ซื้อ บ้านน็อคดาวน์ – บ้านสำเร็จรูปต้องรู้อะไร

การซื้อ บ้านน็อคดาวน์ หรือสร้างบ้านสำเร็จรูป เจ้าของบ้านต้องเตรียมอะไรบ้าง มีข้อจำกัดเรื่องใด ข้อสัญญาส่วนไหนที่ควรรอบคอบ

กำจัดยุง ด้วยวิธีชีวภาพและเคมีอย่างปลอดภัย

ยุงเป็นต้นเหตุของโรคระบาด รบกวนการอยู่อาศัยและใช้ชีวิตของคนมาอย่างต่อเนื่อง เราไม่อาจ กำจัดยุง ให้หมดสิ้นได้ แต่สามารถควบคุมปริมาณยุงได้ ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน Research & Innovation for Sustainability Center (RISC) ได้ศึกษาวิธีการ กำจัดยุง และควบคุมประชากรยุงในหลายมิติทั้งทางกายภาพ ทางเคมี และทางชีวภาพ เพื่อนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมแต่ละกรณีได้อย่างปลอดภัย เพื่อช่วยสร้างคุณภาพชีวิตการอยู่อาศัยให้มีสุขภาวะที่ดี ยุงต้นเหตุโรคระบาด ยุง หนึ่งในสิ่งมีชีวิตที่เป็นต้นเหตุของโรคระบาดที่มีความรุนแรง โรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหะทำให้ประชากรกว่า 1 ล้าน ยุง หนึ่งในสิ่งมีชีวิตที่เป็นต้นเหตุของโรคระบาดที่มีความรุนแรง โรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหะทำให้ประชากรกว่า 1 ล้านคนทั่วโลกเสียชีวิตทุกปี เช่น โรคไข้เลือดออก ไข้มาลาเรีย เชื้อไวรัสซิกา โรคติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา และโรคไข้สมองอักเสบ ในประเทศไทยมีจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกและไข้มาลาเรียในหลายปีที่ผ่านมาจำนวนมาก จากข้อมูลงานวิจัยของสำนักระบบาดวิทยา กรมควบคุมโรค พบว่า ในปี 2557- 2561พบผู้ป่วยไข้เลือดอออก ประมาณ 390,848 ราย เสียชีวิต 438 ราย พบผู้เสียชีวิตสูงที่สุดในปี พ.ศ. 2558 ทั้งหมด147 ราย รองลงมาในปีพ.ศ. 2561 ทั้งหมด 115 […]

บ้านภูมิปัญญาไทย ออกแบบด้วยแนวคิด Low Cost Solution

บ้านไทยสมัยใหม่ บ้านไม้ครึ่งปูนใต้ถุนสูง สะท้อนภูมิปัญญาไทยและวิถีชีวิตที่อยู่กับธรรมชาติอย่างพึ่งพา ออกแบบด้วยแนวคิด Low Cost Solution

วัสดุก่อสร้าง-ตกแต่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ปลอดภัยต่อสุขภาพ

รวม 30 วัสดุก่อสร้างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และปลอดภัยต่อสุขภาพ ที่กำลังเป็นเทรนด์การสร้างบ้านในอนาคต มีอะไรบ้างมาดูกัน โดยดูจากส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ รวมถึงการผ่านมาตรฐานต่างๆด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ เช่น การรับรองฉลากเขียวของสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ฉลากลดคาร์บอนฟุตพรินต์ของผลิตภัณฑ์ หรือฉลากลดโลกร้อนขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ซึ่งเมื่อใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านมาตรฐานต่างๆ รวมถึงมาตรฐานของแต่ละผู้ผลิตสินค้า เช่น มาตรฐาน Jorakay Green Products ฉลาก SCG Green Choice เป็นต้น จะสามารถนำไปใช้ประกอบการขอรับรองมาตรฐานอาคารเขียว หรือมาตรฐาน LEED และ WELL Building Standard ได้ เราจึงรวมผลิตภัณฑ์ที่ผลิตอย่างใส่ใจสิ่งแวดล้อมและปลอดภัยต่อสุขภาพมาฝากกัน วัสดุก่อสร้างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม วัสดุพื้น ผนัง หลังคา คอนกรีตบล็อกน้ำหนักเบาของ EKOBLOKลดความร้อน ผลิตจากวัสดุรีไซเคิลกว่า 50% นวัตกรรมคอนกรีตบล็อกน้ำหนักเบาที่ผลิตจากปูนซีเมนต์ เถ้าลอยจากโรงไฟฟ้าชีวมวล และหินเกล็ดเล็ก ใช้วัสดุรีไซเคิลเป็นส่วนผสมมากกว่า 50%โดยน้ำหนัก ประหยัดพลังงานในกระบวนการผลิต มีคุณสมบัติการนำความร้อนน้อย ช่วยประหยัดพลังไฟฟ้าในอาคาร น้ำหนักเบาเทียบเท่าคอนกรีตมวลเบา ประหยัดโครงสร้างรับน้ำหนัก และสะดวกในการขนส่ง วัสดุมีความหนาแน่นพอเหมาะกับการใช้งานในที่ชื้นได้ และรับน้ำหนักแขวนบนผนังได้ดี […]

เครื่องสูบน้ำ ปั๊มน้ำ มีกี่ประเภท

เครื่องสูบน้ำและปั๊มน้ำ สำหรับใช้งานในบ้านพักอาศัยมีหลายประเภท ซึ่งเหมาะกับการใช้งานแตกต่างกัน โดยแบ่งตามการใช้งานได้ดังนี้ 1.ปั๊มน้ำอัตโนมัติ นิยมใช้ในบ้านพักอาศัยมากที่สุด ทำงานตามการเปิดปิดอุปกรณ์ที่ใช้น้ำ จึงมีความสะดวกสบาย มี 3 ประเภทให้เลือกใช้ เครื่องสูบน้ำและปั๊มน้ำ ปั๊มอัตโนมัติชนิดมีถังแรงดัน ปั๊มชนิดนี้ให้แรงดันดีมาก มีราคาถูก อะไหล่หาง่าย ปัญหาที่พบบ่อยคือ ถังแรงดันผุกร่อนในระยะเวลา 10 ปี และ กินไฟมาก ปั๊มอัตโนมัติชนิดแรงดันคงที่ มีข้อดีในการรักษาแรงดันน้ำให้แรงเท่าๆกันทุกก๊อก แม้ว่าจะเปิดใช้งานหลายก๊อกพร้อมกัน เสียงในขณะทำงานจะเบากว่าชนิดแรก แต่แรงดันน้ำจะไม่แรงเท่า ปั๊มอัตโนมัติชนิดแรงดันคงที่อินเวอร์เตอร์ หน้าตาจะดูเหมือนกับปั๊มชนิดที่ 2 แต่ได้เพิ่มเติมระบบอินเวอร์เตอร์ เพื่อประหยัดพลังงานไฟฟ้า ทำให้ขณะใช้งานน้ำน้อยก็จะกินไฟน้อยตามสัดส่วน 2.ปั๊มน้ำกึ่งอัตโนมัติ  คล้ายกับปั๊มน้ำอัตโนมัติ แต่จะต้องเปิดปิดเครื่องเองตามการใช้งาน 3. ปั๊มหอยโข่ง เหมาะสำหรับการดึงน้ำหรือสูบน้ำมาเก็บใส่ถังเก็บน้ำบนอาคาร ถังเก็บน้ำสำหรับการเกษตร มีกำลังส่งสูง จึงสามารถสูบน้ำได้ปริมาณมาก และไปได้ไกล เปิดใช้ต่อเนื่องได้นาน และไม่เป็นระบบอัตโนมัติ เครื่องสูบน้ำและปั๊มน้ำ 4.ปั๊มน้ำแบบจุ่ม มักเรียกกันว่า ปั๊มจุ่ม ปั๊มแช่ หรือ ไดโว่ ใช้สำหรับสูบน้ำระบายทิ้ง ระบายน้ำท่วม เช่น บ่อรับน้ำ […]

บ้านสีขาวโมเดิร์น ดีไซน์ที่ไม่เป็นภาระเมื่อเข้าวัยเกษียณ

บ้านสีขาวโมเดิร์น ที่ออกแบบสำหรับหลังเกษียณ เน้นความอยู่สบาย และเป็นบ้านที่ดูแลง่าย ไม่เป็นภาระกับเจ้าของบ้านในอนาคต เมื่อมีอายุมากขึ้น ไอเดียแรกเริ่มเจ้าของบ้านอยากได้บ้านหลังเล็กๆชั้นเดียวบนที่ดินเปล่าขนาดประมาณ 1 ไร่ (ย่านศาลายา)  เพื่อใช้เป็นบ้านตากอากาศวันเสาร์-อาทิตย์ในยามที่แวะเวียนมาตีกอล์ฟ และยังเหลือพื้นที่ว่างให้ลูกๆได้ปลูกบ้านกันได้ในอนาคต  แต่เมื่อได้คุยกับ คุณพิมจันทร์ วิมุกตานนท์ แห่ง THK Design and Solutions  Co.,Ltd. ซึ่งนำเสนอแนวทางการออกแบบมาให้หลายออฟชัน จนมาถูกใจและกลายเป็นบ้านสองชั้นพื้นที่ใช้สอย 650 ตารางเมตรหลังนี้ ที่มีพร้อมทุกอย่างสำหรับทุกคนได้มาพักผ่อนร่วมกัน บ้านสีขาวโมเดิร์น สร้างกรอบและมุมมอง บ้านตั้งอยู่ในโครงการของสนามกอล์ฟ ด้านหนึ่งติดถนนและอีกด้านติดสนามกอล์ฟซึ่งมีฉากหลังเป็นคุ้งน้ำกว้าง ล้อมด้วยทิวไม้และสนามหญ้าเขียวขจี ให้ทั้งความรู้สึกสงบ ร่มรื่น แต่ก็มีชีวิตชีวา ด้วยกีฬาตีกอล์ฟนั้นเป็นกิจกรรมโปรดของครอบครัว บรรยากาศที่สวยงามจึงเป็นจุดเด่นของพื้นที่ และนำมาเป็นแนวคิดหลักของบ้านที่อยากให้มองเห็นวิวเสมือนภาพในเฟรม และเป็นฉากให้แต่ละห้อง จึงเป็นที่มาขององค์ประกอบบ้านที่มีเส้นสายเป็นกรอบมุมทรงสี่เหลี่ยม เพื่อสร้างมุม ระยะ และองศาในการมองให้สวยงามยิ่งขึ้น โดยยกระดับพื้นบ้านให้สูงกว่าสนามกอล์ฟประมาณ 2 เมตร ทั้งเพื่อเปิดมุมมองให้กว้างและสร้างขอบเขตพื้นที่บ้านให้แยกจากสนามกอล์ฟโดยไม่ต้องทำรั้ว รวมถึงการออกแบบพื้นที่ให้ต่อเนื่องกันระหว่างภายในบ้านกับภายนอกบ้าน และระหว่างพื้นที่บ้านกับพื้นที่เปิดโล่งของสนามกอล์ฟ ยืมวิวเพื่อขยายขอบเขตสวน เมื่อมองจากถนนหน้าบ้านอาจไม่รู้เลยว่า อีกด้านของ บ้านสีขาวโมเดิร์น ทรงกล่องนี้จะทำให้รู้สึกเหมือนมาพัก รีสอร์ตสไตล์โมเดิร์น เพราะด้านริมถนนจะเห็นบ้านอยู่บนเนินที่มีแนวผนังหินช่วยพรางตาไม่ให้เห็นภายในบ้านโดยตรง […]

บ้านที่ดีต่อเรา และดีต่อโลก บ้านตัวอย่างงานบ้านและสวนแฟร์ 2022

บ้านตัวอย่างงานบ้านและสวนแฟร์2022 นำเสนอบ้านในแนวคิด “Worthy Living การออกแบบบ้านที่มีคุณค่าในหลายมิติ” งานบ้านและสวนแฟร์ 2022 จัดในวันที่ 28 ตุลาคม – 6 พฤศจิกายน 2565 ณ อาคารชาเลนเจอร์ อิมแพ็ค เมืองทองธานีซึ่ง บ้านตัวอย่างงานบ้านและสวนแฟร์2022 นี้ออกแบบโดย คุณป่อง-ปฐมา หรุ่นรักวิทย์ แห่ง CASE Studio สถาปนิกผู้ได้รับรางวัลศิลปินดีเด่นศิลปาธร ประจำปี 2553 สาขาสถาปัตยกรรม จากที่คุณป่องคลุกคลีกับการทำงานเพื่อชุมชนซึ่งมีขีดจำกัดทั้งด้านพื้นที่ งบประมาณ และการใช้ทรัพยากร บ้านที่ดีจึงต้องตอบโจทย์เหล่านั้น และอยู่สบาย จึงควรมีความยืดหยุ่นทั้งเรื่อง ค่าใช้จ่าย ขนาดพื้นที่ และการใช้งานที่เหมาะสมกับแต่ละครอบครัว แนวคิด “Worthy Living” เกิดจากการผ่านวิกฤตด้านโรคระบาดที่ส่งผลให้เราต้องปรับการใช้ชีวิต บ้านกลายเป็นทั้งที่ทำงาน พื้นที่สร้างรายได้ แหล่งผลิตอาหารในครัวเรือน เป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายจนเกิดพฤติกรรมการใช้ชีวิตแบบวิถีใหม่ รวมถึงความเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของโลกที่แย่ลง และส่งผลกับมนุษย์มากขึ้น การออกแบบบ้านจึงควรมีคุณค่าในหลายมิติ ที่ไม่ได้สร้างเพื่อตอบสนองตัวเราเองฝ่ายเดียว “การออกแบบบ้านให้เป็นสถาปัตยกรรมที่มีคุณค่าในตัวเองไม่ใช่การตอบสนองเฉพาะผู้อยู่อาศัยเท่านั้น แต่ควรมีคุณค่าสำหรับพื้นที่ตั้งนั้นๆ ชุมชน และระบบนิเวศน์ของโลก เพื่อลดการเกิดปัญหาสภาพแวดล้อมในระยะยาว ซึ่งถ้าเราเริ่มคิดจากการออกแบบบ้านให้ดีต่อโลกแล้ว […]

แบบแปลนห้อง และการวางเฟอร์นิเจอร์ ทำเองได้

มาจัดแปลนเฟอร์นิเจอร์ให้เหมาะกับจำนวนคน และขนาดพื้นที่ไซส์ S M L โดยยกตัวอย่าง แบบแปลนห้อง 5 ห้องหลักในบ้าน

เช็กผังเมือง น้ำท่วม แนวเวนคืน ก่อนเลือกทำเลบ้าน

การเลือกทำเลบ้านที่ดี ไม่อยู่ในโซนที่มีความเสี่ยง ควรเช็กผังเมือง แนวเวนคืนที่ดิน และ เช็กประวัติน้ำท่วมทำเลบ้าน ก่อนเสมอ เช็กประวัติน้ำท่วม สามารถเข้าไป เช็กประวัติน้ำท่วมทำเลบ้าน ด้วยตัวเองได้ที่ http://flood.gistda.or.th/ โดยเลือกให้แสดง “ขอบเขตการปกครอง”  และ “ความถี่น้ำท่วมขังในรอบ 11 ปี” จะแสดงผลงตามตัวอย่างนี้ สัญลักษณ์สีของความถี่น้ำท่วมขังในรอบ 11 ปี สีน้ำเงิน คือ 1 ครั้ง สีเหลือง คือ 2-4 ครั้ง สีม่วง คือ 5-7 ครั้ง สีแดง คือ 8-10 ครั้ง เช็กการผังเมือง ไม่ใช่เรื่องดีแน่ถ้าต้องการบ้านที่สงบสุขแต่ตั้งอยู่ในโซนอุตสาหกรรม จึงควรมาทำความรู้จักการผังเมืองเบื้องต้นกัน  การผังเมือง คือ การวางแผนกฎหมาย สถาปัตยกรรม สังคมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สิ่งแวดล้อม การคมนาคม ฯลฯ เพื่อเป็นการกำหนดนโยบาย กฎหมาย และระเบียบ การจัดวางแผนผังการใช้พื้นที่ของเมือง ชุมชน […]

แนวโน้มราคาที่ดินกรุงเทพ ปี 2566 ขึ้นเท่าไร

กรมธนารักษ์ได้ประกาศภาพรวม ราคาที่ดิน ใหม่จะสูงขึ้นจากเดิมทั้งประเทศโดยเฉลี่ยประมาณ 8% ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ราคาปรับขึ้นโดยเฉลี่ย 3% ราคาที่ดิน ที่สูงที่สุดยังคงอยู่ในเขตพื้นที่ใจกลางเมืองที่มีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจ หรือย่าน CBD (Core Central Business District) และพื้นที่ใกล้แนวเส้นทางรถไฟฟ้าเป็นหลัก แต่เนื่องด้วยสภาพทางเศรษฐกิจที่ค่อนข้างชะลอตัวจากสถานการณ์โควิดในช่วงที่ผ่านมา กรมธนารักษ์จึงได้พิจารณาเลื่อนการประกาศใช้ราคาประเมินที่ดินใหม่ออกไปอีก 1 ปี ดังนั้นในปี 2566 นี้ จึงยังคงใช้ราคาประเมินที่ดินของรอบปี 2559-2562 ตามเดิม แม้ราคานี้จะยังไม่ใช้อย่างเป็นทางการ แต่ก็เป็นแนวโน้มของราคาที่อาจปรับใช้ในภายหน้า มาดูกันว่าในอนาคตแต่ละพื้นที่จะมีการปรับราคามากน้อยเท่าไร 5 อันดับ ราคาที่ดิน สูงสุด 1. ถนนสีลม ราคาประเมินที่ดิน 750,000 – 1,000,000 บาท/ตารางวา    จากราคาประเมินเดิม 700,000 – 1,000,000 บาท/ตารางวา2. ถนนเพลินจิต ราคาประเมินที่ดิน 1,000,000 บาท/ตารางวา    จากราคาประเมินเดิม 900,000 บาท/ตารางวา3. ถนนวิทยุ ราคาประเมินที่ดิน 1,000,000 […]

“จับมือ จัดเมือง” ISCI: Better City Collaboration

มาดูวิธีทำเมืองให้น่าอยู่ขึ้นในนิทรรศการ “ จับมือ จัดเมือง ” ISCI: Better City Collaboration กับ 10 หัวข้อที่จะสร้างความหวังและเป็นแรงบันดาลใจให้ชุมชนเมือง โดยสถาบันนวัตกรรมชุมชนอัจฉริยะ (ISCI) นำเสนอพลังแห่งความร่วมมือจากหน่วยงาน ภาครัฐ และภาคเอกชนกว่า 20 แห่ง เพื่อสร้างชุมชนเมืองที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี และเสริมความเข้มแข็งด้านความสร้างสรรค์และสินทรัพย์ทางวัฒนธรรม .นิทรรศการ “ จับมือ จัดเมือง ” จัดอยู่ในโซน “BETTER COMMUNITY” ที่บอกเล่าเรื่องราวว่าเราซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนจะมีส่วนร่วมในการสร้างอนาคตที่ดีขึ้นได้อย่างไร และในทางกลับกัน ชุมชนนี้จะสร้างอนาคตที่ดีกว่าให้เราได้อย่างไร พบกันนิทรรศการ “จับมือ จัดเมือง” ชั้น G ฮอลล์ 2 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ภายในงาน SUSTAINABILITY EXPO 2022 : สมดุลที่ดี เพื่อโลกที่ดีกว่า ขับเคลื่อนเมืองด้วยข้อมูลData-driven Urbanism กรุงเทพมีลักษณะเป็น “เอกนคร” หรือ “เมืองโตเดี่ยว” คือ การเป็นเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศที่มีขนาดของประชากรมากกว่าเมือนอันดับรองอย่างมาก […]

แต่งบ้านตามจิตวิทยาสี สร้างสุขภาวะที่ดี

ใครๆก็ทราบว่าสีสันมีผลต่ออารมณ์และความรู้สึกของคนเรา อีกทั้งสีสันยังมีผลกับสุขภาพ และพัฒนาการของเด็กด้วย จิตวิทยาสี ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน Research & Innovation for Sustainability Center (RISC) จึงได้ศึกษาการใช้สีที่ส่งผลต่อความรู้สึก พฤติกรรม ระบบการทำงานของร่างกาย ตลอดจนการนำมาใช้กับห้องต่างๆ เพื่อช่วยในการเลือกใช้สีที่สร้างสุขภาวะที่ดี และส่งเสริมสุขภาพ โดยเฉพาะกับพัฒนาการเด็กในแต่ละช่วงวัย เป็นอีกวิธีง่ายๆที่ทำให้เรามีสุขภาพกายดีและมีความสุขขึ้น จิตวิทยาสี มนุษย์รู้สึกเมื่อเกิดการรับรู้ ความรู้สึกของมนุษย์จะเกิดขึ้นหรือไม่ ขึ้นอยู่กับสิ่งเร้า (แสง เสียง กลิ่น รส อุณหภูมิหรือการสัมผัส) และจากกฎของเฟชเนอร์ (Fechner’s law) พบว่า ระดับความเข้มของสิ่งเร้าภายนอกมีผลต่อระดับของการรับรู้ภายในของมนุษย์ โดยประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของมนุษย์ มีความสามารถในการรับรู้แตกต่างกัน ดังนี้ การออกแบบบ้านเพื่อสุขภาพจิตที่ดี จึงสามารถสร้างการกระตุ้นได้ทั้งทางตา หู ผิวหนัง และจมูก ให้มีอิทธิพลต่อผู้อยู่อาศัยได้ตามลำดับ และจะเห็นว่าการรับรู้ทางตา มีสัดส่วนที่มากที่สุดเมื่อเทียบกับประสาทสัมผัสต่างๆ ของร่างกาย (ส่วนลิ้น เป็นประสาทรับรู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ) สีมีผลต่อความรู้สึกได้อย่างไร สิ่งที่กระตุ้นการมองเห็นทางตาก็คือแสง โดยตาคนสามารถมองเห็นคลื่นแสงเป็นสีต่างๆ 7 สี […]

แก่นและแกนของความเป็นไทยในความคิดของ จูน เซคิโน

ร่วมพูดคุยหัวข้อ “ความเป็นไทย” ในมุมมองของคุณจูน เซคิโน สื่อด้วยผลงานศิลปะ Ni’ และ Shin ผลงานศิลปะ Ni’ และ Shin ซึ่งเกิดจากการประกอบกันของไม้ขนาดเล็กเป็นโครงสร้างอย่างประณีต แต่เมื่อมองในองศาที่ต่าง แสงตกกระทบที่เปลี่ยนก็จะได้ภาพที่ต่างออกไป นั่นคือ คำตอบที่ชัดเจนที่สุดของ “ความเป็นไทย” ในมุมมองของคุณจูน เซคิโน ผู้ก่อตั้ง Junsekino A+D สถาปนิกผู้ดึงคนรอบข้างที่เร่งรีบให้เดินช้าลง และพินิจกับความคิดให้มากขึ้น ช่วงเริ่มต้นการเป็นสถาปนิก บ้านในไทยมีกระแสนิยมอย่างไร ช่วงนั้นประมาณ 20 ปีก่อน กระแสบ้านสไตล์โอเรียนทัลและทรอปิคัลจะพูดถึงกันบ่อย สมัยนั้นบ้านจัดสรรโครงการต่างๆ จะทำกันมาเป็นรูปแบบซ้ำๆ ตามความคุ้นเคย แต่ยังไม่ได้ปรากฏเป็นรูปแบบที่ชัดเจน จนคนเริ่มอยากมีบ้านเดี่ยวของตัวเอง ความต้องการก็ชัดเจนขึ้น จึงจ้างสถาปนิกเพื่อช่วยนำทาง และจัดการความต้องการบ้านในแบบของเขาให้เป็นจริงขึ้น ซึ่งประกอบไปด้วยแกนหลัก 3 ส่วน คือ การใช้วัสดุ รูปแบบงานสถาปัตยกรรม และความต้องการของลูกค้า ความนิยมในการสร้างบ้านปัจจุบันเป็นอย่างไร จากลูกค้าที่เข้ามา ปัจจุบันคนต้องการความเป็นส่วนตัวมากขึ้น ความจำเพาะเจาะจงมากขึ้น ชอบความไม่เหมือนใคร ถ้าเปรียบเป็นอาหารก็ไม่ใช่ภัตตาคารหรู แต่คือ Chef Table […]

มุมมอง “ไทยนิยม” ของสถาปนิกแห่งป่าฝนร้อนชื้น ผศ. พิรัส พัชรเศวต

“สถาปนิกแห่งป่าฝนร้อนชื้น” คำจำกัดความที่บ่งบอกแนวทางการออกแบบสถาปัตยกรรมของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พิรัส พัชรเศวต ผู้ก่อตั้งสำนักงานออกแบบ EAST architects ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พิรัส พัชรเศวต อาจารย์และอดีตหัวหน้าภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีผลงานเด่นชัดในสถาปัตยกรรมสไตล์ทรอปิคัลโมเดิร์น ที่มีแก่นความคิดในการอยู่ร่วมกับดินฟ้าอากาศอย่างเข้าใจธรรมชาติ การออกแบบบ้านในอดีตและปัจจุบัน มีความต่างหรือเหมือนกันอย่างไร ในเชิงความเป็นมนุษย์ คนที่อยากสร้างบ้านมีความต้องการคล้ายๆกัน ทั้งในอดีตและปัจจุบัน คือ เป็นบ้านที่อยู่สบาย ความสบายเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนชอบ โดยภูมิอากาศและภูมิประเทศที่เราอยู่ เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลหลักอย่างหนึ่งในการออกแบบบ้าน ซึ่งประเทศไทยที่อยู่ในเขตร้อนชื้น บ้านจึงได้รับการออกแบบให้อยู่สบาย ไม่ร้อน และสั่งสมจนเป็นภูมิปัญญาไทย ส่วนรูปแบบอาคารที่มาห่อหุ้มนั้น เป็นไปตามคติความเชื่อ และเทคโนโลยีการก่อสร้าง ในส่วนรูปแบบบ้านที่นิยมในแต่ละสมัย เราต้องแยกกันเป็นสองส่วน คือ รสนิยม หรือ Taste เป็นเรื่องเฉพาะบุคคลที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งเป็นเช่นนั้นในทุกยุคสมัย ส่วนความนิยมส่วนรวมน่าจะตรงกับความหมายของ -ism (อิส’ซึม) เช่น Modernism Minimalism คือ นิยมกันแพร่หลาย ซึ่งเปลี่ยนไปตามกระแสสังคม โดยเฉพาะในปัจจุบันที่มีโซเชียลมีเดียให้เข้าถึงความนิยมสากลอย่างรวดเร็ว ก็จะถูกคลี่คลายกลายเป็นรสนิยมส่วนบุคคล รูปแบบบ้านจึงมีการเปลี่ยนแปลง และมีหลายแนวคิดที่เพิ่มขึ้นมา เช่น เรื่องพลังงาน […]

บ้านไทยพื้นถิ่น ภาพสะท้อนวิถีชีวิตผ่านลายเส้นของ ศ.เกียรติคุณ อรศิริ ปาณินท์

ภาพลายเส้นและภาพสีน้ำบ้านไทยพื้นถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ ถ่ายทอดวิถีชีวิตผู้คนในชุมชนต่างๆ ของ ศาสตราจารย์เกียรติคุณอรศิริ ปาณินท์ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ อรศิริ ปาณินท์ สถาปนิกและนักวิชาการที่จดบันทึกด้วยการวาดภาพในสมุดคู่ใจยามลงภาคสนาม เป็นส่วนหนึ่งในผลงานวิจัยด้านสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น และสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรม ที่ท่านทุ่มเทศึกษามาตลอด 40 ปี ถ่ายทอดประสบการณ์ ความรู้ แรงบันดาลใจให้ลูกศิษย์ และคนรุ่นใหม่มากมาย กระทั่งได้รับการยกย่องให้เป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น) ประจำปี 2564 จากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ซึ่งนับเป็นปีแรกที่มีสาขาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น และ บ้านและสวน ขอแสดงความยินดีมา ณ โอกาสนี้ การมีรางวัลศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น) เกิดขึ้นเป็นปีแรก อาจารย์มีความคิดเห็นอย่างไรบ้าง อาจารย์ดีใจกับลูกศิษย์มาก เพราะมีลูกศิษย์นักศึกษาหลายคนที่ให้ความสนใจในสาขาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ตั้งแต่อาจารย์ลงพื้นที่สำรวจหมู่บ้านมาหลายสิบปี ในช่วงปีแรกต้องลุยเดี่ยว แต่ในภายหลังมีลูกศิษย์ตามไปช่วยวิจัยด้วยทุกปี และเปลี่ยนรุ่นไปทุกปี เพราะฉะนั้นงานวิจัยต่าง ๆ เหล่านี้จะไม่ประสบผลสำเร็จเลย หากขาดลูกศิษย์ที่ลงแรงไปช่วยวิจัยด้วยกัน แสดงให้เห็นว่ามีคนรุ่นใหม่จำนวนไม่น้อยที่ให้ความสนใจในสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น เพียงแต่เรายังไม่เป็นที่รู้จักเท่าที่ควร ทั้งที่จริงแล้วสาขาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในต่างประเทศนั้นค่อนข้างเป็นที่รู้จัก การได้รับรางวัลศิลปินแห่งชาติในปีนี้จึงสะท้อนให้เห็นว่าบ้านเราเริ่มให้ความสำคัญกับสาขานี้มากขึ้น ทำให้ผู้ที่สนใจรุ่นถัดไปมีพื้นที่ยืนอย่างเต็มตัว จึงนับเป็นเรื่องที่น่าดีใจ และยินดีอย่างยิ่งที่ได้เห็นสาขาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นมีแนวโน้มจะพัฒนาต่อไปให้ดีขึ้น นิยามของคำว่า “สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น” […]

ภูมิปัญญาไทย ในบ้านยุคใหม่

ดีไซน์ดีๆจาก ภูมิปัญญาไทย มาประยุกต์กับบ้านสมัยใหม่ มาดู ๙ ลักษณะของบ้านไทยที่ช่วยให้บ้านอยู่สบาย ๑.ชานเชื่อมพื้นที่ ภูมิปัญญาไทย ของเรือนไทยที่ยกพื้นสูง จึงมีการทำพื้นเป็นทางสัญจรภายในบ้าน และใช้เชื่อมระหว่างเรือนเพื่อขยายจากเรือนเดี่ยวเป็นเรือนหมู่ และการขยายเรือนแบบล้อมชาน ก็จะเกิดพื้นที่เปิดโล่งที่มีการโอบล้อมแบบคอร์ตยาร์ด ชานยังเป็นพื้นที่อเนกประสงค์ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่างทั้งพักผ่อน นั่งเล่น และจัดงานประเพณี เช่น ทำบุญ เลี้ยงพระ เรือนขนาดใหญ่อย่างเรือนคหบดีมักปลูกต้นไม้ใหญ่ไว้กลางชานที่ช่วยให้บรรยากาศร่มรื่น แล้วยังนิยมปลูกไม้ประดับ เช่น บอน ว่าน ตะโกดัด กระถางบัว และเลี้ยงสัตว์เลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลิน เช่น นกเขา นกดุเหว่า ปลากัด และปลาเข็ม การทำชานบ้านยังนำมาใช้ได้ดีกับบ้านยุคปัจจุบัน โดยออกแบบอาคารให้มีพื้นที่โล่งในลักษณะคอร์ตยาร์ด ที่อาจทำเป็นทางเดิน ชาน และจัดสวน ที่ทั้งสร้างความร่มรื่น และเชื่อมต่อพื้นที่ระหว่างกันได้ ๒.การยกพื้นบ้านสูง บ้านยกพื้นสูงไม่ได้มีเฉพาะในประเทศไทย ยังพบเห็นได้ในบ้านเรือนแถบเอเชียอาคเนย์ โดยเฉพาะพื้นที่ลุ่มที่มีน้ำท่วมอยู่เสมอ “ใต้ถุนเรือน” ของบ้านไทย เกิดขึ้นจากวิถีชีวิตที่มักทำเกษตรกรรม สภาพภูมิประเทศที่มีน้ำหลาก และภูมิอากาศร้อนชื้นที่มีฝนตกมาก ใต้ถุนจึงเป็นพื้นที่เปิดโล่ง ไม่มีผนังกั้น มักใช้เป็นพื้นที่เก็บของ อุปกรณ์การเกษตรและประมง เลี้ยงสัตว์ ใช้เป็นพื้นที่ทำงานหัตถกรรม หรือใช้หลบร้อนในช่วงกลางวัน […]

SUSTAINABILITY EXPO 2022 “สมดุลที่ดี เพื่อโลกที่ดีกว่า”

งาน SUSTAINABILITY EXPO ประจำปี 2022 จัดขึ้นภายใต้แนวคิด“Good Balance, Better World สมดุลที่ดี เพื่อโลกที่ดีกว่า” มหกรรมด้านความยั่งยืนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในอาเซียน ใครอยากสร้างสมดุลที่ดีให้กับตัวเองและสังคม ไม่ควรพลาดมหกรรมด้านความยั่งยืนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในอาเซียน SUSTAINABILITY EXPO 2022 จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “Good Balance, Better World สมดุลที่ดี เพื่อโลกที่ดีกว่า” ทางออกเพื่อโลก และวิธีสร้างสมดุลใหม่ให้กับตัวเองและสังคม มาส่องไฮไลต์ในงานกันก่อน แล้วอย่าลืมตามมาร่วมกิจกรรมที่มีมากมายในงานกัน โดยน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (SEP) ตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระบรมชนิกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ได้น้อมนำพระปฐมบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ์ พระวชิราเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่จะทรงสืบสาน รักษา และต่อยอดเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ผนวกกับหลักเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของชาติ (UNSDGs) งานจัดขึ้นเป็นเวลา 7 วัน ตั้งแต่วันที่ 26 กันยายนถึง 2 ตุลาคม 2565 ครอบคลุมกว่า 40,000 ตารางเมตรของศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ที่เพิ่งได้รับการปรับปรุงใหม่ (QSNCC) เป็นการรวมตัวของบริษัทจากทั้งต่างประเทศและในประเทศอย่างน้อย 50 […]

ค่า Ft คืออะไร ทำไมเราต้องจ่าย

หลายคนอาจเคยสงสัยว่า ค่า Ft คืออะไร เหตุใดจึงต้องมาบวกอยู่ในค่าไฟฟ้าของเรา วันนี้บ้านและสวนชวนคุณมาทำความรู้จักกับค่า Ft กัน            อัตราค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ หรือ ค่า Ft คืออะไร – Ft ย่อมาจาก Fuel Adjustment Charge (at the given time) ซึ่งเปลี่ยนมาจากความหมายเดิม คือ Float time หมายถึง การลอยค่าต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่ควบคุมไม่ได้ เช่น ราคาเชื้อเพลิง อัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ซึ่งตั้งแต่เดือนตุลาคม 2548 มีการเปลี่ยนแปลงปัจจัยในการคำนวณสูตร Ft ให้คงเหลือเพียง ต้นทุนค่าเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าของ กฟผ. และค่าซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตเอกชนและประเทศเพื่อนบ้าน โดยมีสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เป็นผู้กำหนดราคาค่า Ft โดยค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บจากผู้ใช้ไฟฟ้าจะประกอบไปด้วย ค่าไฟฟ้า = ค่าไฟฟ้าฐาน + ค่า Ft + ภาษีมูลค่าเพิ่ม […]