สีสัน เส้นสาย และความหมายที่ซ่อนอยู่ ของ Naisu.chirat

Naisu.chirat นักวาดภาพประกอบและศิลปินที่มีลายเส้นเฉพาะตัว ลายเส้นที่เป็นอิสระจากรูปแบบ และกรอบความคิดใดๆ เพราะเธอเชื่อว่า ศิลปะที่แท้คืออิสระภาพที่บุคคลหนึ่งๆนั้นจะได้แสดงออก ศิลปะคือเรื่องของภายในที่เกิดขึ้นจากอารมณ์ ความรู้สึก จินตนาการ และประสบการณ์ทั้งจากตัวเองและการที่ได้แลกเปลี่ยนกัน ซึ่งนั่นเป็นที่มาของเส้นสายและสีสันแบบ Impressionism ที่น่าสนใจอย่างที่เห็น ซึ่งวันนี้ room ได้รับเกียรติจาก Naisu.Chirat หรือ คุณไนซ์ ปริยนาถ จิรัฐฐิติกาล มาพูดคุยถึงแนวคิด และที่มาของสไตล์งาน รวมถึงเกร็ดการทำงานอันน่าสนใจ ที่จะเป็นอย่างไรนั้น ก็ต้องขอให้ทุกคนลองไปอ่านดูพร้อมๆกัน กว่าจะมาเป็น Naisu.chirat “เราวาดรูปมาตลอดเลย” คุณไนซ์เริ่มต้นเล่าให้เราฟัง “ตั้งแต่จับดินสอได้ก็วาดรูปมาตลอด เราชอบการ์ตูนญี่ปุ่นและโชคดีที่ทางบ้านก็ไม่ได้ว่าอะไร เค้าไม่ได้มีกรอบมาว่าต้องทำอย่างนั้น หรืออย่างนี้ และเพราะอย่างนี้ ทุกๆเวลาว่างตลอดมาของเราก็จะกลายเป็นเวลาของการวาดรูปไปซะหมดเลย” “แต่ในทางตรงกันข้าม เราก็มีคำถามเหมือนกันเมื่อเป็นผลงานที่มีคนอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง อย่างเรื่องนึงในความทรงจำก็คือการที่ไนซ์วาดชุดนักเรียนสีดำไปส่งงานคุณครูตอนเด็กๆ คุณครูก็บอกว่าจะให้ดาวเพิ่มนะ ถ้าลบสีดำออกจากชุดนักเรียน เราก็ไม่เข้าใจ เกิดเป็นคำถามว่า ทำไมชุดนักเรียนมันจะเป็นสีดำไม่ได้ล่ะ? มันอาจเปื้อนดิน? อาจเป็นโรงเรียนที่ไม่เหมือนที่อื่น? หรือจริงๆแล้วมันจะเป็นอะไรก็ได้หรือเปล่า?” บางครั้งเวลาเราเศร้า เส้นมันก็จะออกมาเศร้า เวลาเรามีความสุข เส้นมันก็จะดูสดใสขึ้น ปล่อยให้งานเผยสิ่งที่อยู่ข้างใน “จากจุดนี้เองที่ทำให้ไนซ์เริ่มต้นค้นหาคำตอบ เรียนรู้ และทดลองเกี่ยวกับการวาดภาพ […]

บอกเล่าประวัติศาสตร์กว่า 150 ปีของคลองเปรมประชากรผ่านงานวาดบนผนัง

บอกเล่าประวัติศาสตร์กว่า 150 ปีของ คลองเปรมประชากร ผ่านงานวาดบนผนังด้วยศิลปินจากทั่วประเทศผู้ผ่านเข้ารอบด้วยเทคนิคที่หลากหลาย

ปกพิเศษ บ้านและสวน ฉบับครบรอบ 45 ปีโดย BHBH

ภาพบ้าน ‘Jigsaw House’ เป็นการนำ ‘กาลเวลา’ มาเสนอในรูปแบบของการต่อจิ๊กซอว์แทนรูปแบบของบ้านในแต่ละยุคสมัย ผ่านรูปฟอร์มต่างๆ ที่ประกอบขึ้นมาเป็นฟอร์มของบ้านหลังใหม่ในโทนอบอุ่นจากช่วงฤดูร้อน ปีนี้ถือว่าเป็นปีแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายจากสถานการณ์โรคระบาดร้ายแรงรอบใหม่ ทำให้เราต้องใช้ชีวิตในบ้านกันมากขึ้นและต้องปรับ เปลี่ยนวิถีชีวิตกันใหม่หมด แต่สิ่งที่ยังเป็นธรรมเนียมของบ้านและสวนเสมอมาก็คือ การสรรหาภาพพิเศษสำหรับเป็นปกในฉบับครบรอบเดือนเกิดซึ่งตรง กับเดือนกันยายนของทุกปี เพื่อเป็นของขวัญให้ผู้อ่าน ได้เก็บสะสมเป็นคอลเล็กชั่นประจำบ้านกัน ในบรรดานักวาดภาพประกอบรุ่นใหม่ๆ ของ ไทย ชื่อของคุณเบนซ์-ธนวัต  ศักดาวิษรักษ์ ถือว่า เป็นศิลปินที่มีงานโดดเด่นและน่าจับตามองคนหนึ่ง ด้วยลายเส้นที่เรียบเนี้ยบประกอบกันเป็นรูปทรงแบบ เรขาคณิตซึ่งดูเหมือนวัตถุทางสถาปัตยกรรม แต่ให้ความรู้สึกสดใสผ่านโทนสีพาสเทลที่นุ่มนวล ทำให้ผลงานของเขาเป็นที่สนใจในหมู่คนทำงานศิลปะทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างรวดเร็ว ปกพิเศษ คุณเบนซ์เล่าว่า เขาชอบวาดรูปมาตั้งแต่เด็ก จึงเลือกเรียนด้านนิเทศศิลป์ที่มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และมีโอกาสได้ทำงานเกี่ยวกับ Lettering หรือออกแบบตัวอักษรมาตั้งแต่จบใหม่ๆ “ผมว่างานในช่วงแรกให้ อิสระทางความคิดกับเรามาก  ก็เลยเกิดการทดลอง และพัฒนาไปเรื่อยๆ  ทำให้เราสนุกกับการนำรูปร่าง และรูปทรงมาผสมกัน  พอทำได้สักพักก็อยากเล่าเรื่องมากกว่ารูปทรงเรขาคณิตทั่วไป  จนเกิดเป็นสเปซและการจัดวางองค์ประกอบแบบ Isometric มากขึ้น” แล้วความสนุกในเส้นสายและรูปทรงก็นำพา เขามาสู่งานวาดภาพประกอบ ซึ่งเมื่อนำผลงานเผยแพร่ผ่านโลกโซเชียลก็เริ่มเป็นที่สนใจและได้รับการติดต่อให้สร้างผลงานตามมาอีกหลายชิ้น ทั้งงาน นิตยสาร พ็อกเก็ตบุ๊ก แคตตาล็อก หรือลายกราฟิกบนสินค้าต่างๆ ผ่านชื่อที่เขาตั้งขึ้นมาว่า “Bloody Hell Big […]

ปกพิเศษ บ้านและสวนฉบับครบรอบ 44 ปี โดย Pstaryu

ภาพปกที่เล่าเรื่องราวความอบอุ่นของสมาชิกในครอบครัว ทำกิจกรรมประจำวันหยุดร่วมกันภายในบ้านเหมือนเป็นภาพชีวิตบ้านๆ ที่เรียบง่ายแต่อุ่นอวลไปด้วยความประทับใจ นอกจากภาพบ้านสวยๆ ที่เราเลือกสรรขึ้นเป็นปกนิตยสาร บ้านและสวน มาตลอดทุกเดือนแล้วใครเป็นแฟน บ้านและสวน ตัวจริงจะรู้ว่าในฉบับเดือนกันยายนที่ครบรอบเดือนเกิดนั้น มักมีภาพวาด ปกพิเศษ เป็นของขวัญให้คุณผู้อ่านอยู่เสมอและในปีนี้เราได้ คุณปอ – ศตายุ แสนคำสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิตป้ายแดงจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเป็นผู้วาดภาพประกอบน่ารักๆ ให้คอลัมน์ “คน จัด สิ่งของ” ตั้งแต่ฉบับตุลาคมปีที่แล้ว มาช่วยถ่ายทอดเรื่องราวความอบอุ่นของสมาชิกในครอบครัวที่ใช้เวลาทำกิจกรรมประจำวันหยุดร่วมกันภายในบ้านเหมือนเป็นภาพชีวิตบ้านๆ ที่เรียบง่ายแต่อุ่นอวลไปด้วยความประทับใจ คุณปอบอกว่าเขาชอบวาดรูปมาตั้งแต่เรียนอยู่คณะสถาปัตย์ ส่วนใหญ่วาดเป็นภาพลายเส้นการ์ตูนง่ายๆ ที่แฝงความเหมือนจริงของชีวิตไว้จนกระทั่งเพื่อนๆ และรุ่นพี่มาเห็นก็แนะนำให้ลองนำรูปทั้งหมดนี้ไปสร้างเพจของตัวเองดู ปกพิเศษ “ตอนนั้นเรียนอยู่ปี 3 และก็เลยลองทำเพจชื่อว่าPstaryu ที่มาจากชื่อเล่นผสมกับชื่อจริงของผมเพื่อวาดรูปเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตธรรมดาบ้านๆ ประจำวันที่พบเจอมา ทั้งที่เกิดขึ้นในบ้านและนอกบ้าน เช่น นั่งตัดเล็บอยู่หน้าบ้าน เลี้ยงสัตว์ซักผ้าตากผ้า ไปเที่ยวห้างกับเพื่อน ผ่านคาแร็กเตอร์คนที่เป็นลายเส้นง่ายๆ อยู่ในอายุช่วงประมาณวัยรุ่นและวัยทำงาน ไม่ดูการ์ตูนจ๋าและไม่ใช่ภาพเหมือนจริงมากเกินไป แต่เป็นลายเส้นที่คนเข้าถึงและเข้าใจได้ง่ายๆ” ด้วยเสน่ห์ลายเส้นง่ายๆ แบบนี้เองที่ทำให้ ผลงานของคุณปอได้รับการติดต่อจากทาง Netflix ให้วาดรูปเกี่ยวกับกิจกรรมเวลาผู้คนนั่งดูรายการ ต่างๆ ของ Netflix อยู่ที่บ้าน และได้วาดรูป ประกอบคอนเทนต์ทางออนไลน์ต่างๆ รวมถึง […]

10 ปี ที่ผ่านมาของ BACC สนทนากับ ผอ. ลักขณา คุณาวิชยานนท์ ถึง 10 ปี หลังจากนี้ไป

หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร หรือที่เราคุ้นกันในชื่อหอศิลป์ BACC นั้น เป็นหอศิลปวัฒนธรรมที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ผ่านสื่อศิลปะและกิจกรรมต่าง ๆ มีการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนนิทรรศการที่น่าสนใจอยู่เสมอ และหอศิลป์แห่งนี้ก็ได้ดำเนินการมาจนครบ 10 ปี แล้ว ด้วยพันธกิจในการขับเคลื่อนให้ประชาชนเข้าใจคุณค่าและความหลากหลายของศิลปวัฒนธรรมในระดับท้องถิ่นไปจนถึงบริบทของโลก และอย่างที่เป็นข่าวในการต่อสัญญาโดยกรุงเทพมหานครไปอีก 10 ปี วันนี้ room จึงพามาพูดคุยกับ ผอ. ลักขณา คุณาวิชยานนท์ ผู้ปฏิบัติหน้าที่-ผู้อำนวยการของหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ถึง 10 ปี ที่ผ่านมา และอีก 10 ปี ที่หอศิลป์ฯแห่งนี้ กำลังก้าวเดินไป ทั้งบทบาทหน้าที่ที่อาจจะเปลี่ยนไปตามยุคสมัย และแนวโน้มของนิยามความเป็นเมืองแห่งศิลปะของกรุงเทพฯ กทม. เคาะต่อสัญญา อีก 10 ปี ให้กับหอศิลป์เกิดอะไร? ทำไมถึงเป็นประเด็น? room : จากข่าวของการต่อสัญญา อีก 10 ปี โดยกรุงเทพมหานครให้กับทางหอศิลป์ฯ จริง ๆ แล้วเกิดอะไรขึ้น หอศิลป์ฯ ยังดำเนินการเหมือนเดิม หรือมีอะไรเปลี่่ยนแปลงไปหรือไม่? BACC : […]

บ้านและสวนxขายหัวเราะ

โครงการร่วมสร้างสุขระหว่างสองนิตยสารนี้เป็นปรากฎการณ์ที่สร้างความคึกคักให้กับวงการนิตยสารอีกครั้ง เมื่อสองนิตยสารที่อยู่คู่วิถีชีวิตคนไทยมายาวนานอย่าง บ้านและสวนซึ่งก้าวเข้าสู่ปีที่ 45 และขายหัวเราะที่ขึ้นปีที่ 48 มาร่วมกันสร้างความสุขด้วยการแลกเปลี่ยนเนื้อหาพิเศษ เพื่อทำให้นิตยสารฉบับมีนาคม 2564 ทั้งสองฉบับนี้ควรค่าแก่การสะสมเป็นคอลเล็กชั่นพิเศษอย่างยิ่ง ความสุขแรกเห็นได้ชัดเจนจากภาพบนหน้าปกของทั้งสองเล่มที่แลกเปลี่ยนคาแร็กเตอร์กันจนสร้างเอกลักษณ์ใหม่ๆ ขึ้นมา โดยทางฝั่งบ้านและสวนเปลี่ยนมาใช้ฟอนต์ที่มีสีสันแบบขายหัวเราะ พร้อมกับภาพวาดการ์ตูนลายเส้นแฝงแก๊กอารมณ์ดีของ ‘อาวัฒน์’ นักเขียนการ์ตูนสุดคลาสสิคแห่งขายหัวเราะ ซึ่งล้อรับกับธีมประจำเล่มคือ ‘Happy Home’ ขณะที่ขายหัวเราะก็นำภาพบ้านจริงขึ้นปกพร้อมกับสมาชิกที่อยู่หน้าบ้านคล้ายคลึงกับสไตล์ปกของบ้านและสวน ภายใต้ธีมว่า ‘บ้านและสรวล’ ความสุขที่ตามเก็บได้อีกมากมายภายในเล่มยังมีการแลกเปลี่ยนเนื้อหาในแบบที่แต่ละฝ่ายเชี่ยวชาญ โดยบ้านและสวนได้พาไปบุกบ้านของ ‘คุณต่าย ขายหัวเราะ’ ซึ่งเป็นต้นกำเนิดคาแร็กเตอร์การตูนดังปังปอนด์ ทำให้ได้เห็นมุมบ้านหลังจริงที่กลายเป็นฉากต่างๆ ในแก๊กขายหัวเราะ แม้แต่น้องหมาสมาชิกในบ้านก็ยังกลายเป็นเจ้าสุดสวยที่อยู่ในการ์ตูนด้วยเช่นกัน ตามด้วยการอาสาไปปรับแต่งมุมทำงานของ “คุณเฟน แห่งสาวดอกไม้กับนายกล้วยไข่” ให้สวยงามน่าใช้งานมากขึ้น และยังแนะนำไอเดียการจัดบ้านให้ดูกว้างผ่านภาพประกอบฮาๆ จากทีมขายหัวเราะ ปิดท้ายด้วยมุมคลาสสิคเฉพาะตัวของเหล่าคาแร็กเตอร์ตัวการ์ตูนที่อยากจะอวดมุมของตัวเองให้กับผู้อ่านบ้านและสวนบ้าง ทางด้านขายหัวเราะเองก็ได้เล่าเรื่องราวซึ่งเกิดขึ้นอยู่ภายในบ้านและสวนผ่านมุกตลกหลากหลายมุมมองจากทีมนักเขียน และยังมีส่วนพิเศษเพิ่มเติม เช่น เกร็ดพิเศษสนุกๆ เกี่ยวกับการอยู่บ้านที่ทางบ้านและสวนได้นำเนื้อหามาช่วยเล่าในสไตล์สนุกสนานแบบขายหัวเราะ หรือช่วยออกแบบบ้านให้กับคาแร็กเตอร์การ์ตูน เช่น ห้องนอนของปังปอนด์ สวนหลังบ้านของหนูหิ่น หรือบ้านอยู่สบายสไตล์คู่รักเกษียณสำราญของครอบครัวคุณโฉลง พร้อมกับแนะนำพรรณไม้มงคล 12 ราศี ได้อย่างน่ารัก โดยโปรเจ็กต์พิเศษในการทำงานร่วมกันระหว่างบ้านและสวนxขายหัวเราะ นี้ไม่ได้มีเพียงแค่นิตยสารสองเล่มนี้เท่านั้น แต่ยังกระจายความสุขไปถึงกิจกรรมสนุกๆ ที่จะทำร่วมกันในงานบ้านและสวนแฟร์ […]

Venus in the Shell นิทรรศการบนฝาผนัง

สำรวจภาวะจิตใจผ่านนิทรรการศิลปะ Venus in the Shell คุณยูน-ปัณพัท เตชเมธากุล ศิลปินนักวาดภาพประกอบไทย ที่เคยสร้างผลงานหนังสือนิทานเพื่อโปรโมทคอลเล็กชั่นให้ Gucci Tian และร่วมงานวาดภาพกับ Instagram มาแล้ว ล่าสุดเธอได้จัดแสดงนิทรรศการเดี่ยวของตัวเองขึ้นโดยใช้ชื่อว่า “Venus in the Shell” เป็นการรวบรวมผลงานที่เธอวาดตั้งแต่ปี 2019 เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวเทพีวีนัสในตำนานเทพปกรณัมของกรีกโรมันซึ่งเป็นเทพีแห่งความรัก ความงาม และความรุ่งเรือง ที่อาจมีทั้งมุมมองที่สวยงามและมืดหม่น มีด้านดีและด้านไม่ดี ผิดหวังหรือโดดเดี่ยว และไม่ได้สมบูรณ์แบบเช่นเดียวกับมนุษย์ ตัวนิทรรศการจัดแสดงเป็นงานจิตรกรรมบนฝาผนังที่มีลวดลายและสีสันสุดตระการตา พร้อมจะพาคุณดำดิ่งเข้าไปสำรวจถึงภาวะในจิตใจอันเร้นลับของตัวเองด้วยเช่นกัน  ผ่านเรื่องราวที่แบ่งไว้เป็น 4 ส่วนคือ Forbidden Flower พบกับรูปภาพที่เป็นเรื่องราวของเจ้าแมวน้อยน่ารัก ดูสะอาดละเมียดกว่าแมวทั่วไป และชอบดอกบัวเอามากๆ แต่เรื่องราวก็ชวนให้ตั้งคำถามว่าเจ้าแมวน้อยน่ารักยังดูบริสุทธิ์ผุดผ่องอยู่หรือเปล่า เรื่องนี้คุณต้องลองหาคำตอบด้วยตัวเอง Mandagora in the Vase พบกับพืชไม้หม่นชวนพิศวง Mandagora หรือ Mandrake ที่มีรูปทรงคล้ายคน เวลาที่ดึงมันขึ้นมาจากดิน จะแผดเสียงดังจนทำให้คนตายได้ ศิลปินต้องการสื่อว่าพืชนี้ก็เหมือนคนซึ่งมีทั้งความสวยงามและน่ากลัว มีประโยชน์เมื่ออยู่ถูกที่และโดนลดทอนคุณค่าเมื่ออยู่ผิดที่ผิดทาง Moonlight Dive […]

10 จุดหมาย BAB2020 City Route & River Route

มาเที่ยวชมงานศิลป์กลางกรุงฯ ตามเส้นทางเมือง (City Route) และ เส้นทางแม่น้ำ (River Route) กับเทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ หรือ BAB 2020 ที่กลับมาสร้างสีสันให้กับชาวกรุงเทพฯ กันอีกครั้ง ในคอนเซ็ปต์ “Escape routes” หรือ “ศิลป์สร้าง ทางสุข” นำเสนอความคิดผ่านผลงานศิลปะ โดยอ้างอิงมาจากสถานการณ์ความวุ่นวายในปัจจุบันที่กำลังรอการแก้ไขอย่างเร่งด่วน เพื่อร่วมกันทำความเข้าใจและค้นหาทางออกจากวังวนดังกล่าว ด้วยศิลปะที่เชื่อมโยงความเข้าใจของทุกคนเข้าหากัน โซนการเที่ยวชมงาน BAB2020 มี 2 เส้นทาง คือ เส้นทางเมือง (City Route) และ เส้นทางแม่น้ำ (River Route) City Routeมี 4 จุดหมาย คือ -Bangkok Art and Culture Centre -BAB Box @ONE BANGKOK -The Prelude One Bangkok […]

5 ศิลปินต่างชาติ ที่ห้ามพลาดชมใน Bangkok Art Biennale 2020

ศิลปินต่างชาติ ในเทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ นั้นมีให้เลือกชมอยู่มากมาย แต่สำหรับ Bangkok Art Biennale 2020 หรือ BAB 2020 ในครั้งนี้ room เองยอมรับเลยว่าเลือกไม่ถูกกันเลยทีเดียวว่าจะไปชมงานของใครกันบ้าง แต่เพื่อให้ง่ายต่อท่านผู้อ่าน เราจึงขอเลือกคัด ศิลปินต่างชาติ 5 ท่านที่เราคิดว่า “ห้ามพลาด!” ด้วยประการทั้งปวง จะมีใครและแสดงที่ไหนบ้างนั้น ไปดูกัน ! อ่าน : BAB 2020 : Bangkok Art Biennale 2020 เทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ เริ่มแล้ว 1. Ai Weiwei ไม่กล่าวถึงไม่ได้จริงๆกับ Ai Weiwei ศิลปินจากจีนแผ่นดินใหญ่ที่ปัจจุบันอาศัยอยู่ที่ เคมบริดจ์ สหราชอาณาจักร ด้วยผลงานที่ไม่ธรรมดาและหลากหลายไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่รูปแบบหนึ่งๆของ Ai Weiwei อีกทั้งผลงานของเขาก็มักจะเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวทางการเมือง กรณีข้อพิพาทชายแดน […]

กล้องฟิล์มข้างทางสู่ นิทรรศการภาพถ่าย VIA WIEN

นิทรรศการภาพถ่ายขาวดำ Via Wien โดยคุณนิวัติ คูณผล จากกล้องฟิล์มมือสอง 1,200 บาท สู่การสร้างแสงแดดจำลองส่องรูป ในนิทรรศการสะท้อนเมืองเวียนนา

10 งานศิลปะจัดวางที่ต้องไปเห็นกับตาถึงจะอิ่มใจใน BANGKOK ART BIENNALE 2020

นี่คือ 10 ผลงานศิลปะจัดวางใน Bangkok Art Biennale 2020 ที่เราชื่นชอบและอยากบอกเอาไว้ ถ้าหากคุณพลาดไปชมกับตาแล้วจะเสียใจทีหลังนะ เอาล่ะ ยังมีเวลาอยู่ รีบไปก่อนถึง 31 มกราคมปีหน้าเท่านั้นนะ

แจกลิสต์ออกตะลอน กิน เที่ยว นอน ย่านพระนคร กรุงเทพฯ

ท่องกรุงฉบับ room’s Guide พาไปกิน เที่ยว นอน เริ่มออกตะลอนทั่ว ย่านพระนคร หากชอบศิลป์ ดีไซน์ ลิสต์นี้ได้รูป ได้เรื่อง แน่นอน!

DRAGONERPANZER เมื่อครั้งศิลปะ มีค่ามากกว่ากองทหาร

ผลงานศิลปะ DRAGONERPANZER โดย วศินบุรี สุพานิชวรภาชน์จัดแสดงในงาน บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2020 ณ BACCข้อมูลเพิ่มเติม : bkkartbiennale.com หากจะมองหาผลงานศิลปะที่น่าสนใจในงาน BAB 2020 หรือ Bangkok Art Biennale 2020 ก็คงจะต้องบอกว่ามีมากมายดารดาษ แต่ถ้าจะมองหาผลงานศิลปะที่น่าจะเปรียบเปรยและเข้ากับสถานการณ์บ้านเมืองในช่วงนี้ของไทยได้อย่างดี (แบบที่ไม่ได้ตั้งใจให้จังหวะการแสดงงานมาประจวบเหมาะกันเช่นนี้) ก็คงต้องยกให้ผลงานที่มีชื่อเรียกว่า DRAGONERPANZER โดย วศินบุรี สุพานิชวรภาชน์ กับ รถถังเซรามิกที่กล่าวถึงเหตุการณ์หนึ่งในประวัติศาสตร์ที่ศิลปะเคยมีค่ามากกว่ากองทหารม้ากว่า 600 นาย! ผลงานประติมากรรมเซรามิก DRAGONERPANZER (โดย วศินบุรี สุพานิชวรภาชน์) ชุดนี้ เกิดจากความรู้สึกประทับใจการใช้เครื่องลายครามของจีนจากราชวงศ์หมิงและชิงแลกกองทหารม้า วศินบุรีจึงสร้างรถถังจากเซรามิกเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการแลกเปลี่ยนมูลค่าและเงินตรา ในขณะที่แจกันมังกรสีน้ำเงินขาวถูกเรียกว่ามูลค่าทางการเงิน รถถังเซรามิกจะเป็นของสะสมล้ำค่า ในขณะที่รถถังทหารจะกลายเป็นขยะโลหะที่จะถูกขายเป็นเศษเหล็ก “ครั้งแรกที่ได้อ่านเรื่องราวที่เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 18 จากหนังสือ กระเบื้องถ้วย กะลาแตก ของคุณพิมพ์ประไพ พิศาลบุตร ที่กล่าวถึงกษัตริย์ Friedrich August Iเจ้าผู้ครองแคว้นแซกโซนี […]

BAB 2020 : Bangkok Art Biennale 2020 เทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ เริ่มแล้ว

BAB 2020 : Bangkok Art Biennale 2020 เทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ  บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ กลับมาสร้างความอลังการและความยิ่งใหญ่ให้กับวงการศิลปะไทยกับแนวคิดหลักสุดท้าทาย “Escape Routes” หรือ “ศิลป์สร้าง ทางสุข” BAB 2020 หรือ Bangkok Art Biennale 2020 เทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ  บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ ที่มีกำหนดจัดขึ้นทุกๆ 2 ปี ได้กลับมาปลุกความอาร์ตให้กับกรุงเทพฯ ที่กำลังเผชิญหลายวิกฤตให้มีชีวิตชีวาอีกครั้ง ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2563 จนถึงวันที่  31 มกราคม 2564 โดยมีหัวเรือใหญ่อย่าง บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ผสานความร่วมมือครั้งกับภาครัฐและเอกชน เพื่อสร้างสรรค์ศิลปะร่วมสมัย บอกเล่าความเป็นไทยไปทั่วโลก ถือเป็นโครงการสำคัญที่จัดขึ้นมาเพื่อให้กรุงเทพมหานคร ได้เป็นศูนย์กลางแห่งการท่องเที่ยวที่สำคัญทางด้านศิลปะร่วมสมัยในอันดับต้นๆ ของโลก และเป็นจุดหมายของนักเดินทางผู้รักงานศิลปะจากทั่วโลก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา […]

Mystery Mind Maps สารคดีถอดรหัสจักรวาล ภาพยนตร์โดย Raphael Treza

Mind Maps ประหลาดที่เชื่อว่าหลายคนคงเคยพบ คือลวดลายคล้ายแผนผังบางอย่างตามถนนหนทาง กำแพง ตอม่อ หรือแม้แต่ตู้ชุมสายโทรศัพท์ที่คล้ายจะมีความหมาย แต่ก็ไม่สามารถถอดความใด ๆ ออกมาได้ และผู้ที่พบเห็นก็คงจะสงสัยว่า ใครกันคือผู้อยู่เบื้องหลังลวดลายเหล่านี้? เขาทำไปเพื่ออะไรกัน? และความหมายของมันคืออะไร? ซึ่งไม่ใช่แค่พวกเราเท่านั้นที่สงสัย แต่ Raphael Treza นักสารคดีที่เคยได้มาเยือนไทยก็สงสัยเช่นกัน เขาจึงตามหาคำตอบ จนสำเร็จออกมาเป็นสารคดีชุด Mystery Mind Maps a movie by Raphael Treza อ่านบทความศิลปะอื่นๆ : งานศิลปะที่บอกเล่าเรื่องราวความคิดในมุมมองของตัวเองของ Untitled_29 กว่าครึ่งของสารคดี คือการเสาะหาที่มาของลายแทง ผ่านการบอกเล่าของผู้พบเห็นอย่าง แม่ค้า วินมอเตอร์ไซค์ คนไร้บ้าน ฯลฯ และระหว่างที่สารคดีค่อย ๆ ดำเนินไป Raphael ก็ได้พบกับ “พิชัย” ในที่สุด! พิชัย รัตรพรชัย คือชายที่ผิดหวังในชีวิต หลังออกจากทัณฑสถานด้วยคดีบางอย่าง เขาพบว่าตัวเองถูกให้ออกจากราชการ ประกอบกับการจากไปของคนในครอบครัว Raphael จึงเริ่มอยากได้คำตอบต่อทุกสิ่งที่ค้างคาในใจว่า […]

MOOD HOPPING ชวนสำรวจอารมณ์ทางลบ ผ่านกิจกรรม CAFÉ HOPPING ในคาเฟ่ย่านอารีย์-ประดิพัทธ์

mood hopping หนึ่งในกิจกรรมที่จัดขึ้นภายใต้งาน Bangkok Design Week 2020 ที่จะชวนคุณมาสำรวจอารมณ์ด้านลบของตัวเองผ่านกิจกรรม Cafe Hopping ในคาเฟ่สุดชิค

เชฟผู้ใช้ผ้ามาปรุงอาหารนำไปสู่การกระจายรายได้สู่พื้นถิ่น

วิชระวิชญ์ อัครสันติสุข กับนิทรรศการคอลเลคชั่นเสื้อผ้าที่เขาออกแบบและตัดเย็บจากเส้นใยย้อมสีธรรมชาติจาก Cotton Farm จนมีสไตล์ร่วมสมัย จัดแสดงที่ Weave Artisan Society เชียงใหม่

LACY,LAZY CHRISTMAS เสกกระดาษสีขาวเรียบโล่งสองมิติให้มีชีวิตด้วยมือและจินตนาการ

ใกล้ ๆ สิ้นปีแบบนี้ เป็นช่วงเวลาแห่งการนับถอยหลังเข้าสู่เทศกาลแห่งการเฉลิมฉลอง เเละส่งความสุข หลาย ๆ คนคงกำลังมองหาสถานที่ถ่ายรูปกับไฟ แสงสียามค่ำคืน การแสดงดนตรีสด หรือความบันเทิงในรูปแบบต่าง ๆ เเต่ถ้าใครอยากชมงานศิลปะดี ๆ ที่เข้ากับบรรยากาศของเทศกาลช่วงนี้ละก็ เราขอพาคุณไปเยี่ยมชมนิทรรศการผลงานตัดกระดาษ (Paper Cutting) ซึ่งต้องใช้ทั้งฝีมือเเละจินตนาการในการสร้างสรรค์เป็นเรื่องราวต่าง ๆ อันเป็นส่วนหนึ่งในโครงการ Artist in Residence ของโรงแรมเพนนินซูลา กรุงเทพฯ เพื่อสร้างประสบการณ์การเข้าถึงงานศิลปะ ผ่านรูปแบบการนำเสนอที่เเตกต่าง ไม่จำเป็นต้องอยู่ในเเกลเลอรี่เเบบเดิมเสมอไป นิทรรศการครั้งนี้เป็นการเเสดงผลงานของคุณบัว-วรรณประภา ตุงคะสมิต หรือ “บัว สมิต” ศิลปินที่ได้รับรางวัล Gold Cannes Lion (งานเทศกาลแห่งความคิดสร้างสรรค์ที่คนในวงการโฆษณาและการตลาดให้การยอมรับ) มาเเล้วถึง 2 ปีซ้อน กับผลงานการตัดกระดาษจากจินตนาการเเละฝีมือสุดละเอียดประณีต ช่วยเติมชีวิตชีวาให้กระดาษสีขาวเรียบโล่งและว่างเปล่าแบบสองมิติเต็มไปด้วยลวดลายที่สวยงามตระการตา ในเรื่องราวของ Lacy,Lazy Christmas โดยนำคำว่า Lacy ที่แปลว่า ลูกไม้ มาล้อกับคำว่า Lazy เพื่อสื่อถึงช่วงวันหยุดยาว ตั้งแต่วันคริสต์มาสไปจนถึงเทศกาลปีใหม่ที่หลาย ๆ […]