เฮือนธรรม บ้านใต้ถุนสูง พื้นถิ่นไทย ในขนบแบบญี่ปุ่น



DESIGNER DIRECTORY

ออกแบบ: Arsom Silp Institude of the Arts

เจ้าของ: คุณสมยศ สุภาพรเหมินทร์ และคุณอูซาบุโระ ซาโตะ
ออกแบบบริษัทสถาปนิกชุมชนและสิ่งแวดล้อม อาศรมศิลป์ จำกัด
สถาปนิกที่ปรึกษา: คุณธีรพล นิยม
สถาปนิกโครงการ: คุณนันทพงศ์ เลิศมณีทวีทรัพย์
ผู้รับเหมา: คุณประทิว ยาใส


จุดเด่นของ บ้านใต้ถุนสูง เฮือนธรรมคือการออกแบบที่ผสมผสานข้อดีของ บ้านพื้นถิ่นไทย เข้ากับลักษณะพื้นที่ใช้งานของบ้านญี่ปุ่น 

 ลึกๆแล้วความงามของบ้านหลังนี้ คือการที่สถาปัตยกรรมและชีวิตสามารถเรียงร้อยไปด้วยกันได้อย่างสวยงาม และเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับธรรมชาติและวิถีแห่งความสมถะ

ไม่มีใครวาดภาพใหญ่ไว้กลางกิโมโนเหมือนลายบนเสื้อยืด มีแต่วาดลวดลายธรรมชาติเล็กๆ ไว้ที่มุมของชุดแล้วเหลือที่ว่างเอาไว้ให้คนดูได้จินตนาการภาพสร้างเรื่องราวต่อเอง” บ้านพื้นถิ่นไทย

นักเขียนคนหนึ่งเคยกล่าวถึงความพิเศษของที่ว่างบนผืนผ้ากิโมโน ไม่ต่างจากบ้านหลังนี้ที่ความงามของบ้านไม่ได้เกิดจากสถาปัตยกรรมที่รังสรรค์ขึ้น หากแต่เป็นที่ว่างที่ธรรมชาติและบ้านได้เรียงร้อยจังหวะเฉพาะตัวขึ้นจนเกิดเป็นความงามที่เป็นเอกลักษณ์ บ้านแห่งธรรมชาติและชีวิตสมถะหลังนี้จึงมีชื่อว่า “เฮือนธรรม”

แบบบ้านไทย

แบบบ้านไทย

หากพูดถึงคำว่า “บ้าน” แล้ว หลายคนคงนึกถึงอาคารสำหรับการอยู่อาศัยซึ่งแบ่งเป็นห้องตามการใช้งาน แต่ “เฮือนธรรม” กลับทำให้เราเข้าใจความหมายของบ้านที่ลึกซึ้งกว่านั้น เป็นหมู่เรือนที่ประกอบเข้าเป็นหมู่อาคารขนาดย่อมในบริบทที่ลงตัวกับคำว่า “ธรรม” ซึ่งมาจาก “ธรรมชาติ” และ “ธรรมดา”  อันเป็นความสมถะของชีวิต บ้านเฮือนธรรมเป็นทั้งบ้านพักอาศัย ที่ทำงานออกแบบเสื้อผ้าย้อมสีธรรมชาติจากผ้าพื้นเมืองและอาคารเก็บผ้าของแบรนด์ Usaato ประกอบด้วยเรือน 6 หลัง ได้แก่ “เรือนใหญ่” ของเจ้าของบ้านทั้งสองท่านคือคุณอึ่ง – สมยศ สุภาพรเหมินทร์และคุณอุสา – อูซาบุโระ ซาโตะ

แบบบ้านไทย

เรือนนี้ตั้งอยู่ทางทิศเหนือถัดไปคือ “เรือนเล็ก” สำหรับรับรองลูกๆและมิตรสหายที่มาเยือนถัดไปอีกหลังในบริเวณกึ่งกลางของหมู่เรือนก็คือ “ศาลาธรรม” มีไว้สำหรับการพบปะกันของคนในบ้านและเป็นลานอเนกประสงค์ในร่มสำหรับประกอบกิจกรรมต่างๆ เช่นจัดเสวนาธรรม จัดอบรมการออกแบบผ้าทอให้กลุ่มทอผ้าพื้นบ้าน และเมื่อปีที่แล้วก็จัดอบรมการทำสบู่ธรรมชาติให้ลูกๆและเพื่อนของลูกทำสบู่ไว้ใช้เอง รวมทั้งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปไม้ด้วย บริเวณชั้นสองของอาคารทั้งสองปีกมีห้องพักสำหรับกัลยาณมิตร

แบบบ้านไทย

แบบบ้านไทย

ถัดไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้คือ “เรือนหลวงพ่อ” สถานที่เข้าเงียบ (retreat) ของสมาชิกในบ้าน รวมทั้งใช้เป็นกุฏิพระในยามที่นิมนต์พระอาจารย์มาที่บ้าน และสุดท้ายทางทิศใต้ของหมู่อาคารจะเป็น “อาคารเก็บผ้า” และ “เรือนงาน” สำหรับทำงานออกแบบซึ่งแบ่งเป็นห้องย่อยๆตามหน้าที่ของช่างแต่ละคน

จุดเด่นของบ้านเฮือนธรรมคือการที่สถาปนิกจากสถาปนิกชุมชนและสิ่งแวดล้อม อาศรมศิลป์ใช้การออกแบบที่ผสมผสานข้อดีของบ้านพื้นถิ่นไทยเข้ากับลักษณะพื้นที่ใช้งานของบ้านญี่ปุ่น  อย่างในเรือนใหญ่เมื่อเดินขึ้นตัวบ้านจะพบว่ามีการยกพื้นขึ้นเล็กน้อยเพื่อป้องกันความชื้นจากพื้นดิน ซึ่งเป็นลักษณะของบ้านแบบไทยและญี่ปุ่นขณะที่ยังคงใช้พื้นที่บริเวณใต้ถุนบ้าน เป็นทั้งห้องรับแขกและรับประทานอาหารคล้ายลักษณะพื้นที่อเนกประสงค์อย่างใต้ถุนบ้านไทย

แบบบ้านไทย

แบบบ้านไทย

ในแง่ของโครงสร้างและภาษาทางสถาปัตยกรรมบ้านเฮือนธรรม เลือกใช้วัสดุมาผสมผสานเข้าด้วยกันตามข้อดีและความเหมาะสม โดยตัวเรือนเป็นไม้ทั้งหลัง มีเหล็กและปูนเป็นฐานโครงสร้าง แม้จะเป็นวัสดุสมัยใหม่ แต่ด้วยการออกแบบรูปแบบการใช้งานก็ทำให้วัสดุต่างๆกลายเป็นภาษาเดียวกันได้อย่างไม่น่าเชื่อ

แบบบ้านไทย

แบบบ้านไทย

แบบบ้านไทย

แบบบ้านไทย

แบบบ้านไทย

ในบางขณะผมกลับคิดว่าบ้านเฮือนธรรม ไม่ใช่สถาปัตยกรรมที่แสดงออกถึงความโดดเด่นอย่างอวดตัวแบบที่มักเห็นกัน แต่ลึกๆแล้วความงามของบ้านหลังนี้คือ การที่สถาปัตยกรรมและชีวิตสามารถเรียงร้อยไปด้วยกันได้อย่างสวยงาม และเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับธรรมชาติและวิถีแห่งความสมถะ ซึ่งคงต้องยกความดีให้ทีมสถาปนิกและวิถีชีวิตของคุณอึ่งและคุณอุสา ที่นำพาให้บ้านหลังนี้ดูสวยงามขึ้นเรื่อยๆตามกาลเวลา

ความสงบเรียบง่ายทำให้ใจเรานิ่ง…นิ่งจนได้ยินเสียงของธรรมชาติที่งดงามเราจะเห็นธรรมชาติ เมื่อสังเกตธรรมชาติ เช่นเดียวกันเราจะเห็นธรรมเมื่อสังเกตธรรม”
นี่คือสิ่งที่บ้านเฮือนธรรม…กระซิบบอกกับผม

เจ้าของ: คุณสมยศ สุภาพรเหมินทร์ และคุณอูซาบุโระ ซาโตะ
ออกแบบ:  สถาปนิกชุมชนและสิ่งแวดล้อม อาศรมศิลป์
สถาปนิกที่ปรึกษา: คุณธีรพล นิยม
สถาปนิกโครงการ: คุณนันทพงศ์ เลิศมณีทวีทรัพย์
ผู้รับเหมา: คุณประทิว ยาใส

เรื่อง:“วุฒิกร สุทธิอาภา”
ภาพ: ศุภกร ศรีสกุล


เรื่องที่น่าสนใจ