CPS Coffee คาเฟ่ที่มีเพียงสามสีตามการคั่วกาแฟ

CPS Coffee จำลองโพรงกระต่ายไว้กลางกรุง ให้คุณได้กระโดดลงไปชิมกาแฟที่ตั้งใจทำทุกขั้นตอน โดยภายในร้านใช้เพียงสามโทนสีตามการคั่วเมล็ดกาแฟ

BOTANIST ACTIVITY SPACE & CAFE ชื่นชมพรรณไม้หายาก ในคาเฟ่กลางสวนพฤกษศาสตร์

Botanist Activity Space & Cafe คาเฟ่มีนบุรี ในรูปแบบของกล่องกระจกท่ามกลางสวน 4 รูปแบบ ทั้ง Desert Garden, Jurassic Garden, Bromeliads Garden และ Tropical Garden

LEILO COFFEE SPACE ความสุขในคาเฟ่มินิมัลแสนสงบ

Leilo coffee space (เลโล คอฟฟี่ สเปซ) คาเฟ่เมืองระยอง ที่เกิดจากการปรับร้านใหม่ให้เรียบนิ่งในสไตล์มินิมัล ซ่อนตัวอยู่หลังกำแพงสีเบจสูงทึบ เพื่อสร้างความรู้สึกเป็นส่วนตัว ตัดขาดจากบริบทความวุ่นวายของถนนด้านนอก ชวนทุกคนให้เข้ามาดื่มด่ำกับกาแฟและบรรยากาศเงียบสงบโอบล้อมด้วยสีเขียวจากธรรมชาติ Leilo coffee space เดิมที่นี่มีชื่อว่า Happy Cup หลังจากสั่งสมประสบการณ์การเปิดคาเฟ่มาระยะหนึ่ง เจ้าของมีความต้องการอยากปรับรูปแบบใหม่ทั้งตัวร้านและแนวทางการทำกาแฟ จนเกิดเป็นการรีแบรนด์ดิ้งขึ้นมา โดยได้มีการ Collaboration กับแบรนด์ Cozy Factory ที่เชี่ยวชาญด้านกาแฟและการคั่วกาแฟ เพื่อช่วยชูรสชาติกาแฟของร้านให้เด่นชัดและจัดเต็มยิ่งกว่าเดิม ขณะที่การรีโนเวตร้านเป็นหน้าที่ของ SA-ARD architecture & construction โดยผู้ออกแบบได้นำความต้องการของเจ้าของที่อยากให้ร้านเป็นเสมือนห้องนั่งเล่นมาคลี่คลายสู่บรรยากาศร้านใหม่ ภายใต้แนวคิด Minimalism เพิ่มความอบอุ่นให้ร้านด้วยสีเอิร์ธโทนและวัสดุธรรมชาติ โดยผู้ออกแบบยังคงเก็บอาคารเดิมไว้ทั้งหมด แต่ปรับให้พิเศษยิ่งขึ้น อาทิ พื้นที่ผนังกระจกหน้าร้าน จากเดิมที่อยู่จนสุดผนังทำให้มิติของร้านดูแบน ได้รับการปรับใหม่ให้ร่นระยะเข้ามาเพื่อให้ด้านหน้ามีสเปซมากขึ้น แล้วทำฐานซีเมนต์ให้ยื่นออกไป สร้างมุมมองให้เหมือนตัวอาคารลอยสูงขึ้นจากพื้น ขณะที่สีของอาคารก็เปลี่ยนเป็นสีคาราเมล หรือสีเบจตามที่เจ้าของชื่นชอบ แล้วแต่งผนังเป็นลายลูกฟูกช่วยสร้างเท็กซ์เจอร์ไม่ให้ผนังดูเรียบจนเกินไป เมื่อมีแสงแดดตกกระทบจะทำให้เห็นมิติของลวดลายที่ชัดเจน เมื่อเข้ามาด้านใน ได้เปลี่ยนเคาน์เตอร์บาร์จากเดิมที่ทอดตัวในแนวขวาง ให้เป็นแนวเฉียงกับตัวอาคาร เพื่อเปิดพื้นที่หน้าบาร์ให้กว้าง และทำให้ได้เคาน์เตอร์บาร์ที่ยาวขึ้นถึง 6 […]

QUB ROOMS รีโนเวตตึกแถวเป็นโรงแรมลอฟต์สีดำ

รีโนเวตตึกแถว เป็นโรงแรมลอฟต์ มอบความสงบแม้พักผ่อนอยู่ใจกลางเมืองดึงดูดสายตาอยู่ที่เปลือกอาคาร (Facade) รูปทรงคิวบิกซึ่งทำจากเหล็กสีดำหลากหลายขนาด Qub Rooms รีโนเวตตึกแถว 3 ชั้น ให้กลายเป็นโรงแรมสไตล์ลอฟต์ที่มีเสน่ห์และโดดเด่นที่สุดในย่านการค้าใจกลางเมืองเซมารัง ประเทศอินโดนีเซีย มีจุดเด่นดึงดูดสายตาอยู่ที่เปลือกอาคาร (Facade) รูปทรงคิวบิกซึ่งทำจากเหล็กสีดำหลากหลายขนาด ตรงกลางกรุกระจกเพื่อเป็นช่องนำแสงเข้าสู่ภายในห้องพัก จัดวางสลับกันเพื่อเป็นการหลอกสายตา แทนการแบ่งเปลือกอาคารเป็นชั้น ๆ ทำให้เป็นเสมือนอาคารขนาดใหญ่ เป็นลูกเล่นที่น่าสนใจและช่วยสร้างอัตลักษณ์ที่มีเสน่ห์น่าค้นหาให้แก่โรงแรม จนเกือบลืมไปเลยว่าเดิมที่นี่เคยเป็นแค่ตึกแถวธรรมดา การเปลี่ยนแปลงบทบาทใหม่ครั้งนี้ โครงสร้างเดิมอาทิ ฝ้าเพดาน ผนัง และบันไดได้ถูกรื้อถอนออกไป เพื่อเพิ่มพื้นที่ใช้สอยให้กับโรงแรมมากขึ้น บริเวณล็อบบี้และโถงทางเดินใช้เหล็กสีดำในการตกแต่ง บันไดทำจากแผ่นเหล็กเจาะรูเพื่อให้อากาศถ่ายเทสะดวก แถมสามารถมองเห็นการเคลื่อนไหวผ่านความโปร่งของบันได สร้างความรู้สึกกระปรี้กระเปร่าให้กับพื้นที่ส่วนกลาง และหน้าต่างบานเกล็ดทั้งด้านหน้าและด้านหลังของตัวอาคารยังทำให้ภายในโรงแรมมีอากาศถ่ายเทตลอดเวลา การตกแต่งภายเน้นใช้ธีมสีโมโนโทนเพื่อช่วยให้ที่นี่ดูเรียบหรูมีสไตล์ ผนังห้องพักแต่ละห้องใช้อิฐทาสีดำกรุเป็นฉากหลัง ผนังโค้งมนด้านนอกห้องพักใช้สีขาวเรียบจับคู่กับความดิบของเพดานปูนเปลือย ประดับท่อสายไฟที่หุ้มด้วยเหล็กสีดำ สร้างบรรยากาศสไตล์ลอฟต์กลิ่นอายโมเดิร์น เป็นความเรียบง่ายที่ซ่อนความเท่ไว้ด้วยโทนสีและเหล่าเฟอร์นิเจอร์ที่เน้นทำจากงานเหล็กเช่นเดียวกัน และเนื่องจากที่นี่ตั้งอยู่ในเขตเมือง เพื่อลดปัญหาด้านมลพิษและช่วยให้ผู้เข้าพักได้ใกล้ชิดกับธรรมชาติ สถาปนิกจึงใช้ต้นไม้เข้ามาช่วยกรองมลพิษอีกชั้นที่บริเวณผนังบานเกล็ดข้างทางเดินบันไดเหล็กเจาะรูสีดำ เป็นมุมมองที่ช่วยความรู้สึกสบายตาและสดชื่นขึ้นมาทันที นอกจากนี้ยังประดับกระถางต้นไม้ตามจุดต่าง ๆ ด้วย เป็นอีกโปรเจ็กต์การรีโนเวตอาคารขนาดเล็กให้กลายเป็นโรงแรมที่ท้าทายสถาปนิกอย่างมาก ทั้งการเอาชนะข้อจำกัดของอาคารที่ทั้งแคบ แถมยังตั้งอยู่ในย่านที่มีตึกแถวแออัดและพลุกพล่านให้เป็นที่พักผ่อนกลางใจเมือง มอบประสบการณ์การพักผ่อนให้ยิ่งพิเศษมากขึ้นกว่าเคย ออกแบบ : Tamara Wibowo Architects […]

UNDER THE SUN คาเฟ่พัทยา กับอาคารสีแดงเล่นได้ รับวิวพระอาทิตย์ตกกลางทะเล

Under the Sun คาเฟ่พัทยา เปิดใหม่ โดดเด่นภายใต้สถาปัตยกรรมครึ่งวงกลมสีแดง ที่มาพร้อมแนวคิดสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้คนผ่านการเล่น ช่วยให้อาคารมีชีวิตชีวา เหมาะพาครอบครัวมาพักผ่อนรับวิวพระอาทิตย์ตกดวงกลม ๆ กลางทะเล ภาพเด็กเล่นชิงช้า บ้างก็ทิ้งตัวสไลด์ไปตามความโค้งของขอบครึ่งวงกลม เป็นบรรยากาศสนุก ๆ ที่เราได้พบเห็นจากสถาปัตยกรรมซึ่งใช้เป็นอาคารของ Under the Sun คาเฟ่สีแดงดีไซน์โดดเด่นที่ตั้งตระหง่านและมีสีสันสดใสตัดกับสนามหญ้าสีเขียวริมชายหาด พื้นที่ส่วนหนึ่งของโรงแรม ANA ANAN Resort & Villas Pattaya โจทย์การสร้างสรรค์อาคาร เริ่มมาจากทางโรงแรมต้องการให้พื้นที่สนามหญ้าติดชายหาดนี้ ทำหน้าที่เป็นพื้นที่อเนกประสงค์ สำหรับจัดอีเว้นต์ต่าง ๆ รวมถึงโปรเจ็กต์ร้านอาหารและคาเฟ่ในลักษณะอาคารแบบชั่วคราว ที่เปลี่ยนแปลงได้ในอนาคตตามการใช้งานที่ดิน โดยมีสถาปนิกจาก POAR ทำหน้าที่เป็นผู้ออกแบบ ภายใต้ความท้าทายว่า จะทำอย่างไรให้การมาคาเฟ่ หรือร้านอาหาร ทุก ๆ คนสามารถใช้พื้นที่ร่วมกันได้แบบไม่แบ่งโซนเด็กและผู้ใหญ่ ขณะที่มุมมองของเด็ก อาจไม่ได้รู้สึกอิ่มเอมกับการตกแต่งหรือวิวอย่างผู้ใหญ่ สิ่งสำคัญของเขาคือการเล่นและอยากให้พ่อแม่มาเล่นด้วย ฉะนั้นผลลัพธ์ที่ได้จึงกลายเป็นสถาปัตยกรรมที่ถูกใจคนทั้งสองวัย ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ก็มาใช้งานและสนุกด้วยกันได้แบบไม่เขิน “รูปทรงอาคารเป็นได้ทั้งเครื่องเล่น ประติมากรรม และงานศิลปะ ซิกเนเจอร์ของ POAR ส่วนใหญ่เป็นงานที่ใช้ Geometry […]

BLACKBIRD HOTEL โรงแรมขนาดเล็ก ดีไซน์ไม่เหมือนใคร สร้างจากไม้ทรงกลม

Blackbird Hotel โรงแรมขนาดเล็ก ในประเทศอินโดนีเซีย จัดเสิร์ฟประสบการณ์การพักผ่อนในอาคารไม้ทรงกลม ดีไซน์ให้ขึ้นไปนอนแช่อ่างชมวิวได้แบบสบายใจ โรงแรมขนาดเล็ก สไตล์กระท่อมไม้ ในเมืองบันดุง ประเทศอินโดนีเซีย มีดีไซน์ไม่เหมือนใครด้วยอาคารรูปทรงกระบอก ดูแล้วคล้ายกลองไม้ 3 ใบ ผุดขึ้นกลางผืนดิน เป็นการออกแบบโดย Rdma กับแนวคิดที่ต้องการให้ที่พักเฟสใหม่นี้ ช่วยสร้างประสบการณ์การพักผ่อนที่แตกต่าง บอกเล่าผ่านงานสถาปัตยกรรมโครงสร้างไม้ เพื่อสร้างอารมณ์แนบชิดกับธรรมชาติ เติมเต็มการพักผ่อนได้อย่างเต็มอิ่ม Rdma เลือกใช้ไม้สำหรับออกแบบห้องพักในรูปแบบของกระท่อมไม้ 3 หลัง เพราะต้องการหลีกเลี่ยงการก่อสร้างระบบเปียกที่ต้องใช้วัสดุจำพวกปูน หรือซีเมนต์ในระหว่างการก่อสร้าง ด้วยกลัวจะเป็นภาพที่ไม่น่ามอง สำหรับแขกของโรงแรมที่พักอยู่ในอาคารหลังเดิม โดยการออกแบบครั้งนี้สถาปนิกได้รวบรวมไม้หลายชนิด มีผิวสีน้ำตาลหลากหลายเฉดมาผสมผสานกัน จนเกิดเป็นผลลัพธ์ให้ผิวของอาคารมีสีสันที่สวยงามและอบอุ่นจากงานไม้ ความน่าสนใจของงานออกแบบครั้งนี้ คือการใช้ไม้หุ้มอาคารรูปทรงโค้ง หากสังเกตดี ๆ จะเห็นเทคนิคการตีไม้ทำผนังที่มีทั้งแบบยกขึ้นและจมลง การใช้เทคนิคนี้ไม่เพียงเพื่อความสวยงามเท่านั้น แต่ยังทำหน้าที่เป็นช่องทางช่วยระบายอากาศ และเพิ่มแสงสว่างภายใน สำหรับการจัดผังพื้นที่ภายใน กำหนดให้มีห้องนอนและห้องน้ำในตัว โดยทั้งสองพื้นที่ถูกแยกจากกันด้วยบันไดแทนประตูธรรมดา มีมุมไฮไลท์อยู่ที่ชั้นบน ซึ่งออกแบบให้ห้องอาบน้ำที่สามารถมองวิวยอดไม้และท้องฟ้า ผ่านช่องหลังคาสกายไลท์ที่ออกแบบมาพอดีกับเส้นรอบวง นอกจากที่พักซึ่งเป็นอาคารทรงกลมทั้ง 3 หลังแล้ว ใกล้กันบนชั้นดาดฟ้าของอาคารคอนกรีตสีขาวหลังเดิม ยังได้รับการต่อเติมให้เป็นห้องพักขนาดใหญ่ 2 ห้องนอน มีมุมครัว […]

THE RUNNING BEAN คาเฟ่ร่วมสมัยใจกลางกรุงฮานอย

THE RUNNING BEAN คาเฟ่ร่วมสมัยใจกลางกรุงฮานอย ฝีมือ Red5studio สตูดิโอออกแบบจากเวียดนาม ที่พยายาม “ฟรีซ” อาคารมรดกทางวัฒนธรรมนี้ให้สะท้อนเรื่องราวในอดีตไปพร้อมๆ กับบอกเล่าไลฟ์สไตล์ของปัจจุบันและอนาคต อาคารโบราณแห่งนี้ตั้งอยู่ใจกลางกรุงฮานอย ยืนหยัดผ่านร้อนผ่านหนาวมาหลายยุคสมัย เป็นพื้นที่ของธุรกิจมาแล้วหลากหลายรูปแบบ ตัวอาคารค่อนข้างแคบ ขาดแสงธรรมชาติ และโครงสร้างเดิมก็ใกล้ผุพังเต็มที แต่ที่น่าสนใจคือเปลือกอาคารโดดเด่นด้วยเส้นสายสไตล์กอธิกและมีฝ้าเพดานสูงที่สามารถปรับเปลี่ยนให้สเปซน่าสนใจได้ ผู้ออกแบบเลือกใช้วัสดุอย่างกระจก และบล็อกแก้ว พร้อมแสงไฟโทนสีน้ำเงิน ในรูปแบบต่างๆ เพื่อสื่อถึงบรรยากาศของภูเขาน้ำแข็งที่กระจายไอเย็นแสนหนาวเหน็บในอาคารโบราณแห่งนี้ เปลือกอาคารลอกชั้นปูนเก่าออกเผยให้เห็นผนังอิฐดั้งเดิม ส่วนลวดลายกอธิกห่อหุ้มด้วยวัสดุสแตนเลสเพื่อให้ดูร่วมสมัยมากขึ้น แทนที่จะเข้าสู่อาคารจากประตูหลักโดยตรง ผู้ออกแบบกำหนดให้ทางเข้าอยู่ลึกเข้าไป กรุด้วยกระจกใส กระจกโปร่งแสง ส่วนพื้นปูบล็อกแก้วเผยให้เห็นพื้นซีเมนต์ด้านล่าง สร้างพื้นที่เปลี่ยนผ่านก่อนเข้าสู่ภายใน หัวใจของชั้นล่างคือเคาน์เตอร์กาแฟ ซึ่งก่อจากอิฐแก้วใสและสแตนเลส เหนือเคาน์เตอร์ครอบไว้ด้วยกล่องโครงสเตนเลสกรุกระจกสี่เหลี่ยมสีน้ำเงิน ผนังทั้งสองด้านสกัดปูนฉาบตกแต่งผนังออก แล้วกรุทับด้วยกระจกอีกหนึ่งชั้นเชื่อมต่อไปกับกระจกเงาบนฝ้าเพดานที่ช่วยให้สเปซดูสูงโปร่งขึ้น การออกแบบแสงสว่างเน้นการใช้เลเยอร์ของแสงสีเหลืองเป็นแสงหลัก แต่เพิ่มเลเยอร์ของแสงสีน้ำเงินภายในเพดานเคาน์เตอร์เพื่อสร้างเอฟเฟกต์สีและความรู้สึกของภูเขาน้ำแข็งให้เด่นชัดขึ้น ลึกเข้ามามีพื้นที่นั่งเล่นสำหรับจิบกาแฟเบาๆ พื้นที่นี้ใช้ผนังคอนกรีตและผนังกระจกหลายเลเยอร์ เพื่อซ่อนพื้นที่ห้องครัวและพื้นที่ส่วนเซอร์วิสอื่นๆ ทางเดินหลักและโถงบันไดทำจากผนังกระจกและไฟ LED สีฟ้าให้ความรู้สึกเหมือนเดินอยู่ในภูเขาน้ำแข็ง เพื่อขยายพื้นที่ให้ได้จำนวนที่นั่งที่วางแผนไว้ ผู้ออกแบบจึงเปลี่ยนโครงสร้างจาก 2 ชั้นเป็นอาคาร 3 ชั้นพร้อมชั้นลอย ฝ้าเพดานเปิดโล่งเพื่อสร้างพื้นที่รับแสงธรรมชาติให้มากที่สุด พื้นที่ทั้งหมดถูกปกคลุมด้วยเลเยอร์ของแสงไฟ LED สีฟ้า เพื่อสร้างความรู้สึกของภูเขาน้ำแข็ง […]

INKA ชิลไปกับร้านอาหารสไตล์บีชคลับกลางกรุงเทพฯ

INKA – อิงคฺ ร้านอาหารซึ่งมีชื่อแปลว่า แสงสว่าง กับมุมมองที่เห็นวิวตึกสูงของกรุงเทพฯ ได้จากชั้น 5 ของห้างสรรพสินค้า Central Embassy เสิร์ฟอาหารไทยที่รังสรรค์ขึ้นใหม่ให้มีความทันสมัย ภายใต้บรรยากาศสุดชิลเหมือนอยู่ในรีสอร์ตริมทะเล Inka มาพร้อมความพิเศษกับรูปแบบร้านอาหารที่เรียกว่า Progressive Thai Restaurant เชิญชวนทุกคนให้มาลิ้มรสอาหารไทยอร่อย ๆ ที่รังสรรค์โดยเชฟมืออาชีพมากประสบการณ์ กับแนวคิดเพื่อยกระดับคุณค่าอาหารไทย ด้วยการนำอาหารพื้นถิ่นมาทำให้มีมูลค่ามากขึ้น โดยใช้เทคนิคการปรุงอาหารแบบฝรั่งมาผสมผสาน จัดเสิร์ฟให้คนเมืองได้สัมผัสประสบการณ์รสชาติอาหารไทยในรูปลักษณ์และดีไซน์ทันสมัย แต่ยังคงไว้ซึ่งรสชาติกลมกล่อมและจัดจ้านอยู่เช่นเดิม จากคอนเซ็ปต์หลักของเมนูอาหาร ได้ส่งต่อมาถึงธีมการออกแบบตกแต่งร้าน ที่เน้นให้เกิดความรู้สึกถึงความเป็นพื้นถิ่น รุ่มรวยไปด้วยเสน่ห์แห่งวัฒนธรรม หรือที่เรียกว่า Ethnic Vibe ในบรรยากาศสบาย ๆ ผสมสไตล์รัสติก เสมือนกำลังพักผ่อนอยู่ภายในรีสอร์ต หรือ Beach Club ริมทะเล อบอุ่นอ่อนโยนด้วยของตกแต่งแฮนด์เมดหลากหลายรูปแบบ เช่น งานไม้ งานปั้น และงานจักสาน ซึ่งมีรูปทรงสวยงาม ไม่ต่างจากงานศิลปะจัดวางก็ว่าได้ ภายในแบ่งที่นั่งหลากหลายโซนให้เลือก เช่น มุมที่นั่งแบบซุ้มโค้ง ที่ให้ความรู้สึกกึ่งเป็นส่วนตัว กับบรรยากาศน่ารัก ๆ สไตล์กรีซ […]

BLUE BOTTLE COFFEE ป๊อปอัพคาเฟ่แนวคิดใหม่เสิร์ฟกาแฟผ่านตู้ล็อกเกอร์

Blue Bottle Coffee สาขาชิบุยะ มีแนวคิดน่าสนใจตอบโจทย์ยุคโควิด กับการเสิร์ฟกาแฟผ่านช่องรับแก้วที่ดีไซน์คล้ายตู้ล็อกเกอร์ เพื่อลดการสัมผัส โปรเจ็กนี้มีจุดเริ่มต้นมาจาก James Freeman ผู้ก่อตั้ง Blue Bottle Coffee ซึ่งต้องการเปลี่ยนการให้บริการลูกค้าแบบตัวต่อตัว ที่อาจมีความเสี่ยงต่อการติดโรคระบาด มาเป็นการสร้างป๊อปอัพคาเฟ่ที่ลดการสัมผัสและเผชิญหน้ากับพนักงานโดยตรง โดยส่งต่อแนวคิดนี้ให้กับ Schemata Architects ช่วยพัฒนางานดีไซน์ แล้วเลือกทำเลที่ถือเป็นแลนด์มาร์คของย่านชิบุยะอย่าง Shibuya Scramble Square 3F Event Space เป็นที่ตั้งของคาเฟ่ การออกแบบคาเฟ่ครั้งนี้ ได้รับแรงบันดาลใจจากภาพรังผึ้ง โดยเปลี่ยนจากการวางเคาน์เตอร์ไว้ด้านหน้าเพื่อต้อนรับผู้คน มาใช้วิธีการบริการในรูปแบบใหม่ที่ปลอดภัยและมีกิมมิกน่าสนใจ ผ่านช่องรับแก้วกาแฟที่ดีไซน์คล้ายตู้ล็อกเกอร์ ออกแบบโดยใช้ไม้เป็นวัสดุหลัก และสร้างกลไกที่เรืองแสงได้ ตอบสนองต่อการเปิดและปิดประตู ผิวบานเปิดทำจากแผ่นอะคริลิกแบบขุ่นช่วยให้แสงดูนุ่มนวล นอกจากการสั่งเครื่องดื่มผ่านเครื่องรับออร์เดอร์แบบหน้าจอสัมผัสด้านหน้า ที่อาจต้องรอสักครู่ ก่อนออร์เดอร์จะถูกจัดเสิร์ฟผ่านช่องล็อกเกอร์แต่ละบานแล้ว ลูกค้ายังสามารถสั่งเครื่องดื่มได้ผ่านแอปพลิเคชั่นในมือถือ ช่วยให้สามารถซื้อกาแฟอร่อย ๆ ได้แบบไม่ต้องรอ มาถึงก็หยิบเครื่องดื่มได้เลย โดยดูหมายเลขบนล็อกเกอร์ ซึ่ง James Freeman เชื่อว่าการทำคาเฟ่ด้วยรูปแบบแนวคิดนี้ จะได้รับการนำไปใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้นเรื่อย ๆ ผ่านการบริหารจัดการที่ง่ายขึ้น โดยใช้เทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง […]

HARVKIND คาเฟ่ในโชว์รูมเฟอร์นิเจอร์แนวคิดยั่งยืน

Harvkind คาเฟ่ย่านพระราม 2 ที่ควบรวมโชว์รูมเฟอร์นิเจอร์ไว้ในหนึ่งเดียว ซึ่งมาพร้อมแนวคิดรักษ์โลกและสุขภาพ คอมมูนิตี้สเปซเล็ก ๆ สำหรับสายรักษ์โลก รักสัตว์ รักสุขภาพ และคนรักการแต่งบ้าน Harvkind เป็นทั้งคาเฟ่ และ Flagship Store ของ Harvbrand แบรนด์เฟอร์นิเจอร์น้องใหม่ที่แตกไลน์ธุรกิจมาจากแบรนด์หลักอย่าง Inhome Furniture ซึ่งเกิดจากการเก็บเกี่ยวประสบการณ์ด้านการทำเฟอร์นิเจอร์ไม้ปาร์ติเกิลบอร์ด (particleboard) มานานกว่า 39 ปี (since 1983) จนถึงปัจจุบัน ด้วยรูปแบบทางการตลาดและพฤติกรรมของลูกค้ายุคใหม่ที่เปลี่ยนไป ผู้บริหารรุ่นใหม่อย่างคุณเชียร์-ชนน วระพงษ์สิทธิกุล ที่เข้ามาช่วยดูแลธุรกิจของครอบครัว จึงเกิดแนวคิดตั้งแบรนด์ลูกอย่าง HARV ขึ้น เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าคนรุ่นใหม่ ด้วยการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ดีไซน์เรียบง่ายทันสมัย ผลิตในรูปแบบที่เรียกว่า Micro Lot เพราะสามารถควบคุมคุณภาพเฟอร์นิเจอร์แต่ละชิ้นได้อย่างแม่นยำ ทั้งยังช่วยลดปัญหาการสิ้นเปลืองพลังงานในการผลิตและจัดเก็บ ผสมผสานเข้ากับแนวคิดอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่คุณเชียร์สนใจ ด้วยการพยายามให้เหลือเศษวัสดุน้อยที่สุด รวมถึงการนำเศษวัสดุมาสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ แบบ Upcycle ซึ่งเป็นอีกแนวทางการทำธุรกิจที่ก่อให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ตอบโจทย์การใช้ชีวิตของผู้บริโภคยุคปัจจุบัน “ส่วนตัวผมสนใจเรื่องเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมอยู่แล้ว จึงพยายามทำให้ […]

AKHA AMA COFFEE สาขาพระสิงห์ คาเฟ่อิฐในมิติที่นุ่มนวลไปกับเส้นโค้ง

Akha Ama Coffee สาขาพระสิงห์ กับการเปลี่ยนตึกแถวสองคูหาให้กลายเป็นคาเฟ่สาขาใหม่ ที่จะพาทุกคนไปสัมผัสสุนทรียแห่งรสชาติกาแฟไทย ภายในคาเฟ่บรรยากาศอบอุ่นด้วยงานอิฐ และโอบรับด้วยเส้นโค้ง AKHA AMA COFFEE สาขาพระสิงห์ แห่งนี้ มีแนวคิดการสร้างสรรค์พื้นที่ให้เป็นส่วนหนึ่งของเมือง เพื่อให้ผู้คนในย่าน หรือนักท่องเที่ยวสามารถมาใช้เวลานั่งพักบริเวณด้านหน้าของคาเฟ่ได้ ไม่ต่างจากบรรยากาศคาเฟ่เมืองนอก เนื่องจากที่นี่มีทำเลอยู่ริมถนนซึ่งพุ่งตรงไปยังวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร แหล่งท่องเที่ยวสำคัญของเมืองเชียงใหม่ จากจุดประสงค์ดังกล่าวทีมสถาปนิกจาก 𝗯𝗹𝗮𝗻𝗸𝘀𝘁𝘂𝗱𝗶𝗼 จึงต้องออกแบบพื้นที่ด้านหน้าของคาเฟ่ให้มีบรรยากาศที่เอื้อต่อการนั่งพักผ่อน ต้อนรับทุกคนด้วยสีสันที่อบอุ่นของอิฐ วัสดุธรรมชาติช่วยสะท้อนถึงความเป็นท้องถิ่น มีความเรียบง่าย ตรงไปตรงมา ไร้การปรุงแต่ง เช่นเดียวกับกาแฟอาข่า อ่ามา ที่มีแหล่งปลูกมาจากธรรมชาติ และเกิดจากความใส่ใจของพี่น้องชาวอาข่าเกษตรกรท้องถิ่น “อิฐ” ถือเป็นพระเอกในการออกแบบครั้งนี้ก็ว่าได้ ส่วนหนึ่งมาจากความชอบของเจ้าของ และเพื่อบ่งบอกคาแร็กเตอร์ของแบรนด์ที่เน้นความเป็นธรรมชาติ สถาปนิกจึงนำอิฐมาสร้างสรรค์แพตเทิร์นที่น่าสนใจในหลาย ๆ มุม นอกเหนือจากการก่อโชว์แนวธรรมดา เริ่มตั้งแต่ผนังด้านหน้าทั้งซ้าย-ขวา ซึ่งโดดเด่นด้วยการทำแพตเทิร์นให้แผ่นอิฐยื่นออกมาแบบแรนดอม เพื่อให้เกิดภาพกราฟิกบนผนัง มีเส้นทางการเข้าถึงคาเฟ่แบ่งเป็นสองฝั่ง มีกระบะต้นไม้อยู่ตรงกลาง ด้านขวาเมื่อหันหน้าเข้าคาเฟ่มีทางขึ้นแบบขั้นบันได ส่วนฝั่งซ้ายเป็นทางลาดชัน ฝั่งที่เป็นขั้นบันไดเหมาะกับคนที่มาซื้อกาแฟแล้วไป ส่วนคนที่อยากสัมผัสสเปซก็ให้เดินอ้อมมาทางแลมป์ซึ่งมีที่นั่ง เหมาะมาใช้เวลาชิล ๆ จิบกาแฟ พร้อมชมวิวเมืองตอนเช้า เนื่องจากหน้าอาคารหันไปทางทิศเหนือ จึงไม่ร้อน หรือเจอกับแสงแดดโดยตรง […]

NANA COFFEE ROASTERS BANGNA ตัดขาดความวุ่นวายของถนนบางนา เพื่อมาโฟกัสรสชาติกาแฟ กลางสวนสีเขียว

บ้านหลังใหม่ของ NANA Coffee Roasters ที่ซ่อนตัวอย่างสงบเบื้องหลังกำแพงสีขาว ราวกับกำลังตัดขาดตัวเองจากความวุ่นวายของถนนบางนา-ตราดด้านนอก เพื่อสร้างประสบการณ์ให้ทุกคนได้ตั้งใจดื่มด่ำกับกาแฟ ท่ามกลางอ้อมกอดของสวนสีเขียว NANA Coffee Roasters Bangna สาขาใหม่ แห่งนี้ เกิดจากความตั้งใจของคุณกุ้ง-วรงค์ ชลานุชพงศ์ และคุณกุ้ง- กานดา โทจำปา ที่ต้องการให้ที่นี่รวมทุกเรื่องราวของกาแฟมาไว้ในที่เดียวกัน เช่นเดียวกับจุดประสงค์ที่อยากให้ทุกคนมาตั้งใจดื่มด่ำกับกาแฟ พร้อมการสร้างบรรยากาศที่ผูกร้อยเรื่องราวกว่าจะมาเป็นกาแฟตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ เพื่อพาทุกคนเข้าสู่โลกของกาแฟอย่างแท้จริง การออกแบบคาเฟ่สาขานี้ มาจากไอเดียที่อยากสร้างบรรยากาศของการดื่มกาแฟมากกว่าการมาเพื่อถ่ายรูป กลายเป็นโจทย์ให้คุณเป้-จีรเวช หงสกุล จาก IDIN Architects กับคุณป๊อก-อรรถพร คบคงสันติ จาก TROP : terrains + open space นำความต้องการดังกล่าวมาตีความว่าจะทำอย่างไรให้บรรยากาศการดื่มกาแฟได้รับการเติมเต็มผ่านการสร้างสรรค์ทั้งสถาปัตยกรรมและแลนด์สเคป โดยใช้ภาษาที่เรียบง่ายและสลายเส้นแบ่งระหว่างงานทั้งสองให้หลอมรวม เปลี่ยนพื้นที่ร้านอาหารเก่าสู่คาเฟ่ของคอกาแฟ จากร้านซีฟู้ด “อบอวน มหาชัย บางนา” สู่การปรับเปลี่ยนพื้นที่ให้กลายเป็นบ้านหลังใหม่ของ “NANA Coffee Roasters” โดยใช้เวลาก่อสร้างที่จำกัดเพียง 4 เดือน คุณเป้เลือกเก็บอาคารเดิมไว้หลังหนึ่ง ส่วนโครงสร้างชั่วคราวได้รื้อออกทั้งหมด […]

SAWO RONTGEN คาเฟ่โปร่งแสงบนสนามหญ้าหน้าบ้าน

SAWO RONTGEN สาขาล่าสุดของ Sawo Coffee & Roastery แบรนด์คาเฟ่ในเมืองบันดุง ประเทศอินโดนีเซีย สาขาใหม่นี้ตั้งอยู่บนสนามหน้าบ้านหลังกะทัดรัดในย่านพักอาศัยบนถนน Rontgen ซึ่งชื่อถนนแห่งนี้ได้กลายเป็นที่มาของแนวคิดหลักในการออกแบบ Röntgen หมายถึงการเอ๊กซเรย์ (X-ray) ตามชื่อของศาสตราจารย์เรินต์เกนผู้ค้นพบรังสีเอ๊กซ์ จากชื่อถนนที่ตั้งนำมาสู่แนวคิดการออกแบบคาเฟ่ขนาดเล็กด้านหน้าบ้าน ให้มีรูปลักษณ์โปร่งแสงไม่ต่างจากการเอ๊กซเรย์ หลังจากทีมออกแบบได้ทำการศึกษาค้นคว้าวัสดุโปร่งแสงรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้ตอบโจทย์แนวคิดการออกแบบในที่สุด บล็อกแก้ว และกระจกกัดกรด จึงถูกใช้เป็นวัสดุหลัก โครงสร้างผนังบล็อกแก้วบนสนามด้านหน้าบ้านดูคล้ายกล่องสี่เหลี่ยม ที่ช่วยกำหนดขอบเขต และสร้างเส้นแบ่งให้ส่วนคาเฟ่โดยเฉพาะ ส่วนกระจกกัดกรดมีผิวสัมผัสซาตินเป็นเหมือนผิวภายนอกของคาเฟ่ที่ห่อหุ้มองค์ประกอบต่าง ๆ ของบ้านเดิมไว้ ทำให้เกิดเลเยอร์ใหม่ดูน่าสนใจบนเปลือกอาคารเก่า โดยไม่ต้องปรับเปลี่ยนอะไรมาก วัสดุบล็อกแก้ว และกระจกกัดกรด สร้างความขัดแย้งอย่างลงตัวกับทั้งโครงสร้างอาคาร และธรรมชาติรอบข้าง นำไปสู่รูปลักษณ์ความโปร่งแสงสลับโปร่งใสในหลากหลายรูปแบบอย่างที่ทีมออกแบบตั้งใจ ส่วนโครงสร้างหลักใช้เหล็ก H-beam ชุบกัลวาไนซ์ ปล่อยเปลือยเปล่าโชว์ผิวสัมผัส เมื่ออยู่เบื้องหลังผิวโปร่งแสงของบล็อกแก้วและกระจก จึงเปรียบได้กับภาพเอ๊กซเรย์ที่ปรากฎเลเยอร์ของผิวหนัง และโครงกระดูก เมื่อเข้ามาภายในคาเฟ่จะพบเคาน์เตอร์กาแฟสีขาวเฉียบเรียบ ซึ่งเป็นซิกเนเจอร์ของ Sawo Coffee คอยบริการเสิร์ฟกาแฟก่อนที่ลูกค้าจะเข้ามาโซนที่นั่งด้านใน เซอร์ไพร้ส์กับที่นั่งเอ๊าต์ดอร์วงกลมที่ซ่อนอยู่ในกล่องบล็อกแก้ว รูปทรงวงกลมนี้ได้แรงบันดาลใจมาจากโลโก้ของแบรนด์ ซึ่งรูปทรงที่โดดเด่น และสมมาตรนี้ทำให้เกิดบรรยากาศที่สงบ สร้างบทสนทนาเรียบง่ายระหว่างผู้ใช้งานกับสถาปัตยกรรม ส่วนด้านข้างมีบันไดเหล็กที่นขึ้นำไปสู่ห้องชั้นบนที่มีที่นั่งแบบอินดอร์ […]

BUDDHA-BAR ด้วยแรงบันดาลใจงานออกแบบจากสังสารวัฏในทัศนะพุทธปรัชญา

ที่นี่คือ Buddha-Bar New York ร้านอาหารที่เลื่อมใสในคติพุทธปรัชญา และหยิบยกเอาแนวคิดคำว่า “การเกิดใหม่” มาใช้เป็นคอนเซ็ปต์หลักของบร้าน ดังจะเห็นได้ชัดจาก ณ กึ่งกลางของร้านที่มีประติมากรรมอีกชิ้นที่เกิดจากไม้ยืนต้นตาย รวมทั้งบรรดาผนัง และท็อปโต๊ะก็เลือกใช้ไม้ที่มีอายุกว่า 800-4,000 ปี มาประกอบเข้าด้วยกัน เพื่อสื่อถึงวัฏจักรที่เวียนว่ายเกิดสู่สังสารวัฏที่แตกต่างไปในแต่ละชาติ “อานนท์เอ๋ย จงพึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่าธรรมวินัยอันใดที่เราได้แสดงแล้ว บัญญัติแล้วขอให้ธรรมวินัยอันนั้นจงเป็นศาสดาของพวกเธอแทนเราต่อไป หาใช่รูปแทนทั้งปวง” พระตถาคตได้กล่าวไว้ก่อนปรินิพพาน และร้านอาหารแห่งนี้ก็ได้จัดวางประติมากรรมรูปพระตถาคตเอาไว้อย่างแม่นเหมาะ ประติมากรรมนี้สร้างขึ้นจากกระจก 1,000 แผ่น เรียงต่อกันเป็นรูปร่างขึ้น โดยมีเครื่องฉายภาพอยู่ภายในที่จะสร้างภาพสามมิติประกอบอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งประติมากรรมนี้สื่อถึงภาชนะที่ว่างเปล่าคล้ายกายหยาบที่เรากำลังห่มคลุมอยู่ในทุกเมื่อเชื่อวัน โดยมีแก่นสารแห่งชีวิตอยู่ภายในนั่นเอง และจุดเด่นอีกส่วนที่สำคัญ ก็คือโคมไฟระย้าโลหะรูปทรงโมเดิร์นที่สื่อถึงบรรยากาศแบบเอเชี่ยนออกแบบโดย Kateryna Sokolova ห่มคลุมพื้นที่คล้ายดอกไม้บานสื่อถึงการตื่นรับความคิดใหม่ ๆ สู่จิตตน ก็เป็นอีกหนึ่งงานออกแบบที่น่าสนใจซึ่งอาจจะไม่ได้เห็นได้ในประเทศไทย แต่ด้วยการตีความทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม ร้านอาหารแห่งนี้ก็กล่าวถึงวัฏจักรแห่งชีวิตแฝงไว้ตามวัสดุและรูปแบบการใช้งานได้อย่างน่าสนใจ เพราะสุดท้ายแล้วพุทธที่แท้ล้วนคือคำสอนดังที่พระตถาคตได้กล่าวเอาไว้จนหมดสิ้นนั่นเอง ออกแบบ : YOD design lab ภาพ : Andriy Bezuglovเรื่อง : Wuthikorn Sut

JINYU CAFE AND EATERY เปลี่ยนตึกแถวเป็นคาเฟ่กลิ่นอายจีน

Jinyù cafe and eatery คาเฟ่เชียงราย ที่เกิดจากการรีโนเวตอาคารพาณิชย์ขนาด 1 คูหา ให้อบอวลไปด้วยกลิ่นอายจีนทั้งการตกแต่งภายในและสวนด้านข้าง

OTW.CNX คาเฟ่มินิมัลเปิดใหม่ย่านแม่ริม

OtW.cnxคาเฟ่แม่ริม กับคอนเซ็ปต์นำถนนในแผนที่มาตีความใหม่ เหมาะกับที่ตั้งบนถนนสายท่องเที่ยว คาเฟ่สวยเปิดใหม่ ที่ไม่อยากให้คุณพลาด หรือขับรถเลยผ่านไป กับ OtW.cnx คาเฟ่สวยสไตล์มินิมัล ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนทางกลับจากแม่ริมก่อนเข้าตัวเมืองเชียงใหม่ OtW.cnx ตั้งอยู่ภายในพื้นที่ของโรงแรม Nakronping Boutique ที่กำลังอยู่ในขั้นตอนของการรีโนเวต โดยขอจัดเสิร์ฟคาเฟ่นี้ ก่อนที่โรงแรมจะรีโนเวตเสร็จสมบูรณ์ โดยเจ้าของมีจุดประสงค์ให้บริการทั้งแขกของโรงแรม ผู้คนทั่วไป และนักเดินทางได้แวะมาพักผ่อน ด้านหน้ามีรายละเอียดการออกแบบที่น่าสนใจ คือ กำแพงโปร่งลายตาราง ตีเป็นเส้นกริดจากเหล็กสีดำ ตกแต่งด้วยแผ่นไม้ เสมือนการมาร์กจุดเป็นพ้อยท์แบบแรนดอม เปรียบเทียบเหมือนการปักหมุดในแผนที่บนเส้นทางการท่องเที่ยว สมกับพิกัดของที่ตั้ง และชื่อของคาเฟ่ ซึ่งย่อมาจาก “On the Way” จากพิกัดของที่ตั้งดังกล่าว pommballstudio ได้ตีความจนออกมาเป็นงานออกแบบอย่างน่าสนใจ “ไอเดียของที่นี่ เนื่องจากมีที่ตั้งอยู่ในเส้นทางการท่องเที่ยว เราจึงเลือกใช้ธีมนี้มาเป็นโจทย์ของการออกแบบ โดยเฉพาะภาพถนน หรือทางแยกตัดกันในแผนที่ ที่ถูกนำมาเป็นไอเดียของแพตเทิร์นต่าง ๆ แปลงเป็นเส้นกริด ปรากฏอยู่ในหลาย ๆ ส่วน เช่น ฟาซาดที่เป็นเส้นกริดจากกระบื้อง และการตกแต่งไฟแอลอีดีเป็นเส้นสีขาวตัดกันคล้ายเส้นถนนในแผนที่ ทั้งโคมไฟเพดาน ไฟตกแต่งข้างผนัง รวมถึงชั้นวางของภายในร้านด้วยครับ” คุณธนชาติ สุขสวาสดิ์ […]

BITE AND BOND คาเฟ่กลิ่นอายทรอปิคัล ซ่อนอยู่ในโฮสเทลย่านเสาชิงช้า

Bite and Bond คาเฟ่น้องใหม่ ที่อยากชวนคุณมานั่งชิล พร้อมชมย่านเก่า “เสาชิงช้า” ภายใน double b hostel โฮสเทลที่เกิดจากการรีโนเวตพื้นที่ตึกแถวเก่าให้อบอุ่นด้วยงานไม้ สร้างประสบการณ์แห่งการพักผ่อนอย่างผ่อนคลาย ภายในตรอกนาวาหลังโบสถ์พราหมณ์ คือที่ตั้งของคาเฟ่ที่ซ่อนอยู่ที่ชั้นล่างของ double b hostel โฮสเทลที่เกิดจากการรีโนเวตตึกแถวเก่าและโรงจอดรถของครอบครัว คุณเบ้น-ปริญ จิวารุ่งเรือง เจ้าของโฮสเทลและคาเฟ่ที่ room พามาเยือน เธอเล่าว่า เดิมที่นี่เป็นตึกแถวเก่าของอากง ใช้สำหรับเก็บของและเป็นที่จอดรถของครอบครัว ซึ่งทำธุรกิจหล่อพระในย่านเสาชิงช้า แต่เนื่องจากตัวอาคารและพื้นที่ด้านในได้ผ่านการใช้งานมานาน โครงสร้างส่วนใหญ่ซึ่งมีอายุกว่าร้อยปีเริ่มผุพังไม่แข็งแรง ทางบ้านจึงต้องการแก้ไขดัดแปลงอาคารใหม่ เธอจึงปรึกษากับคุณพ่อ และขออนุญาตรีโนเวตตึกแถวนี้เพื่อเปิดเป็นโฮสเทล จุดเริ่มต้นธุรกิจใหม่ของครอบครัว โดยมีโจทย์ว่า ภายในโฮสเทลจะต้องมีพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมเยอะ ๆ สำหรับแขกของโฮสเทล หรือคนทั่วไปสามารถเข้ามาพบปะเจอะเจอกัน ในฐานะที่มีคาเฟ่ซ่อนอยู่ด้านใน ตรงตามชื่อ Bite and Bond ที่อยากให้คนได้มาพบปะและนั่งกินขนมอร่อย ๆ ด้วยกัน ผสมกับความต้องการที่อยากดึงเรื่องของความเป็นธรรมชาติเข้ามายังพื้นที่ภายใน ผ่านรายละเอียดงานออกแบบที่ให้ความรู้สึกถึงความอบอุ่น สร้างความใกล้ชิดกับธรรมชาติ แม้จะอยู่ในตึกแถวแบบปิดทึบก็ตาม ด้านหน้าโดดเด่นด้วยฟาซาดทำจากไม้พาสวู้ด ซึ่งมีคุณสมบัติทนแดดและฝน นำมาออกแบบคล้ายไม้ระแนงที่สูงขึ้นไปจนถึงปลายสุด ที่มีลักษณะคล้ายรูปอักษรดับเบิ้ลยู […]

COFFEE NGEGGEE เปลี่ยนโกดังเก่าเป็นคาเฟ่ กับงาน ออกแบบที่ถอดเรื่องราวมาจากภาพวาดจีน

“Coffee Ngeggee” จากร้านกาแฟเล็ก ๆ ซึ่งมีชื่อเรียกตามชื่อของอาม่า ที่คนในละแวกอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ หรือที่อยู่ใกล้เคียงต่างติดใจ มาวันนี้ถึงคราวต้องย้ายจากคาเฟ่บ้านไม้ สู่พื้นที่ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นภายในโกดังเก็บสินค้าเก่าของครอบครัว เพื่อให้มีพื้นที่สำหรับทำเบเกอรี่และอาหารที่จริงจังขึ้น พร้อมกับช่วยสะท้อนตัวตนและเรื่องราวความเป็นคนไทยเชื้อสายจีนได้อย่างตรงตัวและชัดเจน โดยทีม pommballstudio ยังคงรักษารูปทรงของโครงสร้างโกดังเก่า ขนาด 240 ตารางเมตร นี้ เอาไว้ ไม่รื้อหลังคา หรือโครงสร้างใด ๆ ก่อนจะบรรจุงานออกแบบที่สะท้อนถึงกลิ่นอายความเป็นจีนเข้าไป สร้างสรรค์ให้โกดังเก่ากลายเป็นคาเฟ่สไตล์จีนที่น่ามาเยือน โดยได้วางใจให้ pommballstudio เป็นผู้ออกแบบ โดยทีมออกแบบยังคงรักษารูปทรงของโครงสร้างโกดังเก่า ขนาด 240 ตารางเมตร นี้ เอาไว้ ไม่รื้อหลังคา หรือโครงสร้างใด ๆ ก่อนจะบรรจุงานออกแบบที่สะท้อนถึงกลิ่นอายความเป็นจีนเข้าไป สร้างสรรค์ให้โกดังเก่ากลายเป็นคาเฟ่สไตล์จีนที่น่ามาเยือน แนวคิดการออกแบบ สถาปนิกหยิบไอเดียภาพวาดพู่กันจีนโบราณ มาใช้เป็นคอนเซ็ปต์หลัก เริ่มตั้งแต่ทางเข้าคาเฟ่ ที่หากสังเกตดี ๆ ที่พื้นจะพบกับกราฟิกตัวหนังสือภาษาจีน ซึ่งแปลเป็นไทยว่า “ยินดีต้อนรับ” เป็นเสมือนพรหมแดงนำทางทุกคน มุ่งเดินจากลานจอดรถเพื่อมายังตัวอาคาร ที่ถูกขนาบข้างทั้งซ้าย-ขวาด้วยสวนหิน ซึ่งทำจากแผ่นหินที่นำมาเรียงต่อกันเป็นรูปก้อนหินในลักษณะของแผ่นแบน ๆ ซ้อนเลเยอร์กัน เหมือนรูปวาดสองมิติในภาพวาดจีนโบราณ […]