พระจันทร์ครึ่งซีก

บัวครึ่งซีก ชื่อวิทยาศาสตร์: Lobelia chinensis Lour. วงศ์: Companulaceae ประเภท: พืชล้มลุก/วัชพืช ความสูง: 8-15 เซนติเมตร ลำต้น: สีแดง เล็กเรียว ทอดนอนไปตามพื้นดิน ใบ: รูปใบหอกเรียวเล็ก สีเขียวสด ไม่มีก้านใบ ดอก: เดี่ยว กลีบเล็กเรียว 5 กลีบ เรียงเป็นครึ่งวงกลมด้านบน สีขาวหรือขาวอมชมพูและมีสีแดงเรื่อ ออกดอกตลอดปี อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ดินทั่วไป น้ำ: ปานกลาง-มาก แสงแดด: ตลอดวัน การใช้งานและอื่นๆ: ในธรรมชาติมักพบตามสนามหญ้าที่ชุมชื้นและสวนสมุนไพร เป็นสมุนไพรรสเย็น สุขุม ต้นใช้บำรุงปอด แก้วัณโรค หืด ไอ แน่นหน้าอก เจ็บสีข้าง ปอดพิการ ขับปัสสาวะ หรือใช้ทาภายนอกดับพิษ แก้บวม อมแก้เจ็บคอและใช้ผสมยานัตถุ์

ผักปลาบดอย

ชื่อวิทยาศาสตร์: Cyanotis fasiculata Schult. วงศ์: Commelinaceae ประเภท: พืชล้มลุก/วัชพืช ลำต้น: ขนาดเล็ก ทอดนอนใกล้ผิวดินหรือพาดกิ่งก้านกับต้นไม้ที่อยู้ใกล้ ค่อนข้างอวบน้ำสีเขียวถึงแดงเรื่อ ยาวไม่เกิน 50 เซนติเมตร ใบ: รูปแถบแคบ แผ่นใบอวบหนา ดอก: เป็นช่อ มีใบประดับเป็นกาบรูปท้องเรือ ซ้อนกัน 3-5 ชั้น สีแดงถึงแดงเรื่อ มีขน ดอกขนาดเล็ก สีม่วงอมชมพู มี 3 กลีบ เกสรเพศผู้สีเหลืองชูเด่น ก้านเกสรมีขนสีม่วงหนาแน่น ออกดอกฤดูฝน-ต้นฤดูหนาว อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ดินทั่วไป น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: ตลอดวัน การใช้งานและอื่นๆ: ในธรรมชาติมักพบบนดอย ทุ่งหญ้าบนเขาสูง ริมทางเดิน พื้นที่เปิดโล่ง พบขึ้นเป็นกลุ่มกระจายทั่วบริเวณภาคเหนือและอิสาน

ผักปราบเขียว

หญ้าใบไผ่ ชื่อวิทยาศาสตร์: Rhopalephora scaberrima (Blume) R.B. Faden วงศ์: Commelinaceae ประเภท: พืชล้มลุก อายุหลายปี/วัชพืช ความสูง: 50-80 เซนติเมตร ลำต้น: อวบน้ำ สีแดง มีขนเหนียวติดมือ ใบ: รูปรีแกมขอบขนาน ขนาด 1-3 x 5-20 เซนติเมตร ปลายเรียวแหลม ก้านใบแผ่เป็นกาบหุ้มข้อ ดอก: เป็นช่อยาวชูสูงขึ้น มีช่อย่อยหลายช่อ ก้านยาวและอ่อนโค้ง ดอกขนาด 1-2 เซนติเมตร สีม่วงหรือฟ้าอมม่วง เกสรเพศผู้ยาว 5 อัน เป็นหมัน 2 อัน มีสีเหลืองสด ออกดอกฤดูฝน-ต้นฤดูหนาว ผล: เกือบกลม เมื่อแก่แตกเป็น 3 พู เมล็ดสีน้ำตาล อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ดินทั่วไป น้ำ: […]

ผักเบี้ยดิน

ชื่อวิทยาศาสตร์: Lobelia angulata Forst. วงศ์: Campanulaceae ประเภท: พืชล้มลุก/วัชพืช ลำต้น: ทอดเลื้อยตามผิวดิน ค่อนข้างอวบน้ำ แตกกิ่งก้านมาก มีรากออกตามข้อที่แตะดิน ใบ: รูปไข่หรือเกือบกลม ขนาด 1-3 x 1-4 เซนติเมตร ดอก: ดอกเดี่ยว ขนาดเล็กประมาณ 0.8 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงรูปถ้วย สีเขียวมีสันตามยาว ปลายแยกเป็น 5 แฉกแหลม กลีบดอก 5 กลีบ รูปรีแคบปลายแหลม สีม่วง โคนกลีบล่างมีแต้มสีเหลืองอ่อน ออกดอกตลอดปี ผล: กลมแข็ง ผิวมัน เมื่อแก่สีม่วงแดง เมล็ดแบนรี สีน้ำตาล อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ดินปนทราย น้ำ: ปานกลาง-สูง แสงแดด: รำไร-กลางแจ้ง การใช้งานและอื่นๆ: ในธรรมชาติมักพบตามที่เปิดหรือร่ม ชุ่มชื้น ที่ระดับความสูง […]

บานไม่รู้โรยภู

ชื่อวิทยาศาสตร์: Psilotrichum ferrugineum (Roxb.) Moq.-Tand. วงศ์: Amaranthaceae ประเภท: พืชล้มลุก /วัชพืช ความสูง: 20-100 เซนติเมตร ลำต้น: เล็ก เป็นเหลี่ยม มีสันมน สีเขียวปนม่วงแดง แตกกิ่งก้านยาวมีขนสั้นละเอียดปกคลุม ใบ: รูปแถบแคบ รูปขอบขนานถึงรูปไข่ ปลายแหลมหรือมน ดอก: ช่อดอกยาวเรียว ประมาณ 0.5-3 เซนติเมตร ดอกย่อยจำนวนมาก สีม่วง ชมพู หรือขาว ขนาดเล็ก ปลายแหลมคล้ายขนแข็งและแห้ง ออกดอกตลอดปี ฤดูแล้งมักทิ้งใบเหลืองแต่กิ่งก้านและดอก เมล็ด: ขนาดเล็กมาก สีดำเป็นมัน อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ดินปนทราย น้ำ: น้อย-ปานกลาง แสงแดด: ร่ม การใช้งานและอื่นๆ: ในธรรมชาติมักพบตามลานหินบนเขาดินปนทราย พื้นที่เปิดโล่งหรือค่อนข้างร่ม ชายป่าหรือริมทางที่ค่อนข้างแห้ง พบมากทางภาคกลางและอิสาน เป็นพืชวงศ์เดียวกับบานไม่รู้โรย ปลูกเป็นไม้ประดับได้

เนียมนกเค้า

ชื่อวิทยาศาสตร์: Hedyotis gracilipes Craib. วงศ์: Rubiaceae ประเภท: พืชล้มลุก /วัชพืช ความสูง: 10-30 เซนติเมตร ลำต้น: เรียวเล็ก ตั้งตรง ไม่ค่อยแตกกิ่งก้าน ใบ: รูปแถบถึงรูปรีแคบ ยาวประมาณ 0.2-0.5×1-2 เซนติเมตร มีขนเล็กน้อย สีเขียวเข้มเป็นมัน ใต้ใบสีจางกว่า ขอบใบมักห่อลงด้านล่าง ดอก: เดี่ยวหรือเป็นช่อ ออกตามซอกใบ 2-4 ดอก ก้านดอกยาว กลีบเลี้ยงเป็นถ้วยเล็กๆ สีเขียวอ่อนปนแดงเรื่อ ปลายแยก 4 แฉก ดอกรูปกรวยกว้าง 0.3-0.5 เซนติเมตร สีม่วงอ่อน ชมพูหรือขาว ปลายเป็น 4 แฉกแหลม เกสรเพศผู้ 4 อัน ออกดอกฤดูฝน-ต้นฤดูหนาว ผล: ค่อนข้างกลม แห้งและแตก เมล็ดขนาดเล็กมาก อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: […]

เนียมนกเขา

หญ้ารากหอม ชื่อวิทยาศาสตร์: Salomonia longiciliata Kurz. วงศ์: Polygalacaea ประเภท: พืชล้มลุก อายุสั้น /วัชพืช ความสูง: 10-30 เซนติเมตร ลำต้น: เรียวเล็ก ตั้งตรง ไม่ค่อยแตกกิ่งก้าน ใบ: รูปไข่แกมขอบขนานถึงรูปแถบ ยางประมาณ 1 เซนติเมตร มักแนบเข้าหาลำต้น ดอก: ช่อดอกยาวเรียว ออกที่ปลายกิ่งหรือยอด ดอกย่อยจำนวนมาก เรียงสลับติดกันเป็นหลอดสีม่วงแดงหรือชมพูเข้ม ออกดอกฤดูฝน-ต้นฤดูหนาว ผล: แบนรี สีม่วงแดง มีรยางค์ยาวยื่นออกรอบๆ คล้ายขน เมล็ดสีดำผิวมัน ขนาดเล็ก อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ดินทั่วไป น้ำ: น้อย-ปานกลาง แสงแดด: ตลอดวัน การใช้งานและอื่นๆ: ในธรรมชาติมักพบตามพื้นหินหรือดินปนทรายที่เปิดโล่งและค่อนข้างแห้งชื้นแฉะ เป็นสมุนไพร ยาพื้นบ้านอิสาน ใช้ราก ปรุงผสมเครื่องหอมหรือต้นอ้อยแดง ต้มน้ำดื่มบำรุงเลือด

น้ำนมราชสีห์เล็ก

ชื่อวิทยาศาสตร์: Euphobia thymiflolia L. วงศ์: Euphobiaceae ประเภท: พืชล้มลุก /วัชพืช ลำต้น: สีแดงเรื่อ แตกกิ่งก้านทอดเลื้อยไปตามผิวดิน ทุกส่วนของต้นมีน้ำยางสีขาว ใบ: ออกตรงข้ามเป็นคู่ เรียงสลับในแนวระนาบ รูปไข่ถึงกลมรี ยาว 0.5-1 เซนติเมตร ปลายใบมน โคนใบมนหรือเฉียงเล็กน้อย ดอก: ช่อดอกออกตามข้อเป็นกระจุกค่อนข้างกลม ดอกย่อยขนาดเล็กมาก สีชมพูถึงม่วงแดง ออกดอกตลอดปี ผล: แห้ง รูปกลมแกมสามเหลี่ยม อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ดินทั่วไป น้ำ: น้อย-ปานกลาง แสงแดด: ตลอดวัน การใช้งานและอื่นๆ: ในธรรมชาติมักพบตามที่รกร้าง ริมทางในสวนและสนามหญ้าที่ค่อนข้างแห้ง เป็นสมุนไพร ใบ แก้บิด ท้องเสีย กลากเกลื้อน ต้นใช้แก้กระษัย ไตพิการ ขับปัสสาวะและบำรุงน้ำนม ยางสดทารักษาบาดแผล

เทียนดอย

ชื่อวิทยาศาสตร์: Impatiens violaeflora Hook.f. วงศ์: Balsaminaceae ประเภท: พืชล้มลุก /วัชพืช ความสูง: 20-40 เซนติเมตร ลำต้น: อวบน้ำ ใบ: รูปขอบขนานแกมรี ยาว 1.5-4 x 3-7 เซนติเมตร ปลายแหลมถึงเรียวแหลม   ดอก: เดี่ยว ออกตามซอกใบ สีชมพูแกมแดง มีกลีบรองดอก 5 กลีบ กลีบล่าง 1 กลีบ ยืดยาวเป็นจะงอยแหลม กลีบดอก 5 กลีบขนาดไม่เท่ากัน ปลายกลีบบนมักเว้าลึก ออกดอกฤดูฝน-ต้นฤดูหนาว ผล: สีเขียว เมื่อแก่แตกตามยาว ภายในมีเมล็ดเล็กๆ ดีดไปได้ไกล อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ดินทั่วไป น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: ตลอดวัน การใช้งานและอื่นๆ: ในธรรมชาติมักพบตามที่ชุมชื้นในป่าดิบหรือริมลำธาร ที่ระดับความสูง […]

ดาวเรืองป่า

ดาวเรืองภู ชื่อวิทยาศาสตร์: Anisopappus Chinensis Hook. Et Arn. วงศ์: Asteraceae ประเภท: พืชล้มลุก /วัชพืช ความสูง: 50-150 เซนติเมตร ลำต้น: ตั้งตรง ไม่ค่อยแตกกิ่งก้าน ใบ: เดี่ยว รูปขอบขนานแกมรูปรี ยาว 4-7 เซนติเมตร ปลายมน ขอบจักฟันเลื่อยหรือหยักมนไม่สม่ำเสมอ ใต้ใบมีขนหนาปกคลุม มีก้านใบสั้น ดอก: ดอกดาวเรือง ออกเป็นช่อ มักออกที่ปลายกิ่ง 2-4 ช่อ สีเหลืองสดใสคล้ายดอกทานตะวัน แต่ขนาดเล็กกว่า เส้นผ่าศูนย์กลางดอก 2-3 เซนติเมตร ออกดอกเดือนตุลาคม-กุมภาพันธ์ เมล็ด: รูปขอบขนานแคบ อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ดินทั่วไป น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: ตลอดวัน การใช้งานและอื่นๆ: ในธรรมชาติมักพบตามชายป่าผลัดใบ ริมทางเดิน ทุ่งหญ้าและป่าสน พบบนภูและดอยต่างๆ […]

ดอกฟ้า

ชื่อวิทยาศาสตร์: Rhynchoglossum obliquum Blume วงศ์: Gesneriaceae ประเภท: พืชล้มลุก อายุสั้น/วัชพืช ความสูง: 10-60 เซนติเมตร ลำต้น: ลำต้นและกิ่งก้านค่อนข้างอวบน้ำ ใบ: รูปไข่เบี้ยว ยาว 3-7 เซนติเมตร ปลายแหลมถึงเรียวแหลม โคนใบไม่เท่ากัน ดอก: ช่อดอกยาวเรียว ดอกย่อยเรียงด้านเดียวบนก้านช่อดอก และมักห้อยลง กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด สีฟ้าหรือฟ้าอมม่วง ตรงกลางพองออกเล็กน้อยแล้วบิดที่ปลาย ซึ่งแยกเป็นสองปาก มีขนละเอียดทั่วไป ออกดอกฤดูฝน-ฤดูหนาว อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ดินร่วยซุย ระบายน้ำดี มีอินทรียวัตถุสูง น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: ตลอดวัน การใช้งานและอื่นๆ: ในธรรมชาติมักพบตามพื้นหินหรือดินที่ชุ่มชื้น ใกล้น้ำตกหรือลำธารในป่าดิบชื้น ทางภาคเหนือ ภาคกลางและภาคใต้ ปลูกเป็นไม้ประดับได้

ดอกดิน

 ชื่อวิทยาศาสตร์: Aeginetia indica Roxb. วงศ์: Orobanchaceae ประเภท: พืชกาฝาก* อายุหลายปี ความสูง: 10-40 เซนติเมตร ลำต้น: เป็นปมเล็กๆ ใต้ดิน ขึ้นบนรากพืชอื่น ใบ: ไม่มีใบและไม่มีคลอโรฟิลล์ ดอก: ก้านดอกสีขาวอมเหลืองหรือขาวปนแดงเรื่อถึงม่วงดำ หรือเป็นลายประตามยาว ผิวก้านเป็นร่องเล็กๆ ตามยาว ส่วนปลายก้านแผ่ออกเป็นกาบหุ้มดอกรูปไข่ ปลายแหลมและโค้งงอลง ดอกรูปถ้วยหรือเป็นหลอดกว้าง ด้านในสีม่วงแดงหรือม่วงเข้ม ด้านนอกสีขาวอมม่วง ผล: แห้งและแตก มีเมล็ดสีเหลืองอ่อน อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ดินทั่วไป น้ำ: ปานกลาง-มาก แสงแดด: ร่ม-รำไร การใช้งานและอื่นๆ: ดอกดินเป็นพืชกาฝากของพืชวงศ์หญ้าและวงศ์ขิงบางชนิด พบตามพื้นที่ชุ่มชื้น บางครั้งพบในแปลงเพาะปลูก มักขึ้นเป็นกลุ่มในบริเวณเดียวกัน พบทุกภาคของไทย ดอกสดและแห้งให้น้ำสีม่วง ใช้แต่งสีอาหารและขนม Note พืชกาฝาก คือพืชที่ดูดธาตุอาหารจากพืชอื่นๆ ที่มันขึ้นอยู่ มีความหมายเหมือนกับพืชเบียนหรือปรสิต

ชะมด

กระทงหมาบ้า/เก็งเต็งป่า/พายป่า/มะดาดดอย/ส้มกบ/ส้มฉิงเคลง/ส้มปูป่า/เส็งเคร็ง ชื่อวิทยาศาสตร์: Hibiscus surattensis L. วงศ์: Malvaceae ประเภท: พืชล้มลุก อายุหลายปี/วัชพืช ความสูง: 1-1.50 เมตร ลำต้น: ทุกส่วนมีขนและหนามเล็กๆ ใบ: รูปไข่กว้างถึงเกือบกลม เว้าเป็นพู 3-5 แฉก แคบ ขอบจักฟันเลื่อยไม่สม่ำเสมอ ดอก: เดี่ยวออกตามซอกใบ มีก้านดอกสั้นๆ ริ้วประดับสีเขียว กลีบเลี้ยงสีเขียว 5 กลีบ กลีบดอกสีเหลือง โคนกลีบสีแดงเข้ม 5 กลีบ ดอกบานเป็นรูปถ้วยกลมค่อนข้างแบน ออกดอกฤดูหนาว ผล: แก่แห้งและแตก เมล็ดจำนวนมาก อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ดินทั่วไป น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: ตลอดวัน การใช้งานและอื่นๆ: พบตามริมทางหรือถนนที่รกร้าง พบมากทางภาคเหนือลงมาภาคกลางและภาคใต้

จิ้มกุ้ง

ผักจิ้มกุ้ง หญ้าบั้ง ชื่อวิทยาศาสตร์: Lactuca parishii Craib วงศ์: Asteraceae ประเภท: พืชล้มลุก อายุหลายปี/วัชพืช ความสูง: 1-1.50 เมตร ลำต้น: รากอวบหนาคล้ายเหง้า แตกกิ่งที่โคนต้นไม่มาก มีน้ำยางขาวข้นคล้ายน้ำนม ใบ: รูปแถบถึงใบหอก ยาว 10-18 ซม. ขอบใบหยักลึกหรือเว้าเป็นพู โคนสอบแคบและยาว ยื่นเป็นติ่งหู ดอก: ช่อดอกใหญ่ มีดอกย่อยจำนวนมาก ใบประดับซ้อนกัน 2-3 ชั้น สีเขียวปนแดง กลีบดอกสีขาวอมชมพู เกสรเพศผู้สีชมพู ดอกมีกลิ่นหอม ออกดอกฤดูหนาว-ฤดูร้อน เมล็ด: มีกระจุกขนสีขาวที่ปลาย ช่วยให้ปลิวไปกับลม อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ดินทั่วไป น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: ตลอดวัน ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด การใช้งานและอื่นๆ: พบตามริมทางหรือชายป่าผลัดใบ พบมากทางภาคเหนือ

ขี้อ้น

ขอบจักรวาล/ครอบจักรวาล/คืนหน/แสงอาทิตย์/หัสคุณดอกแดง ชื่อวิทยาศาสตร์: Pavonia rigida (Wall. ex Mast.) Hochr. วงศ์: Malvaceae ประเภท: ไม้พุ่ม/วัชพืช ความสูง: 30-100 เซนติเมตร ลำต้น: ตั้งตรงหรือทอดเอนไปตามพื้นดิน มีขนรูปดาวทั่วไปทั้งลำต้นและใบ ต้นที่อยู่กลางแจ้งมักมีสีแดงเรื่อ ใบ: รูปไข่ถึงรูปหัวใจ หรือรูปโล่ ยาว 3-8 เซนติเมตร ขอบจักฟันเลื่อย ดอก: เป็นช่อกระจุกตามซอกใบและปลายกิ่ง มีริ้วประดับรูประฆังปลายแยก 5 แฉก กลีบดอกรูปไข่ถึงเกือบกลม สีชมพูอ่อน ชมพูปนม่วงแดงเรื่อ หรือชมพูแดง ออกดอกตลอดปี ผล: กลมแป้น ผิวเกลี้ยง แบ่งเป็น 5 พู เมื่อแก่แห้งและแตก อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ดินทั่วไป น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: ตลอดวัน การใช้งานและอื่นๆ: พบตามริมทาง ชายป่าผลัดใบ พบมากทางภาคเหนือและอิสาน […]

กุง

หญ้าขนไก่ ชื่อวิทยาศาสตร์: Xyris pauciflora Willd. วงศ์: Xyridaceae ประเภท: ไม้ล้มลุก อายุสั้น/วัชพืช ความสูง: 10-30 เซนติเมตร ลำต้น: แตกใบเป็นกอ ใบ: คล้ายใบหญ้า รูปแถบแคบขนาด 0.5-3×5-25 เซนติเมตร แผ่นใบแบนเรียบ มักมีปุ่มเล็กด้านบน สีเขียวสด ดอก: เป็นช่ออยู่ที่ปลายก้านสีเขียว ยาวตรง เป็นเหลี่ยมหรือเป็นเส้นเล็กๆ ตามยาว ใบประดับสีน้ำตาลหรือน้ำตาลอ่อนซ้อนกันเป็นช่อกลมรี ยาวประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร ดอกเล็กๆ สีเหลืองออกจากซอกกาบใบ มี 3 กลีบ ปลายกลีบจักแหลม เกสรเพศผู้สีเหลืองจำนวนมาก ออกดอกเดือนกรกฎาคม-กุมภาพันธ์ อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ดินปนทราย น้ำ: ปานกลาง -มาก แสงแดด: ตลอดวัน การใช้งานและอื่นๆ: พบตามที่ชื้นแฉะในทุ่งหญ้าโล่ง และลานหินทราย ตั้งแต่ระดับน้ำทะเลถึงความสูง 1300 เมตร […]

หญ้า ไม่ได้ไร้ค่าอย่างที่คิด

แต่ก่อนนี้ เวลาที่นั่งรถไปนอกๆ เมือง เราจะพบทุ่งรกร้างตามริมทาง ที่มีต้นหญ้าขึ้นปกคลุมมากมาย มาวันนี้เมืองขยายตัวออกไปมาก พื้นที่รกร้างกลายเป็นตึกรามบ้านเรือน ต้นหญ้า ดอกหญ้า หรือวัชพืชที่เคยชูช่อก็เริ่มหายไป หากคุณเคยเป็นเด็กที่วิ่งเล่นตามร่องสวน หรือสนามหญ้าเล็กๆ ที่โรงเรียน คุณต้องเคยเก็บหญ้าหงอนไก่มาตีกัน หรือมีเมล็ดหญ้าเจ้าชู้ติดตามเสื้อผ้า และอาจเคยเดินผ่านดงต้นสาบเสือ ซึ่งมีกลิ่นฉุน เมื่อเอ่ยคำว่า “หญ้า” เราก็มักให้คำจำกัดความว่าเป็นต้นไม้ไร้ค่า ที่ขึ้นรกเรื้อในพื้นที่ว่างเปล่า หรือแปลงเพาะปลูกพืชผลต่างๆ ซึ่งจริงๆ ควรเรียก “วัชพืช” มากกว่า เพราะในทางพฤกษศาสตร์ให้คำจำกัดความของ “หญ้า” ว่าหมายถึง พืชวงศ์หญ้าหรือวงศ์ Poaceae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับข้าวและไผ่  หลายคนรู้จักหญ้าหลายชนิดนิยมใช้ในการจัดสวน เช่น หญ้านวลน้อย หญ้ามาเลเซีย หรือแม้แต่หญ้าแพรก ที่เราใส่ไว้ในพานไหว้ครู ส่วนหญ้าอื่นๆ เช่น หญ้าคา หญ้าเจ้าชู้ เรามักจะคิดว่าไม่มีประโยชน์ ดังนั้น  “วัชพืช” หรือหญ้าในความหมายของคนทั่วไป จึงประกอบด้วยพืชหลายวงศ์ด้วยกัน อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า คนทั่วไปมองว่า หญ้าหรือวัชพืช เป็นพืชไร้ค่า จนมีคำเปรียบเปรยว่า “รกคนดีกว่ารกหญ้า”  ที่คนทั่วไปคิดเช่นนั้นก็เพราะไม่มีความรู้ในเรื่องหญ้าหรือวัชพืชดีพอ ความจริงแล้ว หญ้าหลายชนิดที่เราคิดว่าไร้ค่านั้น เป็นอาหารทั้งคนและสัตว์ เช่น […]

หญ้า ไม่ได้ไร้ค่าอย่างที่คิด

แต่ก่อนนี้ เวลาที่นั่งรถไปนอกๆ เมือง เราจะพบทุ่งรกร้างตามริมทาง ที่มีต้นหญ้าขึ้นปกคลุมมากมาย มาวันนี้เมืองขยายตัวออกไปมาก พื้นที่รกร้างกลายเป็นตึกรามบ้านเรือน ต้นหญ้า ดอกหญ้า หรือวัชพืชที่เคยชูช่อก็เริ่มหายไป หากคุณเคยเป็นเด็กที่วิ่งเล่นตามร่องสวน หรือสนามหญ้าเล็กๆ ที่โรงเรียน คุณต้องเคยเก็บหญ้าหงอนไก่มาตีกัน หรือมีเมล็ดหญ้าเจ้าชู้ติดตามเสื้อผ้า และอาจเคยเดินผ่านดงต้นสาบเสือ ซึ่งมีกลิ่นฉุน เมื่อเอ่ยคำว่า “หญ้า” เราก็มักให้คำจำกัดความว่าเป็นต้นไม้ไร้ค่า ที่ขึ้นรกเรื้อในพื้นที่ว่างเปล่า หรือแปลงเพาะปลูกพืชผลต่างๆ ซึ่งจริงๆ ควรเรียก “วัชพืช” มากกว่า เพราะในทางพฤกษศาสตร์ให้คำจำกัดความของ “หญ้า” ว่าหมายถึง พืชวงศ์หญ้าหรือวงศ์ Poaceae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับข้าวและไผ่  หลายคนรู้จักหญ้าหลายชนิดนิยมใช้ในการจัดสวน เช่น หญ้านวลน้อย หญ้ามาเลเซีย หรือแม้แต่หญ้าแพรก ที่เราใส่ไว้ในพานไหว้ครู ส่วนหญ้าอื่นๆ เช่น หญ้าคา หญ้าเจ้าชู้ เรามักจะคิดว่าไม่มีประโยชน์ ดังนั้น  “วัชพืช” หรือหญ้าในความหมายของคนทั่วไป จึงประกอบด้วยพืชหลายวงศ์ด้วยกัน อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า คนทั่วไปมองว่า หญ้าหรือวัชพืช เป็นพืชไร้ค่า จนมีคำเปรียบเปรยว่า “รกคนดีกว่ารกหญ้า”  ที่คนทั่วไปคิดเช่นนั้นก็เพราะไม่มีความรู้ในเรื่องหญ้าหรือวัชพืชดีพอ ความจริงแล้ว หญ้าหลายชนิดที่เราคิดว่าไร้ค่านั้น เป็นอาหารทั้งคนและสัตว์ เช่น […]