โรงสีโภชนา ร้านอาหารเหลาร่วมสมัยในบรรยากาศไทย-จีน

ข้าวต้มกุ๊ย และอาหารเหลา ดูเหมือนจะกลายเป็นอาหารมื้อดึกสไตล์จีนที่แทรกซึมอยู่ในวัฒนธรรมสตรีทฟู้ดของไทยมายาวนาน เมื่อ โรงสีโภชนา พาข้าวต้มกุ๊ยพร้อมเมนูซีฟู้ดทะเลเผามาแปลงโฉมใหม่ให้ร่วมสมัยยิ่งขึ้น สาขาล่าสุดที่ย่านนางลิ้นจี่ จึงนำเสนอประสบการณ์ที่แตกต่างให้มื้อพิเศษของครอบครัว ด้วยการแปลงโฉมโกดังเก่าริมถนนให้กลายเป็นร้านอาหารบรรยากาศไทย-จีน เปี่ยมชีวิตชีวา โรงสีโภชนา คืออีกหนึ่งแบรนด์ร้านอาหารในเครือ iberry Group ซึ่งขึ้นชื่อเรื่องการนำสตรีทฟู้ดหรืออาหารไทย ๆ ที่เราคุ้นชินมาสร้างสรรค์ในมิติใหม่ ผ่านการยกระดับวัตถุดิบ และการนำเสนอที่ร่วมสมัย ไม่ว่าจะเป็น กับข้าว’กับปลา รส’นิยม หรือแบรนด์ร้านยำน้องใหม่อย่าง เบิร์นบุษบา ฯลฯ โรงสี โภชนาต่อยอดมาจากร้าน โรงสีริมน้ำที่เดิมตั้งอยู่ภายในพื้นที่ของโครงการ ล้ง 1919 (Lhong 1919) ย่านคลองสาน โดยเน้นเมนูอาหารแบบไทย-จีน ที่หนักไปทางอาหารจีนเมนูมื้อดึก ตามสโลแกน “ซีฟู้ดสดใหม่ ไทยจีนขึ้นเหลา ทะเลเผา ข้าวต้มกุ๊ย & เบียร์วุ้น” สาขาล่าสุดย่านนางลิ้นจี่โดดเด่นด้วยบรรยากาศร้านอาหารจีนร่วมสมัย กลิ่นอายความเป็นจีนที่สนุกสนานมีชีวิตชีวา ตอบโจทย์ลูกค้าครอบครัว ฝีมือการออกแบบของ Atelier2+ สตูดิโอออกแบบชั้นนำของไทย ผู้อยู่เบื้องหลังการออกแบบร้านอาหารหลายแบรนด์ของ iberry Group ตามไปฟังคุณวรพงศ์ มนูพิพัฒนพงศ์ ตัวแทนทีมออกแบบบอกเล่าเบื้องหลังกระบวนการออกแบบที่นี่ “ส่วนใหญ่แบรนด์ต่าง […]

ANTIQUARIAN BOOK SHOP IN JIMBOCHO ออกแบบร้านหนังสือเก่า ที่มีดีไซน์ไม่เก่าเลย

เอาใจบรรดาหนอนหนังสือ กับการพาไปดูร้านหนังสือเก่าดีไซน์เท่ ที่ดีไซน์ไม่เก่าเลย ซึ่งตั้งอยู่ในย่านจิมโบโช (Jimbocho) ย่านรวมร้านขายหนังสือเก่าที่ใหญ่ที่สุดกลางกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น Antiquarian Book Shop in Jimbocho ดูโดดเด่นอยู่บริเวณหัวมุมของตรอกเล็ก ด้วยผนังที่ทำจากแผ่นอะลูมิเนียมมันวาว ต่างจากร้านทั่ว ๆ ไปในย่าน จุดเริ่มต้นของการออกแบบร้านหนังสือแห่งนี้ มาจากเจ้าของร้านกับหุ้นส่วนอีก 4 คน ตัดสินใจอยากปรับปรุงร้าน ซึ่งแต่ละคนต่างชื่นชอบและซื้อขายหนังสือโบราณ จึงต้องการสถานที่ที่สามารถจัดเก็บหนังสือโบราณทรงคุณค่า ไม่ว่าจะเป็นหนังสือมือสองจากตะวันตก หนังสือญี่ปุ่นโบราณ ม้วนกระดาษแขวน และม้วนหนังสือ แต่ถึงแม้จะเป็นร้านหนังสือเก่า เจ้าของก็อยากให้มีบรรยากาศสบาย ๆ ดูทันสมัย สตูดิโอ n o t architects studio ผู้รับหน้าที่ออกแบบ จึงเลือกปิดผนังด้วยแผ่นอะลูมิเนียม วัสดุที่มีความทนทาน และสื่อถึงความสมัยใหม่ ซึ่งเป็นกิมมิกที่สร้างความคอนทราสต์กันได้อย่างดี ระหว่างหนังสือโบราณกับโลกยุคปัจจุบัน สถาปนิกเลือกใช้แผ่นอะลูมิเนียมมาห่อหุ้มผนังอาคารฝั่งที่อยู่ติดกับตรอกทางเดินเพียงด้านเดียว ก่อนจะม้วนกลับเข้ามาทำหน้าที่เป็นผนังให้แก่พื้นที่ด้านในด้วยดีไซน์ที่ดูพลิ้วไหวอิสระ เว้นตรงกลางสำหรับเป็นทางเดินดูหนังสือได้จากทั้งสองฝั่ง บนผิวผนังจะมีรูเล็ก ๆ เป็นระยะเท่ากัน สำหรับใช้ล็อกขาชั้นวางหนังสือตามความต้องการ ไม่ว่าจะเชื่อมชั้นวางให้เป็นชั้นยาวสำหรับตั้งหนังสือหลาย ๆ เล่ม หรือถอดชั้นวางออกเพื่อแขวนม้วนหนังสือบนผนังได้ […]

SOAPBOTTLE ขวดสบู่ที่ทำมาจากสบู่

ละลายจนหมด ไม่เหลือเป็นขยะ กับสบู่ที่มีขวดทำมาจากสบู่อีกที แนวคิดแหวกแนวที่ใช้ได้จริง SOAPBOTTLE เริ่มต้นจากการตั้งคำถามถึงบรรจุภัณฑ์ที่เราใช้กับสิ่งของในชีวิตประจำวันที่มักลงเอยกลายเป็นขยะอย่างเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นสบู่ ยาสระผม น้ำยาล้าง หรือที่เราเรียกรวม ๆ ว่าเป็น Daily Use Product เพราะใช้ทุกวันนั่นก็คือเรากำลังก่อขยะมากขึ้นในทุกวันนั่นเอง อีกทั้งบรรจุภัณฑ์สำหรับของเหลวเหล่านี้ก็เป็นเรื่องยากเหลือเกินที่จะทำขึ้นจากวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พูดง่าย ๆ คือ Recycle ได้ยากนั่นแหละ Jonna Breitenhuber จึงได้เริ่มต้นโครงการนี้เป็นวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทของเธอ ก่อนจะขยายผลโดยการร่วมทุนใน Kickstarter และด้วยผู้สนับสนุนที่มีแนวคิดรักษ์โลกเช่นเดียวกับเธอ SOAPBOTTLE จึงได้เริ่มต้นวางจำหน่ายจริงในที่สุด การออกแบบนั้นได้แนวคิดมาจากอุตสาหกรรมอาหาร ที่มักจะเห็นการบรรจุอาหารลงในสิ่งที่สามารถรับประทานได้ เช่น เนื้อในขนมปังกลายเป็นแฮมเบอร์เกอร์ หรือไอศกรีมที่นำไปใส่ในเวเฟอร์เป็นไอศกรีมโคน ความจริงแล้วทั้งขนมปังและเวเฟอร์นั้นเป็นบรรจุภัณฑ์แบบหนึ่ง และอันตรธานหายไปเมื่อเรารับประทานจนหมด ถ้าอย่างนั้นสำหรับผลิตภัณฑ์ความสะอาดส่วนตัว เราจะใช้วิธีเดียวกันได้หรือไม่? หลักการของ SOAPBOTTLE นั้นง่ายมาก คือ บรรจุผลิตภัณฑ์เหลวไว้ในขวดที่ทำมาจากผลิตภัณฑ์เดียวกันในเวอร์ชั่นที่คงรูปกว่า เมื่อต้องการใช้ก็เพียงตัดเปิดบรรจุภัณฑ์ที่มุมขวด จากนั้นก็สามารถจะเทของเหลวออกมาเมื่อต้องการใช้ SOAPBOTTLE มีคลิปสำหรับใช้ตัดและปิดฝาในตัวเองแยกจำหน่าย คลิปนี้สามารถนำกลับมาใช้อีกได้ตลอดไป จนเมื่อเราใช้ส่วนที่เป็นของเหลวจนหมด ก็สามารถนำเอาบรรจุภัณฑ์นั้นมาถูใช้เป็นเหมือนสบู่ก้อน(หรือยาสระผมแบบก้อน)ได้ต่อ สุดท้ายแล้วผลิตภัณฑ์เหล่านี้จึงไม่เหลือขยะใด ๆ เลยในที่สุด ปัจจุบัน […]

103PAPER ของตกแต่งที่สร้างความหมายใหม่ให้เศษกระดาษไร้ค่า

คอลเล็กชั่นประติมากรรมจาก 103PAPER โดยคุณวิทยา ชัยมงคล และคุณอัจฉรา ตันนี นำเสนอแนวทางใหม่ของผลิตภัณฑ์ตกแต่งบ้าน ด้วยวัสดุเรียบง่ายอย่างดินกระดาษ ที่ทำมาจากเศษกระดาษใช้แล้ว ผสานกับความงามเชิงศิลป์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ตอบโจทย์ผู้บริโภคเฉพาะกลุ่มได้อย่างน่าสนใจ และนี่คืออีกหนึ่งในแบรนด์ไทยน่าจับตาจากโครงการ Talent Thai โดย DITP หรือ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ หลังจากจบการศึกษาจากคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร คุณวิทยาทำงานในอุตสาหกรรมภาพยนตร์มาตลอด เขาคือผู้กำกับศิลป์ที่อยู่เบื้องหลังหนังดังหลายเรื่องไปจนถึงภาพยนตร์โฆษณามากมาย และเมื่ออาร์ตไดเร็กเตอร์หันมาสร้างแบรนด์ของตกแต่งบ้านจากงานอดิเรกที่เขาหลงใหล 103PAPER จึงเป็นเหมือนคอลเล็กชั่นงานศิลปะ ที่ถ่ายทอดแนวคิด และตัวตนของคุณวิทยาได้อย่างชัดเจน ก่อนเกิด 103PAPER “สิบกว่าปีก่อน ตอนที่ทำงานฟรีแลนซ์เป็นอาร์ตไดเร็กเตอร์ พอมีเวลาว่าง ผมมักหาพื้นที่แสดงออกด้านศิลปะของตัวเอง ลองหางานอดิเรกที่เราสนใจ ซึ่งช่วงนั้นผมสนใจงานปั้นเป็นพิเศษ แต่อย่างเซรามิกเราก็พอเข้าใจกระบวนการอยู่แล้ว เพียงแต่ไม่มีทักษะ ก็เลยลองหาวัสดุที่ทำงานง่ายกว่านั้น” เมื่อโจทย์เริ่มต้นคืองานอดิเรก คุณวิทยาจึงเลือกทำงานปั้นด้วยวัสดุที่หาง่ายใกล้ตัวอย่างกระดาษใช้แล้วหลากหลายชนิด โดยนำมาทดลองหาส่วนผสม เพื่อขึ้นรูปเป็นรูปทรงต่าง ๆ หลังจากลองผิดลองถูก และสนุกกับงานอดิเรกนี้อยู่หลายปี จนเกิดผลงานจำนวนหนึ่ง พาให้เขาลองหาแนวทางใหม่ในเชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรก “ย้อนกลับไปตอนนั้นเราไม่ได้คิดหรอกว่าทำแล้วจะขายได้ เพราะเราไม่ได้ตั้งใจสร้างสรรค์เพื่อการตลาด ไม่ได้โฟกัสเลยว่าคนซื้อจะชอบอะไร เราแค่ทำในแบบที่เราชอบไปเรื่อย ๆ พองานเริ่มเยอะเลยลองเอาไปวางขายดู ที่แรกเป็นตลาดกลางคืน […]

ร้านขายผัก ที่ออกแบบโดย Nendo มาเพื่อช่วยกระจายผลผลิตโดยตรงจากเกษตรกร

ร้านขายผัก หน้าตาเหมือนร้านค้าริมทางที่ขายผักคุณภาพดี แต่หน้าตาไม่ดี ช่วยเติมเต็มเศรษฐกิจให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ โปรเจ็กต์ ร้านขายผัก ริมทางเล็ก ๆ นี้ มีที่มาจากการมองเห็นปัญหาผักไม่สวย หรือแค่รูปร่างไม่ได้มาตรฐาน มักต้องกลายเป็นเศษเหลือทิ้งอย่างเปล่าประโยชน์ ด้วยมาตรฐานการขนส่งของอุตสาหกรรมการเกษตรในประเทศญี่ปุ่น แต่ผักไม่สวย ไม่ได้แปลว่าจะด้อยคุณภาพ ดังนั้นเพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกร ให้ได้รับค่าตอบแทนจากผลผลิตอย่างเต็มที่ nendo บริษัทออกแบบชื่อดังจึงได้เข้ามามองหากลไกใหม่ ๆ เพื่อนำพาผักเหล่านี้ให้ได้มีทางออกไปสู่มือผู้บริโภคได้ดีขึ้นในราคาย่อมเยา nendo ได้นำเสนองานออกแบบแผงขายผักที่ทำขึ้นอย่างง่าย ๆ ซึ่งเป็นระบบการประกอบที่สามารถปรับเปลี่ยนรูปร่าง และการใช้งานได้ตามผลผลิตที่ต้องการนำมาวางขาย ก่อนนำไปให้เกษตรกรจัดวางไว้ตามริมถนนใกล้กับพื้นที่ทางการเกษตร ที่มาของผลผลิตเหล่านั้น ทุก ๆ คนเมื่อเดินทางผ่านพื้นที่เกษตรเหล่านั้น ก็จะสามารถซื้อและจ่ายเงินได้ผ่านกล่องรับเงินที่ติดตั้งไว้ตามราคาบนแผ่นป้าย หรือจะยิง QR CODE จ่ายก็ทำได้เช่นกัน วิธีการนี้จะทำให้เกษตรกรได้รับผลตอบแทนโดยตรง ไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง โดยผู้บริโภคจะได้ผักสดใหม่(ใหม่จริงเพราะปลูกแล้วก็ถอนมาวางเลย) ในราคาย่อมเยา ที่สำคัญผู้ผลิตก็จะได้ระบายผลผลิตที่ส่งเข้าระบบ Modern Trade ไม่ได้ ให้มีทางออก ไม่ต้องนำไปทิ้งโดยเปล่าประโยชน์ จากตัวอย่างดี ๆ นี้ ลองหันกลับมามองที่เมืองไทย เราอาจคุ้นเคยกับแผงขายผักเช่นนี้ตามริมทางขณะขับรถไปต่างจังหวัด แต่ถ้าลองพัฒนาให้เข้าระบบ E-Commerce ปรับปรุงระบบ QR […]

SORVETE DA RESERVA ICE CREAM SHOP ออกแบบร้านไอศกรีมยุค NEW NORMAL

ร้านไอศกรีมอารมณ์ไม้ ที่ขอเน้นแบ่งพื้นที่อย่างเป็นสัดส่วน ตอบรับยุค New Normal ตอบโจทย์ความปลอดภัยด้านสุขภาพและงานบริการ อย่าง ร้านค้า และร้านอาหาร เพื่อให้เกิดความมั่นใจทั้งต่อตัวลูกค้าและผู้ให้บริการเอง ดังตัวอย่างการออกแบบร้านขายไอศกรีม ในประเทศบราซิลแห่งนี้ ดีไซเนอร์จากสตูดิโอ PORO Arquitetura ได้ออกแบบร้านไอศกรีมให้บรรจุอยู่ในอาคารขนาดเล็กที่มีพื้นที่เพียง 40 ตารางเมตร โดยได้กำหนดพื้นที่ใช้งานอย่างเป็นสัดส่วน ด้านหน้าเป็นพื้นที่นั่งพักคอยเล็ก ๆ ระหว่างกำลังรอสั่งซื้อไอศกรีม ซึ่งที่นี่เน้นการซื้อกลับไปรับประทานมากกว่าการนั่งรับประทานในร้าน ขณะที่เคาน์เตอร์ของพนักงานจะถูกกั้นด้วยแผ่นโปร่งใส ที่เจาะช่องว่างเล็ก ๆ ไว้สำหรับจ่ายเงินและรับไอศกรีม ลึกเข้าไปด้านในอีกชั้นคือส่วนของพื้นที่ครัว ฐานการผลิตไอศกรีมสูตรโฮมเมดรสชาติแสนอร่อย ขณะเดียวกันก็ยังไม่ทิ้งกลิ่นอายของงานดีไซน์ โดยมีไม้ และธรรมชาติเข้ามาเป็นส่วนช่วยเติมเต็มยุค New Normal นอกจากการวางผังพื้นที่ใช้งานเเล้ว ความโดดเด่นของที่นี่ คือการทำโครงสร้างไม้ตกแต่งไล่ลงมาจากฝ้าเพดาน ทำเป็นชั้นวางของ เรื่อยลงมาจนถึงการเป็นเคาน์เตอร์ไม้ริมผนังกระจกหน้าร้าน ไม่ลืมตกแต่งด้วยกระถางต้นไม้ที่ปลูกพรรณไม้ในร่มเขตร้อนหลายชนิด ช่วยเติมบรรยากาศความสดชื่นได้เป็นอย่างดี ก่อนเพิ่มสีสันให้ร้านด้วยกระเบื้องไฮดรอลิกสีน้ำเงิน ที่ดีไซเนอร์เลือกมาปูพื้น โดยอ้างอิงจากสีของทะเลสาบ Almécegas Lake ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สำคัญของเมือง Pedrinhas ซึ่งเป็นที่ตั้ง เช่นเดียวกับกระเบื้องสีขาวด้านหน้าเคาน์เตอร์ ที่ออกแบบให้มีเส้นสีน้ำเงินตัดผ่านแบบทแยงมุม ก่อนนำมากรุลงไปแบบแรนดอมดูสนุกและสดใสมากขึ้น ออกแบบ : PORO […]

Domestic Loom รีดีไซน์กี่ทอผ้าสู่การพัฒนาหัตถกรรมผ้าทอ

ในขณะเราพยายามนำพางานหัตถกรรมดั้งเดิมให้ก้าวไปข้างหน้าพร้อมกับโลกที่หมุนไปอย่างรวดเร็ว แต่นอกเหนือไปจากการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ที่ตอบโจทย์ยุคสมัย ทั้งแหล่งที่มาของวัตถุดิบ และกระบวนการเบื้องหลังงานฝีมือก็เป็นเรื่องที่ไม่อาจมองข้าม และยังคงต้องการการพัฒนาไม่แพ้กัน Domestic Loom คือกี่ทอผ้าดีไซน์ใหม่ ที่ชวนให้เราหันกลับมามองต้นทางของงานหัตถกรรมสิ่งทออีกครั้ง Domestic Loom กี่ทอผ้าฝีมือการออกแบบของ คุณพิบูลย์ อมรจิรพร สถาปนิกและนักออกแบบจาก Plural Designs ถือเป็นตัวแทนบอกเล่าความเป็นไปได้ใหม่ในการ “รีดีไซน์” เครื่องไม้เครื่องมือเบื้องหลังงานหัตถกรรมสิ่งทอ ให้ตอบโจทย์ยุคสมัย และสอดคล้องกับวิถีชีวิตของช่างผีมือยุคใหม่ได้ดียิ่งขึ้น จุดเริ่มต้นของโปรเจ็คต์นี้มาจากประสบการณ์ของคุณพิบูลย์ ที่ได้มีโอกาสเดินทางพบปะ ทำงานร่วมกับช่างทอ และนักออกแบบสิ่งทอในหลากหลายชุมชนหัตถกรรม ซึ่งเมื่อมองในภาพรวมจะพบว่าเครื่องมือหลักของช่างทอทั่วประเทศ ล้วนเป็นกี่ไม้เรียบง่าย ที่ผลิตขึ้นใช้เองในท้องถิ่น และแน่นอนว่าคนทอไม่ได้เป็นผู้สร้าง และคนสร้างไม่เคยได้ลองใช้ทอ คุณพิบูลย์: “ในชุมชนช่างทอ เราจะเห็นกี่ทำจากโครงไม้เป็นส่วนใหญ่ คล้ายกันแทบทุกหมู่บ้าน อาจเป็นเพราะทำง่าย ใช้วัสดุในท้องถิ่นได้เลย แต่ก็ยังไม่เห็นกี่ที่มีการพัฒนาให้ดูสวยขึ้น ช่วยให้นั่งใช้งานได้สบายขึ้น กี่แบบดั้งเดิมมีเสา 4 ด้าน ดูเกะกะ มักใช้งานไม่สะดวกสำหรับช่างทอผู้เฒ่าผู้แก่ จริง ๆ ผมเคยคิดไว้นานแล้ว แต่ยังไม่เคยมีโอกาสได้ลองทำ คราวนี้ได้คุยกับอาจารย์นุสรา เตียงเกตุ ที่ศูนย์การเรียนรู้การทอผ้า บ้านไร่ใจสุข จังหวัดเชียงใหม่ อาจารย์ก็บอกให้ลองทำดู เพราะส่วนใหญ่ช่างทอกับช่างทำกี่ […]

82 District จุดเริ่มของชุมชนครีเอทีฟแห่งใหม่ย่านเจริญกรุง 82

เมื่อสำนักงาน คาเฟ่ ร้านค้า และม็อกเทลบาร์แห่งใหม่ได้สร้างความเคลื่อนไหวล่าสุดให้กับหัวมุมซอยเจริญกรุง 82 ที่นี่จึงได้ชื่อว่า 82 District ย่านใหม่ของชุมชนนักสร้างสรรค์ ที่ดูเหมือนจะมีจุดเริ่มต้นมาจากการขยับขยายสำนักงานใหม่ของ Trimode Studio หนึ่งในสตูดิโอออกแบบแนวหน้าของไทย อาจกล่าวได้ว่า การย้ายสำนักงานมายังอาคารแห่งใหม่ของ Trimode พร้อม ๆ กับการเปิดตัว Tangible ซึ่งเป็นทั้งพื้นที่คาเฟ่ และไลฟ์สไตล์ช็อปในที่เดียวกันคือจุดเริ่มต้นสำคัญ ที่ช่วยปลุกบรรยากาศของปากซอยเจริญกรุง 82 หรือ 82 District ให้เริ่มคึกคัก ทีมงานจึงอยากต่อยอด พร้อมความตั้งใจที่จะส่งเสริมความเป็นย่านสร้างสรรค์ เป็นพื้นที่ใหม่ให้ผู้คนมาเยี่ยมเยือน พร้อมเสพงานดีไซน์ดี ๆ “ตั้งแต่มีร้าน Tangible คนก็เริ่มมาเดินเล่นในซอยกัน เราเลยนึกถึงโมเดลในต่างประเทศ ที่ร้านรวงต่าง ๆ จะช่วยสร้างความเป็นย่าน จึงพยายามดึงงานดีไซน์ หรือศิลปะมาสร้างจุดสนใจให้ย่านนี้” คุณชินภานุ อธิชาบดี หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Trimode Studio เริ่มต้นเล่าให้เราฟังว่าเมื่อผู้เช่าอาคารพาณิชย์ฝั่งตรงข้ามของร้าน Tangible ย้ายออกไปพอดี ทางทีมงานจึงทำการขยับขยายให้ภาพของย่านสร้างสรรค์แห่งนี้ชัดเจนขึ้น โดยปรับเปลี่ยนชั้นล่างของอาคารใหม่แห่งนี้ ให้กลายเป็นงานออกแบบร้านค้าหรือพื้นที่เชิงพาณิชย์ในแบบที่ Trimode ไม่เคยทำมาก่อน […]

MARE ร้านศัลยกรรมความงาม ที่ดึงเอาบรรยากาศของสวนสาธารณะมาไว้ในร้าน

ร้านเสริมสวยขนาดเล็ก ที่จัดการพื้นที่ด้วยการใช้ “ม่าน” เป็นตัวแบ่งสเปซ ทำให้พื้นที่ขนาดกะทัดรัดนี้มีความยืดหยุ่นสามารถปรับได้ตามการใช้งาน ดูโปร่งโล่ง ที่สำคัญคือสามารถมองเห็นวิวสวนได้อย่างเต็มตา

ผนังดินอัด La Terre (ลาแตร์) วัสดุธรรมชาติจากเทคโนโลยีโบราณสู่วัสดุสถาปัตยกรรมโมเดิร์น

ผนังดินอัด หนึ่งในวิธีการดั้งเดิมตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ของมนุษย์ในการสร้างอาคารที่อยู่อาศัย ด้วยความสนใจในความเป็นธรรมชาติทั้งความงามและในแง่ของวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ที่คุณปัจจ์ บุญกาญจน์วนิชา แห่ง บริษัท ลาแตร์ จำกัด ได้เลือกศึกษาในระดับปริญญาโท ณ สถาบันวิจัยดินเพื่อการก่อสร้างนานาชาติ CRA-Terre ซึ่งเป็นที่ปรึกษาขององค์การ Unesco และดูแลหลักสูตร Post Master in Earth Architecture ณ โรงเรียนสถาปัตยกรรมชั้นสูง เมืองGrenoble ประเทศฝรั่งเศส (Ecole Nationale Superieure D’architecture De Grenoble, France) และในวันนี้ room Magazine ก็ได้ขอมาเยี่ยมเยือนออฟฟิศของสถาปนิกผู้เชี่ยวชาญในทาง “ดิน” ที่เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งเดียวในไทยคนนี้กันเลยทีเดียว เริ่มต้นกับดิน “ผมเรียนจบจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิตช่วงปี 2542 เป็นช่วงวิกฤติต้มยำกุ้งพอดี ซึ่งงานหายากมาก พอจบออกมาก็ไปทำงานอยู่บริษัทรับเหมา ทำได้อยู่ช่วงหนึ่งก็ย้ายไปทำงานสถาปนิกที่ภูเก็ต ช่วงนั้นก็ทำหลายอย่าง เป็นดีเจบ้าง รับวาดภาพบ้าง สุดท้ายก็ตัดสินใจย้ายไปเรียนต่อที่ประเทศฝรั่งเศส เรียนอยู่ 4 ใบ เรียนจบก็ลงเรียนใหม่ต่อวีซ่าไปเรื่อย ๆ […]

งานทดลองวัสดุ ใหม่จากดอกไม้ใบหญ้าเหลือทิ้ง LUKYANG MATERIAL TESTING NO.1

งานทดลองวัสดุ ที่ทีมนักออกแบบลุกขึ้นมาทำการทดลอง ด้วยการเลือกวัสดุจากธรรมชาติที่อยู่รอบ ๆ ตัวมาหาความเป็นไปได้ใหม่ ๆ เพื่อเป็นการลดปัญหาสิ่งแวดล้อมจึงเลือกวัสดุธรรมชาติเหลือทิ้งในกลุ่มพืชล้มลุกและเปลือกผลไม้ มาแปรรูปแบบภูมิปัญญาชาวบ้าน ทั้งยังเป็นการรณรงค์ในการช่วยกันลดของเสียในครัวเรือน โดยการนำกลับมาแปรรูปใหม่อีกครั้ง สำหรับชุดการทดลองครั้งแรก ได้หยิบวัสดุธรรมชาติมาทั้งหมด 5 ชนิด ได้แก่ ดอกดาวเรือง ต้นปอเทือง ดอกอัญชัน ดอกกล้วยไม้แห้ง และเปลือกมังคุด ซึ่งวัสดุแต่ละชนิดก็มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป 1.ดอกอัญชัน ดอกไม้ที่คุ้นเคยในการนำมาสกัดเป็นสีธรรมชาติ เมื่อตัวดอกดูดซับน้ำแล้วจะเกิดการพองตัว ด้านคุณสมบัติมีความโปร่ง แต่เปราะบางและไม่ยืดหยุ่น เหมาะนำไปทำผลิตภัณฑ์ที่ต้องการการย่อยสลายง่าย 2.ต้นปอเทือง พืชที่มักเห็นได้ตามท้องนาเนื่องจากมีคุณสมบัติในการบำรุงและรักษาหน้าดินในช่วงฤดูพักปลูกข้าว เมื่อทดลองพบว่ามีคุณสมบัติยืดหยุ่นได้ในระดับหนึ่งคล้ายนกระดาษสาและแข็งแรง เหมาะนำไปทำผลิตภัณฑ์ประเภทกระดาษ หรือผลิตภัณฑ์ที่ต้องการความโปร่งแสง 3.ดอกกล้วยไม้แห้ง ดอกไม้ที่พบในตลาดอุตสาหกรรม สีสันสวยงาม อยู่ได้นาน เมื่อทดลองพบว่ามีคุณสมบัติโปร่งแสง แต่เปราะบางและไม่คงรูป เหมาะนำไปทำผลิตภัณฑ์ที่ต้องการการย่อยสลายง่าย 4.เปลือกมังคุด วัสดุที่ถูกทิ้งเป็นจำนวนมาก เมื่อทดลองพบว่ามีคุณสมบัติความแข็งแรงในระดับหนึ่ง แต่ยืดหยุ่นน้อย มีความทึบแสง เหมาะสำหรับนำไปทำผลิตภัณฑ์ประเภทกระดาษ 5.ดอกดาวเรือง หากคุณเป็นสายไหว้พระ คงพบว่ามีดอกดาวเรืองเหลือทิ้งเต็มไปหมด ตัวดอกมีเส้นใยสูง เมื่อแห้งแล้วสีของดอกยังคงติดทนนาน เมื่อทดลองพบว่ามีคุณสมบัติยืดหยุ่นได้ระดับหนึ่ง เหมาะนำไปทำผลิตภัณฑ์ประเภทกระดาษ หรือผลิตภัณฑ์ที่ต้องการความโปร่งแสง หลังจากทดลองและทราบคุณสมบัติของวัสดุแต่ละชนิดแล้ว จึงนำไปสู่การทดลองออกแบบเป็นผลิตภัณฑ์เชิงดีไซน์ […]

SEASHORE LIBRARY ห้องสมุดคอนกรีตที่ตั้งโดดเดี่ยวอยู่ริมทะเล แต่ไม่เดียวดายด้วยสเปซและผู้คน

Seashore Library คือห้องสมุดที่ตั้งอยู่ริมหาด Bohai ที่ค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างขอบแขตพื้นที่ การเคลื่อนไหวของร่างกายมนุษย์ การเปลี่ยนแปลงของแสงโดยรอบ

The Playscape สนามเด็กเล่นที่ออกแบบมาเพื่อเสริมสร้างพัฒนาของเด็กโดยเฉพาะ

THE PLAYSCAPE คือโปรเจ็กต์รีโนเวตโกดังเก็บของที่ถูกทิ้งร้าง ให้กลายมาเป็น สนามเด็กเล่น แบบจัดเต็มที่ช่วยเสริมสร้างจินตนาการแบบไร้ขีดจำกัด

FABCAFE NAGOYA โชว์ศิลปะงานไม้ดั้งเดิมหาชมยาก ให้คนญี่ปุ่นรุ่นใหม่ได้สัมผัส

หยิบศิลปะงานไม้แบบญี่ปุ่น มาถ่ายทอดลงสู่พื้นที่ของ FabCafe Nagoya สะท้อนภูมิปัญญาการใช้ไม้แบบดั้งเดิมของญี่ปุ่นให้คนรุ่นใหม่ได้สัมผัส ไปพร้อมกับไลฟ์สไตล์คาเฟ่ฮอปปิ้งที่คนยุคนี้นิยม FabCafe Nagoya โปรเจ็กต์งานออกแบบคาเฟ่ของสถาปนิกสัญชาติญี่ปุ่น Suppose Design Office ที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ในการหยิบศิลปะงานไม้แบบญี่ปุ่น มาถ่ายทอดลงสู่พื้นที่ของคาเฟ่ทรงกล่องคอนกรีตขนาด 280 ตารางเมตร ที่ “Hisaya-odori Park”แลนด์มาร์คแห่งใหม่ของเมืองนาโกย่า ภายในได้รับการออกแบบให้บรรจุด้วยงานไม้หลากหลายรูปแบบ เพื่อสะท้อนภูมิปัญญาการใช้ไม้มาออกแบบที่พักอาศัยของชาวญี่ปุ่น เด่นสะดุดตากับโครงหลังคาไม้ ที่อยู่ใต้ฝ้าเปล่าเปลือยโชว์ให้เห็นท่องานระบบ สร้างความรู้สึกราวกับยกบ้านไม้โบราณมาคลุมพื้นที่เอาไว้ ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่สัมผัสได้ยาก ท่ามกลางความเจริญของเมืองคอนกรีตยุคใหม่ นอกจากนี้ยังมีการนำไม้มาตกแต่งบริเวณหน้าเคาน์เตอร์ รวมถึงเหล่าเฟอร์นิเจอร์ไม้หลายชิ้น โดยเฉพาะโครงขาที่โชว์ภูมิปัญญาการเข้าไม้ที่ไม่ใช้นอต หรือสกรูใด ๆ ทำให้ผู้มาเยือนคาเฟ่ได้สัมผัสทั้งบรรยากาศความอบอุ่นที่มีไม้เข้ามาเป็นส่วนประกอบ เหนือกว่านั้นคือการได้มองเห็นเสน่ห์อันน่าทึ่งของศิลปะงานไม้แบบญี่ปุ่นดั้งเดิม นำมาสู่การมองเห็นคุณค่าและการอนุรักษ์ตามมา Did You Know FabCafe ในไทยนั้น ดำเนินงานโดย FabCafe Bangkok ตั้งอยู่ที่ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ หรือ Thailand Creative & Design Center(TCDC) สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือชมผลงาน โครงการ และกิจกรรมต่าง ๆ ได้ตามลิงก์ข้างต้น […]

THE BARISTRO ASIAN STYLE รีโนเวตบ้านเก่าเชิงดอยสุเทพ เป็นคาเฟ่ไม้กลิ่นอายโมเดิร์นเอเชียน

The Baristro Asian Style คาเฟ่สาขาใหม่ภายใต้แบรนด์ The Baristro ที่เกิดจากการรีโนเวตบ้านเก่าชั้นเดียวในจังหวัดเชียงใหม่ ให้กลายเป็นคาเฟ่ไม้ โดดเด่นอยู่บนเนินหญ้าสีเขียว DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: pommballstudio ผลงานการออกแบบโดย pommballstudio ภายใต้คอนเซ็ปต์การนำภาพจำของบรรยากาศแบบเอเชียหลากหลายประเทศมาผสมผสานกันแบบหยิบเล็กผสมน้อย โชว์วัสดุธรรมชาติที่หาได้ในท้องถิ่น เพื่อบอกเล่าภาพความเป็น Asian Style ให้ยิ่งชัดเจนขึ้น The Barissian ต้อนรับทุกคนด้วยอาคารหลักด้านหน้า โดยออกแบบให้เป็น Speed Bar สถาปนิกเล่าว่า เดิมพื้นที่ตรงนี้เคยเป็นบ้านคอนกรีตชั้นเดียวมีสภาพทรุดโทรมมาก่อน หลังจากสำรวจพื้นที่แล้ว จึงนำมาสู่แนวคิดการออกแบบอาคาร ด้วยการยังคงเก็บรายละเอียดโครงสร้างที่แข็งแรงไว้บางส่วน ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างเสาเดิม และหลังคาแบบ Flat Slab เสมือนเป็นเครื่องช่วยย้ำเตือนถึงที่มาก่อนเปลี่ยนโฉมใหม่ ให้บ้านเก่ากลายเป็นคาเฟ่ไม้บนเนินหญ้า ที่มองทะลุเห็นบรรยากาศด้านในผ่านผนังกระจกใสรอบทิศ “ตอนวางมาสเตอร์แปลนเราพยายามวางอาคารให้แยกกัน รวมถึงอาคารหลังอื่น ๆ ที่จะเกิดขึ้นในเฟสต่อไป โดยมีแรงบันดาลใจมาจากหมู่บ้านของชาวเอเชีย ซึ่งมีอาคารอยู่คนละหลัง แล้วถูกเชื่อมด้วยคอร์ตยาร์ด ลานวัด หรือลานกลางหมู่บ้าน ดังนั้นเมื่อเข้าด้านในแล้ว เหมือนเรากำลังเดินอยู่ในหมู่บ้าน ผ่านเส้นทางสัญจรที่ลื่นไหล และค่อนข้างกว้าง สำหรับให้ลูกค้าได้ใช้เวลาพักผ่อนเดินเล่น ออกไปสัมผัสกับมุมมองภายนอกต่าง ๆ […]

วัสดุบ้านๆ ปรับใช้ในแนวใหม่ “DOMESTIC ALTERNATIVE MATERIALS” by THINKK Studio

วัสดุบ้านๆ เปลือกหอย กระดองปู ขวดแก้ว ผักตบชวา กากกาแฟ ใยมะพร้าว กะลามะพร้าว กาบหมาก และเศษผ้า เป็นเพียงส่วนหนึ่งของวัสดุที่ถูกนำมาพัฒนาขึ้นรูปเป็นแท่งสี่เหลี่ยม คล้ายกับท่อนโลหะรูปพรรณ หรือไม้แปรรูปในท้องตลาด เพื่อหาแนวทางการนำไปใช้ทดแทน หรือใช้ร่วมกับวัสดุต่างชนิดกัน อย่างการนำเสนอเป็นเฟอร์นิเจอร์ และโคมไฟ เพื่อทดสอบและท้าทายศักยภาพของวัสดุให้ได้มากที่สุด โดยโปรเจ็กต์นี้เป็นภาพใหญ่และทิศทางที่สำคัญหนึ่งของ THINKK Studio ในปัจจุบันและอนาคต โดยการเริ่มต้นครั้งนี้ ได้มีน้อง ๆ Graduate Internship คือ แนน-ชนิกานต์ จรัล ,โฟน-กิตติภณ โสดาตา และ เจด-เจษฎา สุพรรณโอชากุล มาช่วยในการทดลอง และจัดทำต้นแบบวัสดุร่วมกับทางสตูดิโอด้วย Domestic Alternative Materials เป็นการเสาะหา ค้นคว้าทดลอง เพื่อหาวัสดุทางเลือกในประเทศ จากเศษวัสดุเหลือใช้ต่าง ๆ มาสร้างเอกลักษณ์และตัวตนใหม่อีกครั้ง ก่อนพัฒนาศักยภาพสู่การแข่งขันในเวทีโลก รวมทั้งลดการใช้ทรัพยากรใหม่ที่เริ่มขาดแคลนลงทุกที “DOMESTIC” ในมุมมองที่สนใจ หรือนึกถึงเป็นอันดับแรกคือศักยภาพของประเทศในแง่มุมที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของสตูดิโอ ซึ่ง “วัสดุ” น่าจะเป็นสิ่งแรกที่ต้องเลือกใช้ในการผลิต และสร้างสิ่งต่าง […]

CITY LIVING ROOM คอมมูนิตี้มอลล์ สุดคูลริมแม่น้ำ ห้องนั่งเล่นแห่งใหม่ประจำเมือง

โปรเจ็กต์งานออกแบบ คอมมูนิตี้มอลล์ สีขาว ให้เป็นพื้นที่พบปะและทำกิจกรรมใหม่ของเมืองจินหัว บนพื้นที่ทำเลดีริมแม่น้ำสายเล็ก ๆ ผลงานการออกแบบโดย Mur Mur Lab หลังจากชิงช้าสวรรค์ของเล่นชิ้นสุดท้ายถูกรื้อถอนออกไปจากสวนสนุกในเมืองจินหัว ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำสายเล็ก ๆ ห่างจากทะเลสาบ Mingyue ไปทางใต้ 300 เมตร ที่ดินผืนนี้ก็กลายเป็นพื้นที่รกร้าง และอยู่ในความทรงจำของใครหลาย ๆ คน จนกระทั่งปี 2021 ที่นี่ได้รับการพลิกฟื้นคืนขึ้นมาอีกครั้ง ภายใต้บทบาทใหม่ด้วยการออกแบบให้เป็น คอมมูนิตี้มอลล์ ขนาดใหญ่ มีพื้นที่ใช้สอยราว 1,050 ตารางเมตร ประกอบด้วยกลุ่มอาคารสีขาวขนาดใหญ่ เปลือกอาคารดีไซน์คล้ายชายกระโปรงโบกพลิ้ว โดยตั้งใจให้ที่นี่เป็นเสมือนห้องนั่งเล่นใหม่ของชาวเมือง “สัญลักษณ์ใหม่ของเมือง” ที่ว่านี้ คือผลงานการออกแบบโดย Mur Mur Lab โดยต้องการให้ที่นี่มีความโดดเด่นทางด้านสถาปัตยกรรมดูแตกต่างจากอาคารทั่วไป ขับเคลื่อนแนวคิดที่เป็นนามธรรมภายใต้โจทย์ว่า ที่นี่คล้ายโรงละคร หรือเปรียบการใช้ชีวิตของผู้คนเหมือนละครที่ดำเนินชีวิตไปตามบทบาทของตนเอง จากแนวคิดดังกล่าวถูกคลี่คลายออกมาเป็นรูปธรรม ผ่านตัวอาคาร และพื้นที่ใช้สอยที่ตอบสนองต่อการใช้ชีวิต เน้นให้เกิดความรู้สึกสบายและผ่อนคลาย ไม่ต่างจากชื่อ “City Living Room” แต่ละกลุ่มอาคารประกอบด้วยร้านกาแฟ ร้านค้า พื้นที่จัดแสดงนิทรรศการและกิจกรรมต่าง […]

ISAN CUBISM หยิบศิลปะคิวบิสม์จากแดนอีสาน สู่ผลิตภัณฑ์ร่วมสมัยบอกเล่าอัตลักษณ์ไทย

“ISAN Cubism” หยิบศิลปะคิวบิสม์จากแดนอีสานพัฒนาสู่โปรดักต์ดีไซน์ ที่มีต้นทุนมาจากวัฒนธรรมการทอผ้าลายขิด งานไม้ และฮูปแต้มในสิม เพื่อบอกเล่าภูมิปัญญาชาวบ้านที่น่าทึ่ง ในการสร้างสรรค์ลวดลายอย่างง่าย ผ่านรูปทรงเรขาคณิตอันเต็มไปด้วยเสน่ห์ จากคุณค่าดังกล่าวได้รับการบอกเล่าผ่าน ดร.ขาม จาตุรงคกุล และ ผศ.ดร. ณัฏฐพงศ์ พรหมพงศธร ภายใต้แบรนด์ ISAN Cubism หนึ่งในแบรนด์ไทยจากโครงการ Talent Thai โดย DITP หรือ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ จุดเริ่มต้น ดร.ขาม จาตุรงคกุล และ ผศ.ดร. ณัฏฐพงศ์ พรหมพงศธร ทั้งคู่คืออาจารย์ผู้สอนด้าน Industrial design สาขาวิชาการออกแบบอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จากอุดมการณ์ร่วมกันที่อยากให้งานดีไซน์รับใช้ท้องถิ่น โดยเฉพาะนักศึกษาที่มีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่ ได้มีความเข้าใจและภูมิใจ ในวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของตน นำมาสู่แนวทางการสอนและการลงมือทำจริง อันเป็นจุดเริ่มต้นของแบรนด์ “ISAN Cubism” “เรามีความคิดกันว่าจะสอนอะไรพวกเขาดี เพราะในกรุงเทพฯ เราจะเห็นงานดีไซน์ที่มีความเป็นสากล แต่พอมาอยู่ที่อีสาน ผมมองว่านักศึกษาที่เรียนออกแบบในพื้นที่ พวกเขามีวัตถุดิบ ไม่ค่อยมีคนดีไซด์งานใหม่ ๆ […]