ใจบ้านสตูดิโอ: เมื่อทุกเสียงให้ความหมายในงานออกแบบ

ใจบ้านสตูดิโอ: สำนักงานออกแบบจากจังหวัดเชียงใหม่ ที่มีผลงานส่วนใหญ่อยู่ภายใต้บริบทในภาคเหนือ ซึ่งแต่ละผลงานล้วนเกิดจากความมุ่งมั่นที่จะพาทุกคนรู้จักและเข้าใจ “หัวใจของความเป็นชุมชน” มากขึ้น ผ่านงานออกแบบสถาปัตยกรรมที่ไม่ใช่เพียงเรื่องของความงาม สตูดิโอเล็กๆ แห่งนี้ เกิดจากการรวมตัวของ 3 สถาปนิก คือ คุณศุภวุฒิ บุญมหาธนากร, คุณทนวินท วิจิตรพร และ คุณแพรวพร สุขัษเฐียร แต่ทุกผลงานล้วนผ่านการสร้างสรรค์และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้คนในวงกว้าง ภายใต้รูปลักษณ์ของงานสถาปัตยกรรมที่ดูเรียบง่ายเหล่านั้น เกิดจากการนำ “ปรัชญา 5 ไมล์ของคานธี” มาเป็นหัวใจในงานออกแบบ โดยมีใจความสำคัญอยู่ที่การเลือกใช้วัสดุท้องถิ่นในระยะไม่เกิน 5 ไมล์ มาใช้สำหรับการก่อสร้างอาคาร ช่วยลดทั้งการขนส่ง สร้างโอกาส และสร้างคุณค่าให้กับคนในชุมชนเหล่านั้นไปพร้อมกัน สิ่งหนึ่งที่นับเป็นกระบวนการสำคัญของใจบ้านสตูดิโอ คือ “การทำงานร่วมกับเจ้าของพื้นที่” โดยเจ้าของโครงการหรือคนในชุมชนนั้นๆ จะถูกเชิญชวนให้เข้ามามีส่วนร่วมและเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนออกแบบ ผ่านการใช้เครื่องมือ (Tools) ง่ายๆ ที่ไม่ว่าใครก็สามารถเข้าใจได้ ส่งผลให้พวกเขาต้องลงพื้นที่จริงเพื่อทำการศึกษาข้อมูล พฤติกรรม วัฒนธรรม และบริบทโดยรอบ เพื่อวิเคราะห์ และสังเคราะห์ ก่อนนำไปสู่งานออกแบบที่ตอบสนองอย่างแท้จริง “เราอยากให้บ้านหรือสถาปัตยกรรมสะท้อนวิถีชีวิตของเจ้าของ ไม่ใช่สไตล์ของใจบ้าน เราไม่มีสไตล์ มีแต่แนวคิด เพื่อให้ความงามนั้นงอกเงยขึ้นมาจากตัวตนของเจ้าของบ้านหรือผู้ใช้งานเอง” แพรวพร […]

โฮมสตูดิโอเชียงใหม่ อบอุ่นใจด้วยแสงแดดและสองแมว

โฮมสตูดิโอ หลังเล็กที่เป็นทั้งบ้านและที่ทำงานของคู่รักนักออกแบบ พร้อมบรรยากาศสดชื่นใต้แสงแดดยามเช้า

6 ชุมชนเปี่ยมสุข แรงบันดาลใจในการอยู่อาศัยร่วมกัน

ร่วมกับ 2 สำนักงานสถาปนิกชุมชนอย่าง ใจบ้าน สตูดิโอ และ ฮอมสุข สตูดิโอ ตามหา 6 ชุมชนตัวอย่างเปี่ยมสุขที่สร้างแรงบันดาลใจในการอยู่อาศัยร่วมกันอย่างยั่งยืนได้

room Pavilion Midyear 2022

เพราะ room เชื่อว่า ดีไซน์ที่ดี ไม่เพียงดีสำหรับผู้ใช้งานเท่านั้น แต่ยังต้องดีต่อสังคมรอบข้าง และเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างสรรค์โลกให้ดียิ่งขึ้นอย่างยั่งยืน เราจึงคัดสรรงานออกแบบที่ยั่งยืนในหลากมิติมาจัดแสดงในงานบ้านและสวนแฟร์ Midyear 2022 เพื่อช่วยสร้างแรงกระเพื่อมต่อสังคมในวงกว้าง นำไปสู่การต่อยอดและพัฒนางานออกแบบเหล่านั้นให้เกิดขึ้นและสร้างประโยชน์ได้จริงในอนาคต RE-BALANCE การจัดแสดงในปีนี้ room มุ่งให้ความสำคัญกับ “แนวคิดความยั่งยืนที่สมดุลกับวิถีปัจจุบันของโลก” จึงได้เลือกคัดสรรผลงานการออกแบบที่ตอบโจทย์ทั้งด้านการใช้งาน (Function) ความงาม (Aesthetic) แนวคิดด้านความยั่งยืน (Sustainability) รวมถึงการส่งผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม (Social Impact) แต่ขณะเดียวกันก็เป็นงานออกแบบใกล้ตัว ตอบโจทย์วิถีชีวิตประจำวันของผู้คนได้อย่างแท้จริง room Betterism Design Exhibition แบ่งออกเป็น 3 หมวดการคัดสรรดังนี้1.Architectural งานออกแบบสถาปัตยกรรมที่ส่งเสริมความยั่งยืน2.Urban Design and Movement งานออกแบบพื้นที่สาธารณะ และแนวคิดส่งเสริมเมืองสร้างสรรค์3.Product and Innovation ผลิตภัณฑ์ และแนวคิดนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน พบกับผลงานการออกแบบในหมวดต่างๆ มากกว่า 30 ผลงาน จากนักออกแบบและนักสร้างสรรค์ไทย ได้ที่งาน room BETTERISM Design Exhibition […]

สวนคนเมืองขนาดเล็ก แต่สามารถปลูกผักและเลี้ยงไก่ไข่ไว้บริโภคได้ตลอดทั้งปี

ในสวนขนาดเล็กที่ดูเรียบง่ายและไม่ได้ดูสวยงามโดดเด่นกว่าสวนอื่นๆในครั้งแรกที่มอง แต่กลับมีนิยามความงามในแบบของตัวเอง ในฐานะของแหล่งอาหารและสร้างสุขภาพที่ดีในการดำเนินชีวิตให้เกิดสุขภาพที่ดีแบบคนในเมือง เป็นสวนขนาดเล็กหน้าบ้านแต่สามารถปลูกผักและเลี้ยงไก่ไข่ที่เต็มไปด้วยเรื่องราวและไอเดียที่น่าสนใจทีเดียวที่สามารถนำไปใช้ได้กับทุกคน คุณตี๋-ศุภวุฒิ บุญมหาธนากร เจ้าของบริษัท ใจบ้าน สตูดิโอ จํากัด การพบปะในครั้งนี้นอกจากเป็นการไปเยี่ยมเยือนพี่ชายที่ผมเคารพรักแล้ว ยังตั้งใจไปชมสวนซึ่งก่อนหน้านี้เขาเคยเล่าให้ฟังว่า“พี่ตั้งใจว่าจะทําสวนเพื่อเป็นแหล่งอาหารไว้รับประทานเอง” ทําให้ผมอยากมาเห็นด้วยตาสักครั้ง ผ่านไป2ปี ต้นไม้เริ่มเติบโตตามที่คุณตี๋ได้ตั้งปณิธานเอาไว้ หากดูเผินๆเหมือนว่าเติบโตเองตามธรรมชาติ แต่แท้จริงแล้วเป็นสวนที่ปรับมาจากสวนแนวบาหลี ซึ่งเป็นสไตล์ที่คุณตี๋ชื่นชอบและจัดออกมาได้สวยงามไม่แพ้ใครผมถามถึงสาเหตุที่ทําให้เขาตัดสินใจเปลี่ยนมาจัดเป็นสวนอย่างที่เห็นก็ได้รับคําตอบว่า “เมื่อก่อนหากจะจัดสวนให้บ้านในเมือง เราต้องซื้อดิน ซื้อต้นไม้ ซื้อทุกอย่างมาลง เพื่อให้ดูเป็นธรรมชาติในมุมมองของมนุษย์ แต่จริงๆอาจไม่เป็นธรรมชาติในมุมมองของแมลงหรือสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติจริง ก็เลยอยากลองเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่อง Permaculture เอง   ผมคุยเรื่องแนวคิดPermacultureกับคุณตี๋อยู่พักใหญ่ จึงทราบว่าแท้จริงแล้วการจัดสวนในรูปแบบนี้ก็ไม่ได้มีอะไรพิเศษไปกว่าการทําเกษตรแบบยั่งยืนที่เน้นการบํารุงดินด้วยธรรมชาติโดยไม่ใช้สารเคมี รวมถึงการปลูกไม้พื้นถิ่นหลากหลายชนิดแม้สวนของคุณตี๋จะมีเนื้อที่แค่เพียง100ตารางวาแต่เขาเล่าให้ฟังว่าในหนึ่งวันสามารถรังสรรค์เมนูอาหารได้หลากหลาย เพราะต้นไม้เกือบทั้งหมดในสวนเป็นชนิดที่รับประทานได้และพบเห็นได้ทั่วไปอย่างมะละกอ มะม่วง บวบ ขิง ข่า พริกตะไคร้ ชะอม แทรกไปกับไม้สมุนไพรและผักสวนครัวพื้นบ้านที่ปลูกง่ายและไม่ต้องดูแลมากเช่น ฟักข้าว ผักเชียงดา อ่อมแซบ ลูกใต้ใบบอน หม่อน และผักปลัง โดยในครั้งแรกเริ่มจากทดลองปลูกผักสวนครัวไม่กี่อย่าง เมื่อประสบความสําเร็จ สามารถเก็บผลผลิตได้ จึงเริ่มต่อยอดทดลองปลูกต้นไม้คละกันแบบมาซาโนบุ ฟูกูโอกะ ผู้ริเริ่มเกษตรกรรมธรรมชาติ โดยปลูกต้นไม้หลายชั้นหลายระดับรวมกัน ก็ได้ผลผลิตค่อนข้างดี มีผักหลากหลายชนิดให้รับประทานมากขึ้น นอกจากนี้ยังเสริมด้วยโปรตีนจากไข่ไก่วันละ2ฟอง […]

พลังประชาชนที่เปลี่ยน “กองขยะ” สู่ “สวนผักคนเมืองเชียงใหม่”

อยากให้ทุกคนนั่งไทม์แมชชีนไปเมื่อ 6 เดือนที่แล้ว ตอนนั้นนอกจากจังหวัดเชียงใหม่จะต้องเผชิญกับวิกฤตโควิด-19 แล้วยังมีฝุ่น pm2.5 อยู่เช่นกัน กลุ่มสถาปนิกใจบ้าน สตูดิโอและภาคีอื่นๆได้สำรวจพื้นที่สีเขียวและพื้นที่รกร้างต่างๆในเมือง จนมาพบกับกองขยะร้างที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์จนกลายมาเป็นสวนผักคนเมืองเชียงใหม่ในที่สุด แปลงผักบางส่วนเปิดให้คนมาเรียนรู้ พักผ่อนหย่อนใจ และเก็บผักไปปรุงอาหารได้ฟรี เริ่มจาก 3 ครอบครัว ซึ่งปลูกและเก็บไปแบ่งปัน 19 ครอบครัว     ช่วงที่ล็อกดาวน์ ผู้คนเริ่มเผชิญกับวิกฤตการณ์ด้านอาหาร ใจบ้าน สตูดิโอเข้าไปคุยกับพี่น้องผู้ที่อยู่ในบริเวณชุมชนริมคลองแม่ข่า ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ใช้แรงงานและเป็นคนชายขอบของสังคมว่าเขาจะสามารถดำรงชีวิตอย่างไรในช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้แล้วก็พบว่าพวกเขาส่วนใหญ่เริ่มตกงานมาตั้งแต่ปลายเดือนมกราคมที่นักท่องเที่ยวไม่สามารถเดินทางมาที่จังหวัดเชียงใหม่ได้ รายจ่ายครึ่งหนึ่งของเงินเดือนคือค่าอาหารเลี้ยงชีพ เมื่อรายได้ต่อวันไม่มี หลายครอบครัวที่ต้องดูแลผู้สูงอายุและเด็กจึงกลายเป็นภาระหน้าที่ซึ่งลำบากมาก ทางออกคือครอบครัวเหล่านี้ต้องปลูกผักบริเวณพื้นที่ริมคลองแม่ข่าที่มีสภาพน้ำเน่าเสียและไม่เอื้อต่อการบริโภค หลังจากนั้นจึงเริ่มคุยกับเครือข่ายต่างๆมาเริ่มบุกเบิกที่ดินตรงนี้เพื่อให้เป็นพื้นที่ปลูกผักสร้างอาหารให้คนในชุมชน บ้ารึเปล่า…นี่มันกองขยะ พื้นที่ขนาด 2.5 ไร่นี้เดิมเป็นกองขยะ 5 พันตันที่ถูกทิ้งมานานร่วม20 ปี ซึ่งรวบรวมมาจากช่วงที่เชียงใหม่ประสบภัยน้ำท่วมโดยมีเทศบาลเมืองเชียงใหม่เป็นเจ้าของ หลังจากที่พูดคุยกันอยู่หลายครั้ง ใจบ้าน สตูดิโอและภาคีที่เกี่ยวข้องได้รับความอนุเคราะห์ในการใช้ที่ดินดังกล่าวเป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับสวนผักคนเมืองเชียงใหม่ในที่สุด “หลังจากได้ที่ดินมาแล้ว งานต่อไปคือการระดมทุน ระดมกล้าไม้ ระดมเมล็ด หรืออุปกรณ์การเกษตร เมื่อเริ่มต้นทำก็ขุดดินไปเจอยางรถยนต์ กรมเจ้าท่าจึงนำดินมาช่วยถมให้ ส่วนภาคเอกชนหลายที่ก็บริจากถ่านไบโอชาร์ในการบำบัดดินและขุดน้ำบาดาล ถ้าสรุปความรู้สึกสั้นๆจะสรุปได้ว่าสถานการณ์บ้านเมืองที่ไม่มั่นคง แต่ด้วยพลังของประชาชนสามารถสร้างความมั่นคงให้เกิดขึ้นได้ มันคือโอกาสท่ามกลางวิกฤต” คุณตี๋-ศุภวุฒิ บุญมหาธนากรผู้ก่อตั้งใจบ้าน […]

รวมไอเดียตกแต่งจากบ้านตัวอย่าง ก่อนถึงงานบ้านและสวนแฟร์ 2019

ครั้งนี้เราจึงขอพาคุณผู้อ่านย้อนเวลากลับไปชมไฮไลต์เด็ดประจำงานอย่าง “บ้านตัวอย่าง” ย้อนหลังถึง 6 ปี มาดูกันว่าจะสวย เด็ด และมีไอเดียดีๆอะไรบ้าง ลองมาชมกัน

รวม 10 ไอเดียแต่งเคาน์เตอร์และบาร์ สำหรับคนค้นหาไอเดียแต่งคาเฟ่ในฝัน

ใครกำลังหา แบบร้านกาแฟ หรือ เคาน์เตอร์ร้านกาแฟ ที่เปรียบเสมือนหัวใจของร้าน สำหรับคนค้นหาไอเดียแต่งคาเฟ่ในฝัน มาลองดูไอเดียที่เรานำมาฝากกัน

บ้านตัวอย่าง “หารร่วมมาก” ในงานบ้านและสวนแฟร์2017

เมื่อความหมายของคำว่า “บ้าน” ได้รับการตีความใหม่  โดยกลุ่มสถาปนิก “ใจบ้าน” และ “ฮอมสุข” จากจังหวัดเชียงใหม่ ออกแบบ : กลุ่มสถาปนิก “ใจบ้านสตูดิโอ”  และ “ฮอมสุข สตูดิโอ” บ้านที่เป็นพื้นที่ส่วนตัวซึ่งมีความปลอดภัยและสะท้อนตัวตนที่ตอบสนองการใช้ชีวิตส่วนตัว แต่สถาปนิกกลุ่มนี้กลับมองว่าพื้นที่ส่วนตัวไม่ใช่สิ่งที่บอกถึงแก่นของคำว่า “บ้าน” เสียทีเดียว หารร่วมมาก จึงกลายเป็นคอนเซ็ปต์ของบ้านตัวอย่างในงานบ้านและสวนแฟร์ 2017 “เราจะไม่ลืม” ซึ่งหลายคนอาจรู้สึกฉงน เพราะจากบทเรียนในวิชาคณิตศาสตร์ ที่เด็กไทยคุ้นเคย จะเกี่ยวข้องกับการออกแบบบ้านได้อย่างไร ไปร่วมหาคำตอบด้วยกันค่ะ   แก้โจทย์ ห.ร.ม. คุณภควัต สัตตะรุจาวงษ์ สถาปนิกจากบริษัทใจบ้านสตูดิโอ จำกัด หนึ่งในผู้ออกแบบ “บ้านหารร่วมมาก” กล่าวถึงแนวคิดของบ้านตัวอย่างหลังนี้ว่า   “บ้านตัวอย่างหลังนี้ไม่ใช่แค่บ้านที่โชว์ดีไซน์จัดจ้าน ไม่ได้มีองค์ประกอบอะไรโดดเด่น  เพราะเราให้ความสำคัญกับแนวคิดมากกว่าครับ ซึ่งเกิดขึ้นจากการตีโจทย์คำว่า ‘บ้าน’ ในแบบที่แตกต่างออกไป เราสนใจบ้านที่เป็นพื้นที่ส่วนรวม จากเดิมที่ใครๆ ต่างมองว่าบ้านคือพื้นที่ส่วนตัว แต่เราอยากให้ลองมองในมุมมองใหม่ๆ ดูบ้าง เพราะเราคิดว่าบ้านเป็นพื้นที่ส่วนรวมได้ โดยได้ศึกษากรณีตัวอย่าง ซึ่งเป็นชุมชนที่เกิดขึ้นจากผู้คนที่สนใจในเรื่องเดียวกัน  ชอบเรื่องเดียว และมาอาศัยอยู่ร่วมกัน […]

15 บ้านสวนสวยๆ ที่โอบกอดด้วยธรรมชาติแสนผ่อนคลาย

บ้านสวนสวยๆ ที่ออกแบบได้อย่างสวยงามและอยู่ท่ามกลางบรรยากาศที่มีความเป็นธรรมชาติ เป็นไอเดียสำหรับคนที่มองหาบ้านที่ทำให้รู้สึกสงบทั้งกายและใจ

ทุ่งน้ำนูนีนอย (Nunienoi) พื้นที่ชุ่มน้ำเพื่อความหลากหลายทางชีวภาพ

ความหลากหลายทางชีวภาพมีความสำคัญอย่างมาก กับวิกฤตด้านสิ่งแวดล้อม ทุ่งน้ำนูนีนอย (Nunienoi) ของนักนิเวศวิทยา ดร.อ้อย – สรณรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์ เป็นต้นแบบที่ดีในการทำรู้จักคำว่า “Rewild” กับพื้นที่ชุ่มน้ำกลางนาที่ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ สวนทุ่งน้ำ หรือ wetland การคืนระบบนิเวศสู่ธรรมชาติในเมือง การทำให้สวนในบ้านเป็นมิตรต่อโลกและเพื่อนต่างสายพันธุ์ จากนาสู่ป่าที่อยู่ร่วมกันได้ ทุ่งน้ำนูนีนอยแห่งนี้เกิดขึ้นจากดร.อ้อย และครอบครัว ซื้อที่ดินที่อำเภอเชียงดาวแห่งนี้ ด้วยความตั้งใจที่จะรักษาท้องนาเอาไว้ไปพร้อม ๆ กับการฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ โดยทดลองระบบการผลิตให้อยู่ร่วมกับการฟื้นป่ากลับมาใหม่ ไม่ใช่ป่าต้องอยู่แต่ในอุทยานแห่งชาติเท่านั้น พื้นที่เกษตรกรรมหรือพื้นที่ในเมืองก็สามารถเข้าสู่กระบวนการ Rewild ได้ การทำพื้นที่ชุ่มน้ำที่เป็นบ้านของพืชและสัตว์พื้นถิ่นจึงเกิดขึ้น เพราะสามารถเข้ากับการทำนาได้ดี นิเวศของพื้นที่ชุ่มน้ำ “บ้านต้องมีโครงสร้างใช่ไหมคะ ระบบนิเวศก็เช่นกัน สำหรับ Wetland (พื้นที่ชุ่มน้ำ) โครงสร้างก็คือชายน้ำที่มีความลึกต่างกัน ตั้งแต่ชายน้ำที่น้ำไม่ท่วม ส่วนที่น้ำท่วมบ่อย ไปจนถึงที่ลึกไปเลย ทั้งหมดคือโครงสร้างที่พืชและสัตว์อาศัยอยู่ มีพงต้นแขม มีบัวให้สัตว์ได้มาวางไข่” ดร.อ้อย นักนิเวศวิทยาผู้ก่อตั้งทุ่งน้ำนูนีนอยมานานกว่า 2 ปี อธิบายให้เราฟัง แต่ก่อนที่จะเริ่มทำให้น้ำมีความเหมาะสมกับการอยู่อาศัยที่ดีของสัตว์นั้น ต้องเริ่มมาจากคุณภาพน้ำที่ดีก่อน พื้นที่แห่งนี้จึงออกแบบใหม่ เพื่อการบำบัดน้ำจากลำเหมืองสาธารณะที่อาจไม่ได้มีคุณภาพที่เหมาะสมนัก โดยวางบ่อไว้ตามจุดต่าง ๆ […]

บ้านในฝัน 10 สไตล์ คุณอยากอยู่หลังไหน

ชม 10 บ้านในฝันหลากสไตล์ ที่มีสไตล์แตกต่างกันไป แต่ทุกหลังสวยน่าอยู่ทั้งสิ้น รักชอบหลังไหนลองดูกันไว้เป็นไอเดีย

10 บ้านสวยยอดนิยมประจำปี 2023 ยอดวิวพุ่งทะลุชาร์ต

ช่วงใกล้ปลายปีอย่างนี้ ก็กลายเป็นธรรมเนียมที่ เว็บไซต์บ้านและสวน จะรวบรวม 10 อันดับในหมวด บ้านสวยยอดนิยมประจำปี 2023 กัน

รวม แบบบ้านสวยๆ สำหรับคนรักบ้าน

30 แบบบ้านสวยๆ หลากหลายสไตล์ มีทั้งบ้านชั้นเดียว บ้านไม้ ฯลฯ มาให้ชมกันแบบจุใจ รับรองว่าสวยแจ่มทุกหลังแน่นอน

บ้านชนบทชั้นเดียว สไตล์ไทยผสมญี่ปุ่น

บ้านชนบทชั้นเดียว ที่มีกลิ่นอายแบบชนบทไทยและใส่รายละเอียดบางอย่างแบบบ้านญี่ปุ่น โดยนำเอาระบบโมดูลาร์มาใช้ เพื่อให้สามารถก่อสร้างได้รวดเร็ว

ทุ่งน้ำนูนีนอย พื้นที่ชุ่มน้ำเพื่อความหลากหลายทางชีวภาพ และคืนป่าให้อยู่ร่วมกับคน

ความหลากหลายทางชีวภาพมีความสำคัญอย่างมาก ทุ่งน้ำนูนีนอย ของนักนิเวศวิทยา ดร.อ้อย-สรณรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์ เป็นต้นแบบที่ดีในการทำรู้จักกับ…

การทำให้สวนในบ้านเป็นมิตรต่อโลกและเพื่อนต่างสายพันธุ์

“การฟื้นฟูธรรมชาติ ไม่จำเป็นต้องเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ แค่พื้นที่เล็กๆ ในสเกลของสวนหลังบ้านก็สามารถทำได้แล้ว อย่างที่ออฟฟิศของใจบ้านเองก็ได้มีการทดลอง ซึ่งก็เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ จากดินลูกรัง สู่การฟื้นคืนระบบนิเวศจริงๆ” คุณตี๋ – ศุภวุฒิ บุญมหาธนากร สถาปนิกจาก ใจบ้านสตูดิโอ ผู้ร่วมออกแบบสวนโชว์ในงานบ้านและสวนแฟร์ Living Festival 2023 ได้กล่าวถึงตัวอย่างและการจัดการพื้นที่สวนภายในบ้านให้เป็นส่วนหนึ่งของการฟื้นคืนธรรมชาติในเมือง ที่นอกจากจะช่วยสร้างความสวยงามให้กับโลกและถิ่นที่อยู่อาศัยได้แล้ว ยังสามารถสร้างความหลากหลายทางชีวภาพที่เอื้อต่อชีวิตอื่น รวมถึงเป็นแหล่งอาหารให้กับเพื่อนสิ่งมีชีวิต อย่าง ผึ้ง ผีเสื้อ นก และแมลง พร้อมทั้งแชร์เทคนิคและวิธีการทำให้สวนภายในบ้านของเราเป็นมิตรต่อโลกและเพื่อนต่างสายพันธุ์อย่างง่าย ดังนี้ ไฮไลต์สวนโชว์ 2023 ภายใต้แนวคิด “Natural Techno – Local Species” [Rewilding Garden คือ การปล่อยให้พืชและสัตว์พื้นถิ่นที่มีอยู่ในธรรมชาติกลับคืนมา อย่างพืชป่าที่คนเรียกว่า “วัชพืช” ขึ้นตามคันนา เช่น กะทกรก หรือหิ่งเม่นดอกสีเหลือง เพื่อสร้างความหลากหลายในระบบนิเวศ แต่ขณะเดียวกันก็ต้องประคับประครองพื้นที่ไม่ให้ถูก takeover จากธรรมชาติมากจนเกินไป – ดร.สรณรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์ นักนิเวศวิทยา] […]

“บ้านสวนอธิษฐาน” บ้านไม้พื้นถิ่นร่วมสมัย

บ้านไม้พื้นถิ่นร่วมสมัย ซึ่งออกแบบให้มีสัดส่วนรูปทรงที่สอดคล้องกับการวางฟังก์ชันภายใน ดูกลมกลืนไปกับบ้านไม้ของชุมชนโดยรอบ