People
คุยกับ Nut.Dao กับเบื้องหลังงานออกแบบ ใน มหกรรมกาแฟสุดสนุกโดย The Coffee Calling
หลาย ๆ คนคงได้เห็นคาแร็คเตอร์คนชงกาแฟสุดแอ๊คทีฟ และวิชวลเก๋ ๆ จากงาน The Coffee Calling 2023 : The Escape to Coffee Party กันไปบ้างแล้ว วันนี้ room จึงไม่รอช้า ไปขอสัมภาษณ์ ผู้อยู่เบื้องหลังงานออกแบบของ มหกรรมกาแฟสุดสนุกโดย The Coffee Calling ในปีนี้ กัน ซึ่งคน ๆ นั้นก็คือ คุณ Nut.Dao หรือ คุณนัด-ณัฐพงศ์ ดาววิจิตร โดยในวันนี้ เราได้มีโอกาสพูดคุยกับเขาทั้งเรื่องความชื่นชอบในกาแฟ และเบื้องหลังแนวคิดการออกแบบในครั้งนี้ไปพร้อมกัน #กาแฟคืออะไรในสายตา Nut.DaoQ: วัฒนธรรมกาแฟคืออะไรในมุมมองของคุณนัด?A: “เรื่องกาแฟ ถ้าเป็นเมื่อก่อนก็เหมือนตอนเช้า ก็จะนึกถึงสภากาแฟที่ที่คนไปนั่งคุยกัน แต่พอผ่านเวลามา มีการพัฒนามาเรื่อย ๆ ไม่ใช่แค่เวลาเช้าแล้ว อาจจะเป็นเวลาไหนก็ได้ แต่กาแฟก็ยังเป็นตัวเชื่อมอยู่ โดยเชื่อมทั้งผู้คนและเชื่อมความสนใจร่วมกัน ไม่ว่าจะคุยงาน คุยเล่น เจอเพื่อน […]
RAY CHANG สถาปนิกจิตวิญญาณตะวันออก ผู้หลงใหลในธรรมชาติ และร่องรอยแห่งกาลเวลา
Ray Chang สถาปนิกผู้เติบโตท่ามกลางธรรมชาติ ที่สวยงาม และสุขสงบของเกาะไต้หวัน ความเข้าใจในสัจธรรมแห่งธรรมชาติหล่อหลอมแนวคิด และความเชื่อของเขาให้แตกต่างท่ามกลางกระแสทุนนิยม งานออกแบบของเขาสะท้อนความงามภายใต้แนวคิดแบบปรัชญาตะวันออก ที่โอบรับ “ความเปลี่ยนแปลง” แห่งกาลเวลา ในยุคที่ผู้คนตามหาความสมบูรณ์แบบอันจีรังยั่งยืน ผลงานของเขาได้รับรางวัลมากมายมาตลอดหลายปี รวมถึง Golden Pin Design Award รางวัลชั้นนำด้านการออกแบบของเอเชีย จึงอาจกล่าวได้ว่าเขาคือสถาปนิกรุ่นใหม่ไฟแรงที่น่าจับตาของไต้หวัน ที่มีผลงานโดดเด่นทั้งในหมวดที่พักอาศัย ร้านค้า ร้านอาหาร คาเฟ่ ฯลฯ Ray Chang ก่อตั้ง Soar Design Studio เมื่อปี 2012 ปีที่ใครหลายคนร่ำลือกันถึงวันสิ้นโลก ปีนั้นเองที่เขาถามตัวเองว่า “ความหลงใหล” ของตัวเองคืออะไร “ตอนที่ผมยังเด็ก ผมมักใช้ชีวิตท่ามกลางธรรมชาติในป่าหรือภูเขา หรือแม้แต่ตอนที่ผมย้ายเข้ามาในเมือง ผมก็พยายามกลับไปหาธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นภูเขาหรือทะเลเท่าที่โอกาสจะเอื้ออำนวย เมื่อผมถามตัวเองว่าชื่นชอบอะไรเป็นพิเศษ คำตอบก็คือ “ธรรมชาติ” ธรรมชาติในที่นี้ไม่ใช่แค่พืชพรรณไม้ต่าง ๆ หรือภูมิทัศน์ที่สวยงาม แต่มันคือแนวความคิดและปรัชญา ที่สะท้อนในงานออกแบบของผม” room: ในงานออกแบบของคุณ คุณมักจะอุปมาอุปไมยองค์ประกอบทางการออกแบบต่าง ๆ กับธรรมชาติ […]
ช่างภาพสถาปัตยกรรม วิชาชีพที่ไม่มีสอน ฟัง วิสันต์ ตั้งธัญญา บอกเล่าประสบการณ์กว่า 25 ปี
มากกว่า 25 ปีการเดินทางในฐานะช่างภาพสถาปัตยกรรมเล่าประสบการณ์ผ่านภาพถ่ายและนิทรรศการครั้งแรก W Workspace : The Open Space Exhibition & Workshop #roomPeople พาไปพบกับคุณวิสันต์ ตั้งธัญญา ผู้ก่อตั้ง W Workspace สตูดิโอภาพถ่ายสถาปัตยกรรม ที่เดินทางในวิชาชีพนี้มามากกว่าสองทศวรรษ เล่าผ่านนิทรรศการ W Workspace : The Open Space Exhibition & Workshop ภาพถ่ายสถาปัตยกรรมถือว่าเป็นสื่อ ที่ทำให้คนมองเห็นแม้ไม่ได้ไปอยู่สถานที่นั้นๆ ทำหน้าที่สื่อความหมาย องค์ประกอบต่าง ๆ สร้างเรื่องราวถ่ายทอดความรู้สึกหรือแนวคิดการออกแบบผ่านตัวสถาปัตยกรรม ปัจจุบันวงการถ่ายภาพหรืออาชีพช่างภาพสถาปัตยกรรมทันสมัยก้าวหน้าอย่างมาก แต่รู้หรือไม่วิชาชีพนี้กลับไม่มีสอนในหลักสูตรการเรียน คุณวิสันต์ ตั้งธัญญา หนึ่งในช่างภาพสถาปัตยกรรมมากประสบการณ์ผู้สนใจ และมีความตั้งใจให้วงการช่างภาพสถาปัตยกรรมยุคใหม่เติบโตได้อย่างต่อเนื่อง จากอดีตสู่ปัจจุบัน แนวคิดการถ่ายภาพของเขาเปลี่ยนไปหรือตั้งใจฝากความหวังอะไรกับช่างภาพรุ่นใหม่ ตามไปอ่านได้จากบทความนี้กันเลย! Q: อาชีพ “ ช่างภาพสถาปัตยกรรม “ ไม่มีสอนเป็นกิจจะลักษณะในหลักสูตรคณะไหน แม้ในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์เองก็ตาม แทนที่จะประกอบอาชีพสถาปนิก ทำไมคุณวิสันต์ ตั้งธัญญา […]
เบื้องหลังดีไซน์เพื่อคุณภาพชีวิตกับ Antoine Besseyre des Horts แม่ทัพทีมออกแบบแห่ง LIXIL
อาจกล่าวได้ว่า นี่คือยุคสมัย ที่นักออกแบบต้องพบกับความท้าทายอันยิ่งใหญ่อย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน Antoine Besseyre des Horts ในฐานะแม่ทัพทีมดีไซน์ของ LIXIL Group ภูมิภาคเอเชีย ชวน room พูดคุยถึงเบื้องหลังการทำงานของทีมนักออกแบบผลิตภัณฑ์สำหรับที่อยู่อาศัย ท่ามกลางบริบทสังคม และพฤติกรรมผู้บริโภค ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว รวมถึงการตื่นตัวด้านปัญหาสิ่งแวดล้อม และการขยายบทบาทของปัญญาประดิษฐ์ ที่แน่นอนว่าจะส่งผลกระทบต่อโลกดีไซน์นับจากนี้เป็นต้นไป อันทวน เบแซร์ เดส์ออรส์ ( Antoine Besseyre des Horts ) ลีดเดอร์ (VP) ประจำลิกซิล โกลบอล ดีไซน์ (LIXIL Global Design) ภูมิภาคเอเชีย หัวเรือใหญ่ของทีมดีไซน์ 3 แบรนด์หลักในเครือ LIXIL อย่าง American Standard, GROHE และ INAX แบรนด์ผลิตภัณฑ์อุปกรณ์ และสุขภัณฑ์ภายในห้องน้ำ และห้องครัว หลังจากสั่งสมประสบการณ์ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์มายาวนานกว่าสองทศวรรษ เขาร่วมกับทีมนักออกแบบสร้าง ‘ไบเบิ้ล’ หรือคู่มือที่ช่วยวางรากฐานการออกแบบผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ต่างๆ […]
Oliver Lin พานักออกแบบไทยเจาะตลาดเอเชียด้วย Golden Pin Design Award
ปัจจุบันอุตสาหกรรมสร้างสรรค์เติบโตอย่างรวดเร็ว และกลายเป็นกลยุทธ์สำคัญของนโยบายเศรษฐกิจทั่วโลก เช่นเดียวกันกับที่ไต้หวัน สถาบันวิจัยการออกแบบแห่งไต้หวัน หรือ Taiwan Design Research Institute (TDRI) ได้รับการก่อตั้งเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเชิงอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจของไต้หวันผ่าน “พลังแห่งการออกแบบ” ที่เข้มแข็ง รวมถึงเป็นแพลตฟอร์ม ที่สร้างความร่วมมือข้ามพรมแดนผ่านการเป็นผู้จัดการมอบรางวัลด้านการออกแบบระดับนานาชาติอย่าง Golden Pin Design Award (GPDA) ตามไปฟัง Oliver Lin รองประธาน TDRI เชิญชวนนักออกแบบไทยก้าวสู่เวทีระดับนานาชาติกับ Golden Pin Design Award เวทีประกวดที่ได้จัดต่อเนื่องมายาวนานกว่า 40 ปี พร้อมบอกเล่าถึงการมาเยือนกรุงเทพฯในครั้งนี้ นำทีมนักออกแบบที่ได้รับรางวัล GPDA ในปีก่อนมาร่วมนำเสนอแนวคิดด้านการออกแบบที่น่าสนใจในงานสัมมนา Design Perspectives x Golden Pin Salon Bangkok 2023 “การจัด Salon หรืองานสัมมนาในครั้งนี้ เรามุ่งไปที่ประเทศที่นักออกแบบมีศักยภาพสูง มีกระแสความเคลื่อนไหวด้านการออกแบบที่น่าสนใจ และแน่นอนว่าไทยคือหนึ่งในนั้น เรามองว่าไทยมีศักยภาพทั้งในด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ ด้านการออกแบบสถาปัตยกรรม หรืองานออกแบบภายใน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านงานโฆษณา […]
แก่นและแกนของความเป็นไทยในความคิดของ จูน เซคิโน
“ความเป็นไทย” ในมุมมองของคุณ จูน เซคิโน สื่อด้วยผลงานศิลปะ Ni’ และ Shin ผลงานศิลปะ Ni’ และ Shin ซึ่งเกิดจากการประกอบกันของไม้ขนาดเล็กเป็นโครงสร้างอย่างประณีต แต่เมื่อมองในองศาที่ต่าง แสงตกกระทบที่เปลี่ยนก็จะได้ภาพที่ต่างออกไป นั่นคือ คำตอบที่ชัดเจนที่สุดของ “ความเป็นไทย” ในมุมมองของคุณ จูน เซคิโน ผู้ก่อตั้ง Junsekino A+D สถาปนิกผู้ดึงคนรอบข้างที่เร่งรีบให้เดินช้าลง และพินิจกับความคิดให้มากขึ้น ช่วงเริ่มต้นการเป็นสถาปนิก บ้านในไทยมีกระแสนิยมอย่างไร ช่วงนั้นประมาณ 20 ปีก่อน กระแสบ้านสไตล์โอเรียนทัลและทรอปิคัลจะพูดถึงกันบ่อย สมัยนั้นบ้านจัดสรรโครงการต่างๆ จะทำกันมาเป็นรูปแบบซ้ำๆ ตามความคุ้นเคย แต่ยังไม่ได้ปรากฏเป็นรูปแบบที่ชัดเจน จนคนเริ่มอยากมีบ้านเดี่ยวของตัวเอง ความต้องการก็ชัดเจนขึ้น จึงจ้างสถาปนิกเพื่อช่วยนำทาง และจัดการความต้องการบ้านในแบบของเขาให้เป็นจริงขึ้น ซึ่งประกอบไปด้วยแกนหลัก 3 ส่วน คือ การใช้วัสดุ รูปแบบงานสถาปัตยกรรม และความต้องการของลูกค้า ความนิยมในการสร้างบ้านปัจจุบันเป็นอย่างไร จากลูกค้าที่เข้ามา ปัจจุบันคนต้องการความเป็นส่วนตัวมากขึ้น ความจำเพาะเจาะจงมากขึ้น ชอบความไม่เหมือนใคร ถ้าเปรียบเป็นอาหารก็ไม่ใช่ภัตตาคารหรู แต่คือ Chef […]
มุมมอง “ไทยนิยม” ของสถาปนิกแห่งป่าฝนร้อนชื้น ผศ. พิรัส พัชรเศวต
“สถาปนิกแห่งป่าฝนร้อนชื้น” คำจำกัดความที่บ่งบอกแนวทางการออกแบบสถาปัตยกรรมของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พิรัส พัชรเศวต ผู้ก่อตั้งสำนักงานออกแบบ EAST architects ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พิรัส พัชรเศวต อาจารย์และอดีตหัวหน้าภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีผลงานเด่นชัดในสถาปัตยกรรมสไตล์ทรอปิคัลโมเดิร์น ที่มีแก่นความคิดในการอยู่ร่วมกับดินฟ้าอากาศอย่างเข้าใจธรรมชาติ การออกแบบบ้านในอดีตและปัจจุบัน มีความต่างหรือเหมือนกันอย่างไร ในเชิงความเป็นมนุษย์ คนที่อยากสร้างบ้านมีความต้องการคล้ายๆกัน ทั้งในอดีตและปัจจุบัน คือ เป็นบ้านที่อยู่สบาย ความสบายเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนชอบ โดยภูมิอากาศและภูมิประเทศที่เราอยู่ เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลหลักอย่างหนึ่งในการออกแบบบ้าน ซึ่งประเทศไทยที่อยู่ในเขตร้อนชื้น บ้านจึงได้รับการออกแบบให้อยู่สบาย ไม่ร้อน และสั่งสมจนเป็นภูมิปัญญาไทย ส่วนรูปแบบอาคารที่มาห่อหุ้มนั้น เป็นไปตามคติความเชื่อ และเทคโนโลยีการก่อสร้าง ในส่วนรูปแบบบ้านที่นิยมในแต่ละสมัย เราต้องแยกกันเป็นสองส่วน คือ รสนิยม หรือ Taste เป็นเรื่องเฉพาะบุคคลที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งเป็นเช่นนั้นในทุกยุคสมัย ส่วนความนิยมส่วนรวมน่าจะตรงกับความหมายของ -ism (อิส’ซึม) เช่น Modernism Minimalism คือ นิยมกันแพร่หลาย ซึ่งเปลี่ยนไปตามกระแสสังคม โดยเฉพาะในปัจจุบันที่มีโซเชียลมีเดียให้เข้าถึงความนิยมสากลอย่างรวดเร็ว ก็จะถูกคลี่คลายกลายเป็นรสนิยมส่วนบุคคล รูปแบบบ้านจึงมีการเปลี่ยนแปลง และมีหลายแนวคิดที่เพิ่มขึ้นมา เช่น เรื่องพลังงาน […]
บ้านไทยพื้นถิ่น ภาพสะท้อนวิถีชีวิตผ่านลายเส้นของ ศ.เกียรติคุณ อรศิริ ปาณินท์
ภาพลายเส้นและภาพสีน้ำบ้านไทยพื้นถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ ถ่ายทอดวิถีชีวิตผู้คนในชุมชนต่างๆ ของ ศาสตราจารย์เกียรติคุณอรศิริ ปาณินท์ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ อรศิริ ปาณินท์ สถาปนิกและนักวิชาการที่จดบันทึกด้วยการวาดภาพในสมุดคู่ใจยามลงภาคสนาม เป็นส่วนหนึ่งในผลงานวิจัยด้านสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น และสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรม ที่ท่านทุ่มเทศึกษามาตลอด 40 ปี ถ่ายทอดประสบการณ์ ความรู้ แรงบันดาลใจให้ลูกศิษย์ และคนรุ่นใหม่มากมาย กระทั่งได้รับการยกย่องให้เป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น) ประจำปี 2564 จากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ซึ่งนับเป็นปีแรกที่มีสาขาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น และ บ้านและสวน ขอแสดงความยินดีมา ณ โอกาสนี้ การมีรางวัลศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น) เกิดขึ้นเป็นปีแรก อาจารย์มีความคิดเห็นอย่างไรบ้าง อาจารย์ดีใจกับลูกศิษย์มาก เพราะมีลูกศิษย์นักศึกษาหลายคนที่ให้ความสนใจในสาขาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ตั้งแต่อาจารย์ลงพื้นที่สำรวจหมู่บ้านมาหลายสิบปี ในช่วงปีแรกต้องลุยเดี่ยว แต่ในภายหลังมีลูกศิษย์ตามไปช่วยวิจัยด้วยทุกปี และเปลี่ยนรุ่นไปทุกปี เพราะฉะนั้นงานวิจัยต่าง ๆ เหล่านี้จะไม่ประสบผลสำเร็จเลย หากขาดลูกศิษย์ที่ลงแรงไปช่วยวิจัยด้วยกัน แสดงให้เห็นว่ามีคนรุ่นใหม่จำนวนไม่น้อยที่ให้ความสนใจในสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น เพียงแต่เรายังไม่เป็นที่รู้จักเท่าที่ควร ทั้งที่จริงแล้วสาขาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในต่างประเทศนั้นค่อนข้างเป็นที่รู้จัก การได้รับรางวัลศิลปินแห่งชาติในปีนี้จึงสะท้อนให้เห็นว่าบ้านเราเริ่มให้ความสำคัญกับสาขานี้มากขึ้น ทำให้ผู้ที่สนใจรุ่นถัดไปมีพื้นที่ยืนอย่างเต็มตัว จึงนับเป็นเรื่องที่น่าดีใจ และยินดีอย่างยิ่งที่ได้เห็นสาขาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นมีแนวโน้มจะพัฒนาต่อไปให้ดีขึ้น นิยามของคำว่า “สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น” […]
OUR MOMENT IN MINE ด้วยจังหวะและความบังเอิญ
OUR MOMENT IN MINE คือนิทรรศการภาพถ่ายเพื่อแบ่งปันความทรงจำของช่วงเวลาที่ไกลบ้านและความต่างของวัฒนธรรมและตะวันตกตลอดช่วงเวลา2-3ปีที่ผ่านมาของศิลปิน ผู้มาชมไม่เพียงได้เสพสุนทรียะจากภาพถ่ายที่น่าสนใจแต่หากสังเกตุทั้งการจัดวางและเรื่องราวที่ซ่อนอยู่ในนิทรรศการ อาจได้พบความหมายของการดูภาพและการเก็บภาพเป็นของตัวเองเป็นที่ระลึก และด้วยความไม่จงใจและเป็นอิสระจากกฎขณะที่ถ่ายภาพนั้น จิรันธนิน เธียรพัฒนพล หรือ “กัสจัง” ยูทูปเบอร์ นักศึกษา และช่างภาพอิสระวัย 18 ปี จึงผลงานคว้ารางวัล Gold Key จากงานประกวดภาพถ่ายเวที Scholastic Art & Writing Awards 2022 ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา องค์ประกอบสำคัญคือการเชื่อมโยงรายละเอียดที่อยู่ภายใน “ก่อนอื่นผมต้องอธิบายก่อนว่าทำไมไตเติ้ลมันต้องเป็น Our Moment in Mine” กัสจังเล่าขณะที่ชี้ชวนให้เรามองไปยังมุมต่างๆของแกลลอรี่ “มันมีphaseภาษาอังกฤษอันนึงที่พูดว่า Moment in Time(ชั่วขณะหนึ่ง) ผมชอบวลีนี้มากเลยนะ ยิ่งพอมารวมกับ our(เรา) แล้วเปลี่ยนคำลงท้ายเล่นคำว่า time ให้เป็น mine(ของฉัน) มันเหมือน เราที่หมายถึงตัวผม และเราที่เป็นคนดูได้แชร์เรื่องราวเดียวกันอยู่ในชั่วเวลาหนึ่งครับ แล้วเรื่องราวนั้นมันก็ถูกรวบรวมเข้ามาไว้ในนิทรรศการนี้” “อย่างรูปตรงมุมโน้นคือรูปสถานีรถไฟใต้ดิน เป็นเรื่องการเดินทางของตะวันตก ส่วนฝั่งตรงข้ามกันผมตั้งใจวางรูปคนปั่นจักรยานในกรุงเทพไว้ ถ้าเรามายืนอยู่ตรงที่ว่างตรงกลางของสองภาพ […]
สู่บทใหม่ของศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดย Design 103 International Limited
ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ สถานที่ซึ่งเปรียบเสมือนจุดเปลี่ยนของสถาปัตยกรรมเพื่อการประชุมและแสดงสินค้าของประเทศไทย และในปีนี้หลังจากที่ได้ปิดปรับปรุงมาอย่างยาวนาน ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กำลังจะกลับมาใหม่พร้อมกับหลายสิ่งที่ทั้งต่อยอด และสืบสานเอาไว้ วันนี้ room ได้รับเกียรติจาก คุณนพดล ตันพิวัฒน์ CEO บริษัท Design 103 International Limited ผู้เป็นหัวเรือใหญ่ในการออกแบบสถาปัตยกรรมให้กับศูนย์ฯ สิริกิติ์ โฉมใหม่แห่งนี้มาเล่าให้ฟังถึงแนวคิดและสิ่งที่แฝงอยู่ในงานออกแบบในครั้งนี้ จากอดีต ก้าวล้ำสู่อนาคต “ถ้าให้ย้อนกลับไปถึงศูนย์ฯเดิม ก็ต้องกลับไปเมื่อตอนสร้างเสร็จราวๆ ปี 2534 ตอนนั้นเริ่มใช้สำหรับเป็นที่จัดการประชุมประจำปีของธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ครั้งที่ 46 ธีมของสถาปัตยกรรมจะเป็นการนำแนวคิดของเรือนไทย 4 ภาคมานำเสนอสถาปัตยกรรมไทย ส่วนในครั้งนี้เมื่อต่อยอดจากโจทย์เดิมที่เคยถูกใช้มา ในการออกแบบนั้นเราก็จะมี Core ของการทำงานอยู่ 3 เรื่อง นั่นคือ Inspiration, Integration และ Innovation ในการทำงานเพื่อให้ครอบคลุมต่อการใช้งานในอนาคตต่อไป” “ถ้าถามว่าภาพของศูนย์ที่ดูเรียบง่ายขึ้นนี้มีที่มาอย่างไร อาจต้องย้อนกลับไปมองเรื่องอัตลักษณ์ที่เราตีโจทย์เรื่องของสถาปัตยกรรมไทยทั้งในดีไซน์เดิม และดีไซน์ใหม่นี้ การ Approach นั้นมีได้หลายวิธี อย่างศูนย์เดิมเรา Approach เรื่องของเรือนไทย 4 ภาค […]
ธรรมชาติที่ถูกรังสรรค์ ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดย SHMA
ธรรมชาติที่ถูกรังสรรค์ ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดย SHMA – room
HOP Hub of Photography พื้นที่กลางของคนรัก “การถ่ายภาพ”
“การถ่ายภาพ” คือศาสตร์อีกแขนงในโลกศิลปะที่เป็นส่วนหนึ่งของทุก ๆ วงการก็ว่าได้ และในวงการภาพถ่ายเองก็มีแขนงแยกย่อยออกไปอีกมากมายแทบไม่รู้จบ แต่สิ่งที่เหมือนกันของผู้คนเหล่านี้ก็คือความรักใน “การถ่ายภาพ” วันนี้ room ได้มีโอกาสมาเยือนพื้นที่ที่ตั้งใจให้เป็นดั่ง “สถานที่ในฝัน” ของเหล่าช่างภาพ และผู้ที่สนใจ (รวมทั้งแขนงศิลปะอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน) โดยใช้ชื่อว่า HOP Hub of Photography ลองไปฟังแนวคิดและที่มาที่น่าสนใจของการก่อตั้งโครงการ ผ่านบทสัมภาษณ์ของ 3 ผู้ก่อตั้ง นั่นคือ คุณผ้าป่าน-สิริมา ไชยปรีชาวิทย์ คุณอีฟ-มาริษา รุ่งโรจน์ และ คุณทอม-ธีระฉัตร โพธิสิทธิ์ HOP, What is? room: HOP คืออะไร? คุณอีฟ: “HOP คือคำย่อของคำว่า Hub of Photography หรือศูนย์รวมของเรื่องที่เกี่ยวกับการถ่ายภาพนั่นเอง เริ่มต้นมาจากความชอบในเรื่องเดียวกัน เราสนใจการถ่ายภาพและเห็นว่ามีคนสนใจเหมือนกัน จึงเริ่มขยายเป็น “สิ่งที่อยากเห็นในวงการภาพถ่าย” ทีนี้ก็มาพอเหมาะกับโอกาสที่ทางซีคอนสแควร์กำลังสร้างพื้นที่ที่เป็นคอมมูนิตี้ สำหรับรองรับไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ นั่นก็คือ MUNx2 (มันมัน) เพื่อเป็นคอมมูนิตี้ที่จะส่งเสริมกิจกรรมที่คนรุ่นใหม่สนใจ […]
คุยกับ STARMARK ตัวจริงเฟอร์นิเจอร์ Fit-Built ครบวงจรสำหรับโครงการอสังหาฯ
กว่า 4 ทศวรรษที่ STARMARK เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะแบรนด์ผู้เชี่ยวชาญด้านชุดครัวและเฟอร์นิเจอร์บิลต์อินสำหรับบ้านพักอาศัย มาถึงวันนี้สตาร์มาร์คต่อยอดจากประสบการณ์ที่สั่งสม เพื่อขยายศักยภาพจากธุรกิจโปรเจ็กต์อสังหาริมทรัพย์สู่โรงแรม รวมถึงเซอร์วิสอพาร์ตเม้นต์อย่างเต็มรูปแบบ room ชวนพูดคุยกับ คุณณัฐปภัสร์ ศรีสกุลภิญโญ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สตาร์มาร์ค แมนูแฟคเชอร์ริ่ง จำกัด พาเราไปรู้จักกับอีกแง่มุมของสตาร์มาร์ค ผู้อยู่เบื้องหลังการผลิต-ติดตั้งเฟอร์นิเจอร์บิลต์อินของหลากหลายโครงการอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ และทำให้ทุกรูปแบบของอินทีเรียดีไซน์กลายเป็นรูปธรรมได้อย่างสมบูรณ์ “20 กว่าปีแล้ว ที่สตาร์มาร์คเริ่มทำงานโครงการอสังหาริมทรัพย์ ตั้งแต่บ้านแนวราบไปจนถึงโครงการแนวดิ่งอย่างคอนโดมิเนียม และเซอร์วิสอพาร์ตเม้นต์ ปัจจุบันเราสนใจงานโปรเจ็คต์โรงแรมและเซอร์วิสอพาร์ตเม้นต์มากขึ้น ซึ่งเป็นพื้นที่สาธารณะ เป็นงานท้าทาย ที่ต้องอาศัยการวางแผนที่ดี แข่งกับเวลา ซึ่งเราพิสูจน์ว่าทำได้จริงมาแล้วหลายโปรเจ็คต์” Kimpton Maa-lai Bangkok Residence ที่พักเรสซิเดนซ์ ดีไซน์เรียบหรูใจกลางกรุง ภายใต้แบรนด์คิมป์ตัน คืออีกหนึ่งผลงานของสตาร์มาร์ค ที่ทำงานร่วมกับทีมอินทีเรียดีไซเนอร์ชั้นนำ พร้อมถ่ายทอดทุกรายละเอียดงานออกแบบเฟอร์นิเจอร์บิลต์อินภายในห้องพักด้วยวัสดุคุณภาพ มาตรฐานการผลิต และการติดตั้งที่รวดเร็ว ตรงตามข้อกำหนดของโครงการ “กระบวนการผลิตของเราเป็นแบบ Semi-dry process คือการเตรียมชิ้นส่วนจากโรงงานเพื่อให้พร้อมประกอบหน้างานบางโครงการใช้ผู้รับเหมาหลายเจ้าใช้เครื่องจักรเล็กตัดหน้าบานทีละห้องอาจจะไม่ได้มาตรฐานเดียวกันหมดแต่เราใช้เครื่องจักรใหญ่ไลน์การผลิตเป็นระบบต่อเนื่องกันหมดชิ้นส่วนทุกชิ้นเท่ากันจึงติดตั้งได้เร็วและเรียบร้อยในมาตรฐานเดียวกันพร้อมสัญญาว่าเสร็จสมบูรณ์ภายใน 8-10 เดือนซึ่งเป็นจุดแข่งขันสำคัญในธุรกิจนี้” นอกจากตัวเลือกวัสดุ และฟังก์ชั่นการใช้งาน ที่มีให้เลือกหลากหลาย ตอบโจทย์งานออกแบบได้ทุกรูปแบบ อีกหนึ่งหัวใจสำคัญของสตาร์มาร์คคือบริการครบวงจร […]
สร้างสเปซเพื่อเชื่อมต่อผู้คนผ่านสีสันในแบบของ STUDIO ACT OF KINDNESS
STUDIO ACT OF KINDNESS สตูดิโอที่สร้างสเปซเพื่อเชื่อมต่อผู้คนผ่านสีสัน เมื่อสีคือตัวกลางที่ทำให้คนต่างวัย ต่างแบ็กกราวนด์สามารถอยู่ร่วมกันได้
รังสรรค์สเปซแห่งความสมดุล ด้วยเฉดสีสไตล์ PHTAA Living Design
ภายใต้กระแสสังคมยุคใหม่ที่แสนวุ่นวาย ไม่เว้นแม้แต่บนโลกออนไลน์ มุมสงบส่วนบุคคลกลายเป็นสิ่งที่ผู้คนโหยหาเพื่อเติมพลังและพักใจในแต่ละวัน ประกอบกับสถานการณ์โรคระบาด ยิ่งส่งผลให้คนยุคนี้ใส่ใจดูแลสุขภาพกายและใจมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ แทบทุกพื้นที่ใช้ชีวิตในปัจจุบัน ไม่ใช่แค่บ้าน แต่ยังรวมถึงคาเฟ่ สปา ฟิตเนส ศูนย์สุขภาพ ฯลฯ จึงหันมาให้ความสำคัญกับการออกแบบพื้นที่ ที่ช่วยสร้างความรู้สึกที่สงบ และสมดุลทางอารมณ์ให้กับผู้ใช้งาน ทั้งยังนำไปสู่การส่งเสริมสุขภาวะที่ดี นอกเหนือไปจากการออกแบบสเปซ สีสันที่เลือกใช้ก็เป็นอีกองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยส่งเสริมความรู้สึกที่สงบและสมดุลทางร่างกายและจิตวิญญาณ ตามไปพูดคุยกับ คุณหฤษฎี ลีละยุวพันธ์ คุณพลวิทย์ รัตนธเนศวิไล และคุณธนวรรธน์ ปัจฉิมะศิริ สามนักออกแบบจาก PHTAA Living Design หนึ่งในสตูดิโอออกแบบรุ่นใหม่ไฟแรง ที่โดดเด่นที่สุดของยุคนี้ หลากหลายผลงานที่โดดเด่นของ PHTAA นำเสนอผ่านสถาปัตยกรรมสีขาวเรียบง่ายแต่กลับมีมิติที่แตกต่าง และเปี่ยมด้วยพลังของความสงบและสมดุล โลกยุคใหม่ที่โหยหาความสงบและผ่อนคลาย คุณหฤษฎี: “ด้วยสภาพสังคมที่บีบคั้นทุกวันนี้ ผู้คนต้องการธรรมชาติมากขึ้น มองหาความผ่อนคลาย ซึ่งสะท้อนมาสู่งานออกแบบด้วยเช่นกัน อย่างคาเฟ่ในยุคนี้ มักให้ความสำคัญกับบรรยากาศที่สงบ อบอุ่นสบายมากกว่า คาเฟ่ที่นิยมกันเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ดังนั้นการออกแบบจึงตอบสนองความต้องการของคนในแต่ละช่วงเวลา แต่ก่อนความหรูหราอาจคือสีเงินหรือทอง แต่ทุกวันนี้ New Luxury is Nature […]
ANONYM นักออกแบบที่ดึงธรรมชาติเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่อยู่อาศัย
ช่วงเวลาที่ผ่านมาผู้คนต่างโหยหาธรรมชาติเพื่อเยียวยาจิตใจ หนึ่งในนั้นคือ ANONYM นักออกแบบที่ดึงธรรมชาติเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่อยู่อาศัย
Taya Living งานคราฟต์อเนกประสงค์ สะท้อนวิถีเรียบง่ายและยั่งยืน
Taya Living นำเสนอผลิตภัณฑ์คราฟต์ดีไซน์เรียบง่ายในหมวดโฮมโปรดักต์และแฟชั่น ที่แตกต่างด้วยฟังก์ชั่นอเนกประสงค์ ตอบโจทย์วิถีชีวิตยุคใหม่ แบรนด์เล็กๆ เริ่มต้นจากตัวตนของ คุณณัฐฑยา สวาทสุต ผู้ประกอบการสาวไฟแรง ที่กลั่นกรองทั้งความหลงใหลและประสบการณ์ เพื่อสร้างสรรค์ธุรกิจใหม่ให้เป็นเหมือนคอมมูนิตี้ของสาวๆ พร้อมกับการให้ความสำคัญกับแนวคิดด้านความยั่งยืน และนี่คืออีกหนึ่งในแบรนด์ไทยน่าจับตาจากโครงการ Talent Thai โดย DITP หรือ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ จากเจ้าของร้านค้าแฟชั่นออนไลน์ แอร์โฮสเตส และและนักพัฒนาธุรกิจคุณณัฐฑยานำพาประสบการณ์ทั้งหมดมาพลิกไลฟ์สไตล์ส่วนตัวให้กลายเป็น Taya Living แบรนด์ทางเลือกใหม่สำหรับสินค้าในชีวิตประจำวัน ที่ยังคงกลิ่นอายความเรียบง่าย และเสน่ห์ของงานคราฟต์ไว้อย่างกลมกลืน “แบรนด์นี้เกิดจากไลฟ์สไตล์และความชื่นชอบของณัฐเอง เราชอบกระเป๋าสาน ชอบไปทะเล และชอบบ้านสไตล์สแกนดิเนเวียน кредитные займы онлайнถ้าเกิดจะไปเที่ยวก็จะนึกถึงเกาะไมโคนอส (Mykonos) ในกรีซ ซึ่งพอเราชื่นชอบสิ่งเหล่านี้ มันก็เลยกลายเป็นจุดเริ่มต้นของแบรนด์ที่สะท้อนตัวตนของเรา” พลิกโฉมพลาสติกใกล้ตัวสู่คราฟต์ที่แตกต่าง เมื่อตั้งใจจะสร้างแบรนด์ใหม่ นอกเหนือจากดีไซน์ วัสดุก็เป็นอีกปัจจัยที่จะช่วยสร้างความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์ได้อย่างแท้จริง คุณณัฐฑยาออกตามหาวัสดุใหม่ ที่ตอบโจทย์ทั้งด้านการใช้งาน และกระบวนการผลิต ซึ่งตั้งใจให้ Taya Living คงกลิ่นอายของงานหัตถกรรมงานจักสานท้องถิ่นไว้ “ถึงจะชอบกระเป๋าสานมาก แต่ด้วยความที่มักทำมาจากวัสดุธรรมชาติเลยมีอายุการใช้งานสั้น และดีไซน์ก็ยังไม่ได้ถูกใจเท่าไหร่ หรือถ้าเป็นสไตล์แฟชั่นหน่อยก็จะมีการตกแต่งที่ยังไม่ถูกใจเรา […]
“มีวนา” แบรนด์กาแฟไทยกับวิถีวนเกษตรอินทรีย์ คนกับป่าพึ่งพากันอย่างยั่งยืน
ทุกครั้งที่ยกแก้วกาแฟขึ้นดื่ม ถ้าได้รู้ถึงที่มาของความอร่อยตรงหน้า ความสุขจะเพิ่มขึ้นเป็นเท่าทวีรึเปล่านะ? สำหรับเราความรู้สึกนี้ได้เกิดขึ้นหลังจากการไปเยือน MiVana Coffee Flagship Store แฟล็กชิปสโตร์คาเฟ่ที่มีบรรยากาศร่มรื่นย่านศรีนครินทร์ของ “ มีวนา ” โดยเปิดขึ้นเพื่อหวังให้ที่นี่เป็นโมเดลต้นแบบในการส่งต่อแนวคิดการดูแลธรรมชาติ ผ่านไลฟ์สไตล์การดื่มกาแฟ กระตุ้นให้คนเมืองสนใจกาแฟออร์แกนิกกันมากขึ้น ตลอดการทำงานมากว่าสิบปีของแบรนด์กาแฟ “มีวนา” ได้ดำเนินธุรกิจภายใต้แนวทางเพื่อสังคม ผลิตกาแฟอาราบิก้าด้วยระบบวนเกษตรแบบอินทรีย์ กับการปลูกกาแฟแทรกไปกับต้นไม้ในผืนป่า แตกต่างจากการทำไร่กาแฟที่ต้องใช้ปุ๋ยและสารเคมีที่สามารถควบคุมปริมาณผลผลิตได้ตามความต้องการของตลาด ขณะที่การปลูกกาแฟใต้ร่มเงาป่าของมีวนา แม้จะไม่สามารถสู้เรื่องจำนวนการผลิตได้ แต่ในด้านคุณภาพที่ปลอดภัยและเป็นมิตรกับระบบนิเวศควบคู่ไปกับการส่งเสริมให้ชาวบ้านมีอาชีพและปลูกฝังความหวงแหนรักษาป่าละก็นั่นนับเป็นพันธกิจและเป้าหมายอันสำคัญกว่า เบื้องหลังแนวคิดนี้ คุณมิกิ-ชัญญาพัชญ์ โยธาธรรมสิทธิ์ รองกรรมการผู้จัดการงานพัฒนาธุรกิจและการตลาด บริษัท มีวนา จำกัด คือตัวแทนที่จะมาเล่าให้ฟังถึงแนวทางการทำงานของมีวนา ภายใต้เหตุผลของความยั่งยืนดังกล่าวว่า สิ่งนี้ได้สร้างผลลัพธ์ใดกลับคืนสู่สังคมและโลกใบนี้อย่างไร นอกเหนือจากมูลค่าทางธุรกิจ การปลูกกาแฟอินทรีย์กับการอนุรักษ์ป่าสองเรื่องนี้มาบรรจบกันได้อย่างไร คุณมิกิ : “เนื่องจากกาแฟอาราบิก้าต้องปลูกในพื้นที่สูงมีระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,000 เมตร ขึ้นไป และต้องมีสภาพภูมิอากาศที่เย็นจึงจะได้ผลผลิตที่ดีในเชิงของพื้นที่ป่าที่เราเข้าไปทำงานในเชียงราย จะมีสองส่วนคือพื้นที่ป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์อยู่แล้ว เราก็อนุรักษ์ไว้แล้วก็เอากาแฟไปปลูกใต้ร่มเงาป่าในพื้นที่ อีกส่วนคือป่าเสื่อมโทรมหรืออาจจะถูกทำลายไปแล้วเราจะปลูกต้นกาแฟควบคู่ไปกับต้นไม้ที่มีความหลากหลายทางนิเวศ เป็นไม้ที่ให้ร่มเงาในระดับที่แตกต่างกัน ทำให้พื้นที่ป่ามีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้นเรื่อย ๆ “ในอดีตที่ผ่านมาคนอาจจะคุ้นเคยกับการทำไร่กาแฟแบบเป็นแปลงปลูก จะไม่ได้เป็นการปลูกแบบร่วมกันกับป่าเท่าไหร่มากนัก เขาจะมีการจัดการบริหารที่ง่ายกว่าเรา เดินตามแปลงก็จบ บริหารจัดการง่าย พอเจอศัตรูพืชก็ใช้สารเคมีเร่งดอก เร่งผล […]