บ้านน็อกดาวน์ สไตล์ญี่ปุ่น หลังเล็กน่ารัก

ชม บ้านน็อกดาวน์สไตล์ญี่ปุ่น ที่นำเอารูปแบบการอยู่อาศัยแบบชาวญี่ปุ่นแท้ ๆ มาออกแบบเป็นบ้านขนาดกะทัดรัดได้อย่างลงตัว

บ้านสวนชั้นเดียว พื้นที่สร้างความสุขเรียบง่ายจากการปลูกต้นไม้

บ้านสวนชั้นเดียว พื้นที่ทดลองปลูกต้นไม้และใช้ชีวิตอยู่กับธรรมชาติ ก่อเกิดความสุขเรียบง่ายจากการปลูกต้นไม้ เรียนรู้สมดุลธรรมชาติแบบค่อยเป็นค่อยไป คืนสมดุลให้ชีวิตที่พักอาศัยในเมือง ด้วยการออกมาอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ ซึ่งขับรถเพียง 20 นาทีจากกลางสุขุมวิทก็มาถึงบ้านสวนย่านกรุงเทพกรีฑาที่เหมือนได้มาอยู่ต่างจังหวัด คุณบี้-พงศ์เทพ คุณตุ่ย-วิวรรณ และน้องแพม-พริมา อุทัยสินธุเจริญ  ครอบครัวที่มีพ่อแม่ลูกได้เปลี่ยนที่ดินเดิมขนาด 2 ไร่ ให้กลายเป็นสวนฟีล “สวนสาธารณะที่ร่มรื่น” ซึ่งเป็นทั้งพื้นที่ทดลองปลูกต้นไม้พันธุ์ต่างๆ ผัก สมุนไพร พรรณไม้พื้นถิ่น พรรณไม้หายาก รวมถึงเป็นสนามวิ่งเล่นของสุนัขทั้ง 3 ตัว และเป็นพื้นที่พักผ่อนกายและใจของครอบครัว ให้ได้ซึมซับกลิ่นดิน ไอแดด  ลมโชย ใช้ชีวิตตามเวลาของธรรมชาติที่เคลื่อนคล้อยช้าๆ จากแดดเช้าสดใส สู่ยามแสงโรยระบายสีท้องฟ้าที่มองได้กว้างเต็มตาให้สวยไม่ซ้ำกันสักวัน บ้านสวนชั้นเดียว เปลี่ยนที่หนองน้ำเป็นบ้านสวน เมื่อเจ้าของบ้านที่ใกล้วัยเกษียณและชื่นชอบการปลูกต้นไม้ทำสวน ได้มาสำรวจที่ดินเดิมที่ปล่อยไว้นาน ซึ่งพบว่ากลายเป็นหนองน้ำและมีขยะเต็มพื้นที่ จึงคิดจะมาปรับปรุงให้เกิดประโยชน์ โดยทำเป็นพื้นที่ปลูกผักทำสวน และมีเรือนพักขนาดกะทัดรัด มีห้องทำงานที่สามารถปรับเป็นที่นอนได้ เผื่อสำหรับมาพักเป็นครั้งคราวหรือใช้รับรองญาติมิตร  และรองรับการใช้งานสำหรับผู้สูงอายุ โดยเริ่มต้นจากการนำขยะออกจากพื้นที่ก่อน จากนั้นถมดินแล้วจึงทำกำแพงกันดินและล้อมรั้วโดยรอบ “คุณตุ่ย ภรรยาเป็นคนชอบปลูกต้นไม้ คอนโดที่อยู่ปัจจุบันก็ปลูกพืชผักบ้าง แต่ไม่ได้มาก พอเริ่มมีเวลาเว้นว่างจากงานประจำ จึงตัดสินใจที่จะปรับปรุงที่ดินผืนนี้มาทำสวน เพื่อที่จะได้มาใช้เวลาอยู่กับธรรมชาติ” คุณบี้จึงปรึกษาสถาปนิก คุณโป้ง-พิเนต […]

รวมบ้านสำเร็จรูปดีไซน์โดนใจ สวย สร้างไว เป็นเจ้าของได้ไม่ยาก

รวมบ้านสำเร็จรูป หลากหลายสไตล์จาก 12 ผู้ให้บริการบ้านสำเร็จรูปคุณภาพ สำหรับใครที่อยากมีบ้านไซซ์กะทัดรัดสักหลังในราคาที่เอื้อมถึงได้ ปัจจุบันบ้านสำเร็จรูปได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ด้วยดีไซน์ที่มีให้เลือกหลากหลาย ขนาดและฟังก์ชันที่ตรงตามความต้องการ และที่สำคัญคือสร้างเสร็จได้รวดเร็วทันใจ ใช้เวลาไม่นาน ช่างประจำบ้าน รวมบ้านสำเร็จรูป หลากสไตล์จากเหล่าผู้ให้บริการออกแบบก่อสร้างบ้านคุณภาพมาให้ชมกัน หากกำลังมองหาบ้านสำเร็จรูปสวยๆ สักหลังสำหรับบ้านพักตากอากาศในต่างจังหวัด เป็นส่วนต่อขยายในสวนหลังบ้าน หรือสำหรับฟังก์ชันไหนๆ ก็รับรองว่าถูกใจคนอยากมีบ้านแน่นอน บ้านทรงจั่วระบบโมดูลาร์ โดย Tsumiki House บ้านกึ่งสำเร็จรูปดีไซน์เรียบง่ายด้วยห้องรูปทรงสี่เหลี่ยมและหลังคาหน้าจั่ว ที่เจ้าของสามารถจัดวางเองได้ตามความต้องการจาก “ก้อน” ขนาดต่างๆ ทั้งก้อนบ้านขนาดมาตรฐาน ขนาดเล็ก และส่วนระเบียง โดยใช้เวลาสร้างไม่ถึง 3 เดือนสำหรับบ้านขนาดเล็ก (ประกอบด้วยก้อนมาตรฐานไม่เกิน 3 ก้อน) แข็งแรง อยู่สบาย ทนต่อสภาพอากาศด้วยโครงสร้างเหล็กทั้งหลัง บุผิวด้านนอกด้วยเมทัลชีต ส่วนด้านในบุด้วนซีเมนต์บอร์ด พร้อมเสริมฉนวนกันความร้อนทั้งผนังและหลังคา ขนาดและราคา : (ไม่รวมฐานราก ถังเก็บน้ำ ปั๊มน้ำ เครื่องปรับอากาศ) ก้อนมาตรฐาน (3.60 x 3.60 เมตร) ราคา 210,000 บาท […]

“เตรียมพร้อมรับมือปัญหาที่พบบ่อยในลูกแมว”

การเลี้ยงลูกแมวตั้งแต่วัยเบบี๋เป็นช่วงเวลาสำคัญที่เจ้าของต้องดูแลลูกแมวเป็นพิเศษ นอกจากการดูแลด้านพัฒนาการให้เจริญเติบโตสมวัยแล้ว ยังต้องเตรียมพร้อมรับมือกับปัญหาต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น เพราะในช่วงปีแรกลูกแมวมีโอกาสที่จะเกิดภาวะผิดปกติต่างๆ อาการเจ็บป่วย หรือได้รับบาดเจ็บได้มากกว่าแมวโต เจ้าของควรเตรียมพร้อมไว้ เมื่อลูกแมวเกิดปัญหาเหล่านี้จะได้พร้อมรับมือและแก้ไขได้ทันที 1. ภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าปกติ โดยปกติแล้วลูกแมวแรกเกิดอุณหภูมิร่างกายจะอยู่ที่ประมาณ 33-36 องศาเซลเซียส และเมื่ออายุประมาณ 1 เดือนอุณหภูมิร่างกายจะอยู่ที่ 33.5-37.5 องศาเซลเซียส ภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าปกติจะเกิดขึ้นกับลูกแมวช่วงหลังคลอด เพราะร่างกายจะยังปรับอุณหภูมิเองไม่ได้ ซึ่งอาจจะพบได้ในลูกแมวแรกเกิดที่มีขนาดตัวที่เล็กมากและไวต่อสภาพอากาศแม้จะอยู่ในอุณหภูมิปกติ เมื่อร่างกายไม่สามารถควบคุมให้อุณหภูมิอยู่ในเกณฑ์ปกติ อุณหภูมิร่างกายจะเริ่มลดลง ซึ่งความรุนแรงของอาการจะแบ่งเป็น 3 ระดับ ดังนี้ ระดับอ่อน อุณหภูมิร่างกายจะอยู่ที่ประมาณ 32 – 35 องศาเซลเซียส อาการ  ที่พบคือร่างกายจะอ่อนแรง หนาวสั่น และไม่ค่อยเคลื่อนไหวขยับตัว เซื่องซึม ระดับปานกลาง อุณหภูมิร่างกายจะอยู่ที่ประมาณ 28 – 32 องศาเซลเซียส อาการที่พบคือจะมีอาการกล้ามเนื้อชักกระตุก หัวใจเริ่มเต้นผิดจังหวะ หายใจลึกและช้า ความดันเลือดต่ำ  ระดับรุนแรง จะมีอุณหภูมิต่ำกว่า 28 องศาเซลเซียส อาการที่พบคือลูกแมวอ่อนแรง […]

รวม 80 แบบบ้านชั้นเดียว ที่ดีที่สุด สวยที่สุด จากบ้านและสวน

รวม แบบบ้านชั้นเดียว 80 หลัง เพื่อเป็นไอเดียสำหรับผู้ชื่นชอบบ้านรูปแบบนี้ ค่อยๆชมกันไปทีละหลังเลย รับรองว่าดีไซน์สวยงามและอยู่สบาย

รวมฮิต 50 บ้านปูน สร้างง่าย อยู่สบาย ดีไซน์สวย

รวมฮิต แบบบ้านปูนน่าอยู่ ไว้ถึง 50 หลัง มีทั้งบ้านปูนชั้นเดียว บ้านปูนใต้ถุนสูง บ้านปูนกลิ่นอายไทยๆ บ้านปูนอารมณ์ฝรั่ง บ้านปูนแบบลอฟต์ๆ ฯลฯ

ซื้อ บ้านน็อคดาวน์ – บ้านสำเร็จรูปต้องรู้อะไร

การซื้อ บ้านน็อคดาวน์ หรือสร้างบ้านสำเร็จรูป เจ้าของบ้านต้องเตรียมอะไรบ้าง มีข้อจำกัดเรื่องใด ข้อสัญญาส่วนไหนที่ควรรอบคอบ

วัสดุก่อสร้าง-ตกแต่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ปลอดภัยต่อสุขภาพ

รวม 30 วัสดุก่อสร้างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และปลอดภัยต่อสุขภาพ ที่กำลังเป็นเทรนด์การสร้างบ้านในอนาคต มีอะไรบ้างมาดูกัน โดยดูจากส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ รวมถึงการผ่านมาตรฐานต่างๆด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ เช่น การรับรองฉลากเขียวของสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ฉลากลดคาร์บอนฟุตพรินต์ของผลิตภัณฑ์ หรือฉลากลดโลกร้อนขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ซึ่งเมื่อใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านมาตรฐานต่างๆ รวมถึงมาตรฐานของแต่ละผู้ผลิตสินค้า เช่น มาตรฐาน Jorakay Green Products ฉลาก SCG Green Choice เป็นต้น จะสามารถนำไปใช้ประกอบการขอรับรองมาตรฐานอาคารเขียว หรือมาตรฐาน LEED และ WELL Building Standard ได้ เราจึงรวมผลิตภัณฑ์ที่ผลิตอย่างใส่ใจสิ่งแวดล้อมและปลอดภัยต่อสุขภาพมาฝากกัน วัสดุก่อสร้างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม วัสดุพื้น ผนัง หลังคา คอนกรีตบล็อกน้ำหนักเบาของ EKOBLOKลดความร้อน ผลิตจากวัสดุรีไซเคิลกว่า 50% นวัตกรรมคอนกรีตบล็อกน้ำหนักเบาที่ผลิตจากปูนซีเมนต์ เถ้าลอยจากโรงไฟฟ้าชีวมวล และหินเกล็ดเล็ก ใช้วัสดุรีไซเคิลเป็นส่วนผสมมากกว่า 50%โดยน้ำหนัก ประหยัดพลังงานในกระบวนการผลิต มีคุณสมบัติการนำความร้อนน้อย ช่วยประหยัดพลังไฟฟ้าในอาคาร น้ำหนักเบาเทียบเท่าคอนกรีตมวลเบา ประหยัดโครงสร้างรับน้ำหนัก และสะดวกในการขนส่ง วัสดุมีความหนาแน่นพอเหมาะกับการใช้งานในที่ชื้นได้ และรับน้ำหนักแขวนบนผนังได้ดี […]

บ้านและอาคารเขียวสำคัญอย่างไร? พูดคุยกับ 4 ผู้เชี่ยวชาญจาก TGBI

บ้านและอาคารเขียว เป็นเรื่องไกลตัวจริงหรือไม่ และเราจะมีส่วนร่วมได้อย่างไรบ้าง มาร่วมหาคำตอบไปพร้อมกันกับ 4 ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันอาคารเขียวไทย หลายๆ คนน่าจะเคยได้ยินคำว่า อาคารเขียว และมีความเข้าใจต่อคำคำนี้ในภาพที่แตกต่างกันออกไป บ้างอาจเข้าใจว่าเป็นอาคารที่เน้นประหยัดพลังงาน บ้างอาจนึกภาพถึงอาคารที่ปกคลุมด้วยสวนแนวตั้งจนดูเป็นสีเขียวไปทั้งตึก บ้างอาจเข้าใจว่าเป็นอาคารที่มีค่าดำเนินการสูงจนยากที่คนทั่วไปจะเอื้อมถึงได้ แต่จริงๆ แล้วอาคารเขียวหมายถึงอะไร มีความสำคัญแค่ไหน แล้วบ้านของเราจะสามารถมีส่วนร่วมกับเทรนด์อาคารเขียวที่กำลังเป็นที่สนใจนี้ได้อย่างไรบ้าง คราวนี้ Home Expert จึงได้พูดคุยกับ 4 ผู้เชี่ยวชาญจาก สถาบันอาคารเขียวไทย หรือ TGBI เพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองต่างๆ ที่จะทำให้ บ้านและอาคารเขียว ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเราอีกต่อไป อาคารเขียวคืออะไร อาคารเขียว คือ อาคารที่ได้รับการออกแบบโดยคำนึงถึง 2 ปัจจัยหลัก ได้แก่ ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดี ตามที่ รองศาสตราจารย์ ดร.ชนิกานต์ ยิ้มประยูร หัวหน้าภาควิชานวัตกรรมอาคาร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อธิบายว่า “เน้นใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่จำกัดให้น้อยและเกิดคุณค่ามากที่สุดค่ะ ทั้งพลังงาน น้ำ วัสดุก่อสร้าง และทำให้ผู้อยู่อาศัยมีคุณภาพชีวิตที่ดี นอกจากนั้น ในปัจจุบันยังมีการคำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมรอบข้าง และความเป็นไปได้ในการลงทุนควบคู่กันด้วย” […]

บ้านโมเดิร์นวินเทจ ที่อยู่สบายด้วยดีไซน์และนวัตกรรม

บ้านโมเดิร์นวินเทจ ที่มีระบบไหลเวียนอากาศที่ดี ระบบฝ้าเพดานที่มีคุณภาพ ความชื้นความร้อนที่เหมาะสม เติมอากาศดีเข้าสู่บ้านและใช้พลังงานสะอาด

IM EN VILLE “อิ่มในเมือง” บิสโทร คาเฟ่ บรรยากาศคลาสสิก บนถนนเฟื่องนคร

“อิ่มในเมือง” ปลุกชีวิตตึกเก่าย่านถนนเฟื่องนครอายุกว่า 150 ปี สู่ร้านอาหารและคาเฟ่บรรยากาศคลาสสิกสไตล์คอนเทมโพรารีอินดัสเทรียล ให้ทั้งความอิ่มเอมไปกับรสชาติอาหาร และสัมผัสวิววิจิตรสวยงามของวัดราชบพิธฯ อาคารที่ตั้งของร้าน “อิ่มในเมือง” ช่วงหนึ่งเคยใช้เป็นโรงพิมพ์ลมูลจิตต์ ก่อนถูกทิ้งร้างมานานกว่า 20 ปี จนกระทั่งได้รับการรีโนเวตใหม่ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ กลายเป็น IM En Ville (อิ่ม-ออง-วิล) บิสโทร คาเฟ่ ชื่อฝรั่งเศสสุดเก๋ ซึ่งแปลว่า “ฉันอยู่ตรงนี้” เหมือนฉันอยู่ในเมือง และยังอ่านออกเสียงคล้ายคำว่า “อิ่ม” ในภาษาไทย สื่อได้ถึงความอิ่มอร่อย อิ่มสุข อิ่มใจ อิ่มบรรยากาศ ภายในคาเฟ่บรรยากาศสไตล์คอนเทมโพรารีอินดัสเทรียล ที่ตั้งอยู่บริเวณหัวมุมถนนราชบพิธตัดกับถนนเฟื่องนคร รับกับวิววัดราชบพิธฯ ที่สวยงามได้อย่างพอดิบพอดี คาเฟ่ในย่านเก่าเล่ายุคการพิมพ์เฟื่องฟู จากเรื่องราวของอาคารที่สร้างขึ้นในช่วงหลังการสร้างถนนเฟื่องนครไม่นาน (เฟื่องนคร เป็นถนนที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 หรือราวปี พ.ศ.2407 เป็นถนนที่สร้างตามแบบตะวันตก เป็นถนนสายเริ่มแรกของกรุงเทพฯ นอกจากถนนเจริญกรุง และถนนบำรุงเมือง) โดยสันนิษฐานว่าอาคารนี้ น่าจะสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2410 หลังจากนั้นก็ถูกเปลี่ยนมือมาเรื่อย ๆ ก่อนจะมาถึงกิจการโรงพิมพ์ที่กินเวลายาวนานกว่ากิจการอื่น ซึ่งตรงกับยุคที่การพิมพ์เฟื่องฟู โดยเฉพาะถนนเฟื่องนครที่ได้ชื่อว่าเป็นย่านโรงพิมพ์และสำนักพิมพ์ […]

ภูมิปัญญาไทย ในบ้านยุคใหม่

ดีไซน์ดีๆจาก ภูมิปัญญาไทย มาประยุกต์กับบ้านสมัยใหม่ มาดู ๙ ลักษณะของบ้านไทยที่ช่วยให้บ้านอยู่สบาย ๑.ชานเชื่อมพื้นที่ ภูมิปัญญาไทย ของเรือนไทยที่ยกพื้นสูง จึงมีการทำพื้นเป็นทางสัญจรภายในบ้าน และใช้เชื่อมระหว่างเรือนเพื่อขยายจากเรือนเดี่ยวเป็นเรือนหมู่ และการขยายเรือนแบบล้อมชาน ก็จะเกิดพื้นที่เปิดโล่งที่มีการโอบล้อมแบบคอร์ตยาร์ด ชานยังเป็นพื้นที่อเนกประสงค์ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่างทั้งพักผ่อน นั่งเล่น และจัดงานประเพณี เช่น ทำบุญ เลี้ยงพระ เรือนขนาดใหญ่อย่างเรือนคหบดีมักปลูกต้นไม้ใหญ่ไว้กลางชานที่ช่วยให้บรรยากาศร่มรื่น แล้วยังนิยมปลูกไม้ประดับ เช่น บอน ว่าน ตะโกดัด กระถางบัว และเลี้ยงสัตว์เลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลิน เช่น นกเขา นกดุเหว่า ปลากัด และปลาเข็ม การทำชานบ้านยังนำมาใช้ได้ดีกับบ้านยุคปัจจุบัน โดยออกแบบอาคารให้มีพื้นที่โล่งในลักษณะคอร์ตยาร์ด ที่อาจทำเป็นทางเดิน ชาน และจัดสวน ที่ทั้งสร้างความร่มรื่น และเชื่อมต่อพื้นที่ระหว่างกันได้ ๒.การยกพื้นบ้านสูง บ้านยกพื้นสูงไม่ได้มีเฉพาะในประเทศไทย ยังพบเห็นได้ในบ้านเรือนแถบเอเชียอาคเนย์ โดยเฉพาะพื้นที่ลุ่มที่มีน้ำท่วมอยู่เสมอ “ใต้ถุนเรือน” ของบ้านไทย เกิดขึ้นจากวิถีชีวิตที่มักทำเกษตรกรรม สภาพภูมิประเทศที่มีน้ำหลาก และภูมิอากาศร้อนชื้นที่มีฝนตกมาก ใต้ถุนจึงเป็นพื้นที่เปิดโล่ง ไม่มีผนังกั้น มักใช้เป็นพื้นที่เก็บของ อุปกรณ์การเกษตรและประมง เลี้ยงสัตว์ ใช้เป็นพื้นที่ทำงานหัตถกรรม หรือใช้หลบร้อนในช่วงกลางวัน […]

บ้านโครงสร้างเหล็ก ร่มรื่นด้วยไม้ใบ

บ้านโครงสร้างเหล็ก ที่เน้นผนังกระจกโปร่งตาพร้อมสกายไลต์รับแสงธรรมชาติแทบทุกห้อง โดยมีพื้นที่สีเขียวมาช่วยกรองแสงแดด และลดความร้อนภายในบ้านลง

Health & Well-being Materials วัสดุสร้างบ้านที่ดีและปลอดภัย

การเลือกใช้วัสดุสร้างบ้านที่ดีและปลอดภัย เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เราอยู่บ้านอย่างมีสุขภาพและสุขภาวะที่ดี ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน Research & Innovation for Sustainability Center (RISC) จึงได้แนะนำหลักเกณฑ์การพิจารณาเลือกใช้วัสดุเพื่อสุขภาวะที่ดีใช้งานได้ยาวนาน ไม่เสียหรือต้องซ่อมบ่อย เป็นบ้านที่อยู่แล้วเย็นสบาย ไม่ลื่นล้ม ไม่รั่วซึม ไม่สะสมฝุ่น ปลอดภัยกับทุกคนในบ้าน ซึ่งจะส่งเสริมให้ผู้อยู่อาศัยในบ้านทุกคนมีความสุข มีสุขภาพและสุขภาวะที่ดีทั้งกายและใจด้วยเช่นกัน มาดูหลักเกณฑ์ในการพิจารณาเลือกใช้วัสดุเพื่อสุขภาวะที่ดี และตัวอย่างคุณสมบัติวัสดุกัน 4 หลักเกณฑ์การพิจารณาเลือกใช้วัสดุเพื่อสุขภาวะที่ดี ( Well-Being Materials ) วัสดุที่มีความยั่งยืน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco- Friendly Materials) ได้แก่ วัสดุที่มีอายุการใช้งานยาวนาน หรือ วัสดุทดแทนวัสดุธรรมชาติ เช่น ไม้เทียม หินเทียม เพื่อลดการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ วัสดุที่สามารถลดการใช้พลังงาน (Energy Saving Materials) ได้แก่ หลอดไฟประหยัดพลังงาน  กระจกประหยัดพลังงาน เป็นต้น วัสดุรีไซเคิล และวัสดุ Upcycling (Recycle & Upcycling Materials) […]

TACHIKAWA ANNEX HOUSE บ้านไม้หลังใหญ่ มีฟังก์ชันเป็นทั้งที่อยู่อาศัย โกดังเก็บสินค้า และสตูดิโอถ่ายภาพ

บ้านไม้ หลังใหญ่ ตอบโจทย์ธุรกิจเสื้อผ้าของเจ้าของบ้าน ตั้งอยู่ใน Tachikawa City เมืองในเขตโตเกียวตะวันตก ของประเทศญี่ปุ่น โดดเด่นด้วยการดีไซน์พื้นที่กว้างขวางสำหรับใช้เป็นโกดังและสตูดิโอถ่ายภาพ บ้านไม้ หลังคาทรงจั่งขนาดใหญ่นี้ มีโครงสร้างที่ถือเป็นเอกลักษณ์อย่าง การออกแบบให้มีเสาสองต้นขนาดใหญ่ที่โผล่ทะลุขึ้นมาถึงชั้นสอง เพื่อทำหน้าที่รองรับคานไม้ในลักษณะรูปตัววีเชื่อมต่อกับแปหลังคา ซึ่งให้ทั้งความแข็งแรงและลวดลายดูสวยงาม ผนังและเพดานกรุด้วยแผ่นไม้อัด ส่วนพื้นกรุกระเบื้องปูพื้นพอร์ซเลนดีดำเข้ม พื้นที่ใช้สอยเป็นแบบโอเพ่นแปลนดูโล่งกว้าง และเนื่องจากทิศหน้าบ้านหันไปทางทิศตะวันตก ซึ่งเป็นทิศที่ได้รับแสงแดดโดยตรง ดังนั้น เพื่อให้บ้านชั้นสองได้รับแสงสว่างอย่างเพียงพอและลดการใช้พลังงาน สถาปนิกจึงแก้ปัญหานี้ ด้วยการใช้วัสดุโปร่งแสงอย่าง แผ่นพอลิคาร์บอเนตแบบสองชั้นซึ่งมีโครงสร้างกลวง (Polycarbonate with thick void layer) มากรุที่ผนังบ้านด้านหน้า จนกลายเปลือกอาคารที่เด่นกว่าใคร ซึ่งมาพร้อมคุณสมบัติที่น่าสนใจ อาทิ ช่วยกรองแสง ช่วยถ่ายเทความร้อนต่ำ และเป็นฉนวนกันความร้อน จึงช่วยประหยัดพลังงานได้ดีกว่าการกรุผนังด้วยกระจกที่มีความหนาเท่ากัน โดยเจ้าของสามารถเปิดประตูออกมารับลมและชมวิวด้านนอกที่เห็นรางรถไฟพลาดผ่าน ได้ผ่านทางเดินบนระเบียงขนาดยาว หลังคาทำจาก Galvanized color steel sheet ทนทานต่อสภาพอากาศและการกัดก่อนทุกรูปแบบ ทั้งยังสะท้อนความร้อนได้ดี จึงไม่ดูดซับความร้อน ช่วยให้บ้านเย็นสบายในหน้าร้อน ชั้นล่างใช้เป็นโกดังเก็บสินค้าและสตูดิโอถ่ายภาพ สำหรับใช้งานในฐานะที่เจ้าของบ้านทำธุรกิจเสื้อผ้า แต่เนื่องจากระดับพื้นชั้นล่างอยู่ต่ำกว่าพื้นระดับปกติประมาณ 1 เมตร จึงต้องทำบันไดเล็ก […]

รู้ต้นเหตุบ้านร้อน คุณสมบัติฉนวน และการเลือกที่ไม่ทำลายสุขภาพ

ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน Research & Innovation for Sustainability Center (RISC) ได้ศึกษาสาเหตุที่ความร้อนเข้ามาในบ้าน และคุณสมบัติของฉนวน เพื่อเป็นข้อพิจารณาใน การเลือกฉนวนกันความร้อน ความร้อนเข้ามาในบ้านได้อย่างไร ความร้อนเข้ามาในบ้านด้วยการถ่ายเทความร้อน (Heat Transfer) เป็นการส่งผ่านพลังงานความร้อนซึ่งเกิดขึ้นจากความแตกต่างของอุณหภูมิ ทำให้อากาศที่มีอุณหภูมิสูงจะเดินทางไปหาอากาศที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า (จากร้อนไปเย็น) เพื่อปรับสมดุลของอากาศ เช่น น้ำแข็งกับน้ำในแก้ว ซึ่งน้ำจะมีอุณหภูมิสูงกว่าจึงถ่ายเทความร้อนไปที่น้ำแข็งที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า ทำให้น้ำแข็งละลาย และหยุดถ่ายเทความร้อนเมื่อทั้งสองอย่างมีอุณหภูมิเท่ากัน เช่นเดียวกับดวงอาทิตย์ที่แผ่รังสีความร้อนปะทะกับอาคารซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่าบริเวณโดยรอบ ความร้อนจึงพยายามเข้ามาในอาคารด้วยการเคลื่อนที่ได้ถึง 3 รูปแบบ คือ การนำความร้อน (Conduction) เป็นการส่งถ่ายอุณหภูมิผ่านตัวกลางโดยที่ตัวกลางอยู่กับที่ เช่น การนำความร้อนผ่านผนังบ้าน (ผนังเป็นตัวกลาง) แต่จะร้อนเร็วช้าหรือมากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับความแตกต่างของอุณหภูมิ และคุณสมบัติการนำความร้อนของวัสดุ การพาความร้อน (Convection) เป็นการส่งถ่ายอุณหภูมิโดยที่ตัวกลางนั้นเคลื่อนที่ไปกับอุณหภูมิด้วย เช่น ลมเป็นตัวกลางที่พาความร้อนเข้ามาในอาคาร หรือ พาออกไปจากอาคารได้เช่นเดียวกัน การออกแบบอาคารที่ระบายอากาศได้ดี จะสามารถใช้ลมช่วยพาความร้อนออกไปจากอาคารได้รวดเร็ว ทำให้ห้องเย็นสบาย และไม่อับชื้น เห็นได้ชัดในบ้านไทยพื้นถิ่นที่นิยมยกพื้นสูง เพื่อให้ลมพาความร้อนออกจากใต้พื้นบ้าน การแผ่รังสีความร้อน (Radiation) เป็นการถ่ายเทอุณหภูมิที่ไม่ต้องอาศัยตัวกลางในการเคลื่อนที่ […]

THE RUBBERER ถอดรายละเอียดโรงงานยางพารา สู่คาเฟ่ตกแต่งสไตล์มินิมัลกลิ่นอายญี่ปุ่น

The Rubberer คาเฟ่ดีไซน์เรียบง่าย แต่โดดเด่นด้วยการนำเสนอเรื่องราวของยางพารา อีกหนึ่งพืชเศรษฐกิจของจังหวัดระยอง ผ่านการออกแบบคาเฟ่ที่มีแรงบันดาลใจจากอาคารโรงงานยางพารา DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ:  SA-ARD architecture & construction ที่นี่มีจุดเริ่มต้นมาจากธุรกิจของครอบครัวเจ้าของคาเฟ่ ซึ่งอยู่ในระบบอุตสาหกรรมยางพาราแบบครบวงจร ทั้งการทำสวนยางพารา และโรงงานรีดแผ่นยางฯ ของตนเอง สำหรับ The Rubberer จึงเสมือนเป็นการต่อยอดธุรกิจ ที่ไม่เพียงแต่ในฐานะของร้านกาแฟ แต่ยังเป็นเสมือนพิพิธภัณฑ์เล็ก ๆ ที่เก็บรวบรวมเรื่องราวและความทรงจำ สะท้อนถึงบริบทที่ตั้ง และความเป็นมาของธุรกิจครอบครัว ซึ่งมีประวัติมาอย่างยาวนาน ริมถนนหมายเลข 4040 ภายในพื้นที่กว้างขวางของโรงงานแปรรูปและตากยางพารา ส่วนหนึ่งได้รับการจัดสรรให้เป็นที่ตั้งของคาเฟ่ ซึ่งมีรูปทรงเป็นอาคารชั้นเดียวยาว 20 เมตร ได้ไอเดียมาจากโรงงานยางพาราหลังเดิมที่ตั้งอยู่ไม่ไกล ทั้งยังเลือกใช้แมททีเรียลในการก่อสร้างที่คล้ายกันเกือบ 80 เปอร์เซ็นต์ แต่ถูกนำมาจัดเรียงเป็นองค์ประกอบใหม่ ภาษาใหม่ ดัดแปลงเข้ากับการตกแต่งสไตล์ญี่ปุ่น ตามความชื่นชอบของเจ้าของ เพื่อให้มีรายละเอียดน่าสนใจและอบอุ่นมากขึ้น “สถาปัตยกรรมในยุคเดียวกับการ์ตูนเรื่องอิคคิวซังถูกนำมาเป็นส่วนหนึ่งของอาคาร เกิดจากการสังเกตความชอบของเจ้าของคาเฟ่ว่า เขาเป็นคนชอบอ่านการ์ตูนญี่ปุ่นยุค 80’s ผมเลยนำสิ่งนั้นมาตีความ และใส่รายละเอียดให้อาคารมีกลิ่นอายของความเป็นญี่ปุ่น เช่น การออกแบบหลังคาให้มีความลาดต่ำลง ดึงเชิงชายข้างอาคารให้กว้างขึ้น แล้วเลือกใช้กระเบื้องแบบลอนคู่มามุงหลังคา ลักษณะคล้ายวัด […]

ป้องกันบ้านร้อน ด้วยวิธี Passive & Active Cooling Design

25 วิธีแก้ไข และ ป้องกันบ้านร้อน ที่ช่วยให้บ้านเย็นหรือร้อนน้อยลงได้ ทั้งการแก้ด้วยการออกแบบตั้งแต่เริ่มสร้างบ้าน