ Yellow Submarine และ Yellow Mini คาเฟ่เรียบเท่ในพื้นที่เขาใหญ่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา นั่นจึงทำให้บ้านหลังนี้ต้องมีการออกแบบที่ทั้งเปิดรับบริบทธรรมชาติโดยรอบเพื่อการอยู่อาศัยที่ดี แต่ก็ยังต้องสร้างความเป็นส่วนตัวจากพื้นที่คาเฟ่ไปพร้อมกัน #จัดวางธรรมชาติร่วมกับการอยู่อาศัย การออกแบบบ้านในระบบกริดตาราง ทำให้บ้านหลังนี้มีการจัดวางพื้นที่อยู่อาศัย สลับกับคอร์ตที่แตกต่างไปในแต่ละส่วน บ้างก็เป็นสวน บ้างก็เป็นต้นไม้ เนินดิน หรือสระน้ำ คอร์ตเหล่านี้ถูกจัดวางเอาไว้ในสี่ทิศของผังอาคาร ทำให้ในทุกห้องที่เหลือ สามารถมองเห็นทิวทัศน์ และรับบรรยากาศในแต่ละคอร์ตได้อย่างทั่วถึง โดยมีห้องนอนที่ส่วนกลางบ้านเป็นห้องที่รับวิวทุกคอร์ตได้ในห้องเดียว #บ้านเล่นระดับร่วมกับธรรมชาติ ตัวบ้านเลือกที่จะอยู่ร่วมกับระดับที่ต่างกันของผืนที่ดินแต่เดิม โดยไม่ได้ปรับเปลี่ยนระดับของพื้นที่มากนัก ขั้นตอนการออกแบบจึงต้องทำการบ้านกับระดับที่ต่างกันไปในแต่ละส่วน เป็นผลให้ทั้งช่องเปิด หรือการใช้งานมีลักษณะเฉพาะที่น่าสนใจ แทบไม่ซ้ำกันในแต่ละส่วนเลย #ร่องรอยที่เชื่อมโยงภายนอกและภายใน เมื่อพิจารณาถึงวัสดุของบ้านหลังนี้ คอนกรีตเปลือย และไม้ ทำหน้าที่เป็นเหมือนภาพสะท้อนบริบท หิน และต้นไม้โดยรอบ หากแต่คือการแปรความผ่านภาษาทางสถาปัตยกรรม โดยถูกกำหนดหน้าที่ใช้งานทั้งโครงสร้าง หรือองค์ประกอบที่กลายเป็นผนัง และเฟอร์นิเจอร์ที่จัดแบ่งรูปแบบการใช้ชีวิตในแต่ละพื้นที่ได้เป็นอย่างดี และนี่คืออีกหนึ่งบ้านที่น่าสนใจในรูปแบบที่เชื่อมโยงกับธรรมชาติอย่างลึกซึ้ง เป็นตัวอย่างของบ้านต่างจังหวัดที่น่าสนใจอีกหลังหนึ่งเลยทีเดียว […]

Sherutā 108 บ้านเปิดโปร่ง ออกแบบอย่างเรียบง่าย ดื่มด่ำ ธรรมชาติ ผ่านบ้านกระจกใส

บ้านเปิดโปร่ง ออกแบบอย่างเรียบง่าย ให้ผู้อยู่ได้เป็นส่วนหนึ่งกับธรรมชาติรอบตัว ผ่านผนังกระจกใส DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: INLY STUDIO บ้านตากอากาศ ที่อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ ออกแบบโดย INLY STUDIO ที่เจ้าของต้องการสร้างเป็นบ้านหลังที่สองสำหรับพักผ่อน ที่อยู่ห่างออกมาจากตัวเมือง อีกทั้งยังออกแบบเพื่อรองรับการเปิดให้คนภายนอกได้เข้ามาพักในรูปแบบ Air Bnb เพื่อเปิดประสบการณ์สุดพิเศษ ณ สถาปัตยกรรม บ้านกระจกใส กลางพื้นที่โล่งรายล้อมด้วยภูเขา ซึ่งออกแบบมาให้สัมผัสธรรมชาติได้อย่างเต็มอิ่ม แนวคิดที่กำบัง ชื่อ Sherutā 108 มีที่มาจากคำว่า Shelter ในภาษาอังกฤษ หมายถึง หลุมกลบภัย หรือที่ซ่อนตัว สถาปนิกได้ตีความการออกแบบบ้านจากแนวคิดนี้ ต่อยอดเป็นอาคารที่ให้ความรู้สึกเหมือนเป็นที่พักได้มาหลบซ่อนตัวจากตัวเมือง เพื่อผ่อนคลายท่ามกลางบรรยากาศธรรมชาติของภูเขาที่อำเภอแม่ออน รายล้อมด้วยภูเขาและแปลงเกษตร บริบทรอบข้างอาคาร เป็นภูเขา และแปลงเกษตรของชาวบ้าน มีบ่อน้ำเดิมที่ขุดไว้แล้วตั้งอยู่ด้านข้าง ที่ดินซึ่งมีลักษณะเป็นลานโล่งกว้าง เปิดรับวิวน้ำ และภูเขาที่อยู่ห่างออกไปทำให้เกิดความรู้สึกเปิดโล่ง ทรงอาคารแนวราบผสานกับบริบท สถาปนิกออกแบบทรงอาคารเป็นแนวราบ ให้สอดคล้องไปกับบริบทรอบข้าง ที่เป็นแปลงเกษตร ซึ่งทั้งหมดเป็นแนวราบ ไม่มีอาคารแนวตั้งอยู่ในพื้นที่เลย จึงออกแบบอาคารลักษณะราบขนาบไปกับพื้นดิน และยังให้ความรู้สึกของที่น่าพักผ่อน สงบ ผ่อนคลาย […]

House C กึ่งกลางระหว่างธรรมชาติ และพื้นที่ส่วนตัว

จะเป็นอย่างไรเมื่อ “บ้าน” อยู่ท่ามกลางธรรมชาติ และผืนดินอย่างแท้จริง นี่คือบ้านในเชียงใหม่ ที่ตั้งใจสัมผัสธรรมชาติอย่างไร้รอยต่อ DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Bangkok Tokyo Architecture House C บ้านหลังนี้ ในเชียงใหม่ โดยเป็นความต้องการของเจ้าของบ้านที่อยากให้การอยู่อาศัยนั้นมีอิสระ และผสานเข้ากับความเป็นธรรมชาติโดยรอบผ่านองค์ประกอบเรียบง่ายของตัวอาคาร บ้านหลังนี้มีห้องรับแขกที่พื้นเป็นดินอัด มีห้องทุกห้องที่เห็นกันได้หมด มีโครงสร้างที่แทบไร้การปรุงแต่ง และนั่นคือหน้าที่ของสถาปัตยกรรมที่เลือกจะทำหน้าที่ในการเป็นที่อยู่อาศัยที่ปรุงแต่งน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้อย่างถึงที่สุด #ออกแบบโดยผสานธรรมชาติเข้าเป็นส่วนหนึ่งอย่างไร้รอยต่อ บ้านหลังนี้มีโจทย์ตั้งแต่แรกเริ่มคือการออกแบบเพื่อการอยู่อาศัยผสานไปกับธรรมชาติโดยรอบ การออกแบบโครงสร้างทั้งหมดจึงถูกคิดขึ้นโดยไม่ยัดเยียดองค์ประกอบที่มาจนไปกลบความสัมพันธ์โดยรอบเกินไป ทั้ง ผืนดิน ร่มไม้ สัตว์น้อยใหญ่ และธรรมชาติโดยรอบล้วนเป็นองค์ประกอบสำคัญของสถาปัตยกรรมหลังนี้ด้วยเช่นกัน เป็นที่อยู่อาศัยที่สามารถปรับตัวไปตามสภาวะอากาศได้ ด้วยความเรียบง่ายของโครงสร้าง และความยืดหยุ่นของผังการใช้งานอาคาร บ้านหลังนี้จึงช่วยสร้างความเป็นไปได้ที่น่าสนใจให้การใช้ชีวิตของผู้อยู่อาศัย เรียงร้อยไปกับสิ่งแวดล้อมโดยรอบตามที่ตั้งใจไว้ เพราะเมื่อมองจากภายนอก บ้านหลังนี้จะดูแอบซ่อนเรียบเกลี้ยงเหมือนกล่องที่ถูกปิดไว้ แต่เมื่อเปิดผนังที่ทำหน้าที่เป็นประตูใหญ่ออก พื้นดินลานกลางบ้าน แม่น้ำ ธรรมชาติ และถนนจะต่อเชื่อมหลอมรวมเป็นพื้นที่เดียวกันอย่างไร้รอยต่อเลยทีเดียว #สัมผัสผืนดิน ห้องรับแขก หรือพื้นที่อเนกประสงค์ ณ ลานกลางบ้าน อาจเรียกได้ว่าเป็น Gathering Space ตามศัพท์สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ และในบ้านหลังนี้นั้น พื้นที่ระหว่าง สองปีกของตัวบ้าน คือพื้นดินที่ใช้เทคนิคการอัดดินให้กลายเป็นชานบ้านแบบญี่ปุ่นที่เรียกกันว่า โดมะ […]

S Wall House รีโนเวตบ้างครึ่งตึกครึ่งไม้ย่านลาดพร้าวให้กลายเป็นบ้าน Modern Loft

บ้านหลังนี้ได้เก็บโครงสร้างเดิมไว้ ทั้งคอนกรีต และไม้บางส่วน เพื่อนำมาใช้บอกเล่าเรื่องราวที่ยังคงดำเนินต่อไป เพราะเดิมทีบ้านหลังนี้เป็นบ้านที่คุณพ่อของเจ้าของบ้านได้ออกแบบสร้างเอาไว้ DESIGNER DIRECTORYออกแบบ : Collage Design Studio การยังคงไว้ซึ่งโครงสร้างตามที่คุณพ่อได้คิดก่อสร้างไว้ก็เปรียบได้กับการคงจิตวิญญาณดั้งเดิมของบ้านเอาไว้ แต่นำพาสู่บทใหม่ด้วยการออกแบบตกแต่ง และปรับเปลี่ยนการใช้งานในหลาย ๆ ส่วน และ แนวทางการปรับปรุง คือการผสานกลิ่นอายร่วมสมัยเข้ากับโครงสร้าง สร้างที่พักอันทันสมัยสำหรับเจ้าของบ้าน พร้อมด้วยสระว่ายน้ำ และบาร์กลางแจ้งสำหรับการสังสรรค์ จึงทำให้ปรับบ้านหลังนี้เป็นบ้านล้อมคอร์ตซึ่งเป็นสระว่ายน้ำ มีใต้ถุนเป็นพื้นที่ที่สามารถเปิดหากันได้ตลอด และชั้นบนที่มีความเป็นส่วนตัว ในด้านองค์ประกอบโครงสร้างนั้น ผู้ออกแบบได้เลือกใช้โครงไม้ดั้งเดิมที่ส่วนใหญ่ยังคงสภาพสมบูรณ์อย่างน่าทึ่ง โดยมีแผ่นพื้นกว้างและทนทานซึ่งหาได้ยากในปัจจุบัน ด้วยการใช้โอกาสในการอนุรักษ์องค์ประกอบอันเป็นที่รักเหล่านี้ จึงตัดสินใจย้ายบันไดออกไปด้านนอก และเปลี่ยนสำนักงานเก่าที่ทรุดโทรมของคุณพ่อให้กลายเป็นบริเวณสระว่ายน้ำ เมื่อการรื้อถอนเริ่มต้นขึ้นก็มีสิ่งปรากฏออกมา นั่นคือเสาและคานคอนกรีตเสริมเหล็กคงสภาพแข็งแรง ซึ่งออกแบบโดยผู้เป็นพ่อเอง โดยมีทั้งความทนทาน และเต็มไปด้วยร่องรอยของเรื่องราวในอดีต ด้วยแรงบันดาลใจจากการค้นพบที่ไม่คาดคิด การออกแบบจึงพัฒนาเพื่อรวมองค์ประกอบของโครงสร้างดั้งเดิม โดยมีสระว่ายน้ำอยู่ใต้ส่วนโค้งอันสง่างาม ในส่วนของความเป็นส่วนตัว อันเป็นที่มาของชื่อบ้านนั้น เกิดจากข้อกังวลเรื่องความเป็นส่วนตัวกระตุ้นให้เกิดการสร้างแนวกั้นป้องกัน ซึ่งเป็นแนวกำแพงที่เพิ่มขึ้นจากส่วนที่เหลือของสำนักงานเดิม ผนังไฟเบอร์ซีเมนต์พับเก็บอย่างสวยงามเป็นรูปตัวเอส (s) พร้อมปกปิดและเปิดเผยให้เห็นในคราวเดียวกัน ทำหน้าที่เป็นสัญลักษณ์ด้านหน้าบ้านสำหรับบ้านที่มีชีวิตชีวา พาร์ทิชั่นคดเคี้ยวนี้แบ่งพื้นที่ในขณะที่ช่วยเสริมการเชื่อมต่อ โดยผสมผสานระหว่างความเก่ากับใหม่ ผนังชั้นล่างเป็นอิฐและปูนฉาบแข็งในสมัยก่อน ช่วยให้พื้นที่อยู่อาศัยเปิดโล่งและสว่าง ชวนให้นึกถึง “ใต้ถุน” พื้นที่เปิดโล่งใต้บ้านทรงไทย ที่ผสมผสานพื้นที่ในร่มและกลางแจ้งได้อย่างลงตัว ส่วนห้องนอนใหญ่ชั้นบนสะท้อนถึงการนำวัสดุผนังใหม่มาวางทับโครงสร้างเก่า […]

PG HOUSE ผืนฟ้า ขุนเขา และประติมากรรมที่เรียกว่า บ้าน

ทุกวันอันแสนรื่นรมย์ เมื่อได้อยู่ท่ามกลางธรรมชาติของเขาใหญ่ ที่ บ้าน ทั้งหลังยังออกแบบมาอย่างหมดจด ไม่ต่างอะไรกับงานศิลป์ประติมากรรมที่อยู่อาศัยได้กับ PG HOUSE หลังนี้ DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: AAd – Ayutt and Associates Design  บ้านหลังนี้มีโจทย์เริ่มต้นจากความต้องการในการสร้างเรือนสำหรับงานอดิเรกเพิ่มขึ้นอีกหลังในที่ดินเดิมของเจ้าของบ้าน การสะสมรถซุปเปอร์คาร์ งานศิลปะ Studio สำหรับซ้อมเต้น และมิกซ์เพลง รวมทั้งยังเป็นเหมือนห้องรับแขกไปในตัวอีกด้วย และนั่นจึงทำให้บ้านหลังนี้ มีความพิเศษที่แตกต่างอย่างลงตัว ซุปเปอร์คาร์และงานศิลป์ท่ามกลางทิวเขา “เราตั้งใจให้การขับรถเข้ามานั้น จะรู้สึกว่าได้เข้ามาจอดท่ามกลาง Scene ของทิวเขาเหล่านี้ ในบรรยากาศที่พิเศษ ในพื้นที่พิเศษ” นั่นจึงทำให้บ้านหลังนี้ดูแตกต่างจากความเป็นอู่รถ หรือ โชว์รูม แต่คือเวทีที่รถทุกคันจะได้มีพื้นที่พิเศษของตัวเอง การเปิดพื้นที่วิวรับกับจุดจอดรถแต่ละคันล้วนถูกคิดคำนึงมาเป็นอย่างดี ทั้งการให้แสง และจังหวะของการจอดก็เช่นกัน ด้วยเหตุนี้เองบ้านหลังนี้จึงต้องใส่ใจกับความเป็นศิลป์ในพื้นที่เป็นพิเศษ เพื่อให้ในทุกจังหวะของมุมมอง สามารถเชื่อมโยงความชอบ บ้านสีดำที่รับเอาวิวทิวทัศน์เข้าไว้กับตัวสังเกตได้ว่า การออกแบบบ้านหลังนี้มีการใช้สีในโทนมืดมากกว่าสว่าง ซึ่งสาเหตุที่เลือกใช้โทนดำเป็นหลักก็เพื่อให้บรรยากาศภายในบ้านนั้น ไม่รบกวนทิวทัศน์โดยรอบของบ้านหลังนี้ เมื่อมองจากภายในสู่ภายนอก ทัศนียภาพโดยรอบจึงมีความสว่างมากกว่าพื้นที่ภายใน อีกทั้งการที่บ้านมีการเปิดรับมุมมองในรอบทิศทางด้วยกระจกใส หากตกแต่งด้วยโทนสว่างอาจทำให้แสงสว่างที่เข้าสู่ภายในเจิดจ้าจนเกินสภาวะน่าสบายได้ โทนสีดำนี้จึงเป็นเหมือนการคุมความสบายให้อยู่ในระดับที่พอดีไปพร้อมกัน นอกจากนี้ การที่พื้นที่ภายในออกแบบให้เป็นโทนดำ ยังทำให้เมื่อมองจากภายนอกแล้ว วิวเขาจะเกิดการสะท้อนกับอาคาร […]

BLOCK WALL HOUSE บ้านบล็อกช่องลมกลางป่า ที่สร้างด้วยคอนกรีตรักษ์โลก

บ้านช่วยโลก เมื่อบ้านของเราสร้างจากวัสดุที่สามารถดักจับคาร์บอนไดออกไซด์เอาไว้ได้! นี่คือบ้านท่ามกลางธรรมชาติ ซึ่งเป็นต้นแบบของวัสดุก่อสร้างที่ยั่งยืนแห่งอนาคตอันใกล้ DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: nendo บล็อกช่องลมที่สร้างจากวัสดุ CO2-SUICOM จำนวน 2,050 ก้อน ได้รับการนำมาใช้ในการสร้างแนวผนังของบ้านหลังนี้ โดยวัสดุนี้เป็นส่วนผสมครึ่งต่อครึ่งระหว่างปูนซีเมนต์กับวัตถุดิบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะสร้างให้เกิดกระบวนการดักจับ CO2 ในขั้นตอนของการแข็งตัวของซีเมนต์ เป็นผลให้วัสดุ CO2-SUICOM สามารถช่วยลดภาวะโลกร้อนได้เป็นอย่างดี โดยวัสดุนี้เป็นการพัฒนาที่เกิดจากความร่วมมือของบริษัท Kajima, The Chugoku Electric Power Co., Denka, และ Landes Co. จนเกิดเป็นคอนกรีตที่สามารถดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ได้เป็นครั้งแรกของโลก บ้านหลังนี้ตั้งอยู่ในจังหวัดนากาโนะ ประเทศญี่ปุ่น ท่ามกลางธรรมชาติอันไร้ซึ่งสิ่งรบกวน ความโดดเด่นของบ้านหลังนี้ คือแนวผนังที่ใช้อิฐบล็อกก่อเป็นบล็อกช่องลมที่มีการหันแนวช่องเปิดแตกต่างกันไปในแต่ละช่วงของอาคาร สัมพันธ์ไปกับรูปแบบการใช้งานในส่วนต่าง ๆ ทั้งยังช่วยพรางอาคารทั้งหลังให้กลมกลืนไปกับผืนป่ารอบด้านได้อย่างดี ช่องเปิดเหล่านี้ เป็นตัวกำหนดมุมมอง และแนวลมที่ไหลผ่านตัวบ้านไปพร้อมกัน ในส่วนที่ต้องการความเป็นส่วนตัวจะมีแนวกำแพงซ้อนกันสองชั้นเพื่อให้มุมมองที่ดูเหลื่อมซ้อนกัน สร้างให้เกิดความจำเพาะของตำแหน่งที่มองทะลุผ่านได้ แม้จะช่วยปิดกั้นสร้างความเป็นส่วนตัว แต่ก็ยังรู้สึกปลอดโปร่ง ไม่อึดอัด แม้วัสดุ CO2-SUICOM ที่นำมาใช้ก่อสร้างบ้านหลังนี้ ยังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนา แต่คาดว่าจะสามารถออกสู่ท่องตลาดได้จริงก่อนปี 2030 อย่างแน่นอน เพื่อแก้ปัญหามลพิษจากอุตสาหกรรมก่อสร้าง […]

บ้านล้อมคอร์ต ที่สร้างพื้นที่รื่นรมย์ด้วยไม้ใหญ่ และกำแพงช่องลม

บ้านล้อมคอร์ต ชานเมืองที่เลือกสร้างพื้นที่ส่วนตัวล้อมสวนทรงชะลูดที่ทำงานกับการอยู่อาศัยในแนวสูงได้เป็นอย่างดี บ้านหลังนี้ ออกแบบโดย INchan Atelier เป็นบ้านขนาด 4 ชั้น ที่สร้างบนที่ดินติดกับบ้านของพ่อแม่เจ้าของบ้าน ด้วยลักษณะพื้นที่เป็นที่ดินจัดสรรย่านชานเมืองทำให้ต้องคำนึงถึงความเป็นส่วนตัวของการอยู่อาศัยเป็นพิเศษ แต่ก็ยังต้องสร้างความรู้สึกปลอดโปร่ง สบายตา ไม่อึดอัดทึบตันให้แก่ผู้อยู่อาศัยไปพร้อมกันด้วย โดยผู้ออกแบบได้เลือกใช้บล็อกช่องลมในการสร้างพื้นที่กึ่งปิดเพื่อให้เกิดเป็นคอร์ตสวนทรงชะลูดที่กลางบ้าน และแจกพื้นที่สีเขียวไปยังทุกส่วนของบ้านอย่างมีประสิทธิภาพ #กำแพงโปร่งสร้างความเป็นส่วนตัวแต่ไม่ปิดกั้นแดดลม โครงสร้างที่ก่อตัวขึ้นสูงจากพื้น จนถึงชั้นที่สาม เป็นกรอบคอนกรีตที่ช่วยพยุงรับบล็อกช่องลมที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ บล็อกเหล่านี้มีสองรูปแบบความทึบด้วยกัน ปรับใช้ตามแต่การเปิดรับแสง และความต้องการความเป็นส่วนตัวที่แตกต่างกัน ในด้านหน้าของบ้านนั้น จะเป็นบล็อกที่มีขีดกลางคั่น ส่วนด้านติดกับบ้านของพ่อแม่จะเป็นบล็อกจัตุรัสที่โปร่งกว่า ขอบกำแพงที่เกิดจากบล็อกช่องลมนี้ ช่วยสร้างให้เกิดความเป็นส่วนตัวได้อย่างดีสำหรับผู้อยู่อาศัย ไม่รู้สึกประจันกับเพื่อนบ้านมากจนเกินไป ทั้งยังเป็นมิตรกับบริบทโดยรอบมากกว่ากำแพงทึบตันในขณะเดียวกัน นอกจากนี้ การออกแบบที่เลือกใช้กำแพงโปร่งอย่างบล็อกช่องลม ยังมีประโยชน์ในการเปิดให้แสงแดดเข้าถึงสวนที่ภายในได้มากอีกด้วย ทำให้พื้นที่สีเขียวมีระบบนิเวศที่สามารถเติบโตได้ และยังเปิดรับลมในทิศทางที่เหมาะสมตามความโปร่งทึบของบล็อกแต่ละด้าน เป็นการออกแบบเพื่อการอยู่อาศัยแบบ Passive Climate ที่ดีไปพร้อมกัน #สวนแนวสูงสู่ทุกพื้นที่ของบ้าน จุดเด่น และความสะดุดตาของบ้านหลังนี้ อยู่ที่ภายใน เพียงเดินผ่านแนวกำแพงบล็อกช่องลมเข้ามา เราจะได้พบกับสวนเล่นระดับที่มีไม้ใหญ่คือต้นขานาง ที่สูงชะลูดตั้งแต่ชั้น 1 จนถึงดาดฟ้าที่ชั้น 4 เลยทีเดียว นอกจากการวางผังของสวนที่เอื้อต่อความเชื่อมโยงของบ้านหลังนี้ และบ้านของพ่อแม่แล้ว พื้นที่สีเขียวเหล่านี้ยังช่วยสร้างความเป็นส่วนตัว และความรู้สึกของพื้นที่เฉพาะสำหรับสมาชิกแต่ละคนในบ้านได้เป็นอย่างดี โดยทำหน้าที่เป็นตัวกรองให้แต่ละห้องมีวิวสวนเป็นของตัวเอง […]

Nhanh Lan Rung House รีโนเวทบ้าน สู่ความอิสระ ปลอดโปร่ง แม้อยู่ในตึกแถว

รีโนเวทบ้าน ขนาดกะทัดรัด ตอบโจทย์สมาชิกในบ้านทั้ง 4 คน แบบครบทุกฟังก์ชัน ให้ความรู้สึกเป็นอิสระ ปลอดโปร่ง แม้อยู่ในบ้านตึกแถว โปรเจ็กต์ รีโนเวทบ้าน พักอาศัย ในเมืองโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม ให้ตอบโจทย์สมาชิกในบ้าน น้องแมว และคุณยายที่แวะมาเยี่ยมเยือนนอนพักกับลูกหลานในบางครั้งคราว ภายใต้บริบทของความเป็นบ้านตึกแถวที่มีความแคบลึก และทำเลที่ต้องหันหน้ารับแดดบ่ายทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ จากปัญหาความร้อน และพื้นที่คับแคบดังกล่าว จึงนำมาสู่การออกแบบเพื่อแก้ไขช่วยปรับเปลี่ยนบ้านให้น่าอยู่ มีพื้นที่เพียงพอต่อการใช้งาน ทั้งยังต้องระบายอากาศ และรับแสงสว่างได้อย่างดี T H I A architecture จึงพยายามกำหนดทิศทางการออกแบบบ้านร่วมกับเจ้าของ เพื่อให้บ้านหลังนี้เป็นบ้านในฝันอย่างที่ต้องการ เริ่มตั้งแต่หน้าบ้านที่แบ่งความต่างของแพตเทิร์นเปลือกอาคารเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกแบ่งเป็นส่วนของประตูบ้านที่กรุด้านหลังโครงเหล็กสีขาวด้วยแผงเหล็กเจาะรู สำหรับพรางสายตาจากคนที่เดินผ่านไปมา แต่ยังยอมให้แสงและอากาศไหลผ่านเข้ามาด้านในได้ ส่วนข้างบนเป็นโครงสร้างระแนงเหล็กแนวตั้งที่ยึดกับโครงสร้างเดิม ออกแบบให้สูงจรดหลังคา มีประโยชน์เพื่อให้ไม้เลื้อยมีที่ยึดเกาะกลายเป็นฟาซาดธรรมชาติที่ทั้งสวยงาม บดบังสายตา ป้องกันแสงแดด และความร้อนได้ในอนาคต จากพื้นที่ระหว่างประตูเหล็กหน้าบ้านก่อนเข้าถึงพื้นที่ด้านใน ผู้ออกแบบได้เว้นช่องว่าง หรือลานเล็ก ๆ ไว้ให้แสงและอากาศสามารถไหลเวียนเข้าสู่พื้นที่ชั้น 1 ซึ่งประกอบด้วยส่วนนั่งเล่น ครัว และพื้นที่รับประทานอาหาร ก่อนคั่นพื้นที่ส่วนนี้กับห้องนอนคุณยายที่อยู่หลังบ้าน ด้วยคอร์ตยาร์ดที่เจาะเป็นช่อง […]

Ruen Lek เรือนเล็ก บ้าน และคาเฟ่แบบเรือนไทยโครงสร้างเหล็ก บรรยากาศโฮมมี่ในเมืองจันท์

Ruen Lek เรือนเล็ก  คือบ้าน คือออฟฟิศ คือคาเฟ่ของ Baan Lek Villa โฮมสเตย์ขนาดเล็กในเมืองจันท์ โดยคนจันท์ ออกแบบโดยสถาปนิกชาวจันท์ GLA Design Studio DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: GLA DESIGN STUDIO ‘Ruen Lek เรือนเล็ก‘ เป็นอาคารที่ออกแบบอย่างเรือนพื้นถิ่น มีการเปิดรับภูมิอากาศทรอปิคัลใต้ถุนสูง ถูกแทนที่ด้วยฟังก์ชันของคาเฟ่ ทำเพื่อรับแขกที่ไม่ได้มาค้างคืน ณ บ้านเล็กวิลล่า แต่อยากมาเสพบรรยากาศสบาย ๆ ของเมืองจันทบุรีในแบบชั่วครั้งชั่วคราว “อยากกลับไปบ้าน หอบงานไปทำแบบสบาย ๆ ในพื้นที่ที่เราออกแบบเอง ตอนแรกก็ทำบ้านเล็กวิลล่า แต่พอถึงเวลาก็เต็มตลอด รับแขกตลอด ก็เลยทำเรือนเล็กขึ้นมา ชั้นบนเป็นพื้นที่ส่วนตัวของเรา ส่วนชั้นล่างก็ให้น้องชายทำคาเฟ่ที่ตอบโจทย์กับแขกของบ้านเล็กวิลล่าไปพร้อมกัน” – รินระดา นิโรจน์ (สถาปนิก) บ้านบ้านที่ชอบในความทรงจำ ‘เรือนเล็ก’ ออกแบบชั้นล่างให้เป็นระดับเดียวกับพื้นดินของบริเวณโดยรอบ เช่นเดียวกับ บ้านเล็กวิลล่า ส่วนหนึ่งก็เพราะต้องการคงความเป็นใต้ถุนบ้านเอาไว้ แต่อีกส่วนหนึ่งก็เพื่อให้ภูมิสถาปัตยกรรม และสถาปัตยกรรมนั้นทำงานร่วมกัน เรือนทั้งสองหลังก่อให้เกิดพื้นที่ตรงกลาง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่แขกที่มาคาเฟ่ชอบไปนั่งเล่น […]

WEL-D PAVILION ศาลาไทย-ญี่ปุ่น ห้องรับแขกของบ้าน ที่เป็นมากกว่าห้องรับแขก

พื้นที่พิเศษของบ้าน “ศาลา” อเนกประสงค์ ที่ทำหน้าที่เสมือนเป็นห้องรับแขก ท่ามกลางธรรมชาติในบรรยากาศสวนญี่ปุ่น DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Shadeworks Design อาคารชั้นเดียว ที่โดดเด่นด้วยการเปิดรับธรรมชาติ ทั้งภายในและภายนอก เชื่อมโยงบึงน้ำ สวนญี่ปุ่น บรรยากาศการพักผ่อน ด้วยการเชื่อมโยงผ่านการเลือกใช้วัสดุและจังหวะของพื้นที่ภายใต้คอนเซ็ปต์ของการหลอมรวม หรือ “Weld” อันเป็นที่มาของชื่ออาคาร ซึ่งออกแบบโดย Shade Works Design และออกแบบสวนโดย Wabisabi Spirit แห่งนี้ ศาลาแห่งนี้ มีฟังก์ชั่นคือการเชื่อม “ความสัมพันธ์” ระหว่าง ธรรมชาติ และผู้ที่พักอาศัยอยู่ในบ้านสองหลังที่กำลังขยับขยาย รองรับคนสามรุ่นของครอบครัวให้ได้มีเวลาร่วมกันในพื้นที่ และเวลาคุณภาพ ทั้งยังเป็นพื้นที่รับแขกได้ในตัวอีกด้วย #สวนหลากมุมมอง แม้จะเป็นสวนญี่ปุ่น และอาคารที่ออกแบบตามแนวทางประเพณีนิยมของห้องแบบญี่ปุ่น แต่การออกแบบก็เลือกใช้โครงสร้างสมัยใหม่อย่างโครงสร้างเหล็ก และบานเปิดอะลูมิเนียมที่บางเบา จึงทำให้ผู้ออกแบบสามารถเลือกสร้างช่องเปิดที่ดูแทบจะไร้ขอบกั้นเพื่อการรับมุมมองสวนที่แตกต่างไปในแต่ละส่วนได้อย่างดี นอกจากนี้ การออกแบบแกนของอาคารที่รับกับมุมมองสวน และการจัดวางผนังในแกนต่าง ๆ ยังสร้างให้เกิดวิวที่แตกต่างกันไปในแต่ละห้อง สัมพันธ์ไปกับองค์ประกอบสวนญี่ปุ่นที่บรรจงจัดวาง แม้จะเป็นสวนเดียวกันแต่ให้ความรู้สึกของเรื่องราวที่แตกต่าง ด้วยมุมมองที่เกิดขึ้นจากพื้นที่ที่ออกแบบให้สอดคล้องกันอย่างลงตัว #เปิดรับธรรมชาติในบรรยากาศพิเศษ นอกจากการเปิดมุมมองของสวน และการจัดวางผนังที่ไม่ทำให้เกิดความรู้สึกปิดกั้นแล้ว การออกแบบให้ธรรมชาติได้สอดแทรกเข้ามาในพื้นที่ของอาคารยังเป็นอีกจุดเด่นของอาคารแห่งนี้อีกด้วย โดยมีสกายไลท์ […]

LAAB is More บ้านธรรมดาที่แฝงความพิเศษ

ความธรรมดาอันแสนพิเศษ ของบ้านที่ถูกห้อมล้อมด้วยญาติมิตร วิถีชีวิตเรียบง่ายแบบชนบท ด้วยภาษาสถาปัตยกรรมร่วมสมัย อย่างเป็นกันเองแบบ “บ้านบ้าน” DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Studio Sifah “ลาบ” ไม่ใช่แค่อาหารเหนือ แต่เป็นวิถีชีวิตของบ้านหลังหนึ่ง นี่คือภาพแทนของการตามหา “ความธรรมดา ที่เท่ เป็นพิเศษ” ด้วยชีวิตด้านหนึ่งของเจ้าของบ้านเป็นนักถ่ายภาพ ที่เกิดขึ้นจากความต้องการพื้นที่ส่วนตัวและความสงบในการทำงาน บวกกับความชื่นชอบการเล่นสเก็ตบอร์ด มีวิถีแบบร่วมสมัย ส่วนชีวิตอีกด้านหนึ่ง เจ้าของบ้านเป็นคนชอบกินลาบ มีความสุขกับการทำลาบกันเองในหมู่เพื่อนฝูงพี่น้อง และเติบโตมากับทุ่งนา จึงมีตัวตนของวิถีชนบทอยู่ภายใน คำว่า “ลาบ” คำนี้ จึงเป็นความหมาย และนิยามของบ้านที่เป็นส่วนตัว พร้อมเปิดรับบรรยากาศเครือญาติแบบไทย ๆ ไปพร้อมกัน ที่นี่จึงเปี่ยมไปด้วยความสุขของการใช้ชีวิต (Joyful of Living) ที่มีความเป็นลูกผสม ระหว่างความสุขแบบชาวเมือง และความสุขแบบชาวบ้านที่เรียบง่าย #ความลาบร่วมสมัย บ้านหลังนี้ตั้งกลางพื้นที่ชุมชน ที่ถูกห้อมล้อมด้วยญาติพี่น้องในระยะประชิด ซึ่งยังใช้ชีวิตอยู่ในวิถีชีวิตที่เรียบง่ายแบบชนบท เช่น การทำอาหารจากเตาไฟ ที่ยังจุดถ่านเอง บ้านหลังนี้จึงออกแบบให้ตอบรับความงาม (Aesthetic) ในวิถีลูกผสมนี้ โดยสามารถรองรับจังหวะชีวิตร่วมสมัย (Functional Design1) และรองรับจิตวิญญาณชีวิตชนบทให้เกิดความแนบแน่น (Functional […]

Mr. New’s Cabin บ้านพักตากอากาศหลังเล็ก บนเนินโล่ง ที่ เชียงใหม่ ดื่มด่ำกับธรรมชาติผ่านการตั้งอยู่ของตัวบ้าน

Mr. New’s Cabin บ้านชั้นเดียวตั้งอยู่ที่อำเภอแม่ริม จังหวัด เชียงใหม่ ออกแบบโดย Housescape Design Lab เป็นบ้านที่ผู้ออกแบบนิยามว่าเป็น “กระท่อม” ของเจ้าของที่เป็นคนกรุงเทพฯ ที่สร้างเป็นบ้านสำหรับพักผ่อนตากอากาศในช่วงเวลาสั้นๆ ซึ่งตั้งใจให้บ้านเชื่อมต่อกับธรรมชาติโดยรอบด้วยการทำช่องเปิดรอบบ้าน และรับวิวน้ำหรือ Lake ที่อยู่หลังบ้าน สร้างด้วยวัสดุเกือบทั้งหมดที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Housescape Design Lab ตั้งคำถามต่อสถาปัตยกรรมผ่านการออกแบบ ข้อความที่สถาปนิกตั้งใจสื่อสารลงไปในบ้านหลังนี้ คือ การออกแบบรูปทรงคล้ายหินจริง แต่สร้างด้วยวัสดุคอนกรีต ครอบเสานอกบ้าน และในบ้านที่ใต้อ่างล้างจาน เป็นการสร้างสิ่งคล้ายธรรมชาติให้เกิดคำถามถึงการมีอยู่ระหว่าง “ของจริง” และ “ของสังเคราะห์” ที่มนุษย์สร้างขึ้นมา ซึ่งปัจจุบันทั้งสองอย่างนั้นผสมกลมกลืนจนกลายเป็นสิ่งเดียวกันไปแล้วในอาคารหลังหนึ่ง เช่น ในอาคารใหญ่อย่างห้างสรรพสินค้า ผนังที่กรุด้วยวัสดุหน้าตาเหมือนกับหินจริง แต่ความจริงแล้วกลับเป็นวัสดุสังเคราะห์ขึ้นมาให้ดูเหมือนกับของจริง แต่ในความรับรู้ของคนที่ใช้งานเข้าใจว่านั่นคือหินจริง เป็นการตั้งคำถามที่เกิดจากความสงสัยของสถาปนิก ที่ออกแบบเป็นรูปทรงเหมือนหิน ให้ความรู้สึกเหมือนกับเป็นวัสดุธรรมชาติอยู่ภายในบ้าน แต่เป็นวัสดุอื่นที่ผ่านการสังเคราะห์ขึ้นมา ซึ่งเมื่อคนมาเห็นก้อนวัตถุนั้น จะเรียกสิ่งนั้นว่าอะไร คราฟต์บ้านด้วยวัสดุและช่างจากท้องถิ่นในบ้านหลังนี้ ผู้ออกแบบได้ทดลองเทคนิคการผลิตที่มากขึ้นจากผลงานก่อนหน้านี้ นอกจากหลังคา และคอนกรีตที่ใช้เป็นวัสดุจากโรงงาน วัสดุอื่นนอกจากสองอย่างนี้ใช้ของที่มีอยู่โดยรอบในรัศมี 10 กิโลเมตรทั้งสิ้น รวมไปถึงรายละเอียดอย่างประตู […]

“บ้านใกล้วัด” ไอเดียการใช้เมทัลชีทในบ้านสไตล์โมเดิร์น

บ้านที่ใช้ เมทัลชีท มาเป็นองค์ประกอบหลักในส่วนของผนังและบานเปิดได้อย่างน่าสนใจ ในรูปแบบที่ดูทันสมัย พร้อมตอบโจทย์การเป็นบ้านพักตากอากาศ

บ้านสไตล์โมเดิร์นนอร์ดิก เล่นระดับ พร้อมฟังก์ชันอยู่ร่วมกับน้องแมว

บ้านสไตล์โมเดิร์นนอร์ดิก ที่อยู่ได้จริงในภูมิอากาศไทย หลังนี้เป็นบ้านขนาดชั้นครึ่ง ที่ใช้การเล่นระดับเพื่อปรับการใช้งานพื้นที่ให้พอดีกับ 2 คน กับ 1 แมว อยู่ร่วมกันอย่างลงตัว DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: ativich #พื้นที่ดินเดิม เพิ่มเติมคือออกแบบใหม่เดิมพื้นที่ส่วนนี้คือทาวน์เฮาส์ จำนวน 3 คูหา ที่ได้ถูกรื้อถอนออกไปเพื่อใช้ในการปรับให้กลายเป็นพื้นที่ใหม่ นั่นก็คือบ้านเดี่ยวขนาด 1 หลัง ซึ่งออกแบบให้มีการเล่นระดับซ่อนเหลื่อมความสูงกันใน 2 ส่วนของตัวบ้าน #จังหวะทีละครึ่ง ไม่ห่างเกินไป ใช้งานได้ดีจะเห็นได้ว่า จากที่จอดรถสู่ห้องนั่งเล่นมีการยกพื้นขึ้นครึ่งชั้น และจากห้องนั่งเล่นไปสู่ห้องนอนได้ยกพื้นขึ้นไปอีกครึ่งชั้น และทับอยู่เหนือที่จอดรถอย่างพอดิบพอดี การออกแบบนี้ไม่ใช่แค่เพียงเป็นการเชื่อมต่อพื้นที่ของบ้านแต่ละส่วนให้มีมุมมองสายตาต่อเนื่องกัน เพื่อเป็นผลในการสร้างความรู้สึกโปร่งโล่งมากขึ้น แต่ยังเป็นการเชื่อมต่อการรับรู้ต่อกันของสมาชิกในบ้าน ช่วยกระชับความสัมพันธ์ต่อกันได้อย่างดีอีกด้วย #บ้านน้องแมว บนพื้นที่แบบโมเดิร์นนอร์ดิกหลังคาจั่วของบ้านหลังนี้ ออกแบบตามความชื่นชอบของเจ้าของบ้านที่ต้องการบ้านคล้ายกระท่อมสองหลังปลูกติดกัน การออกแบบให้กลายเป็นหน้าจั่วเล็ก ๆ นี้ จึงเป็นทั้งภาพจำของบ้านที่แสดงถึงบรรยากาศอบอุ่นซุกซนส่วนภายในนอกจากพื้นที่หลักที่เล่นระดับกันแล้ว ก็ยังมีมุมปีนป่าย หรือหย่อนใจให้กับน้องแมวตัวโปรด โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับหน้าต่างบานใหญ่ที่เติมแสงธรรมชาติเข้าสู่พื้นที่ภายในได้ตลอดวัน และหน้าต่างกลมที่หันออกไปยังสวนที่เป็นมุมโปรดของน้องแมวไปโดยปริยาย #Designtips ออกแบบบ้านสไตล์นอร์ดิกในไทยหลังคาจั่วทรงสูง ไร้ชายคา อาจฟังดูย้อนแย้งกับภูมิอากาศไทย แต่สไตล์นอร์ดิกก็เกิดขึ้นได้หากอย่างจะทำ โดยที่เราควรจะมองหาทิศแดดที่ถูกต้องเสียก่อนว่าหน้าจั่วด้านที่เปิดรับแสงนั้นหันสู่ทิศเหนือหรือไม่ เพราะทิศเหนือเป็นทิศที่ไม่ได้รับแสงอาทิตย์โดยตรง จึงได้รับแสงสว่างกำลังดี และรับความร้อนน้อยกว่าทิศอื่น […]

บ้านโมเดิร์นที่เนี๊ยบราวกับสูทสั่งตัด เด่นด้วยหลังคาบางเฉียบตัดกับท้องฟ้า

บ้านโมเดิร์น ที่เนี๊ยบราวกับสูทสั่งตัด เด่นด้วยหลังคาบางเฉียบตัดกับท้องฟ้า โดยหลังคาที่ยื่นออกมาทำหน้าที่คุ้มแดดคุ้มฝนให้กับบ้านแบบรอบทิศ

บ้านทรงจั่ว โมเดิร์น 3 ชั้น ที่ใช้สัจวัสดุในมุมศิลป์ เปิดรับธรรมชาติให้พื้นที่อยู่อาศัย

บ้านทรงจั่ว 3 ชั้นโดดเด่นด้วยอิฐที่ผสมผสานสไตล์ที่ตอบโจทย์ของครอบครัว บนผืนที่ดินย่านชานเมืองนนทบุรีโดยใช้ประโยชน์ของธรรมชาติบนแนวคิดการออกแบบทั้งพื้นที่บริบท การเลือกใช้วัสดุในการออกแบบ และสภาพแวดล้อมที่จำเป็นต่อการอยู่อาศัยได้อย่างเรียบง่าย DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Alkhemist Architects แนวคิดการออกแบบ บ้านทรงจั่ว หลังนี้ออกแบบให้ผู้พักอาศัยให้ความรู้สึกถึงสภาวะน่าสบายมากที่สุด ทำให้พื้นที่ชั้นแรก ออกแบบห้องนั่งเล่นเชื่อมต่อส่วนรับประทานอาหาร ที่ยาวเป็นระนาบเดียวกันที่เปิดออกสู่พื้นที่เอ๊าต์ดอร์ข้างบ้าน สร้างความต่อเนื่องทางพื้นที่และเสริมบรรยากาศสวนเขียวขจีที่ช่วยให้ร่มรื่นอีกทั้งพรางความเป็นส่วนตัวได้ดี Alkhemist Architects สถาปนิกผู้ออกแบบบ้านหลังนี้ ใช้แสงและลมธรรมชาติมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยใช้ประโยชน์จากแสงทางทิศเหนือที่ความร้อนนั้นเข้ามาอย่างพอดีไม่กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การวางผังของอาคารจึงคิดถึงพื้นที่ว่างให้แสงและลมให้สามารถระบายอากาศได้ดี ด้านข้างของพื้นที่บ้านจึงมีสวนพื้นที่สีเขียวยาวขนานไปกับตัวบ้าน ดังนั้นห้องนั่งเล่นและห้องรับประทานอาหารชั้นหนึ่ง จึงเปิดรับพื้นที่สวนได้ 180 องศา ทำให้บ้านเกิดพื้นที่กิจกรรมจากภายในสู่ภายนอก ช่องเปิดต่าง ๆ ที่ออกแบบนนั้นก็มีส่วนสำคัญที่เชื้อเชิญให้ผู้อยู่อาศัยเกิดการใช้งานทั้ง ช่องเจาะ หน้าต่าง ประตูบ้าน จนไปถึงบันไดที่เป็นตัวเชื่อมสู่พื้นที่ใช้งานอื่น ๆ การวางบันไดทางขึ้นสู่ชั้น 2 เป็นรูปตัวแอล(L)ให้ความรู้สึกลื่นไหลทางพื้นที่ไปสู่ห้องนั่งเล่นที่ถูกวางไว้ด้านหลังซึ่งมีความส่วนตัวมากขึ้นกว่าชั้นที่หนึ่ง พื้นที่ถูกออกแบบให้เป็น Sunken เป็นพื้นที่ต่างระดับลงไป ให้ความรู้สึกอบอุ่น โฮมมี่ หรือเป็นคอมฟอร์ตโซนมากขึ้น จะเห็นได้ว่าห้องนั่งเล่นทั้งสองห้องแม้จะใช้งานพักผ่อนเหมือนกัน แต่มีคาแร็กเตอร์ที่แตกต่างกันชัดเจนและถูกแบ่งใช้งานตามแต่ละช่วงเวลาที่เหมาะสม บริเวณชั้นสองเมื่อเดินแยกจากบันไดขึ้นชั้นสามที่ทำหน้าที่แจกจ่ายพื้นที่ใช้สอย อีกทั้งยังให้ความเป็นส่วนตัวพรางห้องนอนมาสเตอร์ที่อยู่บริเวณด้านหน้าของชั้นสองได้ดี ชั้น 3 จะเป็นโซนของห้องนอนลูก ๆ 2 […]

ปรับปรุงบ้านพักครูอายุ 50 ปี ด้วยดีไซน์ใหม่แบบจัดเต็ม แต่ลดทอนให้เรียบง่าย งบไม่บานปลาย ใช้งานได้ดีกว่าเดิม

บ้านพักครู อาคารไม้เก่า ๆ ไร้การดูแล ที่อยู่ของครูบรรจุใหม่ เหมือนเป็นเรื่องตลกร้ายที่มักเห็นได้ตามนิยาย หรือละครไทย แต่นี่คือเรื่องจริงที่ครูหลายคนต้องพบเจอ และอาคารหลังนี้ก็เช่นกัน อาคารบ้านพักครูอายุ 50 กว่าปี ของโรงเรียนเฉลิมมณีฉายวิทยาคาร จากเดิมที่เป็นอาคารเก่าทรุดโทรม วันนี้ได้รับการบูรณะใหม่ โดยฝีมือการออกแบบของ Parin+Supawut ซึ่งเป็นการออกแบบปรับปรุงอาคารด้วยความคาดหวังว่า จะให้เป็นต้นแบบในการนำไปประยุกต์ออกแบบปรับปรุงอาคารบ้านพักครูในพื้นที่อื่น ๆ ของประเทศไทยต่อไป #เน้นซ่อมไม่เน้นสร้างใหม่ให้งบประมาณทำงานได้จริง “บ้านพักครูของโรงเรียนเฉลิมมณีฉายวิทยาคารหลังนี้ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2513 จากแบบสำเร็จโดยเป็นอาคารบ้านพักครูแบบกรมสามัญตามพิมพ์เขียนที่ถูกใช้ในโรงเรียนอีกหลายแห่งทั่วประเทศไทย ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา บ้านพักครูมักจะเป็นส่วนที่งบประมาณการปรับปรุงนั้นไม่เคยตกลงมาถึง นั่นทำให้บ้านพักครูเหล่านี้ไม่สามารถใช้งานได้จริง และเป็นผลให้ภาระกลับไปตกอยู่กับครูทั้งหลายต้องออกไปเช่าบ้านพักด้วยเงินของตัวเองเดือนละหลายพันบาท “การออกแบบในครั้งนี้จึงเป็นการเน้นกระบวนการซ่อมแซม และรักษาโครงสร้างเก่าของบ้านไว้แทนที่การออกแบบอาคารใหม่ทั้งหมด เพื่อเป็นต้นแบบในการซ่อมแซมปรับปรุงอาคารในรูปแบบเดียวกันนี้ในที่อื่น ๆ ของประเทศ ด้วยความคาดหวังที่จะทำให้ บ้านพักครู เป็นอาคารที่ใช้ได้จริง อยู่ในงบประมาณที่เป็นไปได้ และมีการปรับปรุงพื้นที่หลาย ๆ ส่วนให้ลงตัวต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น เช่น การขยายพื้นที่ครัวให้เชื่อมต่อกับห้องนั่นเล่น การเปิดช่องแสงเพิ่ม เพื่อสร้างส่วนพักผ่อน และอ่านหนังสือที่รับแสงธรรมชาติไม่อุดอู้อย่างเดิม โดยในการใช้งานวัสดุนั้น ก็นำไม้อัดที่เลือกใช้ไปออกแบบเป็นเฟอร์นิเจอร์ โต๊ะ ตู้ เตียง ที่มีขนาดสัดส่วนเหมาะกับการใช้งาน ร่วมกับบ้านพักครูหลังนี้ไปพร้อมกัน” #ดีไซน์ให้มากเพื่อลดภาระงานก่อสร้างให้น้อย […]