“Formica” เปิดโชว์รูมแห่งแรกในประเทศไทยใจกลางเมืองย่านพร้อมพงษ์

“Formica” ฟอร์ไมก้า ผู้คิดค้นและบุกเบิกอุตสาหกรรมวัสดุปิดผิวลามิเนตรายแรกของโลก ตอกย้ำความเป็นผู้นำในวงการวัสดุปิดผิวเปิดโชว์รูมแห่งแรกในประเทศไทยใจกลางเมืองกรุงเทพฯ ย่านพร้อมพงษ์ ที่สวยเด่น ทันสมัยพร้อมแสดงงานดีไซน์ และการใช้งานจริงของผลิตภัณฑ์ในพื้นที่ที่จัดป็น Co-Working Space ในพื้นที่กว่า 400 ตารางเมตร โดยครั้งนี้ Formica ขอขยายฐานบริการส่งเสริมจินตนาการของนักออกแบบ ด้วยการเปิดโชว์รูมใจกลางเมืองย่านพร้อมพงษ์ที่ A Square ถนนสุขุมวิท 26 เยื้อง K Villageใกล้สถานีรถไฟฟ้าพร้อมพงษ์ เพื่อเข้าถึงและอำนวยความสะดวกให้กับสถาปนิก มัณฑนากร เจ้าของบ้าน และผู้ที่สนใจเรื่องงานออกแบบและวัสดุตกแต่ง ออกแบบอย่างมีสไตล์โดยคุณอิธ พลัชไพนุพงศ์ จากบริษัท That’s ITH ซึ่งความสวยสะกดสามารถเห็นเด่นชัดได้ตั้งแต่ด้านนอกที่ให้ลุคเรียบหรูทันสมัย เตะตาด้วยประตูและแนวผนังกระจกที่มองผ่านเห็นถึงงานดีไซน์สวยหรูสะอาดตาภายในที่เติมเต็มด้วยแสงไฟอันสว่างเชิญชวนต้อนรับ เมื่อเดินเข้าภายในโชว์รูมก็จะเห็น company pillars ที่แสดงความแข็งแกร่งของกลุ่มบริษัทในเครือ ซึ่งแต่ละเสามีข้อมูลประวัติโดยย่อและผลิตภัณฑ์แนะนำของบริษัทในเครือที่ตั้งอยู่ในหลายประเทศทั่วโลกภายใต้ Broadview Holding Group และ จุดเด่นอีกจุดที่เห็นเด่นชัดจากทั้งภายนอกและภายในก็คือห้องประชุม FENIX® ใกล้ประตูทางเข้า ที่ตกแต่งด้วย 0750 Verde Comodoro สีเขียวละมุนทันสมัยจากคอลเล็กชั่น FENIX NTM®  ที่ให้ลุคโฉบเฉี่ยวทันสมัย […]

Symbiotic Urban Furniture เฟอร์นิเจอร์ที่ตั้งใจออกแบบมาเพื่อ ” คนและเมือง “

Symbiotic Urban Furniture โปรเจ็กต์ออกแบบเฟอร์นิเจอร์กับดีไซน์ที่เปลี่ยนให้ทุกที่ว่างกลายเป็นพื้นที่นั่งสาธารณะของ คนและเมือง

Roirai Project จะเป็นอย่างไร? เมื่อ PHTAA living design ต้องออกแบบโรงเรือนเกษตร กรรม

โรงเรือนเกษตร แห่งนี้ตั้งอยู่ในพื้นที่เขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ตั้งชื่อตามขนาดของพื้นที่ที่มีอยู่ 100 ไร่ เป็นพื้นที่เกษตรกรรมสำหรับนำส่งผักส่งสู่โรงแรมที่เป็นเจ้าของเดียวกันกับพื้นที่แห่งนี้นั่นคือ Lit hotel และ Reno hotel จากเดิมที่เป็นสวนผลไม้ การพัฒนาอาคารเพื่อป้องกันสภาพอากาศและแมลงรบกวน จึงทำให้ PHTAA ได้เข้าไปร่วมออกแบบและวางผัง หรือ Masterplan ให้กับพื้นที่เกษตรกรรมแห่งนี้ โรงเรือนหลักมีลักษณะเป็นซุ้มโค้ง 2 อาคาร วางตามแนวแกนที่ไม่ขวางทางน้ำ โดยอาคารที่ 1 ไล่ความสูงตั้งแต่ 2.75 เมตร ไปจนถึง 5.00 เมตร เพื่อใช้สำหรับปลูกพันธุ์ไม้ที่มีขนาดสูงได้ในอนาคต โดยในตอนนี้ได้มีการปลูกผักสวนครัวบ้างแล้ว เช่น ใบงา โรสแมรี่ ขึ้นฉ่าย ต้นหอม ผักชี พริก โหระพา ส่วนโรงเรือนที่ 2 มีความสูง 3.00 – 7.50 เมตร เพื่อปลูกแคนตาลูป มะเขือเทศ ลูกฟิก ขึ้นฉ่าย ผักสลัดต่าง ๆ […]

คุยกับ Nut.Dao กับเบื้องหลังงานออกแบบ ใน มหกรรมกาแฟสุดสนุกโดย The Coffee Calling

หลาย ๆ คนคงได้เห็นคาแร็คเตอร์คนชงกาแฟสุดแอ๊คทีฟ และวิชวลเก๋ ๆ จากงาน The Coffee Calling 2023 : The Escape to Coffee Party กันไปบ้างแล้ว วันนี้ room จึงไม่รอช้า ไปขอสัมภาษณ์ ผู้อยู่เบื้องหลังงานออกแบบของ มหกรรมกาแฟสุดสนุกโดย The Coffee Calling ในปีนี้ กัน ซึ่งคน ๆ นั้นก็คือ คุณ Nut.Dao หรือ คุณนัด-ณัฐพงศ์ ดาววิจิตร โดยในวันนี้ เราได้มีโอกาสพูดคุยกับเขาทั้งเรื่องความชื่นชอบในกาแฟ และเบื้องหลังแนวคิดการออกแบบในครั้งนี้ไปพร้อมกัน #กาแฟคืออะไรในสายตา Nut.DaoQ: วัฒนธรรมกาแฟคืออะไรในมุมมองของคุณนัด?A: “เรื่องกาแฟ ถ้าเป็นเมื่อก่อนก็เหมือนตอนเช้า ก็จะนึกถึงสภากาแฟที่ที่คนไปนั่งคุยกัน แต่พอผ่านเวลามา มีการพัฒนามาเรื่อย ๆ ไม่ใช่แค่เวลาเช้าแล้ว อาจจะเป็นเวลาไหนก็ได้ แต่กาแฟก็ยังเป็นตัวเชื่อมอยู่ โดยเชื่อมทั้งผู้คนและเชื่อมความสนใจร่วมกัน ไม่ว่าจะคุยงาน คุยเล่น เจอเพื่อน […]

RAY CHANG สถาปนิกจิตวิญญาณตะวันออก ผู้หลงใหลในธรรมชาติ และร่องรอยแห่งกาลเวลา

Ray Chang สถาปนิกผู้เติบโตท่ามกลางธรรมชาติ ที่สวยงาม และสุขสงบของเกาะไต้หวัน ความเข้าใจในสัจธรรมแห่งธรรมชาติหล่อหลอมแนวคิด และความเชื่อของเขาให้แตกต่างท่ามกลางกระแสทุนนิยม งานออกแบบของเขาสะท้อนความงามภายใต้แนวคิดแบบปรัชญาตะวันออก ที่โอบรับ “ความเปลี่ยนแปลง” แห่งกาลเวลา ในยุคที่ผู้คนตามหาความสมบูรณ์แบบอันจีรังยั่งยืน ผลงานของเขาได้รับรางวัลมากมายมาตลอดหลายปี รวมถึง Golden Pin Design Award รางวัลชั้นนำด้านการออกแบบของเอเชีย จึงอาจกล่าวได้ว่าเขาคือสถาปนิกรุ่นใหม่ไฟแรงที่น่าจับตาของไต้หวัน ที่มีผลงานโดดเด่นทั้งในหมวดที่พักอาศัย ร้านค้า ร้านอาหาร คาเฟ่ ฯลฯ Ray Chang ก่อตั้ง Soar Design Studio เมื่อปี 2012 ปีที่ใครหลายคนร่ำลือกันถึงวันสิ้นโลก ปีนั้นเองที่เขาถามตัวเองว่า “ความหลงใหล” ของตัวเองคืออะไร “ตอนที่ผมยังเด็ก ผมมักใช้ชีวิตท่ามกลางธรรมชาติในป่าหรือภูเขา หรือแม้แต่ตอนที่ผมย้ายเข้ามาในเมือง ผมก็พยายามกลับไปหาธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นภูเขาหรือทะเลเท่าที่โอกาสจะเอื้ออำนวย เมื่อผมถามตัวเองว่าชื่นชอบอะไรเป็นพิเศษ คำตอบก็คือ “ธรรมชาติ” ธรรมชาติในที่นี้ไม่ใช่แค่พืชพรรณไม้ต่าง ๆ  หรือภูมิทัศน์ที่สวยงาม แต่มันคือแนวความคิดและปรัชญา ที่สะท้อนในงานออกแบบของผม” room: ในงานออกแบบของคุณ คุณมักจะอุปมาอุปไมยองค์ประกอบทางการออกแบบต่าง ๆ กับธรรมชาติ […]

เตรียมพบกับ Sustainability Expo (SX2023) มหกรรมด้านความยั่งยืนที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน

แถลงข่าวการจัดงาน Sustainability Expo (SX2023) มหกรรมด้านความยั่งยืนที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 4 ตอกย้ำแนวคิดหลักของการจัดงาน “พอเพียง ยั่งยืน เพื่อโลก” (Sufficiency for Sustainability) ที่จะชวนให้คุณได้ร่วม “ลงมือทำจริง” และร่วมกันสร้างอนาคตให้โลกใบนี้น่าอยู่อย่างยั่งยืนไปด้วยกัน ระหว่างวันที่ 29 กันยายน – 8 ตุลาคม 2566 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ SX2023 ประกอบด้วยนิทรรศการ 8 โซน ได้แก่ โซน SEP Inspiration โซน Better World โซน Better Me โซน Better Living โซน Better Community โซน SX Food Festival โซน SX Marketplace และ โซน […]

ช่างภาพสถาปัตยกรรม วิชาชีพที่ไม่มีสอน ฟัง วิสันต์ ตั้งธัญญา บอกเล่าประสบการณ์กว่า 25 ปี

มากกว่า 25 ปีการเดินทางในฐานะช่างภาพสถาปัตยกรรมเล่าประสบการณ์ผ่านภาพถ่ายและนิทรรศการครั้งแรก W Workspace : The Open Space Exhibition & Workshop #roomPeople พาไปพบกับคุณวิสันต์ ตั้งธัญญา ผู้ก่อตั้ง W Workspace สตูดิโอภาพถ่ายสถาปัตยกรรม ที่เดินทางในวิชาชีพนี้มามากกว่าสองทศวรรษ เล่าผ่านนิทรรศการ W Workspace : The Open Space Exhibition & Workshop ภาพถ่ายสถาปัตยกรรมถือว่าเป็นสื่อ ที่ทำให้คนมองเห็นแม้ไม่ได้ไปอยู่สถานที่นั้นๆ ทำหน้าที่สื่อความหมาย องค์ประกอบต่าง ๆ สร้างเรื่องราวถ่ายทอดความรู้สึกหรือแนวคิดการออกแบบผ่านตัวสถาปัตยกรรม ปัจจุบันวงการถ่ายภาพหรืออาชีพช่างภาพสถาปัตยกรรมทันสมัยก้าวหน้าอย่างมาก แต่รู้หรือไม่วิชาชีพนี้กลับไม่มีสอนในหลักสูตรการเรียน คุณวิสันต์ ตั้งธัญญา หนึ่งในช่างภาพสถาปัตยกรรมมากประสบการณ์ผู้สนใจ และมีความตั้งใจให้วงการช่างภาพสถาปัตยกรรมยุคใหม่เติบโตได้อย่างต่อเนื่อง จากอดีตสู่ปัจจุบัน แนวคิดการถ่ายภาพของเขาเปลี่ยนไปหรือตั้งใจฝากความหวังอะไรกับช่างภาพรุ่นใหม่ ตามไปอ่านได้จากบทความนี้กันเลย! Q: อาชีพ “ ช่างภาพสถาปัตยกรรม “ ไม่มีสอนเป็นกิจจะลักษณะในหลักสูตรคณะไหน แม้ในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์เองก็ตาม แทนที่จะประกอบอาชีพสถาปนิก ทำไมคุณวิสันต์ ตั้งธัญญา […]

SUSHI KOGE ลิ้มรส โอมากาเสะ ในบรรยากาศบ้านขุนนางยุคเอโดะ

SUSHI KOGE ร้านอาหารญี่ปุ่นโดดเด่นด้วยการนำบ้านขุนนางยุคเอโดะมาเป็นแรงบันดาลใจในงานออกแแบบ และเป็นโอมากาเสะสไตล์เอโดะมาเอะ (Edomae)

SWEEPER แม้ E-Sports ก็ควรต้องเท่าเทียม เมาส์ ใช้เท้าสำหรับผู้พิการทุพพลภาพ โดย LOGA x Dots design studio

เพราะทุกคนต้องเท่าเทียม แม้ใช้เท้า ก็ลากหัวคมๆได้! และนี่คือเมาส์ที่เกิดขึ้นจากแรงบันดาลใจที่ได้เห็นเกมเมอร์ท่านหนึ่งเล่นเกม VALORANT ด้วยเท้า เนื่องจากเกิดอุบัติเหตุ ทำให้ใช้แขนขวาไม่ได้ “เราอยากทำเมาส์สำหรับคนที่ใช้เท้าเล่นเกม” คือสิ่งที่ทีม LOGA ได้ยกหูโทรศัพท์หา Dots design studio และโปรเจ็กต์ดี ๆ จนกระทั่งเกิดการพัฒนาเมาส์ตัวนี้จึงเกิดขึ้นเมื่อครึ่งปีก่อน หัวใจสำคัญของการออกแบบเมาส์ตัวนี้คือ “ต้องไม่ให้ความรู้สึกของความเป็นผู้พิการ” แต่จะต้องรู้สึกเหมือนได้ใช้สิ่งที่เข้ามาเสริมการเล่นเกม เป็นอุปกรณ์ของบุคคลนั้นๆ ที่ไม่ทำให้ผู้ใช้รู้สึกด้อยค่า ส่วนตัวของเมาส์นั้นได้ใช้ต้นแบบมาจากรุ่น Garuda PRO+ ที่ได้เพิ่มแท่นแม่เหล็ก และสายรัดเพื่อปรับการใช้งานให้เหมาะกับบุคคลได้เหมาะสม และหลากหลายยิ่งขึ้น การเลือกใช้โมเดล Garuda PRO+ นั้นไม่เพียงแค่เรื่องของประสิทธิภาพความละเอียดของเซนเซอร์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงคุณลักษณะที่สามารถเปลี่ยนแบตได้ง่ายอีกด้วย ปัจจุบัน เมาส์รุ่นนี้ได้ไปชนะรางวัล DEmark,Design Award มาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ในกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมและดิจิทัล และกำลังเตรียมการที่จะวางจำหน่ายโดยทั่วไปในเร็ววัน ไม่ว่าคุณจะเป็นคนที่มีปัญหากับการใช้มือจับเมาส์ หรือเพียงแค่อยากลองเปลี่ยนการทำงานไปสู่การใช้เท้า Sweeper จาก Loga ก็น่าจะเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่เปิดประตูสู่การใช้งานใหม่ ๆ ได้ไม่มากก็น้อย หรืออย่างน้อยก็สำหรับผู้พิการทุพลภาพให้ได้มีสิทธิ์ในการเล่นเกม(หรือทำงาน)เทียบเท่า หรืออาจจะเก่งกว่าคนทั่วไปก็เป็นได้ #เกร็ดน่ารู้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals) […]

room x Living Asean Design Talk 2023 URBAN FUSION / RURAL FLOURISH: Interweaving Urban and Rural Design งานเสวนาทางสถาปัตยกรรมที่ว่าด้วยการถักทอและส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่เมืองและชนบท

จบลงไปแล้วสำหรับกิจกรรม room x Living Asean Design Talk 2023 เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2566 ในธีม URBAN FUSION / RURAL FLOURISH: Interweaving Urban and Rural Design งานเสวนาทางสถาปัตยกรรมที่ว่าด้วยการถักทอและส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่เมืองและชนบท กิจกรรมหนึ่งในงานบ้านและสวนแฟร์ Midyear ณ ไบเทค บางนา กรุงเทพมหานคร และนี่คือเนื้อหาที่เกิดขึ้นภายในงาน รวมทั้งภาพบรรยากาศที่หลายคนน่าจะอยากเห็นกัน งานนี้ได้ 4 สถาปนิกจาก 3 ประเทศ ได้แก่ ม.ล. วรุตม์ วรวรรณ จาก Vin Varavarn Architects Ltd. กรุงเทพฯ คุณศุภวุฒิ บุญมหาธนากร จาก JaiBaan Studio เชียงใหม่ สองตัวแทนจากประเทศไทย นอกจากนั้นก็ยังมี […]

วัสดุธรรมชาติ ออกแบบ จากเศษเหลือ สู่ผลลัพธ์ในความเป็นไปได้ใหม่ของความยั่งยืน !

การสร้างสรรค์วัสดุผ่านเศษเหลือจากธรรมชาติก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ช่วยสร้างให้ “แนวคิดวัสดุหมุนเวียน” หรือ “Circular Economy

วัสดุ กระดาษ จากเศษเหลือ อุตสาหกรรมเกษตร

วัสดุ กระดาษ BCG ! เปลี่ยนวงจรมลพิษจากการ “เผา” สู่งานออกแบบใหม่จากเศษเหลือทิ้งทางอุตสาหกรรมเกษตร การเวียนใช้เศษเหลือทางอุตสาหกรรมเกษตร

พลาสติก ดีไซน์ ใหม่จากการ รีไซเคิล

พลาสติกนี้คือผู้ร้ายเสมอไป เพราะในปัจจุบันนั้นได้มีการคิดแนวทางการแก้ปัญหาดังกล่าวในหลากหลายวิธีการ ไม่ว่าจะเป็นการลดความต้องการ การใช้ซ้ำ รีไซเคิล จนนำไปสู่งานออกแบบที่สร้างสรรค์ต่างๆ เป็นการหาหนทางใหม่ๆในการใช้วัสดุสุดทนที่ยากจะย่อยสลายนี้ทั้งยังเพิ่มมูลค่าให้กับพลาสติกไ้ด้อีกทางหนึ่งด้วย

ไม้แปรรูป ผสานหลากวัสดุ เพิ่มมิติความเป็นไปได้ใน งานออกแบบ

ไม้เป็นวัสดุที่หาง่าย ใกล้ตัว สามารถใช้หมุนเวียน ยั่งยืนในระยะยาวเพราะปลูกทดแทนได้ room ได้รวบรวมสารพัด ไม้แปรรูป และวัสดุอื่น ๆ เมื่อนำมาผสานรวมกันแล้วได้สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เป็นวัสดุตกแต่งปิดผิว ใช้ในงานออกแบบ ช่วยสร้างมิติ และยังยกระดับงานฝีมือหัตถกรรม เช่นงานสานที่ตอบโจทย์งานได้หลากหลายรูปแบบ

เบื้องหลังดีไซน์เพื่อคุณภาพชีวิตกับ Antoine Besseyre des Horts แม่ทัพทีมออกแบบแห่ง LIXIL

อาจกล่าวได้ว่า นี่คือยุคสมัย ที่นักออกแบบต้องพบกับความท้าทายอันยิ่งใหญ่อย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน Antoine Besseyre des Horts ในฐานะแม่ทัพทีมดีไซน์ของ LIXIL Group ภูมิภาคเอเชีย ชวน room พูดคุยถึงเบื้องหลังการทำงานของทีมนักออกแบบผลิตภัณฑ์สำหรับที่อยู่อาศัย ท่ามกลางบริบทสังคม และพฤติกรรมผู้บริโภค ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว รวมถึงการตื่นตัวด้านปัญหาสิ่งแวดล้อม และการขยายบทบาทของปัญญาประดิษฐ์ ที่แน่นอนว่าจะส่งผลกระทบต่อโลกดีไซน์นับจากนี้เป็นต้นไป อันทวน เบแซร์ เดส์ออรส์ ( Antoine Besseyre des Horts ) ลีดเดอร์ (VP) ประจำลิกซิล โกลบอล ดีไซน์ (LIXIL Global Design) ภูมิภาคเอเชีย หัวเรือใหญ่ของทีมดีไซน์ 3 แบรนด์หลักในเครือ LIXIL อย่าง American Standard, GROHE และ INAX แบรนด์ผลิตภัณฑ์อุปกรณ์ และสุขภัณฑ์ภายในห้องน้ำ และห้องครัว หลังจากสั่งสมประสบการณ์ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์มายาวนานกว่าสองทศวรรษ เขาร่วมกับทีมนักออกแบบสร้าง ‘ไบเบิ้ล’ หรือคู่มือที่ช่วยวางรากฐานการออกแบบผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ต่างๆ […]

The Brewing Project x Benxblues ลายเส้นเอกลักษณ์ที่สะท้อน รส และ เรื่อง

The Brewing Project จึงเริ่มต้นสร้างสรรค์ฉลากที่ถ่ายทอดเรื่องราวและสื่อสารถึงรสชาติผ่านลายเส้นภาพประกอบ โดยยึดไอเดียความเป็นไทย และแนวคิดที่ว่าฉลากของบรรจุภัณฑ์นั้นสำคัญไม่ต่างจากตัวผลิตภัณฑ์เลย

CityFresh คอมมูนิตี้ ช็อปคนรักสุขภาพ ที่เหมือนยกเรือนเพาะชำมาไว้กลางกรุง!

ต่างประเทศ มีความตั้งใจที่จะเปิดหน้าร้านที่ให้ความรู้สึกเหมือนได้เดินเข้าไปในไร่ผลไม้เสิร์ฟความสดใหม่และความสดชื่น หน้าร้านแฟล็กชิปสโตร์แห่งแรกของ CityFresh ตั้งอยู่บนโลเคชั่นดีๆ อย่างปรีดีพนมยงค์ 26 บนอาคารพาณิชย์ 3 คูหาที่รีโนเวทใหม่เพื่อคนรักสุขภาพและผลไม้ที่แท้จริง!

O BUILDING รีโนเวทตึกเก่า พร้อมกับเปลี่ยนซอกตึกให้น่าเดินด้วยวิวสีเขียวสะท้อนมิติของกระจก

เมื่อถึงคราว รีโนเวทตึกเก่า ใหม่ ก็ต้องมาพร้อมการปรับปรุงพื้นที่ใช้งานทั้งภายในและภายนอกให้มีสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่ กับไอเดียการเปลี่ยนมุมอับของซอกตึกให้น่าเดิน อีกหนึ่งงานดีไซน์ที่ช่วยแก้ปัญหาความอึดอัดคับแคบของพื้นที่ในเขตเมือง O Building คือผลงานการ รีโนเวทตึกเก่า ขนาด 3 ชั้น ในเมืองมูซาชิโนะ (Musashino) ของกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ให้กลายเป็นอาคารหลังใหม่ที่มาพร้อมการสร้างสรรค์พื้นที่เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานใหม่ ออกแบบโดย Yohei Kawashima architects ที่นี่เกิดขึ้นภายใต้ข้อจำกัดด้านทำเลที่ตั้ง ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ขนาดจำกัดที่ต้องคำนึงถึงข้อกฎหมายการรีโนเวทอาคารของญี่ปุ่น โดยสถาปนิกได้นำแผนการถอยอาคารออกจากอาคารหลังอื่นที่อยู่ในพื้นที่ติดกัน ด้วยการออกแบบให้มีบันไดอยู่ภายนอกไว้ด้านข้าง แล้วสร้างทางเดินด้านล่าง เป็นผลพื้นที่แต่ละชันของอาคารมีองค์ประกอบที่เรียบง่ายและเท่าเทียมกันทั้ง 3 ชั้น สำหรับทางเดินด้านล่างของอาคาร ได้ออกแบบให้สามารถทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างถนน 2 สาย ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือและทิศใต้ ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเดินเข้าอาคารได้จากถนนทั้งสองฝั่ง ผ่านช่องว่าง หรือซอกตึกที่คับแคบ แต่เนื่องจากไซต์นี้อยู่ในพื้นที่เชิงพาณิชย์และมีอาคารหลังอื่น ๆ ที่สร้างอยู่ก่อนแล้ว ตั้งขนาบข้างจนชิดขอบของพื้นที่ ดังนั้นเพื่อเป็นการแก้ปัญหาทางเดินระหว่างซอกตึกที่ทั้งมืด คับแคบ และค่อนข้างอึดอัด ด้วยการสร้างกระจกครึ่งบานตามทางเดิน และปลูกต้นไม้ตลอดแนวทางเดินทั้งสองฝั่ง นำพาผู้คนไปสัมผัสกับธรรมชาติและเป็นประสบการณ์การใช้งานพื้นที่ที่ช่วยสร้างบรรยากาศที่สบายตาและผ่อนคลาย ท่ามกลางชุมชนและตึกสูงของเมืองใหญ่ โดยรั้วกระจกนี้จะช่วยสะท้อนมิติการเปลี่ยนแปลงของแสงและเงา และสะท้อนมิติด้านข้างของอาคารและด้านหลังของอาคารที่อยู่ติดกัน บางครั้งก็จะสังเกตเห็นการซ้อนทับของมุมมองทั้งสอง เป็นวิธีการง่าย ๆ แต่ได้ผล […]