CHI’S HOUSE ปรับบ้านให้เป็นร้านค้า ทั้งน่าอยู่และปลอดภัยในวิกฤตโควิด-19
เพราะสถานการณ์โควิด-19 จึงตัดสินใจ รีโนเวทบ้านเป็นร้าน ขายเครื่องนอน โดยทำการแยกทางเข้าถึงของสองฟังก์ชันออกจากกันได้ความปลอดภัยและเป็นสัดส่วน
Community Isolation รับมือโควิด-19 ช่วยลดความเครียดของผู้ป่วย
วิกฤตไวรัสขยายวงขึ้นเรื่อยๆ ทุกบ้านอาจไม่พร้อมสำหรับการกักตัวที่บ้าน จึงเกิดความร่วมมือเพื่อจัดหาสถานที่กักตัวในชุมชน Community Isolation ขึ้น เป็นศูนย์พักคอยรองรับผู้ป่วยโควิดอาการสีเขียว
รพ.กรุงเทพ เดินหน้าฉีดวัคซีนโควิด-19 ขานรับยุทธศาสตร์สกัดเชื้อกลายพันธุ์
รพ.กรุงเทพ เดินหน้าฉีดวัคซีนโควิด-19 ขานรับยุทธศาสตร์สกัดเชื้อกลายพันธุ์ เร่งสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ พาคนไทยก้าวผ่านวิกฤตไปด้วยกัน
กลับมาอยู่ไทยในช่วงสถานการณ์โควิด-19 เพื่อพักผ่อนกับสวนเรียบหรูดูแลง่าย
โทนสีขรึมของฮาร์ดสเคปขับสีสันของพรรณไม้ในสวนให้โดดเด่นสะดุดตา ลานกว้างเปิดโล่งแต่ก็ปิดล้อมด้วยแนวรั้วเป็นส่วนตัวแบบคอร์ตยาร์ด เมื่อมีองค์ประกอบของของตกแต่งกลิ่นอายคลาสสิกพร้อมลวดลายระแนงเหล็กที่สอดแทรกในแต่ละมุม ก็ยิ่งย้ำภาพความเรียบหรูให้สวนเรียบหรูดูแลง่ายแห่งนี้เด่นชัดขึ้น เจ้าของ: คุณศุภลักษณ์ แพบรรยง จัดสวน: Shabby Chic Gardens โดยคุณอิศรา แพงสี จากจุดเริ่มต้นในการกลับมาอยู่เมืองไทยเป็นระยะเวลานานเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 คุณเปิ้ล-ศุภลักษณ์ แพบรรยง เจ้าของบ้านหลังนี้จึงตัดสินใจรีโนเวตสวนใหม่ทั้งหมด เพื่อให้มีพื้นที่เอ๊าต์ดอร์สบาย ๆ สำหรับออกมาพักผ่อนและใช้ชีวิตนอกบ้านในแบบที่ชอบ เนื่องจากคุณเปิ้ลมีบ้านอยู่หลายประเทศ หลักๆ จะอาศัยอยู่ที่ฮ่องกงและเดินทางไปอังกฤษ สหรัฐอเมริกา และไทยสลับกัน ซึ่งบ้านที่อังกฤษและสหรัฐอเมริกานั้นมีสเปซเอ๊าต์ดอร์ให้ออกมาทำกิจกรรมได้ คุณเปิ้ลจึงต้องการปรับสวนบ้านที่เมืองไทยให้สามารถออกมาใช้งานได้เช่นกัน สำหรับบ้านหลังนี้ซื้อมาประมาณ 4 ปีก่อน สวนดั้งเดิมของบ้านเป็นสไตล์ทรอปิคัล และมีการปรับปรุงสวนมาแล้ว 1 ครั้งโดยจัดเป็นสวนแบบทรอปิคัลผสมผสานกับสวนอังกฤษ “ตอนนั้นที่เปลี่ยนมาก็คิดว่าน่าพอใจนะคะแต่ผ่านไประยะหนึ่งก็คิดว่าไม่ใช่ เพราะเริ่มรกดูแลยาก เลยมาค้นหาดูว่าจะจัดสวนกับใครดี จนกระทั่งเสิร์ชไปเจอสวนที่คุณนุ่นออกแบบในยูทูปรายการบ้านและสวน เพราะว่าเปิ้ลไม่ได้อยู่เมืองไทยเลยไม่รู้จักใคร พอเข้าไปดูงานแล้วรู้สึกว่าสวยดีเลยติดต่อมา เปิ้ลชอบระแนง ชอบสวนดูแลง่าย สะอาด เรียบร้อย ก็ให้โจทย์ไปพอคุณนุ่นสเก็ตช์มาก็คลิกกัน มีปรับเปลี่ยนกันนิดหน่อย ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มคุยจนกระทั่งจัดสวนเบ็ดเสร็จเกือบปีเพราะเปิ้ลไม่เร่ง และติดช่วงหน้าฝนด้วย” บริเวณหน้าบ้านเดิมมีต้นไม้ค่อนข้างแน่น สนามหญ้า และทางเดินเล็กๆไม่มีฟังก์ชันใช้งานอื่นจนคุณเปิ้ลคิดมาตลอดว่าพื้นที่หน้าบ้านแคบ แต่เมื่อ คุณนุ่น-อิศรา แพงสี แห่ง […]
“สุนัขดมกลิ่นหาผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ไม่แสดงอาการ” โดยทีมวิจัยจุฬาฯ
สำเร็จแล้ว! ทีมวิจัยจุฬาฯ เผยผลงานวิจัย “สุนัขดมกลิ่นหาผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ไม่แสดงอาการ” ได้ผลถูกต้องแม่นยำ สำเร็จเป็นที่แรกในประเทศไทย พร้อมประจำการท่าอากาศยาน เสริมปฏิบัติการคัดกรอง การวิจัยดังกล่าวเป็นการนำศักยภาพของสุนัขที่มีความสามารถในการดมกลิ่นดีกว่าคนถึง 50 เท่ามาใช้ในงานวิจัย โดยจะซับเหงื่อบริเวณใต้รักแร้ด้วยสำลีและถุงเท้า เก็บไว้ในห้องปฏิบัติการที่มีความปลอดภัยทางชีวภาพ แล้วนำสำลีและถุงเท้าดังกล่าวมาใส่กระป๋องเพื่อให้สุนัขดมกลิ่น เมื่อสุนัขได้กลิ่นก็จะนั่งลงทันที เพื่อบอกว่าคน ๆ นี้ติดเชื้อแม้จะไม่แสดงอาการ โดยคณะวิจัยได้นำสุนัขพันธุ์ลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์ทั้ง 6 ตัว ซึ่งเป็นสุนัขสายพันธุ์ที่มีโพรงจมูกยาว มีประสาทสัมผัสรับรู้กลิ่นที่ไวและดี อุปนิสัยเป็นมิตรและฝึกง่าย ซึ่งจากการทดสอบสุนัขฝูงนี้มีความแม่นยำในการพบผู้ติดเชื้อแต่ไม่แสดงอาการสูงถึง 94.8% เทียบเคียงกับประเทศอื่น ๆ ที่มีการวิจัยใช้สุนัขตรวจคัดกรองผู้ติดเชื้อ อาทิ ฟินแลนด์ เยอรมัน ฝรั่งเศส และออสเตรเลีย โครงการนี้นับเป็นต้นแบบในการฝึกสุนัขเพื่องานทางการแพทย์ชุดแรกของประเทศไทย ในอนาคตจะมีการต่อยอดฝึกสุนัขเพื่อตรวจโรคอื่น ๆ เช่นโรคเบาหวาน ซึมเศร้า มาลาเรีย และโรคอัลไซเมอร์ ฯลฯ ซึ่งที่มาของโครงการวิจัย “การใช้สุนัขดมกลิ่นตรวจหาผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ที่ไม่แสดงอาการ” นี้มาจากเหตุว่า การตรวจคัดกรองผู้ติดเชื้อโควิด-19 ด้วยอุปกรณ์วัดอุณหภูมิแบบต่าง ๆ เป็นวิธีการคัดกรองเบื้องต้นและได้ผลสำหรับผู้ที่ติดเชื้อและแสดงอาการแล้วเท่านั้น ส่วนผู้ที่ติดเชื้อแต่ยังไม่แสดงอาการ เครื่องมือเหล่านี้ยังไม่สามารถตรวจพบได้ แต่สุนัขที่ได้รับการฝึกมาแล้วสามารถทำสิ่งนี้ได้ […]
“เป็นส่วนตัว-ลดแพร่เชื้อ” ตอบรับแนวทาง Social Distancing ของร้านอาหารอินเดียในยุคโควิด-19
Renesa Architecture Design Interiors สตูดิโอออกแบบสัญชาติอินเดีย นำเสนอการออกแบบสถาปัตยกรรมล่าสุดของพวกเขา กับรูปแบบร้านอาหารเวียดนามในกรุงนิวเดลี ให้ปลอดภัยและตอบสนองต่อนโยบายป้องกัน โควิด-19 ท่ามกลางการแพร่ระบาดของ โควิด-19 ไปทั่วโลก รูปแบบการใช้ชีวิตของผู้คนโดยเฉพาะพื้นที่สาธารณะอย่างร้านอาหาร ได้ถูกตั้งคำถามว่าจะปรับตัวอย่างไรให้เข้ากับยุคโควิด ที่ผู้คนจำเป็นต้องเว้นระยะห่างทางสังคม นักออกแบบหลาย ๆ คนจึงต้องให้ความสำคัญและหาทางแก้ปัญหาทางสถาปัตยกรรมที่เหมาะสม เพื่อช่วยตอบสนองต่อนโยบายลดการแพร่ระบาดของโรคติดต่อนี้ซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อน และสำหรับสตูดิโอออกแบบสัญชาติอินเดียรายนี้ ซึ่งรับหน้าที่ออกแบบร้านอาหารเวียดนามสาขานี้ในอินเดีย พวกเขาตอบสนองต่อการป้องกันโรคโควิด-19 อย่างจริงจัง ผ่านผลงานในชื่อ “Social with Distancing” การออกแบบร้านอาหารแห่งนี้ เป็นการนำบรรยากาศความคึกคักตามตรอกซอกซอยในเวียดนามมาออกแบบ ร่วมกับวัสดุอย่าง ไม้ อิฐ สังกะสี ประตูเหล็กยืด ฯลฯ ซึ่งเป็นวัสดุที่บ่งบอกถึงสถาปัตยกรรมของเวียดนาม พร้อมกับแทรกด้วยเหล่าพรรณไม้เขตร้อนสีเขียวสด ตัดสลับกับสีน้ำตาลของโครงสร้างและเฟอร์นิเจอร์ไม้ที่ดูอบอุ่น ขณะที่มาตรการที่ใช้ในร้านเพื่อป้องกันโรคโควิด นอกจากพนักงานจะต้องใส่หน้ากากตลอดเวลา และมีตารางการทำความสะอาดที่บ่อยครั้งขึ้นแล้ว สิ่งสำคัญคือการออกแบบพื้นที่แบบ Social Distancing เห็นได้จากการเว้นช่องทางเดินทุก ๆ 6 ฟุต หรือ 2 เมตร เพื่อลดความแออัด ขณะเดียวกันก็มีมุมนั่งรับประทานอาหารที่หลากหลายให้เลือก ไม่ว่าจะเป็นมุมรับประทานอาหารสองชั้นที่สับหว่างที่นั่งกันแบบเว้นระยะ ระหว่างชั้นหนึ่งกับชั้นสอง […]
ผักสวนครัวกับรถพุ่มพวง กำไรที่ไม่ใช่เงินในยุคโควิด-19 ของบ้านไร่ไออรุณ
นี่อาจเรียกได้ว่า “รถพุ่มพวงที่สวยที่สุดในเมืองไทย” ในตอนนี้ ไอเดียไม่ธรรมดาของ คุณเบส – วิโรจน์ ฉิมมี ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด – 19 ระบาดระลอกใหม่ ซึ่งทำให้ระนอง จังหวัดที่ตั้งของบ้านไร่ไออรุณ กลายเป็นพื้นที่สีแดง แขกที่เคยเข้าพักในฟาร์มสเตย์แสนอบอุ่นนี้ยกเลิกการจองทันที 100% แม้จะไม่มีการสั่งล็อกดาวน์อย่างเป็นทางการ นั่นทำให้รายได้ของที่นี่เกือบเท่ากับศูนย์ แต่พืชผลทางการเกษตรกับรถสองแถวคันเก่าที่เคยทำหน้าที่รับ-ส่งแขกเข้าพักกลับสร้างรอยยิ้มที่ประเมินค่าไม่ได้กลับมาอย่างมากมาย เพียงแค่เติมไอเดียที่เคยสะสมไว้ให้กลายมาเป็น “รถพุ่มพวงแห่งบ้านไร่” ที่เหมือนว่าจะโด่งดังที่สุดในตอนนี้ บ้านไร่ไออรุณ ยังคงเป็นฟาร์มสเตย์ที่เต็มไปด้วยความอบอุ่น การตกแต่งที่ไม่มากมายแต่ใช้ความเรียบง่ายดำเนินเรื่อง อ่อนหวานด้วยกลีบดอกไม้ ไม้ใหญ่ยังคงให้ร่มเงา แปลงผักอินทรีย์ยังคงผลิดอกออกผล ไก่ในเล้าดีไซน์สวยยังคงออกไข่ให้เป็นอาหาร บ้านพักที่ยังคงกลมกลืนไปกับบริบทรอบข้าง แต่การเปลี่ยนไปของโลกที่เผชิญกับการระบาดของไวรัสโควิด -19 ระลอกใหม่นี้ ทำให้ทุกอย่างหยุดชะงัก นำมาซึ่งการตื่นตัวและค้นหาทางออกที่ต่างไปจากการระบาดครั้งแรกเมื่อปี 2020 โดยเขาเลือกใช้บทเรียนนอกตำราจากปีนั้นมาสร้าง “สิ่งใหม่” ในครั้งนี้ บทเรียนจากโควิด – 19 รอบแรก ต้องได้มากกว่าการอยู่รอด เราเท้าความย้อนกลับไปช่วงที่โควิด – 19 ระบาดรอบแรกที่บ้านไร่ไออรุณต้องปิดให้บริการยาวๆ ทางออกที่พนักงานทุกคนร่วมสร้างด้วยกันคือการขายของออนไลน์ โดยเลือกขายน้ำพริกที่ปรุงเองสดๆ ลงแรงใส่ใจแบบเต็มเหนี่ยวเพื่อให้คนรับได้สิ่งที่ดีที่สุด ซึ่งนั่นก็ทำให้มีรายได้เข้ามาต่อชีวิตให้ทุกคนได้เป็นเงินก้อน แต่ครั้งนี้คุณเบสกลับเลือกเส้นทางเส้นใหม่ที่ยังไม่มีผลลัพธ์ให้เห็น “มันเริ่มจากที่ระนองมีผู้ติดเชื้อ […]
กรมการแพทย์แผนไทยฯ ชี้ ผลวิจัย“ฟ้าทะลายโจร” ช่วยรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ระยะ 2
เมื่อวันที่ 11 พ.ย.ที่กระทรวงสาธารณสุข พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ รักษาราชการอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวถึงความคืบหน้าการวิจัยฟ้าทะลายโจรป้องกันโรคโควิด-19 ว่า การวิจัยฟ้าทะลายเพื่อหวังผลในการป้องกันโรคโควิด-19 สรรพคุณทางยาของฟ้าทะลายโจร ฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกัน ฤทธิ์ต้านไวรัส-ป้องกันไวรัสเข้าเซลล์-ยับยั้งการแบ่งตัวเพิ่มจ านวนของไวรัส ฤทธิ์ต้านอักเสบ ด้วยหลายกลไก ที่ส าคัญคือช่วยลดไซโตไคน์ (cytokines) ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการอักเสบ ฤทธิ์ลดไข้ เผยการทดลองในหลอดทดลอง คือ พบว่าสารแอนโดรกราโฟไลด์ในฟ้าทะลายโจรมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อและยังยั้งการแบ่งตัวของไวรัสได้ แต่ไม่มีฤทธิ์ในการป้องกันเซลล์จากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จึงไม่แนะนำให้รับประทานเพื่อการป้องกัน แต่สามารถยับยั้งไวรัสเมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างติดตามเก็บตัวอย่างในคนให้ขึ้น โดยร่วมโรงพยาบาลสมุทรปราการ ซึ่งดูแลผู้ป่วย จากนอกประเทศในสถานที่ที่รัฐจัดให้ (State Quarantine) ผลการศึกษาเบื้องต้นในผู้ป่วยที่รับประทานสารสกัดฟ้าทะลายโจรขนาด 180 มิลลิกรัมต่อวัน ผู้ป่วยทุกรายมีอาการดีขึ้นตั้งแต่วันที่สามของการได้รับสารสกัดดังกล่าว โดยหากแยกรายละเอียดอาการ จะพบว่า อาการไอ, เจ็บคอ, มีเสมหะ, มีน้ำมูก, ปวดกล้ามเนื้อ และปวดศีรษะ มีอาการดีขึ้น ผู้ป่วยไม่มีอาการข้างเคียง ค่าการทำงานของตับและไต อยู่ในเกณฑ์ปกติ การเปลี่ยนแปลงของ Pro-inflammatory cytokines ในเลือดก่อนและหลังรับประทานสารสกัดฟ้าทะลายโจร และสารชีวโมเลกุล อยู่ระหว่างการวิเคราะห์ข้อมูลที่คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล […]
จากต้นไม้สะสม สู่การขายต้นไม้ในสวนจนเป็นเงิน ช่องทางสู้วิกฤตโควิด-19
ท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 หลายโรงแรมได้รับผลกระทบอย่างหนัก สวนพฤกษศาสตร์ทวีชลและโรงแรม Horizon Village Resort เชียงใหม่ก็เป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบเช่นกัน แต่นั้นก็นำไปสู่การค้นพบอีกหนึ่งธุรกิจใหม่ที่กำลังช่วยธุรกิจโรงแรมและสถานที่ท่องเที่ยวของที่นี่นั้นคือ การเพาะขายต้นไม้ในสวน เรามีโอกาสได้พูดคุยกับคุณออมสิน-นันทนิตย์ เสสะเวช รองกรรมการผู้จัดการ โรงแรม Horizon Village Resort เชียงใหม่ โรงแรมในเครือและอยู่ในพื้นที่ของสวนพฤกษศาสตร์ทวีชลได้เริ่มเล่าถึงที่มาของสวนแห่งนี้คร่าวๆว่า “คุณพ่อ(คุณทวีศักดิ์ เสสะเวช) ตอนที่ท่านดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ท่านได้ใช้พื้นที่บริเวณนี้เพื่อทดลองปลูกและเลี้ยงสัตว์เพราะจะได้เข้าใจปัญหาของเกษตรกรจริงๆ ขณะเดียวกันท่านก็เริ่มสะสมพรรณไม้ทั้งในประเทศและต่างประเทศระหว่างที่มีโอกาสได้ไปทำงานยังประเทศต่างๆมาเรื่อยและหลังเกษียรจึงเปิดเป็นสวนพฤกษาศาสตร์ในที่สุด แล้วก็ขยายเป็นธุรกิจโรงแรมต่อมาถึงแม้จะเป็นสวนพฤกษศาสตร์เอกชนที่เก็บค่าเข้าชม แต่ก็ต้องยอมรับว่ารายได้จริงๆมาจากตัวโรงแรมเป็นหลัก แต่ช่วงวิกฤตโควิด-19ที่ผ่านมาไม่มีธุรกิจตัวไหนสามารถช่วยอุ้มกันได้เลย เราเลยเกิดอีกธุรกิจหนึ่งคือธุรกิจเพาะพันธุ์และจำหน่ายขายต้นไม้ในที่สุด” ด้วยตลอดระยะเวลายาวนานกว่า 20 ปีที่คุณทวีศักดิ์ เสสะเวชเริ่มต้นสะสมพรรณไม้และขยายพันธุ์ต่อมาเรื่อยๆทำให้ที่นี่เต็มไปด้วยพรรณไม้หลายพันชนิด ไม่ว่าจะเป็น ต้นไม้ตระกูลปาล์ม ต้นไม้ตระกูลปรง ต้นไม้ทนแล้งเช่น กระบองเพชรและไม้อวบน้ำต่างๆ ต้นไม้ไม้ดอก เช่น กุหลาบ กล้วยไม้ ชวนชม เฟื่องฟ้า โป๊ยเซียน หน้าวัว เฮลิโคเนีย ดาหลา ขิงแดง ต้นไม้ตระกูลสับปะรดสี และต้นไม้ใบชนิดต่างๆ เช่น อโกลนีมา ฟิโลเดนดรอน โกสน เฟินชนิดต่างๆ ที่ตกแต่งอยู่ตามจุดต่างๆ บางชนิดก็เป็นต้นไม้ที่ปัจจุบันหาได้ยากในท้องตลาด […]
ทุกเรื่องสถาปัตยกรรมหลังโควิด-19 ในงาน ACT FORUM ’20 Design + Built
งานประชุมนานาชาติทางสถาปัตยกรรม และแสดงเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์ก่อสร้างแห่งปี ที่จัดเป็นประจำทุกปีโดยสภาสถาปนิก ร่วมกับ บริษัท อารยะ เอ็กซ์โป จำกัด เพื่อพัฒนาศักยภาพคนในวิชาชีพไปพร้อม ๆ กับการนำเสนอเทคโนโลยีด้านก่อสร้างและนวัตกรรมสำหรับคนรักบ้าน โดยในปีนี้มาใน Concept ที่พิเศษหน่อยในชื่อว่า “สถาปนิกปันสุข” เพื่อตอบรับกับสถานการณ์ยุค COVID-19 เพราะฉะนั้นแล้ว ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้ที่อยู่ในวงการออกแบบ หรือเป็นผู้ที่สนใจงานออกแบบ ขอบอกว่า ห้ามพลาดเป็นอันขาด!! อย่างที่ได้เกริ่นไปว่า งาน ACT FORUM ’20 Design + Built ได้ขนเอานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ก่อสร้างที่ตอบรับกับยุค New Normal มาอย่างครบครัน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของการอยู่อาศัยไม่ว่าจะในสถานการณ์เช่นใด และนี่ก็คือส่วนหนึ่งของ New Normal Technologies ที่เราคัดมาเล่าให้คุณฟังก่อนจะไปพบได้อีกมากมายในงานปลายปีนี้ นวัตกรรมเพื่อความสะอาด (Hygiene) บอกลาเชื้อแบคทีเรียด้วย กระเบื้อง HEALTHY TILES จาก DURAGRES CERGRES เพราะกระเบื้องนี้สามารถต้านแบคทีเรียได้ถึง 99% เลยทีเดียว ข้อมูลเพิ่มเติม : https://www.actforumexpo.com/virtual/product/anti-bacteria-tiles-series […]
ความจริงจังหลังโควิด-19 เมื่อสถาปนิกเริ่มเลี้ยงไก่กว่า 100 ตัว
ในภาพจำ คุณป่อง ปฐมา หรุ่นรักวิทย์ คือสถาปนิกหญิงผู้มากความสามารถ ซึ่งฝากผลงานกับเว็บไซต์บ้านและสวนมาแล้วมากมาย ในชื่อ CASE Studio เน้นงานออกแบบที่พ่วงท้ายด้วยคำว่า “ชุมชน” เพื่อสังคมส่วนรวม รวมถึงยึดโยงความเรียบง่ายในการใช้ชีวิตเข้ากับงานออกแบบ โดยสะท้อนผ่านบ้านพักอาศัยที่เธอออกแบบเอง แต่นอกจากภาพจำที่เล่าไป ความเรียบง่ายและเป็นกันเองของคุณป่องได้ถูกไฮไลต์ให้ชัดขึ้น เมื่อเราได้มาเยือน กรงไก่ ในฟาร์มเกษตรอินทรีย์ที่เธอได้ซุ่มทำแบบ(ไม่)เงียบ นั่นคือการเลี้ยงไก่กว่า 100 ตัว ในเล้าไก่ที่ออกแบบเอง เรามาเยือนที่ดินผืนกว้างกว่า 2 ไร่ หลังโครงการมิโนะบุรี คอมมูนิตี้ภายใต้การดูแลของคุณป่องซึ่งได้รับการออกแบบขึ้นสำหรับรองรับไลฟ์สไตล์ของเด็กรุ่นใหม่ โดยมีกิจกรรมนันทนาการที่หลากหลายทั้งดนตรีและกีฬา ขณะที่ส่วนด้านหลังที่เรายืนอยู่นี้ คุณป่องเล่าว่าครั้งหนึ่งเธอเคยเปิดให้สมาชิกได้เข้ามาจับจองพื้นที่สำหรับปลูกผักสวนครัว แต่โครงการนี้กลับไม่ได้เกิดขึ้นอย่างจริงจังเท่าไหร่ เมื่อมีคนจองแต่ไม่มีใครเข้ามาใช้พื้นที่ปลูกผักตามที่ตั้งใจไว้ กลายเป็นจุดเปลี่ยนให้สถาปนิกท่านนี้ ถือโอกาสบรรจุอาชีพใหม่อย่าง “เกษตรกร” ให้กับตนเองไปโดยปริยาย ด้วยการลงมือปลูกผักและเลี้ยงไก่ไว้เก็บไข่รับประทานเองในครัวเรือน และใช้พื้นที่นี้เป็นโซนทำกิจกรรมในชื่อ “แปลงผักปลอดสารและบ้านสัตว์ปีก (Allotment & Farm) เกษตรกรมือใหม่ ผู้เริ่มต้นแบบไม่รู้จักไก่เลย เราขอเท้าความย้อนหลังไปถึงจุดเริ่มต้นในการทำฟาร์มไก่สไตล์สถาปนิก ซึ่งเป็นเหมือนโลกคนละใบกับงานประจำที่คุณป่องทำอยู่ นี่จึงนับเป็นก้าวใหม่ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว “อยากเลี้ยงไก่มานานแล้ว แต่ไม่เคยเลี้ยงมาก่อนเลยในชีวิต เราเริ่มต้นจากการไปเสิร์ชหาฟาร์มไก่ใกล้บ้านว่าจะหาซื้อแม่พันธุ์มาจากที่ไหน ซึ่งเราไม่รู้ด้วยซ้ำว่าไก่ไข่ต้องเลี้ยงอย่างไร ตอนไปซื้อไก่ก็ถามคนขายว่าพี่จะเลี้ยงไก่ต้องเลี้ยงยังไง เขาแนะนำให้ซื้อแบบตัวโตพร้อมไข่ไปเลย เราเองก็กลัวว่าถ้าเลี้ยงลูกเจี๊ยบแล้วจะไม่รอด […]
ฮาบิแทท กรุ๊ป ร่วมปันน้ำใจชาวพัทยาช่วงสถานการณ์ โควิด-19
ฮาบิแทท กรุ๊ป ร่วมปันน้ำใจชาวพัทยาช่วงสถานการณ์ โควิด-19 ภายใต้โครงการ “CHANGE FOR A BETTER HABITAT: ฮาบิแทท ร่วมสู้วิกฤต COVID ไม่ทิ้งกัน”
‘เอส แอนด์ พี’ ร่วมใจ สู้ภัยโควิด-19 มอบคุกกี้แด่กระทรวงสาธารณสุข
กำธร ศิลาอ่อน กรรมการผู้จัดการใหญ่สายการผลิตและการเงิน และ มณีสุดา ศิลาอ่อน ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาความยั่งยืนและสื่อสารองค์กร บริษัท เอส แอนด์ พี
บ้านครอบครัว ที่เปลี่ยนข้อจำกัดให้เป็นความพิเศษ
หัวใจสำคัญของ บ้านครอบครัว หลังนี้อยู่ตรงโถงบันไดที่ออกแบบมาให้เหลื่อมและไม่ทับซ้อนกันทำให้ทุกชั้นสามารถมองลงมาเห็นพื้นชั้นล่างได้เสมอ เพื่อให้ทุกคนมีปฎิสัมพันธ์เชื่อมต่อ มองเห็นหรือได้ยินเสียงกันและกันได้แม้จะอยู่ในคนละพื้นที่
เปิดมุมมองและล้วงเทคนิกการจัดสวน จาก นักจัดสวนที่ได้รางวัล ปี 2566
บ้านและสวน พาทุกคนมาพูดคุยถอดแนวคิดในการทำงานและมุมมองเกี่ยวกับเทรนด์สวน จาก นักจัดสวนที่ได้รางวัล สวนสวย ประจำปี 2566 ซึ่ง นักจัดสวนที่ได้รางวัล หลายท่านเป็นนักจัดสวนมืออาชีพที่สั่งสมประสบการณ์ และคร่ำหวอดอยู่ในวงการจัดสวนมานาน จึงอยากมาส่งต่อเทคนิค กระบวนการคิด และแรงบันดาลใจให้ทั้งนักจัดสวนและคนรักสวนกันค่ะ ประกาศผลรางวัล 10 สวนสวยประจำปี 2566 ประกาศผลรางวัล 10 บ้านน่าอยู่ประจำปี 2566 คุณศิริวิทย์ ริ้วบำรุง และคุณจาตุรงค์ ขุนกอง จาก Little Tree Landscape “5 เคล็ดลับหรือท่าไม้ตายในการจัดสวนของคุณ“ 1. Customer Preference – ความชอบของลูกค้าคือสิ่งที่คนจัดสวนต้องใส่ใจเข้าใจความรู้สึกถึงบรรยากาศที่ลูกค้าอยากได้เสมอ รับฟัง แลกเปลี่ยน และออกแบบสวนในแบบที่เรามองว่าดีที่สุด โดยมีทั้งตัวตน และความรู้สึกของลูกค้า ผสมกับตัวตนของเราไปในนั้นพร้อมๆ กันอย่างกลมกลืน 2. Our Best with Passion – เพราะสวนของคุณคืองานชิ้นเอกของเราเราทำงานด้วยแพชชั่นใส่ให้กับทุกการออกแบบอย่างเต็มเปี่ยมในทุกขั้นตอน “ให้สิ่งที่ดีที่สุดออกไปจากใจ ลูกค้าสัมผัสได้แล้วจะให้ใจเรากลับมาเช่นกัน” 3. Magical […]
บ้านกล่อง บรรจุสุข กรุ่นกลิ่นอายบ้านยุคเก่า
บ้านกล่อง การมีไลฟ์สไตล์ในการทำงานอยู่บ้าน เป็นส่วนหนึ่งของโจทย์ในการออกแบบบ้านหลังนี้ จึงออกแบบบานเปิดให้ได้รับแสงสว่างจากธรรมชาติค่อนข้างมาก
Taxidermy House บ้านแต่งเองของนักรีโนเวต กับงานศิลปะที่เสมือนมีชีวิต
บ้านโมเดิร์นลอฟต์ บ้านแฝด 2 ชั้นของนักรีโนเวต The RoomMaker ที่ผ่านการรีโนเวตและปรับปรุงแทบทุกปี และล่าสุดกับงานอดิเรกใหม่ที่กลายเป็นอีกหนึ่งอาชีพ ออกแบบ-ตกแต่งภายใน : The RoomMaker โดยคุณวศิน มหาพล ความคลั่งไคล้และหลงใหลเป็นพลังขับเคลื่อนที่นำไปสู่การค้นพบคุณค่าบางอย่างของชีวิต ภายใน บ้านโมเดิร์นลอฟต์ อายุร่วม 40 ปี ที่ผ่านการรีโนเวตมาหลายครั้งของ คุณตุ๊กตา – เสาวนีย์ จีระเดชาธรรม และ คุณหิน – วศิน มหาพล Design Director The RoomMaker และบริษัท DEC Media จำกัด ที่บรรจุความความคลั่งไคล้อย่างหลากหลาย ทั้งความชอบการตกแต่งและรีโนเวตบ้านตามสายงานที่ทำ การทำงานศิลปะ วาดรูป ปั้นเซรามิก และล่าสุดก็สนุกกับการศึกษาศิลปะการสตัฟฟ์สัตว์ที่ทำชำนาญจนมีคนจ้างให้สตัฟฟ์น้องสัตว์เลี้ยงแสนรักเพื่อให้เสมือนยังอยู่ด้วยกัน และกลายเป็นธุรกิจจำหน่ายและให้เช่าศิลปะสัตว์สตัฟฟ์ในชื่อ Taxidermy House บ้านที่ไม่หยุดปรับเปลี่ยน เมื่อ 10 ปีก่อน รีโนเวตเป็นสไตล์ บ้านโมเดิร์นลอฟต์ และมีการปรับเปลี่ยนเล็กบ้างใหญ่บ้างแทบทุกปี ซึ่งคุณหินเองก็สนุกกับการออกแบบตามการใช้งานที่เปลี่ยนไป จนมาปีนี้ที่ต้องการพื้นที่เพิ่มจากการทำศิลปะสัตว์สตัฟฟ์ทำให้มีของเต็มบ้าน จึงเช่าบ้านหลังข้างๆที่รั้วติดกันทำ […]
“ถึงยุคที่เราตามหาประสบการณ์พิเศษในบ้านยิ่งกว่ายุคไหนๆ” สรุป 3 แนวโน้มการอยู่อาศัยน่าจับตากับ Antoine Besseyre des Horts
ตามหาประสบการณ์ใหม่ในการอยู่อาศัยยิ่งกว่ายุคไหนๆเราพาไปเจาะลึกมุมมองและกลยุทธ์การออกแบบของทีมดีไซน์จาก Antoine Besseyre des Horts