Lifestyle
AKANEE ตีความวิธีทำอาหารจากเตาไฟ สู่ร้านอาหารไทยโบราณสี่ภาค
Akanee ร้านอาหารไทยโบราณ แรงบันดาลใจจากเตาไฟ ตั้งอยู่ภายในโครงการ Earth Ekamai โดยมีเชฟเป่าเป้ – เจสสิก้า หวัง และเชฟเอียน – พงษ์ธวัช เฉลิมกิตติชัย มาช่วยกันสร้างสรรค์เมนูอาหารจากสูตรตำรับดั้งเดิม เพื่อนำพาผู้คนยุคนี้ให้ได้สัมผัสกับรสชาติอาหารที่ไม่คุ้นเคย หรือหารับประทานยาก อิ่มอร่อยในบรรยากาศแบบ Casual Dining จากชื่อ Akanee (อัคนี หรือไฟ) เป็นการตั้งชื่อร้านและสื่อสารอย่างตรงมาตรงไป เพราะไฟถือเป็นสิ่งสำคัญของการประกอบอาหาร จุดกำเนิดเมนูต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการปิ้ง ย่าง ผัด ทอด ต้ม นึ่ง ฯลฯ ที่ล้วนแต่ต้องใช้ไฟทั้งสิ้น ดังนั้นเพื่อเป็นการนำมาสู่การตีความในแง่ของการออกแบบ ทีมผู้ออกแบบจาก Tastespace.co จึงหยิบประเด็นของการใช้เตาไฟหรือ “เตาอั้งโล่” ที่ต้องควบคุมไฟโดยใช้พัดโบกเตาเครื่องจักสานไม้ไผ่ทรงสี่เหลี่ยมเพื่อใช้เร่งไฟ จากองค์ความรู้ดังกล่าว จึงถูกเลือกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์และแรงบันดาลใจในการออกแบบตกแต่งร้าน ดังนั้นเพื่อเน้นสื่อสารถึงความเป็นครัวไทย และบอกเล่าถึงเมนูเด่นของร้านที่เน้นการย่าง โดยคุณฮิม-กิจธเนศ ขจรรัตนเดช จึงได้ทำการรีเสิร์ชข้อมูลต่าง ๆ หลังจากทราบความพิเศษของอาหารที่เชฟทั้งสองท่านตั้งใจรังสรร ก่อนตกตะกอนจนกลายเป็นร้านที่มีบรรยากาศหรูหรา แต่มีความแคชวลสบาย ๆ อยู่ในที […]
neera retreat hotel โรงแรมดีต่อโลกและดีต่อใจ นิยามการพักผ่อนใหม่ริมแม่น้ำท่าจีน
neera retreat hotel ทอดใจไปกับวิวริมแม่น้ำท่าจีน อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม กับโรงแรมที่ให้ความสำคัญกับกาย ใจ และโลกไปพร้อมกัน neera retreat hotel โรงแรมที่มีแนวทางการสร้างสถานที่พักผ่อนให้เป็นมากกว่าแค่โรงแรม แต่เป็นเสมือนสถานที่สร้างแรงบันดาลใจแห่งการใช้ชีวิต คู่กับแนวคิด Eco-conscious เพื่อสร้างความเป็นไปได้ใหม่ให้แก่ธุรกิจโรงแรม ลดการใช้พลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้ง และลดขยะเหลือทิ้งจากงานภาคบริการต่าง ๆ ให้น้อยที่สุด กับภารกิจสำคัญที่อยากส่งต่อและแบ่งปันเรื่องราวดี ๆ ให้ผู้เข้าพักได้รับกลับไป จากชื่อ neera ซึ่งแปลว่า หยดน้ำ ที่นี่จึงเชื่อเรื่องการส่งต่อเปรียบดังหยดน้ำที่กระทบลงบนผิวน้ำ ก่อนกระเพื่อมเป็นวงกลมขนาดใหญ่แผ่กว้างออกไป จากจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ ที่สามารถสร้างสิ่งที่ยิ่งใหญ่ได้นี้จึงสมกับสโลแกนของโรงแรมที่ว่า “be the start of the ripple.” โดยเฉพาะด้านการตระหนักรู้ที่มีต่อโลกและจิตใจของตนเอง แนวคิดดังกล่าวมาจาก 3 พี่น้อง ผู้ร่วมก่อตั้ง neera retreat hotel อย่างคุณซอย – วริวรรณ์ วิทยฐานกรณ์ คุณซาน – วิชฌ์ วิทยฐานกรณ์ […]
PETRICHOR CAFE คาเฟ่เพ็ทเฟรนด์ลี่ ฟีลอบอุ่น แทรกตัวอย่างแยบยลใต้บ้านเรือนไทย
Petrichor cafe (เพททริเคอร์ คาเฟ่) คาเฟ่เพ็ทเฟรนด์ลี่ ตอบโจทย์คนชอบท่องเที่ยวพักผ่อนไปกับเพื่อนรักสี่ขาในบรรยากาศริมน้ำ คาเฟ่เพ็ทเฟรนด์ลี่ ย่านฝั่งธนฯ ที่แบ่งพื้นที่ส่วนหนึ่งให้เป็นโซน Pets Grooming บริการรับอาบน้ำ-ตัดขนสุนัข และสนามหญ้าเอ๊าต์ดอร์ขนาดกว้างให้เจ้าขนฟูได้วิ่งเล่นแบบจุใจ ในบรรยากาศร่มรื่นริมคลองทวีวัฒนา จดจำง่ายด้วยภาพอาคารเรือนไทยหลังคาทรงจั่ว กว่าจะเป็นคาเฟ่อย่างที่เห็น คุณเต้-ณัฐธิภา วารีศรศักดิ์ เจ้าของ เล่าว่า เธอมีโปรเจ็กต์เปิดคาเฟ่ไปพร้อมกับ Pets Grooming แบบครบวงจร เพื่อเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับคนชอบเที่ยวคาเฟ่ โดยสามารถพาสัตว์เลี้ยงมาใช้เวลาพักผ่อนร่วมกันได้ หลังจากมองหาทำเลที่เหมาะสมอยู่ก็ได้มาพบกับบ้านเรือนไทยริมน้ำซึ่งเดิมทำธุรกิจให้เช่าสถานที่สำหรับจัดงานแต่งงาน แล้วเปิดพื้นที่ระเบียงชั้นล่าง หรือใต้ถุนบ้านให้เช่า จากข้อดีด้านทำเลที่ร่มรื่นไปด้วยต้นไม้ และอยู่ติดกับวิวริมน้ำ คุณเต้จึงตัดสินใจเช่าแล้วส่งต่อคอนเซ็ปต์ให้ AA+A มาช่วยออกแบบคาเฟ่ในฝัน พร้อมโจทย์ว่าจะทำอย่างไรให้อาคารเรือนไทยมีความน่าสนใจ ไปพร้อม ๆ กับการสอดประสานฟังก์ชันใหม่เข้าไปในอาคารเก่า หรือที่ผู้ออกแบบเรียกว่าเป็น Parasite Architecture ได้อย่างลงตัว ภายใต้ความคอนทรานส์กันระหว่างความโมเดิร์นของคาเฟ่ กับอาคารเรือนไทยหลังคาทรงจั่ว ซึ่งสามารถเป็นหนึ่งเดียวกันได้อย่างแยบยล ด้วยความหมายของชื่อ PETRICHOR ซึ่งแปลว่า “กลิ่นไอดิน” สื่อถึงความสดชื่น ผ่อนคลาย อิงกับบรรยากาศความเป็นธรรมชาติ คอนเซ็ปต์ดีไซน์จึงมาพร้อมแนวคิดที่นอบน้อมและอบอุ่นด้วยสีเอิร์ธโทน ตั้งใจสร้างความรู้สึกเสมือนเป็นบ้านของสัตว์เลี้ยง เมื่อมององค์ประกอบโดยรวมผ่านฟอร์มอาคารของบ้านเรือนไทย […]
OIKOS Cafe & Restaurant คาเฟ่สไตล์ Japandi อบอุ่นแบบญี่ปุ่น ธรรมชาติกลิ่นอายแบบสแกนดิเนเวียน
OIKOS Cafe & Restaurant หมุดหมายพักผ่อนใกล้ชายทะเลบางขุนเทียน ลงตัวแบบสไตล์ Japandi OIKOS มาจากภาษากรีก แปลว่า Social Gathering เป็นพื้นที่ของครอบครัว การรวมกลุ่มสังสรรค์ ตามแนวคิดของร้านที่ต้องการให้เป็นพื้นที่หลากหลาย ตอบโจทย์ลูกค้าหลากหลายกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นทั้งพื้นที่คาเฟ่ ร้านอาหาร และสวนภายนอกร้าน เพื่อให้การมาเยี่ยมเยือนที่นี่รู้สึกเหมือนได้มาพักร้อน และพักผ่อนในวันหยุด
ลิลิตบางลำพู โรงแรมรีโนเวตอาคารเก่าด้วยดีไซน์เรียบง่าย
ลิลิตบางลำพู โรงแรมเล็ก ๆ สไตล์โมเดิร์นกลิ่นอายไทยย่านบางลำพู ที่เกิดจากการรีโนเวตอาคารเก่าผสานบรรยากาศชุมชนในเกาะรัตนโกสินทร์เข้ากับวิถีชีวิตสมัยใหม่ พร้อมต้อนรับแขกผู้เข้าพักทั้งชาวต่างชาติและคนไทย ขณะเดียวกันก็เชื่อมโยงความเป็นไทยด้วยการเติมแต่งองค์ประกอบสีสันตามโซนต่าง ๆ ได้อย่างลงตัว
ณ ตะนาว 1969 เปิดประสบการณ์เมืองเก่า โรงแรมหน้าแคบ ย่านเกาะรัตนโกสินทร์
ณ ตะนาว 1969 พื้นที่ที่เป็นมากกว่าบ้านพร้อมเปิดต้อนรับทุกคนให้มาสัมผัสประสบการณ์ในพื้นที่พิเศษจากผืนดินมรดกตั้งแต่รุ่นทวด ตั้งอยู่บริเวณทางเข้าวังเก่าใกล้ซุ้มประตูแพร่งสรรพศาสตร์ ให้กลายมาเป็น Hometel (บ้าน + โรงแรม) สำหรับรอต้อนรับแขกผู้เข้าพักคนสำคัญ
TAMNI HOSTEL เมื่อตำหนิ คือ เสน่ห์
“ตำหนิ” คือร่องรอยอันเป็นสิ่งยืนยันการข้ามผ่านกาลเวลาของสิ่งหนึ่งๆ เป็นร่องรอยที่สร้างเอกลักษณ์อันแตกต่างให้กับสิ่งๆนั้น เพราะฉะนั้น “Tamni Hostel” จึงเหมือนเป็นภาพแทนของร่องรอยสิ่งที่เป็นชุมชนในพื้นที่ซอยพระยาสิงหเสนีแห่งนี้นั่นเอง เดิมทีพื้นที่แห่งนี้เป็นที่ดินของเจ้าของโรงแรม Tamni Hostel ในปัจจุบัน แต่หากย้อนกลับไป 30-50 ปีที่แล้ว การแบ่งพื้นที่เพื่อปล่อยเช่าคือคำตอบของธุรกิจในตอนนั้น จนกระทั่งผ่านกาลเวลา และพื้นที่ในซอยพระยาสิงหเสนี ได้ตกมาถึงคุณ ธัญ สิงหเสนี เจ้าของโรงแรมแห่งนี้ การนำพาพื้นที่แห่งนี้ให้ไปสู่ยุคสมัยถัดไปจึงเป็นเหมือนโจทย์สำคัญที่ทำให้ Tamni Hostel เกิดขึ้น การออกแบบ Tamni Hostel นั้น มีขึ้นเพื่อสร้างให้ชุมชนได้กลับมาคึกคักดังเช่นวันวานมากกว่าจะเป็นในแง่ของธุรกิจ เพราะเมื่อลักษณะของชุมชนที่ทำธุรกิจโรงกลึงขนาดเล็ก และค้าเหล็กเป็นสำคัญ เริ่มที่จะตามยุคสมัยไม่ทัน การเพิ่มความเป็นไปได้ใหม่ๆจึงเป็นเหมือนทางออกหนึ่งที่จะสร้างให้ชุมชนกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง Hostel, Cafe และพื้นที่สำนักงานผสมกับ AirBnb เป็นเหมือนกับห้องรับแขกของชุมชนที่ทำให้คนจากพื้นที่ต่างๆเดินทางเข้ามามากขึ้น เมื่อพื้นที่แห่งนี้กลับมาเป็น Destination ที่น่าสนใจ การต่อยอดไปในอนาคตก็คงไม่ไกลเกินจะเกิดขึ้นได้จริง ในส่วนของงานออกแบบนั้น อาคารทั้งหมดได้ถูกออกแบบจากโครงสร้างเดิมของ “หมู่ตึกแถว” ในซอยพระยาสิงหเสนี แห่งนี้ ผสานกับการเลือกใช้องค์ประกอบอาคารเดิมมาผสมผสานในการใช้งานใหม่ ซึ่งคอนเซปต์ในคำว่า “ตำหนิ” นั้นยังคงมีอยู่อย่างเต็มเปี่ยม ไม่ว่าจะการปรับใช้องค์ประกอบอาคารเดิมในรูปแบบใหม่นั้น เปรียบเสมือนชุมชนที่ต้องมีการปรับตัวไปตามยุคสมัย และมากกว่านั้น […]
PUSAYAPURI HOTEL จากประวัติศาสตร์เมืองอู่ทอง ต่อยอดสู่โรงแรมใหม่สุพรรณบุรี
เพราะประวัติศาสตร์ช่วยให้มนุษย์รู้จักตัวเอง นั่นจึงมีความหมายอย่างยิ่งกับผู้คนในท้องถิ่นอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ก่อนนำมาสู่โปรเจ็กต์การออกแบบ ปุษยปุรี Pusayapuri HOTEL เพื่อให้เป็นมากกว่าแค่ที่พัก แต่เป็นเสมือนสัญลักษณ์ประจำเมือง เพื่อช่วยเชื่อมโยงไปสู่ประวัติศาสตร์ของเมืองอู่ทองที่มีอายุยาวนานกว่าสองพันปี สู่ที่มาของการออกแบบโรงแรม ปุษยปุรี Pusayapuri HOTEL ผู้รับหน้าที่ออกแบบอย่าง EKAR Architects นำโดยคุณหนึ่ง-เอกภาพ ดวงแก้ว ทีมสถาปนิกได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลอย่างจริงจัง ก่อนนำมาซึ่งแนวคิดและเอกลักษณ์ด้านงานดีไซน์ ที่สร้างสรรค์จนเกิดเป็นอาคารสถาปัตยกรรมอันมีเอกลักษณ์น่าจดจำแห่งนี้ ต่อยอดจากประวัติศาสตร์ที่หลงเหลือ จากการลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลก่อนเริ่มต้นโปรเจ็กต์การออกแบบ คุณหนึ่ง-เอกภาพ ดวงแก้ว แห่ง EKAR Architects ได้เล่าถึงจุดเริ่มต้นและกระบวนการทำงานของทีมสถาปนิกให้ฟังว่า “การออกแบบครั้งนี้ ว่าด้วยเรื่องของเมือง และเรื่องราวของประวัติศาสตร์ ซึ่งอำเภออู่ทองเคยเป็นเมืองก่อนประวัติศาสตร์มาก่อน แต่คล้าย ๆ เป็นเมืองเก่าที่ถูกมองข้ามไป เป็นประวัติศาสตร์ที่คนหลงลืม คนในท้องถิ่นจึงช่วยกันเล่าเรื่องราวในท้องถิ่นของตนเอง จะเห็นว่ามีทั้งพิพิธภัณฑ์ มีสถานที่ท่องเที่ยวอย่าง พระพุทธปุษยคีรีศรีสุวรรณภูมิ พระแกะสลักจากหน้าผาหิน แลนด์มาร์กใหม่ของสุพรรณฯ มีซากเจดีย์ลำดับต่าง ๆ ที่เราไปตระเวนดู พอไปถึงแต่ละที่ ก็จะเห็นว่าบางที่ดูเผิน ๆ ก็เหมือนเป็นสนามหญ้าเฉย ๆ พอดูดี ๆ ถึงจะเห็นกองอิฐที่เหลืออยู่ไม่มาก […]
NAYA CAFE AYUTTHAYA คาเฟ่อิฐรับวิวทุ่งนา พาให้เห็นวิถีชุมชนชนบท
นาย่า คาเฟ่ – NAYA Cafe Ayutthaya คาเฟ่อิฐที่อยากชวนคุณมาชื่นชมฤดูกาลผ่านผืนนา บอกเล่าความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ของอาคารกึ่งสาธารณะกลางชุมชนชนบท นาย่า คาเฟ่ – NAYA Cafe Ayutthaya ตั้งอยู่ในตำบลข้าวเม่า อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดดเด่นด้วยรูปทรงสถาปัตยกรรมแปลกตาก่อสร้างจากอิฐสีส้มรับกับวิวทุ่งนาสีเขียว ซึ่งตอนนี้ต้นข้าวกำลังแตกกอหลังจากผ่านช่วงเวลาปักดำมาไม่นาน โดยเป็นผืนนามรดกของครอบครัวเจ้าของโครงการที่ยังคงหมุนเวียนทำนาปลูกข้าวกันทุกปี หลังจากคุณดรีม-พัชชาดา พึ่งกุศล เจ้าของ เปิดร้านเบเกอรี่ออนไลน์ของตนเองมาสักพักก็ถึงคราวต้องขยับขยายธุรกิจด้วยการมองหาทำเลเพื่อเปิดร้านแบบจริงจัง ก่อนมาลงตัวกับทำเลที่มีศักยภาพตอบโจทย์ทั้งธุรกิจ และสร้างความแปลกใหม่ให้แก่ชุมชนแห่งนี้ การออกแบบคาเฟ่ได้รับการถ่ายทอดโดยทีมออกแบบจาก BodinChapa Architects ผ่านสถาปัตยกรรมรูปทรงแปลกตากลางผืนนา ใช้อิฐแดงมาเป็นพระเอกเพื่อบอกเล่าความเป็นอยุธยา ภายใต้รูปทรงอาคารวงรีที่ตีความมาจากรูปทรงของเมล็ดข้าว อันสื่อความหมายถึงผลผลิตจากท้องนา และเป็นตัวแทนเพื่อให้เข้ากับชื่อ ตำบลข้าวเม่า ตามพิกัดที่ตั้งของคาเฟ่ จากถนนหลักด้านหน้าเข้าสู่ตัวคาเฟ่ ได้ออกแบบทางเดินไม้กั้นขอบทางเดินด้วยอิฐ เพื่อใช้เป็นเส้นทางที่ค่อย ๆ เปลี่ยนผ่านอารมณ์เข้าสู่คาเฟ่ โดยระหว่างทางจะได้มองเห็นวิวและต้นไม้ซึ่งมีทั้งที่ปลูกและขึ้นเองตามธรรมชาติ ก่อนจะพบกับพื้นคอนกรีตรูปวงรี เสิร์ฟให้เห็นบริบทต่าง ๆ ด้วยทางเดินที่เชื่อมถึงกันได้รอบอาคาร การสร้างรูปทรงอาคารให้เข้ากับร้านกาแฟกลางนาข้าว ส่วนหนึ่งมาจากที่ตั้งซึ่งอยู่ในตำบลข้าวเม่า สถาปนิกจึงมองว่าน่าจะใช้รูปทรงของเมล็ดข้าว หรือข้าวเม่ามาขยายต่อจนกลายเป็นรูปทรงอาคาร ช่วยให้การจัดวางฟังก์ชัน และ Circulation […]
Wongar บาร์ลับ บนชั้น 8 ย่านอารีย์ ที่ใส่ใจในบรรยากาศเป็นกันเอง ด้วยวิวเมือง และงานศิลปะ
งานออกแบบในพื้นที่แห่งนี้ เลือกใช้วัสดุที่คุ้นชินอย่างคอนกรีตเปลือย และสังกะสี เป็นเหมือนแบ็คกราวน์ของพื้นที่ มีการเลือกใช้หินสีเขียวในส่วนบาร์เพื่อสร้างความแตกต่าง และเน้นความสำคัญให้กับพื้นที่ จากนั้นส่วนที่มีอิทธิพลต่อพื้นที่มากที่สุดกลับเป็นกล่องแสงเหนือบาร์ที่สามารถเปลี่ยนสีเพื่อย้อมบรรยากาศให้กับพื้นที่ได้ในโอกาสต่าง ๆ กัน เข้ากับความตั้งใจที่จะทำให้บาร์แห่งนี้เป็นมากกว่าแค่พื้นที่รับประทานอาหาร แต่คือความเป็นไปได้ในการสร้างพื้นที่สังคมของคนที่ชอบศิลปะ และได้พบปะกับคนที่น่าสนใจในแนวทางเดียวกัน ด้วยเพราะเหล่าหุ้นส่วนของร้านก็เป็นนักออกแบบกราฟิกที่ตั้งออฟฟิศอยู่ติดกับร้านแห่งนี้นั่นเอง การเลือกใช้วัสดุที่คุ้นชินนั้น เป็นการเชื่อมโยงบรรยากาศเป็นกันเองของความเป็น “ร้านอาหารแบบไทยสตรีทฟู้ด” สู่ “บาร์ลับลอยฟ้าสไตล์ญี่ปุ่น” ให้เข้ากันอย่างแนบเนียน ข้อดีของวัสดุเหล่านี้คือช่วยให้แขกที่มาใช้บริการไม่รู้สึกเกร็ง ผ่อนคลาย และเป็นกันเอง ในขณะที่รายละเอียดของวัสดุอย่าง อิฐดินเผา บาร์หินจริง และการใช้วัสดุไม้ Plywood ก็เสริมรายละเอียดในบรรยากาศละเมียดแบบญี่ปุ่นเอาไว้ได้อย่างดี และนี่คือบาร์ที่ตั้งใจเป็นแหล่งรวมตัวหลังเลิกงาน ทั้งมานั่งทานอาหารเย็น หรือจะต่อยาวไปตลอดค่ำคืนกับ Vibe อันน่าสนใจของพื้นที่แห่งนี้ก็เข้าที ที่ตั้งWongarชั้น 8 โครงการ The Hub พหล-อารีย์พิกัด https://goo.gl/maps/Ldi1dM7uyUj5QjiZA?coh=178571&entry=ttเปิดวันอังคาร-พฤหัสบดี 17.00-23.00 น. และวันศุกร์-อาทิตย์ 17.00-24.00 น.โทร.08-4096-5551 ออกแบบ: space+craftภาพ: Thanapol Jongsiripipatเรียบเรียง: Wuthikorn Sut
ROLLING ROASTERS คาเฟ่เอกมัย คอนเซ็ปต์โลกคู่ขนาน ล้ำไปกับโลกกาแฟอนาคต
Rolling Roasters จากคาเฟ่ย่านฝั่งธนฯ กับการออกแบบสไตล์ Industrial Punk สู่คาเฟ่สไตล์สุดล้ำใจกลางเมือง ภายในโครงการ Earth Ekamai กับธีม Futuristic Coffee สำหรับสาขาใหม่นี้ Rolling Roasters -Ekamai ต้องการสื่อถึงความล้ำสมัย พร้อมเสิร์ฟประสบการณ์ใหม่ด้วยเทรนด์ของโลกกาแฟที่ไม่เคยหยุดนิ่ง โดยครั้งนี้ขอตั้งใจตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนเมืองในย่านเอกมัยที่ไม่เคยหลับใหล ด้วยการรองรับลูกค้าได้แบบ Day and Night กลางวันเป็นคาเฟ่ กลางคืนเป็นบาร์ค็อกเทล สามารถใช้เวลากับคาเฟ่แห่งนี้ได้ตั้งแต่เช้าจรดค่ำ นำมาสู่คอนเซ็ปต์ดีไซน์ที่เรียกว่า Parallel World ผ่านการตีความโดยคุณฮิม-กิจธเนศ ขจรรัตนเดช และทีม Tastespace.co เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์การมาคาเฟ่ที่แตกต่างออกไป โดยสะท้อนถึงคำว่าโลกไม่เคยหยุดหมุน เช่นเดียวกับโลกของกาแฟ ที่ Rolling Roasters ไม่เคยหยุดพัฒนา และขับเคลื่อนตนเองไปข้างหน้าอย่างไม่มีที่สิ้นสุด พร้อมโจทย์ที่คุณโจ๊ก-อิทธิพล ติยะวราพรรณ เจ้าของคาเฟ่ อยากมอบประสบการณ์การกินดื่มด้วยเทรนด์การดื่มกาแฟรูปแบบใหม่ โดยมีศาสตร์ของค็อกเทลเข้ามาผสม เพิ่มเติมไลน์อาหาร และของกินเล่น ที่จัดเสิร์ฟเฉพาะสาขาเอกมัยเท่านั้น เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการขยายเวลา จากคาเฟ่ตอนกลางวัน สู่บาร์ค็อกเทลยามค่ำคืน จึงออกแบบให้ปรับเปลี่ยนฟังก์ชันการใช้งานภายในสถานที่เดียวได้ทันที ตรงกับคอนเซ็ปต์ […]
Be Well Spa เปิดประสบการณ์สุดผ่อนคลายกับมิติใหม่ด้านการออกแบบ สปา ภายใต้แนวคิดยั่งยืน
ชวนทุกคนมาพักกายชาร์จพลังจากความเมื่อยล้า หลีกหนีความวุ่นวายในชีวิตประจำวันหันมาดูแลสุขภาพ และผ่อนคลายจิตใจกับ สปา โอเอซิสแห่งสุขภาพ ที่ Mövenpick BDMS Wellness Resort ใจกลางกรุง ที่มาพร้อมประสบการณ์พิเศษท่ามกลางความเงียบสงบของธรรมชาติที่สอดรับกับการออกแบบตกแต่งภายในโดย DWP I Design Worldwide Partnership ภายใต้แนวคิด ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และให้ความสำคัญกับความยั่งยืน
15 ไอเดีย คาเฟ่เล็กๆ หลากสไตล์ ดีไซน์เด็ด
เพราะพื้นที่เล็กอาจไม่ใช่ข้อจำกัดเสมอไป room รวมไอเดีย คาเฟ่เล็กๆ แต่อัดแน่นด้วยดีไซน์ให้โดดเด่นไม่แพ้ใคร ไม่ว่าจะเป็นคาเฟ่ take away กลางย่านธุรกิจ คาเฟ่ป๊อปอัปเฉพาะกิจ หรือคาเฟ่พื้นที่น้อยในงบประมาณจำกัด ก็ออกแบบให้สะดุดตา และตอบโจทย์ได้ด้วยความคิดสร้างสรรค์ และการเลือกใช้วัสดุที่น่าสนใจ ตามไปชมไอเดีย 15 xs Cafés คาเฟ่เล็กๆ ไซส์มินิแต่ดีไซน์เด็ดพิเศษ จากหลากหลายบริบททั้งในไทย และต่างประเทศ ทั้งใจกลางเมือง และกลางธรรมชาติ ดื่มด่ำกับเสน่ห์พิเศษที่แสนอบอุ่นของพื้นที่เล็กๆ ที่ช่วยให้คอชา-กาแฟและบาริสต้าได้ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น ปัจจัยสี่คาเฟ่ออกแบบ: Bodinchapa Architectsร้านกาแฟหน้าบ้านพริกแกง บ้านไม้กึ่งอิฐ ที่ตีความการใช้วัสดุ และโทนสีมาจากสีสันของพริกแกง และรูปลักษณ์ของครก ต่อยอดสู่สเต็ปที่สองเป็นร้านกาแฟที่ถ่ายทอดเรื่องราวของผู้อาศัย สำหรับเป็นพื้นที่ต้อนรับระหว่างบ้านกับผู้มาเยือน –> อ่านต่อ คลิก Circle.poundร้านกาแฟหน้าบ้านพริกแกง บ้านไม้กึ่งอิฐ ที่ตีความการใช้วัสดุ และโทนสีมาจากสีสันของพริกแกง และรูปลักษณ์ของคาเฟ่เค้กไซส์มินิในบรรยากาศอบอุ่น เรียบง่าย ตั้งอยู่มุมสงบด้านในโครงการ Heng Station ย่านวัดเกต จังหวัดเชียงใหม่ ตัวร้านเกิดจากการรีโนเวตบางส่วนของโกดังเก่าให้ยังดูกลมกลืนกับบริบทที่ตั้งเดิม คอนทราสต์กับเมนูเค้ก และเครื่องดื่มสไตล์มินิมอลได้อย่างลงตัว –> อ่านต่อ คลิก […]
ASAI Bangkok Sathorn เพื่อนบ้านใหม่ย่าน สาทร ที่พาคุณไปสัมผัสประสบการณ์แบบท้องถิ่นใจกลางเมือง
ย่านสาทรเป็นโลเคชั่นที่มีความหลากหลายและมีชีวิตชีวามากที่สุดอีกย่านหนึ่งในกรุงเทพฯ เพราะมีทั้งโซนที่พักอาศัย ร้านอาหาร สำนักงาน สปา สถานศึกษา ศาสนสถาน ฟู้ดสตรีทต่าง ๆ ที่แสดงถึงวิถีชีวิตผู้คนบอกท้องถนน ซึ่งเป็นความตั้งใจของ ASAI Bangkok Sathorn ที่ต้องการผสานความหลากหลายนี้ เข้ากับตัวโรงแรมเพื่อให้กลมกลืนไปกับบริบทของชุมชน โดยตีความการใช้ชีวิตของคนเมืองแบบใหม่ สู่การพักผ่อนในอีกหนึ่งแง่มุมที่น่าสนใจ
เหนื่อยมากไหม? มาฮีลใจด้วย เสียงธรรมชาติ จากทั่วโลกกันดีกว่า
เสียงธรรมชาติ ต้อนรับวันต้นไม้แห่งชาติ ที่ตรงกับวันวิสาขบูชา (ขึ้น 15 ค่ำเดือน 6) ของทุกปี ซึ่งในปี พ.ศ.2566 นี้ตรงกับวันเสาร์ ที่ 3 มิถุนายน
AIMANDA อิ่มเอมในรสอาหารใต้ เคล้ากลิ่นอายอันดามัน
เอมอันดา AimAnda l Southern Thai Cuisine ร้านอาหารอบอุ่น เสิร์ฟรสชาติจัดจ้านจากแดนใต้ เด่นด้วยงานดีไซน์สไตล์ไทยโมเดิร์น เอมอันดา ร้านอาหารใต้ระดับพรีเมียมเปิดใหม่ย่านถนนพระยาสัจจา-อ่างศิลา จังหวัดชลบุรี ตั้งโดดเด่นอยู่ในพื้นที่เดียวกันกับโกปี๊ฮับสาขา 2 ร้านติ่มซำซึ่งมีต้นตำรับมาจากหาดใหญ่ จากทำเลดังกล่าวผสานกับความต้องการของคุณณิชา จารุกิตต์ธนา ผู้เป็นเจ้าของ ร้านอาหารใต้แห่งนี้จึงมีกลิ่นอายที่เชื่อมโยงกันไปกับร้านติ่มซำ ได้รับการออกแบบโดย Does studio ทีมสถาปนิกผู้เคยถ่ายทอดเรื่องราวของโกปี๊ฮับมาแล้วทั้ง 2 สาขา สำหรับการออกแบบร้านอาหารครั้งนี้ พวกเขาได้ร่วมกันคิดงานดีไซน์ของร้าน ผ่านชื่อ “เอมอันดา” อันสื่อความหมายถึงความอิ่มเอมที่ทุกคนจะได้รับผ่านมื้ออาหารแสนอร่อย และทะเลอันดามัน แหล่งอาหารรวมถึงทรัพยากรทางธรรมชาติที่สำคัญของผู้คน ก่อนนำมาสู่การออกแบบร้านผ่านรูปแบบสถาปัตยกรรมให้มีกลิ่นอายสไตล์ไทยโมเดิร์น โดยดีไซน์ขึ้นมาจากคอนเซ็ปต์ของอาหาร เพื่อสื่อถึงอาหารไทยพื้นถิ่นภาคใต้ที่ได้รับการยกระดับให้มีความพรีเมียม จนมาลงตัวกับอาคารสีขาวโดดเด่นด้วยหลังคาทรงจั่ว ผสานกับเส้นโค้งที่หมายถึงเกลียวคลื่น ช่วยให้เกิดมุมมองที่ดูสมู้ธลื่นไหล โดยเป็นเส้นโค้งที่ออกแบบให้ยาวต่อเนื่องมาจากหลังคาทรงจั่ว ยาวเรื่อยไปจนรับกับพื้นที่ลานจอดรถ สิ่งที่ท้าทายครั้งนี้ คือตำแหน่งศาลพระพรหมที่ตั้งอยู่ด้านหน้า กลายเป็นโจทย์ว่าจะทำอย่างไรให้ศาลพระพรหม และอาคารร้านอาหารเป็นเรื่องราวเดียวกัน สถาปนิกจึงเลือกผลักอาคารร้านอาหารเข้าไปด้านใน แล้วใช้แลนด์สเคปมาคั่นกลางให้มุมมองของสวนทำหน้าที่เปรียบเสมือนแบ็กกราวน์ให้แก่ศาลพระพรหม ออกแบบทางเข้าให้ลูกค้าสามารถเดินมาได้ทั้งจากพื้นที่จอดรถด้านหน้า ซึ่งต้องเดินผ่านพื้นที่แลนด์สเคปเข้ามา หรือจะเดินมาจากลานจอดรถด้านข้างของร้านโกปี๊ฮับก็ได้ โดยได้ออกแบบให้มีไฮไลต์ หรือลูกเล่นด้วยการทำช่องทางเดินวางตัวเป็นแนวยาวอยู่หลังศาลพระพรหม สำหรับช่องทางเดินนี้ผู้ออกแบบอยากให้คนที่อยู่ด้านในรู้สึกถึงเอฟเฟ็กต์ประกายของน้ำ มีแรงบันดาลใจมาจากท้องทะเลยามที่มีแสงแดดส่องกระทบกับผิวน้ำที่กำลังกระเพื่อมจนเกิดแสงเงาระยิบระยับ ใช้กระจกเงา และบล็อกแก้วมากรุทำให้เกิดแพตเทิร์น […]
SAI SAI CAFE คาเฟ่กลางมหาวิทยาลัย ที่พรางตัวไปกับธรรมชาติ
ใสใส วัยเรียนชอบ ก็ แน่นอนเพราะคาเฟ่แห่งนี้ตั้งอยู่กลางคณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง นั่นเอง และคาเฟ่แห่งนี้ก็ใสสมชื่อ เพราะทั่วทั้งร้านมีการตกแต่งด้วยกระจกเงา ทำให้ผนังภายนอกสะท้อนภาพของธรรมชาติ และแมกไม้ที่สวยงามดั่งคาเฟ่นั้นพรางตัวหายไป ความน่าสนใจคือคาเฟ่แห่งนี้ เดิมเป็นพื้นที่กลุ่มบ้านพักบุคลากรของสถาบันฯ ที่ก่อสร้างมาพร้อมกับ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ต่อมาเมื่อคณะฯ มีนักศึกษาเพิ่มมากขึ้นจำเป็นต้องขยับขยายพื้นที่ มายังบริเวณนี้ กลุ่มบ้านพักจึงค่อยๆ ถูกแทนที่ด้วยอาคารเรียนต่างๆ จนหลงเหลือมาถึงปัจจุบันเพียงสองหลัง พื้นที่โดยรอบบ้านพักทั้งสองหลังนี้มีสภาพเป็นพื้นที่รกร้างที่ถูกปกคลุมด้วยร่มไม้ขนาดใหญ่ อยู่ท่ามกลางกลุ่มอาคารเรียนที่มีนักศึกษาใช้งานจำนวนมาก เพื่อความปลอดภัยและการใช้พื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ ทีมออกแบบจึงมีแนวคิดในการพัฒนาพื้นที่บริเวณนี้ให้เป็นพื้นสาธารณะ แห่งใหม่ของนักศึกษา ไปเสียเลย เพื่อช่วยสร้างให้เกิดพื้นที่ทำให้เกิดการเรียนรู้และกิจกรรมนอกห้องเรียน โดยเชิญชวนให้เอกชนที่สนใจประมูลอาคารหลังนี้เพื่อพัฒนาเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ร่วมเสนอแนวทางในการปรับปรุงพื้นที่ เพื่อประกอบการพิจารณาในการคัดเลือก ในการพัฒนาพื้นที่ จำเป็นต้องเปลี่ยนการรับรู้ของผู้ใช้จากพื้นที่ที่ถูกมองว่าเป็นด้านหลัง ของคณะฯ ให้เป็นพื้นที่สาธารณะที่เอื้อให้ผู้คนเข้าไปใช้งาน จากอาคารเดิมที่ถูกออกแบบมาสำหรับพักอาศัยจึงต้องการการแบ่งพื้นที่ระหว่างภายในกับภายนอกที่ชัดเจน ทำให้เกิดพื้นที่ข้างหน้ากับพื้นที่ข้างหลังของอาคารที่แยกขาด เป็นอุปสรรคสำคัญในการเชื่องโยงพื้นที่รอบๆ เข้าด้วยกัน การออกแบบอาคารร้านกาแฟใสใสจึงเป็นเพียงการหาวิธีทำให้อาคารเลือนหายไปในหมู่ต้นไม้ และเปิดเผยพื้นที่ร่มรื่นด้านหลังอาคารออกมาให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ นำไปสู่การถอดผนังอาคารออกทั้งหมด เพื่อไม่ให้มีสิ่งกีดขวางมุมมองจากถนนหลักไปยังพื้นที่ว่างหลังอาคาร เปลี่ยนหลังคาเป็นวัสดุโปร่งใสให้แสงที่ส่องทะลุยอดไม้ตกกระทบพื้นเกิดเป็นภาพที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา ใช้การลวงตาด้วยกระจกสะท้อนเงาต้นไม้กับระนาบที่จำเป็นต้องปิดทึบ คงเหลือไว้แต่เส้นสายของโครงสร้างเพื่อระลึกถึงรูปลักษณ์เดิมที่เคยเป็นบ้านพักเจ้าหน้าที่ การจัดพื้นที่ใช้งานโดยจำกัดพื้นที่ที่จำเป็นต้องปิดล้อมให้มีขนาดเล็กที่สุดชั้นล่าง ซึ่งจะเป็นร้านค้า พื้นที่นั่ง พื้นที่เอนกประสงค์ที่รองรับความเป็นไปได้ในการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย โดยมีชั้นบนเป็นพื้นที่สำหรับจัดแสดงงานศิลปะด้วยเช่นกัน ออกแบบ: Studio of Architecture and […]
LITTLE STOVE & LITTLE STUMP คาเฟ่และเพลย์กราวด์บรรยากาศราวกับอยู่ในโลกนิทาน
Little Stove & Little Stump อีกสถานที่พักผ่อนดี ๆ ในย่านพระราม 2 ซอย 33 หรือวัดยายร่ม ที่มีทั้งคาเฟ่และสถานที่เล่นของเด็ก ๆ ตอบโจทย์คนทุกวัย โดยเฉพาะกลุ่มครอบครัวที่กำลังมองหาพื้นที่สำหรับมาใช้เวลาคุณภาพร่วมกันในวันหยุด คุณพราว-พราว พุทธิธรกุล สถาปนิกผู้ออกแบบโครงการ Little Stove & Little Stump จาก NITAPROW Architects และคุณพีช-วงศ์ณิชา วงศ์สืบชาติ สองพาร์ตเนอร์จากทั้งหมด 5 ท่าน เล่าถึงที่มาของที่นี่ให้ฟังว่า เริ่มต้นมาจากครอบครัวของทั้งคุณพราวและคุณพีชที่ต่างก็เป็นคุณแม่ จึงมีความเห็นร่วมกันว่า ควรมีพื้นที่สาธารณะที่อำนวยความสะดวกให้แก่ครอบครัวที่มีลูกเล็ก ๆ จากแนวคิดดังกล่าวจึงนำมาคุยกันในกลุ่มพาร์ตเนอร์ว่า เมื่อเด็ก ๆ อ่านหนังสือ พวกเขามักจินตนาการเป็นเรื่องราวต่าง ๆ จึงเห็นว่า “นิทาน” เป็นการสื่อสารที่ดีสำหรับเด็ก เกิดเป็นแนวคิดการสร้างนิทานที่เกี่ยวข้องกับที่นี่ ด้วยการติดต่อไปยังสำนักพิมพ์สานอักษร แล้วเล่าไอเดียให้แก่นักเขียนนิทานและนักวาดภาพประกอบฟัง โดยมีแรงบันดาลใจมาจากสถานที่จริง จนเกิดหนังสือนิทานเรื่อง “บ้านตอไม้กับสหายนักซ่อม” ทั้งฉากและตัวละครสำคัญ ๆ ในนิทาน […]