การปลูกสน
รวมข้อมูลน่ารู้เกี่ยวกับ ” ต้นสน “
สำหรับพวกเราที่มีชีวิตอยู่ในเขตร้อน เวลาที่พูดถึง “สน” ก็จะนึกไปถึงต้นไม้ที่มีของตกแต่งสีสวยๆ ประดับประดาสวยงามในวันคริสตมาส หรือไม่ก็นึกถึงต้นไม้รูปทรงปิรามิด ยอดแหลมๆ ที่อยู่ท่ามกลางหิมะขาวโพลน แต่ก็มีไม่น้อยที่อาจคิดไปถึงต้นไม้สูงๆ ใบเป็นเส้นๆ คล้ายเข็มที่ปลูกเรียงรายอยู่ริมทะเล “สน” พรรณไม้โบราณ ตามหลักฐานบันทึกไว้ว่า “สน” มีอายุอยู่ในช่วงต้นยุค Permian หรือประมาณ 290-248 ล้านปี หรือก่อนที่ไม้ดอกชนิดต่างๆ จะถือกำเนิดขึ้นบนโลกนี้ โดยจัด”สน” ไว้ในกลุ่มพืช Gymnosperms ซึ่งก็คือ พืชเมล็ดเปลือย หรือไม่มีสิ่งห่อหุ้มไข่ เมื่อเจริญเป็นเมล็ดจึงไม่มีเนื้อแบบผลไม้หรือพืชมีดอกอื่นๆ (ยกเว้นสนสกุล Juniperus) “สน” เป็นไม้ยืนต้น มีอายุหลายปี และเกือบทุกชนิดเขียวสดตลอดปี บางชนิดเปลี่ยนสีในหน้าหนาว มีเพียงไม่กี่ชนิดที่ผลัดใบ ใบสนมีหลายแบบ บางชนิดลดรูปเป็นรูปเข็ม (aristate) รูปลิ่ม (awl-shaped) หรือเป็นเกล็ด (scale-like) และมีอายุยาวนาน บางชนิดติดอยู่บนต้นนาน 15-20 ปี ช่อดอกมีลักษณะเป็นเกล็ดเรียงซ้อนกันเป็นรูปไข่ รูปรีหรือค่อนข้างกลม เมล็ดอยู่ในซอกเกล็ดแต่ละอัน ช่อดอกเพศผู้กับเพศเมียอยู่แยกกัน แต่อาจอยู่บนต้นเดียวกันหรือแยกต้น เนื้อไม้สนมีน้ำยาง เรียกว่า […]
สนสามใบ
เกี๊ยะเปลือกแดง/เกี๊ยะเปลือกบาง/สนเกี๊ยะ/สนเขา ชื่อวิทยาศาสตร์: Pinus kasiya Royale ex. Gordon วงศ์: Pinaceae ประเภท: ไม้ต้นขนาดกลางถึงใหญ่ ความสูง: ได้ถึง 40 เมตร ลำต้น: ทรงพุ่มรูปกรวย ปลายแหลม เปลือกต้นหนาและเป็นร่องตื้นไม่เป็นระเบียบ หลุดล่อนง่าย ใบ: รูปเข็ม ออกกลุ่มละ 3 ใบ ยาว 15-24 ซม. สีเขียวอมเทา ติดทนนานถึง 2 ปีไม่ร่วงหล่น โคนใบรูปไข่ขนาด 5-7 ซม. สีน้ำตาลเข้ม ไม่มีก้าน ภายในมีเมล็ดขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร อัตราการเจริญเติบโต: ช้า ดิน: ดินทั่วไปที่มีอินทรียวัตถุ ระบายน้ำและอากาศได้ดี น้ำ: ปานกลาง ทนแล้ง แสงแดด: เต็มวัน ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง การใช้งานและอื่นๆ: กระจายพันธุ์ในพม่า […]
สนสองใบ
เกี๊ยะเปลือกดำ/เกี๊ยะเปลือกหนา/แปก/สนแส้ม้า ชื่อวิทยาศาสตร์: Pinus merkusii Jungh & De Vriese วงศ์: Pinaceae ประเภท: ไม้ต้น ความสูง: ได้ถึง 45 เมตร ลำต้น: ทรงพุ่มรูปกรวย กิ่งก้านออกรอบต้นเป็นชั้นๆ ตั้งฉากกับต้นคล้ายสนสามใบ แตกต่างกันที่เปลือกต้นหนา แตกเป็นร่องไม่เป็นระเบียบ ใบ: รูปเข็ม ออกกลุ่มละ 2 ใบ ยาว 15-20 ซม. โคนรูปไข่ถึงรูปทรงกระบอก สีน้ำตาลแดง ขนาดเล็กกว่าสนสามใบ มีก้านยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ดอก: ช่อดอกออกเดี่ยวๆ หรือเป็นคู่ รูปรี ยาว 1-2 ซม.เกล็ดแห้ง สีน้ำตาลเข้ม รูปขอบขนาน อัตราการเจริญเติบโต: ช้า ดิน: ดินทั่วไปที่มีอินทรียวัตถุ ระบายน้ำและอากาศได้ดี น้ำ: ปานกลาง ทนแล้ง แสงแดด: เต็มวัน […]
สนซันคิดสต์
ชื่อวิทยาศาสตร์: Thuja occidentaliss L.’Sunkidst’ วงศ์: Cupressaceae ประเภท: ไม้ต้นขนาดเล็ก ความสูง:ประมาณ 1-1.50 เมตร ลำต้น: เป็นพันธุ์แคระ ทรงพุ่มกลมถึงทรงกระบอก ใบ:คล้ายเกล็ดซ้อนกันแน่น แต่ละกิ่งย่อนแผ่แบนออกรอบๆ ทรงพุ่ม แต่ไม่เป็นระเบียบ สีเขียวสดถึงสีเขียวอมเหลือง เมื่อขยี้จะมีกลิ่นหอมมาก อัตราการเจริญเติบโต: ช้า ดิน: ดินทั่วไปที่มีอินทรียวัตถุ ระบายน้ำและอากาศได้ดี น้ำ: ปานกลาง ทนแล้ง แสงแดด: เต็มวัน ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง การใช้งานและอื่นๆ: ใบใช้สกัดน้ำมันหอมระเหย ปลูกประดับสวน
สนผักชี
Globe-shaped Cedar ชื่อวิทยาศาสตร์: Thuja occidentaliss L. ‘Little Champion’ วงศ์: Cupressaceae ประเภท: ไม้พุ่ม ความสูง: 70 เซนติเมตร ลำต้น: เป็นพันธุ์แคระ ทรงพุ่มกลมกว้าง ใบ: คล้ายเกล็ดซ้อนกันแน่น ออกเป็นกระจุก ปลายแผ่แบน ใบสีเขียวเทา แกนกลางสีเขียวอมเหลือง ต้นที่มีใบด่างจะมีใบบางส่วนของกิ่งย่อยหรือทั้งกิ่งย่อยด่างสีเหลืองทอง อัตราการเจริญเติบโต: ช้า ดิน: ดินทั่วไปที่มีอินทรียวัตถุ ระบายน้ำและอากาศได้ดี น้ำ: ปานกลาง ทนแล้ง แสงแดด: เต็มวัน ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง การใช้งานและอื่นๆ: ปลูกประดับสวน
โรสดาลิส
ชื่อวิทยาศาสตร์: Platycladus orientalis (L.f) Franco ‘Rose Dalis’ วงศ์: Cupressaceae ประเภท: ไม้ต้น ความสูง: ได้ถึง 15 เมตร ลำต้น: เป็นพุ่มสูงและกว้างประมาณ 1.50-2 เมตร รูปทรงกรวย พุ่มแน่น ตั้งตรง ใบ: รูปเข็ม ปลายแหลม สีเขียวปนเหลืองเล็กน้อย บนยอดมีนวลสีขาว อัตราการเจริญเติบโต: ช้า ดิน: ดินทั่วไปที่มีอินทรียวัตถุ ระบายน้ำและอากาศได้ดี น้ำ: ปานกลาง ทนแล้ง แสงแดด: เต็มวัน ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง การใช้งานและอื่นๆ: ต้นใหม่ที่ได้เกิดจากการเพาะเมล็ดมักกลายพันธุ์ สนในสกุลนี้ที่คนไทยรู้จักดีคือ สนแผง ซึ่งมีทั้งพันธุ์แคระ ไม้พุ่มและไม้ต้นขนาดเล็ก
ซิลเวอร์สเปรเดอร์
Silver Spreader ชื่อวิทยาศาสตร์: Juniperus virginiana L.’Silver Spreader’ วงศ์: Cupressaceae ประเภท: ไม้พุ่ม ความสูง: 1-1.50 เมตร ลำต้น: เป็นพุ่มเตี้ย กิ่งก้านแผ่กว้างในแนวนอนคล้ายสนเลื้อย กว้าง 2-3 เมตร ปลายกิ่งโค้งตั้งขึ้น เปลือกต้นสีสนิม ใบ: คล้ายเกล็ด สีเขียวอมฟ้า มีนวล อัตราการเจริญเติบโต: ช้า มักเจริญทางด้านกว้างมากกว่าสูง ดิน: ดินทั่วไปที่มีอินทรียวัตถุ ระบายน้ำและอากาศได้ดี น้ำ: ปานกลาง ทนแล้ง แสงแดด: เต็มวัน ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง การใช้งานและอื่นๆ: เหมาะปลูกในสวนหินหรือสวนหย่อม
บลูสตาร์
Blue Star ชื่อวิทยาศาสตร์: Juniperus squamata Buch.-Ham.ex D.Don ‘Blue Star’ วงศ์: Cupressaceae ประเภท: ไม้พุ่ม ความสูง: 40-70 เซนติเมตร ลำต้น: เป็นพุ่มแน่นแผ่คลุมดิน กิ่งก้านสีน้ำตาลแดง ใบ: รูปเข็ม สีฟ้าเทา ใบใกล้โคนกิ่งสีเขียวอมเหลือง อัตราการเจริญเติบโต: ช้า ดิน: ดินทั่วไปที่มีอินทรียวัตถุ ระบายน้ำและอากาศได้ดี น้ำ: ปานกลาง ทนแล้ง แสงแดด: เต็มวัน ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง การใช้งานและอื่นๆ: ใช้จัดสวนได้
บลูคาร์เป็ต
Blue Carpet ชื่อวิทยาศาสตร์: Juniperus squamata Buch.-Ham.ex D.Don ‘Blue Carpet’ วงศ์: Cupressaceae ประเภท: ไม้พุ่ม ความสูง: 30-60 เซนติเมตร ลำต้น: ต้นเตี้ยแผ่กว้างได้ถึง 3 เมตร กิ่งทอดขนานกับพื้น ปลายกิ่งมักอ่อนโค้งลง ใบ: รูปเข็ม ใบส่วนยอดสีฟ้าอมเทา ใบใกล้โคนสีเขียวอมเหลือง อัตราการเจริญเติบโต: ช้า ดิน: ดินทั่วไปที่มีอินทรียวัตถุ ระบายน้ำและอากาศได้ดี น้ำ: ปานกลาง ทนแล้ง แสงแดด: เต็มวัน ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง การใช้งานและอื่นๆ: ใช้จัดสวนได้
สนสามร้อยยอด
ชื่อวิทยาศาสตร์: Juniperus x media Van Melle วงศ์: Cupressaceae ประเภท: ไม้พุ่ม ความสูง: 1.50-3 เมตร ลำต้น: คาดว่าเป็นลูกผสมระหว่าง Juniperus Sabina กับ Juniperus Chinensis ทรงพุ่มกว้าง 1-2 เมตรหรือมากกว่า กิ่งก้านแผ่ออกกว้างเป็นช่อยาว ปลายเรียวแหลมและชี้ตั้งขึ้น ใบ: พุ่มใบหนาทึบสีเขียวเข้มถึงเขียวอมเหลือง ใบแก่มีนวล ปลายกิ่งเป็นใบคล้ายเกล็ด อัตราการเจริญเติบโต: ช้า ดิน: ดินทั่วไปที่มีอินทรียวัตถุ ระบายน้ำและอากาศได้ดี น้ำ: ปานกลาง ทนแล้ง แสงแดด: เต็มวัน ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง การใช้งานและอื่นๆ: มีหลายพันธุ์ เช่น สนสามร้อยยอดทอง สนสามร้อยยอดขาว นิยมปลูกประดับเป็นแนวริมทางเดินหรือทำแนวรั้ว
สนเลื้อยใบละเอียด
ชื่อวิทยาศาสตร์: Juniperus procumbens (Endl.) Miq วงศ์: Cupressaceae ประเภท: ไม้พุ่ม ความสูง: 75-90 เซนติเมตร ลำต้น: เตี้ยแผ่คลุมดินกว้าง 2 เมตร กิ่งก้านทอดนอนไปกับพื้น ใบ: รูปเข็มปลายเรียวแหลม สีเขียวอ่อน ด้านบนโค้งนูน ใต้ใบเว้า มีแถบปากใบสีเขียวเทา 2 แถบ อาจมีใบแบบเกล็ดด้วย อัตราการเจริญเติบโต: ช้า ดิน: ดินทั่วไปที่มีอินทรียวัตถุ ระบายน้ำและอากาศได้ดี น้ำ: ปานกลาง ทนแล้ง แสงแดด: เต็มวัน ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง การใช้งานและอื่นๆ: มีหลายพันธุ์ เช่น Juniperus procumbens ‘Nana’ ซึ่งเป็นพันธุ์แคระ มีกิ่งย่อยสั้น ใบออกเป็นกระจุกสั้นและแน่น สีเขียวเทา
สนเลื้อยด่างเหลือง
ชื่อวิทยาศาสตร์: Juniperus davurica Pall. ‘Expansa Aureospicata’ วงศ์: Cupressaceae ประเภท: ไม้พุ่ม ความสูง: 1 เมตร ลำต้น: เป็นพุ่มแน่นและค่อนข้างกลม ใบ: มี 2 แบบคือ ใบรูปเข็มและใบคล้ายเกล็ด สีเขียวเข้ม ใบที่ปลายกิ่งด่าง สีเหลืองทอง อัตราการเจริญเติบโต: ช้า ดิน: ดินทั่วไปที่มีอินทรียวัตถุ ระบายน้ำและอากาศได้ดี น้ำ: ปานกลาง ทนแล้ง แสงแดด: เต็มวัน ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง การใช้งานและอื่นๆ: ใช้จัดสวนได้