ความรื่นรมย์ในบ้านตึกกลางเมืองที่ออกแบบไว้อย่างแยบยล

บ้านหลังนี้เป็นบ้านในที่ดินหน้าแคบเพียง 8 เมตร ตั้งอยู่ในย่านสาทรลึกเข้าไปในพื้นที่ที่ค่อนข้างเงียบสงบ แต่ด้วยลักษณะที่ดิน และความต้องการพื้นที่ใช้สอย การออกแบบให้บ้านหลังนี้มีลักษณะแบบตึกสูง 4 ชั้น จึงเป็นคำตอบ DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: INchan Atelier ด้วยฝีมือการออกแบบของ INchan Atelier บ้านหลังนี้ จึงไม่ใช่เพียงบ้านตึกหน้าแคบธรรมดา แต่ยังเต็มเปี่ยมไปด้วยสุนทรียะ และความรื่นรมย์ ผ่านการผสานธรรมชาติ และการสร้างองค์ประกอบของความเป็นบ้านให้สอดประสานไปในทุกพื้นที่อย่างลงตัว บ้านที่หายใจได้ เพราะการออกแบบบ้านที่มีลักษณะแคบลึกยาวเข้าไปถึงด้านในของที่ดินนั้น มักประสบกับการที่ลักษณะของผังการใช้งานจะมีช่องเปิดที่ด้านหน้า และด้านหลัง แต่สำหรับบ้านหลังนี้นั้น มีการคิดคำนึงถึงการสร้างช่องเปิดที่สอดคล้องไปกับการใช้งาน จากชั้นล่างที่เป็นส่วนต้อนรับ และพื้นที่ส่วนกลางของตัวบ้าน ผู้ออกแบบได้เลือกใช้พื้นที่หลังบ้านเป็นโต๊ะกลางที่สามารถใช้รับแขก และเป็นพื้นที่รับประทานอาหารได้ พื้นที่ส่วนนี้มีการเปิดพื้นที่โดยรอบเป็นสวนขนาดเล็กที่ริมบ้าน ได้ทั้งความสงบ และความร่มรื่น ประกอบกับการออกแบบพื้นที่ให้มีลักษณะเป็น Double Volume จึงทำให้พื้นที่ชั้นล่าง และชั้นลอยที่เป็นพื้นที่นั่งเล่นของบ้านหลังนี้มีความเชื่อมโยง และยังคงไว้ซึ่งปฏิสัมพันธ์ต่อกัน คำว่า “หายใจได้” นั้น ไม่ได้หมายถึงเพียงแต่การเปิดรับลมธรรมชาติเพียงเท่านั้น แต่จังหวะของมวลที่ว่าง ภายในบ้านจะช่วยลดความอึดอัดของการเป็นบ้านแบบอาคารหลายชั้นลง สร้างความรู้สึกสบายอย่างที่บ้านควรจะเป็นได้มากขึ้น นอกจากนี้ในชั้น 3 และ 4 ของบ้านหลังนี้ ที่เป็นพื้นที่ส่วนตัวอย่างห้องนอนนั้น […]

บ้านคอนกรีตเปลือย ที่สร้างจังหวะสอดประสานองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมให้รับกับบรรยากาศกึ่งเอาต์ดอร์อย่างลงตัว

DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: D KWA Architect บ้านคอนกรีตเปลือย หลังนี้ เป็น โฮม+ออฟฟิศ นั่นคือการมีพื้นที่สำนักงานอยู่ด้านหน้าบ้าน และตัวบ้านจริงจะซ่อนตัวอยู่หลังสำนักงานนั้นอีกที จึงทำให้บ้านหลังนี้มีบรรยากาศที่เงียบสงบ และมีความเป็นส่วนตัวที่สอดประสานกับองค์ประกอบกึ่งเอาต์ดอร์ภายในบริเวณบ้านได้อย่างน่าสนใจ #สำนักงานหน้าบ้านสะดวกธุรกิจสบายใจความเป็นส่วนตัวพื้นที่ด้านหน้าถูกออกแบบให้เป็นอาคารโกดัง และพื้นที่สำนักงานสำหรับผู้ที่มาติดต่อธุรกิจโดยเฉพาะ ซึ่งข้อดีของการวางตัวอาคารเช่นนี้คือความสะดวกในการเข้าถึง และสำนักงานนี้ยังทำหน้าที่เป็นเหมือนพื้นที่ Buffer ที่จะช่วยซ่อนความเป็นส่วนตัวของตัวบ้านเอาไว้ที่ด้านหลังอีกด้วย ซึ่งผลพลอยได้จึงทำให้การออกแบบพื้นที่ต่างๆภายในบ้าน สามารถมีพื้นที่ปฏิสัมพันธ์ที่โปร่ง โล่ง ได้มากขึ้นนั่นเอง #บ้านคอนกรีตเปลือยผสานความโมเดิร์นส่วนผสมที่ลงตัวระหว่างสัจจะวัสดุ ความดิบ และความเนี๊ยบ ที่จัดวางองค์ประกอบร่วมกันเอาไว้อย่างน่าสนใจ ส่วนที่เป็นพื้นที่ใช้งานนั้นจะเป็นผนังฉาบเรียบขาว และไม้สีอ่อนที่ดูเรียบร้อย น่าสัมผัส แต่ในมุมที่ใกล้กับธรรมชาติหรือพื้นที่ภายนอกนั้น จะเริ่มใช้องค์ประกอบที่ปล่อยเปลือยผิววัสดุ หยาบกร้าน แต่งดงาม คล้ายเป็นการสร้างบทสนทนาที่เชื่อมโยงความเป็นสถาปัตยกรรมให้ค่อยๆเปลี่ยนไปสู่วัสดุตามธรรมชาติที่มีเสน่ห์ในร่องรอย และกาลเวลา #การเชื่อมโยงพื้นที่ด้วยระนาบ และมุมมองจากโถงทางเข้านั้น เราจะรู้สึกถึงการเป็นห้องระนาบที่วางตัวจากหน้าบ้านสู่หลังบ้าน ก่อนจะมีการเปลี่ยนถ่ายระดับที่ส่วนทานอาหาร ในส่วนนี้ ระนาบของห้องนั่งเล่นที่วางตัวขวางกับแกนทางเข้าจะทำหน้าที่เชื่อมโยงเข้ามาเป็นอีกพื้นที่ที่มีมวลพื้นที่สร้างให้เกิดความรู้สึกที่หยุดนิ่ง เพดาน Double Volumn ในห้องนั่งเล่นนั้น ทำงานร่วมกับระนาบของทางเข้าที่แตกต่างกันทั้งวัสดุ และ Volume ของพื้นที่ได้อย่างดี เมื่อเราเดินเข้ามาถึงพื้นที่ภายใน ความรู้สึกของการ “พักผ่อน” จะเป็นสิ่งแรกที่เรานึกถึง แต่ในขณะเดียวกันเมื่อเราเอนตัวลงนั่งบนโซฟา ชายคา และระนาบแนวนอนที่ต่อเนื่องไปทั้งอาคารจะสร้างความรู้สึกเชื่อมโยงออกไปสู่สระว่ายน้ำ […]

Wongar บาร์ลับ บนชั้น 8 ย่านอารีย์ ที่ใส่ใจในบรรยากาศเป็นกันเอง ด้วยวิวเมือง และงานศิลปะ

งานออกแบบในพื้นที่แห่งนี้ เลือกใช้วัสดุที่คุ้นชินอย่างคอนกรีตเปลือย และสังกะสี เป็นเหมือนแบ็คกราวน์ของพื้นที่ มีการเลือกใช้หินสีเขียวในส่วนบาร์เพื่อสร้างความแตกต่าง และเน้นความสำคัญให้กับพื้นที่ จากนั้นส่วนที่มีอิทธิพลต่อพื้นที่มากที่สุดกลับเป็นกล่องแสงเหนือบาร์ที่สามารถเปลี่ยนสีเพื่อย้อมบรรยากาศให้กับพื้นที่ได้ในโอกาสต่าง ๆ กัน เข้ากับความตั้งใจที่จะทำให้บาร์แห่งนี้เป็นมากกว่าแค่พื้นที่รับประทานอาหาร แต่คือความเป็นไปได้ในการสร้างพื้นที่สังคมของคนที่ชอบศิลปะ และได้พบปะกับคนที่น่าสนใจในแนวทางเดียวกัน ด้วยเพราะเหล่าหุ้นส่วนของร้านก็เป็นนักออกแบบกราฟิกที่ตั้งออฟฟิศอยู่ติดกับร้านแห่งนี้นั่นเอง การเลือกใช้วัสดุที่คุ้นชินนั้น เป็นการเชื่อมโยงบรรยากาศเป็นกันเองของความเป็น “ร้านอาหารแบบไทยสตรีทฟู้ด” สู่ “บาร์ลับลอยฟ้าสไตล์ญี่ปุ่น” ให้เข้ากันอย่างแนบเนียน ข้อดีของวัสดุเหล่านี้คือช่วยให้แขกที่มาใช้บริการไม่รู้สึกเกร็ง ผ่อนคลาย และเป็นกันเอง ในขณะที่รายละเอียดของวัสดุอย่าง อิฐดินเผา บาร์หินจริง และการใช้วัสดุไม้ Plywood ก็เสริมรายละเอียดในบรรยากาศละเมียดแบบญี่ปุ่นเอาไว้ได้อย่างดี และนี่คือบาร์ที่ตั้งใจเป็นแหล่งรวมตัวหลังเลิกงาน ทั้งมานั่งทานอาหารเย็น หรือจะต่อยาวไปตลอดค่ำคืนกับ Vibe อันน่าสนใจของพื้นที่แห่งนี้ก็เข้าที ที่ตั้งWongarชั้น 8 โครงการ The Hub พหล-อารีย์พิกัด https://goo.gl/maps/Ldi1dM7uyUj5QjiZA?coh=178571&entry=ttเปิดวันอังคาร-พฤหัสบดี 17.00-23.00 น. และวันศุกร์-อาทิตย์ 17.00-24.00 น.โทร.08-4096-5551 ออกแบบ: space+craftภาพ: Thanapol Jongsiripipatเรียบเรียง: Wuthikorn Sut

บ้านตึก กลางเมือง เฟอร์นิเจอร์เก่าร่วมสมัยที่สานต่อเรื่องราวจากรุ่นสู่รุ่น

บ้านหลังนี้เกิดจากความต้องการในการสร้างพื้นที่ที่ครอบครัวของพ่อแม่ และลูกๆทั้ง 3 คน จะได้อยู่รวมกันในพื้นที่ที่เรียกว่า บ้าน ได้อย่างลงตัว แต่ด้วยทำเลที่ตั้งที่อยู่กลางเมืองในย่านพระราม 3 ทำให้การออกแบบนั้นต้องมีการคำนึงถึงข้อจำกัดทางกฎหมาย เพื่อนบ้าน สภาพแวดล้อม ไปจนถึงการตอบสนองต่อบรรยากาศแห่งสุนทรียะที่ บ้าน หลังหนึ่งพึงจะมีให้กับผู้อยู่อาศัยได้ #เฟอร์ฯเก่าในบ้านใหม่ โจทย์ข้อหนึ่งที่เป็นเหมือนคีย์สำคัญของการออกแบบบ้านหลังนี้เลยก็คือ การที่เจ้าของบ้านมีความตั้งใจที่จะนำเอาเฟอร์นิเจอร์จากบ้านเดิมที่สะสมเอาไว้ตั้งแต่รุ่นตายายมาใช้ต่อในบ้านหลังนี้ บรรยากาศร่วมสมัยของเฟอร์นิเจอร์ไม้สีเข้ม จึงทำให้การจัดวาง และเลือกใช้วัสดุภายในบ้านมีความสนใจมากขึ้นตามไปด้วย เฟอร์นิเจอร์หลายตัวนั้นถูกทำสีใหม่ โดยคำนึงถึงบรรยากาศดั้งเดิมไว้ให้มากที่สุด บางตัวถูกบุผ้าใหม่ บางตัวมีการย้อมสีใหม่ให้ลงตัวเข้ากันกับตัวอื่น และบางตัวก็ได้มีการปรับโทนสีให้ร่วมสมัยยิ่งขึ้น ข้อดีของเฟอร์นิเจอร์เก่าคือความที่เป็นไม้จริง วัสดุจริง มีความคงทนถาวร จึงทำให้สามารถซ่อมแซม หรือปรับปรุงให้สามารถไปต่อกับแนวทางการออกแบบสมัยใหม่ได้อย่างลงตัว อีกสิ่งที่เฟอร์นิเจอร์เก่าสามารถช่วยได้อย่างมากก็คือ บรรยากาศของความเป็นบ้าน ดังจะเห็นได้จากพื้นที่ห้องนั่งเล่นบนชั้น 3 ที่มีบรรยากาศอบอุ่นไม่ต่างจากบรรยากาศของบ้านเดี่ยวแบบดั้งเดิมเลยทีเดียว ทั้งยังสานต่อเรื่องราว ความทรงจำ ไปสู่สมาชิกครอบครัวรุ่นต่อไปได้อย่างดีอีกด้วย เคล็ดลับหนึ่งที่ PHTAA ได้ใช้กับการผสานเฟอร์นิเจอร์ทั้งหมดเข้ากับงานออกแบบร่วมสมัยของบ้านหลังนี้คือ การเลือกใช้วัสดุที่ให้สีสันออกไปทางโทนสีเบจ และน้ำตาล โทนสีในโทนพาสเทลนี้จะช่วยลดความแข็งของไม้สีเข้มลง สร้างความรู้สึกที่นุ่มนวลอบอุ่นให้กับพื้นที่ได้อย่างดีเลยทีเดียว หากใครมีเฟอร์นิเจอร์เก่าสีเข้มเช่น ไม้สัก ไม้แดง ลองนำเทคนิคนี้ไปใช้ก็น่าสนใจไม่ใช้น้อย #บ้านทรงกล่องที่ไม่กล่องจากภายใน จะเห็นได้ว่าบ้านหลังนี้ออกแบบให้เป็นทรงกล่อง ตามข้อบังคับกฎหมายอาคาร แต่ในชั้นที่ 3 […]

ปรับ พื้นที่ใต้บันได ให้เป็นมากกว่า ที่เก็บของ

พื้นที่ใต้บันได บ้านส่วนใหญ่มักเป็นพื้นที่สำหรับเก็บของ หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นพื้นที่สุมของเลยก็ว่าได้ ทุกครั้งที่มีข้าวของเข้าบ้านแต่ไม่มีที่วาง…

บ้านเยื้องทะเลสาบที่หลบเหลี่ยม รับวิว ธรรมชาติอย่างเป็นส่วนตัว

คล้ายบ้านใต้ถุนสูง แต่คือบ้านไทยในสไตล์โมเดิร์น ทั้งยังเปิด รับวิว ทะเลสาบได้อย่างไม่ทิ้งความเป็นส่วนตัวไปแม้แต่น้อย DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Physicalist บ้านหลังนี้ เป็นบ้านที่เหมือนกับอยู่ติดกับทะเลสาบ แต่กลับเป็นแนวเยื้องไม่ได้ติดกับทะเลสาบเสียทีเดียว การออกแบบเพื่อเชื่อมโยงเอาธรรมชาติเข้ามาสู่การอยู่อาศัยจึงเข้ามาสร้างความพิเศษให้กับบ้านหลังนี้ ทั้งยังเป็นตัวอย่างที่น่าสนใจขององค์ประกอบร่วมระหว่าง บ้านใต้ถุนสูงอย่างไทยเดิม และบ้านในยุคหนึ่งของไทยที่ตกแต่งด้วยสวนหย่อม และผนังหิน สำหรับผู้ที่ชื่นชอบบ้านในสไตล์ Thai-Modern บอกเลยว่าบ้านนี้ต้องโดนใจอย่างแน่นอน บ้านยกสูงอย่างไทยในจริตโมเดิร์นเมื่อครั้งน้ำท่วมใหญ่ บ้านเดิมนั้นได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม จึงทำให้การออกแบบใหม่ในครั้งนี้บ้านหลังจึงมีการยกสูงขึ้นไปให้พื้นที่พักอาศัยนั้นอยู่บนชั้นสอง ข้อดีก็คือสามรถรับวิวทะเลสาบได้โดยไม่ถูกบดบัง แต่การออกแบบให้สวยงามลงตัวก็เป็นอีกโจทย์ท้าทายของผู้ออกแบบ พื้นที่ชั้นล่างนั้น จะออกแบบให้เป็นลานโล่ง และห้องออกกำลังกาย และเมื่อเดินขึ้นสู่ชั้น 2 จึงจะกลายเป็นห้องรับแขกที่ดูคล้ายลอยตัวอยู่เหนือคอร์ตด้วยความบางเบา ด้วยการออกแบบโครงสร้างเหล็กในส่วนของห้องรับแขก และการเลือกใช้องค์ประกอบผนังหินที่ก่อตัวคล้ายเสารับน้ำหนักที่คอร์ตด้านล่างอาคาร ทำให้ชุดห้องที่ยื่นออกมาดูเบา และลงตัว นอกจากนี้ ห้องนอนทั้งหมดที่ชั้นบนยังหลบซ่อนอย่างเป็นส่วนตัวด้วยองค์ประกอบผนังซิกแซกที่ปิดมุมมองจากภายนอกทางหน้าบ้าน และเปิดมุมมองสู่ธรรมชาติวิวทะเลสาบที่ด้านหลังได้อย่างน่าสนใจ ผนังซิกแซกเปิดรับวิวอย่างเป็นส่วนตัวเมื่อต้องการรับวิวทะเลสาบ การเปิดรับวิวโดยไม่ทำให้ความเป็นส่วนตัวถูกรบกวน จึงออกมาเป็นผนังซิกแซกอย่างที่เห็น ผนังนี้จะมีช่องหน้าต่างในทิศที่หันออกไปสู่ทะเลสาบ แต่เมื่อมองมาจากถนนใหญ่ จะไม่สามารถมองเห็นด้านในของส่วนพักอาศัยได้ จึงทำให้ห้องนอนของบ้านหลังนี้ ได้ทั้งวิว ทั้งความเปิดโล่ง แต่ยังคงความเป็นส่วนตัวไว้ได้อย่างเต็มเปี่ยม ผลพลอยได้ของผนังซิกแซกนี้ คือการที่แสงที่ส่องผ่านเข้าสู่ภายในอาคาร กลายเป็นแสงแบบ Indirec Light ที่ดูนวลตา สร้างให้เกิดบรรยากาศสบาย ๆ ได้อีกทาง […]

SAI SAI CAFE คาเฟ่กลางมหาวิทยาลัย ที่พรางตัวไปกับธรรมชาติ

ใสใส วัยเรียนชอบ ก็ แน่นอนเพราะคาเฟ่แห่งนี้ตั้งอยู่กลางคณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง นั่นเอง และคาเฟ่แห่งนี้ก็ใสสมชื่อ เพราะทั่วทั้งร้านมีการตกแต่งด้วยกระจกเงา ทำให้ผนังภายนอกสะท้อนภาพของธรรมชาติ และแมกไม้ที่สวยงามดั่งคาเฟ่นั้นพรางตัวหายไป ความน่าสนใจคือคาเฟ่แห่งนี้ เดิมเป็นพื้นที่กลุ่มบ้านพักบุคลากรของสถาบันฯ ที่ก่อสร้างมาพร้อมกับ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ต่อมาเมื่อคณะฯ มีนักศึกษาเพิ่มมากขึ้นจำเป็นต้องขยับขยายพื้นที่ มายังบริเวณนี้ กลุ่มบ้านพักจึงค่อยๆ ถูกแทนที่ด้วยอาคารเรียนต่างๆ จนหลงเหลือมาถึงปัจจุบันเพียงสองหลัง พื้นที่โดยรอบบ้านพักทั้งสองหลังนี้มีสภาพเป็นพื้นที่รกร้างที่ถูกปกคลุมด้วยร่มไม้ขนาดใหญ่ อยู่ท่ามกลางกลุ่มอาคารเรียนที่มีนักศึกษาใช้งานจำนวนมาก เพื่อความปลอดภัยและการใช้พื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ ทีมออกแบบจึงมีแนวคิดในการพัฒนาพื้นที่บริเวณนี้ให้เป็นพื้นสาธารณะ แห่งใหม่ของนักศึกษา ไปเสียเลย เพื่อช่วยสร้างให้เกิดพื้นที่ทำให้เกิดการเรียนรู้และกิจกรรมนอกห้องเรียน โดยเชิญชวนให้เอกชนที่สนใจประมูลอาคารหลังนี้เพื่อพัฒนาเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ร่วมเสนอแนวทางในการปรับปรุงพื้นที่ เพื่อประกอบการพิจารณาในการคัดเลือก ในการพัฒนาพื้นที่ จำเป็นต้องเปลี่ยนการรับรู้ของผู้ใช้จากพื้นที่ที่ถูกมองว่าเป็นด้านหลัง ของคณะฯ ให้เป็นพื้นที่สาธารณะที่เอื้อให้ผู้คนเข้าไปใช้งาน จากอาคารเดิมที่ถูกออกแบบมาสำหรับพักอาศัยจึงต้องการการแบ่งพื้นที่ระหว่างภายในกับภายนอกที่ชัดเจน ทำให้เกิดพื้นที่ข้างหน้ากับพื้นที่ข้างหลังของอาคารที่แยกขาด เป็นอุปสรรคสำคัญในการเชื่องโยงพื้นที่รอบๆ เข้าด้วยกัน การออกแบบอาคารร้านกาแฟใสใสจึงเป็นเพียงการหาวิธีทำให้อาคารเลือนหายไปในหมู่ต้นไม้ และเปิดเผยพื้นที่ร่มรื่นด้านหลังอาคารออกมาให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ นำไปสู่การถอดผนังอาคารออกทั้งหมด เพื่อไม่ให้มีสิ่งกีดขวางมุมมองจากถนนหลักไปยังพื้นที่ว่างหลังอาคาร เปลี่ยนหลังคาเป็นวัสดุโปร่งใสให้แสงที่ส่องทะลุยอดไม้ตกกระทบพื้นเกิดเป็นภาพที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา ใช้การลวงตาด้วยกระจกสะท้อนเงาต้นไม้กับระนาบที่จำเป็นต้องปิดทึบ คงเหลือไว้แต่เส้นสายของโครงสร้างเพื่อระลึกถึงรูปลักษณ์เดิมที่เคยเป็นบ้านพักเจ้าหน้าที่ การจัดพื้นที่ใช้งานโดยจำกัดพื้นที่ที่จำเป็นต้องปิดล้อมให้มีขนาดเล็กที่สุดชั้นล่าง ซึ่งจะเป็นร้านค้า พื้นที่นั่ง พื้นที่เอนกประสงค์ที่รองรับความเป็นไปได้ในการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย โดยมีชั้นบนเป็นพื้นที่สำหรับจัดแสดงงานศิลปะด้วยเช่นกัน ออกแบบ: Studio of Architecture and […]

บ้านชั้นเดียว ในบุรีรัมย์ ที่มีฟังก์ชั่นเป็นห้องนั่งเล่นของครอบครัวใหญ่

บ้านชั้นเดียว ขนาดพอดีที่เน้นการใช้งานเป็นพื้นที่ส่วนกลางของครอบครัวใหญ่ที่จะใช้พื้นที่แห่งนี้เปรียบดั่งห้องนั่งเล่นของครอบครัว

เปิดตัวอะลูมิเนียมสีใหม่ สี Dusk Gray จาก TOSTEM ในงานสถาปนิก’66

TOSTEM เปิดตัวอะลูมิเนียมสีใหม่ Dusk Gray ฉลองครบรอบ 100 ปี เป็นสีที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากแสงช่วงเวลาพระอาทิตย์ยามพลบค่ำ

ขวดซอส Kikkoman’s Soy Sauce Dispenser ดีไซน์ที่ดี จนกลายเป็นเรื่องธรรมดา

ขวดซอส Kikkoman อาจไม่เคยอยู่ในสายตา เหมือนเราไม่รู้ตัวว่ากำลังหายใจ ขวดโชยุใส ๆ ใส่น้ำดำฝาสีแดงเป็นภาพที่เคยชินจนไม่ทันสังเกตแต่

บ้านกึ่งสำเร็จรูป จากกระดาษสำหรับผู้ประสบภัยพักอาศัยชั่วคราว

Shigeru Ban เผย ดีไซน์ บ้านกึ่งสำเร็จรูป จากกระดาษสำหรับผู้ประสบภัยใช้พักอาศัยชั่วคราว โดยสำหรับเหตุการณ์แผ่นดินไหว ซีเรีย-ตุรกี บ้านดังกล่าวได้รับการปรับปรุงใหม่อย่างน่าสนใจ

UNFOLDING BANGKOK งานแสดงแสงสีเสียงที่ สถานีรถไฟหัวลำโพง สถาปัตยกรรมสมัยเรอเนสซองอันทรงคุณค่า

สำหรับงานแสดงแสงสีเสียงที่ สถานีรถไฟหัวลำโพง สถาปัตยกรรมสมัยเรอเนสซองอันทรงคุณค่า ซึ่งเพิ่งผ่านพ้นไป room ไปเก็บภาพบรรยากาศมาให้ชม และนี่คือ 2 คืนสุดท้าย

ปัจจัยสี่คาเฟ่ ร้านกาแฟสระบุรี บ้านไม้กึ่งอิฐ ที่ตีความการใช้วัสดุ และโทนสี

ปัจจัยสี่คาเฟ่ ร้านกาแฟหน้าบ้านพริกแกง บ้านไม้กึ่งอิฐ ที่ตีความการใช้วัสดุ และโทนสีมาจากสีสันของพริกแกงและรูปลักษณ์ของครก

รางวัลนี้ไม่ได้ชื่อ Oscar หากแต่คือชื่อของตุ๊กตาทองที่ใครก็ใฝ่ฝันถึง และสรุปผล รางวัลออสการ์ ครั้งที่ 95

รางวัลออสการ์ คงปฏิเสธไม่ได้ว่า เมื่อพูดถึง “หนังรางวัล” เราก็จะต้องนึกถึงรางวัลตุ๊กตาทอง เป็นอันดับแรก ๆ เพราะเป็นรางวัลที่ยิ่งใหญ่

ALESSI JUICY SALIF ที่คั้นน้ำส้ม ทรงปลาหมึก โดย PHILLIPPE STARCK

Alessi Juicy Salif ที่คั้นน้ำส้ม โดย Phillippe Starck ที่เปลี่ยนจุดยืนของแบรนด์อุปกรณ์ครัวไปตลอดกาล

ส่องไอเท็มของ Nitori (นิโทริ) ร้านเฟอร์นิเจอร์ญี่ปุ่นจากฮอกไกโด แบรนด์ขวัญใจชาวอาทิตย์อุทัย

Nitori (นิโทริ) กำลังจะมาไทย ในเดือนมีนาคม แต่ไม่ใช่ปีนี้ เพราะปีหน้าเขามาแน่! ว่าแต่แบรนด์ NITORI ที่เขาว่าดีเด็ดฮิตสุดในญี่ปุ่นนั้นมีสไตล์เป็นอย่างไร?

“Strata Wall Panel” วัสดุตกแต่งผนังผลิตจากพลาสติกรีไซเคิลผสมกากกาแฟ

Strata Wall Panel ผสมกากกาแฟเกิดจากการเล็งเห็นโอกาสและอยากเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดปริมาณ ‘ขยะ’ จำนวนมหาศาลนี้จากคาเฟ่ ร้านกาแฟมากมาย

“Enviro Board” วัสดุทดแทนไม้จากขยะกล่องนม

ทางเลือกวัสดุทดแทนไม้ ที่ได้จากการรีไซเคิลกล่องนมจากการคัดกรอง ทำความสะอาด และป่นกล่องเครื่องดื่มเพื่อนำไปบีบอัดเป็น “Enviro Board”