DHY HOUSE เท่อย่าง บ้านคอนกรีต อยู่สบายอย่าง บ้านทรอปิคัล

บ้านคอนกรีต ของนักออกแบบแฟชั่นชาวบ้านเวียดนาม ที่แอบซ่อนพื้นที่ชีวิตไว้หลังผนังคอนกรีต กับบ้านที่เปิดต้อนรับลมและสวนเขียวขจี ความพิเศษของ บ้านคอนกรีต หลังนี้ คือการแบ่งพื้นที่ออกเป็นสองส่วนหลัก คือมีร้านกาแฟอยู่ในส่วนหน้าบ้านซึ่งเปิดเป็นแบบ Private coffee shop ก่อนจะคั่นแบ่งด้วยผนังคอนกรีตสูงตระหง่าน มีช่องประตูไม้เล็ก ๆ พาเดินเข้าสู่พื้นที่ของบ้านพักที่ปิดล้อมมิดชิด ก่อนจะค่อย ๆ เผยให้พบกับพื้นที่ชีวิตที่ส่งเสริมการระบายอากาศตามธรรมชาติ พร้อมพื้นที่สีเขียวเล็ก ๆ ที่แซมด้วยร่มเงาของต้นไม้ ช่วยในเรื่องการไหลเวียนของอากาศ ทำให้มั่นใจได้ว่าพื้นที่ใช้สอยทั้งหมดของบ้านจะเย็นสบาย แม้ในวันที่มีอากาศร้อนที่สุด เป็นงานออกแบบที่ตอบรับโจทย์การใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่ ไปพร้อมกับบ้านดีไซน์โมเดิร์นทันสมัยแปลกตาด้วยรูปทรงแบบเรขาคณิต แต่กลับส่งเสริมคุณภาพชีวิตด้วยแนวคิดตามวิถีทรอปิคัล ผลงานออกแบบโดย AHL Architects ที่มีแรงบันดาลใจการดีไซน์มาจากรูปทรงของ Japanese knot bag หรือถุงผ้าแบบคล้องมือสไตล์ญี่ปุ่น เน้นแนวคิดการปรับตัวทางสถาปัตยกรรมเพื่อให้บ้านโมเดิร์นยุคใหม่ เข้ากับสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้นที่สัมพันธ์อย่างยิ่งกับการใช้ชีวิต โดยใช้เทคนิคต่าง ๆ มาช่วย อาทิ การวางตำแหน่งของบ้านเพื่อรับลม ออกแบบระเบียงให้มีขนาดกว้าง ใช้ระแนง กำแพงขนาดหนาเพื่อกันความร้อน และการปลูกต้นไม้เพื่อสร้างร่มเงา ผสานกับองค์ประกอบของวัสดุที่มาจากธรรมชาติอย่างไม้เพื่อให้บ้านมีความอบอุ่น แนวคิดเรื่องพื้นที่กันชนได้รับการถ่ายทอดผ่านการออกแบบพื้นที่ระเบียงบ้านทั้งลึกและมีขนาดใหญ่ เป็นวิธีที่สถาปนิกเล่าว่า เขาได้หยิบยกมาจากภูมิปัญญาการสร้างบ้านดั้งเดิมของเวียดนาม ก่อนที่จะมีเครื่องปรับอากาศ หรือพัดลมเข้ามาใช้งานในชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งลักษณะพิเศษของบ้านพื้นถิ่นของเวียดนามเหนือ กับการสร้างบ้านส่วนใหญ่ให้มีระเบียงขนาดกว้างคอยทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้แสงแดดส่องเข้ามาถึงภายในโดยตรง […]

พื้นที่ธรรมชาติ ในบ้านทรอปิคัลโมเดิร์น ที่เปิดโปร่งสบายตา

บ้านทรอปิคัลโมเดิร์น สำหรับครอบครัวพ่อแม่ลูกหลังนี้จึงมีความพิเศษในเส้นสายที่บางเบา และมีบรรยากาศคล้ายพื้นที่เอ๊าต์ดอร์ แม้จะอยู่ภายในบ้านก็ตาม ตอบรับกับแสงแดดและสายลมธรรมชาติอย่างพอดิบพอดี โดยบริษัทสถาปนิกที่รับหน้าที่รังสรรค์โจทย์นี้ได้อย่างลงตัวและน่าสนใจก็คือ Junsekino Architect and Design นั่นเอง ด้วยความที่คุณเติร์ท-ศักรภพน์ และคุณโจ-บุญสิตา จารยะพันธุ์ เจ้าของบ้านทำอาชีพเกี่ยวกับการบิน จึงทำให้โจทย์ของบ้านหลังนี้เริ่มต้นที่ความเบาสบายและกลมกลืนไปกับธรรมชาติตามสไตล์ที่อยากสร้างให้เป็นพื้นที่ซึ่งสื่อแทนความเป็นตัวเองอย่างแท้จริง ทั้งยังต้องดูแลรักษาได้ง่ายและสามารถมองเห็นกันและกันได้จากทุกจุดภายในบ้าน การจัดวางพื้นที่ภายในบ้านหลังนี้จึงใช้พื้นที่ส่วนกลางที่เป็นดับเบิ้ลวอลลุ่มสร้างเป็นพื้นที่หลัก จากหน้าบ้านนั้น เมื่อเดินผ่านพื้นที่จอดรถและประตูหน้าบ้านเข้ามา จะพบกับโถงบันไดที่มองเห็นต้นซิลเวอร์โอ๊คโดดเด่นอยู่กลางบ้าน ก่อนจะหันกลับไปพบกับพื้นที่หลักของบ้านที่เป็นทั้งพื้นที่นั่งเล่น ทานข้าว และห้องครัว ต่อเนื่องเชื่อมโยงกันเป็นพื้นที่เดียวแบบดับเบิ้ลสเปซ โดยมีทางเชื่อมไปยังบ้านเดิมที่ฝั่งซ้าย และสระว่ายน้ำที่อยู่ติดกับต้นซิลเวอร์โอ๊คที่ฝั่งขวา จนเมื่อขึ้นไปยังชั้น 2 บ้าน จะเป็นห้องนอน 3 ห้อง และทางเชื่อมออกไปยังระเบียงขนาดใหญ่ที่หน้าบ้าน ซึ่งพื้นที่ทั้งหมดนี้ถูกห่อหุ้มอยู่ในฟาซาดเหล็กฉีก ซึ่งทั้งเป็นส่วนกรองแสงแดดและสร้างความปลอดภัยให้กับพื้นที่ในบ้านไปในตัว ความโดดเด่นของพื้นที่ภายในบ้านหลังนี้คือการออกแบบที่ใส่ใจกับแสงธรรมชาติและการเปิดรับลมให้ไหลผ่านบ้านอย่างพอดี การวางองค์ประกอบต่าง ๆ ในบ้านจึงต้องออกแบบให้เป็นเส้นสายที่บางเบาของบ้านออกแบบเพื่อสร้างให้อาคารนั้นไม่ปิดกั้นผู้อยู่อาศัยกับธรรมชาติโดยรอบ ซึ่งนอกจากมุมมองแล้ว ยังมีการเปิดรับแสงธรรมชาติผ่านสกายไลท์ในหลายส่วน รวมทั้งการใช้เหล็กปรุเป็น ฟาซาด โดยรอบบ้านที่ช่วยกรองแสงแดดให้เบาบางลง แต่ไม่ปิดกั้นลมที่ไหลเวียน สร้างให้เกิดบรรยากาศที่มีชีวิตชีวาให้กับบ้านในแบบ ทรอปิคัลโมเดิร์นอย่างพอดี พื้นที่ส่วนกลางที่เชื่อมโยงกับบ้านเดิม ทางด้านซ้ายของบ้านหลังนี้คือบ้านเดิมที่พ่อและแม่ของคุณเติร์ท ยังอาศัยอยู่ การออกแบบระเบียงรอบบ้านจึงไม่ใช่เพียงพื้นที่ที่ร่นเข้ามาเพื่อสร้างระยะชายคาที่พอดีกับร่มเงา เปรียบเสมือนหน้าบ้านอีกฝั่งหนึ่งที่เชื่อมโยงยุคสมัยของครอบครัวเข้าหากัน โดยที่หน้าบ้านฝั่งนี้จะตั้งอยู่ในแกนเดียวกับโต๊ะทานข้าว และสระว่ายน้ำ […]

บ้านทรอปิคัลโมเดิร์นที่ออกแบบด้วยแนวคิด “เรือนหมู่”

บ้านทรอปิคัลโมเดิร์นสำหรับครอบครัวขยายที่รีโนเวตและสร้างบ้านใหม่ต่อจากบ้านเดิม โดยออกแบบเผื่อลูกหลานมีครอบครัวของตัวเอง และอยู่ร่วมบ้านเดียวกับคุณพ่อคุณแม่ได้ ซึ่งเป็นแนวคิดเดียวกับ “เรือนหมู่” ของคนไทยโบราณ แต่ซ่อนรูปอยู่ในบ้านร่วมสมัยที่ออกแบบด้วยดีเทลและวัสดุสมัยใหม่ DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: Space Story Studio ครอบครัวขยายเป็นวิถีของคนไทยในทุกยุคสมัย แต่กาลก่อนเมื่อลูกสาวมีครอบครัว ฝ่ายชายจะย้ายมาอยู่บ้านฝ่ายหญิง โดยปลูกเรือนเชื่อมต่อกับชานเรือนพ่อแม่ หรือปลูกเรือนอยู่ในบริเวณเดียวกัน มีลักษณะแบบ “เรือนหมู่” ที่เดินไปมาหาสู่และพึ่งพากันได้สะดวก เช่นเดียวกับ บ้านทรอปิคัลโมเดิร์น หลังนี้ ที่ดูภายนอกไม่ต่างจากบ้านทั่วไป แต่ภายในกลับซ่อนสเปซแบบเรือนหมู่ ซึ่งออกแบบเผื่อการมีครอบครัวของลูกหลานและรองรับการรวมญาติในแต่ละสัปดาห์ได้อย่างสะดวกสบาย จากครอบครัวเดี่ยวสู่ครอบครัวขยาย ภายในพื้นที่ 200 ตารางวานี้ เดิมมีบ้านสองชั้นอายุประมาณ 20 ปีซึ่งโครงสร้างหลักยังแข็งแรงดี แต่เมื่อครอบครัวที่มีคุณพ่อ คุณแม่ คุณตา คุณยาย และลูก 3 คน ที่เติบโตจนสำเร็จการศึกษาและพร้อมสร้างครอบครัวของตนเอง จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการทำบ้านแบบครอบครัวขยาย โดยมีโจทย์สำหรับสถาปนิกคือ เป็นบ้านที่ทุกคนยังสามารถอยู่รวมกันได้ในบริเวณเดียวกัน โดยยังพื้นที่ส่วนตัวและดูแลบุคคลที่อยู่ร่วมกันภายในบ้านได้ทั่วถึง รวมทั้งรองรับญาติมิตรที่มาเยี่ยมเยียนได้อย่างเหมาะสมในทุกช่วงเวลา การแยกเพื่อรวมกัน บ้านทรอปิคัลโมเดิร์น รูปตัวแอล (L) เปิดคอร์ตด้านหน้าเป็นสระว่ายน้ำ และเปิดโล่งถึงภายในบ้านที่มีทางเดินและชานเชื่อมอาคารสองหลังเข้าด้วยกัน คุณท็อป-พิพล ลิขนะไพศาล […]

บ้านทรอปิคัลโมเดิร์นที่เรืองแสงได้ดั่งหิ่งห้อย

“บ้านหิ่งห้อย” เป็นชื่อที่สถาปนิกตั้งให้บ้านหลังคาทรงจั่วสีขาวที่ผสมผสานความเป็นไทยและโมเดิร์นหลังนี้ ซึ่งโดดเด่นด้วยหลังคาอะลูมิเนียมเจาะรูให้โปร่ง แล้วออกแบบไฟแสงสว่างไว้ภายในหลังคาให้เรืองแสงในยามค่ำคืน แต่ภายใต้รูปทรงที่ดูเรียบง่ายนี้ ได้ให้ความสำคัญกับการออกแบบที่สอดคล้องกับภูมิอากาศเขตร้อนชื้นและความเป็นธรรมชาติซึ่งเป็นหัวใจที่ทำให้บ้านอยู่สบาย บ้านไทย Designer directory : ออกแบบ EAST architect  www.eastarchitects.com  บ้านไทย เจ้าของ คุณธนวัสส์ ยงค์สงวนชัย จุดบรรจบของวัฒนธรรมตะวันออกและตะวันตก เมื่อความ “ต่างขั้ว” ถูกตีความให้เป็นทั้งความย้อนแย้ง การผสมผสาน และความงาม โดยเผยตัวตนและแฝงความนัยอยู่ภายใต้บ้านรูปทรงจั่วสีขาวโมเดิร์นและไทยเดิมสองหลังที่วางแนวแกนตัดกันอยู่กลางที่ดิน โดยไม่อิงกับแนวถนนหรือแนวขอบเขตที่ดิน แต่อิงกับทิศทางแสงแดดและลมเพื่อให้บ้านอยู่สบายตามธรรมชาติ เป็นหลักการออกแบบพื้นฐานของสถาปนิกที่ให้คำจำกัดความตัวเองว่า “สถาปนิกแห่งป่าฝนร้อนชื้น” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พิรัส พัชรเศวต และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สยาณี วิโรจน์รัตน์ แห่ง EAST architect ที่ออกแบบบ้านทรอปิคัลโมเดิร์นหลังนี้ให้เป็นจุดบรรจบของวัฒนธรรมตะวันออกและตะวันตก ในมิติของภูมิปัญญาดั้งเดิมและความโมเดิร์น บ้านหลังใหม่ที่แยกจากครอบครัวใหญ่ ก่อนจะสร้างบ้านนี้เจ้าของบ้านอยู่กันเป็นครอบครัวใหญ่ เมื่อพื้นที่บ้านเดิมเริ่มไม่เพียงพอกับสมาชิก คุณแม่จึงยกที่ดิน 2 ไร่แปลงนี้สำหรับปลูกบ้านใหม่ และด้วยเจ้าของบ้านเป็นแฟนนิตยสาร บ้านและสวน จึงได้พบและชื่นชอบบ้านของอาจารย์พิรัสที่ลงในนิตยสาร อาจารย์พิรัสได้เล่าย้อนไปเมื่อเริ่มออกแบบบ้านว่า “เจ้าของบ้านได้บอกเล่าความต้องการเป็นจดหมายเล่าเรื่องว่า เมื่อเข้ามาในบ้านแล้วอยากพบเจออะไร ชอบอยู่แบบใกล้ชิดธรรมชาติ มีความโปร่งสบายเย็นโดยไม่ต้องเปิดแอร์ […]

อยู่กับลมและแสงใน บ้านทรอปิคัล ที่พอดี

บ้านทรอปิคัล เปิดโล่งด้วยผนังกระจกสลับกับระแนงไม้เพื่อช่วยกรองแสง พร้อมกับชายคาที่ยื่นยาวเพื่อป้องกันฝน เน้นการดีไซน์แบบ Passive

บ้านทรอปิคัล ณ เกาะพะงัน

“ บ้านทรอปิคัล ” เป็นคำที่คุณเข็มนิยามถึงบ้านหลังนี้ บ้านไม้ซึ่งปลูกเป็นแนวยาวจากหน้าบ้านสู่หลังบ้าน ยกเพดานสูง มีพื้นที่เปิดถึงกันหมดตั้งแต่ห้องรับแขก โถงบันได ครัว ออกไปสู่นอกชานและยาวลงทะเลไปเลย

30 แบบบ้านเดี่ยวชั้นเดียว อยู่แล้วใจฟู

ชม แบบบ้านเดี่ยวชั้นเดียว ซึงออกแบบให้อยู่ได้อย่างสะดวกสบาย มีบริเวณสำหรับเติมฟังก์ชันใช้สอยที่ชื่นชอบ เป็นบ้านที่อยู่แล้วมีความสุขในทุกวัน

รวม แบบบ้านสองชั้น หลากหลายสไตล์ สวย มีเอกลักษณ์

แบบบ้านสองชั้น ทั้ง 50 หลังนี้ มีดีไซน์ที่แตกต่างกันไป แต่ทุกหลังออกแบบได้อย่างมีเอกลักษณ์ และสามารถอยู่อาศัยได้อย่างสะดวกสบาย

ทำแบบนี้แล้ว บ้านประหยัดพลังงาน จริงไหม?

มาดู 8 เรื่องที่เราเข้าใจว่าทำให้ บ้านประหยัดพลังงาน มากขึ้น แต่นั่นอาจไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องทั้งหมด มาไขข้อสงสัยว่าทำแบบนี้แล้วประหยัดพลังงานขึ้นจริงหรือไม่ 1.ติดฉนวนป้องกันความร้อนเข้าบ้านแล้ว ภายในบ้านจะไม่ร้อน ความเข้าใจ : ถ้าติดฉนวนกันความร้อนและใช้วัสดุกันความร้อนที่หลังคาและผนังทั้งบ้านแล้ว ในบ้านจะต้องเย็นสิ ข้อเท็จจริง : แน่นอนว่าการติดฉนวนกันความร้อนทั้งที่ผนังและหลังคาเป็นการช่วยลดความร้อนเข้าสู่ตัวบ้านได้อย่างดี เพราะวัสดุฉนวนจะลดการถ่ายเทความร้อนจากภายนอกเข้าสู่ตัวบ้าน ทั้งยังช่วยกักเก็บความเย็นภายในบ้านได้ดี ซึ่งปกตินิยมมาติดบริเวณผนังและหลังคาบ้าน แต่บ่อยครั้งพบว่าเมื่อกลับเข้าบ้านช่วงเย็น บ้านก็ยังร้อนอยู่ เนื่องจากฉนวนจะป้องกันความร้อนได้อย่างเต็มที่ก็ต่อเมื่อภายในห้องนั้นเป็นพื้นที่ปิดทั้งหมด แต่ในบ้านปกติจะมีหน้าต่าง ช่องแสง และส่วนประกอบอาคารที่มีความเป็นฉนวนน้อย และตัวฉนวนเองก็กันความร้อนไม่ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ยังเป็นจุดที่นำพาความร้อนของแสงแดดเข้ามาได้ และกลายเป็นความร้อนสะสมอยู่ภายในบ้านตลอดทั้งวัน ทั้งยังระบายความร้อนออกไปได้ยากเนื่องจากมีฉนวนกั้นอยู่ จนเกิดเป็นปรากฏการณ์กระติกน้ำร้อน (Thermal  Flask Effect) อีกทั้งในช่วงเวลากลางวันเมื่อไม่มีคนอยู่ก็จะปิดหน้าต่างทุกบาน ส่งผลให้ความร้อนอบอ้าวสะสมอยู่ภายใน คล้ายกับการเกิดสภาวะเรือนกระจก บ้านประหยัดพลังงาน วิธีประหยัดพลังงานที่ดี : ควรใช้ฉนวนกันความร้อน ร่วมกับการระบายความร้อนสะสมในบ้านซึ่งทำได้หลายวิธี คือ ระบายความร้อนสะสมออก ด้วยการแง้มหน้าต่างเพื่อให้อากาศร้อนระบายออกได้เอง การติดระบบระบายอากาศเพื่อดูดอากาศร้อนออก ลดความร้อนที่เข้ามาทางช่องเปิด ด้วยการติดฟิล์มกันความร้อน ติดม่านกันความร้อน หรือบังแดดให้ช่องเปิดด้วยการทำกันสาดหรือปลูกต้นไม้ 2.ใช้กระจกกันความร้อนแล้ว ไม่จำเป็นต้องทำแผงบังแดด ความเข้าใจ : ลงทุนใช้กระจกฉนวน ไม่ต้องทำชายคาบังแดดหรือแผงบังแดด […]

รีโนเวตบ้านจัดสรร กลิ่นอายทรอปิคัลรองรับวิถีชีวิตในทุกฤดู

รีโนเวตบ้านจัดสรร กลิ่นอายทรอปิคัล โดยความงามของบ้านหลังนี้เกิดจากการพยายามใกล้ชิดกับธรรมชาติให้มากที่สุด ทั้งแสงแดดพอเหมาะ ลมที่ไหลเวียนได้ดี และสวนสีเขียวที่สามารถเข้าถึงได้จากทุกมุมห้อง

Dot. House บ้านที่เริ่มจากจุดเล็กๆที่ไม่ธรรมดา

บ้านทรอปิคัลโมเดิร์นหลังคาจั่ว ที่ออกแบบชั้นล่างเป็นแกลเลอรี่โชว์ของแต่งบ้านวินเทจ ให้ลูดค้านัดเข้ามาเลือกดูของวินเทจในบ้านได้แบบเป็นกันเอง

รวม แบบบ้านโมเดิร์นทรอปิคัล อยู่สบายสไตล์บ้านเมืองร้อน

แบบบ้านโมเดิร์นทรอปิคัล นั้นเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของบ้านที่ออกแบบได้สอดคล้องกับสภาพอากาศแบบบ้านเราที่ทั้งร้อนและฝนตกชุก