ต่อเติมบ้าน เก่าให้โมเดิร์น พร้อมเชื่อมโยงสเปซเดิมผ่านเทอร์ราซโซ

บ้านรูปทรงกล่องภาพลักษณ์โมเดิร์นที่เกิดจากการปรับปรุง และ ต่อเติมบ้าน เก่าอายุสองทศวรรษ ให้ตอบโจทย์ทั้งด้านประโยชน์ใช้สอยและความงาม บ้านหลังนี้ตั้งอยู่ร่วมกับบ้านหลังอื่นในที่ดินผืนเดียวกัน ดังนั้นนอกจากการ ต่อเติมบ้าน เพิ่มพื้นที่ใช้สอยแล้ว การออกแบบยังต้องคำนึงถึงความเป็นส่วนตัวของผู้อยู่อาศัยด้วย เมื่อได้รับโจทย์เบื้องต้นจากทางเจ้าของบ้านให้รีโนเวตบ้านขนาดพื้นที่ 358 ตารางเมตร คุณเอกภาพ ดวงแก้ว ผู้ก่อตั้งสำนักงานสถาปนิก EKAR จึงเริ่มจากการพิจารณาถึงความเป็นไปได้ต่าง ๆ ในการออกแบบ ทั้งด้านโครงสร้างเดิม พื้นที่ใช้สอย และรูปแบบของอาคาร โดยตัดสินใจปรับเปลี่ยนที่จอดรถใหม่ จากเดิมที่มีขนาดเล็ก คับแคบตามสไตล์บ้านยุคเก่า ให้กว้างขวางและเชื่อมต่อการใช้งานกับพื้นที่บ้านได้อย่างลงตัว พร้อมทั้งต่อเติมอาคารบริเวณด้านหน้าบ้าน สำหรับพื้นที่ห้องนั่งเล่นบนชั้นล่าง และห้องนอนที่มีห้องแต่งตัว และห้องน้ำขนาดใหญ่ตามโจทย์ที่ได้รับจากเจ้าของบ้านบนชั้นสอง โดยออกแบบให้มีการเชื่อมพื้นที่ใช้สอยกับบ้านเดิมอย่างต่อเนื่องกลมกลืน คอร์ตขนาดเล็กที่เกิดขึ้นระหว่างบ้านเดิมและพื้นที่ต่อเติมช่วยดึงแสงสว่างเข้ามาในพื้นที่ใช้งานได้ตลอดวัน นอกจากนี้ ในส่วนของบ้านเดิม เมื่อทุบพื้นชั้น 2 เหนือห้องรับประทานอาหารออก ทำให้เกิดพื้นที่เปิดโล่งจากชั้นหนึ่งขึ้นไปจรดหลังคาของชั้นสอง (Double space) สร้างบรรยากาศโปร่งสบาย และดูโอ่โถง โดยเลือกกรุฝ้าเพดานให้ขนานไปกับแนวหลังคาทรงจั่ว และสร้างความน่าสนใจให้ฝ้าเพดานด้วยโครงสร้างไม้สีอ่อน กล่องไฟส่องสว่างพาดยาวต่อเนื่องจากผนังด้านหนึ่งถึงอีกด้าน สร้างเส้นนำสายตาให้เกิดความรู้สึกเชื่อมต่อของพื้นที่ระหว่างส่วนบ้านเก่ากับส่วนที่ต่อเติมใหม่ สำหรับการตกแต่งภายในเน้นความโปร่งโล่ง เลือกใช้สีโทนสว่างและเฟอร์นิเจอร์หลักเท่าที่จำเป็นต่อการใช้งาน ส่วนต่อเติมใหม่กรุพื้นไม้ลามิเนตสีอุ่น ช่วยดึงความขรึมของพื้นหินขัดในบ้านเดิมให้ภาพรวมดูโมเดิร์น และมีชีวิตชีวามากขึ้น หากมองจากภายนอก ส่วนของบ้านที่ต่อเติมใหม่ด้านหน้าจะไม่มีช่องเปิดบนชั้นสอง เพื่อสร้างความเป็นส่วนตัว […]

รวมบ้านที่ตื่นมาก็เจอวิวทุ่งนา ใช้ชีวิตเหมือนอยู่สวรรค์บนดิน

หากลืมตาตื่นขึ้นมาทุกเช้าก็ได้เห็นวิวทุ่งนาในยามยืนต้นเขียวขจีไปจนถึงสีทองอร่ามตา ก็มีคนจำนวนไม่น้อยฝันอยากมี บ้านกลางทุ่งนา แบบนี้บ้างล่ะ 

JOUER ชุมชนสร้างสรรค์ในกลุ่มบ้านเก่าย่านสุขุมวิท

ท่ามกลางความพลุกพล่านของย่านใจกลางกรุง ซอยสุขุมวิท 32 คือซอยเล็ก ๆ ที่แทรกตัวอยู่ข้างอาคารคอนโดมิเนียมสูงตระหง่าน โดยมี Jouer (ฌูเอ้) ชุมชนสร้างสรรค์ขนาดย่อมตั้งอยู่บนที่ดินด้านในสุด ประกอบไปด้วยร้านตัดผม คาเฟ่ขนมหวาน ร้านทำเล็บ ร้านเฟอร์นิเจอร์ สำนักงานสถาปนิก สตูดิโอสร้างสรรค์สิ่งพิมพ์ Risograph ไปจนถึงแกลเลอรี่ศิลปะ ทั้งหมดนี้หลอมรวมอยู่ใน “กลุ่มบ้าน” ย้อนยุค 4 หลังท่ามกลางแมกไม้เขียวชอุ่ม ที่ได้รับการปรับปรุงให้เป็นแหล่งรวมคนทำงานสร้างสรรค์ เปิดให้ผู้ที่ชื่นชอบศิลปะเข้ามาเยี่ยมชมได้อย่างอิสระ แถมในบางช่วงยังมีตลาดนัดศิลปะตามวาระอีกด้วย Jouer มีจุดเริ่มต้นจาก Dai Mogi เจ้าของร้านตัดผม Rikyu ในเครือของ Boy Tokyo ที่มีชื่อเสียงมานานแล้วกว่า 20 ปี ในประเทศญี่ปุ่น โดดเด่นด้านการผสมผสานการตัดผมเข้ากับศิลปะและความคิดสร้างสรรค์ และได้เลือกกรุงเทพฯ เป็นสาขาแรกในต่างประเทศเมื่อปี พ.ศ. 2553 จนกระทั่งเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา Rikyu ได้ย้ายถิ่นฐานจากซอยสุขุมวิท 24 มายังซอยสุขุมวิท 32 แห่งนี้ แต่แทนที่จะทำร้านตัดผมเพียงอย่างเดียว พวกเขาได้ชักชวนเพื่อน ๆ ในวงการสร้างสรรค์หลายสาขาวิชาชีพให้เข้าร่วมเป็นสมาชิกครอบครัวใหญ่ด้วยกัน […]

บันทึกเพื่อพิทักษ์ สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ ในมุมมองของ วีระพล สิงห์น้อย และฤกษ์ดีโพธิวนากุล

จากมุมมองของผู้คนทั่วไปรูปลักษณ์อันคุ้นชิน ของสถาปัตยกรรม “สมัยใหม่” คงดูไม่เก่าแก่ พอจะให้นึกไปถึงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ แต่ขณะเดียวกันอาคารที่เก่าคร่ำคร่าผ่านการ ใช้งานมาอย่างยาวนานและต้องอาศัย งบประมาณก้อนโตในการบำรุงรักษา หลาย คนอาจมองว่าไม่เอื้อต่อการอนุรักษ์สักเท่าไร ซึ่งในสภาพ “กลางเก่ากลางใหม่” เช่นนี้ คุณค่าของสถาปัตยกรรมสมัยใหม่จึงดู คลุมเครือยิ่งนักในบริบทปัจจุบัน แต่สำหรับ วีระพล สิงห์น้อย หรือ ช่างภาพสถาปัตยกรรมอิสระที่หลายคนรู้จัก ในนาม Beersingnoi ความงามของอาคาร เหล่านี้กลับสะดุดตาเขาจนกลายเป็นความ สนใจที่มาของโปรเจ็กต์งานอดิเรกในการ ติดตามเก็บบันทึกภาพงานสถาปัตยกรรม สมัยใหม่ในประเทศไทย ด้วยความตั้งใจ ที่จะเก็บบันทึกมุมมองความงามทางสถาปัตยกรรมในแบบของเขา บนความไม่แน่นอนว่า อาคารเหล่านั้นจะ”อยู่รอด”ถึงเมื่อไร และเมื่อชุดภาพเหล่านี้ได้รับการเผยแพร่ ผ่านเพจ Foto_momo มุมมองผ่านเลนส์ ที่เฉียบขาดของวีระพลก็ดูเหมือนจะช่วย จุดประกายคุณค่าและความสนใจของคน รุ่นใหม่ในสถาปัตยกรรมจากยุคโมเดิร์น ได้ไม่น้อย ซึ่งเบื้องหลังการออกเดินทาง ตามหาตึกเก่า เขาได้พบกับอาจารย์ฤกษ์ดี โพธิวนากุล อาจารย์พิเศษคณะสถาปัตยก ร รมศาสต ร์ มหาวิทยาลัยศิลปาก ร ผู้มีความสนใจในสถาปัตยกรรม Modern Architecture เช่นเดียวกัน มิตรภาพที่ เบ่งบานท่ามกลางบรรยากาศโมเดิร์นนิสม์ […]

HAPPY BOX ออกแบบอพาร์ทเม้นท์ ให้เป็นกล่องความสุขที่เล่นสนุกได้ทุกวันของเด็ก ๆ

เคยคิดบ้างไหมว่า เมื่อเด็ก ๆ ขอออกแบบบ้านเองบ้าง มันจะออกมาสนุกและมากจินตนาการขนาดไหน ? และการ ออกแบบอพาร์ทเม้นท์ นี้ คือผลงานที่แม้เด็ก ๆ จะไม่ได้เป็นผู้ออกแบบโดยตรง แต่รับรองว่านี่จะเป็นพื้นที่ที่พวกเขาถูกใจสุด ๆ เพราะทั้งสามารถอยู่อาศัยและเล่นสนุกไปพร้อมกันอย่างไม่มีเบื่อ HAPPY BOX คือผลงานการออกแบบของ Tropical Space สำนักงานสถาปนิกสัญชาติเวียดนาม ที่ขอออกแบบกล่องซ้อนกล่องอยู่ในพื้นที่อพาร์ทเม้นท์ขนาด 68 ตารางเมตร โดยมองเห็นความสุขของเด็ก ๆ เป็นสำคัญ ภายใต้พื้นที่โล่ง ๆ กล่องสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่จึงเสมือนกลายเป็นดังดินแดนส่วนตัว  การออกแบบบ้านเด็กทรงกล่อง ซ้อนอยู่ในห้องของอพาร์ทเม้นท์นี้ นอกจากเป็นผลงานที่แหวกแนวไม่เหมือนใคร ยังถือเป็นการลดงานการออกแบบภายใต้พื้นที่เปล่าเปลือย ซึ่งมีแค่เพียงเพดานคอนกรีตเปลือยที่สูงจากพื้นจรดเพดานที่มองเห็นงานระบบ โดยต้องการบ้านที่เป็นเหมือนสนามเด็กเล่น เพื่อให้เด็ก ๆ สามารถวิ่งเล่นไปรอบ ๆ ได้อย่างอิสระตามที่พวกเขาต้องการ ตรงกลางของห้องสถาปนิกได้วางกล่องไม้ขนาด 3 x 3 x 2.2 เมตร พร้อมช่องหน้าต่างที่เหมือนยกบ้านหลังน้อย ๆ มาไว้ให้เด็ก ๆ ได้เล่นสนุกและพักผ่อน ไปพร้อมกัน ด้านในกล่องมีฟูกนอนขนาดใหญ่ […]

BAAN CHUMPHAE บ้านครอบครัวใหญ่ที่เชื่อมโยงสมาชิกต่างวัยด้วยตู้ไม้สัก

บ้านโมเดิร์น ทรงกล่อง 3 ชั้น ได้รับการออกแบบให้สะท้อนถึงการแบ่งสัดส่วนพื้นที่อย่างชัดเจน แต่ทว่ากลับยืดหยุ่นเพื่อตอบรับการใช้งานที่แตกต่างได้อย่างลงตัว โดยมีตู้ไม้สักใบใหญ่ใจกลางบ้านทำหน้าที่สอดประสานพื้นที่ส่วนกลางให้เชื่อมต่อกับสเปซส่วนตัวของสมาชิกครอบครัวแต่ละคน ทั้งยังเป็นที่รวบรวมประโยชน์ใช้สอยสำคัญของบ้านไว้ในที่เดียว

บ้านและสวน | EP.1

ช่วงบ้าน “บ้านชมดอย” ออกแบบ คุณศิริศักดิ์ ธรรมศิริ Death by Arch ช่วงบ้าน “บ้านสุขเสมอดอย” เจ้าของ  คุณณวริศ รักกุลชรมย์ – อรรฆย์ วิริยะกิจจานุรักษ์ ออกแบบ คุณณัฐพล จันทรวงศ์ สำนักงานสถาปนิกแผลงฤทธิ์ ช่วงบ้าน “หลงรัก(บ้าน)เชียงใหม่” เจ้าของ   คุณพอล วัลเลอร์ – คุณธัญชนก สุวรรณชัย ออกแบบ คุณมาร์คูส โรเซลีบ Chiangmai Life Construction ช่วงบ้าน “บ้าน(เมือง)นอกตีนดอย” เจ้าของ   คุณไฉไล โกมารกุล ณ นคร ออกแบบ คุณรุ่งโรจน์ บุญเจริญ ช่วงสวน “หอมกลิ่นโรสแมรี่” เจ้าของและออกแบบ คุณธนพร ไฮนซ์ ช่วงสวน “ป่าในจินตนาการ” เจ้าของ    คุณเตชินท์ จันทร์วาววาม ออกแบบ  […]

บ้านชั้นครึ่งกลางทุ่งโล่ง สวยงามราวสวรรค์บนดิน

บ้านสไตล์ร่วมสมัยที่ตั้งอยู่กลางทุ่งโล่งในอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ออกแบบเป็น แบบบ้านชั้นครึ่งยกสูง ที่โปร่งโล่ง เพื่อให้มองออกไปเห็นความสวยงามของทิวเขาและทุ่งนาขั้นบันได ซึ่งมีส่วนช่วยให้บ้านหลังนี้ดูราวกับเป็นสวรรค์บนดิน การมาเยือน แบบบ้านชั้นครึ่งยกสูง สไตล์ร่วมสมัยซึ่งตั้งอยู่กลางทุ่งหลังนี้ ทำให้นึกถึงภาพในใบปิดภาพยนตร์รางวัลออสการ์ชื่อดัง “Out of Africa” ในภาพมีพระเอกกับนางเอกนั่งบนเนินหญ้าในท้องทุ่งอันกว้างใหญ่ของประเทศเคนยา แต่บ้านหลังนี้ไม่ได้อยู่ไกลถึงทวีปแอฟริกาหรอกครับ อยู่ที่อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอนนี่เอง คุณนิโคลัสและคุณเนตรภัทร เฮเกอร์ พร้อมด้วยทายาทวัยแบเบาะ ด.ช.อาทัว เป็นเจ้าของบ้านหลังนี้ คุณนิโคลัสหรือคุณนิกเป็นโปรแกรมเมอร์ชาวออสเตรียเดินทางมาท่องเที่ยวและได้พบคุณเนตรภัทรที่อำเภอปาย ด้วยทิวทัศน์ขุนเขาของที่นี่ซึ่งคล้ายกับที่ประเทศออสเตรีย คุณนิกจึงเกิดความประทับใจและตัดสินใจลงหลักปักฐานอยู่ที่นี่เลย เนื่องจากหน้าที่การงานของเขาสามารถติดต่อสื่อสารผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้ เขาจึงใช้ชีวิตอยู่ที่นี่ได้ดังใจต้องการ          แบบบ้านชั้นครึ่งยกสูง หลังจากช่วยกันตระเวนหาที่ดินอยู่ 3-4 เดือน เจ้าของบ้านทั้งสองถูกใจที่ดินผืนนี้ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 4 ไร่ ซึ่งเคยเป็นนากระเทียมเก่า ตอนแรกเจ้าของยังไม่ได้ทำอะไรจึงปล่อยให้ชาวบ้านมาทำนากระเทียมกันไปก่อน แต่พอสร้างบ้านเสร็จก็ปล่อยพื้นที่รอบบ้านเป็นทุ่งโล่งเฉยๆ แค่ดูแลตัดหญ้าไม่ให้รกเท่านั้น คุณเนตรภัทรเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับบ้านให้เราฟังว่า “พอคิดจะทำบ้าน ก็บอกเพื่อนให้ช่วยหาสถาปนิกให้ เขาแนะนำรุ่นน้องที่อยู่เชียงใหม่ซึ่งน่าจะสะดวกมาดูงานให้ได้ เมื่อก่อนตอนอยู่ที่ออสเตรียก็อยู่อพาร์ตเม้นต์ คุณนิกเขาติดใจการพักอาศัยแบบนั้น หมายถึงพื้นที่แบบห้องเดี่ยวและก็มีห้องน้ำ จึงบอกความต้องการให้สถาปนิกทราบ เขาก็ออกแบบมาให้ตามที่พูดคุยกัน” ตัวบ้านออกแบบให้ใช้ประโยชน์จากธรรมชาติที่อยู่รายรอบ โดยพื้นที่ทางทิศตะวันตกมีทิวทัศน์เป็นทุ่งนาขั้นบันไดซึ่งมีลักษณะลาดเทไม่มากนัก และมีฉากหลังเป็นขุนเขาอันยิ่งใหญ่ทอดยาวตัดกับแนวเส้นขอบฟ้า […]

ARTISAN AYUTTHAYA สถาปัตยกรรมบล็อกแก้วที่สถาปนิกและธรรมชาติร่วมกันออกแบบ

อีกคราที่ คุณเอส-สรวีย์ วิศิษฏ์โสพา เจ้าของธุรกิจร้านอาหารแกรนด์เจ้าพระญา ลุกขึ้นมาสร้างหมุดหมายสำคัญให้กับบ้านเกิด หลังจากก่อนหน้านี้เธอได้ส่ง ที่เที่ยวอยุธยา ในรูปแบบสถาปัตยกรรมไม้อัดโครงสร้างน็อกดาวน์ ที่เรารู้จักกันดีในชื่อ “The Wine Ayutthaya” ไปเป็นทัพหน้าเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของชุมชนและการท่องเที่ยวของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จนเป็น ที่เที่ยวใกล้กรุงเทพ ที่ประสบความสำเร็จเกินคาดหมายมาแล้ว 

คุยกับนายกสมาคมสถาปนิกสยามในวันที่มีรายรับเป็นศูนย์

สมาคมสถาปนิกสยาม กับการก้าวผ่าน “วิกฤตโควิด-19” ที่ทำให้สมาคมฯ ไม่สามารถจัดงานสถาปนิกได้ “การรื้ออาคารที่มีคุณค่า” เป็นปัญหาที่กำลังรอการแก้ไข และ “การติดอาวุธ” เพิ่มศักยภาพให้กับสถาปนิกไทยเป็นสิ่งที่ต้องสนับสนุน วันนี้ สมาคมสถาปนิกสยาม มีบทบาทและแนวทางอย่างไร คุณชนะ สัมพลัง นายกสมาคมฯ จะมาพูดคุยกับ บ้านและสวน ถึงสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นต่อไปในวันพรุ่งนี้ วิกฤตโควิด-19 กับสถาปนิกจิตอาสา หลังจากคุณโอ๋-ชนะ สัมพลัง ได้รับเลือกเข้ามาเป็นนายกสมาคมฯ และเริ่มรับตำแหน่งในช่วงต้นปี 2563 ก็เกิดวิกฤตโควิด-19 ขึ้น ทำให้แนวนโนบายของสมาคมฯ ต้องปรับเปลี่ยนใหม่ให้เข้ากับสถานการณ์ จากการเน้นไปที่ตัวสมาชิกด้านวิชาชีพ การเกิดสถานการณ์โรคระบาดทำให้สถาปนิกหลาย ๆ ท่าน เข้ามาเป็นจิตอาสาคอยช่วยเหลือหน่วยงานต่าง ๆ โดยเฉพาะโรงพยาบาล คุณชนะเล่าถึงการทำงานในช่วงดังกล่าวให้ฟังว่า คุณชนะ : “ในฐานะที่เป็นนายกสมาคมฯ และเป็นสถาปนิกคนหนึ่ง ช่วงที่ Work from Home ก็เชิญชวนทุก ๆ คนที่เป็นสมาชิก หรือคนที่รู้จัก ไปช่วยโรงพยาบาลทางภาคใต้ ภาคเหนือ ภาคอีสาน ใครอยู่ทางไหนก็ไปช่วยโรงพยาบาลแถวนั้น กลายเป็นว่าอาชีพของเราสามารถช่วยเหลือคนอื่น […]

บ้านชั้นเดียวกลางทุ่งที่เปิดรับธรรมชาติอย่างเต็มที่

บ้านชั้นเดียวที่ใช้โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคาแบบเพิงหมาแหงน เพื่อลดความยุ่งยากในการก่อสร้าง ออกแบบบ้านให้เปิดโล่งเพื่อรับแสงแดดในตอนกลางวัน รับแสงจันทร์ในตอนกลางคืน ทำให้ได้อยู่ใกล้ชิดกับธรรมชาติมากขึ้น  บ้านชั้นเดียวกลางทุ่ง เรื่องของเรื่องมีอยู่ว่า คุณทวยเทพ พัฑฒนะ ตกปากรับคำเพื่อนสนิทว่าจะมาออกแบบโรงแรมขนาดเล็กๆซึ่งตั้งอยู่ในเมืองเชียงใหม่ให้ เป็นเหตุให้เขาต้องเดินทางไปมาระหว่างกรุงเทพฯ-เชียงใหม่บ่อยๆ และเพราะหลายครั้งที่เพื่อนคนนั้นได้เชิญให้มานอนพักที่บ้านในอำเภอแม่ออน ซึ่งอยู่นอกเมืองเชียงใหม่ออกไปประมาณ 30 กิโลเมตร ก็ทำให้เขาเริ่มตกหลุมรักอำเภอแห่งนี้อย่างเต็มหัวใจ “เพื่อนที่ว่านี้ก็คือ คุณสุกัญญา โชติสุกานต์ เจ้าของบ้านที่เคยลงใน ‘บ้านและสวน’ ฉบับเดือนกันยายน 2551 (คลิกชมบ้านคุณสุกัญญา) เขาชวนให้มาซื้อที่ดินติดกัน แต่ตอนนั้นไม่ได้ตัดสินใจว่าจะซื้อ เพราะว่ามีสำนักงานสถาปนิกและงานออกแบบทั้งหมดก็อยู่ที่กรุงเทพฯ ไม่รู้จะซื้อไว้ทำไม แต่พอได้มาออกแบบโรงแรมที่เชียงใหม่ และมานอนพักที่บ้านของเขาก็ชักจะติดใจ เลยคิดว่าวันข้างหน้าอาจจะได้มาอยู่จริงๆก็ได้ จึงซื้อที่ดินแล้วก็สร้างบ้านเลยครับ เป็นการเตรียมตัวก่อนเกษียณ” ในระหว่างที่ก่อสร้างบ้าน คุณทวยเทพไม่ค่อยมีเวลามาดูแลเองมากนัก ตัวบ้านจึงออกแบบไว้ค่อนข้างเรียบ เป็นบ้านชั้นเดียวที่ใช้โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคาแบบเพิงหมาแหงน เพื่อลดความยุ่งยากในการก่อสร้าง นอกจากนี้ก็ยกตัวบ้านสูงด้วยเหตุผลสองประการ ประการแรก คือ ระดับพื้นดินที่สร้างบ้านมีความลาดเอียงไม่เท่ากัน หากจะถมที่ก็ต้องใช้ดินมากพอสมควร อีกประการ คือ เพื่อความปลอดภัยจากปัญหาเรื่องปลวก จากโรงรถจะมีสะพานไม้ปูเป็นทางเดินไปสู่ชานไม้ขนาดปานกลางซึ่งอยู่ติดกับตัวบ้าน เมื่อเข้าไปภายในก็จะพบห้องที่ค่อนข้างโปร่ง เพราะมีเพดานสูง และด้านปลายสุดของห้องทำเป็นผนังและประตูบานเลื่อนกระจกใสเปิดมุมมองเห็นวิวภายนอกซึ่งเป็นบ่อน้ำรูปสี่เหลี่ยมล้อรับกับตัวบ้านและผืนทุ่งนากว้างไกลไปสิ้นสุดที่แนวเทือกเขา ในห้องโล่งนี้เป็นส่วนของครัวขนาดเล็กรูปตัวแอล (L) ตั้งชิดผนังติดกับประตูทางเข้าบ้าน […]

10 ที่พัก จาก 10 ย่านกลางกรุง สำหรับคนอยู่กรุงเทพฯ เเต่ไม่อยากนอนบ้านในวันหยุดปีใหม่

เปิดหนังสือ 100 BEST DESIGN SMALL HOTELS & HOSTELS จาก room แล้วตามเรามา นี่คือ 10 ที่พักจาก 10 ย่านกลางกรุง สำหรับคนอยู่กรุงเทพฯแต่ไม่อยากนอนบ้าน หรืออยากเปลี่ยนที่นอนในวันหยุดปีใหม่

ประภากร วทานยกุล การได้ทำงานคือความสุข และความสนุกทำให้ A49 ไม่หยุดนิ่ง

เรื่องราวทั้งหมดของ A49 และ 49Group จากปากของสถาปนิกรุ่นใหญ่ ผู้เชื่อว่าบ้านหลังหนึ่งไม่ว่าจะใช้เวลาสร้างนานแค่ไหน หรือจะทำกำไรแค่ไหน ก็ไม่สำคัญเท่ากับผู้ออกแบบทำบ้านด้วยความตั้งใจและออกมาจากแพสชั่นจริง ๆ

STUDIOK บ้านกึ่งสตูดิโอริมแม่น้ำปิงของศิลปินไทยเชื้อสายอินเดีย “นาวิน ลาวัลย์ชัยกุล”

“สตูดิโอเค” บ้านกึ่งสตูดิโอ ที่แฝงตัวอย่างสงบอยู่ท่ามกลางแมกไม้เขียวชอุ่มริมแม่น้ำปิง ไม่ไกลจากตัวเมืองเชียงใหม่มากนัก บนผืนดินกว่า 1 ไร่ แห่งนี้ คืออาณาจักรศิลปะของ คุณนาวิน ลาวัลย์ชัยกุล ศิลปินไทยเชื้อสายอินเดีย เจ้าของรางวัลศิลปาธรสาขาทัศนศิลป์ปี 2553 ผู้รังสรรค์ผลงานศิลปะร่วมสมัยเปี่ยมเอกลักษณ์อันเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: Materior Studio เดิมอาณาจักรศิลปะแห่งนี้ มีเพียงตัวอาคารปูนเปลือยดั้งเดิมที่ได้รับการออกแบบโดย สำนักงานสถาปนิกแผลงฤทธิ์ เมื่อหลายปีก่อน เพื่อใช้เป็นที่ตั้งของบริษัท นาวินโปรดักชั่น จำกัด รองรับการผลิตผลงานศิลปะของเขา แต่เมื่อโปรเจ็กต์การสร้างสรรค์มีขนาดใหญ่ขึ้น จึงมาพร้อมความต้องการพื้นที่ที่เป็นสัดส่วนสำหรับทีมงาน คุณนาวินจึงตัดสินใจขยับขยายสร้างพื้นที่สตูดิโอขึ้นใหม่ให้เชื่อมต่อกับอาคารเดิม พร้อม ๆ กับปรับปรุงต่อเติมพื้นที่บางส่วนบนชั้นสองของอาคารเดิมให้เป็นที่พักอาศัยในคราวเดียวกัน โดยงานนี้มี คุณสุเมธ กล้าหาญ จาก Materior Studio มารับหน้าที่ช่วยดูแลด้านการออกแบบให้ บ้านกึ่งสตูดิโอ แห่งนี้ “คุณนาวินตั้งใจจะขยายพื้นที่เวิร์กช็อปให้เป็นกิจลักษณะและมีที่จอดรถ โดยให้ชั้นล่างเป็นส่วนเวิร์กช็อป และชั้นบนเป็นสตูดิโอวาดภาพขนาดใหญ่ และพื้นที่จัดแสดงผลงาน เราทดลองออกแบบกับวัสดุหลายอย่างมาก ตั้งแต่อิฐดิบ ๆ ผนังปูน จนสุดท้ายมาจบที่เมทัลชีทสีดำ ผนังด้านในกรุยิปซัม และไม้อัด พร้อมกับทำช่องเปิดดูปลอดโปร่งเพราะต้องการใช้แสงธรรมชาติมากกว่าการควบคุมแสงไฟแบบในแกลเลอรี่ทั่วไป” อาคารโครงสร้างเหล็กทรงกล่องกรุเมทัลชีตสีดำจึงได้รับการก่อสร้างขึ้นใหม่ […]

เคสตัวอย่างการทุบพื้นและผนังบางส่วนทิ้ง เพื่อเปิดพื้นที่ปิดทึบของอาคารเก่าให้ดูโปร่งสบาย

3 เคสตัวอย่างการ รีโนเวทตึกแถว แก้ปัญหาความทึบตันของตึกแถวด้วยการทุบพื้นและผนังบางส่วน ช่วยให้พื้นที่ภายในตึกแถวเก่าดูโปร่งโล่งขึ้นได้จริง

PA PRANK โฮสเทลย่านแพร่งสรรพศาสตร์ที่รีโนเวตจากตึกแถวสองคูหา

พาไปเก็บไอเดียการออกแบบจากสำนักงานสถาปนิกไอดิน กับโปรเจ็กต์รีโนเวตตึกแถวสองคูหาย่านแพร่งสรรพศาสตร์ให้กลายเป็นโฮสเทลสุดเท่ในชื่อ PA PRANK ( ป้าแพร่ง )

[ARCHIVOCAB] FIXED-PANE WINDOW ประโยชน์ของหน้าต่างบานติดตาย

หน้าต่างบานติดตาย (FIXED-PANE WINDOW) หรือบางครั้งอาจเรียกว่าช่องแสง หมายถึงหน้าต่างที่ไม่สามารถเปิดปิดได้ แต่ติดกระจกใสหรือฝ้าเพื่อให้แสงผ่านเท่านั้น

BREAKING BOUNDARIES ศิลปะที่ไร้ซึ่งพรมแดนแห่งการสร้างสรรค์

ศิลปะไร้พรมแดน ถอดรหัสความคิดเห็น ทุกความหมายของ “Breaking Boundaries” ที่เราสัมผัสได้ถึงจิตวิญญาณจากเบื้องลึกของเจ้าของแกลเลอรี่ ภัณฑารักษ์ และศิลปินต่างสาขา ในงาน Hotel Art Fair 2019