สุนัขไม่ชอบเข้าสังคม แก้ไขได้อย่างไร

เจ้าของหลายท่านอาจะกำลังประสบปัญหา สุนัขไม่ชอบเข้าสังคม ซึ่งเมื่อเราพาพวกเขาออกไปข้างนอกบ้านแล้ว สุนัขมักจะแสดงนิสัยก้าวร้าวกับสุนัขด้วยกัน หรือกับคนแปลกหน้า จากข้อมูลในปัจจุบันที่เผยแพร่กันบนโลกออนไลน์ ข้อมูลจากหลายแหล่งได้แนะนำว่า สุนัขไม่ชอบเข้าสังคม สามารถแก้ไขได้โดยพาพวกเขาออกไปพบปะกับหมาตัวอื่นบ่อย ๆ ก็จะสามารถช่วยแก้ไขพฤติกรรมนี้ได้ ในความเป็นจริง ตามหลักพฤติกรรมสัตว์เลี้ยงแล้ว หากเจ้าของพาสุนัขที่ไม่ชอบเข้าสังคม ออกไปพบเจอกับสุนัขตัวอื่นเยอะ ๆ บ่อย ๆ แล้วจะแก้ปัญหาพฤติกรรมนี้ได้ จริงหรือ วันนี้ เรามาหาคำตอบไปพร้อมกันครับ เจ้าของควรทำความเข้าใจพฤติกรรมของสุนัข ตามหลักการศึกษาพฤติกรรมสัตว์เลี้ยง เมื่อเราให้สุนัขเจอกับสิ่งที่พวกเขาไม่ชอบซ้ำ ๆ เพื่อหวังจะให้การตอบสนองต่อสิ่งเร้าลดลง เรียกว่า ความเคยชิน หรือ Habituation ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ สิ่งเร้านั้นไม่ได้มีความรุนแรงมากในมุมมองของสุนัข และไม่ได้ทำให้เกิดอันตราย หรือบาดเจ็บต่อสุนัข รวมไปถึง สุนัขเผชิญกับสิ่งเร้านั้นบ่อยครั้ง และสม่ำเสมอ ในทางกลับกัน ถ้าสุนัขต้องพบเจอกับสิ่งเร้าที่ไม่ได้มีความรุนแรงสูง เป็นสิ่งเร้าที่ทำให้สุนัขรู้สึกว่าเป็นอันตรายต่อชีวิต หรือเป็นสิ่งที่ไม่มีความรุนแรง แต่สุนัขคาดเดาไม่ได้ รวมถึงถ้าสุนัขไม่ได้พบเจอกับสิ่งเร้านั้นเป็นระยะเวลาที่ยาวนานเพียงพอ สิ่งกระตุ้นเหล่านี้จะส่งผลให้สุนัขเกิดภาวะที่เรียกว่า Sensitization หรือไวต่อสิ่งเร้า ซึ่งแตกต่างกับพฤติกรรมความเคยชิน หรือ Habituation เมื่อสุนัขเกิดภาวะ Sensitization สุนัขจะไวต่อการกระตุ้นจากสิ่งเร้าภายนอกมากขึ้น กล่าวคือ เมื่อเจ้าของพาสุนัขออกไปพบเจอกับสิ่งเร้าที่ไม่คุ้นเคยบ่อย […]

การให้ทางเลือกกับสัตว์เลี้ยง

การให้ทางเลือกกับสัตว์เลี้ยง เป็นเรื่องพื้นฐานที่สัตว์เลี้ยงทุกตัวจะมีคุณภาพชีวิตที่ดี ผ่านการเลี้ยงดูที่ถูกต้อง และความเข้าใจจากเจ้าของ แน่นอนครับว่าเราทุกคนย่อมต้องการทางเลือกในการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใหญ่ๆ อย่างเลือกอาชีพ การงาน ไปจนถึงเรื่องเล็กๆ อย่างเลือกที่จะกินอะไร คุยกับใคร ไปไหน ไปยังไง เป็นต้น สัตว์เลี้ยงก็เช่นกัน การให้ทางเลือกกับสัตว์เลี้ยง เป็นวิธีหนึ่งที่พวกเขาจะได้แสดงออกตามสัญชาตญาณ ลองคิดดูเล่นๆ ครับ ว่าถ้าชีวิตเราปราศจากทางเลือกอย่างสิ้นเชิง เราจะรู้สึกยังไง? ทางเลือกเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก ๆ สำหรับสิ่งมีชีวิตทุกชนิด การมีทางเลือกจะทำให้เรามีความรู้สึกว่าสามารถที่จะควบคุมชีวิตตัวเองได้ (sense of control) ซึ่งมีงานวิจัยหลายชิ้นที่แสดงให้เห็นว่าคนที่มีความรู้สึกว่าตัวเองมีทางเลือก จะมีสุขภาพที่แข็งแรง และหายป่วยจากโรคภัยต่าง ๆ ได้เร็วกว่าคนที่รู้สึกว่าตัวเองเลือกอะไรไม่ได้เลย นอกจากนี้ยังพบว่า ในคนที่รู้สึกว่าตัวเองเลือกอะไรไม่ได้จะมีโอกาสเกิดความเครียด ความวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้าได้มากกว่าคนที่มีทางเลือกในชีวิต ปัจจุบัน ความรู้สึกว่าเราสามารถควบคุมสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตได้มากน้อยเพียงใด จึงมักถูกนำมาใช้เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดที่สำคัญของการมีคุณภาพชีวิตที่ดี สำหรับการศึกษาพฤติกรรมสัตว์พบว่า ถ้าสัตว์เลี้ยงไม่สามารถควบคุมสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเองได้ จะส่งผลเชิงลบต่อจิตใจเป็นอย่างมาก และถ้าความรู้สึกดังกล่าวเกิดขึ้นต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ๆ สัตว์เลี้ยงอาจเกิดสภาวะที่คล้ายคลึงกับอาการซึมเศร้าในมนุษย์ และอาจถึงขั้นไม่สามารถทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ตามปกติ เช่น ไม่สามารถแย่งกินอาหารกับตัวอื่น หรือมีปัญหาในการเข้าสังคม เป็นต้น […]

วิธีการฝึกสุนัขโดยใช้สิ่งที่สุนัขไม่ชอบ

จากบทความที่ผ่านมา เราได้อธิบายเกี่ยวกับ การฝึกสุนัขโดยการใช้รางวัล ไปแล้ว ในบทความนี้ ผมขอแนะนำให้ทุกท่านรู้จักกับวิธีการฝึกสุนัขรูปแบบอื่น ๆ กันบ้าง นั่นคือ การฝึกสุนัขโดยใช้สิ่งที่สุนัขไม่ชอบ แนวทางที่เรากำลังจะไปเรียนรู้กันวันนี้ เรียกว่า Aversive-based training เป็น การฝึกสุนัขโดยใช้สิ่งที่สุนัขไม่ชอบ เพื่อให้สุนัขแสดง หรือไม่แสดง พฤติกรรมที่เราต้องการ แล้วจึงนำสิ่งที่สุนัขไม่ชอบออกจากกระบวนการฝึก  ยกตัวอย่างเช่น การลงโทษสุนัข เมื่อพวกเขาแสดงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ โดยการลงโทษสามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น การใช้เสียงดัง การใช้แรง หรือการใช้การแสดงใด ๆ ที่มุ่งให้สุนัขรู้สึกไม่ชอบ หรือกลัว การฝึกด้วยแนวทางนี้มักเกี่ยวข้องกับการบังคับสัตว์ ไม่ให้ทางเลือก ซึ่งเป็นสิ่งที่จะก่อให้เกิดผลเสียต่อสวัสดิภาพของสัตว์เลี้ยง จนอาจทำให้เกิดเป็นปัญหาทางจิตใจอื่น ๆ ตามมา  มีการศึกษาวิจัยพบว่า สุนัขที่ถูกฝึกด้วยวิธีการลงโทษ มักแสดงพฤติกรรมที่บ่งบอกถึงความเครียด และมีแนวโน้มที่จะแสดงปัญหาพฤติกรรมต่าง ๆ เช่น ปัญหาความก้าวร้าว ปัญหาพฤติกรรมที่เกิดจากความระแวง ตลอดจนปัญหาการขับถ่ายไม่เป็นที่ภายในบ้าน สูงกว่าสุนัขที่ถูกฝึกด้วยวิธีการให้รางวัล  นอกจากนี้ สุนัขที่ถูกฝึกด้วยวิธีการดังกล่าว จะมีปริมาณฮอร์โมนความเครียด (Cortisol) สูงกว่าสุนัขที่ถูกฝึกด้วยการให้รางวัล รวมไปถึง การฝึกสุนัขด้วยวิธีที่มีการเผชิญหน้า และท้าทาย […]

วิธีฝึกสุนัข มีแนวทางหรือรูปแบบใดบ้าง

วิธีฝึกสุนัข แบบ Reward-based training หรือการฝึกโดยใช้รางวัล ปัจจุบัน เราจะพบว่า มีแหล่งข้อมูลต่าง ๆ บนสื่อออนไลน์เผยแพร่ วิธีฝึกสุนัข มากมาย ทั้งจากโรงเรียน และสถานที่ฝึกสอนสุนัข โดยครูฝึกแต่ละคนต่างก็มีแนวทางการฝึกเป็นของตัวเอง และดูเหมือนว่า ปัจจุบันจะเกิดแนวทางการฝึกสุนัขหลากหลายแนวทางมาก  อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงแล้ว การฝึกสุนัขตามหลักการดั้งเดิม พบว่ามีแนวทาง 2 รูปแบบได้แก่ การฝึกโดยใช้รางวัล หรือ Reward-based training และการฝึกแบบลงโทษ หรือ Aversive-based training  ในปัจจุบัน ครูฝึกสุนัขบางท่านได้พัฒนาแนวทางฝึกจนทำให้เกิดเป็นแนวทางที่สามขึ้นมา นั่นก็คือการฝึกแบบ Balance หรือการผสมผสานแนวทางการฝึกโดยใช้รางวัลและการลงโทษ สำหรับในบทความนี้ หมอจะอธิบายถึงการฝึกด้วยแนวทางการให้รางวัล หรือ Reward-based training ว่ามีข้อดีและข้อควรระวัง อย่างไร เรามาดูรายละเอียดไปพร้อม ๆ กันครับ สร้างแรงจูงใจเชิงบวก โดยไม่ทำให้สุนัขรู้สึกกลัว การฝึกโดยใช้หลัก Reward-based ผู้ฝึกจะไม่ลงโทษสุนัข ไม่บังคับ และไม่ใช้ความรุนแรง เพื่อทำให้สุนัขรู้สึกกลัว  หัวใจสำคัญของการฝึกคือ […]

อุปกรณ์สัตว์เลี้ยง เพื่อน้องหมาน้องแมวสุขภาพดี

อยากเลี้ยงน้องหมาน้องแมวทั้งที เตรียม อุปกรณ์สัตว์เลี้ยง พร้อมหรือยัง? เพราะไม่ว่าจะกิน นอน ขับถ่าย หรือวิ่งเล่นก็ล้วนส่งผลต่อสุขภาพของน้องหมาน้องแมวทั้งนั้น เจ้าของจึงต้องเตรียมพื้นที่และ อุปกรณ์สัตว์เลี้ยงเพื่อสุขภาพ ที่ดีให้น้อง ๆ ได้ใช้ชีวิตอย่างเป็นสุขในทุกมิติ ครั้งนี้เรามีทริกสำหรับฝึกสัตว์เลี้ยงให้กิน นอน ถ่าย ให้เป็นที่เป็นเวลามาฝาก จะได้แฮปปี้กันทั้งคนและสัตว์เลี้ยงเลย กินอิ่มเต็มพุง พื้นฐานอันดับแรกของสุขภาพที่ดีคือ การกิน เมื่อสัตว์เลี้ยงได้รับโภชนาการอย่างถูกต้อง ร่างกายก็จะเติบโตแข็งแรงสมส่วน เราควรฝึกให้น้องหมาน้องแมวกินเป็นเวลาจะได้ไม่อ้วนตุ๊ต๊ะจนเป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยใช้อุปกรณ์สัตว์เลี้ยงเพื่อสุขภาพมาเป็นตัวช่วย สำหรับน้องหมา – ควรกำหนดเวลาให้อาหารประมาณ 2 มื้อต่อวัน ทริกฝึกให้กินเป็นเวลาโดยเทอาหารไว้ประมาณ 20 นาที หากสุนัขกินไม่หมด หรือไม่ยอมกิน ให้เก็บชามอาหารขึ้นทันที วิธีนี้เขาก็จะเริ่มเรียนรู้แล้วว่าต้องกินอาหารภายในเวลาที่กำหนด ไม่อย่างนั้นจะอดกิน เจ้าของเองก็ต้องใจแข็งไม่ให้อาหารนอกเวลาด้วยนะ  ส่วนน้องแมว – การให้อาหารแมวมีอยู่ด้วยกัน 2 วิธีหลัก ๆ เพราะนิสัยของแมวมักชอบกินทีละน้อย ๆ แต่บ่อยครั้ง จากสัญชาตญาณแมวที่อาศัยในธรรมชาติจะกินอาหารตลอด 24 ชั่วโมงหากมีอาหารเพียงพอ โดยพบพฤติกรรมการล่าและกินอาหารมากสุดที่ช่วงเวลารุ่งเช้าและพลบค่ำ เราสามารถเทอาหารใส่ชามทิ้งไว้ได้ตลอดเวลา ซึ่งวิธีนี้จะง่ายที่สุด เพราะไม่ต้องเทให้บ่อย […]

สา- มาริสา อานิต้า กับบทบาทของ ครูฝึกสุนัข

มาริสา อนิต้า กับการเป็น ครูฝึกสุนัข ที่เกิดขึ้นจากความรับผิดชอบในฐานะ เจ้าของสุนัขหนึ่งตัว

7 ขั้นตอน ฝึกลูกสุนัขที่บ้านด้วยตนเอง ในช่วง COVID-19

สวัสดีท่านผู้อ่าน ทุกท่านครับ ณ วันที่ผมเขียนบทความนี้ คนไทยเราก็ยังคงอยู่ในช่วง Social Distancing คือยังไม่ควรอยู่ใกล้กันจนเกินไป เพื่อป้องกันการติดต่อของเชื้อไวรัส COVID-19 ตามสโลแกนที่ว่า “โรคติดต่อ จะไม่ติดต่อ ถ้าเรา ไม่ติดต่อกัน” ฝึกลูกสุนัขที่บ้านด้วยตนเอง แต่สำหรับท่านที่กำลังเลี้ยงลูกสุนัข บางท่านที่พอจะศึกษามาบ้าง ก็อาจจะลำบากใจ เพราะในช่วงอายุของสุนัขนั้น วัยที่ควรจะปูพื้นพฤติกรรมให้ลูกสุนัขรู้สึกดีหรือคุ้นชินกับสิ่งแวดล้อมภายนอกตัวเขา เพื่อให้เขาโตขึ้นมาเป็นสุนัขที่มีจิตประสาทและอารมณ์เหมาะสม มันจำกัดอยู่แค่ประมาณช่วงอายุระหว่าง 3-20 สัปดาห์เท่านั้น หลักจากที่เลยวัยนี้ไปแล้ว ประตูแห่งการเปิดรับมันจะค่อย ๆ ปิดลง และหลายกรณีถ้าลูกสุนัขมีความรู้สึกที่ไม่ดีกับอะไรไปแล้ว มักจะติดไปจนโต สิ่งที่ทำได้คือการมาปรับแก้ไขซึ่งจะใช้เวลาในการแก้ไขจากให้รู้สึกไม่ดีกลับมาเป็นรู้สึกดีนานกว่า และหลายเคสอาจไม่สามารถแก้ไขให้สุนัขกลับมามีจิตประสาทหรืออารมณ์ที่ดีอย่างที่เขาควรจะเป็นได้ 100% ถ้าเทียบกับการได้ปูพื้นพฤติกรรมให้แต่เนิ่น ๆ ในช่วงอายุ 3-20 สัปดาห์ ฝึกลูกสุนัขที่บ้านด้วยตนเอง ซึ่งการปูพื้นฐานนี้ จะไม่เหมือนกับการฝึกเชื่อฟังคำสั่ง ที่เราสามารถฝึกให้สุนัขเรียนรู้ไปได้ตลอดชีวิตครับ ถ้าเรามีสิ่งจูงใจสุนัขที่แรงพอ (ไม่ว่าจะเป็นรางวัลที่สุนัขชอบ หรือการทำโทษที่สุนัขไม่ชอบ) ถ้าสิ่งจูงใจแรงพอ สุนัขจะทำตามเสมอ ไม่ว่าจะอายุในช่วงใด ดังนั้น การปูพื้นพฤติกรรมตั้งแต่ยังเป็นลูกสุนัขช่วงอายุตั้งแต่ 3-20 สัปดาห์ จึงมีความสำคัญมากครับ การเข้าสังคม […]

ระดับความดุของสุนัข !! ที่คุณต้องรู้ เพื่อความปลอดภัยในชีวิต

การเจอสุนัข “ดุ” นั้น เรามักเจอหรือประสบกันมาทุกท่าน แต่ ระดับความดุของสุนัข นั้น อยู่ในระดับไหน เรามาเรียนรู้กันครับ เผื่อในอนาคต ท่านผู้อ่านมีโอกาสได้เจอสุนัข “ดุ” จะได้ประเมินได้ว่า สุนัขตัวนั้น “ดุ” ในระดับไหน และควรทำอย่างไรกับสุนัขตัวดังกล่าวดี สำหรับ ระดับความดุของสุนัข บ้านและสวน Pets  สามารถแบ่งออกได้ 6 ระดับ ตามระดับความรุนแรงของการกัดโดย ดร. เอียน ดันบาร์ สัตวแพทย์นักพฤติกรรมสัตว์และครูฝึกสุนัขที่ได้รับปริญญาเอกด้านพฤติกรรมสุนัขโดยตรง ซึ่งมีประสบการณ์ในการสอนและปรับพฤติกรรมสุนัขมาเกือบ 40 ปี มาเผยแพร่ให้ทราบกัน ระดับ 1 : ระดับนี้เกิดจากความกลัว ความก้าวร้าว หรือความไม่พอใจของสุนัขต่อสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง จนหันมากัดเรา ซึ่งในระดับนี้เป็นแค่การ “แง่ง” ใส่มากกว่า การงับลงไปบนผิว หรือฟันยังไม่ได้สัมผัสผิว ระดับ 2 : ระดับนี้มีการสัมผัสของฟันต่อผิวหนัง แต่มักจะเกิดเป็นเพียงรอยขีดข่วน หรืออาจเกิดเลือดซิบ ๆ เท่านั้น โดยมักเกิดจากการขยับของฟันมาบาด หรือการขยับผิวหนังหนี […]

6 ขั้นตอนการฝึก เพื่อช่วยปรับพฤติกรรมสุนัขที่มีอาการกลัวเสียงฟ้าร้อง พลุ หรือ ประทัด

สุนัขที่มีอาการกลัวเสียงฟ้าร้อง มักเป็นสุนัขที่มีอารมณ์ไม่มั่นคง ขี้ระแวง ไม่ไว้ใจ มักจะกลัวเสียงแปลกๆ ที่ไม่คุนชินและเสียงที่ดังเกินไป

เหตุผลที่คุณควรพาสุนัขไปออกกำลังกาย

การพาสุนัขไปออกกำลังกาย ช่วยให้สุนัขมีสมาธิและช่วยให้ระบบเผาผลาญทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังช่วยสร้างความผูกพันระหว่างสุนัขและเจ้าของได้อีกด้วย

การฝึกสุนัขจำเป็นหรือไม่?

เรามักจะพูดอยู่เสมอว่า “สุนัขฉลาดกว่ามนุษย์ ไม่ต้องสร้างภาษามาพูดเยอะหรือมีกฎหมายมาควบคุม ใช้แค่เพียงสัญชาตญาณกับภาษากาย” หมายความเราต้องมองให้ออกว่าสุนัขต้องการจะสื่อสารอะไร หรือเราจะสื่อสารกับพวกเขาอย่างไร เพื่อให้เราเข้าใจเขาและเขาเข้าใจเรา การฝึกสุนัข จึงเป็นสิ่งที่จะมาช่วยให้เจ้าของและน้องหมาเข้าใจกันได้ดียิ่งขึ้น คนส่วนมากมักเข้าใจว่าสุนัขกระดิกหางทุกตัวเป็นมิตร แต่ไม่ได้สังเกตความเร็วหรือองศาของหางว่าตอนนั้นสุนัขอยู่ในอารมณ์ไหน เราควรจะเข้าไปเล่นด้วยหรือเปล่า เช่น ถ้ากระดิกหางเบา ๆ แปลว่าผ่อนคลาย แต่ถ้าตั้งขึ้น 90 องศา แล้วกระดิกเบา ๆ เหมือนแมว นั่นแสดงว่าสุนัขกำลังบอกเราว่า  “อย่ามายุ่งนะเว้ย !” หรือหากคุณเจอสุนัขก้มหัวลงต่ำเหมือนว่ายอมให้ลูบหัว อย่าเพิ่งแน่ใจแล้วปรี่เข้าไปทำความรู้จักเลย ขอให้ดูก่อนว่าไหล่ตั้งตรง ตัวเกร็ง หรือก้มมองต่ำเหมือนเวลาดูหนังโรคจิตที่มองแรงแถมตาลอยใส่ด้วยหรือเปล่า ไม่อย่างนั้นเราคงต้องให้เตรียมเงินไปเป็นค่าเย็บแผลกับฉีดยารอบสะดือได้เลย เพราะรับประกันว่า เขากัดแน่ ๆ แต่ถ้าสุนัขอ่อนน้อมและเป็นมิตรจริง ๆ ทั้งหัว หู ไหล่ ตา โครงสร้างขาจะไม่เกร็ง ซึ่งทางที่ดีคือควรเข้าหาสุนัขทุกตัวอย่างมีสติ หัดสังเกต และอย่าลืมทำอารมณ์ของตัวเองให้มั่นคงเข้าไว้ด้วย จะเห็นได้ว่าสุนัขมีรายละเอียดของท่าทางบางอย่างที่เราอาจจะมองข้ามหรือเข้าใจกันแบบผิด นอกจากนี้ อย่างที่บอกว่าสุนัขอ่านเราจากภาษากาย ที่มีพลังงาน เราก็ต้องอ่านเค้าจากภาษากาย มองให้ออกว่าสุนัขกำลังจะบอกอะไรเรา เพื่อป้องกันเหตุการณ์ที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น แล้วมาโทษตัวสุนัขว่าผิดเองฝ่ายเดียว ทั้งที่จริงคนเราเองกลับไม่มองให้ดี ๆ เสียก่อนต่างหาก […]

การสื่อสารระหว่างเจ้าของกับสัตว์เลี้ยง เมื่อต้องฝึกหรือทำโทษ

หลายบ้านที่เลี้ยงสัตว์อาจพบปัญหาจากพฤติกรรมที่ไม่เข้าที่เข้าทาง ซึ่งเราต้องมี การสื่อสาร ให้เค้ารู้ว่าเค้าไม่ควรทำหรือควรทำอะไรในบ้านบ้าง