แก้ปัญหาบ้านร้อนอย่างตรงจุด ด้วยนวัตกรรมเพื่อบ้านอยู่สบาย

บ้านร้อนเกิดจากสาเหตุอะไร เมื่อพบปัญหาบ้านร้อน หลายคนมักเลือกการติดตั้งเครื่องปรับอากาศเพื่อแก้ปัญหาเป็นอันดับแรก ซึ่งที่จริงแล้วการติดตั้งเครื่องปรับอากาศนั้นกลับเป็นเพียงการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุเท่านั้น แถมยังมีภาระค่าไฟฟ้าที่น่าตกใจตามมาทุกๆ เดือน เนื่องจากสาเหตุที่แท้จริงของบ้านร้อนนั้นเกิดจากหลายสาเหตุ ดังนี้ การสะสมความร้อนบริเวณโถงใต้หลังคา ด้วยธรรมชาติของความร้อนที่จะลอยตัวขึ้นสู่ที่สูง ทำให้ใต้หลังคากลายเป็นบริเวณที่สะสมความร้อนเป็นจุดหลักของบ้าน หากไม่สามารถระบายความร้อนออกไปยังนอกบ้านได้ ความร้อนที่สะสมก็จะคายลงมาในบ้าน หรือที่เรียกว่า “ปรากฏการณ์เตาอบ” จึงทำให้บ้านร้อนตลอดเวลา แม้จะติดเครื่องปรับอากาศก็เป็นเพียงการทำให้บ้านเย็นชั่วคราว และการติดวัสดุกันความร้อนนั้นก็อาจไม่เพียงพอที่จะทำให้บ้านอยู่ได้อย่างสบาย เพราะความร้อนก็ยังคงสะสมภายในบ้านอยู่ดี  การสะสมความร้อนของผนัง วัสดุก่อสร้างที่นิยมใช้สร้างบ้านมักจะเป็นผนังอิฐมอญ หรือผนังพรีแคส ซึ่งแม้จะแข็งแรงทนทาน แต่ก็เป็นวัสดุที่สะสมความร้อนได้มากแถมยังคายความร้อนช้า ช่วงกลางวันจะค่อยๆ สะสมความร้อน และเมื่อถึงเวลากลางคืนก็จะคลายความร้อนคืนกลับไปภายในบ้าน จึงทำให้บ้านอบอ้าวตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน บ้านร้อนอบอ้าวเพราะกระจกและไม่มีช่องเปิดระบายความร้อน นอกจากความร้อนจะสะสมยังบริเวณใต้โถงหลังคาและคอนกรีตแล้ว ความร้อนยังเข้ามาในบ้านผ่านทางกระจกได้อีกด้วย จะสังเกตได้ว่าบ้านที่ติดตั้งกระจกจำนวนมากหากไม่เปิดเครื่องปรับอากาศ และไม่มีช่องเปิดระบายความร้อนก็แทบจะอยู่ไม่ได้เลย อีกทั้งการออกแบบขนาดและตำแหน่งติดตั้งช่องเปิดที่เหมาะสม และมีจำนวนช่องเปิดที่เพียงพอก็ส่งผลทำให้บ้านเย็นสบายเช่นกัน  แก้ปัญหาบ้านอบอ้าว ให้เย็นสบาย ถ่ายเท ไม่เป็นเตาอบ ด้วย Active AIRflow™ System คงจะดีกว่าถ้าใช้นวัตกรรมที่สามารถแก้ปัญหาบ้านร้อนได้อย่างตรงจุดด้วย Active AIRflow™ System ที่เป็นกระบวนการดึงเอาอากาศภายนอกซึ่งเย็นกว่าเข้ามาภายในบ้าน โดยมี Filter 3 ชั้น บริเวณ Grille ที่ช่วยกรองฝุ่น […]

บ้าน ดร. สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ที่ได้แรงบันดาลใจ มาจากไอรอนแมน

บ้านของดร. สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ หลังนี้ มีทั้งผนังบังเกอร์ยักษ์ สระว่ายน้ำยกลอย ช่องเปิดไร้เสา ท้าทายการออกแบบโครงสร้างในหลายมิติ

บ้านไม้ไผ่ อยู่อย่างเป็นมิตรกับธรรมชาติในกาลาปากอส

บ้านไม้ไผ่ รูปทรงโมเดิร์นตั้งอยู่ที่เกาะซานกริสโตบาล ส่วนหนึ่งของหมู่เกาะกาลาปากอส ในประเทศเอกวาดอร์ ก่อสร้างขึ้นโดยใช้ทรัพยากร พลังงาน แรงงาน และการขนส่งในพื้นที่ โดยพยายามให้เกิดความยั่งยืนและเป็นมิตรกับธรรมชาติมากที่สุด Dany และ Jenny คู่สามีภรรยาเจ้าของ บ้านไม้ไผ่ ตั้งใจสร้างที่นี่ขึ้น หลังจากที่ทั้งคู่มีลูกคนแรก แล้วต้องการพื้นที่พักอาศัยที่กว้างขึ้น โดยได้รับคำปรึกษาจาก ESEcolectivo ก่อนออกมาเป็นบ้านที่ใช้โครงสร้างไม้ไผ่ทั้งหลัง โดยใช้แรงงานและภูมิปัญญาท้องถิ่นภายใต้งบประมาณที่ไม่สูงนัก เพื่อให้เข้ากันดีกับบริบททางธรรมชาติอันเปราะบางของหมู่เกาะกาลาปากอส บ้านทั้งหลังจึงต้องออกแบบให้สามารถอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างสมดุล ลดการใช้พลังงาน และพึ่งพาตนเองได้ เห็นได้จากการแบ่งพื้นที่รอบบ้านสำหรับทำแปลงปลูกผักใช้รับประทานในครอบครัว ขณะที่พื้นที่ใช้สอยภายในขนาด 120 ตารางเมตร สถาปนิกได้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 ชั้น ชั้นล่างประกอบด้วยส่วนห้องน้ำ ส่วนซักล้าง และห้องพักสำหรับผู้สูงอายุ แบ่งพื้นที่รอบแกนบันไดให้มีขนาดกว้าง เพื่อทำหน้าที่เป็นทางเดินไปขึ้นสู่ชั้นบนสุดมองเห็นวิวทะเลได้ ทั้งยังช่วยในการไหลเวียนอากาศทั่วทั้งบ้าน ชั้น 2 มีห้องพัก 2 ห้อง คือ ห้องนอนใหญ่ และห้องเด็กเล่น เผื่อสำหรับในอนาคตเมื่อลูกเติบโตขึ้น เขาสามารถย้ายมาพักที่ห้องนี้ได้เพื่อความเป็นส่วนตัว ส่วนชั้น 3 มีห้องสตูดิโอขนาดเล็ก และจุดชมวิวที่สามารถทอดสายตาชมวิวทะเล และพระอาทิตย์ตกดินได้อย่างโรแมนติก ด้านการตกแต่งเน้นเฟอร์นิเจอร์และส่วนต่าง ๆ […]

เรื่องควรรู้ก่อนกั้น “ผนังเบา”

ผนังเบา หรือผนังภายใน เป็นสิ่งที่เพิ่มความเป็นห้อง เพิ่มความเป็นส่วนตัวให้เหมาะสมสำหรับการอยู่อาศัยภายในบ้านมากขึ้น สำหรับบ้านที่กำลังก่อสร้าง การแบ่งพื้นที่ห้องภายในเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับต้นๆ ส่วนบ้านที่ต้องการจะปรับปรุงหรือกั้นห้องใหม่ การเลือกใช้วัสดุและจัดพื้นที่ใหม่ก็เป็นสิ่งสำคัญ ลองมาดูกันว่ามีอะไรที่เราควรรู้ก่อนกั้นห้องด้วย ผนังเบา เพื่อบ้านของเราครับ ผนังเบา ไม่ต้องมีคานรองรับ “ผนังเบา” ในที่นี้หมายถึงผนังที่มีโครงคร่าวไม้ อะลูมิเนียม หรือเหล็กเป็นโครงสร้างหลัก และปิดทับด้วยวัสดุแผ่นผนัง ไม่ว่าจะเป็นแผ่นยิปซัมหรือแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์บอร์ด ซึ่งมีน้ำหนักเบา ขึ้นชื่อว่าผนังเบาก็ต้องมีน้ำหนักเบากว่าผนังก่ออิฐฉาบปูนทั่วไป เพราะโดยปกติแล้วตามแนวของผนังก่ออิฐฉาบปูนต้องรองรับด้วยแนวคานเพื่อความแข็งแรง แต่ผนังเบาไม่จำเป็นต้องมีคานรองรับ จึงเหมาะสำหรับการต่อเติมเปลี่ยนแปลงห้องที่ทำในภายหลัง อิฐมวลเบาไม่เบานะ บางคนคิดว่าอิฐมวลเบาคือผนังเบาชนิดหนึ่ง ในความเป็นจริงแล้วผนังอิฐมวลเบากลับไม่เบาอย่างที่คิด แต่มีน้ำหนักใกล้เคียงกับผนังก่ออิฐฉาบปูน เพราะต้องมีการฉาบเพื่อแต่งผิวเหมือนกัน ผนังอิฐมวลเบาจึงเหมาะสำหรับผนังภายนอก เนื่องจากมีคุณสมบัติแข็งแรง กันเสียง และกันความร้อนได้ดีกว่าผนังเบา ผนังเบาต้องมีโครงแข็งแรง ควรใช้โครงคร่าวเหล็กชุบสังกะสีที่มีความหนาอย่างน้อย 0.55 มิลลิเมตร มีขนาดหน้าตัดเล็กที่สุด 52×30 มิลลิเมตร และใหญ่ที่สุด 94× 30 มิลลิเมตร ทั้งโครงคร่าวตัวตั้งและตัวนอน แผ่นยิปซัมหรือไฟเบอร์ซีเมนต์ที่นำมาติดตั้งควรหนาอย่างน้อย 12 มิลลิเมตร ระยะห่างโครงคร่าวไม่ควรเกิน 60 เซนติเมตร โครงคร่าวเหล็กชุบสังกะสีต้องได้มาตรฐานอุตสาหกรรม โดยตรวจสอบกับบริษัทผู้ผลิตที่เชื่อถือได้ สำหรับพุกที่ใช้ยึดกับโครงสร้างอาคารหรือพื้นควรเป็นพุกเหล็ก Expansion […]

บ้านโมเดิร์นชั้นเดียว ที่มีแนวคิดอ่อนน้อมถ่อมตน

บ้านชั้นเดียวที่มีแนวคิดในการออกแบบที่เน้นความอ่อนน้อมถ่อมตน โดยสถาปนิกได้สอดแทรกสถาปัตยกรรมโมเดิร์นด้วยการใช้หลังคา Flat Slab ซึ่งมีการยื่นชายคาออกไปมากกว่าปกติเพื่อบังแสงแดดไม่ให้ตัวบ้านร้อน แต่ยังดูกลมกลืนไปกับสภาพแวดล้อมที่ล้อมรอบด้วยสวนและต้นไม้ ออกแบบ : Is Architects Co., Ltd. โดยคุณศรายุทธ ใจคำปัน / เจ้าของ : คุณรัตนา – คุณชาตรี เตชะติ บ้านปูนโมเดิร์นชั้นเดียว ความทรงจำเกี่ยวกับบ้านหลังนี้ยังคงชัดเจนและอบอวลไปด้วยความอบอุ่น แม้จะเป็นการพบกันแบบสั้นๆ ทว่า “บ้าน” รวมไปถึง ”คนในบ้าน”หลังนี้ ทำให้เราอยากกลับไปเชียงใหม่อีก เช้าวันหนึ่งที่แสงแดดเป็นใจ ผมและทีมงานเดินทางมาถึงบ้านหลังนี้ซึ่งตั้งอยู่ในอำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ความเงียบสงบของพื้นที่โดยรอบ ทำให้รู้สึกว่าเชียงใหม่เป็นเมืองที่น่าอยู่ที่สุดเมืองหนึ่ง ภาพบ้านชั้นเดียวปรากฏชัดขึ้นเมื่อรถของเราเลี้ยวผ่านโค้ง หน้าบ้านมีป้ายเล็กๆ เขียนไว้ว่า “สารภี เซนต์  แฟมมิลี่” ทำให้แน่ใจว่าเรามาถึงแล้ว บ้านหลังนี้เป็นบ้านของ ครอบครัวเตชะติ คุณรัตนา ผู้เป็นแม่และ คุณชาตรี ลูกชาย ผู้เป็นเจ้าของบ้านและฟาร์มเลี้ยงสุนัขที่อยู่ด้านหลังบ้านออกมาต้อนรับเราอย่างเป็นกันเอง เราจอดรถด้านหน้าบ้านและเดินเข้าสู่ตัวบ้านโดยผ่านระเบียงซึ่งอยู่ติดกับบ่อน้ำที่คอยสร้างความชุ่มชื้นให้บ้าน “ตั้งใจให้บ้านหลังนี้เป็นบ้านชั้นเดียว  เพราะจำนวนสมาชิกในบ้านน้อย  มีพ่อ  แม่  และลูกอีก 2 […]

HILL HOUSE บ้านโมเดิร์นสวยเฉียบดั่งภูเขาหิน

จากความต้องการสร้างบ้านที่มีความยูนีค สะดุดตาตั้งแต่แรกเห็น นำมาสู่ แบบบ้านโมเดิร์น ที่ได้แรงบันดาลใจมาจาก ภูเขา แม้น้ำ และต้นไม้

ARTISAN DIGITAL OFFICE BUILDING บริษัทที่สร้างงานดิจิทัลในวิถีของศิลปิน

ARTISAN DIGITAL OFFICE BUILDING บริษัทที่สร้างงานดิจิทัลในวิถีของศิลปิน เพื่อให้เป็นที่จดจำในฐานะของงานศิลปะแห่งโลกดิจิทัล

มารู้จักหลังคารูปแบบต่างๆกัน

มาดูกันว่าหลังคามีกี่ประเภท แตกต่างกันอย่างไร เพื่อเลือกใช้ รูปแบบหลังคา ให้ถูกต้องและเหมาะสมกับความต้องการได้มากที่สุด หลังคาเพิงหมาแหงน (Lean-to or Pitched Roof) หลังคารูปแบบเรียบง่ายมีความลาดเอียงด้านเดียว เป็นแบบหลังคาที่เกิดจากการสร้างบ้านหรือที่พักชั่วคราวแบบง่ายๆ การใช้หลังคาเพิงหมาแหงนต้องออกแบบให้ด้านที่ลาดเอียงหันไปหาแสงแดดหรือทิศที่มีฝนสาด แต่อย่างไรก็ดี หลังคาประเภทนี้ไม่สามารถป้องกันแดดและฝนได้ดีเท่าไรนัก สำหรับบ้านที่ใช้หลังคาเพิงหมาแหงนอาจแก้ปัญหาเรื่องแดดด้วยการทำแผงกันแดดด้านข้างเพิ่ม รูปแบบหลังคา หลังคาจั่ว (Gable Roof) เป็นหลังคาที่เกิดจากการนำด้านสูงของหลังคาเพิงหมาแหงนมาชนกันให้เกิดสันหลังคา (Ridge) สามารถกันแดดกันฝนได้ดีในด้านที่มีชายคายื่น ส่วนหน้าจั่วหรือด้านสกัดมักมีปัญหาเรื่องการป้องกันแดดและฝน ซึ่งเราอาจทำชายคาเฉพาะจุดเพิ่มบริเวณเหนือหน้าต่างและประตูเพื่อป้องกันแดดและฝน หลังคาจั่วนิยมใช้กับบ้านในเมืองไทยและบ้านเมืองร้อนทั่วไป การสร้างหลังคาจั่วควรออกแบบให้มีความลาดชันที่พอเหมาะ เพื่อให้น้ำฝนไหลลงได้สะดวก และควรระวังรอยต่อบริเวณสันหลังคา เพราะเป็นจุดที่น้ำฝนรั่วซึมได้ง่าย หลังคาปั้นหยา (Hip Roof) เป็นหลังคาที่พัฒนามาจากหลังคาจั่ว แต่มีชายคาลาดเอียงทั้งสี่ด้าน สามารถกันแดดกันฝนได้รอบ เหมาะกับสภาพภูมิอากาศของเมืองไทยที่ร้อนและมีฝนตกชุก การก่อสร้างหลังคาปั้นหยาจะยุ่งยากกว่าหลังคาจั่ว เพราะมีรอยต่อของสันหลังคาหรือตะเข้สันมากกว่า หลังคามนิลา (Hip Gable Roof) คือหลังคาปั้นหยาที่ปรับให้ด้านสกัดมีหน้าจั่วทั้งสองด้านบริเวณช่วงบนของหลังคา เพื่อรูปทรงที่สวยงามและการระบายอากาศใต้หลังคาที่ดี หลังคาชนิดนี้เป็นแบบหลังคาของบ้านเรือนไทยภาคกลาง เนื่องจากเหมาะกับภูมิประเทศเขตร้อนที่มีฝนตกชุก หลังคามนิลา นอกจากจะมีชายคากันแดดกันฝนทั้งสี่ด้านแล้ว ยังสามารถระบายอากาศร้อนใต้หลังคาออกทางหน้าจั่วได้ด้วย หลังคาสวิส (Gable Hip Roof)   หลังคาลูกผสมระหว่างหลังคาจั่วกับหลังคาปั้นหยา […]

30 วัสดุก่อสร้าง – ตกแต่งบ้านต้องรู้จัก

ใครที่กำลังสร้างบ้านหรือปรับปรุงบ้านใหม่ วันนี้เราได้รวบรวม วัสดุก่อสร้าง และวัสดุตกแต่งบ้านที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นวัสดุก่อ – ฉาบผนัง วัสดุปูพื้น กรุผนัง จนถึงวัสดุหลังคา พร้อมบอกคุณสมบัติ ขนาด และราคาเบื้องต้น รักชอบแบบใด เลือกมาใช้งานกันได้ตามสะดวก วัสดุก่อสร้าง วัสดุก่อ – ฉาบผนัง 1.อิฐมอญ – อิฐดินเผา วัสดุพื้นฐานสำหรับการก่อสร้างและตกแต่งอาคาร ผลิตจากดินเหนียว ทราย แกลบ และน้ำ ผสมกัน สำหรับอิฐพิเศษอื่นๆ จะผสมสารหรือวัสดุพิเศษเพิ่มเพื่อการใช้งานเฉพาะด้าน ขนาด : มีหลายขนาด ขึ้นอยู่กับรูปแบบและแหล่งผลิต มีทั้งประเภทก้อนตันและมีรูตรงกลาง เช่น ขนาด 6.5 x 14 x 4 เซนติเมตร 9 x 19 x 6.5 เซนติเมตร ราคา : ตารางเมตรละ 450 บาท (รวมค่าวัสดุก่อฉาบ) […]

บ้านยุค New Normal มีกิน ปลอดโควิด เราต้องรอด!

เมื่อวิถีชีวิตเข้าสู่ New Normal การออกแบบบ้านจึงเปลี่ยนไป ซึ่งไม่เพียงเฉพาะการปรับตัวเรื่องสุขอนามัย ยังรวมถึงวิถีชีวิตอื่นๆ ของคนยุคนี้ คนที่มีบ้านเดิมก็เพียงปรับเปลี่ยนฟังก์ชันตามพื้นที่ที่มีอยู่ แต่สำหรับบ้านสร้างใหม่ สิ่งเหล่านี้อาจกลายเป็นมาตรฐานใหม่ในการออกแบบบ้านในอนาคต ป้องกันเชื้อโรคตั้งแต่หน้าบ้าน มาตรการป้องกันโควิด และป้องกันโรคติดต่อที่ดีที่สุดคือ การรักษาสุขอนามัยของร่างกาย โดยการทำความสะอาดตั้งแต่การล้างมือ การฆ่าเชื้อ จนถึงการชำระล้างร่างกาย  ซึ่งการออกแบบบ้านตามวิถีเดิมนิยมทำห้องน้ำไว้หลังบ้าน แต่ในเมื่อสุขอนามัยกลายเป็นเรื่องสำคัญ จึงมีความเป็นไปได้ที่โถงทางเข้าบ้านในอนาคตจะมีโซนทำความสะอาดร่างกาย เพื่อรักษาภายในบ้านให้เป็นโซนปลอดเชื้อ แต่สำหรับบ้านที่สร้างเสร็จแล้ว ก็นำไปเป็นไอเดียไปปรับใช้กันได้ 1.ล้างมือก่อนเข้าบ้าน ทำอ่างล้างมือที่หน้าบ้านและจัดวางให้เข้ากับสวน 2.ถอดรองเท้าไว้นอกบ้าน โดยมีที่นั่งและตู้เก็บรองเท้า 3.ฆ่าเชื้อทุกสิ่ง มีพื้นที่ทำความสะอาดสิ่งของที่จะนำเข้าภายในบ้านด้วยวิธีต่างๆ โดยทำเป็นพื้นที่โล่งสำหรับวางของ หรือเป็นตู้แบบปิดมิดชิด 4.ลดการนำสิ่งของไม่จำเป็นเข้าบ้าน เพื่อลดความเสี่ยงการนำเชื้อโรคเข้าบ้าน โดยทำตู้ ชั้นและราวสำหรับเก็บของใช้ที่ไม่จำเป็นต้องนำเข้าไปในบ้าน หรือจะต้องใช้ในวันถัดไป เช่น เสื้อคลุม กระเป๋าผ้า 5.เปลี่ยนเสื้อผ้า มีตู้เก็บเสื้อผ้าที่เตรียมไว้สำหรับเปลี่ยน และช่องหน้าต่างเชื่อมกับส่วนซักรีด/ซักล้างที่วางตะกร้าสำหรับใส่เสื้อผ้าใช้แล้ว 6.ใกล้ส่วนซักรีด/ซักล้าง หากไม่สามารถจัดส่วนซักรีด/ซักล้างควรให้อยู่ใกล้ห้องน้ำได้ อาจแค่วางตะกร้าแบบมีฝาปิดสำหรับใส่เสื้อผ้าใช้แล้วในห้องน้ำก็ได้ 7.ทำความสะอาดร่างกาย ออกแบบห้องน้ำที่เมื่อก่อนมักทำไว้หลังบ้านให้มาอยู่ใกล้ทางเข้า สำหรับสมาชิกที่กลับมาจากไปข้างนอกได้ทำความสะอาดร่างกายและเปลี่ยนเสื้อผ้า อีกทั้งเป็นห้องน้ำสำหรับแขกซึ่งจะไม่ต้องเดินเข้าไปด้านในบ้าน 8.ใส่รองเท้าสำหรับในบ้าน สำหรับแขกและคนที่ไม่ได้ทำความสะอาดร่างกาย ควรใส่รองเท้าสำหรับในบ้าน 9.จำกัดโซน ออกแบบพื้นภายในบ้านให้สูงกว่าพื้นโถงทางเข้า 10-15 […]

4 วิธีเลือกและติดตั้งแอร์ไม่ให้เปลืองค่าไฟ

การใช้เครื่องปรับอากาศจะช่วยแก้ปัญหาความร้อนในส่วนที่การออกแบบตามธรรมชาติทำได้ไม่เพียงพอ โดยมีวิธีเลือกและติดตั้งเบื้องต้นที่ทำให้เครื่องปรับอากาศทำงานได้มีประสิทธิภาพ ช่วยไม่ให้เปลืองค่าไฟโดยไม่รู้ตัว 1.เลือกเครื่องปรับอากาศให้เหมาะสมกับพื้นที่ใช้งาน ปัจจัยที่ควรพิจารณาเพิ่มเติม การเลือกแอร์และติดตั้ง จำนวนและขนาดของหน้าต่าง หลังคามีฉนวนกันความร้อนหรือไม่ จำนวนคนใช้งานในห้อง จำนวนและประเภทของเครื่องใช้ไฟฟ้าในห้อง ความสูงฝ้าเพดาน ทำไมต้องเลือก BTU ให้พอเหมาะ BTU สูงไป คอมเพรสเซอร์จะตัดบ่อยเกินไป มีผลให้ประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องปรับอากาศลดลง เมื่อเครื่องตัดบ่อยทำให้ความชื้นในอากาศสูงกว่าที่ควร อาจรู้สึกไม่สบายตัว อีกทั้งเครื่องก็มีราคาแพงกว่า BTU ต่ำไป คอมเพรสเซอร์ทำงานตลอดเวลา เพราะอุณหภูมิไม่ได้ตามที่ตั้งไว้ จึงไม่เย็นหรือเย็นช้า ทำให้สิ้นเปลืองพลังงาน และเครื่องปรับอากาศเสียเร็ว 2.เลือกประเภทเครื่องปรับอากาศให้เหมาะกับการใช้งาน  แบบติดผนัง  นิยมใช้ในบ้านที่สุด เหมาะกับห้องขนาดกลางและขนาดเล็ก เป็นประเภทที่มีฟังก์ชั่นหลากหลาย  ขนาดเล็กกะทัดรัด และราคาไม่แพง แบบแขวนใต้ฝ้า เหมาะกับห้องขนาดเล็กถึงขนาดกลางที่มีคนอยู่หนาแน่น เช่น ร้านค้า ห้องอาหาร สำนักงาน สามารถกระจายลมเย็นได้ไกลและทั่วถึงกว่า ทนต่อการใช้งานหนัก และการทำงานของเครื่องมีเสียงดังกว่าแบบติดผนัง (บางแบบสามารถติดตั้งแบบวางบนพื้นได้) แบบฝังฝ้า เป็นเครื่องปรับอากาศที่กระจายลม 4 ทิศทาง เหมาะกับห้องที่เน้นความสวยงามเพราะจะเห็นตัวเครื่องน้อยที่สุด เดินท่อน้ำยาและท่อน้ำทิ้งซ่อนไว้บนฝ้าเพดาน จึงควรตัดสินใจเลือกตั้งแต่ก่อนก่อสร้างบ้าน เพราะต้องออกแบบฝ้าเพดาน งานระบบท่อและโครงสร้างให้รองรับการติดตั้ง ราคาเครื่องต่อบีทียูแพงกว่าประเภทอื่น แบบตู้ตั้งพื้น เหมาะกับพื้นที่มีคนหนาแน่น ห้องประชุม หรือห้องโถงขนาดใหญ่ มีประสิทธิภาพการกระจายลมสูง […]

CHIVI HOUSE บ้านอิฐ ที่เติบโตไปพร้อมกับเรา

บ้านอิฐ หลังเล็กชานเมืองดานังของเวียดนาม ดูเป็นมิตรด้วยวัสดุธรรมชาติ ที่ตอบรับกับสภาพอากาศในเขตร้อนชื้น อีกทั้งยังทำให้บ้านเปลี่ยนแปลงและเติบโตตามกาลเวลาไปพร้อมกับผู้อยู่อาศัย ออกแบบ: Hinz Studio, Vietnam  หากกล่าวถึงผลงานการออกแบบสถาปัตยกรรมที่มาแรงในบรรดาประเทศเเถบอาเซียน “ประเทศเวียดนาม” ย่อมติด 1 ใน 3 อันดับแรกอย่างไม่ต้องสงสัย นอกจากนี้ การออกแบบสถาปัตยกรรมของเวียดนาม ยังมีรูปแบบและการใช้วัสดุใกล้เคียงกับบ้านเรา อาทิ บ้านอิฐ ซึ่งส่งผลมาจากปัจจัยด้านต่าง ๆ เช่น สภาพภูมิอากาศ ตำแหน่งที่ตั้งซึ่งอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร โครงการ Chivi House บ้านสองชั้นขนาดพอเหมาะ ผลงานจาก Hinz Studio สตูดิโอออกแบบสัญชาติเวียดนาม ที่มีประสบการณ์การสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมด้วยอิฐมาแล้วหลายโครงการ ชื่อ Chivi House เกิดจากการรวมกันของชื่อลูกสาวทั้งสองคนของเจ้าของบ้าน (Chi และ Vi) ด้วยขนาดกะทัดรัดเพียง 137 ตารางเมตร เเละตั้งอยู่บริเวณหัวมุมของทางสามแยกพอดี ทำให้สถาปนิกเลือกดึงประโยชน์ของที่ตั้งมาใช้กับสเปซของบ้านให้ได้มากที่สุด ด้วยการวางตำแหน่งฟังก์ชันทางสัญจรอย่างบันได และห้องน้ำให้ชิดกับผนังด้านที่อยู่ติดกับที่ดินเพื่อนบ้าน โดยให้ผนังด้านนี้เป็นผนังทึบทั้งหมด ส่วนด้านหน้าบ้านและด้านที่ติดถนนได้ออกแบบช่องเปิด และก่อผนังอิฐ ที่มีการเว้นจังหวะให้เกิดช่องลมเพื่อ ให้ลมและแสงธรรมชาติเข้ามาในบ้านได้ตลอดทั้งวัน ขณะเดียวกันก็สร้างความเป็นส่วนตัวให้สมาชิกในบ้านได้อย่างดีเยี่ยม นับเป็นข้อได้เปรียบในเรื่องของที่ตั้ง […]

10 วิธีสร้างบ้านให้เย็น อยู่สบาย ตามธรรมชาติ

รู้จักแนวทางการออกแบบโดยผสมผสานระหว่าง วิธีธรรมชาติ และการใช้เครื่องกล เพื่อออกแบบ บ้านเย็นวิถีธรรมชาติ ช่วยลดการใช้พลังงาน แนวทางการออกแบบบ้านให้เย็นสบายมี 2 วิธี คือ การออกแบบโดยอาศัยธรรมชาติ (Passive Cooling Design) เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพอากาศ ทิศทางแสงแดดและลม อีกวิธีเป็นการออกแบบโดยใช้เครื่องกล (Active Cooling Design) ซึ่งจะช่วยในสภาวะที่สภาพแวดล้อมตามธรรมชาติไม่เอื้ออำนวย โดยควรใช้ทั้งสองวิธีร่วมกัน เพราะเมื่อออกแบบโดยอาศัยธรรมชาติได้ดีแล้ว แม้จะใช้เครื่องกลก็จะลดการใช้พลังงานได้ในระยะยาว แบบ บ้านเย็นวิถีธรรมชาติ มีแนวทางการออกแบบ ดังนี้ 1. วางแปลนบ้านถูกทิศให้หลบแดด รับลม วางแปลนบ้านตามทิศเหนือ-ใต้ จุดเริ่มต้นของ บ้านเย็น ที่อยู่สบาย คือ การวางตำแหน่งบ้านให้ถูกต้อง ด้วยการวางตัวบ้านขนานแนวโคจรของดวงอาทิตย์ ให้ด้านแคบของบ้านหันไปทิศตะวันออกและตะวันตกซึ่งมีแดดแรง แล้วหันด้านยาวของบ้านไปทางทิศเหนือและใต้ซึ่งได้รับแดดน้อยกว่า และทำช่องหน้าต่างเปิดรับลมธรรมชาติให้มากที่สุด โดยมีทิศทางลมและแสงแดดดังนี้ ทิศทางลมประจำฤดู คือ ลมที่พัดผ่านเป็นประจำและมีทิศทางแน่นอนมี 2 ทิศทางคือ a.ช่วงกลางเดือนตุลาคม-กลางเดือนกุมภาพันธ์ มีลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดพาอากาศหนาวมา และช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์-กลางเดือนพฤษภาคม เป็นช่วงลมเปลี่ยนทิศจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเป็นลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ b.ช่วงกลางเดือนพฤษภาคม-กลางเดือนตุลาคม มีลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดพาฝนและความชื้นมา ทิศทางแดด c.ช่วงเดือนมีนาคม […]

AUA โฉมใหม่ เมื่อ “อิฐ” ถ่ายทอดภาษาสถาปัตยกรรม

อาคารใหม่ของ AUA (เอยูเอ) หรือโรงเรียนสถานสอนภาษาสมาคมนักเรียนเก่าสหรัฐอเมริกา สะท้อนถึงอีกก้าวของการเติบโตผ่านภาพของสถาปัตยกรรมอิฐสูงตระหง่าน ที่เด่นสง่าท่ามกลางอาคารกระจกที่อยู่รายล้อมย่านราชดำริ ที่นี่คืออาคารสาธารณะในเชิงวัฒนธรรมแห่งใหม่ ที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจสามารถเข้ามาใช้งานได้ ในขณะเดียวกันก็ยังคงความเป็นเอยูเอได้อย่างสมบูรณ์ภายใต้ภาพลักษณ์ที่ก้าวทันยุคสมัยในปัจจุบัน หากใครมีโอกาสใช้เส้นทางถนนราชดำริหรือใช้บริการ BTS สายสีลมเชื่อว่าน้อยคนนักจะไม่สะดุดตากับอาคารอิฐสูงตระหง่านที่โดดเด่นท่ามกลางอาคารกระจกที่อยู่รายล้อม อาคารแห่งนี้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนสถานสอนภาษาสมาคมนักเรียนเก่าสหรัฐอเมริกาหรือ AUA (เอยูเอ) ที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2495 ก่อนจะย้ายมาเช่าที่ดินของสำนักงานพระคลังข้างที่ในปัจจุบันตั้งแต่ปีพ.ศ.2505 เพื่อรองรับจำนวนนักศึกษาที่มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งทางเอยูเอได้หมดสัญญาเช่าและจะต้องทำการส่งมอบที่ดินคืน แต่ด้วยความที่ผูกพันกับที่ดินผืนนี้มายาวนาน ทำให้ทางนายกสมาคมฯ คุณหญิงทรงสุดา ยอดมณี ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ที่จะขยับขยายให้อาคารทำหน้าที่มากกว่าโรงเรียนสอนภาษาอย่างที่ผ่านมา เพื่อให้กลายเป็นอาคารสาธารณะในเชิงวัฒนธรรมของประเทศที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจสามารถเข้ามาจัดกิจกรรมได้ ซึ่งในขณะเดียวกันก็ยังคงความเป็นเอยูเอ ได้อย่างสมบูรณ์ภายใต้ภาพลักษณ์ที่ก้าวทันยุคสมัยในปัจจุบัน จุดเริ่มต้นของ AUA โฉมใหม่ สำหรับการสร้างอาคารสาธารณะบนที่ดินที่มีศักยภาพสูงและมูลค่ามหาศาลใจกลางเมืองนั้นต้องอาศัยผู้ที่มองอนาคตไปในทิศทางเดียวกัน จึงเกิดเป็นความร่วมมือกันระหว่าง AUA และบริษัท อารียา พรอพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) โดยได้แบ่งที่ดินขนาด 5.6 ไร่ที่เช่าสำนักงานพระคลังข้างที่ออกเป็น 2 ส่วน ซึ่งส่วนแรก คือ ส่วนครึ่งด้านหน้าที่ดินที่ติดกับถนนราชดำริ สำหรับเป็นโรงเรียนสถานสอนภาษาสมาคมนักเรียนเก่าสหรัฐอเมริกา และพื้นที่ส่วนครึ่งหลังของที่ดินนั้น ในอนาคตจะกลายเป็นโครงการคอนโดมิเนียมระดับลักชัวรี่ ซึ่งในส่วนของโรงเรียนสถานสอนภาษาสมาคมนักเรียนเก่าสหรัฐอเมริกานั้นได้รับการออกแบบโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พิรัส พัชรเศวต และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ […]

สนทนากับ รศ.ดร.อรรจน์ เศรษฐบุตร ถึงเรื่อง ‘อาคารเขียว’ จากเทรนด์สู่วิถีชีวิตยุคใหม่

อาคารเขียว ไม่ใช่ เทรนด์หรือแนวโน้มความนิยมด้านการออกแบบมากมาย ที่มาแล้วก็ผ่านไปแต่คือแนวคิด ‘เทคโนโลยีอาคาร’ ที่มีใจความสำคัญเกี่ยวกับการประหยัดพลังงาน รวมถึงเรื่องของสิ่งแวดล้อม เนื่องด้วยการเปลี่ยนแปลงของโลกด้านสิ่งแวดล้อมที่นับวันจะยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ กลายเป็นแรงผลักดันให้เราทุกคนต้องหันมาให้ความสำคัญกับประเด็นเหล่านี้อย่างจริงจัง room ได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.อรรจน์ เศรษฐบุตร อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกรรมการผู้จัดการบริษัท แอฟริคัส จำกัด ( Africvs )มาร่วมพูดคุยให้ความรู้และความเข้าใจถึงแนวทางอันเหมาะสมในการประยุกต์เรื่องอาคารเขียวให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตในยุคปัจจุบัน “ความสุขในการทำงานของเราคือการอยู่แวดล้อมด้วยคนที่มีความเข้าใจในเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อม แต่ก่อนคิดว่าต้องทำอะไรยิ่งใหญ่แบบก้าวกระโดด แต่ถึงตอนนี้เรารู้ว่าต้องทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป ถึงจะช่วยเปลี่ยนโลกได้ ถ้าเราใจร้อน ไม่มีความสุข เราทำงานตรงนี้ไม่ได้” จุดเริ่มต้นความสนใจใน ‘อาคารเขียว’ “จริง ๆ เรื่องของการประหยัดพลังงานมีมานานแล้ว สมัยผมจบปริญญาตรีแล้วมาทำงานสถาปัตย์ฯ ตอนนั้นเรารู้สึกว่าทำไมเราถึงไม่มีการเรียนการสอนเรื่องพวกนี้เลย แต่ว่าในระดับการศึกษาเดียวกันในต่างประเทศ เขามีการพูดถึงเรื่องการประหยัดพลังงานไปไกลแล้ว เลยตัดสินใจไปเรียนต่อที่อเมริกาทางด้านเทคโนโลยีอาคาร แล้วรู้สึกว่าเปิดมุมมองใหม่ให้เรามาก หลังจากเรียนจบทางด้านนั้นมา ผมก็เรียนต่อปริญญาเอกด้านอาคารสิ่งแวดล้อม ที่อเมริกาหรือในยุโรปเขาศึกษากันเรื่องของอาคารเขียว ซึ่งมาจากเรื่องของการประหยัดพลังงาน เรื่อยมาจนถึงเรื่องการประหยัดวัสดุ และการรักษาสภาพแวดล้อม ระหว่างนั้นก็ได้มีโอกาสทำงานเกี่ยวกับอาคารเขียวตอนอยู่ที่อเมริกาเพราะเรียนปริญญาเอกอยู่ที่นั่น 5 ปี มีเรื่องของการเข้าไปตรวจวัดประสิทธิภาพ การประเมินอาคาร แล้วมีระบบเกณฑ์การประเมินอาคารเขียวพ่วงเข้ามา พอเรียนจบผมก็กลับมาเป็นอาจารย์ที่จุฬาฯ ประจวบเหมาะกับว่ามีการประกวดแบบอาคารของปตท. ซึ่งเขาเขียนไว้ว่าต้องเป็นอาคารเขียว ตอนนั้นสถาปนิกบ้านเรายังไม่ค่อยรู้ว่ามันคืออะไร […]

บ้านไม้สักชั้นเดียว อบอุ่น โปร่งสบาย

บ้านไม้ถอดประกอบที่คิดต่อยอดจากภูมิปัญญาของคนที่อยู่กับแหล่งไม้สัก ผสานเทคนิคงานไม้เข้ากับการรู้จักธรรมชาติของไม้สักอย่างถ่องแท้ เพื่อให้แต่ละส่วนของ บ้านน็อคดาวน์ชั้นเดียว มีความสวยงามและใช้ไม้ได้อย่างคุ้มค่า DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: PREBUILT ASIA บ้านไม้ถอดประกอบอาจดูเป็นเรื่องธรรมดาที่พบเห็นได้ทั่วไป ทั้งจากเรือนไทยโบราณและบ้านน็อกดาวน์ในสมัยนี้ แต่บ้านหลังนี้ซึ่งออกแบบโดย คุณปอย - ปวีณา ถือคำ แห่ง PREBUILT ASIA สถาปนิกสาวที่คิดต่อยอดภูมิปัญญางานไม้ที่มาจากกิจการโรงไม้ของครอบครัวในจังหวัดแพร่ มาสู่การออกแบบ บ้านน็อคดาวน์ชั้นเดียว ที่เริ่มคิดจากธรรมชาติของไม้สัก ตั้งแต่การเลือกแหล่งปลูก อายุ ขนาด และวิธีการประกอบ เพื่อให้ใช้ไม้ประกอบเป็นแต่ละส่วนของบ้านอย่างคุ้มค่าที่สุด ปัจจุบันยังรับออกแบบและสร้างบ้านสำเร็จรูปและออกแบบตามบ้านตามความต้องการ โดยใช้ระบบคำนวณแบบ BOQ ด้วยภูมิประเทศของจังหวัดแพร่ที่เป็นภูเขาและมีป่าสักมาก ที่นี่จึงเป็นแหล่งไม้สักคุณภาพดีของประเทศ ทำให้ชาวบ้านมีอาชีพเกี่ยวกับไม้สัก และการได้คลุกคลีกับวัตถุดิบมานานจากรุ่นสู่รุ่น จึงเข้าใจธรรมชาติของไม้ในแต่ละช่วงอายุว่าเหมาะกับการนำมาใช้งานอย่างไร อีกทั้งยังรู้จักการเลือกไม้คุณภาพดี การเตรียมไม้ก่อนนำมาใช้ และมีช่างที่มีความชำนาญ ดังนั้นเมื่อคุณปอยเรียนจบจึงคิดออกแบบบ้านไม้สักระบบกึ่งสำเร็จรูปให้เป็นบ้านไม้สไตล์เอเชียร่วมสมัย ซึ่งมีจุดเด่นตรงการใช้พื้นที่ต่อเนื่องร่วมกัน โดยไม่แบ่งเป็นห้อง ๆ ขาดจากกัน นอกจากจะมีพื้นที่ส่วนตัวและพื้นที่ส่วนรวม มีพื้นที่ภายนอกและภายในแล้ว ยังมีพื้นที่ก้ำกึ่ง (Semi Space) ที่ใช้เชื่อมพื้นที่ต่างๆเข้าด้วยกัน เช่น ชาน เฉลียง และทางเดิน อย่างบ้านนี้มีพื้นที่เฉลียงและชาน 18 ตารางเมตร และภายในบ้าน 36 ตารางเมตร จึงออกแบบให้เดินเข้ามาเจอชานที่เปิดโล่งก่อน แล้วจึงเดินขึ้นมาบนเฉลียงที่มีหลังคาคลุม เป็นการค่อยๆปรับความรู้สึกจากพื้นที่โล่งไปยังพื้นที่ปิดล้อม จากนั้นจึงค่อยขึ้นไปบนบ้านซึ่งเป็นห้องมีผนังปิดล้อมโดยออกแบบเป็นโถงโล่ง มีระยะระหว่างเสา 3 x 3 เมตร ซึ่งคิดจากการใช้พื้นที่ที่เมื่อยืนอยู่แล้วพอจะเอื้อมไปรอบๆได้ง่าย และสัมพันธ์กับความยาวไม้มาตรฐานที่ยาว 3 - 4 เมตร โดยคิดเป็นยูนิต และนำแต่ละยูนิตมาต่อกัน แม้อยู่เฉลียงภายนอกบ้านก็ยังมองเห็นหรือพูดคุยกับคนในบ้านได้เพราะพื้นที่ภายในกับภายนอกต่อเนื่องกัน การก่อสร้างบ้านให้ทำฐานรากคอนกรีตหล่อในที่ แล้วยกส่วนประกอบบ้านเป็นชิ้นๆ หรือเป็นแผงมาประกอบกันที่หน้างาน เลือกใช้ไม้สักป่าปลูกอายุ 20 ปี ซึ่งเป็นอายุที่คุ้มค่าที่สุด คือเนื้อไม้มีความแข็งแรงพอ สามารถปลูกทดแทนได้เร็ว และเลือกแปรรูปไม้จากส่วนต่างๆ แล้วนำไปใช้งานให้เหมาะกับความแข็งแรง อย่างแก่นไม้ซึ่งเป็นส่วนที่แข็งแรงที่สุดจะนำมาทำโครงสร้าง ส่วนที่ไม่ได้รับน้ำหนักใช้ไม้ที่แข็งแรงน้อยกว่า หรือใช้ไม้อายุน้อยกว่าได้ อีกทั้งออกแบบโครงสร้างประหยัดไม้ โดยใช้ไม้ขนาดเล็ก หน้าตัด 3 x 3 นิ้ว 4 ท่อนมาประกอบเป็นเสาบ้านให้มีช่องว่างห่างกันแล้วดามจุดต่อ 3 จุด คือตรงหัวเสา ฐานเสา และกลางเสา เพื่อช่วยรับแรง อีกทั้งยังมีข้อดีที่สามารถนำคานมาเสียบเข้าช่องว่างระหว่างเสาได้เลย และยังสามารถซ่อนไฟไว้ในเสาแทนการใช้โคมไฟได้ด้วย ที่สำคัญเป็นการลดการใช้ทรัพยากร เพราะการใช้เสาต้นใหญ่จะต้องใช้ไม้ที่มีอายุมากขึ้น หากพินิจดูแต่หน้าตาของบ้าน อาจจะดูพิเศษกว่าบ้านไม้อื่นๆ ที่มีความร่วมสมัยมากขึ้น แต่เมื่อได้รู้แนวความคิดที่เริ่มจากต้นทางของไม้ นำมาสู่การออกแบบที่พอดี ก็ทำให้บ้านหลังนี้เป็นบ้านสวยที่ไม่ธรรมดาเลย เรื่อง : ศรายุทธ ศรีทิพย์อาสน์ ภาพ : ธนาวุฒิ โชติประดิษฐ สไตล์ : ธัญญานันท์ ศรีชัยวรรณ “บ้านชุมดวง” การคืนชีวิตบ้านไม้ 100 ปี ใกล้พัง ใน 97 วัน บ้านมะค่าโมง บ้านไม้ใต้ถุนสูงที่มีลมโกรกตลอดทั้งปี บ้านในใจ…บ้านหน้าจั่วที่กลั่นความในใจสู่บ้านสุดอบอุ่น

โซลาร์เซลล์: พลังงานไฟฟ้าทางเลือกบนเกาะยาวน้อย-เกาะยาวใหญ่

ศูนย์การเรียนรู้วัฒนธรรมเกาะยาวและพลังงาน โซลาร์เซลล์ ต้นแบบอาคาร “Zero Energy”โจทย์แรกที่สำคัญที่สุดในโครงการนี้คือการจัดทำพื้นที่ต้นแบบเพื่อ…

บ้านเหล็กลอนลูกฟูก ทุนสร้างต่ำ สำหรับคนที่อยากกลับไปอยู่ชนบท

บ้านชนบท ดีไซน์โมเดิร์นทรงกล่องลุคเรียบง่าย ที่มาพร้อมกับโจทย์ด้านงบประมาณที่ไม่สูง พร้อมความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ตั้งและสภาพอากาศแบบร้อนชื้นของเวียดนาม นี่คือโปรเจ็กต์งานออกแบบโดย H&P Architects กับการสร้าง บ้านชนบท ของคนรุ่นใหม่ที่อยากหันกลับไปใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย เด่นด้วยการเลือกใช้วัสดุธรรมดาสามัญที่หาได้ง่ายและราคาไม่แพง ซึ่งมาพร้อมกับดีไซน์โมเดิร์นดูทันสมัย แถมแอบสอดแทรกฟังก์ชันการใช้งานสนุก ๆ เพื่อให้การอยู่บ้านเป็นเรื่องไม่น่าเบื่อ ทั้งยังมาพร้อมคอนเซ็ปต์ด้านการใช้พลังงานที่ยั่งยืน บ้านขนาดสองชั้นหลังนี้ โครงสร้างเสาและคานทำจากเหล็กทั้งหลัง จึงใช้เวลาก่อสร้างแล้วเสร็จได้ไว ง่ายต่อการออกแบบพื้นที่เพิ่มเติมได้อีกในอนาคต ขณะที่ผนังอาคารชั้นนอกเด่นสะดุดตาด้วยแผ่นเหล็กลอนลูกฟูกทำสีขาวที่ผ่านการเคลือบผิวป้องกันสนิมมาอย่างดีแล้ว ช่วยให้บ้านมีลุคโมเดิร์นดูทันสมัย แต่กลับไม่ร้อนอย่างที่คิดไม่ว่าจะมาจากการออกแบบหลังคาให้เป็นทรงจั่ว เพื่อถ่ายเทความร้อนจากแสงอาทิตย์ ด้านใต้ซ้อนด้วยแผ่นฉนวนกันความร้อน และฝ้าธรรมชาติอย่างไม้ไผ่อีกชั้น จนกลายเป็นแพตเทิร์นตกแต่งเพดานบ้านไปในตัว ขณะที่ช่องเปิดอย่าง ประตู และหน้าต่าง ได้รับการออกแบบเป็นบานเหล็กแบบซี่เพื่อระบายอากาศ โดยมีชายคากันแดดเหนือช่องเปิดทุกบานไม่ให้ส่องเข้าสู่พื้นที่ภายในโดยตรง จึงช่วยให้บ้านเย็นสบายและปลอดโปร่งตลอดวันช่วยให้บ้านเย็นสบายและปลอดโปร่งตลอดวันส่วนงานออกแบบตกแต่งภายใน ผนังกรุด้วยอิฐดินเผาวัสดุหาง่ายในท้องถิ่น ทำหน้าที่เป็นฉนวนกันความร้อนให้แก่บ้าน ซึ่งเข้ากันดีกับเหล่าเฟอร์นิเจอร์ไม้แบบลอยตัว ที่สามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างยืดหยุ่น เมื่อต้องการใช้พื้นที่แบบโล่งกว้างสำหรับจัดกิจกรรมต่าง ๆเมื่อขึ้นมาที่ชั้น 2 ของบ้าน จะพบกับไฮไลท์อย่างเปลตาข่ายที่ขึงไว้อย่างแน่นหนาสำหรับไว้ใช้นั่งหรือนอนเล่น นอกจากจะสร้างประสบการณ์การใช้งานที่สนุกไม่น่าเบื่อแล้ว ยังเป็นการช่วยลดความอึดอัดของพื้นที่ใช้งานระหว่างชั้น 1 กับชั้น 2 ซึ่งชั้นบนนี้ได้รับการออกแบบสเปซแบบโอเพ่นแปลน มีเพียงตู้เสื้อผ้าทำหน้าที่เป็นตัวกั้นเตียงนอนให้ดูเป็นสัดส่วนเท่านั้นความน่าสนใจของบ้านไม่เพียงเป็นการออกแบบที่ดูเรียบง่ายเอาใจคนรุ่นใหม่เท่านั้น แต่ยังมาพร้อมแนวคิดในการใช้พลังงานแบบยั่งยืน เห็นได้จากการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าสำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วไปที่ใช้ในครัวเรือน โดยปริมาณไฟฟ้าที่เหลือจะถูกจัดเก็บหรือขายต่อได้ นอกจากนั้นยังมีรางระบายน้ำฝนเพื่อกักเก็บน้ำไว้ในแท็งก์ สำหรับไว้ใช้รดต้นไม้และแปลงผักรอบ ๆ บ้าน […]