รวม แบบบ้านโมเดิร์นทรอปิคัล อยู่สบายสไตล์บ้านเมืองร้อน

แบบบ้านโมเดิร์นทรอปิคัล นั้นเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของบ้านที่ออกแบบได้สอดคล้องกับสภาพอากาศแบบบ้านเราที่ทั้งร้อนและฝนตกชุก

Shinkolite LINK ฟาซาด ที่สะท้อนตัวตนโดย จูน เซคิโน

ฟาซาด ถูกใช้งานเป็นกรอบอาคารเพื่อบังแดด กันความร้อน บังสายตา นอกจากเรื่องฟังก์ชั่น

รวมบ้านอิฐแสนน่าอยู่

อิฐเป็นวัสดุที่หาได้ง่ายในบ้านเรา สามารถนำมาตกแต่งให้เกิดลวดลาย ทำให้บ้านดูน่าสนใจได้ไม่ยาก ดังเช่น บ้านอิฐ ที่เรารวบรวมมาให้ชมกันเป็นไอเดีย

8 แบบบ้านชั้นครึ่ง น่ารัก น่าอยู่

8 แบบบ้านชั้นครึ่ง ที่มีการเพิ่มพื้นที่ใช้สอยเป็นส่วนของชั้นลอย สามารถใช้ประโยชน์ได้เพิ่มขึ้น เราได้รวมบ้านชั้นครึ่งที่น่าอยู่มาฝากกัน

ห้องครัวปูนเปลือยใช้งานได้จริง ให้คุณสนุกกับการทำอาหารมากกว่าที่เคย

ไอเดีย ห้องครัวปูนเปลือย ให้คุณสนุกกับการทำอาหารมากกว่าที่เคย กับห้องครัวไม่ว่าจะเป็นแพนทรี่ขนาดเล็กสำหรับเตรียมอาหาร หรือครัวครบครันสำหรับเชฟนอกเวลา

รวม 80 แบบบ้านชั้นเดียว ที่ดีที่สุด สวยที่สุด จากบ้านและสวน

รวม แบบบ้านชั้นเดียว 80 หลัง เพื่อเป็นไอเดียสำหรับผู้ชื่นชอบบ้านรูปแบบนี้ ค่อยๆชมกันไปทีละหลังเลย รับรองว่าดีไซน์สวยงามและอยู่สบาย

รวมฮิต 50 บ้านปูน สร้างง่าย อยู่สบาย ดีไซน์สวย

รวมฮิต แบบบ้านปูนน่าอยู่ ไว้ถึง 50 หลัง มีทั้งบ้านปูนชั้นเดียว บ้านปูนใต้ถุนสูง บ้านปูนกลิ่นอายไทยๆ บ้านปูนอารมณ์ฝรั่ง บ้านปูนแบบลอฟต์ๆ ฯลฯ

แก่นและแกนของความเป็นไทยในความคิดของ จูน เซคิโน

ร่วมพูดคุยหัวข้อ “ความเป็นไทย” ในมุมมองของคุณจูน เซคิโน สื่อด้วยผลงานศิลปะ Ni’ และ Shin ผลงานศิลปะ Ni’ และ Shin ซึ่งเกิดจากการประกอบกันของไม้ขนาดเล็กเป็นโครงสร้างอย่างประณีต แต่เมื่อมองในองศาที่ต่าง แสงตกกระทบที่เปลี่ยนก็จะได้ภาพที่ต่างออกไป นั่นคือ คำตอบที่ชัดเจนที่สุดของ “ความเป็นไทย” ในมุมมองของคุณจูน เซคิโน ผู้ก่อตั้ง Junsekino A+D สถาปนิกผู้ดึงคนรอบข้างที่เร่งรีบให้เดินช้าลง และพินิจกับความคิดให้มากขึ้น ช่วงเริ่มต้นการเป็นสถาปนิก บ้านในไทยมีกระแสนิยมอย่างไร ช่วงนั้นประมาณ 20 ปีก่อน กระแสบ้านสไตล์โอเรียนทัลและทรอปิคัลจะพูดถึงกันบ่อย สมัยนั้นบ้านจัดสรรโครงการต่างๆ จะทำกันมาเป็นรูปแบบซ้ำๆ ตามความคุ้นเคย แต่ยังไม่ได้ปรากฏเป็นรูปแบบที่ชัดเจน จนคนเริ่มอยากมีบ้านเดี่ยวของตัวเอง ความต้องการก็ชัดเจนขึ้น จึงจ้างสถาปนิกเพื่อช่วยนำทาง และจัดการความต้องการบ้านในแบบของเขาให้เป็นจริงขึ้น ซึ่งประกอบไปด้วยแกนหลัก 3 ส่วน คือ การใช้วัสดุ รูปแบบงานสถาปัตยกรรม และความต้องการของลูกค้า ความนิยมในการสร้างบ้านปัจจุบันเป็นอย่างไร จากลูกค้าที่เข้ามา ปัจจุบันคนต้องการความเป็นส่วนตัวมากขึ้น ความจำเพาะเจาะจงมากขึ้น ชอบความไม่เหมือนใคร ถ้าเปรียบเป็นอาหารก็ไม่ใช่ภัตตาคารหรู แต่คือ Chef Table […]

บ้านไม้อบอุ่น ชวนห้อยขาล้อมคอร์ตสีเขียว

บ้านไม้อบอุ่น อาจเป็นโจทย์ที่กว้าง ผลลัพธ์สุดท้ายอาจต่างจากบ้านทรงจั่วที่หลายคนคิดไว้แต่แรก และบ้านโมเดิร์นทรอปิคัลกลิ่นอายไทยๆ หลังนี้ ก็เช่นกัน ซึ่งสุดท้ายความสุขคือการกลิ้งตัวนั่งเล่นบนชานบ้านแห่งความสบายใจ เริ่มจากบ้านทรงจั่วสองชั้นที่เรียบง่าย ทำเลของบ้านหลังนี้อยู่ชานเมืองย่านฝั่งธนบุรี เป็นที่ดินเปล่าของครอบครัว เมื่อทางคุณอั๋นและคุณทิพ บุนนาค ต้องการสร้างบ้านใหม่ จึงมองหาสถาปนิกที่ชอบจากการติดตามผลงานที่ผ่านมา จนได้คุยกับ คุณจูน เซคิโนในตอนแรกคุณทิพย์อยากได้บ้านทรงจั่วสองชั้น ดูอบอุ่นเหมือนบ้านเก่าสมัยก่อน ไม่ได้มีความซับซ้อนหรือความต้องการอะไรมากนัก แต่หลังจากพูดคุยกันได้สักพัก คุณจูนก็เริ่มนำเสนอบ้านชั้นเดียวที่มีสวนคอร์ตยาร์ดตรงกลางให้ อยู่แบบพอดีในบ้านชั้นเดียวแสนอบอุ่น สถาปนิกมีเหตุผลในการออกแบบครั้งนี้ว่า พื้นที่จริงค่อนข้างใหญ่ และจากโจทย์การใช้งานของเจ้าของบ้านที่มีแค่สองคน จึงคิดว่าการทำบ้านชั้นเดียวน่าจะเพียงพอ ดังนั้นแนวคิดการใช้ชีวิตในบ้านแบบบ้านสมัยก่อน เช่น การนั่งเล่น การพักผ่อนหย่อนใจ จึงถูกตีความใหม่กลายเป็นชานบ้านขนาดใหญ่รับกับพื้นที่สวนสีเขียว ชานบ้านแบบลำลองด้านหลังอยู่ติดกับคลองขนาดเล็กที่กั้นหมู่บ้าน บริเวณนี้ทำชายคายื่นยาว รวมไปถึงการใช้วัสดุอย่างไม้ให้รับกับโครงบ้านสีขาว ทำให้รู้สึกเหมือนนั่งเล่นอยู่ในคาเฟ่แบบญี่ปุ่นหรือไต้หวันที่แฝงไว้ซึ่งความเรียบง่ายแบบมินิมัล สวนที่ต้นไม้ไม่ต้องเยอะ แต่ใช้งานได้จริง คอร์ตยาร์ดกลางบ้านทำหน้าที่เป็นจุดศูนย์กลางของบ้าน ทุกห้องสามารถรับวิวความสดชื่นได้ โดยการวางผังการใช้งานเป็นรูปตัวแอล (L) ล้อมไว้ ตรงกลางปลูกต้นบุนนาคเป็นไม้ประธาน เนื่องจากเป็นนามสกุลของเจ้าของบ้าน ถือเป็นไม้มงคลน่าปลูกและให้ร่มเงาได้ดี บริเวณนี้ปลูกต้นไม้ไม่ต้องเยอะ เน้นดูแลง่าย พื้นปลูกสะระแหน่ประดับโดยรอบ สวนนี้ออกแบบโดย Kaizentopia และกลายเป็นจุดนั่งเล่นของบ้าน จะนั่งบนชาน หรือนั่งห้อยขาแบบศาลาริมคลองก็ได้ขณะที่สวนด้านหลังที่ติดคลอง ทำรั้วเป็นตะแกรงช่วยบังตาและกรองแดด มีชานบ้านรับสวนส่วนนี้เช่นกัน […]

บ้านไอซ์ซึ ณัฐรัตน์ นพรัตยาภรณ์ โลกคู่ขนานที่บรรจบกันของคนกับแมว

บ้านไอซ์ซึ บ้านสไตล์ญี่ปุ่นหัวใจไทยของ ไอซ์ซึ ณัฐรัตน์ นพรัตยาภรณ์ นายแบบและนักแสดงหนุ่มมากฝีมือจากภาพยนตร์เรื่อง “One for the road”

TROP ออฟฟิศแลนด์สเคปที่สัมผัสความเขียวชอุ่มได้จากทุกมุม

TROP : terrains + open spaceออฟฟิศภูมิสถาปนิกไทยที่ออกแบบภายใต้โจทย์ว่าอยากได้อาคารให้มีความเนี้ยบ สะอาด แต่ไม่ดูเป็นระเบียบเรียบร้อยจนเกินไป

10 บ้านสวย น่าอยู่ที่มียอดเข้าชมสูงสุด ประจำปี 2021

ประกาศ 10 บ้านสวย น่าอยู่ ที่มียอดเข้าชมสูงสุดในเว็บไซต์บ้านและสวน และก็ไม่ผิดจากที่คาด เมื่อเหล่าบ้านไม้พาเหรดเข้ามายึดครองความนิยม

พลังงานและการออกแบบ เพื่อทางเลือกที่ดีกว่าในอนาคต

พลังงานเป็นแรงขับเคลื่อนทั้งในการใช้ชีวิตและการออกแบบ แต่ในสภาวะพลังงานใกล้ขาดแคลนและสิ่งแวดล้อมที่แย่ลง การออกแบบบ้านและสถาปัตยกรรมจะช่วยสร้างอนาคตที่ดีขึ้นได้อย่างไร คอลัมน์ Home Expert ร่วมกับ Solar D ชวน 2 สถาปนิกระดับแนวหน้า คุณวสุ วิรัชศิลป์ แห่งVaSLab ARCHITECTURE และ คุณจูน เซคิโน แห่ง Junsekino Architect and Design มาคุยเรื่อง พลังงานและการออกแบบว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร บ้านและไลฟ์สไตล์ในอนาคตจะเป็นอย่างไร และทางเลือกที่ดีกว่าของพลังงานสำหรับอนาคตคืออะไร พลังงานสะอาด ทางเลือกสู่ความยั่งยืน เราต่างใช้ไฟฟ้ากับทุกการใช้ชีวิต และมีแนวโน้มจะใช้มากขึ้น พลังงานแสงอาทิตย์จึงเป็นสิ่งที่เราพูดถึงและใกล้ตัวมากขึ้นเรื่อยๆ และการใช้พลังงานสะอาดกับอาคารเป็นอีกหนึ่งโจทย์จากเจ้าของแทบทุกโครงการ ในฐานะสถาปนิก เราต้องช่วยกันสร้างทางเลือกให้มากขึ้น และโน้มน้าวเจ้าของให้เห็นถึงความยั่งยืนในอนาคต พลังงานสะอาดก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่เราต้องให้ความสำคัญ โดยอาศัยความร่วมมือจากทั้งเจ้าของ ผู้ออกแบบ และผู้ผลิต ความสมดุลในการใช้พลังงาน การติดตั้งโซลาร์เซลล์ในสมัยก่อนมีค่าใช้จ่ายสูงมาก และประสิทธิภาพก็ยังต่ำ จึงต้องติดจำนวนมากเพื่อให้เพียงพอซึ่งมักเกินความคุ้มค่า จึงเลี่ยงไม่ได้ที่ยังต้องใช้พลังงานจากฟอสซิล เราทราบกันอยู่แล้วว่าทรัพยากรธรรมชาติลดน้อยลง พลังงานเริ่มขาดแคลน และการสร้างโรงผลิตไฟฟ้าก็มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมาก เราจึงต้องพิจารณาความสมดุลในการใช้พลังงานจากฟอสซิลและพลังงานสะอาด เดี๋ยวนี้มีรถ EV ให้ใช้ มีระบบโซลาร์เซลล์ที่มีประสิทธิภาพดีขึ้นมากมาเป็นทางเลือกที่ทำให้เราสร้างสมดุลการใช้พลังงานได้ พลังงาน […]

10 บ้านน่าอยู่ประจำปี 2564

เป็นประจำทุกปีที่นิตยสารบ้านและสวนจะมอบรางวัล 10 บ้านน่าอยู่ ที่มีการออกแบบได้เป็นที่ประทับใจกองบรรณาธิการนิตยสารบ้านและสวน สำนักพิมพ์บ้านและสวน และ room ซึ่งในปี 2564 นี้ ก็ถือเป็นครั้งแรกที่เราจะมีการมอบรางวัลย่อยให้แก่บ้านแต่ละหลัง โดยทั้งเจ้าของบ้านและผู้ออกแบบจะได้รับโล่รางวัลที่นิตยสารบ้านและสวนตั้งใจจัดทำขึ้นเป็นพิเศษ โดยร่วมงานกับสตูดิโอ Bope ในจังหวัดเชียงใหม่ ด้วยการนำเศษขยะพลาสติกเหลือทิ้งมาผ่านกระบวนการ Upcycle สร้างคุณค่าใหม่ให้กลายเป็นโล่รางวัลสีสวยภายใต้รูปสัญลักษณ์ของบ้านที่เรียบง่ายและสวยงามอยู่บนฐานไม้ที่ดูอบอุ่น อ่านต่อ >> เบื้องหลังการทำโล่รางวัล 10 บ้านน่าอยู่ 10 สวนสวยประจำปี 2564 ไปชมกันเลยว่ามีบ้านหลังไหน และได้รับรางวัลอะไรกันบ้าง 1. บ้านไม้แบบไทยๆ กลิ่นอายโมเดิร์นของป๊อด – ธนชัย อุชชิน เจ้าของ: คุณธนชัย อุชชิน สถาปนิก: Erix Design Concepts โดยคุณณัฐภาคย์ พัฒนาพรหมชัย บ้านหลังนี้ได้รับรางวัลอยู่อย่างไทย  แม้อาจบอกไม่ได้ว่าองค์ประกอบส่วนใดของบ้านที่แสดงตัวตนของลักษณะไทย แต่เมื่อเข้าไปสัมผัสสเปซ วิถีชีวิต และแก่นความคิด จะรู้สึกถึงกลิ่นอายแบบบ้านไม้ไทยๆที่ออกแบบตามบริบทพื้นถิ่น อยู่ร่วมกับธรรมชาติ ใช้เส้นสายที่เรียบง่ายเข้ากับยุคสมัย เสมือนเป็นศาลาโล่งซึ่งอยู่กับธรรมชาติรายรอบอย่างเป็นมิตร จนคุณป๊อดเปรียบว่าคล้ายศาลาวัด และตั้งชื่อบ้านว่า “วิลล่าสติ” […]

พื้นที่ธรรมชาติ ในบ้านทรอปิคัลโมเดิร์น ที่เปิดโปร่งสบายตา

บ้านทรอปิคัลโมเดิร์น สำหรับครอบครัวพ่อแม่ลูกหลังนี้จึงมีความพิเศษในเส้นสายที่บางเบา และมีบรรยากาศคล้ายพื้นที่เอ๊าต์ดอร์ แม้จะอยู่ภายในบ้านก็ตาม ตอบรับกับแสงแดดและสายลมธรรมชาติอย่างพอดิบพอดี โดยบริษัทสถาปนิกที่รับหน้าที่รังสรรค์โจทย์นี้ได้อย่างลงตัวและน่าสนใจก็คือ Junsekino Architect and Design นั่นเอง ด้วยความที่คุณเติร์ท-ศักรภพน์ และคุณโจ-บุญสิตา จารยะพันธุ์ เจ้าของบ้านทำอาชีพเกี่ยวกับการบิน จึงทำให้โจทย์ของบ้านหลังนี้เริ่มต้นที่ความเบาสบายและกลมกลืนไปกับธรรมชาติตามสไตล์ที่อยากสร้างให้เป็นพื้นที่ซึ่งสื่อแทนความเป็นตัวเองอย่างแท้จริง ทั้งยังต้องดูแลรักษาได้ง่ายและสามารถมองเห็นกันและกันได้จากทุกจุดภายในบ้าน การจัดวางพื้นที่ภายในบ้านหลังนี้จึงใช้พื้นที่ส่วนกลางที่เป็นดับเบิ้ลวอลลุ่มสร้างเป็นพื้นที่หลัก จากหน้าบ้านนั้น เมื่อเดินผ่านพื้นที่จอดรถและประตูหน้าบ้านเข้ามา จะพบกับโถงบันไดที่มองเห็นต้นซิลเวอร์โอ๊คโดดเด่นอยู่กลางบ้าน ก่อนจะหันกลับไปพบกับพื้นที่หลักของบ้านที่เป็นทั้งพื้นที่นั่งเล่น ทานข้าว และห้องครัว ต่อเนื่องเชื่อมโยงกันเป็นพื้นที่เดียวแบบดับเบิ้ลสเปซ โดยมีทางเชื่อมไปยังบ้านเดิมที่ฝั่งซ้าย และสระว่ายน้ำที่อยู่ติดกับต้นซิลเวอร์โอ๊คที่ฝั่งขวา จนเมื่อขึ้นไปยังชั้น 2 บ้าน จะเป็นห้องนอน 3 ห้อง และทางเชื่อมออกไปยังระเบียงขนาดใหญ่ที่หน้าบ้าน ซึ่งพื้นที่ทั้งหมดนี้ถูกห่อหุ้มอยู่ในฟาซาดเหล็กฉีก ซึ่งทั้งเป็นส่วนกรองแสงแดดและสร้างความปลอดภัยให้กับพื้นที่ในบ้านไปในตัว ความโดดเด่นของพื้นที่ภายในบ้านหลังนี้คือการออกแบบที่ใส่ใจกับแสงธรรมชาติและการเปิดรับลมให้ไหลผ่านบ้านอย่างพอดี การวางองค์ประกอบต่าง ๆ ในบ้านจึงต้องออกแบบให้เป็นเส้นสายที่บางเบาของบ้านออกแบบเพื่อสร้างให้อาคารนั้นไม่ปิดกั้นผู้อยู่อาศัยกับธรรมชาติโดยรอบ ซึ่งนอกจากมุมมองแล้ว ยังมีการเปิดรับแสงธรรมชาติผ่านสกายไลท์ในหลายส่วน รวมทั้งการใช้เหล็กปรุเป็น ฟาซาด โดยรอบบ้านที่ช่วยกรองแสงแดดให้เบาบางลง แต่ไม่ปิดกั้นลมที่ไหลเวียน สร้างให้เกิดบรรยากาศที่มีชีวิตชีวาให้กับบ้านในแบบ ทรอปิคัลโมเดิร์นอย่างพอดี พื้นที่ส่วนกลางที่เชื่อมโยงกับบ้านเดิม ทางด้านซ้ายของบ้านหลังนี้คือบ้านเดิมที่พ่อและแม่ของคุณเติร์ท ยังอาศัยอยู่ การออกแบบระเบียงรอบบ้านจึงไม่ใช่เพียงพื้นที่ที่ร่นเข้ามาเพื่อสร้างระยะชายคาที่พอดีกับร่มเงา เปรียบเสมือนหน้าบ้านอีกฝั่งหนึ่งที่เชื่อมโยงยุคสมัยของครอบครัวเข้าหากัน โดยที่หน้าบ้านฝั่งนี้จะตั้งอยู่ในแกนเดียวกับโต๊ะทานข้าว และสระว่ายน้ำ […]

รีโนเวตบ้านเก่า 80 ปี มาเป็น บ้านโนบิตะ แสนอบอุ่น

บ้านเก่าที่ทรุดโทรม น้ำท่วม แคบ มืดทึบ และเพดานต่ำ กลายร่างมาเป็นบ้านน่ารักๆ จนมีชื่อเรียกเล่นๆ ว่า บ้านโนบิตะ ที่มีสวนญี่ปุ่นอันร่มรื่นได้อย่างไร เรามาดูความเป็นไปและแนวทางการรีโนเวทบ้านเก่าหลังนี้กันเลย

รวมบ้านโมเดิร์นที่อบอวลไปด้วยกลิ่นอายญี่ปุ่น

ชมงานสถาปัตยกรรมโมเดิร์นแบบญี่ปุ่นเที่น้อยแต่มาก ซึ่งเป็นไอเดียการออกแบบ บ้านโมเดิร์นกลิ่นอายญี่ปุ่น เหล่านี้กันได้เลย

TIDA Awards 2019 13 รางวัล กับ 11 ผลงานออกแบบตกแต่งภายในที่ดีที่สุดของเมืองไทย

TIDA Awards กลับมาอีกครั้งกับการประกาศรางวัลการออกแบบตกแต่งภายใน ประจำปี พ.ศ. 2562 โดยสมาคมมัณฑนากรแห่งประเทศไทย ซึ่งได้ เริ่มจัดขึ้นมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2553 เพื่อให้เป็นไปตามแนวทางของสมาคมฯในการสร้างสรรค์ความเจริญงดงามทางด้านสถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนศิลป์ เพื่อรักษาอารยธรรมของชาติ ทั้งเสริมสร้าง และสนับสนุน ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของบุคลากรสายวิชาชีพทั้งในและนอกสมาคมฯ อ่าน : 10 MUST VISIT PLACES IN TAIWAN และแน่นอนที่ room ไม่พลาดจะนำผลงานน่าสนใจทั้ง 11 ผลงาน จาก 13 รางวัล มาอวดโฉมให้ผู้อ่านทุกท่านได้ชมกัน มีทั้งร้านอาหารและโรงแรมที่น่าสนใจมากมาย รวมทั้ง Office Space ดี ๆ หลากหลาย จะมีที่ใดบ้าง เลื่อนไปดูกันต่อได้เลย Best of Residential Design “Twisted House “ by Architect 49 House Design (A49HD) บ้านชานเมืองในรูปทรงเลขาคณิตที่แวดล้อมไปด้วยต้นฉำฉา […]