“มีวนา” แบรนด์กาแฟไทยกับวิถีวนเกษตรอินทรีย์ คนกับป่าพึ่งพากันอย่างยั่งยืน

ทุกครั้งที่ยกแก้วกาแฟขึ้นดื่ม ถ้าได้รู้ถึงที่มาของความอร่อยตรงหน้า ความสุขจะเพิ่มขึ้นเป็นเท่าทวีรึเปล่านะ? สำหรับเราความรู้สึกนี้ได้เกิดขึ้นหลังจากการไปเยือน MiVana Coffee Flagship Store  แฟล็กชิปสโตร์คาเฟ่ที่มีบรรยากาศร่มรื่นย่านศรีนครินทร์ของ “ มีวนา ” โดยเปิดขึ้นเพื่อหวังให้ที่นี่เป็นโมเดลต้นแบบในการส่งต่อแนวคิดการดูแลธรรมชาติ ผ่านไลฟ์สไตล์การดื่มกาแฟ กระตุ้นให้คนเมืองสนใจกาแฟออร์แกนิกกันมากขึ้น ตลอดการทำงานมากว่าสิบปีของแบรนด์กาแฟ “มีวนา” ได้ดำเนินธุรกิจภายใต้แนวทางเพื่อสังคม ผลิตกาแฟอาราบิก้าด้วยระบบวนเกษตรแบบอินทรีย์ กับการปลูกกาแฟแทรกไปกับต้นไม้ในผืนป่า แตกต่างจากการทำไร่กาแฟที่ต้องใช้ปุ๋ยและสารเคมีที่สามารถควบคุมปริมาณผลผลิตได้ตามความต้องการของตลาด ขณะที่การปลูกกาแฟใต้ร่มเงาป่าของมีวนา แม้จะไม่สามารถสู้เรื่องจำนวนการผลิตได้ แต่ในด้านคุณภาพที่ปลอดภัยและเป็นมิตรกับระบบนิเวศควบคู่ไปกับการส่งเสริมให้ชาวบ้านมีอาชีพและปลูกฝังความหวงแหนรักษาป่าละก็นั่นนับเป็นพันธกิจและเป้าหมายอันสำคัญกว่า เบื้องหลังแนวคิดนี้ คุณมิกิ-ชัญญาพัชญ์ โยธาธรรมสิทธิ์ รองกรรมการผู้จัดการงานพัฒนาธุรกิจและการตลาด บริษัท มีวนา จำกัด คือตัวแทนที่จะมาเล่าให้ฟังถึงแนวทางการทำงานของมีวนา ภายใต้เหตุผลของความยั่งยืนดังกล่าวว่า สิ่งนี้ได้สร้างผลลัพธ์ใดกลับคืนสู่สังคมและโลกใบนี้อย่างไร นอกเหนือจากมูลค่าทางธุรกิจ การปลูกกาแฟอินทรีย์กับการอนุรักษ์ป่าสองเรื่องนี้มาบรรจบกันได้อย่างไร คุณมิกิ : “เนื่องจากกาแฟอาราบิก้าต้องปลูกในพื้นที่สูงมีระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,000 เมตร ขึ้นไป และต้องมีสภาพภูมิอากาศที่เย็นจึงจะได้ผลผลิตที่ดีในเชิงของพื้นที่ป่าที่เราเข้าไปทำงานในเชียงราย จะมีสองส่วนคือพื้นที่ป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์อยู่แล้ว เราก็อนุรักษ์ไว้แล้วก็เอากาแฟไปปลูกใต้ร่มเงาป่าในพื้นที่ อีกส่วนคือป่าเสื่อมโทรมหรืออาจจะถูกทำลายไปแล้วเราจะปลูกต้นกาแฟควบคู่ไปกับต้นไม้ที่มีความหลากหลายทางนิเวศ เป็นไม้ที่ให้ร่มเงาในระดับที่แตกต่างกัน ทำให้พื้นที่ป่ามีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้นเรื่อย ๆ “ในอดีตที่ผ่านมาคนอาจจะคุ้นเคยกับการทำไร่กาแฟแบบเป็นแปลงปลูก จะไม่ได้เป็นการปลูกแบบร่วมกันกับป่าเท่าไหร่มากนัก เขาจะมีการจัดการบริหารที่ง่ายกว่าเรา เดินตามแปลงก็จบ บริหารจัดการง่าย พอเจอศัตรูพืชก็ใช้สารเคมีเร่งดอก เร่งผล […]

MIVANA COFFEE FLAGSHIP STORE ดื่มกาแฟไปพร้อมการอนุรักษ์ป่า ในคาเฟ่บรรยากาศธรรมชาติ

พาไปเยี่ยมเยือนแฟล็กชิบสโตร์ของแบรนด์กาแฟ “มีวนา” กับ MiVana Coffee Flagship Store  คาเฟ่สไตล์กลาสเฮ้าส์ที่ตั้งอยู่ใต้ร่มเงาไม้ใหญ่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพรีเมียร์คอร์เปอเรทปาร์ค ย่านถนนศรีนครินทร์ ที่ MiVana Coffee Flagship Store คุณจะได้สัมผัสกับบรรยากาศเย็นสดชื่น แวดล้อมด้วยกลิ่นอายความเป็นธรรมชาติ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีวนาต้องการสื่อสารไปยังลูกค้า เพื่อบอกถึงที่มาของกาแฟรสชาติดีในมือว่า ทุกคนก็เป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำได้ ผ่านกาแฟที่ค่อย ๆ บรรจงดื่มด่ำนี้ไปพร้อมกันมีป่า มีน้ำ มีกาแฟ น่าจะเป็นคำจำกัดความที่ตรงตัวของแบรนด์ กับการส่งเสริมกระบวนการปลูกกาแฟอาราบิก้าอย่างเป็นระบบ ด้วยวิถีวนเกษตรอินทรีย์ ภายใต้ร่มเงาไม้ใหญ่ ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย โดยเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่ทีมส่งเสริมของมีวนากับเกษตรกรท้องถิ่นกว่า 7 หมู่บ้าน ไปพร้อมกับการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของลำน้ำแม่สรวย แม่กรณ์ และแม่ลาว เรียกง่าย ๆ หากไม่มีป่า ก็ไม่มีน้ำ และพื้นที่สำหรับปลูกกาแฟอินทรีย์คุณภาพดีดังนั้น เมื่อตั้งใจเปิดคาเฟ่เพื่อส่งต่อถ้อยความนี้ คุณณรงค์ จันทรมาศ สถาปนิกผู้ออกแบบ จึงเลือกถ่ายทอดผ่านการออกแบบตัวอาคารให้เป็นกลาสเฮ้าส์ เพื่อให้ได้ร่มเงาของไม้ใหญ่ที่ปลูกอยู่โดยรอบ เผยให้มองเห็นภาพของความอุดมสมบูรณ์และความชุ่มชื้นของสวน สะท้อนเรื่องราวของกาแฟมีวนาที่ปลูกและเติบโตใต้ร่มเงาป่าต้นน้ำ  ตกแต่งด้วยเฟอร์นิเจอร์และของประดับงานแฮนด์เมดจากวัสดุธรรมชาติ สื่อถึงกลิ่นอายความเป็นท้องถิ่น และวิถีชาวบ้านภาคเหนือ ซึ่งเป็นแหล่งปลูกกาแฟอาราบิก้าที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นเฟอร์นิเจอร์ไม้ โคมไฟ […]

CHURN BUTTERY คาเฟ่สไตล์นอร์ดิก ที่สายละมุนคนชอบเบเกอรี่ห้ามพลาด!!

เอาใจคนชานเมืองย่านถนนร่มเกล้า กับคาเฟ่บรรยากาศดีน่านั่ง CHURN Buttery ซึ่งมีที่มาจากคำว่า “Churn” ในภาษาอังกฤษ หมายถึงเครื่องตีเนย และปั่นนม เพื่อบอกเล่าจุดเด่นของร้านที่เน้นเมนูเบเกอรี่สูตรโฮมเมด อร่อยจนลืมอ้วน กินคู่กับกาแฟออสเตรเลียรสละมุน เป็นสองความอร่อยที่ลงตัว ผสมผสานอยู่ในคาเฟ่บรรยากาศอบอุ่น ตกแต่งเรียบง่ายสไตล์นอร์ดิก CHURN Buttery มีจุดเริ่มต้นมาจากแพสชั่นความหลงใหลของคู่สามีภรรยา คือคุณนที เตชะอาภรณ์กุล สัตวแพทย์ผู้หลงใหลเรื่องราวของกาแฟ และคุณจุฑาภัค สีตบุตร ที่ชื่นชอบการทำเบเกอรี่ โดยมีสูตรขนมอร่อย ๆ จากคุณแม่ แม้ทั้งคู่จะมีงานประจำกันอยู่แล้ว แต่ก็เลือกนำความชอบส่วนตัวของแต่ละคนมาสร้างสรรค์เป็นคาเฟ่ โดยเลือกทำเลย่านถนนร่มเกล้าเพราะเห็นว่าถนนสายนี้แทบไม่มีคาเฟ่สำหรับนั่งพักผ่อน หรือหาที่นั่งคุยกันค่อนข้างยาก นำมาสู่การออกแบบคาเฟ่ผ่านรูปแบบสถาปัตยกรรมอาคารทรงจั่วที่ให้อารมณ์เหมือนบ้านหลังใหญ่ คุณกฤติน เจริญพรวรนาม สถาปนิกผู้ออกแบบเล่าให้ฟังว่า “ตอนดีไซน์เราอยากให้ที่นี่มีความรู้สึกสบาย ๆ ลักษณะของร้านจึงมีความเป็นนอร์ดิกขาว ๆ มีจั่วและหลังคาทรงสูง แทรกความอบอุ่นด้วยงานไม้ นอกจากนี้ยังนำเส้นสายของซุ้มโค้งมาใช้ในส่วนของกรอบหน้าต่าง ต่อเนื่องไปยังกำแพงฝั่งที่จอดรถ แล้วไปจบที่มุมซุ้มกำแพงสีขาวดูคล้ายสตูดิโอถ่ายรูปตรงโซนด้านหลัง ส่วนช่องเปิดได้ติดตั้งกระจกขนาดใหญ่ และมีช่องแสงสกายไลท์อยู่ด้านบน เพื่อให้แสงสามารถส่องเข้ามาในร้านได้ทั่วถึง ให้มิติของแสงเงาและบรรยากาศที่ดูอบอุ่นอย่างเต็มที่ และยังเป็นเหมือนการโฆษณาตัวร้านได้ด้วย” นอกจากความละมุนละไมของบรรยากาศภายในแล้ว จุดเด่นที่ถือเป็นไฮไลต์คืองานออกแบบแลนด์สเคปที่มีสระน้ำอยู่ทั้งสองฝั่งทางเข้า “การออกแบบให้มีสระน้ำ ผมอยากให้มีบรรยากาศแบบ Stepping stone […]

Citizen Tea Canteen of Nowhere คาเฟ่ชาไทยในโชว์รูมหัตถกรรม

ตึกแถวในตรอกเล็กซอยน้อยคือวิถีชีวิตอันคุ้นเคยและเปี่ยมเสน่ห์ของย่านเมืองเก่าในกรุงเทพฯ​ เช่นเดียวกันกับที่ “ย่านตลาดน้อย” แม้วันนี้เราจะมีร้านชาเปิดใหม่อย่าง Citizen Tea Canteen of Nowhere เป็นเป้าหมายซึ่งอยู่ไม่ไกลข้างหน้านี้ แต่ก่อนเลี้ยวเข้าร้าน ก็ยังอดสงสัยไม่ได้ว่าสุดปลายตรอกนี้จะมีอะไร และทะลุไปเดินเล่นที่ไหนต่อได้อีกบ้าง ช่วงสองสามปีนี้มานี้ คนรักงานออกแบบรับรองว่าต้องคุ้นเคยกันดีกับชื่อ Citizen of Nowhere แบรนด์หัตถกรรมร่วมสมัยของ คุณศรัณย์ เย็นปัญญา ดีไซเนอร์สุดป็อปแห่ง 56thStudio ผู้มุ่งมั่นปลุกวิญญาณศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาชายขอบที่ถูกลืมเลือนหรือด้อยค่า ให้กลับมาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันยุคใหม่ และคอลเล็กชั่นหัตถกรรมของเขา ก็คือจุดเริ่มต้นของการเปิดแฟลกชิปสโตร์แห่งใหม่นี้ Citizen Tea Canteen of Nowhere ยังมาพร้อมคาเฟ่ชาไทยสีส้มหน้าตาคุ้นเคย ที่นำเสนอในภาษาใหม่ที่ละเมียดละไมขึ้น  “หลังจากแบรนด์เข้าสู่ปีที่สาม เรามีสินค้าค่อนข้างเยอะขึ้น เลยรู้สึกว่างานหัตถกรรมมันจะน่าสนใจและน่าซื้อมากขึ้นถ้าเราสร้างประสบการณ์ให้ลูกค้าได้มีปฏิสัมพันธ์ เลยเกิดเป็นโชว์รูมที่มีคาเฟ่ในตัว คนจะได้มอง ได้สัมผัส ได้สำรวจข้าวของได้แบบเพลิน ๆ” จากแกนหลักของแบรนด์หัตถกรรมที่ต้องการอุ้มชูวัฒนธรรมชายขอบ สวมเข้ากันพอดีกับคอนเซ็ปต์ของสภากาแฟหรือสภาชาแบบไทย ๆ ซึ่งเป็นเหมือนพื้นที่สำหรับการร่วมวงชวนคนใกล้เคียงมาสังสรรค์ แลกเปลี่ยนบทสนทนาผ่านเครื่องดื่มคาเฟอีนในมือ งานทั้งสองแบบแม้จะมีรูปแบบที่แตกต่างกันในแง่ของระบบการจัดการ แต่สิ่งที่เหมือนกันคือการ Deconstruction – รื้อ ถอด ประกอบ […]

LET’S (NOT) KICK BUTT เปลี่ยนก้นบุหรี่เป็นวัสดุใหม่ดั่งงานศิลป์

ก้นบุหรี่ ภัยร้ายที่น่ากลัวกว่าหลอดพลาสติก เชื่อหรือไม่ว่า ขยะที่ปนเปื้อนไหลลงทะเลนั้น มากกว่าหลอดพลาสติก มันคือก้นบุหรี่ที่เป็นขยะยากแก่การรีไซเคิล อาจจะดูเหมือนเป็นวัสดุนุ่มนิ่มที่น่าจะรีไซเคิลได้ไม่ยาก แต่แท้จริงแล้วก้นบุหรี่เหล่านี้ประกอบขึ้นจากพลาสติก ประเภทเซลลูโลสอะซีเตต (Cellulose Acetate) เป็นประเภทเดียวกับที่ใช้ทำแผ่นฟิล์มกันแสงจอโทรทัศน์ ฟิล์มถ่ายรูป และฝาครอบหลอดไฟ มีความเหนียว และทนทานต่อแรงกระแทก ซึ่งจะต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 10 ปี ในการย่อยสลายเลยทีเดียว และมักจะจบลงที่การนำไปฝังกลบ โดยเฉพาะก้นบุหรี่ใช้แล้วยังมีเศษยาสูบที่มีสารท็อกซิน นิโคติน สารหนู ยาฆ่าแมลง นิโคตินเหล็ก สารก่อมะเร็ง และเอทิลฟีนอล ซึ่งเป็นสารพิษที่จะตกค้างในสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะเมื่อฝังกลบแล้ว อาจถูกพัดพาไป จนเป็นขยะทางทะเลในที่สุด ด้วยเหตุนี้เอง Sachi Tungare นักออกแบบชาวอินเดีย จึงเริ่มต้นโปรเจ็กต์ let’s (not) kick butt ตั้งแต่ปี 2019 โดยเป็นหนึ่งในโปรเจ็กต์ทางการศึกษาที่ Design Academy Eindhoven ประเทศเนเธอร์แลนด์ก่อน ซึ่งในโครงการนี้ก็คือการหาวิธีที่จะนำเอาเศษก้นบุหรี่เหลือทิ้ง มาขจัดสารพิษออกด้วยวิธีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ก่อนจะผสมสีลงไปในวัสดุเพื่อให้ดูเป็นมิตร และน่านำกลับไปใช้มากขึ้น ก่อนจะทดลองการขึ้นรูปให้กลายเป็นชิ้นงานต่อไป อย่างไรก็ตามปัจจุบันการขึ้นรูปนั้นยังทำได้ในระดับหนึ่ง ผลลัพธ์ในตอนนี้จึงเป็นเหมือนกับผลงานศิลปะ […]

ANXIETY STORAGE รสชาติปะแล่มของงานศิลป์ที่ตั้งอยู่บนความวิตก

Anxiety Storage หรือ รุ้ง-นภัสกร นิกรแสน นักออกแบบที่ผันตัวมาสร้างงานศิลปะในแบบที่ตัวเองคิดว่า “นี่แหละ…ฟิน” งานของรุ้งในคอลเล็กชั่นขนาดยาวนามว่า “Error Object” คือเหล่าอุปกรณ์ของใช้ใกล้ตัวในแบบที่ใครเห็นต้องขมวดคิ้ว ร่มที่กันฝนไม่ได้ มีดที่ด้ามเป็นคม หรือไดร์เป่าผมที่พ่นควันออกมาแทนลมร้อน ด้วยสไตล์กราฟิกเรียบเกลี้ยง ผลงานเหล่านี้กระตุกต่อมวิตกในแต่ละคนต่างกัน แต่นั่นคือการตั้งคำถามกับระบบที่ไหลลื่น สร้างจุดสะดุดเปลี่ยนกับคำถามว่า “อย่างนี้ก็ได้หรือ?” เผื่อความแตกต่างเหล่านี้ จะเป็นอีกรสชาติที่เราไม่เคยรู้มาก่อน “เพราะโลกอาจต้องการความไม่สมประกอบเสียบ้าง” รุ้งตั้งคำถามกับตัวเองจากการเลี้ยงแมลงในกล่องกระดาษและเริ่มคิดว่าจักรวาลนี้ช่างดูสมบูรณ์ ลื่นไหล และเป็นไปอย่างลงตัวเสียเหลือเกิน แบบนั้นมันง่ายดายเกินไป เรียบลื่นเกินไป ภารกิจการลุกขึ้นมาสร้างจุดบกพร่องให้กับโลกใบนี้จึงเกิดขึ้น เราทุกคนต่างเป็นมดตัวเล็ก ๆ ในจักรวาลอันสมบูรณ์แบบ “ถ้าถามว่าที่มาของ Error Object และ Anxiety Storage เริ่มต้นมายังไง รุ้งอาจต้องเท้าความกลับไปไกลสักหน่อย คือเราเป็นคนชอบตั้งคำถามกับ Human Being และการมีอยู่ของจักรวาล เราสงสัยมากว่าทำไมทุกสิ่งทุกอย่างถึงได้ลงตัวขนาดนี้ ความเป็นไปของชีวิตที่สอดคล้องเข้าด้วยกัน ทำไมถึงไม่มี Bug หรือ Error ใด ๆ เลย ใครเป็นคนสร้างขึ้นมานะ มันมีคนสร้างรึเปล่า หรืออยู่ดี […]

ATHA YOGA STUDIO สุขสงบ ผ่อนคลายในดีไซน์แบบออร์แกนิก

Atha Yoga Studio สตูดิโอโยคะกลางกรุง สงบ อบอุ่นในโอบกอดของเส้นสาย และองค์ประกอบจากธรรมชาติ มาพร้อม Plant-based Café เสิร์ฟอาหารสุขภาพตอบโจทย์การดูแลร่างกายทั้งจากภายนอกและภายใน ในพื้นที่ขนาด 250 ตร.ม. ซึ่งถูกแบ่งเป็นสองส่วนของ Atha Yoga Studio ตั้งอยู่คนละฝั่งของทางเดินภายในอาคาร ด้านหนึ่งเป็นห้องสตูดิโอหลัก Surya และคาเฟ่ ส่วนอีกด้าน เป็นส่วนห้องอาบน้ำ และห้อง Private Studio จำนวน 2 ห้อง – Chandra และ Anata สเปซโดยรวมได้รับการออกแบบให้ตอบโจทย์กับกิจกรรมโยคะเป็นหลัก จากพื้นที่ต้อนรับ ก่อนที่จะเข้าสู่สตูดิโอหลัก Surya นักออกแบบสร้างพื้นที่เก็บรองเท้าให้กลายเป็นเหมือนถ้ำขนาดเล็ก เสมือนพื้นที่เปลี่ยนผ่าน เพื่อปรับอารมณ์ของผู้ใช้งาน ที่สับสนวุ่นวายจากภายนอก ให้มีสมาธิและปลอดโปร่ง พร้อมสำหรับการฝึกโยคะ Main Studio สตูดิโอหลักอยู่ด้านเดียวกับช่องเปิดอาคาร จึงรับแสงธรรมชาติและรับรู้ถึงห้วงเวลาภายนอกอาคาร รูปทรงและเส้นสายโค้งเว้าของฝ้าเพดาน และระนาบผนังที่โอบล้อมอยู่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากธรรมชาติ และความลื่นไหลของท่าฝึกโยคะ  สร้างอารมณ์ขัดแย้งกับความเป็นเหลี่ยมมุมกระด้างของตัวอาคารโดยรอบอย่างตั้งใจ และด้วยพื้นที่จำกัด สเปซภายในสตูดิโอจึงเชื่อมต่อกับส่วนคาเฟ่ผ่านผนังกระจกโค้ง เพื่อเปิดมุมมองที่โปร่งโล่งขึ้น    ภายในห้องเน้นการใช้ไฟซ่อนในผนัง หรือส่องไฟเข้าเพดานเพื่อสร้างแสง […]

LIL HOUSE คาเฟ่ในบ้าน ตอบโจทย์ธุรกิจและวิถีชีวิตกลางธรรมชาติ

Lil house คาเฟ่ในบ้านหลังคาจั่ว 2 ชั้น เรียบง่าย ที่ดูธรรมดาแต่โดดเด่นท่ามกลางสีเขียวของทุ่งนาและท้องฟ้า ผสานบริบทและกลิ่นอายของธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ของเชียงราย ผ่านฝีมือการออกแบบของ ALSO Design studio ตัวบ้านมีพื้นที่ใช้สอย 159 ตารางเมตร ตอบโจทย์การอยู่อาศัย และมีฟังก์ชันของคาเฟ่ขนาด 38 ที่นั่ง การออกแบบจึงให้ความสำคัญกับมุมมองและความรู้สึกของผู้ใช้งาน ทั้งลูกค้าคาเฟ่และผู้อยู่อาศัยที่ต้องใช้สเปซร่วมกัน โดยสะท้อนข้อได้เปรียบด้านที่ตั้งกลางธรรมชาติ ภายใต้งบประมาณที่สมเหตุสมผล Lil house จึงมีลักษณะเป็น “บ้าน” อย่างชัดเจน เนื่องจากเป็นรูปแบบที่เหมาะสมกับบริบทที่ตั้ง ซึ่งเป็นพื้นที่โล่งของทุ่งนาและสวนต้นไม้ใหญ่ โดยมีการลดทอนฟังก์ชั่นของบ้านบางส่วน และเพิ่มเติมด้วยฟังก์ชั่นของคาเฟ่ สะท้อนวิถีชีวิตและความเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ พร้อมแฝงความอบอุ่นไว้ทุกมุม บริเวณทางเข้าสร้างความน่าสนใจด้วยแผ่นเหล็กดัดโค้งสีขาว โค้งรับกับประตูทางเข้า เมื่อก้าวเข้าไปภายในร้าน บันไดวนสีขาวเป็นจุดนำสายตา และเป็นส่วนที่เชื่อมชั้นบนและชั้นล่างเข้าด้วยกัน โดยพื้นที่ชั้นล่างจะเป็นส่วนของคาเฟ่แบบอินดอร์ ในขณะที่บันไดวนพาขึ้นไปสู่ชั้นลอย ที่มีที่นั่งเป็นลักษณะบาร์ ต่อเนื่องกับระเบียงภายนอก ซึ่งมีที่นั่งแบบเอ้าต์ดอร์ช่วยเปลี่ยนบรรยากาศ และการสัมผัสรับรู้ทั้งสายตา เสียง และความรู้สึกของผู้ใช้งาน นอกจากนี้ ส่วนระเบียงของรองรับการใช้งานในฐานะ “บ้าน” เชื่อมต่อกับส่วนห้องนอนและห้องน้ำอีกด้วย คาเฟ่แห่งนี้ได้รับการออกแบบให้ตอบโจทย์ในทุกมุมมอง ทั้งจากระยะไกล จากผู้ใช้งานภายนอก และผู้ใช้งานภายใน องค์ประกอบต่างๆ […]

PLA 2 แพโมเดิร์นรูปปลาชะโด เจ้าแห่งเขื่อนศรีนครินทร์

แพ เขื่อนศรีนครินทร์ ที่เป็นแพลากนาม PLA2 ของรีสอร์ตอย่าง Z9 Resort ที่ดึงลักษณะทางธรรมชาติของปลาชะโด มาลดทอนให้ดูโมเดิร์น

HAIR ATELIER BRUNO ออกแบบร้านตัดผม สไตล์เรียบง่าย ด้วยเสาไม้และอะลูมิเนียม DIY

ออกแบบร้านตัดผม ที่ซ่อนอยู่ในอาคารเก่าอายุ 34 ปี ของเมืองอาตามิ จังหวัดชิซูโอกะ ประเทศญี่ปุ่น ให้มีบรรยากาศน่าสนใจกับการใช้วัสดุที่เรียบง่ายอย่าง เสาไม้ และอะลูมิเนียม ผสานด้วยเทคนิคและกระบวนการกึ่ง DIY สุดประณีต Hair Atelier Bruno คือตัวอย่างของการ ออกแบบร้านตัดผม ที่นำแนวคิดแบบ DIY มาจับ ด้วยการเลือกใช้วัสดุที่สามารถใส่กระบวนการแนวคิดสุดสร้างสรรค์ เปลี่ยนชั้นล่างของอาคารขนาด 5 ชั้น ที่อยู่หันหน้าออกไปยังถนนใกล้สี่แยกของเมือง จากจุดเด่นของทำเลที่พลุกพล่าน Yuji Tanabe Architects จึงออกแบบร้านให้สามารถมองเห็นการตกแต่งที่น่าสนใจด้านใน ผ่านผนังกระจกใสที่กรุอยู่โดยรอบ ขณะเดียวกันก็พรางสายตาเพื่อความเป็นส่วนตัวของลูกค้า ด้วยฉากกั้นที่ทำจากเสาไม้โค้งไปตามแนวพื้นที่ใช้งาน ฉากกั้นไม้ที่กล่าวถึงนี้ สถาปนิกใช้ชื่อเรียกว่า Ku-ki Bei (หมายถึงผนังอากาศ) เป็นเสาไม้ที่เรียงรายเป็นช่วง ๆ เพื่อแยกส่วนพื้นที่ ขณะเดียวกันก็ยังยอมปล่อยให้แสง ลม และแมว! ของเจ้าของร้านเดินผ่านไปได้ และเมื่อมอง Ku-ki Bei ขนานไปกับแนวสายตา เสาไม้นี้ก็จะกลายเป็นแนวช่วยพรางสายตาไปในตัว โดยเสาไม้ทั้งหลายนี้จะถูกเชื่อมต่อด้วยแผ่นอะลูมิเนียมชุบอโนไดซ์หนา 1.5 มิลลิเมตร ซึ่งตัดด้วยเลเซอร์ […]

THAI HOUSE VIBE จำลองบรรยากาศบ้านไม้ไทย โซนพักผ่อนใหม่ใน THE BARISTRO ASIAN STYLE

หลังจาก The Baristro, Asian Style จังหวัดเชียงใหม่ ได้รับเสียงตอบรับจากลูกค้าเป็นอย่างดี จนทำให้ต้องออกแบบโซนพักผ่อนนั่งเล่นเพิ่มเติมต่อจาก Speed Bar และ Slow Bar จนกลายเป็นพื้นที่เฟสใหม่ภายใต้ธีม Thai house vibe DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: pommballstudio ด้วยการจำลองบรรยากาศบ้านไทย เพื่อสร้างความรู้สึกสบายเป็นกันเอง โดยไม่ละทิ้งโจทย์เด่นของการออกแบบ อย่างการสอดแทรกวัฒนธรรมสไตล์เอเชียที่ทุกคนคุ้นเคย เพราะต้องการให้ลูกค้าที่มาเยี่ยมเยือนเกิดความรู้สึกประทับใจ และมีประสบการณ์ร่วมไปพร้อมกัน ครั้งนี้ pommballstudio ได้ออกแบบเฟสใหม่ให้เป็นอาคารไม้ชั้นเดียว กับการออกแบบที่ไม่ซับซ้อนได้มู้ดแบบบ้านไทย โดยจำลองบรรยากาศเหมือนเดินขึ้นมาบนบ้าน สิ่งแรกที่จะพบเห็นคือ “เติ๋น” หรือชานบ้าน (ภาษาท้องถิ่นภาคเหนือ) ซึ่งทำการจัดวางเบาะนั่งนุ่ม ๆ พร้อมหมอนอิงทรงสามเหลี่ยม ให้ลูกค้าได้นั่งผ่อนคลายอิริยบถ เหมือนมาพักผ่อนอยู่บนบ้านจริง ๆ ก่อนนำสู่ด้านในที่ออกแบบมุมด้านหนึ่งให้ยกพื้นสูง วางที่นั่งสไตล์ญี่ปุ่น และเบาะนั่งแบบไทย ซึ่งเป็นสองวัฒนธรรมที่นิยมการนั่งพื้นเหมือนกัน เหมาะกับคนที่ต้องการนั่งพักแบบสบาย ๆ ทั้งยังมีโซนที่นั่งแบบเก้าอี้ให้นั่งห้อยขา แล้วแต่ลูกค้าจะเลือกตามอัธยาศรัย  นอกจากฟังก์ชันการใช้งานที่เรียบง่ายแล้ว การออกแบบของที่นี่ยังคงมีแนวคิดเชื่อมโยงกับกลิ่นอายความเป็นธรรมชาติ ผ่านการเลือกใช้วัสดุธรรมชาติอย่าง ไม้ ซึ่งเป็นไม้เก่าหาได้ง่ายทั้งจากจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน […]

โฉมใหม่ ‘หอสมุดวังท่าพระ’ ในแนวคิดการปรับปรุงอาคารให้เกิดความเชื่อมโยงบริบท

หอสมุดวังท่าพระ โฉมใหม่ หลังผ่านการปิดปรับปรุงครั้งใหญ่ ก่อนที่จะกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้งช่วงปลายปีนี้ (หรือจนกว่าสถานการณ์จะเปลี่ยนแปลง)

infinite riot ใช้ศาสตร์ทางด้านสถาปัตย์สร้างความโดดเด่นในงานศิลปะ

infinite riot หรือ ปราม-หฤษฎ์ ธรรมประชา ศิลปินที่สร้างสรรค์ผลงานจากเพลงที่ชอบประกอบกับอนิเมะ ก่อนจะถ่ายทอดเส้นสายลงสู่พื้นผิวและรูปแบบต่าง ๆ

สีสัน เส้นสาย และความหมายที่ซ่อนอยู่ ของ Naisu.chirat

Naisu.chirat นักวาดภาพประกอบและศิลปินที่มีลายเส้นเฉพาะตัว ลายเส้นที่เป็นอิสระจากรูปแบบ และกรอบความคิดใดๆ เพราะเธอเชื่อว่า ศิลปะที่แท้คืออิสระภาพที่บุคคลหนึ่งๆนั้นจะได้แสดงออก ศิลปะคือเรื่องของภายในที่เกิดขึ้นจากอารมณ์ ความรู้สึก จินตนาการ และประสบการณ์ทั้งจากตัวเองและการที่ได้แลกเปลี่ยนกัน ซึ่งนั่นเป็นที่มาของเส้นสายและสีสันแบบ Impressionism ที่น่าสนใจอย่างที่เห็น ซึ่งวันนี้ room ได้รับเกียรติจาก Naisu.Chirat หรือ คุณไนซ์ ปริยนาถ จิรัฐฐิติกาล มาพูดคุยถึงแนวคิด และที่มาของสไตล์งาน รวมถึงเกร็ดการทำงานอันน่าสนใจ ที่จะเป็นอย่างไรนั้น ก็ต้องขอให้ทุกคนลองไปอ่านดูพร้อมๆกัน กว่าจะมาเป็น Naisu.chirat “เราวาดรูปมาตลอดเลย” คุณไนซ์เริ่มต้นเล่าให้เราฟัง “ตั้งแต่จับดินสอได้ก็วาดรูปมาตลอด เราชอบการ์ตูนญี่ปุ่นและโชคดีที่ทางบ้านก็ไม่ได้ว่าอะไร เค้าไม่ได้มีกรอบมาว่าต้องทำอย่างนั้น หรืออย่างนี้ และเพราะอย่างนี้ ทุกๆเวลาว่างตลอดมาของเราก็จะกลายเป็นเวลาของการวาดรูปไปซะหมดเลย” “แต่ในทางตรงกันข้าม เราก็มีคำถามเหมือนกันเมื่อเป็นผลงานที่มีคนอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง อย่างเรื่องนึงในความทรงจำก็คือการที่ไนซ์วาดชุดนักเรียนสีดำไปส่งงานคุณครูตอนเด็กๆ คุณครูก็บอกว่าจะให้ดาวเพิ่มนะ ถ้าลบสีดำออกจากชุดนักเรียน เราก็ไม่เข้าใจ เกิดเป็นคำถามว่า ทำไมชุดนักเรียนมันจะเป็นสีดำไม่ได้ล่ะ? มันอาจเปื้อนดิน? อาจเป็นโรงเรียนที่ไม่เหมือนที่อื่น? หรือจริงๆแล้วมันจะเป็นอะไรก็ได้หรือเปล่า?” บางครั้งเวลาเราเศร้า เส้นมันก็จะออกมาเศร้า เวลาเรามีความสุข เส้นมันก็จะดูสดใสขึ้น ปล่อยให้งานเผยสิ่งที่อยู่ข้างใน “จากจุดนี้เองที่ทำให้ไนซ์เริ่มต้นค้นหาคำตอบ เรียนรู้ และทดลองเกี่ยวกับการวาดภาพ […]

เปลี่ยนรังผึ้ง เป็นโหลน้ำผึ้ง ที่ทำมาจากขึ้ผึ้ง Bee Loop

ใช้เพียงขึ้ผึ้งร้อยเปอร์เซ็นต์ และเชือกลินินเท่านั้น เพื่อสร้างโหลใส่น้ำผึ้งนี้ขึ้นมา ด้วยเหตุนี้เองภาชนะใส่น้ำผึ้งจาก Bee Loop จึงเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมร้อยเปอร์เซ็นต์เช่นกัน และมากกว่านั้นคือโหลน้ำผึ้งนี้ไม่เป็นพิษ สามารถนำมาใช้ซ้ำได้ ต่อต้านเชื้อราและแบคทีเรีย มีความเป็นออร์แกนิกถึงขนาดที่ถ้าจะกินก็กินเข้าไปได้โดยปลอดภัย(แต่ไม่น่าอร่อย และเชือกที่มาด้วยกันน่าจะทานยาก) Bee Loop ได้สร้างเทคนิคการบรรจุและขึ้นรูปขึ้ผึ้งให้กลายเป็นภาชนะขึ้นมา โดยใช้สีและพื้นผิวของโหลในการแยกประเภทของน้ำผึ้งออกจากกันคือ สีเหลืองหม่นจะเป็นน้ำผึ้งป่า สีเหลืองเข้มสำหรับน้ำผึ้งบัควีท และสีเหลืองอ่อนสำหรับนึกปกติ บนภาชนะมีเพียงการปั้๊มโลโก้ของ Bee Loop ด้วยความร้อนเพียงเท่านั้น และฝั่งเชือกลินินไว้สำหรับรูดเปิดฝาที่ซีลไว้กับตัวภาชนะ(ฝาก็คือขี้ผึ้งที่หลอมเป็นชิ้นเดียวกันจากโรงงาน) ในท้ายที่สุดแล้ว ผู้ใช้อาจนำภาชนะที่เหลือไปใช้ทากระดาษเพื่อกันน้ำ ใช้จุดเป็นเชิงเทียน นำไปใส่ของ และอีกมากมาย หรือทิ้งไปตามธรรมชาติก็ย่อมได้ การออกแบบนี้ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าหลักการ Zero Waste เกิดขึ้นได้จริง และ Circular Economy นั้น สามารถเกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้หากเราค่อยปรับวิถีชีวิตของเราให้ดีต่อโลกมากยิ่งขึ้น แต่ไม่ต้องกังวลไปนะครับ เพราะงานออกแบบที่ดีจะช่วยให้คุณค่อย ๆ ปรับตัวไปกับวิถีที่ดีต่อโลกได้ในทุกวันแน่นอน ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.beeloop.lt ออกแบบโดย: Pencil and Lion (fb.com/pencilandlion) ภาพ: Bee Loop เรียบเรียง: Wuthikorn […]

SH Kindergarten and Nursery จำลองเทือกเขามาไว้ในโรงเรียนอนุบาล

โรงเรียนอนุบาล ที่มีแนวคิดคือพื้นที่ที่เปี่ยมไปด้วยการผจญภัย จิตวิญญาณ และความสงสัยใคร่รู้ ภายใต้การโอบล้อมไว้ด้วยเทือกเขาทาเทยาม่า

บอกเล่าประวัติศาสตร์กว่า 150 ปีของคลองเปรมประชากรผ่านงานวาดบนผนัง

บอกเล่าประวัติศาสตร์กว่า 150 ปีของ คลองเปรมประชากร ผ่านงานวาดบนผนังด้วยศิลปินจากทั่วประเทศผู้ผ่านเข้ารอบด้วยเทคนิคที่หลากหลาย

KIDS SMILE LABO NURSERY แปลงพื้นที่ในป่ามาไว้ในเนิร์สเซอรี่

KIDS SMILE LABO NURSERY เนิร์สเซอรี่ ที่ถอดลักษณะของป่าในเมืองอัตสึงิทั้ง 8 รูปแบบ มาไว้บนชั้นสองของอาคารให้เด็ก ๆ ได้ผจญภัยและเรียนรู้