เฟอร์นิเจอร์จากใย กัญชง อัด ทำเองได้ง่ายนิดเดียว สู่การใช้งานใหม่ที่หลากหลายยิ่งขึ้น

Hannah Segerkrantz นักศึกษาจาก Design Academy Eindhoven ประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้เลือกทำวิทยานิพนธ์ซึ่งต่อยอดวัสดุ Hempcrete หรือก้อนอิฐจากใยกัญชงอัด ให้กลายเป็นเฟอร์นิเจอร์ในหลากหลายการใช้งาน โดยมาพร้อมคุณสมบัติที่ทนทาน ปลอดภัย ใช้งานง่าย เข้ากับทุกการตกแต่ง ทั้งยังกันน้ำได้อีกด้วย ด้วยวิธีที่การเหมือนจะง่าย(แต่จริง ๆ แล้วไม่ง่ายเท่าไหร่) Hannah เลือกที่จะออกแบบเฟอร์นิเจอร์เหล่านี้จากรูปทรงพื้นฐานคล้ายรูปถ้วย 6 ขนาด ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะจำกัดขนาดของแม่พิมพ์ให้ไม่มากจนเกินไป รูปถ้วยเหล่านี้นอกจากจะเป็นรูปทรงที่มั่นคงแล้ว ยังสะดวกต่อการเข้าพิมพ์และแกะออกจากพิมพ์อีกด้วย พิมพ์ที่ใช้นั่นเป็นแม่พิมพ์ผ้าซึ่งใช้วิธีรัดเข้าให้พอดี จากนั้นจึงกรอกใยกัญชงที่ผสมน้ำแล้วลงไป และนำแม่พิมพ์สองชิ้นที่เลือกมาประกบกัน ด้วยวิธีการนี้เมื่อใยกัญชงจากทั้งสองพิมพ์เชื่อมติดกัน เราจะได้ผลลัพธ์คือเฟอร์นิเจอร์สำหรับการใช้งานที่แตกต่างกันถึง 15 แบบ ตั้งแต่เก้าอี้ทรงเตี้ย ไปจนถึงโต๊ะข้างทรงเตี้ย หรือแท่นวางของ Hannah ตั้งใจให้ HEMP-IT-YOURSELF เป็นวิธีการที่เปิดกว้างที่จะช่วยผลักดันให้ใครก็ตามที่ได้ทดลองได้ตระหนักถึงความเป็นไปได้จากวัสดุธรรมชาติ รวมทั้งคุณค่าของรูปทรงเรียบง่ายที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้ได้ร่วมออกแบบบรรยากาศโดยรอบของเฟอร์นิเจอร์เหล่านี้เอง สำหรับใครที่สนใจและอยากลองทำเฟอร์นิเจอร์จากใยกัญชงแบบ Hannah ดูบ้าง ลองเข้าไปศึกษาได้ที่ https://hannahsegerkrantz.com/hemp-it-yourself-process ข้อมูลเพิ่มเติม https://hannahsegerkrantz.com ภาพ: Luca Tichelman, Hannah Segerkrantzเรื่อง: Wuthikorn Sut […]

SOAPBOTTLE ขวดสบู่ที่ทำมาจากสบู่

ละลายจนหมด ไม่เหลือเป็นขยะ กับสบู่ที่มีขวดทำมาจากสบู่อีกที แนวคิดแหวกแนวที่ใช้ได้จริง SOAPBOTTLE เริ่มต้นจากการตั้งคำถามถึงบรรจุภัณฑ์ที่เราใช้กับสิ่งของในชีวิตประจำวันที่มักลงเอยกลายเป็นขยะอย่างเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นสบู่ ยาสระผม น้ำยาล้าง หรือที่เราเรียกรวม ๆ ว่าเป็น Daily Use Product เพราะใช้ทุกวันนั่นก็คือเรากำลังก่อขยะมากขึ้นในทุกวันนั่นเอง อีกทั้งบรรจุภัณฑ์สำหรับของเหลวเหล่านี้ก็เป็นเรื่องยากเหลือเกินที่จะทำขึ้นจากวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พูดง่าย ๆ คือ Recycle ได้ยากนั่นแหละ Jonna Breitenhuber จึงได้เริ่มต้นโครงการนี้เป็นวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทของเธอ ก่อนจะขยายผลโดยการร่วมทุนใน Kickstarter และด้วยผู้สนับสนุนที่มีแนวคิดรักษ์โลกเช่นเดียวกับเธอ SOAPBOTTLE จึงได้เริ่มต้นวางจำหน่ายจริงในที่สุด การออกแบบนั้นได้แนวคิดมาจากอุตสาหกรรมอาหาร ที่มักจะเห็นการบรรจุอาหารลงในสิ่งที่สามารถรับประทานได้ เช่น เนื้อในขนมปังกลายเป็นแฮมเบอร์เกอร์ หรือไอศกรีมที่นำไปใส่ในเวเฟอร์เป็นไอศกรีมโคน ความจริงแล้วทั้งขนมปังและเวเฟอร์นั้นเป็นบรรจุภัณฑ์แบบหนึ่ง และอันตรธานหายไปเมื่อเรารับประทานจนหมด ถ้าอย่างนั้นสำหรับผลิตภัณฑ์ความสะอาดส่วนตัว เราจะใช้วิธีเดียวกันได้หรือไม่? หลักการของ SOAPBOTTLE นั้นง่ายมาก คือ บรรจุผลิตภัณฑ์เหลวไว้ในขวดที่ทำมาจากผลิตภัณฑ์เดียวกันในเวอร์ชั่นที่คงรูปกว่า เมื่อต้องการใช้ก็เพียงตัดเปิดบรรจุภัณฑ์ที่มุมขวด จากนั้นก็สามารถจะเทของเหลวออกมาเมื่อต้องการใช้ SOAPBOTTLE มีคลิปสำหรับใช้ตัดและปิดฝาในตัวเองแยกจำหน่าย คลิปนี้สามารถนำกลับมาใช้อีกได้ตลอดไป จนเมื่อเราใช้ส่วนที่เป็นของเหลวจนหมด ก็สามารถนำเอาบรรจุภัณฑ์นั้นมาถูใช้เป็นเหมือนสบู่ก้อน(หรือยาสระผมแบบก้อน)ได้ต่อ สุดท้ายแล้วผลิตภัณฑ์เหล่านี้จึงไม่เหลือขยะใด ๆ เลยในที่สุด ปัจจุบัน […]

ร้านขายผัก ที่ออกแบบโดย Nendo มาเพื่อช่วยกระจายผลผลิตโดยตรงจากเกษตรกร

ร้านขายผัก หน้าตาเหมือนร้านค้าริมทางที่ขายผักคุณภาพดี แต่หน้าตาไม่ดี ช่วยเติมเต็มเศรษฐกิจให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ โปรเจ็กต์ ร้านขายผัก ริมทางเล็ก ๆ นี้ มีที่มาจากการมองเห็นปัญหาผักไม่สวย หรือแค่รูปร่างไม่ได้มาตรฐาน มักต้องกลายเป็นเศษเหลือทิ้งอย่างเปล่าประโยชน์ ด้วยมาตรฐานการขนส่งของอุตสาหกรรมการเกษตรในประเทศญี่ปุ่น แต่ผักไม่สวย ไม่ได้แปลว่าจะด้อยคุณภาพ ดังนั้นเพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกร ให้ได้รับค่าตอบแทนจากผลผลิตอย่างเต็มที่ nendo บริษัทออกแบบชื่อดังจึงได้เข้ามามองหากลไกใหม่ ๆ เพื่อนำพาผักเหล่านี้ให้ได้มีทางออกไปสู่มือผู้บริโภคได้ดีขึ้นในราคาย่อมเยา nendo ได้นำเสนองานออกแบบแผงขายผักที่ทำขึ้นอย่างง่าย ๆ ซึ่งเป็นระบบการประกอบที่สามารถปรับเปลี่ยนรูปร่าง และการใช้งานได้ตามผลผลิตที่ต้องการนำมาวางขาย ก่อนนำไปให้เกษตรกรจัดวางไว้ตามริมถนนใกล้กับพื้นที่ทางการเกษตร ที่มาของผลผลิตเหล่านั้น ทุก ๆ คนเมื่อเดินทางผ่านพื้นที่เกษตรเหล่านั้น ก็จะสามารถซื้อและจ่ายเงินได้ผ่านกล่องรับเงินที่ติดตั้งไว้ตามราคาบนแผ่นป้าย หรือจะยิง QR CODE จ่ายก็ทำได้เช่นกัน วิธีการนี้จะทำให้เกษตรกรได้รับผลตอบแทนโดยตรง ไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง โดยผู้บริโภคจะได้ผักสดใหม่(ใหม่จริงเพราะปลูกแล้วก็ถอนมาวางเลย) ในราคาย่อมเยา ที่สำคัญผู้ผลิตก็จะได้ระบายผลผลิตที่ส่งเข้าระบบ Modern Trade ไม่ได้ ให้มีทางออก ไม่ต้องนำไปทิ้งโดยเปล่าประโยชน์ จากตัวอย่างดี ๆ นี้ ลองหันกลับมามองที่เมืองไทย เราอาจคุ้นเคยกับแผงขายผักเช่นนี้ตามริมทางขณะขับรถไปต่างจังหวัด แต่ถ้าลองพัฒนาให้เข้าระบบ E-Commerce ปรับปรุงระบบ QR […]

ศูนย์บริการฉีดวัคซีน ในไอเดียแบบ “ด่านเก็บค่าผ่านทาง” เพื่อการกระจายวัคซีนอย่างทั่วถึงและรวดเร็ว

ศูนย์บริการฉีดวัคซีน เริ่มเป็นพื้นที่จำเป็นในช่วงนี้ของไทยเราอย่างมาก เพราะจากกรณีที่รัฐบาลไทย นำโดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทวงกลาโหมตั้งเป้าที่จะฉีดวัคซีนให้ได้ครบ 100 ล้านโดส ครอบคลุมคนไทยจำนวน 50 ล้านคน คิดเป็น 70 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนประชากร ให้สำเร็จภายในปี 2564 นั้น ทำให้เมื่อคำนวญถึงสถานการณ์ปัจจุบันแล้วจะพบว่า จากวันนี้ไปจนถึงสิ้นปีซึ่งก็คือ 200 กว่าวัน การฉีดวัคซีนจะต้องมีผู้รับวัคซีนถึงวันละ 450,000 โดสขึ้นไป จึงจะสำเร็จได้ ซึ่งปัจจุบันก็เรียกได้ว่ายังถือว่าห่างไกลอยู่หลายเท่านัก แต่อย่าเพิ่งหมดหวังกันไปเพราะยังมีอีกหลากหลายวิธีที่จะช่วยให้เราสามารถฝ่าวิกฤตินี้ไปด้วยกันได้ในที่สุด NBBJ บริษัทออกแบบชั้นนำที่มีออฟฟิสกระจายอยู่ทั่วโลกนั้น ได้นำเสนอวิธีการหนึ่งซึ่งจะช่วยให้สามารถกระจายการให้วัคซีนได้อย่างทั่วถึงและรวดเร็วเข้ากับสถานการณ์การแพร่ระบาดในขณะนี้ ด้วยการปรับช่องการจราจรหรือพื้นที่จอดรถ ให้กลายเป็นศูนย์บริการฉีดวัคซีนแบบ “Drive-through” หรือก็คือการขับรถเข้าไปรับวัคซีนแบบไม่ต้องลงมาติดต่อเลย ด้วยโครงสร้างผนังที่เคลื่อนย้ายได้ง่าย ออกแบบมาให้ปรับใช้กับลักษณะการจราจรโดยทั่วไปได้ทันที ขนส่งด้วยรถเทรลเลอร์และประกอบเข้าด้วยกันได้อย่างรวดเร็ว ผนังโค้งเหล่านี้จะมีระบบอำนวยความสะดวกสำหรับแพทย์และพยาบาลในการแจกจ่ายวัคซีนโดยง่าย สามารถนำไปติดตั้งตามพื้นที่สัญจรหรือลานจอดรถในทุกพื้นที่ของเมืองเมื่อผู้ต้องการรับวัคซีนขับรถมาถึงจุดจอด ด้วยระบบการลงทะเบียนออนไลน์ที่กำหนดให้ผู้ที่อยู่ในรถสามารถเข้ารับวัคซีนได้แล้วนั้น ผู้รับวัคซีนก็เพียงแค่แสดง QR ยืนยันการอนุมัติการรับวัคซีนจากระบบ และเข้ารับวัคซีนในพื้นที่ใดก็ได้ที่มีศูนย์ “Vaccine Drive-through” เมื่อพยาบาลได้ฉีดวัคซีนให้แล้ว ก็นั่งดูวิดีทัศน์เพื่อสอบอาการ ก่อนจะขับออกไปสู่จุดหมายปลายทางในที่สุด และเมื่อพื้นที่ดังกล่าวได้รับการปูพรมวัคซีนจนครบแล้วก็สามารถรื้อถอนโครงสร้างไปยังพื้นที่ต่อไปได้โดยง่าย การรับวัคซีนในรถเช่นนี้ ช่วยให้สามารถลดความเสี่ยงของการแพร่เชื้อจากการชุมนุมได้อีกทางหนึ่งเช่นกัน เอาเข้าจริง ถ้าคำนวญจากปริมาณรถที่วิ่งเข้า “ด่านเก็บค่าผ่านทางด่วน” […]

WUYISHAN BAMBOO RAFT FACTORY โรงงานคอนกรีตเปลือยสำหรับผลิตแพไม้ไผ่

Wuyishan Bamboo Raft Factory อาคารคอนกรีต แห่งนี้ คือโรงงานผลิตและจัดเก็บแพไม้ไผ่สำหรับใช้ในการล่องแพของหมู่บ้าน Xingcun โดยมีแนวคิดในการใช้วัสดุเรียบง่าย

POCKET PARK ON XINHUA ROAD เปลี่ยนถนนร้างเป็นสวนดอกไม้กลางเมือง

Pocket Park on Xinhua Road โปรเจ็กต์ที่เปลี่ยนถนนที่ขนาบไปด้วยบ้านจีนแบบโบราณ และต้นไม้ตลอดสองข้างทางที่เคยเสื่อมโทรมให้กลายเป็น สวนสาธารณะ ขนาดย่อมของเมือง

WANG XI FASHION STUDIO ร้านขายเสื้อผ้าที่มีราวเเขวนเหมือนเด็กผู้หญิงถกกระโปรงและห้องลองเสื้ออยู่กลางร้าน

Wang Xi Fashion Studio คือร้านค้าแบรนด์แฟชั่นของดีไซเนอร์อิสระ โดยตัว ร้านเสื้อผ้า ออกแบบสเปซได้แรงบันดาลใจมาจาก “เสื้อผ้า”และเส้นโค้งอย่างเป็นอิสระของ”ผ้า”

HOUSE OF THE FLYING BEDS รีโนเวท บ้านเก่า ชั้นเดียว ใส่ฟังก์ชั่นใหม่ให้มีเตียงลอยได้

รีโนเวตบ้านเก่า นั้นเรียกว่าแทบจะอยู่อาศัยไม่ได้แล้วและทรุดโทรมมากที่เอกวาดอร์ให้กลับมามีชีวิตชีวาในราคาประหยัด ด้วยวัสดุทดแทนและของเหลือใช้

HIDEOUT HORIZON ชาร์จพลังกลางป่าบาหลีในบ้านไม้ไผ่สุดเฟี้ยว

Hideout Horizon บ้านสไตล์รีสอร์ต กลางป่าบนเกาะบาหลีอย่าง Hideout Network ที่มีโครงสร้างและการออกแบบที่ซับซ้อนที่สุด โดยโครงสร้างหลักเป็นไม้ไผ่

SKB HOUSE บ้านนาโมเดิร์นในเมืองใหญ่กลางฮอยอัน

บ้านประหยัดพลังงาน กลางกรุงฮอยอัน ประเทศเวียดนาม ที่หลังคาปกคลุมด้วยหญ้า Cogon ซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และยังเหมาะกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

SHIRONISHI HOUSE บ้านปูนเปลือยหนาหนัก ที่ยกระเบียงมาไว้หน้าบ้านเพื่อสร้างความเป็นส่วนตัว

บ้านปูนเปลือย หนาหนักที่ยกระเบียงมาไว้หน้าบ้านเพื่อสร้างความเป็นส่วนตัว โดยข้างนอกอาจจะดูปิดทึบ อึดอัด แต่ข้างในกลับโปร่งโล่ง

DAI AN APARTMENT รีโนเวตอพาร์ตเมนต์เก่าให้ “ว้าว” ถูกใจวัยรุ่น

Dai An Apartment คือการปรับปรุง อพาร์ทเม้นท์ เดิมในเวียดนาม ด้วยการแปลงโฉมใหม่ให้ดึงดูดใจวัยรุ่นมากขึ้น เริ่มจากสีสันภายนอกที่ใช้ได้อย่างแปลกตาแต่ลงตัว

TROW HOUSE แก้ปัญหาที่ดินหน้าแคบ ด้วยบ้านทรงสามเหลี่ยม

“TROW HOUSE” มาจากการผสมคำระหว่าง Triangle และ Narrow คือเป็น บ้านหน้าแคบ ที่ตั้งอยู่บนที่ดินที่มีหน้ากว้างเพียง 5.5 เมตร เลยออกแบบบ้านรูปทรงสามเหลี่ยม

FAN WORKING BEIJING ร้านขายและพื้นที่เวิร์คชอป “พัด”

ร้านขายพัดพร้อมพื้นที่เวิร์กชอปแห่งนี้ตั้งอยู่บนถนนเฉียนเหมิน ถนนที่ถูกขนานนามว่าถนนสายวัฒนธรรมในกรุงปักกิ่ง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยที่นี่ต้องการเผยแพร่วัฒนธรรมพัดจีนที่มีมาอย่างยาวนานให้คนรุ่นใหม่ได้เห็นคุณค่าและความสำคัญ จึงวางใจให้สถาปนิกจาก Golucci Interior Architects เข้ามา รีโนเวตตึกแถว ขนาด 2 ชั้นให้ดูเรียบง่าย สวยงาม และใช้งานได้จริงเหมือนกับ “พัด” ถนนเฉียนเหมินเป็นที่รู้กันดีว่าเป็นย่านที่มีบ้านแบบหูตง หรือบ้านแบบดั้งเดิมของจีนที่เก่าแก่ที่สุดในปักกิ่ง ดึงดูดใจนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกให้แวะเวียนมาท่องเที่ยวอย่างไม่ขาดสาย โดยปัจจุบันพื้นที่ย่านนี้ได้รับการพัฒนาให้เป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์มากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับกาลเวลาที่เปลี่ยนไป กลายเป็นพื้นที่ผสมผสานระหว่างความเก่ากับความใหม่ รวมไปถึงการ รีโนเวตตึกแถว เป็นร้านพัดแห่งนี้เช่นกัน พัดพกพานี้นับเป็นสิงประดิษฐ์เก่าแก่ที่มีถิ่นกำเนิดจากทั้งจีนและญี่ปุ่น อาจพูดได้ว่าต่างคนต่างเป็นแรงบันดาลซึ่งกันและกันก็คงไม่ผิดนัก ผู้ออกแบบจึงนำประวัติศาสตร์นี้มาประยุกต์ลงไปในการออกแบบสเปซ โดยแทรกกลิ่นอายความเป็นญี่ปุ่นลงไปในอาคารเก่าแบบสถาปัตยกรรมจีน ผ่านการตกแต่งภายใน จากลักษณะของพื้นที่อาคารขนาดสองชั้นที่ไม่ได้มีพื้นที่เต็มตลอดทั้งตึก จึงแบ่งโปรแกรมออกเป็น 2 ส่วน โดยให้ชั้นล่างที่มีขนาดเพียงหนึ่งคูหาเป็นส่วนของหน้าร้าน แล้วชั้นบนเป็นพื้นที่เวิร์กชอปให้บุคคลทั่วไปที่สนใจได้เข้ามาเรียนรู้การทำพัดแบบดั้งเดิมด้วยมือของคุณเอง สำหรับการตกแต่งภายในนอกจากความสวยงามแล้ว ยังออกแบบให้สามารถใช้ประโยชน์ได้ด้วย พื้นหินขัดเข้าคู่กับผนังสีขาวโพลน เสริมด้วยตู้เครื่องมือไม้สีอ่อนที่ใช้งานได้จริงพร้อมเป็นตัวแบ่งสเปซภายในไปในตัว ช่วยสะท้อนอัตลักษณ์ของพัดที่ว่าเรียบง่ายแต่ใช้งานได้จริง  ออกแบบ: Golucci International Design 古魯奇建築諮詢公司 ภาพ: : Lulu Xi เรียบเรียง: Woofverine QISHER COURTYARD รีโนเวตบ้านจีนโบราณ […]

CASA SANTORINI ต่อเติมบ้านบนเนินเขาเป็นบ้านพักตากอากาศวิวธรรมชาติเต็มตา

บ้านหลังนี้ตั้งอยู่ในพื้นที่ชานเมืองระหว่างชายฝั่งทะเลและตัวเมือง ทำให้แวดล้อมไปด้วยทัศนียภาพที่สวยงามและมีความเป็นธรรมชาติสูง เหมาะแก่การสร้างบ้านพักตากอากาศสักหลัง ดังเช่นบ้าน CASA SANTORINI หลังนี้ซึ่งตั้งอยู่บนเนินเขาทำให้ได้วิวธรรมชาติแบบสุดลูกหูลูกตา โดยทำการจากการรีโนเวตบ้านขนาดกะทัดรัดให้เอื้อต่อการพักผ่อนมากยิ่งขึ้น เริ่มจากการปรับปรุงห้องนอนและห้องน้ำใหม่ รื้อห้องครัวเดิมออก โดยวางฟังก์ชันในแนวขวางกับแกนบ้านเดิม แต่ยังคงกลิ่นอายของบ้านเก่าที่มีอายุกว่า 10 ปีไว้ ส่วนที่ต่อเติมเลือกใช้โครงสร้างเหล็กกรุด้วยแผ่นเมทัลชีทด้านนอกและกรุไม้ด้านใน ด้วยความที่ตั้งอยู่กลางทุ่ง ประกอบกับไม่มีเขตที่ดินหรือกำแพงล้อมตัวบ้านไว้ กลายมาเป็นความท้าทายของผู้ออกแบบในการสร้างควาสมดุลระหว่างตัวสถาปัตยกรรมและแนวป่าด้านหลังที่เป็นเหมือนเบ๊กกราวนด์ของบ้านที่มีความคอนทราสต์กันอยู่ นำไปสู่การวางตัวอาคารไว้บริเวณจุดสูงสุดของเนินหญ้า แต่ให้ระดับพื้นใหม่ต่อเนื่องไปกับระดับพื้นบ้านเดิมเพื่อให้ดูกลมกลืนไปกับเนินหญ้ามากที่สุด และดูต่อเนื่องไปกับผืนดิน ส่วนที่ต่อเติมขึ้นใหม่วางตัวตั้งฉากกับบ้านเดิม จนได้บ้านรูปทรงตัวแอล (L) ที่เชื่อมตัวเก่ากับส่วนใหญ่เข้าหากัน โดยบริเวณบ้านเก่าใช้เป็นพื้นที่ส่วนครัว ส่วนต่อเติมให้เป็นพื้นที่นั่งเล่นและห้องนอนที่เชื่อมไปกับเทอเรซขนาดใหญ่ได้วิวความเขียวชอุ่มแบบเต็มตา โดยเลือกใช้โครงสร้างคอนกรีตร่วมกับเฟรมเหล็กเพื่อให้ได้ความลาดเอียงและรูปทรงที่ดูโฉบเฉี่ยว ดูทันสมัย ทั้งยังเหมาะกับพื้นทียกลอยจากพื้นเล็กน้อยเพื่อกันความชื้นจากพื้นดินโดยตรง ซึ่งวัสดุที่ตอบสนองต่อโครงสร้างมีได้แก่ เหล็ก กระจก และแผ่นฟีนอลิก รวมไปถึงเหมาะกับสถาพอากาศและการดูแลรักษาในอนาคตอีกด้วย ภาพสุดท้ายของบ้านหลังนี้ ภายนอกต้องการคุมด้วยสีดำเพื่อขับให้บริบทโดยรอบที่เป็นทิวทัศน์ของธรรมชาติดูเด่น คอนทราสต์ออกมาในแนวนอน ตัดกับต้นไม้ที่เรียงตัวกันเป็นเส้นตั้ง ออกแบบ: LOI Arquitectura ภาพ: Obra Linda เรียบเรียง: BRL บ้านชั้นเดียวบนเนิน ชมวิวเพลินทั้งวัน ร่มรื่นแบบสวนเมืองร้อนในกลิ่นอายของสวนชนบทฝรั่งเศส

Modular-Boxes กล่องต่อกล่อง สถาปัตยกรรมที่เกิดมาเพื่อการ “ประท้วง”

Modular-Boxes เป็นงานออกแบบที่เกิดขึ้นในการชุมนุมประท้วงต่อการการเพิกเฉยต่อปัญหา climate change ของรัฐบาลอังกฤษโดย Extinction Rebellion ออกแบบโดยหนึ่งในพันธมิตรด้านสิ่งแวดล้อมนั่นก็คือ Architect’s Climate Action Network (ACAN) โดยใช้งานออกแบบเดิมของ Studio Bark ที่ชื่อว่า U-Build System เป็นฐานคิดสำคัญ จุดเด่นของเจ้ากล่อง Modular Boxes เหล่านี้ก็คือ มันมีขนาดและน้ำหนักที่ง่ายต่อการขนย้าย ผู้ชุมนุมสามารถขนย้ายสิ่งเหล่านี้เข้ามาในพื้นที่ได้โดยง่าย ไม้อัดที่ประกอบขึ้นเป็นกล่องเหล่านี้เป็นวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งยังเป็นมิตรต่อสายตาผู้คนรอบข้าง คุณสามารถขนมันเข้าสู่ที่ชุมนุมได้โดยไม่สร้างความรู้สึกคุกคามต่อคนบนท้องถนน และแน่นอนที่สุดคือมันแข็งแรงอย่างเหลือเชื่อ ด้วยโครงสร้างแบบกล่อง ประกอบกับความสะดวกของการเชื่อมต่อโครงสร้างไม้ และขนาดที่ใหญ่คล้ายอิฐขนาดยักษ์ (ชม Diagram การประกอบใน comment) ผู้ชุมนุมสามารถประกอบกันเข้าเป็นเวทีเตี้ย เวทีสูง สำหรับปราศัย กำแพง ที่นั่งพัก พื้นที่รวมตัว หรือแม้แต่หอคอยที่จะใช้เป็นหมุดสายตาได้อย่างรวดเร็ว สามารถเสริมความแข็งแรงได้ด้วยการเพิ่มโครงสร้างและร้อยเข้าไประหว่างรูบนกล่องแต่ละใบ ทั้งกล่องที่เหลืออยู่อาจนำมาเป็นที่นั่งในการปักหลักชุมนุมได้อีกทาง นอกจากนี้ยังนำกลับมาใช้ซ้ำได้เพราะสามารถรื้อถอนได้อย่างรวดเร็ว และผู้ชุมนุมก็ช่วยกันถือออกไปคนละกล่องก่อนจะสลายตัวอย่างรวดเร็ว เอากล่องกลับบ้านไปคนละใบ รอใช้ต่อในงานต่อไปลด Carbon Footprint ได้มากมาย ในยุคที่การชุมนุมเกิดขึ้นรายวันเช่นนี้ เรื่องสิ่งแวดล้อมก็ต้องประท้วง […]

CHING CHAIR สตูลไม้ไผ่ ชูเนื้อแท้ความงามของธรรมชาติ

ในไต้หวันผู้คนมองว่าไม้ไผ่เป็นวัสดุธรรมชาติที่ยังคงมีบทบาทต่อวิถีชีวิต ไม่ว่าจะใช้ทำสิ่งของเครื่องใช้ในครัวเรือน เฟอร์นิเจอร์ และวัสดุก่อสร้าง นั่นจึงทำให้สองดีไซเนอร์ Ta-Chih Lin และ Yi-Fan Hsieh เลือกนำไม้ไผ่มาออกแบบเฟอร์นิเจอร์ เก้าอี้ไม้ไผ่ ของพวกเขาในชื่อ “Ching Chair” โดยให้ความสำคัญกับความเป็นวัสดุดั้งเดิม ผ่านทางความรู้สึกทั้งการสัมผัสและการมองเห็น โดยกระบวนการออกแบบ เก้าอี้ไม้ไผ่ ครั้งนี้ ล้วนตั้งต้นมาจากคุณสมบัติของไม้ไผ่ ซึ่งเป็นวัสดุธรรมชาติที่ใช้งานได้แบบอรรถประโยชน์ และมีความยืดหยุ่นสูง   เริ่มจากการเลือกลำไม้ไผ่ที่มีความสมบูรณ์เพียงต้นเดียวมาตัดและแบ่งออกเป็นชิ้นส่วนต่าง ๆ ตามแบบที่ได้ดีไซน์ไว้ โดยดีไซเนอร์ได้สร้างแม่พิมพ์หลายชิ้นสำหรับแต่ละส่วน เพื่อให้ไม้ไผ่สามารถทำเก้าอี้ได้ง่ายและแม่นยำ พร้อมกันนั้นยังได้รักษาผิวไม้ไผ่ด้วยวิธีการพิเศษ เพื่อช่วยกักเก็บคลอโรฟิลล์ไว้ที่ผิวไม้ไผ่ให้ยังคงสีสันเขียวสดดูสวยงามแบบไม่มีวันซีดจาง ขณะที่ส่วนที่ยากที่สุดของการผลิตเก้าอี้ก็คือการดัดชิ้นไม้ไผ่ด้วยความร้อน ซึ่งต้องใช้ประสบการณ์ในการทำงานเป็นเวลาหลายปี จนได้เคล็บลับที่ไม่ทำให้ผิวไม้ไหม้ ก่อนจะเชื่อมต่อแต่ละส่วนเข้าด้วยกันด้วย Joint ไม้ไผ่ ตรงส่วนขาของเก้าอี้แต่ละข้างซึ่งถูกคิดมาอย่างดี โดยไม่มีวัสดุใดเข้ามาช่วยผสานเลย อีกทั้งยังได้ประกอบชิ้นส่วนไปตามทิศทางของเส้นใยไม้ไผ่ในแนวตั้ง เป็นอีกเทคนิคหนึ่งที่ช่วยให้เก้าอี้ไม้ไผ่มีความแข็งแรงมากเพียงพอ สำหรับรองรับน้ำหนักของคนนั่งได้ นอกจากข้อดีในแง่ของการหยิบวัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่นซึ่งเราต่างคุ้นเคยกันอย่างดี มาใช้เป็นวัตถุดิบในงานออกแบบแล้ว ในอีกแง่หนึ่งไม้ไผ่ยังถือเป็นวัสดุธรรมชาติที่ไม่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งในกระบวนการผลิต และกระบวนการย่อยสลาย เก้าอี้ดีไซน์เรียบง่ายชิ้นนี้จึงสามารถบอกเล่าคุณสมบัติของไม้ไผ่ออกมาได้อย่างครบถ้วนด้วยตัวของมันเอง ออกแบบ : Ta-Chih Lin & Yi-Fan Hsieh  ภาพ : […]