W39 STUDIO ช่างภาพแฟชั่น รีโนเวตบ้านโมเดิร์นเป็นสตูดิโอถ่ายภาพ

คุยกับ ตวง-วรุณ เกียรติศิลป์ ช่างภาพแฟชั่น ถึง W39 studio สตูดิโอถ่ายภาพเปิดใหม่ ด้านหลังเดอะไนน์ เซ็นเตอร์ พระราม 9 ที่ถูกออกแบบให้เหมาะกับการรูปได้ทุกมุมของบ้าน

ARUNN ร้านอาหารไทย ถ่ายรูปสวย รวยความอร่อย

เห็นร้านมินิมัลแบบนี้ เราก็นึกว่าคาเฟ่! แต่ที่จริงแล้ว ARUNN คือ ร้านอาหาร ทว่า Tastespace.co เขาออกแบบมาให้ถ่ายรูปสวยเหมือนอยู่ในคาเฟ่ เพื่อให้คนแวะมานั่งจิบกาแฟก็ได้ แต่ที่อยากแนะนำคือ ต้องลองสั่งอาหารของที่นี่มารับประทาน เพราะทุกเมนูต้องบอกว่าอร่อยจริง ๆ เดี๋ยวจะหาว่าไม่บอก!

DOMAE DENTAL HOME CLINIC คลินิกทำฟัน ในบ้าน ที่เชื่อมโยงกับชุมชนอย่างกลมกลืน

คลินิกทำฟัน ในบ้านญี่ปุ่นชั้นเดียว เมื่อครอบครัวโดมาเอะตั้งใจสร้างบ้านหลังใหม่ในจังหวัดอิชิกาวะ ประเทศญี่ปุ่น

BENCHAKITTI RAIN FOREST OBSERVATORY แปลงโฉมสถาปัตยกรรมกลางสวนป่าสู่ส่วนหนึ่งของธรรมชาติ

โครงการออกแบบศาลา และหอสังเกตการณ์กลางสวนป่าภายใต้แรงบันดาลใจจากธรรมชาติ ตั้งอยู่ใจกลาง สวนป่าเบญจกิติ แวดล้อมด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ และระบบนิเวศทางธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ผลงานการออกแบบของ HAS design and research โดยงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของเทศกาล WOW อัศจรรย์เมืองน่าอยู่ ซึ่งจะจัดขึ้น ณ สวนเบญจกิติ ระหว่างวันที่ 23 – 27 พฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมา จากข้อมูลของกรุงเทพมหานคร กรุงเทพฯ มีพื้นที่สีเขียวเพียง 6.99 ตารางเมตรต่อคน ซึ่งน้อยกว่า 9 ตารางเมตรต่อคน ซึ่งเป็นพื้นที่สีเขียวขั้นต่ำที่แนะนำโดยองค์การอนามัยโลก (WHO) สวนป่าเบญจกิติ ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางกรุงเทพฯ จึงเป็นอีกพื้นที่สีเขียว ที่มอบวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีแบบใหม่ให้คนกรุงเทพฯ ด้วยแรงบันดาลใจจากสวนป่า หอสังเกตการณ์แห่งนี้ จึงดูเหมือนถูกปกคลุมด้วยใบไม้จำนวนมาก ไม่เพียงเหมือนเกาะพื้นที่ชุ่มน้ำที่ลอยอยู่เท่านั้น แต่ยังเป็นเหมือนป่าฝนเขตร้อนล้ำค่าทางระบบนิเวศธรรมชาติ ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยร่วมกันสำหรับสัตว์และพืช  ช่วงกลางวัน หอสังเกตการณ์แห่งนี้เป็นเหมือนกิ้งก่าที่แฝงตัวในสวนสาธารณะ สมาร์ตบอร์ดเกือบ 100 แผ่นแผ่นทา 4 เฉดสีเขียวที่แตกต่างกัน โดยเลือกใช้สีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และยั่งยืนเพื่อให้เกิดความสมดุลที่สมบูรณ์แบบกับสิ่งแวดล้อม ในตอนกลางคืน แถบไฟด้านหลังแผ่นสมาร์ตบอร์ดให้แสงสว่างในหลากหลายมิติ […]

KAOMAI TEA BARN ( เก๊าไม้ ที บาร์น ) จิบชาในบรรยากาศโรงบ่มยาสูบจากหลายทศวรรษก่อน

เก๊าไม้ ที บาร์น โรงชาในโครงการ Kaomai Estate 1955 หรือที่คุ้นหูกันในชื่อ เก๊าไม้ลานนารีสอร์ท ตั้งอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่

จากความหลงใหลนาฬิกา แสดงผ่านเส้นสายของเวลา และงานสถาปัตยกรรมแบบส่วนตัว

บ้านโมเดิร์น ที่มีเส้นสายแสดงถึงแนวความคิดในการออกแบบ และตัวตนของเจ้าของบ้านเป็นรูปธรรมผ่านงานสถาปัตยกรรมได้อย่างครบถ้วน

MPS LOAF HAUS บ้านขนมปังเส้นสายโค้งมน ตอบโจทย์สมาชิกต่างวัย

mps Loaf Haus บ้านโมเดิร์นสีขาว ที่ผสานเส้นสายโค้งมนของสถาปัตยกรรมเข้ากับพื้นที่ใช้สอยภายใต้แปลนตัวยู (U) เพื่อถ่ายทอดตัวตนของเจ้าของบ้านได้อย่างสมบูรณ์ เมื่อบ้านหลังเดิมที่อยู่กับคุณแม่มีสมาชิกเพิ่มขึ้น พื้นที่ใช้สอยเดิมจึงไม่เพียงพออีกต่อไป คุณอุ๊ก-ปณัฐสา ศิริโพธิ์พันธุ์กุล เจ้าของบ้านจึงตัดสินใจซื้อที่ดินในซอยเดียวกันเพื่อสร้างบ้านหลังใหม่ในฝันของตนเอง โดยมี คุณแพร-เหมือนแพร ฟูเกียรติสุทธิ์ ได้เข้ามาเป็นสมาชิก อาศัยในบ้านใหม่หลังเดียวกัน จนกลายมาเป็นโจทย์สำคัญของการออกแบบ เพื่อให้ทั้งคุณแม่ และสมาชิกในบ้านสามารถอยู่อาศัยในบ้านหลังเดียวกันได้อย่างอบอุ่น แต่ยังคงมีความเป็นส่วนตัว เพื่อให้สามารถใช้พื้นที่ของตนเองได้อย่างสะดวกใจไม่ขัดเขินกัน บ้านโมเดิร์นสีขาว หลังนี้เป็นบ้านเดี่ยว 2 ชั้น สร้างใหม่ ขนาดพื้นที่ใช้สอยอยู่ที่ 231 ตร.ม. แปลนบ้านรูปตัวยู (U) เกิดจากความตั้งใจ ที่ต้องการแบ่งพื้นที่ใช้สอยระหว่างเจ้าของบ้าน และคุณแม่ โดยมีทีมสถาปนิกจาก RAD studios มาช่วยออกแบบจัดวางตำแหน่ง และขนาดของพื้นที่ใช้สอยให้ตรงความต้องการของสมาชิกทุกคนในบ้าน เนื่องด้วยขนาดที่ดินที่ค่อนข้างจำกัด จึงออกแบบขนาดพื้นที่ให้ได้มากที่สุดตามที่กฏหมายอาคารกำหนด ดังนั้นผนังบ้านรอบด้านยกเว้นด้านหน้าบ้านจึงเป็นผนังทึบ และเพื่อให้ภายในบ้านมีแสง และลมธรรมชาติเข้ามาได้อย่างพอเพียง สถาปนิกได้เว้นระยะระหว่างพื้นที่เพื่อให้เกิดเป็นระเบียงขนาดเล็กเพื่อดึงแสงและลมธรรมชาติเข้ามาในบ้าน  ในการออกแบบ กำหนดโซนอยู่อาศัยหลักของคุณแม่ไว้ด้านหนึ่งของพื้นที่ชั้น 1 มีลักษณะคล้ายห้องชุด 1 ยูนิตของคอนโด จัดเรียงพื้นที่ใช้สอยตามลำดับการเข้าถึง และความเป็นส่วนตัวให้กับคุณแม่ พร้อมใส่ใจในรายละเอียดสำหรับผู้สูงอายุ […]

HAPPIELAND กัญชาไลฟ์สไตล์สโตร์ในบรรยากาศชวนฉงน

HAPPIELAND ร้านสินค้าไลฟ์สไตล์ ที่เกี่ยวข้องกับกัญชาย่านเจริญกรุง โดดเด่นด้วยเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร พร้อมบรรยากาศน่าฉงนชวนให้ทุกคนค้นหาไปพร้อมกัน มองจากภายนอก คงยากจะบอกว่าตึกแถวห้องริมสุดบนหัวมุมถนนเจริญกรุง 82 เป็นสำนักงาน ร้านค้า ร้านอาหาร หรือมีอะไรซ่อนอยู่ภายใน และด้วยผนังสีเทาทึบที่ทั้งหลบเร้นเข้าไปภายใน รวมถึงชื่อ HAPPIELAND บนผนัง ที่ทิ้งให้เปลือยเปล่าไว้ราวกับยังทาสีไม่เสร็จ ก็ทำให้ที่นี่ยิ่งน่าค้นหาขึ้นไปอีก ที่นี่ริเริ่มและดำเนินกิจการโดยกลุ่มเพื่อนครีเอทีฟ และนักออกแบบที่มีความสนใจร่วมกันในพืชเศรษฐกิจใหม่ของประเทศไทยอย่างกัญชา โดยการออกแบบร้านค้าแห่งใหม่เพื่อรองรับกิจกรรมที่รอวันเสรีอย่างสมบูรณ์นี้ก็สอดคล้องไปกับการออกแบบแบรนด์ในภาพรวม ที่เน้นความสนุกสนานและความคิดสร้างสรรค์ โดยแรกสุดนั้น ชื่อร้านมาจากไอเดียสนุกของการเล่นคำอังกฤษผสมการพ้องเสียงไทย อย่างการรวมคำว่า Happy กับ Hippie กลายเป็น Happie รวมกับการตั้งใจให้อ่านชื่อแบรนด์ “HAPPIELAND” อย่างไทยเป็น “แฮบ – พี้ – แลน” ที่ก็พ้องความหมายไปกับกิจกรรมการใช้กัญชาในเชิงสันทนาการ อารมณ์ขันและความสนุกที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะหนึ่งของกัญชา จึงเป็นเนื้อหาหลักในการแบรนด์และการออกแบบร้านค้าไปพร้อมกัน โดยในส่วนของร้านค้านั้น สิ่งที่ผู้เยี่ยมชมจะสัมผัสได้เป็นอย่างแรกหลังจากเดินเข้าสู่พื้นที่ภายในคือบรรยากาศของห้องสีขาว สะอาด สว่าง ซึ่งตรงกันข้ามทุกประการกับบริบทและสภาพแวดล้อมที่วุ่นวายภายนอกของเมืองกรุงเทพฯ โดยภายในตัวร้านค้านี้ ผู้ออกแบบได้สร้างสเปซใหม่เป็นการเฉพาะสำหรับหน้าร้านด้วยการกั้นพื้นที่ชั้นหนึ่งของตึกแถวเดิมด้วยการวางแผงกระจกล้อมเป็นวงกลม และเอนแผงกระจกทั้งหมดนั้นออก ผลลัพธ์ที่ได้ จึงเป็นห้องวงกลมที่ให้ความรู้สึกเหมือนผู้เยี่ยมเยือนจะยืนอยู่ในห้องกระจกรูปทรงกรวยกลับหัวอยู่ตลอดเวลา พร้อมกับการได้พื้นที่เศษเหลือโดยรอบจากการล้อมกรอบพื้นที่ใช้สอยใหม่ในห้องของตึกเก่า ที่ระบุรูปทรงไม่ได้ ที่เอื้อให้เกิดพื้นที่ใช้ประโยชน์อย่างเคาน์เตอร์ชำระเงิน ช่องสต็อกสินค้า […]

บ้านพอดี พอดี บ้านเรียบง่าย ที่ใครๆ ก็สร้างได้

โครงการ แบบบ้านพอดี พอดี มีจุดเริ่มต้นในช่วงเหตุการณ์มหาอุทกภัยเมื่อปี พ.ศ. 2554 ซึ่งทำให้ใครหลายคนต้องจากที่อยู่อาศัย ไปพักพิงตามศูนย์อพยพ

AvatarOn A สวิตช์ปลั๊กไร้กรอบ ดีไซน์เฉียบ

สวิตช์ไฟ และเต้ารับคืออีกหนึ่งองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยส่งเสริมรายละเอียดการตกแต่งให้บ้านสวยขึ้นได้ AvatarOn A สวิตช์ไฟ และสวิตช์เต้ารับสำหรับบ้านเจนเนอเรชั่นใหม่ ที่มาพร้อมดีไซน์ไร้กรอบ เลือกผสานสีสันได้ ทั้งยังปรับแต่งโมดูลได้ตามความต้องการ จึงเข้ามาตอบโจทย์ชีวิตของคนยุคใหม่ให้ลงตัว และเติมเต็มการอยู่บ้านให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ดีไซน์ไร้กรอบเรียบหรู ความเรียบหรูจากดีไซน์ไร้กรอบ ฉีกกรอบสวิตช์ไฟ ที่มักเน้นการใช้งานตามจุดต่าง ๆ ของบ้านให้กลายเป็นของตกแต่งบ้าน ซึ่ง ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ถือเป็นเจ้าแรกในประเทศไทยที่ออกแบบดีไซน์นี้ ไร้ขีดจำกัดเพราะติดแนวตั้งได้ ติดตั้งได้ทั้งแนวนอน และแนวตั้ง ใช้งานได้ง่ายเหมือนเดิม ช่วยเพิ่มลูกเล่นให้กับบ้าน โดยเมื่อติดตั้งแนวตั้งก็ได้ความรู้สึกไปอีกแบบ นอกจากนี้ ยังผลิตจากวัสดุคุณภาพสูง มีคุณสมบัติแข็งแรง ทนทาน และไม่ลามไฟ จึงมั่นใจว่าปลอดภัยสำหรับคนในบ้าน ลูกเล่นสนุกเลือกสีผสมผสานได้  สวิตช์ปลั๊ก AvatarOn A มี 3 ขนาด 3 สี ได้แก่ สีขาว สีดำ และสีเทา โดยเลือกประกอบกันได้แบบโมดูลาร์ จะลองเปลี่ยนสีเลียนแบบคีย์เปียโนก็เพิ่มความสุนทรีย์ให้ห้อง  ส่วนข้อดีที่ได้เห็นได้ชัดในแง่การใช้งานคือมีสวิตช์ไฟได้ถึง 3 สวิตช์เพียงพอต่อการใช้งานในหนึ่งห้อง หรือใครที่ชอบความสะดวกก็เลือกสวิตช์ไฟไซส์ใหญ่สุดทำให้สัมผัสได้ง่ายขึ้น ตอบโจทย์การใช้งานทุกไลฟ์สไตล์  เราสามารถปรับแต่งภาพรวมสวิตช์ปลั๊ก และสวิตช์เต้ารับได้หลากหลายรูปแบบตามลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกันในแต่ละห้อง […]

บริทาเนีย ต่อยอดแนวคิด สู่ 2 โครงการใหม่

บ้านและทาวน์โฮมซีรีย์ใหม่ที่ขายดีที่สุด พร้อมทำเลดีที่หายาก “บางนา กม. 17” เริ่มต้น 2.79 – 4.89 ล้าน BRITANIA HOME (บริทาเนีย โฮม) และ BRITANIA TOWN (บริทาเนีย ทาวน์) บางนา กม.17 โครงการบ้านและทาวน์โฮมในสไตล์ Modern British โดดเด่นด้วยกลิ่นอายมนตร์เสน่ห์แห่งกรุงลอนดอน ความคลาสสิกที่ผสานกับความทันสมัยสร้างบรรยากาศการอยู่อาศัยที่แตกต่าง พร้อมฟังก์ชันการใช้งานที่ลงตัวกับครอบครัวยุคใหม่ บนทำเลที่สามารถเชื่อมต่อสู่ใจกลางเมืองได้สะดวกและรวดเร็ว #LONDON VIBES พระราชวังบัคกิ้งแฮม London Eye หอนาฬิกา Big Ben หรือสะพานทาวเวอร์บริดจ์ รวมถึงพื้นที่สีเขียวใจกลางเมือง คือแลนด์มาร์กของกรุงลอนดอนที่ใครหลายคนหลงใหล ด้วยเป็นแหล่งรวมประวัติศาสตร์ ศิลปะ แฟชั่น อาหาร ท่ามกลางสถาปัตยกรรมอันยิ่งใหญ่ เอกลักษณ์เหล่านี้ได้กลายเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์สถาปัตยกรรม และองค์ประกอบต่างๆ ของโครงการบริทาเนีย โฮม และบริทาเนีย ทาวน์ ที่สร้างบรรยากาศพื้นที่ส่วนกลางให้ทุกคนเหมือนได้พักผ่อนอยู่กลางกรุงลอนดอน โดยเฉพาะพื้นที่สีเขียวส่วนกลาง ที่แบ่งโซนให้รองรับหลากหลายกิจกรรมสำหรับทั้งครอบครัว ทั้งลานกีฬา สนามเด็กเล่น […]

BAAN BRAIN CLINIC คลินิกในตึกแถวที่อบอุ่นเหมือนบ้าน

Baan Brain Clinic Chiang Rai เป็นโครงการออกแบบเปลี่ยนโฉมตึกแถวตำแหน่งหัวมุมให้กลายเป็นคลินิกด้านสมองและระบบประสาทของ นพ.วัชระรัตนชัยสิทธิ์ คุณหมอด้านประสาทวิทยาที่จังหวัดเชียงราย “อยากให้คนไข้ที่มาที่นี่รู้สึกเหมือนกลับบ้านมาให้ลูกหลานดูแล” คือโจทย์ตั้งต้นในการออกแบบที่คุณหมอให้ไว้ให้กับทีม 1922 Architects ตัวอาคารมีพื้นที่ใช้สอย 70 ตร.ม. ซึ่งมีลักษณะเดิมเป็นโถงสูงด้านหน้าและมีชั้นลอยด้านหลัง เมื่อเทียบกับพื้นที่ใช้งานที่จำเป็นต้องมี ซึ่งได้แก่ โถงพักคอย เคาน์เตอร์ต้อนรับ ห้องตรวจ ห้องหัตถการ ห้องน้ำ พื้นที่พักผ่อนของคุณหมอ และพื้นที่เก็บของ ขนาดพื้นที่ 70 ตร.ม. จึงถือเป็นพื้นที่ที่จำกัดมาก อีกทั้งช่องเปิดที่มีไม่มาก ทำให้ภายในค่อนข้างมืดและอึดอัดตามลักษณะของตึกแถวทั่วไป  ผู้ออกแบบจึงรักษาลักษณะของโถงสูงหรือ Double volume ไว้สำหรับทำเป็นพื้นที่พักคอยและเคาน์เตอร์ต้อนรับด้วยความสูงของฝ้าเพดานเดิม 4.75 ม. ส่วนห้องตรวจและห้องหัตถการที่อยู่ด้านหลังเคาน์เตอร์ ก็วางฝ้าเฉียงล้อไปกับท้องพื้นของบันไดเดิมเพื่อให้ห้องที่ถูกจำกัดหน้ากว้างด้วยความแคบของตึกแถวดูโล่งมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ อีกทั้งภายในระหว่างห้องตรวจและห้องหัตถการถึงแม้จะมีประตูแยกเข้า แต่ภายในกั้นแยกโดยใช้เพียงผ้าม่านที่สามารถเปิดโล่งเชื่อมกันได้ หากต้องการใช้ห้องตรวจใหญ่เพียงห้องเดียว ซึ่งห้องตรวจนี้หากมองจากโถงต้อนรับจะเห็นเป็นผนังสูงจรดฝ้า โดยตรงมุมห้องถูกออกแบบให้เป็นผนังโค้งแทนมุมห้องสี่เหลี่ยมแบบทั่วไป ช่วยลดความอึดอัดของพื้นที่ เส้นสายที่เกิดขึ้นช่วยสร้างบรรยากาศให้อ่อนละมุนขึ้น ลดทอนความแข็งในเส้นสายขององค์ประกอบอื่นๆ ในอาคารได้อย่างลงตัว แม้ฟังก์ชันจะเรียบง่ายแต่ก็แฝงไปด้วยทุกรายละเอียดในการออกแบบ โดยเฉพาะด้านการสร้างบรรยากาศแวดล้อมภายในคลินิกเพื่อสร้างความผ่อนคลายให้กับคนไข้ที่เข้ามารับบริการ โดยทางผู้ออกแบบได้นำประสบการณ์จากการเป็นหนึ่งในทีมออกแบบโรงพยาบาลราชพฤกษ์ จังหวัดขอนแก่นมาปรับใช้ โดยให้ความสำคัญกับแสงและลมธรรมชาติ เพราะแสงธรรมชาติมีผลต่อความรู้สึกเชิงบวกของผู้ป่วยโดยตรง หน้าต่างและบล็อกแก้วใสจึงถูกนำมาใช้แทนผนังทึบด้านใน […]

THE RUNNING BEAN คาเฟ่ร่วมสมัยใจกลางกรุงฮานอย

THE RUNNING BEAN คาเฟ่ร่วมสมัยใจกลางกรุงฮานอย ฝีมือ Red5studio สตูดิโอออกแบบจากเวียดนาม ที่พยายาม “ฟรีซ” อาคารมรดกทางวัฒนธรรมนี้ให้สะท้อนเรื่องราวในอดีตไปพร้อมๆ กับบอกเล่าไลฟ์สไตล์ของปัจจุบันและอนาคต อาคารโบราณแห่งนี้ตั้งอยู่ใจกลางกรุงฮานอย ยืนหยัดผ่านร้อนผ่านหนาวมาหลายยุคสมัย เป็นพื้นที่ของธุรกิจมาแล้วหลากหลายรูปแบบ ตัวอาคารค่อนข้างแคบ ขาดแสงธรรมชาติ และโครงสร้างเดิมก็ใกล้ผุพังเต็มที แต่ที่น่าสนใจคือเปลือกอาคารโดดเด่นด้วยเส้นสายสไตล์กอธิกและมีฝ้าเพดานสูงที่สามารถปรับเปลี่ยนให้สเปซน่าสนใจได้ ผู้ออกแบบเลือกใช้วัสดุอย่างกระจก และบล็อกแก้ว พร้อมแสงไฟโทนสีน้ำเงิน ในรูปแบบต่างๆ เพื่อสื่อถึงบรรยากาศของภูเขาน้ำแข็งที่กระจายไอเย็นแสนหนาวเหน็บในอาคารโบราณแห่งนี้ เปลือกอาคารลอกชั้นปูนเก่าออกเผยให้เห็นผนังอิฐดั้งเดิม ส่วนลวดลายกอธิกห่อหุ้มด้วยวัสดุสแตนเลสเพื่อให้ดูร่วมสมัยมากขึ้น แทนที่จะเข้าสู่อาคารจากประตูหลักโดยตรง ผู้ออกแบบกำหนดให้ทางเข้าอยู่ลึกเข้าไป กรุด้วยกระจกใส กระจกโปร่งแสง ส่วนพื้นปูบล็อกแก้วเผยให้เห็นพื้นซีเมนต์ด้านล่าง สร้างพื้นที่เปลี่ยนผ่านก่อนเข้าสู่ภายใน หัวใจของชั้นล่างคือเคาน์เตอร์กาแฟ ซึ่งก่อจากอิฐแก้วใสและสแตนเลส เหนือเคาน์เตอร์ครอบไว้ด้วยกล่องโครงสเตนเลสกรุกระจกสี่เหลี่ยมสีน้ำเงิน ผนังทั้งสองด้านสกัดปูนฉาบตกแต่งผนังออก แล้วกรุทับด้วยกระจกอีกหนึ่งชั้นเชื่อมต่อไปกับกระจกเงาบนฝ้าเพดานที่ช่วยให้สเปซดูสูงโปร่งขึ้น การออกแบบแสงสว่างเน้นการใช้เลเยอร์ของแสงสีเหลืองเป็นแสงหลัก แต่เพิ่มเลเยอร์ของแสงสีน้ำเงินภายในเพดานเคาน์เตอร์เพื่อสร้างเอฟเฟกต์สีและความรู้สึกของภูเขาน้ำแข็งให้เด่นชัดขึ้น ลึกเข้ามามีพื้นที่นั่งเล่นสำหรับจิบกาแฟเบาๆ พื้นที่นี้ใช้ผนังคอนกรีตและผนังกระจกหลายเลเยอร์ เพื่อซ่อนพื้นที่ห้องครัวและพื้นที่ส่วนเซอร์วิสอื่นๆ ทางเดินหลักและโถงบันไดทำจากผนังกระจกและไฟ LED สีฟ้าให้ความรู้สึกเหมือนเดินอยู่ในภูเขาน้ำแข็ง เพื่อขยายพื้นที่ให้ได้จำนวนที่นั่งที่วางแผนไว้ ผู้ออกแบบจึงเปลี่ยนโครงสร้างจาก 2 ชั้นเป็นอาคาร 3 ชั้นพร้อมชั้นลอย ฝ้าเพดานเปิดโล่งเพื่อสร้างพื้นที่รับแสงธรรมชาติให้มากที่สุด พื้นที่ทั้งหมดถูกปกคลุมด้วยเลเยอร์ของแสงไฟ LED สีฟ้า เพื่อสร้างความรู้สึกของภูเขาน้ำแข็ง […]

Black Chapel วิหารสีดำตัวแทน Serpentine Pavilion 2022

ทุก ๆ ฤดูร้อนตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา พื้นที่เล็ก ๆ ในมุมหนึ่งของสวน Kensington Gardens ใจกลางกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ จะมีโอกาสได้ต้อนรับ Serpentine Pavilion สถาปัตยกรรมชั่วคราว เพื่อการพบปะและปะทะสังสรรค์ทางความคิด ในรูปแบบ และแนวความคิดที่ไม่ซ้ำเคยกัน และแน่นอนว่าในแต่ละปี สถาปนิกดาวรุ่งจากทั่วโลกจะได้รับเลือกให้เป็นผู้ออกแบบ และส่งสารผ่านสิ่งปลูกสร้าง ที่จะตั้งอยู่ในสวนยาวไปจนถึงช่วงสิ้นปี สัปดาห์ที่ผ่านมานี้เองที่ Serpentine Pavilion ได้เปิดพื้นที่ของผลงานชิ้นใหม่ในนาม “Black Chapel” ที่เรียกความสนใจจากผู้มาพักผ่อนหย่อนใจในสวน และผู้ตั้งใจมาเยี่ยมชมจากทั่วโลก โครงสร้างทรงกระบอกสีดำทะมึนอันเป็นเอกลักษณ์ของอาคารอ้างอิงจากรูปแบบโครงสร้างที่พบในหลายวัฒนธรรมในหลายพื้นที่ของโลก ไม่ว่าจะเป็นเตาเผารูปทรงคล้ายขวดในบรรดาโรงงานอุตสาหกรรมของเมือง Stoke-on-Trent ประเทศอังกฤษอันเป็นเอกลักษณ์ เตาเผาถ่านหินรูปทรงรังผึ้งที่พบได้ในทางตะวันตกของสหรัฐอเมริกา ซุ้มวิหารทรงโดมขนาดเล็ก หรือ Tempietto ในโบสถ์ San Pietro ของเมือง Montorio กรุงโรม ประเทศอิตาลี บ้านดินโบราณของกลุ่มชาติพันธ์ Musgum ในประเทศแคเมอรูน รวมถึงอาคารฝังศพ Kasabi Tombs แหล่งมรดกโลกของเมือง Kampala ประเทศอูกันดา […]

Botanica Meditation Center สงบและสมดุลกลางละอองหมอก

ศูนย์ฝึกสมาธิ Botanica Meditation Center ตั้งอยู่ย่านชานเมืองเหอเฟย์ (Hefei) เมืองหลวงของมณฑลอานฮุย (Anhui) สาธารณรัฐประชาชนจีน เหอเฟย์เป็นเมืองเก่าที่มีการพัฒนา และเติบโตอย่างรวดเร็วตลอด 30 ปีที่ผ่านมา จากเดิมที่ทุกอย่างกระจุกตัวอยู่ใจกลางเมือง ก็กลายเป็นเมืองที่มีศูนย์กลางความเจริญกระจายในหลายจุด นับเป็นการพัฒนาแบบก้าวกระโดดที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน ปรากฎการณ์นี้ มิได้เกิดขึ้นเฉพาะที่เหอเฟย์เท่านั้น แต่ยังพบได้ในเมืองใหญ่ทั่วทุกภูมิภาคของจีน สะท้อนให้เห็นถึงการปรับตัวครั้งใหญ่สำหรับชาวจีน ทั้งในด้านชีวิตการทำงาน และการใช้ชีวิตส่วนตัว ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในระยะเวลาอันสั้น Botanica Meditation Center เป็นพื้นที่สวนเปิดโล่งขนาด 230 ตารางเมตร เจ้าของโครงการนี้ทำงานในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งต้องเผชิญแรงกดดันทางวิชาชีพมหาศาล เมื่อความหลงใหลในพรรณไม้และธรรมชาติ ผนวกกับความฝันที่จะสร้างสวนพฤกษศาสตร์สาธารณะกลางชุมชนที่พักอาศัย จึงเกิดโครงการนี้ขึ้น ด้วยความตั้งใจให้ทุกคนได้มีโอกาสฝึกสมาธิ โยคะ ไทชิ และคลาสพัฒนาจิตวิญญาณอื่นๆ เพื่อพาผู้คนมารู้จักกับความงดงามของ “ชีวิตเนิบช้า” ท่ามกลางความเร่งรีบของสังคมเมือง จากโจทย์ข้างต้น HAS design and research ได้เริ่มทำการวิจัยเชิงลึก และพบว่าสวนพฤกษศาสตร์แบบดั้งเดิมนั้นมักมีถังเก็บน้ำขนาดใหญ่ แม้จะเหมาะสำหรับระบบให้น้ำต้นไม้ภายในสวน แต่ขณะเดียวกัน ถังเก็บน้ำก็เป็นเหมือนองค์ประกอบที่แบ่งพื้นที่ภายในสวนออกเป็นสองส่วนอย่างสิ้นเชิง คือพื้นที่งานระบบ และพื้นที่สวน ในการออกแบบโครงการนี้ ผู้ออกแบบจึงพยายามรักษาวิธีการดั้งเดิมไว้ […]

SAWO RONTGEN คาเฟ่โปร่งแสงบนสนามหญ้าหน้าบ้าน

SAWO RONTGEN สาขาล่าสุดของ Sawo Coffee & Roastery แบรนด์คาเฟ่ในเมืองบันดุง ประเทศอินโดนีเซีย สาขาใหม่นี้ตั้งอยู่บนสนามหน้าบ้านหลังกะทัดรัดในย่านพักอาศัยบนถนน Rontgen ซึ่งชื่อถนนแห่งนี้ได้กลายเป็นที่มาของแนวคิดหลักในการออกแบบ Röntgen หมายถึงการเอ๊กซเรย์ (X-ray) ตามชื่อของศาสตราจารย์เรินต์เกนผู้ค้นพบรังสีเอ๊กซ์ จากชื่อถนนที่ตั้งนำมาสู่แนวคิดการออกแบบคาเฟ่ขนาดเล็กด้านหน้าบ้าน ให้มีรูปลักษณ์โปร่งแสงไม่ต่างจากการเอ๊กซเรย์ หลังจากทีมออกแบบได้ทำการศึกษาค้นคว้าวัสดุโปร่งแสงรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้ตอบโจทย์แนวคิดการออกแบบในที่สุด บล็อกแก้ว และกระจกกัดกรด จึงถูกใช้เป็นวัสดุหลัก โครงสร้างผนังบล็อกแก้วบนสนามด้านหน้าบ้านดูคล้ายกล่องสี่เหลี่ยม ที่ช่วยกำหนดขอบเขต และสร้างเส้นแบ่งให้ส่วนคาเฟ่โดยเฉพาะ ส่วนกระจกกัดกรดมีผิวสัมผัสซาตินเป็นเหมือนผิวภายนอกของคาเฟ่ที่ห่อหุ้มองค์ประกอบต่าง ๆ ของบ้านเดิมไว้ ทำให้เกิดเลเยอร์ใหม่ดูน่าสนใจบนเปลือกอาคารเก่า โดยไม่ต้องปรับเปลี่ยนอะไรมาก วัสดุบล็อกแก้ว และกระจกกัดกรด สร้างความขัดแย้งอย่างลงตัวกับทั้งโครงสร้างอาคาร และธรรมชาติรอบข้าง นำไปสู่รูปลักษณ์ความโปร่งแสงสลับโปร่งใสในหลากหลายรูปแบบอย่างที่ทีมออกแบบตั้งใจ ส่วนโครงสร้างหลักใช้เหล็ก H-beam ชุบกัลวาไนซ์ ปล่อยเปลือยเปล่าโชว์ผิวสัมผัส เมื่ออยู่เบื้องหลังผิวโปร่งแสงของบล็อกแก้วและกระจก จึงเปรียบได้กับภาพเอ๊กซเรย์ที่ปรากฎเลเยอร์ของผิวหนัง และโครงกระดูก เมื่อเข้ามาภายในคาเฟ่จะพบเคาน์เตอร์กาแฟสีขาวเฉียบเรียบ ซึ่งเป็นซิกเนเจอร์ของ Sawo Coffee คอยบริการเสิร์ฟกาแฟก่อนที่ลูกค้าจะเข้ามาโซนที่นั่งด้านใน เซอร์ไพร้ส์กับที่นั่งเอ๊าต์ดอร์วงกลมที่ซ่อนอยู่ในกล่องบล็อกแก้ว รูปทรงวงกลมนี้ได้แรงบันดาลใจมาจากโลโก้ของแบรนด์ ซึ่งรูปทรงที่โดดเด่น และสมมาตรนี้ทำให้เกิดบรรยากาศที่สงบ สร้างบทสนทนาเรียบง่ายระหว่างผู้ใช้งานกับสถาปัตยกรรม ส่วนด้านข้างมีบันไดเหล็กที่นขึ้นำไปสู่ห้องชั้นบนที่มีที่นั่งแบบอินดอร์ […]

BAANLUMPHUN บ้านโมเดิร์นที่ตีความใหม่จากสถาปัตยกรรมนอร์ดิก

“บ้านลำพูน” บ้านพักอาศัย 2 ชั้น ขนาด 260 ตร.ม. ที่ได้รับการออกแบบด้วยกลิ่นอายแบบ บ้านนอร์ดิก และสร้างบนที่ดินเปล่าผืนหนึ่งในจังหวัดลำพูน

Common Neglect Material เก้าอี้จากลังปลาเหลือทิ้ง

ชุดเฟอร์นิเจอร์สาธารณะจากขยะอุตสาหกรรมประมง ที่สะท้อนภาพเมืองชายฝั่งของญี่ปุ่นที่ถูกทิ้งร้าง ท่ามกลางความหวังจะชุบชีวิตย่านนี้ขึ้นมาใหม่ผ่านงานศิลปะที่สร้างการรับรู้ในวงกว้าง เมื่อทศวรรษก่อน ย่านคิชู (Kishu) ในจังหวัดมิเอะ (Mie) เมืองชายฝั่งทางภาคใต้ของญี่ปุ่น เคยเป็นหนึ่งในศูนย์กลางอุตสาหกรรมประมงของชายฝั่งทางใต้ของญี่ปุ่น แต่ปัจจุบันประสบภาวะจำนวนประชากรที่ลดลง เช่นเดียวกับหลายพื้นที่ห่างไกลของญี่ปุ่น ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมๆ กับการขยายตัวของสังคมผู้สูงอายุ เห็นได้จากหมู่บ้านชายขอบเล็กๆ มากมายที่ถูกทิ้งร้าง ผู้คนโยกย้ายเข้าไปสู่เมืองใหญ่ที่กระจุกตัวของความเจริญ ปล่อยบ้านเรือนให้ว่างเปล่า ประชากรที่ยังอยู่ก็ล้วนมีรายได้ต่ำ พื้นที่ตรงนี้จึงเหลือทิ้งไว้เพียงขยะจากอุตสาหกรรมประมง เมื่อ Takuto Ohta นักออกแบบชาวญี่ปุ่น ได้ลงพื้นที่สำรวจแถบ Kii, Miyama และ Owase ซึ่งเคยเป็นฐานอุตสาหกรรมประมงในย่านนี้ เขาได้พบกับตู้แช่ปลาจำนวนนับไม่ถ้วนบริเวณท่าเรือ ลังใส่ปลา แห อวน ทุ่น รวมถึงท่อพีวีซีที่ใช้ในฟาร์มปลากระเบนตลอดแนวชายฝั่ง ทั้งหมดนี้ถูกทิ้งร้างไร้เจ้าของมานานกว่า 12 ปี Common Neglect Material (CNM) จึงคอลเล็กชั่นเฟอร์นิเจอร์สาธารณะของ Ohta ที่ตั้งใจสร้างประโยชน์ใช้สอยใหม่ให้กับขยะอุตสาหกรรม วัสดุ และสิ่งของเหลือทิ้ง ที่พบในเมืองที่ถูกทิ้งร้างแห่งนี้ เพื่อสร้างสรรค์คุณค่าใหม่ พร้อมฉายสปอตไลต์ให้กับพื้นที่ว่างเปล่าไร้ชีวิตชีวาแห่งนี้อีกครั้ง ลังใส่ปลาสีเหลืองสดใสได้รับการแปลงโฉมใหม่ให้กลายเป็นชุดเฟอร์นิเจอร์ขี้เล่น ที่มีทั้งเก้าอี้ ม้านั่ง สตูล […]