ห้องเรียนพอดีพอดี บรรเทาวิกฤติด้วยโอกาส

เหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 6.3 แมกนิจูดที่จังหวัดเชียงรายเมื่อปี 2557 ได้สร้างความเสียหายและส่งผลกระทบเป็นวงกว้างแก่พื้นที่ต่างๆในภาคเหนือ โดยเฉพาะในเขตจังหวัดเชียงราย กว่า 73 โรงเรียนที่ได้รับความเสียหายและนักเรียนกว่าสองพันคนที่ได้รับผลกระทบ แต่ด้วยความช่วยเหลือของ Design for Disaster หรือเครือข่ายความคิดสร้างสรรค์เพื่อเตรียมพร้อมรับมือและจัดการกับภัยพิบัติ ได้ริเริ่มโครงการตั้งใจคืนที่เรียนให้นักเรียนทุกคนและสร้างมาตรฐานของอาคารสาธารณะที่เหมาะสมกับพื้นที่ในเขตแผ่นดินไหวของไทย

DESIGNER DIRECTORY
ออกแบบ: Supermachine Studio

“ห้องเรียนพอดีพอดี” คือความร่วมมือของสถาปนิกชื่อดัง 9 ท่าน ในการออกแบบสร้างโรงเรียน 9 แห่ง บนคำจำกัดความว่า “พอดี” กล่าวคือเลือกใช้วัสดุและวิธีการที่ประหยัด หาได้ง่าย และสามารถก่อสร้างได้อย่างรวดเร็ว แต่ด้วยการออกแบบที่ดี โรงเรียนเหล่านี้จึงเป็นได้มากกว่าแค่ห้องเรียนสี่เหลี่ยมธรรมดาที่เราคุ้นเคยกัน

จากอาคารเรียนเร่งด่วนสู่การเป็นตัวอย่างอาคารเรียนที่น่าศึกษา ซึ่งมีประเด็นแตกต่างกันไปทั้ง    9 โรงเรียน โครงการ “ห้องเรียนพอดีพอดี” จึงเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของการสร้างโอกาสจากวิกฤติได้เป็นอย่างดี ซึ่งโรงเรียนทั้ง 9 แห่งนี้คงจะสร้างมาตรฐานใหม่ๆให้อาคารสาธารณะในเขตแผ่นดินไหวของไทยได้ดียิ่งขึ้นไม่มากก็น้อย “บ้านและสวน” ก็ไม่พลาดที่จะแวะไปเยือนโรงเรียนทั้ง 8 แห่งที่สร้างเสร็จแล้ว พร้อมทั้งนำภาพของโรงเรียนบ้านดอยช้างซึ่งจะแล้วเสร็จในปลายปีนี้มาให้ชมกันครับ

0-02
ผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 6.3 แมกนิจูดที่จังหวัดเชียงรายเมื่อปี 2557
0-01
ผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 6.3 แมกนิจูดที่จังหวัดเชียงรายเมื่อปี 2557
0-03
ผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 6.3 แมกนิจูดที่จังหวัดเชียงรายเมื่อปี 2557

โรงเรียนบ้านดอนตัน

ออกแบบ : Wallasia โดยคุณสุริยะ อัมพันศิริรัตน์

การออกแบบอาคารเรียนของโรงเรียนบ้านดอนตันเป็นความรับผิดชอบของ Wallasia คุณสุริยะ อัมพันศิริรัตน์ เลือกใช้เหล็กกล่องเป็นองค์ประกอบหลักที่เห็นได้อย่างเด่นชัด โดยที่ตัวอาคารมีความโปร่งโล่ง เพราะเมื่อซ่อมแซมอาคารเรียนเดิมเสร็จดีแล้ว ก็จะได้ปรับให้อาคารนี้กลายเป็นโรงอาหารปัจจุบันโรงเรียนใช้โถงใหญ่ทั้งสองของอาคารเป็นห้องกีฬาในร่ม และห้องซ้อมวงดุริยางค์

ความโดดเด่นของอาคารเรียนหลังนี้คือการที่ผู้ออกแบบได้รวมเอาธรรมชาติรอบๆอาคารเข้าไว้เป็นส่วนหนึ่งของงานออกแบบ สถาปนิกจงใจยกเพดานสูงเพื่อให้เกิดการไหลเวียนของลมผ่านซี่เหล็กกล่อง นอกจากจะมีการระบายอากาศที่ดีแล้ว ผลพลอยได้คือปรากฏการณ์สวยๆในยามเช้าและยามเย็นที่แสงแดดจะสร้างเงาทอดผ่านซี่เหล็กกล่อง ส่วนทางเดินระหว่างกลางของอาคารก็เทพื้นคอนกรีตโดยรวมเอาก้อนหินในบริเวณนั้นเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาคารด้วย อาคารหลังนี้จึงค่อนข้างให้ความรู้สึกสงบและผ่อนคลาย รอคอยให้เด็กๆได้มานั่งเล่นอยู่รอบๆในยามเย็น

ห้องเรียนซึ่งปรับเปลี่ยนให้กลายเป็นห้องซ้อมวงดุริยางค์ของโรงเรียน
ห้องเรียนซึ่งปรับเปลี่ยนให้กลายเป็นห้องซ้อมวงดุริยางค์ของโรงเรียน
ห้องเรียนพอดีพอดีของโรงเรียนบ้านดอนตันตั้งอยู่ริมสนามฟุตบอลของโรงเรียน
ห้องเรียนพอดีพอดีของโรงเรียนบ้านดอนตันตั้งอยู่ริมสนามฟุตบอลของโรงเรียน
เด็กๆนั่งเล่นบริเวณทางเชื่อมระหว่าง 2 ห้องของอาคาร ซึ่งได้เทคอนกรีตที่รวมเอาก้อนหินที่ตั้งอยู่เดิมเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของอาคารด้วย
เด็กๆนั่งเล่นบริเวณทางเชื่อมระหว่าง 2 ห้องของอาคาร ซึ่งได้เทคอนกรีตที่รวมเอาก้อนหินที่ตั้งอยู่เดิมเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของอาคารด้วย