STUDIO PLP ออฟฟิศโมเดิร์นมินิมัล โปร่งด้วยฟาซาดกระจกบานเกล็ด

STUDIO PLP ออฟฟิศโมเดิร์นมินิมัล ที่โปร่งโล่งด้วยฟาซาดกระจกบานเกล็ดที่ช่วยดึงแสงธรรมชาติเข้าสู่ภายใน แก้ปัญหาเรื่องกฎหมายอาคาร

ความทรงจำใหม่ของเรือนไทยหลังเดิม

บ้านเรือนไทย กลางเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพฯ แวดล้อมด้วยสวนที่ร่มรื่น ยังคงไว้ซึ่งบรรยากาศของการใช้ชีวิตเรียบง่ายอย่างไทย

ยึดหยุ่นใน บ้านปูนโปร่งโล่ง กับชานเรือนใต้หลังคา

บ้านปูนโปร่งโล่ง หลังนี้ไม่ต้องการเปิดแอร์ อยากอยู่กับแสงและลมธรรมชาติ พื้นที่ภายใต้หลังคาเดียวกัน จึงมีทั้งตัวบ้านเรียบง่าย และชานบ้านต่อกับโถงบันไดซึ่งไม่ได้อยู่ภายนอกบ้าน เหมือนบ้านไทยดั้งเดิมทั่วๆ ไป จากบ้านเก่าสู่บ้านใหม่ อ.ต้นข้าว ปาณินท์ สถาปนิกแห่ง Research Studio Panin ผู้ออกแบบเล่าให้เราฟังว่า บ้านปูนโปร่งโล่ง หลังนี้เป็นบ้านสร้างใหม่บนพื้นที่บ้านเดิม โดยแต่เดิมนั้นบ้านเป็นบ้านปูนสองชั้นที่ชั้นล่างค่อนข้างเปิดโล่งอยู่แล้ว มีลักษณะคล้ายใต้ถุนที่สมาชิกในบ้านต่างก็ชอบมาใช้ชีวิตอยู่บริเวณนี้ คล้ายกับพื้นที่อเนกประสงค์ซึ่งเปิดโล่ง แต่การใช้งานไม่ตอบสนองกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป และยังมีบางส่วนที่ลมถูกบังไม่ปลอดโปร่งเท่าที่ควร บ้านที่ไม่ต้องเปิดแอร์ โจทย์ที่ได้รับจึงค่อนข้างชัดเจน เพราะสมาชิกในบ้านซึ่งประกอบไปด้วย พ่อแม่ ลูกวัยประถมอีก 2 คน และคุณยาย คุ้นเคยดีกับการใช้ชีวิตกึ่งเอาท์ดอร์ จึงขอบ้านที่อยู่อาศัยได้โดยไม่ต้องเปิดแอร์ โปร่งได้ลมได้แสงสว่าง และต้องการขยายให้บ้านเป็นบ้าน 3 ชั้น แต่ไม่อยากให้บันไดอยู่ด้านนอกแบบบ้านไทย บ้านจึงต้องมีระยะร่นเข้ามาเพื่อลดความร้อนที่เข้าสู่ตัวบ้าน แต่ยังคงต้องให้อากาศไหลเวียนดี ตัวห้องที่เป็นพื้นที่ปิดทุกด้าน จึงมีทางเดินพร้อมพื้นที่ว่างคล้ายกับชานบ้านของไทยอยู่ล้อมรอบเหมือนเป็นบ้านที่มีผนังสองชั้น ตามแต่ฟังก์ชั่นและทิศทางแดด อาทิเช่น ในทิศเหนือและตะวันออกที่แดดไม่แรง ผนังด้านนอกก็จะโปร่งกว่าผนังด้านทิศใต้และตะวันตกซึ่งทึบกว่า พื้นที่กึ่งเอาท์ดอร์ เป็นทั้งเฉลียง ระบียง ชาน ถ้าหากจะใช้คำกำจัดความกันจริงๆ ระยะร่นตรงคือพื้นที่โล่งในบ้าน แต่หากคิดจากฟังก์ชั่นใช้งานแล้ว บางด้านทำหน้าที่คล้ายชานที่เชื่อมพื้นที่เข้าด้วยกัน หรืออย่างพื้นที่โล่งติดโถงบันไดก็ให้ความรู้สึกคล้ายเฉลียงหน้าบ้านก่อนเข้าตัวบ้านจริง […]

บ้านสร้างเองจากอิฐบล็อก สวย เรียบง่าย น่าสบาย

บ้านอิฐบล็อกเรียบง่าย หลังนี้สร้างขึ้นมาจากความต้องการจะมีที่ทำงานศิลปะเป็นสำคัญ โดยเจ้าของบ้านได้ศึกษาทิศทางลม ฝน และแสงแดด พร้อมวางแปลนและลงมือก่อสร้างตั้งฐานรากไปจนถึงโครงหลังคาเองทั้งหมด ทำให้เข้าใจรายละเอียดทุกจุดของบ้าน ส่งผลให้บ้านเต็มไปด้วยชีวิตจิตใจของผู้เป็นเจ้าของ

room Pavilion Midyear 2022

เพราะ room เชื่อว่า ดีไซน์ที่ดี ไม่เพียงดีสำหรับผู้ใช้งานเท่านั้น แต่ยังต้องดีต่อสังคมรอบข้าง และเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างสรรค์โลกให้ดียิ่งขึ้นอย่างยั่งยืน เราจึงคัดสรรงานออกแบบที่ยั่งยืนในหลากมิติมาจัดแสดงในงานบ้านและสวนแฟร์ Midyear 2022 เพื่อช่วยสร้างแรงกระเพื่อมต่อสังคมในวงกว้าง นำไปสู่การต่อยอดและพัฒนางานออกแบบเหล่านั้นให้เกิดขึ้นและสร้างประโยชน์ได้จริงในอนาคต RE-BALANCE การจัดแสดงในปีนี้ room มุ่งให้ความสำคัญกับ “แนวคิดความยั่งยืนที่สมดุลกับวิถีปัจจุบันของโลก” จึงได้เลือกคัดสรรผลงานการออกแบบที่ตอบโจทย์ทั้งด้านการใช้งาน (Function) ความงาม (Aesthetic) แนวคิดด้านความยั่งยืน (Sustainability) รวมถึงการส่งผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม (Social Impact) แต่ขณะเดียวกันก็เป็นงานออกแบบใกล้ตัว ตอบโจทย์วิถีชีวิตประจำวันของผู้คนได้อย่างแท้จริง room Betterism Design Exhibition แบ่งออกเป็น 3 หมวดการคัดสรรดังนี้1.Architectural งานออกแบบสถาปัตยกรรมที่ส่งเสริมความยั่งยืน2.Urban Design and Movement งานออกแบบพื้นที่สาธารณะ และแนวคิดส่งเสริมเมืองสร้างสรรค์3.Product and Innovation ผลิตภัณฑ์ และแนวคิดนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน พบกับผลงานการออกแบบในหมวดต่างๆ มากกว่า 30 ผลงาน จากนักออกแบบและนักสร้างสรรค์ไทย ได้ที่งาน room BETTERISM Design Exhibition […]

รวมบ้านไม้บรรยากาศสบายๆ เห็นแล้วอารมณ์ดี

ชม 10 บ้านไม้วิวสวย ที่เห็นแล้วรับรองว่าต้องอารมณ์ดี ด้วยบรรยากาศแวดล้อมที่มีความเป็นธรรมชาติสดชื่นสบายตาสบายใจ เชื่อว่าน่าจะเป็น “บ้านในฝัน” ของใครหลายคน

รวมบ้านปูนใต้ถุนสูง น้ำท่วมก็ไม่หวั่น

รวมบ้านปูนที่นำภูมิปัญญาของเรือนไทยใต้ถุนสูงมาผสมผสาน จนกลายเป็นบ้านที่ทั้งสวย ระบายอากาศดี ที่สำคัญรับมือกับปัญหาสุดคลาสสิกอย่างน้ำท่วมของเมืองไทยได้ดี รับรองว่าสวยน่าอยู่ทุกหลัง

บ้านชั้นเดียวสีขาว ที่อยู่สบายกับธรรมชาติ

บ้านชั้นเดียวสีขาว ที่วางผังเรียบง่ายในรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าเพื่อเปิดมุมมองของทุกห้องให้เชื่อมต่อออกไปสู่วิวธรรมชาติโดยรอบ และยกใต้ถุนเพื่อให้ลมพัดผ่านสบาย

รู้ต้นเหตุบ้านร้อน คุณสมบัติฉนวน และการเลือกที่ไม่ทำลายสุขภาพ

ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน Research & Innovation for Sustainability Center (RISC) ได้ศึกษาสาเหตุที่ความร้อนเข้ามาในบ้าน และคุณสมบัติของฉนวน เพื่อเป็นข้อพิจารณาใน การเลือกฉนวนกันความร้อน ความร้อนเข้ามาในบ้านได้อย่างไร ความร้อนเข้ามาในบ้านด้วยการถ่ายเทความร้อน (Heat Transfer) เป็นการส่งผ่านพลังงานความร้อนซึ่งเกิดขึ้นจากความแตกต่างของอุณหภูมิ ทำให้อากาศที่มีอุณหภูมิสูงจะเดินทางไปหาอากาศที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า (จากร้อนไปเย็น) เพื่อปรับสมดุลของอากาศ เช่น น้ำแข็งกับน้ำในแก้ว ซึ่งน้ำจะมีอุณหภูมิสูงกว่าจึงถ่ายเทความร้อนไปที่น้ำแข็งที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า ทำให้น้ำแข็งละลาย และหยุดถ่ายเทความร้อนเมื่อทั้งสองอย่างมีอุณหภูมิเท่ากัน เช่นเดียวกับดวงอาทิตย์ที่แผ่รังสีความร้อนปะทะกับอาคารซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่าบริเวณโดยรอบ ความร้อนจึงพยายามเข้ามาในอาคารด้วยการเคลื่อนที่ได้ถึง 3 รูปแบบ คือ การนำความร้อน (Conduction) เป็นการส่งถ่ายอุณหภูมิผ่านตัวกลางโดยที่ตัวกลางอยู่กับที่ เช่น การนำความร้อนผ่านผนังบ้าน (ผนังเป็นตัวกลาง) แต่จะร้อนเร็วช้าหรือมากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับความแตกต่างของอุณหภูมิ และคุณสมบัติการนำความร้อนของวัสดุ การพาความร้อน (Convection) เป็นการส่งถ่ายอุณหภูมิโดยที่ตัวกลางนั้นเคลื่อนที่ไปกับอุณหภูมิด้วย เช่น ลมเป็นตัวกลางที่พาความร้อนเข้ามาในอาคาร หรือ พาออกไปจากอาคารได้เช่นเดียวกัน การออกแบบอาคารที่ระบายอากาศได้ดี จะสามารถใช้ลมช่วยพาความร้อนออกไปจากอาคารได้รวดเร็ว ทำให้ห้องเย็นสบาย และไม่อับชื้น เห็นได้ชัดในบ้านไทยพื้นถิ่นที่นิยมยกพื้นสูง เพื่อให้ลมพาความร้อนออกจากใต้พื้นบ้าน การแผ่รังสีความร้อน (Radiation) เป็นการถ่ายเทอุณหภูมิที่ไม่ต้องอาศัยตัวกลางในการเคลื่อนที่ […]

เรือนหมู่อยู่เย็น ไทยโมเดิร์นอยู่สบาย บรรยากาศกลางไร่และภูเขา

บ้านไทยโมเดิร์นที่เชื่อมทุกส่วนด้วยทางลาดรองรับผู้สูงอายุ อยู่สบายและประหยัดพลังงาน ทำหลังคาโปร่งแสงทั้งหลังเพื่อใช้ประโยชน์จากแสงธรรมชาติ เมื่อแรงบันดาลใจและความฝันได้นำพาคุณหมอผู้หลงรักภูเขา การเดินป่า และกลิ่นหอมดินหลังฝนตก มาลงหลักปักฐานสร้างครอบครัวในดินแดนแห่งขุนเขา จึงได้ซื้อที่ดินในอำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ สร้าง บ้านไทย โมเดิร์นยกพื้นสูงมีใต้ถุน ให้กลมกลืนกับวิถีชีวิต บริบท และธรรมชาติที่มีฉากหลังเป็นวิวภูเขา โดยเชื่อมแต่ละเรือนด้วยชานโล่งซึ่งทำหน้าที่เป็นทางลาดขนาดใหญ่ เชื่อมการใช้งานตั้งแต่พื้นดินจนถึงห้องนอนโดยไม่มีบันได ด้วยวางแผนให้เป็นบ้านที่จะสร้างครอบครัวและรองรับวัยเกษียณในอนาคต บ้านใหม่ที่บ้านเกิด เมื่อจุดเริ่มต้นของการสร้างบ้านสำหรับครอบครัวได้รวมการมีวิวสวยๆ และอยู่กับธรรมชาติไว้ด้วย บ้านของสองคุณหมอ คุณต้อม-วงศกร เจริญไทย คุณมิ้นท์-อภิรดา ถนอมวงศ์ทัย และ น้องต้นไม้ – เด็กชายธราดล เจริญไทย จึงมีผืนดิน ต้นไม้ สายลม แสงแดด และทิวเขารวมอยู่ด้วย ผ่านมุมมองและการออกแบบจาก คุณแชมป์-สณทรรศ ศรีสังข์ และคุณแตน-วรัญญู มกราภิรมย์ สถาปนิกแห่ง TA-CHA Design คุณต้อมเล่าย้อนกลับไปว่า “ผมชอบธรรมชาติ ชอบเดินป่าและทำกิจกรรมกลางแจ้ง เลยอยากได้บ้านที่มีพื้นที่เปิดโล่ง มีต้นไม้ เห็นวิวสวยๆ ผมเป็นคนเชียงใหม่ ส่วนภรรยาเป็นคนหล่มสัก ด้วยเรามีแนวคิดคล้ายกัน เมื่อ 6 ปีก่อนจึงมาหาที่ดินสำหรับสร้างบ้าน […]

รวมบ้านสวย 4 ภาค ที่ออกแบบในสไตล์ไทยพื้นถิ่นร่วมสมัย

เพราะประเทศไทยในแต่ละภูมิภาคมีลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่นแตกต่างกัน จึงทำให้ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง และภาคใต้ มีลักษณะสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเฉพาะตัวที่มีเสน่ห์แตกต่างกันไป เราได้รวบรวม บ้านไทย4ภาคร่วมสมัย ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากงานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น แต่มีการผสมผสานฟังก์ชันการใช้งาน และความทันสมัยให้สอดรับกับการใช้ชีวิตในปัจจุบัน ทำให้รูปแบบบ้านมีความร่วมสมัยมากขึ้น แต่ก็ยังเน้นให้ภายในบ้านมีการระบายอากาศที่ดี และมีการเชื่อมโยงกับธรรมชาติรอบบ้าน เพื่อให้คนในบ้านอยู่อาศัยได้อย่างสุขสบาย  บ้านที่มีต้นไม้เป็นศูนย์กลาง เจ้าของ : คุณสิทธิชัย บูรณะกิจไพบูลย์สถาปัตยกรรม – ตกแต่งภายใน : TA-CHA Designผู้รับเหมา : บริษัททวีมงคลก่อสร้าง (2000) จำกัด แม้หน้าตาของบ้านหลังนี้จะมีรูปแบบร่วมสมัย แต่ผู้ออกแบบได้หยิบสาระสำคัญของบ้านเรือนไทยภาคกลางมาใช้ มีการกำหนดฟังก์ชันการใช้งานเกือบเต็มพื้นที่ โดยมีพื้นที่ชานนอกบ้านใหญ่พอๆกับพื้นที่ใช้งานภายใน และให้ต้นไม้เป็นเหมือนศูนย์กลางที่รวมทุกส่วนไว้ด้วยกัน ชั้นล่างแบ่งเป็นห้องนั่งเล่น ห้องรับประทานอาหาร แต่ละห้องจะเปิดให้ดูโล่งและโปร่ง ส่วนตู้เก็บของทำเป็นงานบิลท์อิน ขณะที่เฟอร์นิเจอร์อื่นๆเลือกใช้แบบลอยตัว ส่วนชั้นบนก็เป็นห้องนอนของสมาชิกแต่ละคน และพื้นที่ส่วนกลางที่เชื่อมครอบครัวใหญ่เข้าด้วยกัน >> อ่านต่อ บ้านสวนริมคลองเจ้าของ: ครอบครัวตุ้มปรึกษาออกแบบ: คุณพงศกร ตุ้มปรึกษา บ้านริมคลองบางมดที่นำภูมิปัญญาของเรือนไทยพื้นถิ่นภาคกลางมาปรับให้สอดคล้องกับสภาพภูมิอากาศและการใช้ชีวิตของครอบครัว เราจึงได้เห็นการยกใต้ถุนสูงหนีน้ำท่วม หนีปลวก การทำหลังคาทรงสูงให้อากาศไหลเวียน ชายคายื่นยาว มีช่องหน้าต่างและช่องคอสองช่วยระบายความร้อน […]

บ้านใต้ถุนสูงเปิดรับลมและวิวสีเขียว

บ้านใต้ถุนสูงโปร่งโล่ง ที่ออกแบบภายใต้โครงสร้างเรียบง่าย ตัวบ้านสามารถระบายอากาศได้ดี เปิดรับความร่มรื่นของต้นไม้สีเขียว และสระน้ำข้างบ้าน ช่วยให้บ้านไม่ร้อน และสามารถทำกิจกรรมต่างๆที่ใต้ถุนบ้านได้ เพิ่มลูกเล่นด้วยการโชว์สัจจวัสดุ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นความตั้งใจของลูกที่เลือกสิ่งดีๆ ให้เหมาะกับคุณพ่อคุณแม่ หลายคนคงรู้จักและเป็นแฟนหนังสือของ คุณพลอย มัลลิกะมาส นักเขียนแนวท่องเที่ยว ไลฟ์สไตล์ และดีไซน์กันเป็นอย่างดี เรามีโอกาสไปเยี่ยมชม บ้านใต้ถุนสูงโปร่งโล่ง บนพื้นที่ 92 ตารางวาของคุณพ่อและคุณแม่ของเธอในย่านลาดพร้าว เมื่อไปถึงคุณพลอยก็ออกมาต้อนรับเราอย่างเป็นกันเอง พร้อมแนะนำมุมต่างๆในบ้าน สิ่งแรกที่สัมผัสได้คือความสงบร่มรื่นของต้นไม้สีเขียวหลากหลายชนิด และสระน้ำข้างบ้านที่ดูแล้วสบายใจอย่างบอกไม่ถูก คุณพลอยเล่าให้ฟังว่า เดิมที่ดินนี้เป็นของคุณพ่อซึ่งซื้อไว้นานแล้วพร้อมกับพี่น้องในครอบครัว การย้ายจากบ้านเดิมย่านสาทรมาที่นี่ ก็เพื่อให้การดูแลอาการป่วยของคุณแม่เป็นไปอย่างใกล้ชิดและสะดวกขึ้น ทั้งยังเป็นการหลีกหนีจากสภาพแวดล้อมเป็นพิษที่ไม่เหมาะกับผู้ป่วยและผู้สูงอายุ เนื่องจากบ้านหลังเดิมอยู่ติดกับทางด่วนและมีโครงการก่อสร้างคอนโดมิเนียมมากมาย การมาพักอยู่ที่บ้านหลังใหม่ช่วยให้คุณพลอยได้ใกล้ชิดกับครอบครัวมากขึ้น เพียงใช้เวลาแค่ 20 นาที เธอก็สามารถเดินทางมาหาคุณพ่อคุณแม่ได้แล้ว รวมทั้งมีญาติๆ คอยช่วยดูแลอยู่ใกล้ๆด้วย ก่อนสร้างบ้านคุณพลอยได้ปรึกษากับ คุณพงศกร กิจขจรพงษ์ สถาปนิกผู้เคยออกแบบบ้านให้เธอมาก่อน และเนื่องจากสถาปนิกและครอบครัวของคุณพลอยมีความสนิทสนมกันอยู่แล้ว  การออกแบบบ้านครั้งนี้จึงเป็นเรื่องง่ายขึ้น โดยคุณพลอยได้ให้อิสระในการออกแบบบ้านอย่างเต็มที่ เพียงให้โจทย์ไว้ว่า “อยากสร้างบ้านให้พ่อกับแม่” ที่เหลือก็เป็นหน้าที่ของสถาปนิก  คุณพงศกรเล่ารายละเอียดต่างๆของบ้านให้ฟังว่า “บ้านหลังนี้มีพื้นที่ใช้สอยภายในบ้านประมาณ 105 ตารางเมตร ส่วนใหญ่จะเป็นส่วนกึ่งภายนอกอย่างโถงและระเบียงบ้าน รวมแล้วก็ประมาณ 185 […]

บ้านไอซ์ซึ ณัฐรัตน์ นพรัตยาภรณ์ โลกคู่ขนานที่บรรจบกันของคนกับแมว

บ้านไอซ์ซึ บ้านสไตล์ญี่ปุ่นหัวใจไทยของ ไอซ์ซึ ณัฐรัตน์ นพรัตยาภรณ์ นายแบบและนักแสดงหนุ่มมากฝีมือจากภาพยนตร์เรื่อง “One for the road”

YEN.CNX คาเฟ่เชียงใหม่ เสิร์ฟขนมหวานเย็นสไตล์ไทย ในโรงงานคัดใบยาสูบเก่า

ใครเป็นคอขนม ลองแวะไปเยือนคาเฟ่ชื่อสั้น เรียกง่าย อย่าง “เยน คาเฟ่” หรือ Yen.CNX คาเฟ่ขนมหวาน ซึ่งมีไฮไลต์เด่นอยู่ที่เมนูน้ำแข็งไสเย็นชื่นใจ จัดเต็มท็อปปิ้งหลากหลาย แถมมีไอศกรีมอร่อย ๆ ที่นำมามิกซ์กับขนมไทยได้อย่างน่ารับประทาน นอกจากนี้ต้องขอบอกว่าที่ตั้งของคาเฟ่ไม่ธรรมดา เพราะตั้งอยู่ในโรงคัดใบยาสูบเก่ากลางเมืองเชียงใหม่ DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: pommballstudio จากเสน่ห์ที่ลงตัวของสถานที่ตั้ง และจุดเด่นของเมนูขนมหวาน ที่เราคุ้นเคยบนความแปลกใหม่ ทีมออกแบบจาก pommballstudio จึงเลือกนำความเก่าและใหม่มาใช้เป็นแนวคิดในการออกแบบคาเฟ่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโรงงานคัดใบยาสูบ โดยยังคงตัวอาคารรูปแบบแฟคทอรี่เอาไว้ แล้วต่อเติมฟาซาดหน้าร้านที่อยู่ติดกับถนนให้ดูน่าดึงดูดใจ ภายใต้หน้าตาที่ดูคล้ายบ้านไทยชั้นเดียว ในขั้นตอนการปรับปรุงพื้นที่อาคาร ทีมออกแบบต้องทำการเปลี่ยนผนังที่เคยทึบให้กลายเป็นช่องกระจก เพื่อเปิดรับแสงและเพิ่มความปลอดโปร่ง เด่นด้วยชายคาที่มุงหลังคาสังกะสี วัสดุดั้งเดิมที่ช่วยฉายภาพบ้านไทยยุคเก่าอย่างที่เราคุ้นตา ส่วนวัสดุอย่าง ไม้ ที่เห็นนั้น ล้วนเป็นไม้เก่าที่เก็บสะสมอยู่ภายในโกดังของเจ้าของ โดยมีขนาดและชนิดของไม้ที่แตกต่างกัน ไม่เพียงแค่นำไม้มาใช้ในส่วนของชานที่นั่งหน้าร้าน แต่ยังนำมาต่อเป็นที่นั่งใต้ร่มไม้ตรงโซนที่นั่งเอ๊าต์ดอร์ด้วย เพื่อให้ลูกค้าได้เลือกนั่งตามอัธยาศัย ส่วนการออกแบบพื้นที่ภายใน ยังคงหยิบสังกะสีมาใช้ออกแบบในส่วนของเคาน์เตอร์ และผนังหลังเคาน์เตอร์ให้มีลวดลายเหมือนยอดภูเขาน้ำแข็ง ติดโลโก้ที่นำอักษรตัววาย(y)ซึ่งเป็นย่อชื่อร้าน มาเรียงต่อกันคล้ายรูปเกล็ดหิมะ โดยในความมันวาวของพื้นผิวสังกะสีสื่อได้ถึงความเย็น ขณะเดียวกันก็เป็นวัสดุแบบเก่าที่ผสมผสานเข้ากับวัสดุสมัยใหม่ได้อย่างลงตัว อย่างแผ่นลามิเนต Formica ซึ่งมีผิวมันวาวและลวดลายคล้ายคลื่นน้ำ โดยนำมาติดตั้งบนผนังด้านข้างและหลังที่นั่ง เมื่อกระทบกับแสงไฟจะเกิดรีเฟล็กซ์เป็นเท็กซ์เจอร์ที่มีมิติขึ้น อีกส่วนที่อดกล่าวถึงไม่ได้ […]

บล็อคช่องลม วัสดุดีไซน์เพื่อการระบายอากาศที่ดี

สำหรับบ้านเขตร้อนในแบบเมืองไทย เราต่างก็คุ้นชินกับบล็อคช่องลมกันเป็นอย่างดี เพราะเป็นวัสดุก่อผนังที่ใช้สำหรับช่วยระบายอากาศมาอย่างยาวนาน ทั้งต้อนรับลมพัดผ่านทั้งซอฟท์แสงแดดให้ลดลง รวมถึงช่วยสร้างมิติในการอยู่อาศัย เพราะคนรักบ้านใส่ใจงานดีไซน์กันมากขึ้น บล็อคช่องลมของ SMART BLOCK จึงไม่หยุดพัฒนาเพื่อตอบโจทย์ความต้องการในงานเชิงออกแบบที่เข้ากับรูปลักษณ์ของอาคารหลากหลายประเภท และตอบโจทย์ฟังค์ชั่นการใช้งานพื้นที่ในชีวิตประจำวันของทุกคน ฟังก์ชั่นและความงาม เหตุผลที่บ้านไทยนิยมเลือกใช้บล็อคช่องลมเป็นผนังของอาคาร นั่นก็เพราะจุดประสงค์หลักในเรื่องการระบายอากาศ​ กรองแสงแดดที่ตกกระทบกับตัวอาคาร ไปพร้อมกับความงามตามธรรมชาติในส่วนของการสร้างมิติของแสงและเงาทั้งในช่วงกลางวันกับแสงธรรมชาติ และกลางคืนในการตกแต่งเล่นไฟ ในส่วนของตัววัสดุของบล็อคตกแต่งที่เป็นประเภทอิฐมวลเบา ตัวบล็อคจึงแข็งแรง สามารถติดตั้งเป็นผนังที่ใช้งานได้กับทั้งภายในและภายนอกอาคาร เป็นผนังก่อ โชว์แนว หรือจะใช้เป็นผนังตกแต่งโครงสร้างที่มีเสาและคาน การก่อสร้างก็แข็งแรงทนทานไม่ต่างกันกับผนังทึบเลย นอกจากเรื่องความแข็งแรง อิฐมวลเบามีคุณสมบัติช่วยลดความร้อนในตัว นี่จึงกลายมาเป็นข้อดีของบล็อคตกแต่ง SMART BLOCK ที่ติดตั้งได้ง่าย ใช้งานได้ทันที จะติดตั้งแบบเปลือยหรือแบบทาสีก็ทำได้อย่างสวยงาม และด้วยขนาดที่ลงตัว จึงง่ายต่อการคำนวณจำนวนพื้นที่ต่อการใช้งาน ช่วยอำนวยความสะดวกระหว่างขั้นตอนการทำแบบและก่อสร้างไปได้อีก 8 ลวดลาย หลากอารมณ์ ความหลากหลายของลวดลายที่มีให้เลือกสรรบอกเล่าเรื่องราวของบรรยากาศในงานตกแต่งและอารมณ์ที่แตกต่างกันไป ตามรูปแบบเรขาคณิตที่หลากหลาย ซึ่งบล็อคช่องลมของ SMART BLOCK มีให้เลือกสรรทั้งหมด 8 ลวดลายตามดีไซน์ที่แตกต่าง ตั้งแต่บล็อค 4 ช่องลมรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส บล็อคดาวกระจายกับรูปวงกลมในขนาดที่แตกต่าง บล็อคสี่เหลี่ยมซ้อนกับรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสตรงกลาง คูณบล็อก บล็อกรูปตัวคูณเกิดเป็นช่องสามเหลี่ยมรอบด้าน บล๊อคเหรียญทองที่เมื่อนำมาก่อหลายก้อนจะเห็นเป็นภาพเหรียญวงกลม นอกจากบล็อคช่องลมสำหรับระบายอากาศอย่างที่เราคุ้นเคยแล้ว […]

บ้านและสวน ฉบับพิเศษ อยู่อย่างไทยกับบ้านปูนสมัยใหม่ Modern Thai

รวมแบบบ้านที่คนยุคนี้ต้องการ คือบ้านปูนที่สร้างง่ายตามงบประมาณที่มี โดยผสมผสานไปกับโครงสร้างเหล็ก เพื่อรองรับดีไซน์ได้หลากหลายขึ้น และตอบรับกับการใช้งานในวิถีชีวิตปัจจุบันได้สะดวกสบาย ทั้งยังเพิ่มเอกลักษณ์และความน่าสนใจด้วยการนำแรงบันดาลใจจากบ้านไทยหรือเรือนไทยในอดีตมาปรับใช้ เพื่อให้มีกลิ่นอายความเป็นไทย ผสมด้วยงานไม้เพื่อเพิ่มเสน่ห์และความอบอุ่น โดยคงไว้ซึ่งดีไซน์ที่สอดคล้องกับภูมิอากาศแบบร้นอชื้นอย่างยั่งยืน ราคา : 365 บาท

ผนังก่ออิฐโชว์แนว การออกแบบและดูแลรักษา

ใครเลิฟผนังก่ออิฐ แต่กลัวฝุ่น กลัวตะไคร่น้ำ หรืออยากรู้วิธีการเจาะช่องสวยๆแบบนี้ ตามมาดูคอลัมน์ บ้านและสวน Home Expert จะมาแนะนำวิธีออกแบบช่องโล่ง ช่องกระจก ช่องหน้าต่างร่วมกับผนังก่ออิฐโชว์แนวให้ดูโมเดิร์น และวิธีการดูแลรักษาผนังให้อยู่สวยทนนานจากผู้เชี่ยวชาญ การติดตั้งกรอบเหล็ก พร้อมกับการก่อผนัง 1.กรอบเหล็กหนา 4 มิลลิเมตร ตัดและดัดตามแบบ 2.พ่นอบสี Power Coating 3.เชื่อมเหล็กเส้นกับกรอบ สำหรับยึดเกาะกับผนัง อิฐโชว์แนว 4.อิฐขนาด 10 x 20 x 4 เซนติเมตร ก่อ 2 ชั้นคละลาย (random) 5.เคลือบน้ำยากันซึมชนิดใส ป้องกันการเกิดตะไคร่น้ำและฝุ่นผง ออกแบบ : PO-D Architects การติดตั้งกรอบเหล็ก โดยก่อผนังแล้วเจาะช่องภายหลัง 1.ก่อผนังเสร็จก่อน แล้วจึงเจาะช่องให้พอดีกับกรอบเหล็ก เสริมปูนให้ได้ระดับ 2.ใส่กรอบเหล็ก ยาแนวด้วยซิลิโคน ออกแบบ : PO-D Architects การก่อผนังอิฐตัน เป็นการก่อเพื่อเป็นผนังอาคารและผนังกั้นห้อง นิยมก่อ 2 วิธี […]