บ้านกับ “กาล”เปลี่ยนแปลง ผ่านมุมมองของ 8 กูรู แห่งวงการบ้านและการออกแบบ

นิตยสารบ้านและสวนเริ่มต้นขึ้นมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2519 ด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจของคุณชูเกียรติ อุทกะพันธุ์ เพื่อเป็นสื่อกลางในการให้ความรู้ความเข้าใจพร้อมคำ แนะนำดีๆ แก่คนรักบ้าน และนำ ไปปรับใช้สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เป็นเจตนารมณ์ครั้งแรกที่ทำ ให้เกิดการรวบรวมทีมสถาปนิกและมัณฑนากรมาช่วยกันเขียนหนังสือบอกเล่าไอเดียดีๆ และช่วยเป็นเพื่อนที่ปรึกษาแก้ปัญหาต่างๆ ของบ้าน โดยสิ่งเหล่านี้ได้ถูกส่งผ่านทีมกองบรรณาธิการจากรุ่นสู่รุ่นมาตลอด 45 ปีเต็ม

การออกแบบบ้านในประเทศไทย

ตลอดการนำเสนอบ้านสวยผ่านหน้านิตยสารทำ ให้เราได้เห็นวิวัฒนาการของการออกแบบบ้านที่เหล่าสถาปนิกและเจ้าของบ้านพยายามสร้างสรรค์และผสมผสานฟังก์ชัน ความงาม และรสนิยม ซึ่งมักได้รับอิทธิพลจากเรื่องราวเหตุการณ์และประวัติศาสตร์ในช่วงยุคสมัยนั้นๆ เข้าไปด้วยเสมอ การได้หันไปมองอดีต ทำให้เข้าใจถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้ดีขึ้น และแน่นอนว่าจะเป็นแนวทางของการพัฒนาไปสู่อนาคตด้วยเช่นกัน ครั้งนี้เราจึงมีบทสัมภาษณ์จาก 8 บุคคลในแวดวงของบ้านและการออกแบบ มาช่วยบอกเล่าถึง การออกแบบบ้านในประเทศไทย และมุมมองของบ้านกับ“กาล” เปลี่ยนแปลงที่ผ่านเวลาจากอดีต ผสมผสานมาสู่รูปแบบของบ้านในปัจจุบัน พร้อมคำแนะนำไปถึงการเตรียมปรับปรุงบ้านเพื่อวิถีชีวิตในอนาคตอันใกล้นี้ให้เราได้นำแนวทางไปใช้กัน

บ้านกับการเปลี่ยนแปลงในช่วง 45 ปี

ผมเชื่อว่าการอยู่อาศัยของมนุษย์จะเปลี่ยนทุก 10 ปี เจเนอเรชั่นของคนจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ คนจะเริ่มมีลูกอีกรอบหนึ่ง แล้วตัวเองก็จะประสบความสำเร็จอีกแบบหนึ่ง หรือพ่อแม่ประสบความสำ เร็จแล้วตัวเองต่อยอดขึ้นมาหรือในช่วงอายุของรุ่นผมคุณพ่อคุณแม่จะเหนื่อย แล้วเราก็ต่อสู้ประสบความสำเร็จด้วยตัวเอง สิ่งนี้ส่งผลต่อการใช้สอยในพื้นที่อยู่อาศัยค่อนข้างเยอะนึกย้อนสมัยตัวเองเป็นเด็ก เรื่องรายละเอียดของการอยู่อาศัยมันมินิมัลลิสต์มาก ในเชิงที่ต้องดูแลสิ่งแวดล้อม การต้องระวังขโมยขโจร การต้องระวังเรื่องโรคระบาด หรือความกังวลเรื่องความปลอดภัย บางคนเกิดมาในห้องแถวติดถนนใหญ่ ไม่เห็นมีใครบ่นว่าลูกจะวิ่งออกมาโดนรถชน (หัวเราะ) เพราะโลกวันนั้นรถก็ยังไม่เยอะใช่ไหมครับ ฉะนั้นเรื่องแรกเลยคือ คนและสังคมที่เปลี่ยน สังคมยังไม่เคยกังวลเรื่องภัยพิบัตินัก เราอาจมีน้ำท่วมที่เราเคยบ่นสมัยเด็กๆ  การที่มีน้ำท่วมทุก  4 ปีในกรุงเทพฯกลับกลายเป็นเรื่องสนุกที่มีเรือมาพายกันหน้าบ้าน แต่เมื่อเราเจอน้ำท่วมใหญ่เมื่อปี  2554 เรื่องนี้ก็กลายเป็นเรื่องใหญ่ ผู้คนเปลี่ยนตามเจเนอเรชั่นตามความหนาแน่น ความกังวลในเรื่องที่อยู่อาศัยก็เริ่มเปลี่ยนไป

เรื่องที่สองก็คือเรื่องความรู้ สมัยที่เรียนคนก็ยังไม่รู้เลยว่าสถาปนิกคืออะไรจนวันที่เรียนจบ แม่ผมเองก็ยังไม่รู้เลยว่าสถาปนิกทำหน้าที่อะไร เพราะเขารู้แต่วิศวกรและผู้รับเหมาก่อสร้าง ย้อนกลับไปในรุ่นก่อนหน้าผมอีก สถาปนิกจะทำ ให้กลุ่มลูกค้าเล็กๆ ย้อนไปก่อนหน้านั้นอีก เราอยู่บ้านเรือนซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมแบบพื้นถิ่น ก็จะอยู่กันมาแบบซ้าๆํ บ้านผมที่อยุธยาก็เป็นอย่างนั้น เราก็ว่ามันดีพอหรือตอนที่ย้ายมาอยู่ห้องแถวที่กรุงเทพฯ เราก็ว่ามันดีพอเช่นกัน การอยู่ในกรอบที่ไม่มีอะไรเลยมันก็ดีพอแล้ว แต่พอคนเริ่มมีความรู้มากขึ้น มีโรงเรียนสอนสถาปัตยกรรมมากขึ้น คนก็เริ่มจะเรื่องมากขึ้น (หัวเราะ) สมัยก่อนหนังสือต่างประเทศถ้ามาเล่มหนึ่งนี่คือขุมทรัพย์ของสถาปนิกเลยนะ เพราะฉะนั้นเมื่อโลกค่อยๆ พัฒนาขึ้นทั้งเชิงความรู้และการสื่อสาร มีGlobal Network โลกก็เล็กลง ใน 20 ปีให้หลังผมถือว่าเป็นการก้าวกระโดดใน 10 ปีแรก สถาปนิกกับลูกค้าก็ต้องเรียนรู้ไปด้วยกันทั้งสองฝ่ายจากแปลนในกระดาษ แต่วันนี้คนต้องการเห็นภาพที่ชัดก่อนบ้านจะเสร็จสิ่งสำคัญที่สุดคือ ที่ดินมีราคาแพงขึ้น อย่างเมื่อ 30 ปีที่แล้ว ในกรุงเทพฯ
ทุกคนอยากมีบ้านหลังใหญ่ ต้องมีสนามครึ่งหนึ่ง มีที่จอดรถ มีสระว่ายน้ำ พอมันเล็กลงเรื่อยๆ วิธีคิดก็เปลี่ยนไป และยังมีการรับรู้เรื่องของดีไซน์ การเลือกที่ตั้ง การอยู่อาศัย ตอนนี้ทุกอย่างเปลี่ยนเร็วมาก ต่อไปจะไม่ใช่เปลี่ยนทุก 10
ปีแล้ว อาจจะทุก 4-5 ปี ก็จะมีอะไรใหม่ๆ ให้เปลี่ยนเร็วยิ่งขึ้น

ทิศทางการออกแบบบ้านในอนาคต

ในอีกสัก 15 – 20 ปีข้างหน้า บ้านจะเปลี่ยนเยอะมาก เพราะการวางแปลน การกำ หนดสเปซ ต่อไปเอไอก็ทำ ได้ มันจะสร้างระบบโมดูลาร์ขึ้นมาโดยที่มนุษย์ไม่ต้องทำ  พอมนุษย์ไม่ต้องทำ ส่วนนั้น เชื่อว่าความเป็นนักออกแบบที่มีความคิดสร้างสรรค์ก็จะเกิดการนำ สิ่งอื่นมาเติมทดแทนทุกวันนี้เทคโนโลยีมันเติมให้เราทำ งานละเอียดมากขึ้น ต่อไปเอไออาจจะสร้างแปลนในที่ดินมาให้เรา 30,000 แบบ แล้วมนุษย์ก็เป็นคนย่อยว่าอะไรที่เหมาะสมกับคนนั้น เพราะกระบวนการทำ งานจริงก็เป็นแบบนั้น คือเราใช้ Scheme 20 กว่าแบบในการออกแบบหนึ่งโครงการ เราจะเค้นสมองของคนออกมาแต่สมองของคนมักมีความรักความชอบ และคนที่ชอบเหมือนกันก็มักมาอยู่รวมกัน ผมก็ต้องแยกความคิดออกไปให้เป็นแขนงต่างๆ เพื่อให้ได้ทางเลือกที่ครบมากที่สุด แล้วมาวิเคราะห์ว่าแบบไหนเหมาะ ฉะนั้นถ้าเรามี 30,000 Scheme จากเอไอ ผมก็จะเป็นคนเลือกออกมา แล้วมาสร้างสรรค์ในส่วนของฟอร์ม สเปซ และวัสดุใหม่ลงไป เทคโนโลยีจะเป็นตัวเร่งการใช้ชีวิตของคนให้ละเอียดขึ้นเรื่อยๆ

สิ่งที่สองที่มีผลคือโควิด-19 ซึ่งเปลี่ยนวิธีคิดของคนว่า เราไม่ได้อยู่ด้วยแดด ลม ฝน ขนาดห้อง 3 x 4 เมตร หรือฟังก์ชันที่เราคุ้นเคย ฟังก์ชันมันจะเพิ่มขึ้น วัสดุจะเปลี่ยนไป อย่างฝุ่นพีเอ็มด้วย เราก็ลืมไปแล้วว่ายังมีเรื่องนี้อยู่
การเข้าสู่อาคารอาจกลายเป็นแบบยานอวกาศหรือเปล่าที่ต้องทำความสะอาดตัวเองก่อน และใน 10-15 ปีข้างหน้า บ้านจะได้รับอิทธิพลของคำ ว่า Climate Change ที่ไม่ใช่แค่เรื่องอากาศ อาจมีภัยพิบัติอีก เพราะฉะนั้นสิ่งเหล่านี้จะถูก
พิจารณาอยู่ในงานออกแบบด้วย บ้านอาจมีความเป็นโมดูลาร์มากขึ้น อาจสร้างโดยใช้คนไปตอกตะปูไม่ได้แล้ว ตัวเครื่องฉีดคอนกรีตแบบสามมิติถือเป็นจุดเริ่มต้นของวิธีการก่อสร้างในอนาคต วัสดุศาสตร์จะเป็นเรื่องใหญ่ต่อจากนี้ไป

วัสดุคอนกรีตที่ใช้เครื่องพิมพ์สามมิติ หนึ่งในแนวคิดใหม่ของการก่อสร้าง    ขอบคุณภาพจาก SCG

ทิศทางการออกแบบบ้านในอนาคต

Housing Model จะเปลี่ยนไปใน 2 รูปแบบ รูปแบบแรก บ้านอาจมาแทนที่อาคารชุด เพราะบางคนอาจกลัวการอยู่ร่วมกับคนอื่นแบบ High Density ที่ต้องใช้ลิฟต์ใช้สิ่งต่างๆ ร่วมกับคนอื่น รวมทั้งการ Work from Home ทำ ให้เราเข้าที่ทำ งานนานๆ ครั้ง ดังนั้นทางเลือกของกลุ่มนี้ก็จะเลือกบ้านที่มีบริเวณพอหายใจหายคอได้ในช่วงที่ต้องอยู่บ้านนานๆ แถมราคาที่อยู่อาศัยชานเมืองก็ถูกกว่า ส่วนรูปแบบที่สอง ผู้ที่ยังเลือกอยู่อาคารชุดในเมือง พวกเขาน่าจะมองหาห้องที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ขนาด 24 ตารางเมตรที่เอาไว้นอนอย่างเดียว เปิดประตูสะดุดเตียงแล้วหลับเลยนั้นคงไม่น่าซื้ออีกต่อไป เพราะคนจะใช้ชีวิตเกือบ 24 ชั่วโมงในบ้าน พื้นที่ส่วนกลางของอาคารชุดก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนให้สนับสนุนการอยู่บ้านยาวๆ ของลูกบ้านได้ ฟังก์ชันเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพคงต้องกลายเป็นออปชั่น

ครัว
ห้องครัวกลายเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญเพิ่มขึ้นสำหรับทุกบ้าน
บ้านสไตล์คอนโดที่ต้องเน้นสเปซให้ปลอดโปร่งมากขึ้น

การออกแบบผังบ้านอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน จากที่คุณหมอรณรงค์ให้เราล้างมือ คุณหมอบางท่านถึงขนาดแนะนำ ให้เราถอดเสื้ออาบน้าก่อนเข้าบ้าน ซึ่งสำหรับบ้านเรือนไทยสมัยก่อนนั้นอาจทำ ได้ เดินไปเรือนอาบน้าก่อน ํ
ผลัดผ้าแล้วค่อยเข้าบ้าน สำ หรับบ้านสมัยใหม่ เราอาจถึงคราวต้องย้ายห้องอาบน้าํ อ่างล้างมือมาไว้หน้าบ้าน คล้ายๆ เวลาเราจะเข้าศาลเจ้า (ชินโต) เข้ามัสยิด ที่เราต้องชำ ระล้างร่างกายก่อนนอกจากนี้บ้านในอนาคตต้องมีพื้นที่ทำ ครัวที่สามารถประกอบอาหารได้จริง เพราะช่วงกักตัวผู้คนจะออกไปซื้ออาหารกันยากขึ้น ระบบพลังงานก็น่าจะเปลี่ยน ทำ งานอยู่บ้านค่าไฟฟ้าแพงขึ้นมาก เป็นภาระใหม่ของคนเมืองระบบพลังงานทางเลือกหรือแบบประเทศอื่นที่มีบริษัทผลิตไฟฟ้าราคาต่างๆมาให้เราเลือกก็น่าจะมี (ขอให้มี!) หรือแต่ละบ้านจำ เป็นต้องมีพาวเวอร์แบงก์สามัญประจำ บ้าน ทำ หน้าที่เก็บพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้หรือที่เหลือจากการใช้งานให้สามารถใช้ได้ในยามที่ไม่มีแสงอาทิตย์ หรือใช้ในช่วงเวลาที่ค่าไฟแพงกว่าปกติ (Peak Hour)

พลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานทางเลือกสำหรับบ้านในอนาคต

บทบาทสำคัญของย่านที่อยู่อาศัย

หากเรายอมรับว่าเราอาจต้องอยู่บ้านมากขึ้น ทำงานอยู่กับบ้าน เรียนที่บ้านแบบออนไลน์และออฟไลน์สลับไปมา คำ ถามคือ เมืองควรทำหน้าที่อย่างไร เมืองจะประคับประคองพวกเราอย่างไร หากเป็นในฉากทัศน์นี้ ย่านรอบบ้าน
จะมีความสำคัญขึ้นมาทันที จะทำอย่างไรให้การกักตัวที่บ้านไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต

พื้นที่สีเขียวในรูปแบบของสวนสาธารณะช่วยลดความเครียดของคนเมือง

ตลอดปีที่ผ่านเราจะเห็นนโยบายเชิงรุกจากเมืองอื่นๆ ทั้งในทวีปยุโรป อเมริกา และเอเชีย หลายเมืองเตรียมที่จะปรับปรุงหรือสร้างย่านรอบบ้าน ตัวอย่างเช่น เราจะเห็นปารีสและเมืองอื่นๆ ลงมือปฏิบัติตามแนวคิด 15 Minute
City หรือเมือง 15 นาที ซึ่งหากมองในเชิงทฤษฎีการวางผังแล้วก็ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่สาระสำคัญคือ รอบบ้านในระยะ 15 นาที หรือ 1.5 กิโลเมตร คุณต้องสามารถเข้าถึงสาธารณูปการในชีวิตประจำ วัน เช่น ร้านค้า สวนสาธารณะ โรงเรียน พื้นที่การเรียนรู้ ฯลฯ ที่เชื่อมโยงด้วยทางเท้าและทางจักรยานที่มีคุณภาพ

แนวคิดการปรับพื้นที่รอบบ้านให้มีคุณภาพ เชื่อมโยงด้วยทางเท้าและทางจักรยาน

เราจะเห็นได้ว่าช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 การเดินทางระยะไกลจะลดน้อยลง ปริมาณการจราจรลดลง มลภาวะฝุ่นควันเสียงบนถนนลดลงเป็นส่วนใหญ่ รวมทั้งคนไม่อยากเบียดกับผู้คนบนขนส่งสาธารณะ พื้นที่
สีเขียว เช่น สวนสาธารณะ มีความต้องการมากขึ้น สิ่งที่น่ากลัวไม่น้อยกว่าติดโรคโควิด-19 คือ โรคที่มาจากความเครียด และการไม่ขยับร่าง เช่น โรคอ้วน ความดัน หัวใจ การใช้ยาเสพติด ไปจนถึงความรุนแรงในครอบครัว หลายเมืองลงทุนกับการพัฒนาพื้นที่สวนสาธารณะ แต่ไม่ใช่สวนสาธารณะขนาดใหญ่ยักษ์ระดับเมืองที่ทุกคนต้องพุ่งมาใช้งานที่นี่ แต่เป็นสวนระดับย่านที่รองรับคนในย่านและสามารถเข้าถึงได้ด้วยการเดิน การปรับปรุงย่านให้อยู่ได้และน่าอยู่โดยให้อำนาจในการจัดการท้องถิ่น น่าจะเป็นหนึ่งในกุญแจสำคัญต่อจากนี้


บ้านกับการเปลี่ยนแปลงในช่วง 45 ปี

สมัยก่อนบ้านเดี่ยวจะเป็นของคหบดี ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่หรือผู้ดี (คำเรียกในสมัยนั้น) แถวสุขุมวิทไล่ตั้งแต่สุขุมวิท 1 ไปในซอยก็จะเห็นบ้านที่สมัยรุ่นอาจารย์ของผมเป็นผู้ออกแบบ ซึ่งปัจจุบันท่านก็อายุ 70-90 ปีกันแล้ว เป็นอาจารย์ซึ่งไปเรียนที่สหรัฐอเมริกากลับมา สถาปัตยกรรมจึงเป็นบ้านที่ได้รับอิทธิพลจากที่นั่น

ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์หรือบ้านจัดสรร เท่าที่ค้นได้มีการเริ่มทำตั้งแต่พ.ศ. 2513 และก็มีหลายยุคด้วยกัน ในช่วงที่ผมเข้าไปทำ งานกับคุณเสรี โอสถานุเคราะห์(ผู้บริหารโครงการหมู่บ้านเสรี) ท่านก็เล่าว่าจะทำ บ้านให้โอสถสภา เต๊กเฮงหยู ตรงหัวหมาก บ้านจัดสรรในช่วงนั้นจึงออก Western American มีต้นปาล์ม เพราะบางช่วงเวลาอากาศที่แอลเอจะเหมือนเมืองไทย อาจารย์ที่กลับมาในยุคนั้นจะเป็นยุคโมเดิร์น มีสถาปนิกดังอย่าง Frank Lloyd Wright ต่อเนื่อง
มาถึง Mies Van Der Rohe ส่งต่ออิทธิพลสู่คนที่ไปเรียนกลับมา อย่างเช่นอาจารย์แสงอรุณ รัตกสิกร ซึ่งเคยบุกไปขอฝึกงานกับ Frank Lloyd Wright มาแล้ว

บ้านยุคนั้นประมาณ 40-50 ปีที่แล้วจึงออกแนวมินิมัลลิสต์ แนวแมททีเรียลลิซึม เพราะอาจารย์ยุคนั้นกลับมาก็จะสอนให้เหลือเศษวัสดุน้อย รู้จักวัสดุว่าสเกลเท่าไหร่ ต้องใช้ให้คุ้มค่า ขนาดวัสดุมีแค่ไหนก็ทำ แค่นั้น บ้านจึงเตี้ยๆ
อย่างหมู่บ้านเสรี เสนา สัมมากร มิตรภาพ ก็จะเป็นรุ่นเดียวกัน พอในช่วงปี พ.ศ.2520 กว่าๆ คุณกอบชัย ซอโสตถิกุล (ผู้ก่อตั้งบริษัทซีคอน จำ กัด) ก็ได้เริ่มนำ ระบบ Pre-cast เข้ามาใช้ในการสร้างบ้าน เพราะวิศวกรที่ออสเตรเลีย
มีการใช้ระบบก่อสร้างนี้ แต่หน้าตาบ้านก็ยังไม่เปลี่ยนแปลงมาก คือ เรียบ มีฟังก์ชันปกติ กระเบื้องลอนคู่ หลังคาแบนๆ ทุกอย่างยัง 1.20 x 2.40 เมตร หมด (สเกลของวัสดุก่อสร้าง)

รููปแบบบ้านของซีคอนในยุคแรก

จากนั้น 10 ปีต่อมา ก็เริ่มมีแลนด์แอนด์เฮ้าส์ ถือเป็นยุคใหม่ของบ้านจัดสรร ทุกคนก็ไล่ตามกันมา โดยมีแลนด์แอนด์เฮ้าส์เป็น Benchmark ช่วงนั้นผมเองก็ไปทำหมู่บ้านเสรี ปรับให้เป็นรุ่นใหม่ จนถึงยุคทองของอสังหาริมทรัพย์
ที่ผมย้ายไปอยู่แสนสิริ ซึ่งต้องนับถอยหลังไปสัก 15 ปี

ช่วงนั้นแสนสิริจะเชี่ยวชาญคอนโดมาก่อน ผมไปสร้างทีมอสังหาฯแนวราบ ไม่ใช่บ้านที่มีแค่ฟังก์ชัน วัสดุอย่างเดียว ตอนนั้นแสนสิริเริ่มสร้างบ้านที่มีธีมเป็นโครงการเศรษฐสิริที่ประชาชื่น มีขนาดใหญ่ 800 หลัง มีคุณบิล เบนสเลย์
ทำ คลับเฮ้าส์มาก่อน โดยนำ คอนเซ็ปต์ของภูฏานมาทำ เป็นเซ็นเตอร์ของโครงการ บ้านในนั้นก็จะเป็นสไตล์ภูฏานตามกันไป เข้าไปตอนแรกก็ตกใจว่ามันมาอีกยุคหนึ่งละ พบว่าหลักการอาจไม่ตรงที่เรียนมาทั้งหมด แต่พอมาผนวก
กับการตลาด มันก็ต้องมีธีมจริงๆ เป็น Story Teller

แบบบ้านของซีคอนในปัจจุบัน  มีหลากหลายรูปแบบและราคา

เฟส 1 เฟส 2 ก็เป็นแบบนั้น พอเฟส 3 ผมเข้าไปศึกษาดู สถาปัตยกรรมภูฏานแบบนี้เป็นวัดกับวัง ถ้าเป็นที่อยู่อาศัยจะไม่ใช่หน้าตาแบบนี้ จึงมาคิดที่บริบทโดยรอบของการดีไซน์ก่อน ถึงจะมาเป็นบ้าน มาเป็นแลนด์สเคป เป็นซุ้มประตูทางเข้า สุดท้ายคำ ว่าธีมก็กลายเป็นคอนเซ็ปชวล มันเริ่มแปลงมาเป็นความลึกซึ้งมากขึ้น บ้านราคา 10 ล้านเท่ากัน แต่เรามีเรื่องเล่าที่มาที่ไปมูลค่ามันจะมากกว่า 10 ล้าน พอคุณเศรษฐา ทวีสิน (ผู้บริหารแสนสิริ) ซื้อไอเดีย ก็เลยเป็นอีกยุคใหม่ของบ้านจัดสรร

ทิศทางการออกแบบบ้านในอนาคต

วันนี้ในระยะ 20 กิโลเมตรจากศูนย์กลางของกรุงเทพฯ หาบ้านเดี่ยวราคา 10-15 ล้านไม่ได้แล้ว ด้วยปัจจัยของราคาที่ดิน เดาว่าหลังจากรุ่นนี้ซึ่งเป็นรุ่นที่ 3 รุ่นต่อไปคนจะกลับมามองที่ฟังก์ชันใช้สอยที่พอเหมาะพอควร ทุกอย่างต้องมินิมัลลิสต์ เพื่อให้ผู้บริโภคจับต้องได้ มีเงิน 20 ล้านไปซื้อบ้านจัดสรรไกลๆ เกือบปทุมธานี ตรงนั้นบ้าน 100 ตารางวา 20 ล้านแล้วนะ การพัฒนาเมืองก็ไม่ทันกับสาธารณูปโภคที่รัฐจัดให้ ต่อไปคนกรุงเทพฯอาจต้องเช่าที่อยู่อาศัยแบบสังคมตะวันตก คำว่า “เซ้ง” อาจกลับมา อันนี้คาดการณ์ส่วนตัวนะครับ เพราะที่ผ่านมาค่าใช้จ่ายเราขึ้นมา 20 เท่า แต่รายได้คนขึ้นมา 5-6 เท่าเอง

บริบทรอบ ๆ ที่มีผลกับการออกแบบบ้าน

ในประเด็นของกรุงเทพฯ บางทีเราไม่รู้ว่าที่ดินข้างๆ จะสร้างเป็นอะไรต่อไป ต่างจากการสร้างบ้านกลางทุ่งที่มีลมมาทางนี้ แดดเข้าทางนี้ กฎหมายผังเมืองไปทับความเจริญของเมือง จึงเกิดการใช้งานที่ผสมผสานกันไป อีกประเด็นคือ ตอนนี้เมื่อมาอยู่ในธุรกิจรับสร้างบ้าน ก็พบว่าผู้บริโภคมีความชอบแบบส่วนตัวสูงมาก แม้เราทำ บนบริบทคอนเซ็ปต์ดีไซน์แบบนี้นะ แต่เขาก็ขอเปลี่ยนหมด บางทีขอไปเลือกซื้อกระเบื้องสุขภัณฑ์เองทั้งหมด จากส่วนนี้หักไปห้าแสนบาท เมื่อขอไปซื้อเองก็มีค่าใช้จ่ายเพิ่มไปเป็นล้านสอง แถมโดนเชียร์เอาของค้างสต๊อกมาให้อีก ซีคอนมีลูกค้าที่สร้างบ้านตั้งแต่ 2-30 ล้าน สมัยก่อนบริษัทรับสร้างบ้านมีแบบบ้านอยู่ จะไม่ค่อยมีการปรับแบบ แต่ปัจจุบันจะมีการปรับเกือบทุกหลัง เจอคนหลากหลายมาก บริบทจะไม่ได้อยู่กับดีไซเนอร์ทั้งหมด ไม่ใช่แค่ทำ เลที่ตั้ง บริบทจะอยู่ที่ผู้บริโภค นี่คือเรื่องจริง ช่วงที่ทำอสังหาริมทรัพย์เหมือนเราทิ้งระเบิดลูกใหญ่ แต่ปัจจุบันเรียกว่าเรายิงปืนทีละนัด


บ้านกับการเปลี่ยนแปลงในช่วง 45 ปี

เอพีพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับคนเมืองมานานร่วม 30 ปี ตลอดเวลาเราได้พัฒนาสเปซ ทั้งในมิติงานออกแบบสถาปัตยกรรม งานออกแบบตกแต่งภายในไปจนถึงงานออกแบบภูมิทัศน์ เพื่อให้ทุกพื้นที่ภายในบ้านเดี่ยว คอนโด และทาวน์โฮมของเครือเอพีสามารถตอบรับกับไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไปของคนในแต่ละยุคสมัยได้อย่างสูงสุด แน่นอนว่าพฤติกรรมมีอิทธิพลอย่างมากต่อการออกแบบที่อยู่อาศัย ซึ่งการทำ ความเข้าใจเชิงลึกถึงความต้องการแฝงของผู้บริโภคจึงเป็นหัวใจสำคัญที่ทำ ให้ทีมออกแบบของเอพีสร้างสรรค์พื้นที่ที่เข้าถึงคนทุกวัย หนีจากความจำ เจเรื่องพื้นที่ใช้สอย ด้วยการนำ เสนอสเปซในความหมายใหม่บนข้อจำกัดเดิมๆ

บริบทของบ้านในอดีต หลายคนอาจตีความให้เป็นเพียงที่อยู่อาศัยเพื่อหลับนอนเพียงเท่านั้น แต่เมื่อกระแสโลกเปลี่ยน เราเริ่มมีความต้องการที่มากขึ้นกว่าการกิน อยู่ หลับนอน บ้านกลายเป็นสัญลักษณ์หนึ่งในการเติมเต็มให้ชีวิต
สะท้อนความสำ เร็จหรือรสนิยมของเจ้าของ ซึ่งงานดีไซน์เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นเพื่อเติมเต็มด้านสุนทรียศาสตร์ นอกเหนือจากด้านฟังก์ชันดีไซน์ที่ตอบรับการใช้งาน

ในด้านพื้นที่ใช้สอย จุดเปลี่ยนที่สะท้อนให้เราเห็นได้ถึงพฤติกรรมการเลือกที่อยู่อาศัยที่เปลี่ยนไปคือ ความสำเร็จของทาวน์โฮมแบรนด์บ้านกลางกรุง บ้านกลางเมือง ซึ่งนั่นเป็นสัญญาณที่สื่อให้เห็นถึงการยอมรับว่า บ้านไม่จำเป็นต้องอยู่
ในรูปแบบหลังคาหน้าจั่วมี 2 ชั้นอีกต่อไป

การปรับรูปลักษณ์ของบ้านที่ไม่จำเป็นต้องอยู่ในรูปแบบหลังคาหน้าจั่วมี 2 ชั้นอีกต่อไป

พอมาถึงยุคการมาของรถไฟฟ้าในบ้านเรา จุดเปลี่ยนสำ คัญคือ การยอมรับที่จะอยู่อาศัยในพื้นที่จำ กัดอย่างคอนโดมิเนียม ซึ่งเอพีได้ให้ความสำคัญอย่างมากในการออกแบบสเปซที่หลายคนมองเป็นเพียงพื้นที่ในกล่องสี่เหลี่ยมเท่านั้น ให้เป็นมากกว่าสเปซเพื่อการพักผ่อน แต่ทุกตารางนิ้วต้องตอบโจทย์ชีวิตของคนรุ่นใหม่ได้อย่างไม่จำ กัด ซึ่งการพัฒนาพื้นที่ในคอนโดของเอพีวันนี้ เราไม่ได้อยู่แค่พื้นที่สี่เหลี่ยมในห้องเท่านั้น แต่เรายังขยับการออกแบบมายังพื้นที่ส่วนกลาง ให้ทุกพื้นที่เอ็มพาวเวอร์คนอยู่ในทุกวัน แม้ในวันที่โรคระบาดได้เปลี่ยนพฤติกรรมการอยู่อาศัยร่วมกันไปในบริบทใหม่ก็ตาม

พื้นที่อเนกประสงค์ในบ้านที่สามารถปรับเปลี่ยนเป็นห้องประชุม สตูดิโอขนาดย่อม พร้อมนวัตกรรมต่างๆ
เพิ่มพื้นที่สีเขียวเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ

ทิศทางการออกแบบบ้านในอนาคต

เราได้ศึกษาข้อมูลในเชิงลึกของคนเมืองในมุมของการอยู่อาศัยร่วมกันกับวิกฤตการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งพบ
3 ประเด็นที่คนให้ความสำ คัญและมีผลต่อการออกแบบที่อยู่อาศัยในอนาคตอย่างเลี่ยงไม่ได้

3 หัวใจสำคัญในการพัฒนาที่อยู่อาศัยตอบโจทย์เทรนด์อนาคต

1. Density การจัดการสิ่งอำ นวยความสะดวกในโครงการกับปริมาณความหนาแน่นในการเข้าใช้งานภายในสเปซนั้นๆ อย่างเช่นที่ AP เรามีการนำ หลัก Human x Social Distancing Scale คือการใช้หลักการของการออกแบบสัดส่วนมนุษย์กับการเว้นระยะห่างทางสังคม เพื่อออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกภายในพื้นที่ส่วนกลางให้มีระยะห่างตั้งแต่ 1.20-3 เมตร ลดความหนาแน่นในพื้นที่ส่วนกลางต่างๆ เช่น ล็อบบี้ เล้านจ์ ฟิตเนส Co-working Space

2. Health ที่อยู่อาศัยต้องให้ความสำคัญกับสุขภาพของคนในบ้าน ยกตัวอย่างการให้ความสำคัญกับหลักการออกแบบระบบระบายอากาศ (Ventilation Design) เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนของอากาศภายในไม่ให้เป็นที่สะสมเชื้อโรค ตลอดจนการพัฒนานวัตกรรมและเลือกใช้เทคโนโลยีที่เอื้อให้เกิดอากาศที่มีคุณภาพควบคู่ไปกับการคำนึงถึงการประหยัดพลังงานและการบำรุงรักษาในระยะยาว

3. Technology การพัฒนาและเลือกใช้เทคโนโลยีที่จะเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกในการอยู่อาศัย ความจริงอย่างหนึ่งของวันนี้คือ เราทุกคนจะรู้สึกไม่ปลอดภัยเมื่อไม่มีมือถือ ดังนั้นการประยุกต์เทคโนโลยีเข้ามาไว้ในมือถือเพื่อสร้างความสะดวกและปลอดภัยให้ผู้อยู่อาศัย คือเทรนด์แห่งการพัฒนาในอนาคต

บริบทรอบ ๆ ที่มีผลกับการออกแบบบ้าน

การออกแบบบ้านที่คำนึงถึงทิศทางเพื่อเปิดรับช่องแสง เพิ่มความโปร่งสบายเข้าบ้าน

ในการวางมาสเตอร์แปลนของโครงการ ทั้งโครงการบ้านเดี่ยว ทาวน์โฮม และคอนโดมิเนียม เรามีการคำนึงถึงภาพรวมโครงการเมื่อลูกค้าเข้าอยู่อาศัย ดังนั้นในการออกแบบทุกรายละเอียด ไม่ว่าจะเป็นระบบสาธารณูปโภค การวางถนนภายในโครงการ ตำแหน่งตัวบ้าน ทิศการวางช่องแสงและหน้าต่างเพื่อเปิดรับลมและแดด รวมถึงปริมาณหรือขนาดพื้นที่ของคลับเฮ้าส์ เราจะมีการคำ นึงถึงการใช้งานในแต่ละช่วงเวลา เพื่อสร้างความสะดวกสบายให้ผู้อยู่อาศัยมากที่สุด


บ้านกับการเปลี่ยนแปลงในช่วง 45 ปี

ในภาพใหญ่การเปลี่ยนแปลงรูปแบบบ้านและที่อยู่อาศัยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมามาจากปัจจัยหลายส่วนประกอบกัน
Urbanization ความเป็นเมืองและการเติบโตของเมือง เป็นหนึ่งความเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้อย่างชัดเจนในช่วง 45 ปีที่ผ่านมา เมืองเติบโต ผู้คนย้ายเข้ามาอยู่อาศัยในเมืองมากขึ้น ทั้งคนในประเทศและชาวต่างชาติ เมืองหนาแน่นขึ้น ที่ดินราคาสูง สิ่งเหล่านี้ส่งผลกับรูปแบบบ้านและการอยู่อาศัยโดยตรง รูปแบบบ้านได้รับการพัฒนามาโดยตลอดเช่นกัน จากบ้านเดี่ยวที่ดินกว้างมาสู่บ้านแถว ห้องแถว ทาวน์โฮม บ้านแฝด คอนโดมิเนียมทั้งแบบอาคารเตี้ยและอาคารสูง ประชากรที่เพิ่มขึ้นและความหนาแน่นของเมืองส่งผลกับคุณภาพการอยู่อาศัยของบ้านโดยตรง ซึ่งการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ กลไกทางการตลาด และการออกแบบก็ส่งผลให้เกิดการแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิตการอยู่อาศัยให้สอดคล้องกับบริบทของเมืองที่เติบโตได้ดียิ่งขึ้นในหลายส่วน

Life Style and Smart Things รูปแบบวัฒนธรรมการใช้ชีวิตและเทคโนโลยีในชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งวิธีการสร้างรายได้ที่เปลี่ยนไปสู่รูปแบบการทำงานในบริษัทและในสำนักงานมากขึ้นในช่วง 30-45 ปีที่ผ่านมา ผู้คนมีเวลา
อยู่บ้านน้อยลงมากจนฟังก์ชันบางอย่างในบ้านสามารถลดลงได้ เช่น ห้องทำ งานครัวไทย แต่วิกฤติโควิด-19 จำ กัดให้คนต้องอยู่บ้านมากขึ้น บ้านจึงกลับมามีความสำคัญอย่างมากโดยทันที หลายฟังก์ชันต้องมีการปรับเปลี่ยนและเพิ่มเติมเทคโนโลยีเป็นอีกส่วนที่สำ คัญอย่างมากกับวิถีชีวิตของเราในช่วง 15 ปีที่ผ่านมาและช่วยแก้ปัญหาได้หลายส่วนในช่วงโควิด-19 ซึ่งแม้ผ่านช่วงนี้ไปวิถีชีวิตแบบ Work Anywhere ก็อาจยังมีอยู่ เพราะช่วยเพิ่มความสะดวกได้ในหลายส่วนที่อยู่อาศัยก็ต้องได้รับการพัฒนาให้ตอบโจทย์วิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงต่อไป

รูปแบบบ้านที่พัฒนาจากบ้านเดี่ยวมาเป็นรูปแบบของทาวน์โฮมตามการเติบโตของเมือง

Construction and Material Technology เทคโนโลยีด้านการก่อสร้างและวัสดุก่อสร้างที่ได้รับการพัฒนาเพื่อตอบโจทย์เรื่องงบประมาณระยะเวลาการก่อสร้าง ข้อจำ กัดเรื่องปริมาณและคุณภาพของช่างฝีมือก่อสร้างที่เปลี่ยนไป จากบ้านโครงสร้างไม้ในอดีตมาเป็นบ้านระบบพื้นคานคอนกรีต ผนังก่ออิฐ จนมาถึงบ้านระบบ Fully Prefabrication แม้ว่าอุตสาหกรรมการก่อสร้างที่ผ่านมาจะได้รับการจัดอันดับเป็นอุตสาหกรรมที่มีการ Digitalization ช้าที่สุดเป็นอันดับ 2 รองจากเกษตรกรรม แต่ทุกวันนี้ก็ได้รับการพัฒนามากขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ วิธีการออกแบบ ไปจนถึงขั้นตอนการก่อสร้างที่ต้องเป็น Digital Construction มากขึ้นจากหลายปัจจัย

Regulation กฎหมายอาคารและกฎหมายที่เกี่ยวข้องได้รับการพัฒนาตามบริบทการอยู่อาศัยที่เปลี่ยนแปลง เช่น การเกิดของบ้านรูปแบบใหม่ๆ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ตั้งแต่ทาวน์โฮม บ้านแฝด ไปจนถึงคอนโดมิเนียม ฯลฯ แต่ขณะเดียวกันก็ยังมีกฎหมายหลายส่วนที่ยังอาจได้รับการพัฒนาไม่ครบถ้วนและเป็นข้อจำกัดที่ทำ ให้ไม่สามารถตอบโจทย์การอยู่อาศัยของผู้คนในยุคปัจจุบันอยู่บ้าง ตัวอย่างเช่น โครงการบ้านจัดสรร บ้านเดี่ยวจะต้องมีที่ดินตั้งแต่ 50 ตารางวาขึ้นไป ในขณะที่บ้านแฝดสามารถมีที่ดิน 35 ตารางวาได้ ซึ่งเข้าใจว่าที่มาของกฎหมายข้อนี้น่าจะมาจากการเปิดโอกาสให้สามารถสร้างบ้าน โครงสร้างติดกันเป็นคู่ได้โดยไม่ต้องมีระยะร่นจากแนวที่ดิน เพื่อให้สร้างบ้านได้
เต็มที่ดินมากขึ้น เนื่องจากที่ดินมีขนาดเล็กและไม่ให้การจัดสรรที่ดินเกิดความหนาแน่นมากไป แต่คนส่วนใหญ่ก็ชอบอยู่บ้านเดี่ยวที่ไม่จำ เป็นต้องมีโครงสร้างติดกับเพื่อนบ้าน ซึ่งการออกแบบสามารถแก้ปัญหาได้ ส่วนนี้จึงเป็นข้อจำ กัดที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการของผู้อยู่อาศัย

ทิศทางการออกแบบบ้านในอนาคต

คนส่วนใหญ่ยังชอบอยู่บ้านแบบบ้านเดี่ยวที่ไม่จำเป็นต้องมีโครงสร้างติดกับเพื่อนบ้าน ซึ่งการออกแบบสามารถแก้ปัญหาได้

Efficient Space Utilization, Space Functional Resilience ประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์จากที่ดินสูงสุดและความยืดหยุ่นด้านประโยชน์ใช้สอยในแต่ละพื้นที่อย่างเต็มประสิทธิภาพ ความเป็นเมืองยังคงทำให้ที่ดินมีจำกัด การอยู่อาศัยทางตั้งและแนวสูงสามารถตอบโจทย์เรื่องนี้ได้อย่างดี ความยืดหยุ่นและการออกแบบเพื่อให้สามารถปรับเปลี่ยนการใช้งานได้หลากหลายกลายเป็นโจทย์ที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่มีวิกฤติอย่างเช่นโรคระบาดที่เราเผชิญอยู่ บ้านและที่อยู่อาศัยที่มีพื้นที่ยืดหยุ่นปรับการใช้งานได้หลากหลายจะสามารถรองรับรูปแบบการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไปได้อย่างดีและมีอายุขัยที่สามารถตอบความต้องการของผู้อยู่อาศัยในระยะยาวมากขึ้นด้วย

Smart Technology Integration เทคโนโลยีจะเข้ามาผสานอยู่ในทุกส่วนของบ้านและทุกจังหวะการอยู่อาศัยมากขึ้น ความเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาที่รวดเร็วทำ ให้บ้านในปัจจุบันควรมีการจัดเตรียมระบบวิศวกรรมพื้นฐาน
ที่สามารถรองรับการพัฒนาของเทคโนโลยีในอนาคตได้ระดับหนึ่ง

Health Wellness and Well-being Criteria สุขภาพ สุขอนามัย และคุณภาพชีวิตการอยู่อาศัยเป็นสิ่งที่ผู้คนให้ความสำคัญมากขึ้น แสง อากาศ น้ำดื่ม  น้ำใช้  และอีกหลายสิ่งในพื้นที่อยู่อาศัยต้องมีคุณภาพดี การออกแบบที่ดีจะสามารถสร้างสุขภาวะที่มีคุณภาพได้ ตั้งแต่การวางผัง การกำหนดที่ว่าง Space Planning ทางสถาปัตย์และการตกแต่งภายในไปจนถึงงานภูมิทัศน์ สวน ต้นไม้ และงานทางวิศวกรรมทุกระบบ บ้านและที่อยู่อาศัยแบบโครงการที่มีพื้ นที่ส่วนกลาง พื้นที่ออกกำลังกาย และพื้นที่ทางสังคม สามารถสร้างให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจได้อย่างดี

สร้างสุขภาวะที่มีคุณภาพได้ผ่านการวางผัง การกำหนดที่ว่างทางสถาปัตย์และการตกแต่งภายใน ไปจนถึงงานภูมิทัศน์ สวน ต้นไม้

Sustainable and Environmental Friendly ความยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเป็นเป้าหมายสำ คัญในทุกการพัฒนาของทุกผู้คนในยุคนี้ บ้านและที่อยู่อาศัยควรจะสามารถตอบโจทย์เรื่องนี้ได้ดีในทุกมิติมากขึ้น ตั้งแต่ขั้นตอนการพัฒนาที่ดินและพื้นที่โดยรอบ ขั้นตอนการก่อสร้างที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ไปจนถึงการเข้าอยู่อาศัยในอาคารที่สามารถลดการใช้ทรัพยากรในทุกด้านได้อย่างดีที่สุด เช่น การลดการใช้พลังงานและทรัพยากรธรรมชาติ การใช้วัสดุในกลุ่ม Recycle/Upcycling เพิ่มเติม การลดปริมาณขยะ การจัดการขยะและอื่นๆ ได้ในระยะยาว

บริบทรอบ ๆ ที่มีผลกับการออกแบบบ้าน

บริบทพื้นที่และสภาพแวดล้อมเป็นหนึ่งในสิ่งสำคัญที่สุดในการออกแบบทุกโครงการ ทิศทางลม แสงอาทิตย์ การเข้าถึงพื้นที่ที่ดิน สภาพแวดล้อม ผู้คนและสิ่งปลูกสร้างโดยรอบ ส่งผลกับรูปแบบบ้านและที่อยู่อาศัยตั้งแต่ระดับการวางผังไปจนถึงรูปทรงอาคารในทุกมิติ บ้านในเมืองจะมีข้อจำกัดส่วนนี้อย่างมากเนื่องจากความหนาแน่นและการเติบโดของเมือง มีอาคารเพื่อนบ้านรายล้อมโดยรอบเต็มพื้นที่ ซึ่งส่งผลกับทุกๆเรื่องด้านคุณภาพการอยู่อาศัย บริบทและสภาพแวดล้อมจึงเป็นตัวกำหนดรูปแบบบ้านในทุกรายละเอียดเสมอ การออกแบบในปัจจุบันจึงต้องอาศัยเทคนิคด้านการออกแบบที่พัฒนามากขึ้นเพื่อแก้ปัญหาในทุกมิติ เทคโนโลยีหลายด้านได้รับการพัฒนาขึ้นมาเพื่อเป็นอุปกรณ์ทั้งด้านการออกแบบให้ได้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงการปรับใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มคุณภาพการอยู่อาศัยที่ดีให้แก่ตัวอาคารและสิ่งปลูกสร้างให้สามารถตอบโจทย์วิถีชีวิตของผู้คน สิ่งมีชิวิต ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในทุกๆด้านตามที่กล่าวมาข้างต้น


บ้านกับการเปลี่ยนแปลงในช่วง 45 ปี

บ้านในวันนี้กับในอดีตต่างกันเยอะครับ ผมอาจไม่สามารถย้อนไปได้ไกลมากนัก แต่ในช่วงชีวิตตั้งแต่เริ่มต้นเรียนที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตอนนั้นผมรู้สึกว่าในประเทศไทยเรามีบ้านทั้งหมด 2 แบบ คือ บ้านที่สวยงามอลังการแบบที่เราเห็นได้ในสื่อต่างๆ อย่างในละครหรือนิตยสารสมัยนั้น ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนเลยว่าบ้านหลังนี้ต้องมาจากสถาปนิกของบริษัทใหญ่ๆ เป็นผู้ออกแบบ กับบ้านแบบชาวบ้านที่เราพบเห็นได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน ซึ่งคนกลุ่มนี้ก็จะออกแบบบ้านกันเอง ส่วนมากก็จะว่าจ้างผู้รับเหมาแถวบ้านที่ไว้วางใจได้เป็นผู้ออกแบบและก่อสร้าง ปัจจุบันผมเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงในวงการสถาปนิก เราเริ่มเห็นสตูดิโอสถาปนิกขนาดเล็กเพิ่มมากขึ้นทุกวัน ขณะเดียวกันคนส่วนใหญ่ก็เข้าถึงสื่อต่างๆ ได้หลากหลายมากขึ้น สามารถหาข้อมูลหรือรูปภาพในสิ่งที่ตนเองสนใจ เห็นบ้านที่ตรงตามความต้องการของตัวเอง ทำให้เกิดรูปแบบของบ้านที่มีทางเลือกมากขึ้น

เมื่อก่อนเราจะมีความเชื่อว่าบ้านในความฝันของทุกคนคือภาพบ้านหลังใหญ่ที่มีสนามหญ้าสีเขียวหน้าบ้าน เป็นพื้นที่ที่มีไว้สำหรับการพักผ่อนเพียงอย่างเดียว เมื่อความเชื่อเช่นนี้เปลี่ยนไป เราจะเห็นบ้านในปัจจุบันที่เป็นทั้งบ้านพักและสตูดิโอที่ทำ งาน บ้านที่รีโนเวตมาจากอาคารหลังเก่า หรือผู้คนที่เริ่มกลับไปใช้ชีวิตที่ต่างจังหวัด ออกไปทำเกษตรกรรม อยู่กับธรรมชาติ มันเกิดการตีความคำว่า “คุณภาพชีวิตที่ดี” ในความหมายที่เปลี่ยนไปจากเดิม ความสุข
ไม่ใช่ตัวเงิน แต่ความสุขคือการได้ทำงานในสิ่งที่รัก

บ้านฮ่มใจ๋ อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ งานออกแบบบ้านกึ่งร้านค้าที่คำนึงถึง Sense of Place จากสวนลำไยเดิมในพื้นที่และชุมชนรอบๆ
งานออกแบบพื้นที่กิจกรรมบ้านขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน ภายใต้การออกแบบที่ต้องการสร้างความเชื่อมต่อของพื้นที่สาธารณะเดิมของชุมชน รวมถึงเอกลักษณ์ดั้งเดิมของวิถีชีวิตคนในพื้นที่
โครงการออกแบบภูมิทัศน์ที่ทุ่งนํ้านูนีนอย อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ นำเสนอความงามของธรรมชาติจากการพัฒนาพื้นที่
ช่วยพื้นฟูระบบนิเวศเดิมให้กลับคืนมา ร่วมกับการอยู่กับชุมชนเกษตรกรรมรอบๆพื้นที่

ทิศทางการออกแบบบ้านในอนาคต

จากวันนี้เราอาจถึงเวลาต้องทบทวนนิยามคำ ว่า “บ้าน” ใหม่ ไม่ใช่แค่คุณค่าในด้านสถาปัตยกรรม แต่เป็น“บ้าน”ในรูปแบบของวิถีและการดำเนินชีวิตมากกว่า การที่เราต้องอยู่บ้านในช่วงกักตัวทำ ให้เราออกไปใช้ชีวิตนอกบ้านได้น้อย
ลง และเริ่มเห็นรายละเอียดของบ้านมากขึ้น เช่น เห็นความสำคัญของพื้นที่สำหรับทำอาหารรับประทานเอง ต้องการพื้นที่สำหรับปลูกต้นไม้ในบ้าน เริ่มหันมาเลี้ยงสัตว์ในบ้าน รวมถึงความสำคัญของพื้นที่สำหรับนั่งทำงานในบ้าน

ผมสังเกตจากลูกค้าและคนรอบตัว ผมคิดว่าผู้คนอาจเริ่มใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น อาจไม่ถึงกับเป็นปัญหาระดับมหภาคอย่างน้าแข็งขั้วโลกละลายหรือ ํ ปัญหาโลกร้อน แต่คนจะเริ่มตื่นตัวกับปัญหารอบตัวอย่างเรื่องของฝุ่นควัน บ้านต้องสามารถระบายอากาศและก็ต้องสามารถปิดเพื่อกันฝุ่นควันได้ ขณะเดียวกันในเมืองใหญ่คนก็เริ่มกังวลเรื่องปัญหาน้ำท่วมด้วยเช่นกัน นั่นก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนเริ่มออกมาใช้ชีวิตและปลูกบ้านอยู่ในต่างจังหวัดนอกเมืองมากขึ้น

นอกจากนี้ผมยังคิดว่า ในอนาคตการมีบ้านในเมืองเป็นต้นทุนของชีวิตที่สูงมาก หลายคนจึงเลือกกลับมาสร้างบ้าน สร้างงาน สร้างชีวิตในท้องถิ่นของตัวเอง เพราะต้นทุนเรื่องที่ดินน้อยกว่าในเมืองมาก เราเริ่มรู้จักการออกแบบโดยใช้วัสดุอุปกรณ์ทางเลือกที่ประหยัดและราคาถูกลง เหมือนการตัดเสื้อผ้าซึ่งแน่นอนว่าต้องมีร้านเสื้อผ้าแบบสำเร็จรูปแบบหมู่บ้านจัดสรรอยู่ แต่การใช้บริการสถาปนิกก็จะเหมือนกับตัดเสื้อผ้าในร้านเล็กๆ ที่ปัจจุบันสามารถสั่งตัดให้พอดีตัวในราคาที่ไม่แพงเหมือนสมัยก่อน สามารถปรับเปลี่ยนให้เข้ากับตัวเราและงบประมาณได้ยืดหยุ่นขึ้น

รูปตัดของโครงการที่พักอาศัยของ 2 เจ้าของบ้านที่มีพื้นที่ติดกันและออกแบบระบบนิเวศให้เชื่อมโยงกัน  แต่ยังคงรักษาความเป็นส่วนตัวของแต่ละคนเอาไว้ได้อย

บริบทรอบ ๆ ที่มีผลกับการออกแบบบ้าน

สังคมในเมืองที่มีคนอยู่อาศัยหนาแน่นและราคาพื้นที่จัดสรรสูงขึ้น ทำให้คนในเมืองเริ่มอยากแชร์พื้นที่อยู่อาศัยกันมากขึ้น คนรุ่นใหม่เริ่มไม่ต้องการที่จะเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยในเมืองเพียงคนเดียว เราอาจเริ่มเห็นคนกลุ่มหนึ่งที่มีไลฟ์สไตล์คล้ายกันมาซื้อพื้นที่อยู่ร่วมกัน รวมไปถึงใช้พื้นที่นั้นสำหรับเป็นที่ทำงานทำเลในย่านธุรกิจอาจไม่เหมือนเดิม เพราะคนสามารถทำ งานที่บ้านหรือสถานที่อื่นๆ ได้สะดวกมากขึ้น ในขณะที่ผู้คนเองก็เริ่มอยากออกไปสู่ธรรมชาติ
ภายนอกมากขึ้น เริ่มผลักตัวเองไปสู่พื้นที่นอกเมืองมากขึ้นเหมือนกัน เราจะเห็นทั้งการเปลี่ยนวิถีชีวิตของตัวเองให้เข้าไปอยู่กลมกลืนกับวิถีชีวิตในพื้นถิ่นนั้นๆ

ขณะเดียวกันคนจากภายนอกที่มาอยู่ใหม่ก็นำ เอาวัฒนธรรมของตนเองที่ติดตัวมาสู่พื้นที่ใหม่ด้วย ซึ่งจุดนี้ต้องระวังให้ดี เพราะมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ปัญหาหลักคือ คนจากในเมืองไม่ค่อยเข้าใจเรื่องการใช้ชีวิตแบบคนชนบท อย่างสมมติว่าคนเมืองไปอยู่นอกเมืองในพื้นที่เกษตรกรรม สิ่งที่มักทำ อย่างแรกคือการถมดินซึ่งส่วนมากก็เป็นการทำลายลำ เหมืองที่คนในพื้นที่เดิมใช้ในการทำ เกษตรกรรมร่วมกันแต่ดั้งเดิม สุดท้ายก็มักมีปัญหากัน ก็ต้องทำ รั้วสูงแบ่งแยกกันไปเหมือนในเมืองทั้งที่ความจริงแล้วเราสามารถปรับตัวให้อยู่กับธรรมชาติได้ ซึ่งธรรมชาติเดิมมีต้นทุนที่เราไม่ควรเสียไป ตัวสถาปนิกชุมชนหรือสถาปนิกพื้นถิ่นต้องเข้ามาช่วยและมีส่วนร่วมในการออกแบบเรื่องนี้ นักออกแบบต้องเห็นความสำคัญของ “Sense of Place” สุดท้ายแล้วบ้านไม่ควรจบที่ความสวยงามเพียง “ภาพ” อย่างเดียว ต้องเข้าใจบริบทของพื้นที่และสิ่งแวดล้อมด้วย


งานภูมิทัศน์กับการเปลี่ยนแปลงในช่วง 45 ปี

รู้สึกว่าในสมัยก่อนงานภูมิทัศน์จะพูดเรื่องสไตล์เป็นตัวนำ  เช่น สวนสไตล์บาหลี สไตล์ทรอปิคัล สไตล์โมเดิร์น ฯลฯ งานออกแบบโครงการก็จะนำ เสนอจุดขายในแง่ของสไตล์นั้นๆ พอมาในยุคหลังตั้งแต่ช่วงที่เราประสบปัญหาอุทกภัย
ปีพ.ศ.2554 คนเริ่มสัมผัสได้ถึงปัญหาโลกร้อนหรือสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป ก็ทำ ให้เกิดแรงกระเพื่อมของ Nature-based Solution หรือการแก้ปัญหาที่อาศัยธรรมชาติเป็นพื้นฐาน ผู้คนเริ่มมองประโยชน์ในด้านมิติของสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น เริ่มตั้งคำ ถามเกี่ยวกับงานออกแบบว่าเมื่อทำ ไปแล้วจะส่งผลต่อระบบนิเวศหรืทรัพยากรธรรมชาติอย่างไร นอกเหนือไปจากแค่ประโยชน์ของตัวเอง ทำให้สไตล์หรือรูปลักษณ์ของงานภูมิทัศน์เปลี่ยนแปลงไป แน่นอนว่าความสวยงามยังเป็นสิ่งจำ เป็นเพื่อสร้างสุนทรียะอยู่ แต่ต้องมีส่วนผสมที่มีประโยชน์ต่อธรรมชาติเข้ามามีอิทธิพลมากขึ้น

ต้นไม้ที่ใช้ในงานภูมิทัศน์ต้องพ่วงไปด้วยกันกับประโยชน์ในด้านอื่นๆ เช่น มีระบบรากในการดูดซับน้าํ ช่วยดึงดูดแมลง กรองฝุ่น หรือเป็นต้นไม้ที่ไม่ได้ขุดล้อมจากที่อื่นมาปลูก รวมไปถึงงานออกแบบต้องมีปัจจัยอื่นมากกว่าสไตล์ที่ต้องนำมาคิดร่วมกันกับคอนเซ็ปต์ ซึ่งก็ส่งผลออกมาทางกายภาพด้วย อย่างเช่นผู้คนในปัจจุบันเริ่มชื่นชอบสวนที่ดูรกแบบเป็นธรรมชาติมากกว่าสวนแบบทางการที่ต้องตัดแต่งเช่นในอดีต ความงามของภูมิทัศน์เริ่มไม่ใช่เรื่องของสไตล์ แต่เป็นความงามที่เกิดจากความจำ เป็นที่นำ ไปสู่การใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนมากขึ้น สวนในยุคก่อนที่จัดไว้เพื่อชื่นชมและมองความงามเป็นหลัก ปัจจุบันมันถูกนำ ไปใช้งานมากขึ้นและเกิดประโยชน์มากกว่าสุนทรียะเพียงอย่างเดียวที่มีประโยชน์ต่อธรรมชาติ ระบบนิเวศและสุขภาพความเป็นอยู่ของผู้คน

ทิศทางการออกแบบบ้านในอนาคต

ผมคิดว่างานภูมิทัศน์หรือสวนจะผสานเข้ากับงานสถาปัตยกรรมกันอย่างแยกไม่ออก ทั้งหมดจะถูกคิดและออกแบบร่วมกันมาตั้งแต่แรก จากงานออกแบบภายในสู่การออกแบบภูมิทัศน์ภายนอก ต่อยอดไปถึงพื้นที่รอบๆ อย่าง
ย่านหรือพื้นที่สาธารณะ เพราะว่าแท้จริงแล้วประสบการณ์ของมนุษย์เราไม่ได้แยกสิ่งเหล่านี้ออกจากกัน ยิ่งในช่วงที่ผ่านมาเรากลับไปอยู่บ้านมากยิ่งขึ้น เราเริ่มเห็นคุณค่าของธรรมชาติและอยากให้ธรรมชาติเข้ามามีส่วนร่วมในชีวิต
ช่วยบำบัดเยียวยาเรามากยิ่งขึ้นแบบทฤษฎี“ไบโอฟีลิก” (Biophilic) พื้นที่สีเขียวในอนาคตของงานออกแบบอาจมีปริมาณพื้นที่เทียบเท่ากับการใช้พื้นที่คอนกรีตในการออกแบบเลยก็ว่าได้

คิดว่าในอนาคตงานออกแบบเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมต้องเห็นผลได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น เช่น พื้นที่สีเขียวสามารถช่วยลดผลกระทบจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างจริงจัง นั่นหมายความว่าเทคโนโลยีต้องพัฒนาควบคู่ไปกับการอยู่ร่วมกับธรรมชาติมากขึ้น แม้แต่ในปัจจุบันงานออกแบบของฉมาก็เริ่มทำ งานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ลมร้อนจากแอร์คอนดิชั่นของอาคารจะออกสู่พื้นที่ภายนอกอย่างไรแล้วเกิดภาวะน่าสบายที่เหมาะกับการใช้งานในพื้นที่ภายนอกมากยิ่งขึ้น ให้คนที่ออกมาใช้พื้นที่ภายนอกสามารถได้รับทั้งลมเย็นจากไอความชื้นของต้นไม้และน้าํ แล้วยังได้ลมเย็นจากระบบระบายอากาศจากตัวอาคารผสานเข้าไป

นอกจากนั้นงานออกแบบควรมีความยืดหยุ่นให้เกิดประโยชน์ที่หลากหลายต่อการใช้พื้นที่มากขึ้น อย่างพื้นที่ว่างๆ ในสวน เราจะเริ่มตั้งคำ ถามว่าพื้นที่ดังกล่าวน่านำ มาทำ เป็นพื้นที่ใช้งานอื่นๆ อย่างเช่น ฟาร์ม ปลูกผักสวนครัว ที่วิ่งเล่นออกกำ ลัง ฯลฯ ในขณะเดียวกันก็ต้องสามารถป้องกันหรือยืดหยุ่นลดผลกระทบต่ออุบัติภัยที่อาจต้องเจอบ่อยขึ้นในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องฝุ่นควันหรือเกาะความร้อน ซึ่งงานออกแบบต้องเตรียมตัวและคิดที่จะอยู่ร่วมกับมันอย่างยั่งยืนจากทรัพยากรที่เรามีได

we!park คือโครงการหนึ่งที่ผลักดันการใช้ประโยชน์และเพิ่มพื้นที่สาธารณะสีเขียวขนาดเล็กจำนวนมากให้แทรกเข้าไปในเมือง  ปัจจุบันมีโครงการนำร่อง  ได้แก่ พื้นที่ว่างในซอยหน้าวัดหัวลำโพง  พื้นที่สวนป่าเอกมัย  พื้นที่ใต้ทางพิเศษฉลองรัช และพื้นที่สวนชุมชนโชฎึก

บริบทรอบๆที่มีผลกับการออกแบบงานภูมิทัศน์

ท้ายที่สุดผู้คนต้องอยากออกมาพบเจอหรือติดต่อกันอยู่แน่ๆ ยิ่งย่านที่มีคนอยู่อาศัยเยอะ แต่เราจะทำ อย่างไรให้การอยู่อาศัยของเมืองเกิดความสมดุล ผมคิดว่าพื้นที่ภูมิทัศน์ในเมืองต้องถูกออกแบบใหม่ โดยใช้ทรัพยากรที่มีอย่างพื้นที่ร้างต่างๆหลายๆ เมืองเขาเริ่มเพิ่มพื้นที่กิจกรรม การเชื่อมต่อระหว่างจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง Green Corridor
หรือเพิ่มพื้นที่สีเขียวขนาดเล็ก (Pocket Park) ให้เกิดการกระจายตัวมากขึ้นในเมือง พื้นที่เอกชนเองก็เริ่มขยับตัวในการพัฒนา POPS เพราะทุกการก่อสร้างใหม่ๆ สามารถเกิดผลกระทบในแง่บวกได้ การออกแบบภูมิทัศน์ต้องไม่ไปทำลาย แต่เข้าไปช่วยเยียวยาพื้นที่ชุมชนรอบๆ งานออกแบบเริ่มไม่ได้มองแต่ภายในพื้นที่รั้วของตัวเอง แต่มองออกไปนอกรั้วของเราด้วย เราไม่สามารถอยู่ได้แน่ๆ เพียงลำพัง เพราะทุกอย่างส่งผลกระทบเชื่อมโยงกันเป็นระบบนิเวศของคนและธรรมชาติ

ภาพงานออกแบบพื้นที่ว่างในซอยหน้าวัดหัวลำโพงที่ผ่านกระบวนการออกแบบอย่างมีส่วนร่วมของคนในชุมชน จนกลายเป็นพื้นที่
กิจกรรมและพื้นที่สีเขียวที่ช่วยชะลอและกรองนํ้าไหลนองก่อนไหลลงระบบบำบัดนํ้าของเมือง
หนึ่งในงานออกแบบภายใต้แนวคิดนวัตกรรมที่ช่วยแก้ปัญหามลพิษทางอากาศที่จะส่งอากาศที่มีมลพิษลงสู่พื้นที่ใต้ดิน และเปิดโอกาสให้ทิศทางลมที่บริสุทธิ์จากด้านบนไหลมาสู่พื้นที่ในโครงการ

ดังนั้นสิ่งนี้จึงทำคนเดียวไม่ได้ ทุกๆ คนที่อยู่รอบๆ ต้องทำ ไปด้วยกัน พื้นที่รอบข้างสำ คัญมากนะครับ สำ หรับการทำ งาน ใช้ชีวิต หรือพักผ่อนหย่อนใจซึ่งหากเราคิดเข้าแก้ไขทั้งเมืองอาจเป็นเรื่องใหญ่เกินกำลัง แต่ถ้าออกแบบให้ชุมชน
รอบๆ อยู่อย่างเชื่อมโยงและช่วยเหลือกัน เช่น มีทางเท้าหรือทางจักรยานสำหรับเดินทางไปมาหาสู่กันในระยะ 15 นาที มีพื้นที่ค้าขาย พื้นที่ผลิตอาหาร พื้นที่สาธารณะทุกๆ 400 เมตร ทำ ให้แม้แต่คนที่มีพื้นที่หรือโอกาสทางสังคมน้อย แต่
หากเขาได้อยู่ในย่านที่มีการออกแบบที่ดีคุณภาพชีวิตของพวกเขาก็ย่อมดีขึ้นตามไปด้วย ในขณะเดียวกันรัฐบาลก็ควรมีส่วนร่วมในเชิงนโยบาย ขอยกตัวอย่างเรื่องภาษีที่ดินรกร้างในเมืองใหญ่ที่สร้างแรงผลักดันให้เกิดสวนมะนาวหรือสวนกล้วยเกิดขึ้นในเมืองเพื่อลดหย่อนภาษีได้ ดังนั้นหากคิดต่อยอดได้อีกล่ะ ในการพัฒนาที่ดินที่ยังไม่ถูกใช้ประโยชน์ให้เกิดประโยชน์ด้านอื่นที่มากกว่านี้ เช่น ปรับเป็นพื้นที่สำหรับรับน้าท่วมขังของเมืองได้ ํ เป็นพื้นที่ป่าในเมือง พื้นที่สาธารณะ ดังนั้นถ้าเกิดการผลักดันในเชิงนโยบาย ก็จะไปส่งผลให้หน่วยพื้นที่ย่อยๆ เกิดการใช้ประโยชน์ที่ช่วยเหลือหน่วยใหญ่ทั้งเมืองได้เช่นกัน

ขณะเดียวกันรัฐเองก็ต้องพัฒนาพื้นที่รกร้างของตัวเองให้เกิดประโยชน์ในโครงสร้างพื้นฐานของเมืองด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการเดินทาง พื้นที่สีเขียวหรือพื้นที่สำ หรับทำ กิจกรรม ผมมองว่าการพัฒนาพื้นที่ขนาดเล็กมีอิทธิพลมากกว่าการพัฒนาพื้นที่ใหญ่ในงบประมาณที่สูง ซึ่งทั้งหมดทุกหน่วยสามารถปรับไปด้วยตัวเองก่อนโดยไม่ต้องรอกัน ทุกบทบาทจะขับเคลื่อนพื้นที่ตัวเองจนส่งอิทธิพลต่อการพัฒนาในภาพใหญ่

นวัตกรรมพื้นทางเดินที่เกิดจากแนวคิดที่ต้องการเปลี่ยนพลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์บริเวณพื้นทางเดินเป็นพลังงานสะอาดสำหรับใช้ประโยชน์ได้ โดยใช้แผ่นโซลาร์เซลล์ร่วมกับพื้นที่ดูดซับไอความร้อนจากสนามหญ้าหรือแผ่นยางช่วยลดแสงที่ตกกระทบต่อพื้นที่ภายนอก

บ้านกับการเปลี่ยนแปลงในช่วง 45 ปี

ถ้ามองย้อนกลับไปตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 บ้านของคนทั่วไปมักเป็นบ้านหลังเล็กๆ ไม้ฝาซ้อนเกล็ด หลังคามุงกระเบื้องว่าวหรือจากตามฐานะ แล้วค่อยเริ่มมีการนำลวดลายฉลุที่ได้อิทธิพลจากยุคสมัยวิกตอเรียเข้ามาตกแต่งเพิ่มเติมในช่วง
สมัยรัชกาลที่ 5 พอเข้าสู่สมัยรัชกาลที่ 7 เป็นช่วงเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก  บ้านเมืองยุคนั้นมีเรื่องการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยค่อนข้างมาก คือเป็นช่วงของยุคโมเดิร์นที่เกิดขึ้นในยุโรปและแพร่หลายไปทั่วโลก ไม่ยอมรับของเก่า ไม่เอาลวดลายประดับ ประดาต่างๆแบบเจ้า เน้นความเรียบ ก็พอดีกับที่มีเทคโนโลยีและวัสดุสมัยใหม่เข้ามาอย่างเหล็กและกระจก ช่วงแรกเรารับความเป็นโมเดิร์นมาแบบตรงๆ เลย หลังคาบ้านต้องเรียบแบน แต่เทคโนโลยีสมัยนั้นในบ้านเรายังทำ ได้ยาก ก็ใช้พาราเป็ดหรือกรอบหลังคาหล่อบังรอบหลังคาจั่วไว้อีกทีแทนเพื่อให้ดูโมเดิร์น ในช่วงหลังจึงค่อยๆปรับเปลี่ยนผสมผสานแบบไทยให้เข้ากับแบบสมัยใหม่มากขึ้น

การออกแบบบ้านในประเทศไทย
บ้านที่นำลวดลายฉลุตามสมัยรัชกาลที่ 5 มาตกแต่ง

จนกระทั่งช่วงปีพ.ศ. 2520 เป็นช่วงทศวรรษปีที่เราเริ่มมีบ้านจัดสรรหรือบ้านที่ออกแบบโดยสถาปนิกให้คนทั่วไปได้เป็นเจ้าของ อย่างหมู่บ้านแหลมทองแถว หัวหมาก เป็นหมู่บ้านยุคแรกๆ หลังคาบ้านยังเป็นกระเบื้องลอนคู่หรือลูกฟูก ยังไม่มีหลังคาคอนกรีตหรือโมเนีย และเริ่มมีวัสดุสมัยใหม่เข้ามาบ้างแล้ว อย่างผนังแผ่นซีเมนต์เรียบ รูปทรงบ้านดูโมเดิร์นขึ้นแต่อยู่ภายใต้หลังคาทรงจั่ว มีชายคาบังแดดบังฝนได้เพื่อให้เข้ากับสภาพอากาศเมืองไทย จนกระทั่งอิทธิพลต่างชาติเข้ามาเรื่อยๆ ทำ ให้เกิดบ้านแบบสเปนหรือเมดิเตอร์เรเนียนขึ้นมา คือมีหลังคาเป็นเทอร์ราคอตตาสีอิฐ และเริ่มมีการใช้ซีแพคโมเนีย ซึ่งสมัยก่อนเวลาเกิดฮิตอะไรก็จะฮิตเหมือนๆ กันไปหมดเป็นกระแสใหญ่ ทำ ให้บ้านแนวสเปนเกิดขึ้นเต็มไปหมด ตามมาด้วยนีโอคลาสสิกที่มีเสาโรมันโดดเด่น แต่ความยากตรงที่สไตล์นี้สัดส่วนต้องแม่นมาก พอทำตามๆ กันมา สัดส่วนการหล่อเสาโรมันก็เพี้ยนไป ประกอบกับการทำรูปทรงและลวดลายประดับแบบโรมันคลาสสิกมาประกอบกับสถาปัตยกรรมแบบตะวันออกเป็นเรื่องยาก และเป็นการแสดงอิทธิพลต่างชาติอย่างไม่มีปี่มีขลุ่ย ทำให้กลายเป็นเรื่องถกเถียงกันไปจนเกือบถึงปีพ.ศ.2540

การออกแบบบ้านเริ่มเข้าสู่ยุคโพสต์โมเดิร์น ก็คือยังมีความเรียบอยู่ แต่นำเอาลวดลายประดับคิ้วบัวที่พวกโมเดิร์นเคยปฏิเสธกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นจึงทำให้สามารถหล่อแบบลวดลายประดับขึ้นมาใช้งานได้ง่าย เรียกว่าเป็นการผสมผสานโมเดิร์นเข้ากับลวดลายคลาสสิกสมัยเก่า

การออกแบบบ้านในประเทศไทย
รูปแบบของหมู่บ้านจัดสรรในยุคแรกๆเน้นการออกแบบสมัยใหม่ในรูปทรงเรียบง่าย  และคำนึงถึงภูมิอากาศแบบเมืองร้อนในบ้านเรา 
ถือเป็นช่วงแรกๆ ที่คนทั่วไปได้ใช้บริการการออกแบบของสถาปนิก
การออกแบบบ้านในประเทศไทย
บ้านยุคโมเดิร์นแรกๆประมาณปีพ.ศ.2500  ผสมผสานเส้นสายเรียบง่ายแบบโมเดิร์นให้เข้ากับหลังคาทรงจั่ว เพื่อให้อยู่สบายในสภาพอากาศแบบเมืองร้อน  ซึ่งยังคงพบเห็นได้ในละแวกที่มีความเจริญดั้งเดิม  เช่น ถนนสุขุมวิท  ถนนพหลโยธิน
บ้านแบบสเปนประยุกต์ซึ่งเคยเป็นที่นิยมมาก ประมาณช่วงปีพ.ศ.2520

จนเมื่อโลกเราเริ่มมีคอมพิวเตอร์ มีอินเทอร์เน็ต ทำ ให้คนได้เห็นโลกกว้างและง่ายขึ้น จึงมีการนำวัฒนธรรมและรสนิยมที่หลากหลายจากประเทศอื่นๆ เข้ามาผสมผสานมากขึ้นอีก คราวนี้ไม่ได้นำ มาแบบตรงๆ แต่มีการปรับตามความชอบและทำ ให้บ้านอยู่สบายไปด้วย เราถึงได้เห็นบ้านสไตล์ต่างๆ ที่ตั้งชื่อเรียกได้มากมาย ทั้งนิวอิงแลนด์ จีน คันทรี เซน มินิมัล ร่วมสมัย ฯลฯ ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี แม้จะผสมผสานจนไม่สามารถบอกยุคสมัยได้ แต่สถาปนิกและเจ้าของบ้านต่างก็ตั้งใจกลั่นกรองให้งานออกแบบบ้านมีการพัฒนาที่ดีจนกลายเป็นบ้านที่เราเห็นกันทั่วไปในปัจจุบัน

ทิศทางการออกแบบบ้านในอนาคต

ความคิดในเรื่องผสมผสานสไตล์และความชอบจะยังคงเป็นแบบนี้ต่อไปในอนาคตเป็นสิบปี ขึ้นอยู่กับว่าจะหยิบอะไรมาผสมเท่านั้นเอง เพราะตอนนี้เอกลักษณ์ก็คือการผสมจนมองไม่ออกว่าเป็นชาติหนึ่งชาติใดโดยเฉพาะเจาะจง จนถึงจุดหนึ่งเป็นไปได้ว่าคนจะเริ่มเกิดอาการเบื่อและพยายามสร้างดีไซน์อะไรที่เป็นเฉพาะตัวขึ้นมาหรือสร้างเอกลักษณ์บ้านไทยกันใหม่อีกครั้งแต่อย่างน้อยในช่วง 5 ปีนี้ไม่น่าจะมีใครสร้างที่อยู่อาศัยใหม่ๆขึ้นมามากนัก ด้วยสภาพเศรษฐกิจที่ย่ำแย่  เปรียบได้กับช่วงหลังสงครามโลก หลายบริษัทได้รับผลกระทบ คนทำงานอาจไม่ได้ขึ้นเงินเดือน อาจไม่มีโบนัส บ้านจัดสรรใหม่ๆ อาจขายได้ยาก คนชั้นกลางไม่มีเงินพอจะซื้ออสังหาริมทรัพย์กันได้ การกู้เงินก็ยากขึ้นบ้านในช่วงนี้จึงน่าจะเป็นไปในแนวรีโนเวตและต่อเติมมากกว่าสร้างขึ้นใหม่ สอดคล้องกับรูปแบบชีวิตที่ปรับเปลี่ยนไป มีการทำงานที่บ้านมากขึ้น ออนไลน์กันมากขึ้น ใช้เวลาอยู่บ้านกันมากขึ้น ทีนี้ก็ต้องมีการปรับตกแต่งมุมในบ้านให้สวยและอยู่สบายมากที่สุด อย่างน้อยก็เป็นมุมสวยๆ ที่มีความสงบเป็นส่วนตัว พอที่จะใช้นั่งประชุมคุยงานออนไลน์ได้อย่างสบายใจ ตามมาด้วยการปลูกต้นไม้เพิ่มพื้นที่สีเขียวทั้งภายในและภายนอกบ้าน ซึ่งก็จะมีกระแสความนิยมใหม่ๆ มาให้ได้ติดตามกัน

บริบทรอบๆที่มีผลกับการออกแบบบ้าน

เพราะเราอยู่บ้านกันมากขึ้น จะให้อุดอู้อยู่แต่ในบ้านตลอดก็คงไม่ไหว ดังนั้นพื้นที่นอกบ้านจึงมีความสำคัญมากขึ้น รวมไปถึงเพื่อนบ้านและชุมชนใกล้เคียง ถ้าเป็นแนวบ้านจัดสรรก็ต้องให้ความสำคัญกับพื้นที่ส่วนกลางมากขึ้นว่าจะปรับปรุงพื้นที่ส่วนกลางนั้นให้สวยงามและเอื้อประโยชน์ให้ใช้งานได้มากขึ้นอย่างไร ต่างจากเมื่อก่อนที่เราทำ งานกัน
จนดึกดื่นกว่าจะถึงบ้านก็ไม่เคยได้ใช้พื้นที่ส่วนกลางกันเลย ถ้าเป็นบ้านทั่วไปที่พอจะมีพื้นที่นอกบ้านก็ต้องเน้นพื้นที่สีเขียวนอกบ้านให้สามารถออกมาใช้งานผ่อนคลายได้มากขึ้น มีความเป็นส่วนตัวและไม่รบกวนเพื่อนบ้านข้างเคียง ส่วนคนที่อยู่ในคอนโดหรือที่อยู่แบบอื่นซึ่งไม่มีพื้นที่นอกบ้าน ก็พยายามปรับแต่งระเบียงหรือดาดฟ้าให้เป็นพื้นที่สีเขียว
ที่สดชื่นขึ้น ยิ่งอยู่บ้านนานๆ ก็ยิ่งปลูกต้นไม้กันมากขึ้น เติมเข้าไปเรื่อยๆ ส่งเสริมให้มีพื้นที่สีเขียวกระจายไปรอบบ้านกันมากขึ้นด้วย


เรื่อง : ภัทรสิริ, สมัชชา, ปัญชัช

ภาพ : คลังภาพบ้านและสวน

คุยกับนายกสมาคมสถาปนิกสยามฯ ในวันที่มีรายรับเป็นศูนย์