กล้วยไม้ที่จะอยู่ในใจตลอดไปของอาจารย์ระพี สาคริก บิดาแห่งกล้วยไม้ไทย

ศาสตราจารย์ ดร.ระพี สาคริก ปูชนียบุคคลที่ได้รับการกล่าวขานให้เป็นบิดาแห่งวงการกล้วยไม้ไทย ท่านยังมีผลงานด้านบทความและงานแต่งหนังสือด้านต่างๆ อีกกว่า 10 เล่ม

เถางูเขียว

 เครืองูเขียว ชื่อวิทยาศาสตร์: Vanilla aphylla  Rolfe วงศ์: Orchidaceae ประเภท: กล้วยไม้อิงอาศัย ลำต้น: เกือบกลมหรือแบนเล็กน้อย และเป็นสี่เหลี่ยมขอบมน ผิวต้นเกลี้ยง สีเขียวเข้ม ปล่องยาวได้ถึง 50 เซนติเมตร รากออกที่ข้อ ใบ: ปกติไม่มีใบ ดอก: ออกดอกเป็น็นช่อสั้นตามข้อ 2-3 ดอก กลีบดอกสีขาวอมเขียว กลีบปากสีขาว โคนเชื่อมติดกับเส้าเกสร ลักษณะม้วนห่อขึ้น ด้านในสีเหลืองอมน้ำตาล ปลายผายออกเป็นแผ่นยาว ขอบย้วยเป็นคลื่น มีขนยาวสีชมพูเรื่อหนาแน่น  ออกดอกเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ดิน: วัสดุที่เก็บความชื้นได้ดี โปร่ง ระบายน้ำและอากาศดี เช่น ถ่านทุบ อิฐมอญทุบ กาบมะพร้าว รากเฟินชายผ้าสีดา เศษกระถางแตก หินภูเขาไฟ เป็นต้น น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: รำไร หรือได้รับแสงในช่วงเช้า ขยายพันธุ์: แยกกอหรือเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การใช้งานและอื่นๆ: ในธรรมชาติเป็นไม้เถาเลื้อย อวบน้ำ […]

สามปอยหลวง

ชื่อวิทยาศาสตร์: Vanda denisoniana  Bens.& Rchb.f. var. hebraioca Rchb.f. วงศ์: Orchidaceae ประเภท: กล้วยไม้อิงอาศัย ลำต้น: กลม แข็ง ตั้งตรง ใบ: รูปขอบขนาน พับเป็นราง แผ่นใบหนาและเหนียว ดอก: ออกดอกเป็นช่อโปร่ง ลักษณะดอกคล้ายสามปอยดง แต่กลีบดอกสีเหลืองไม่มีลายตาข่าย  กลีบปากสีเหลืองอ่อน ออกดอกเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ดิน: วัสดุที่เก็บความชื้นได้ดี โปร่ง ระบายน้ำและอากาศดี เช่น ถ่านทุบ อิฐมอญทุบ กาบมะพร้าว รากเฟินชายผ้าสีดา เศษกระถางแตก หินภูเขาไฟ เป็นต้น น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: รำไร หรือได้รับแสงในช่วงเช้า ขยายพันธุ์: แยกกอหรือเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การใช้งานและอื่นๆ: ปลูกเป็นไม้ตัดดอก

ฟ้ามุ่ย

ชื่อวิทยาศาสตร์: Vanda coerulea  Griff. ประเภท: กล้วยไม้อิงอาศัย ขนาดกลาง ลำต้น: กลมแข็ง ตั้งตรง ใบ: รูปขอบขนาน พับเป็นราง แผ่นใบหนาและเหนียว ปลายใบป้านหยักตื้นๆ 2-3 หยัก มีใบเกือบตลอดต้น ดอก: ออกดอกเป็น็นช่อตั้งที่ซอกใบ ช่อดอกโปร่ง กลีบดอกค่อนข้างกลมใหญ่ โคนคอดเล็ก กลีบสีฟ้าหรือฟ้าอมม่วง มีลายตาข่ายสีเข้มกว่าสีพื้น กลีบปาก สีเข้มกว่ากลีบอื่นๆ ออกดอกเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม ดิน: วัสดุที่เก็บความชื้นได้ดี โปร่ง ระบายน้ำและอากาศดี เช่น ถ่านทุบ อิฐมอญทุบ กาบมะพร้าว รากเฟินชายผ้าสีดา เศษกระถางแตก หินภูเขาไฟ เป็นต้น น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: รำไร หรือได้รับแสงในช่วงเช้า ขยายพันธุ์: แยกกอหรือเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การใช้งานและอื่นๆ: เป็นกล้วยไม้ที่ได้รับความนิยมมากช้านาน ขนาดดอก ใบ ต้นและสีดอกมีหลากหลาย ปัจจุบันพบในธรรมชาติน้อยมาก ที่ปลูกเลี้ยงส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ลูกผสม นิยมใช้เป็นไม้ตัดดอก

เอื้องดิน

กล้วยไม้ดิน/ว่านจุก ชื่อวิทยาศาสตร์: Spathoglottis plicata Blume วงศ์: Orchidaceae ประเภท: กล้วยไม้ดิน ลำต้น: มีหัวรูปไข่หรือรูปรีแกมรูปไข่อยู่ใต้ดิน มีแนวข้อปล้องชัดเจน ส่วนบนมีโคนกาบใบหุ้ม ใบ: เป็นแถบ ยาวได้ถึง 1 เมตรหรือมากกว่า แผ่นใบบาง แข็ง ปลายแหลม โคนเรียวเล็กน้อย ดอก: ออกที่ปลายช่อ ตั้งตรง กลีบดอกสีชมพูถึงสีม่วงเข้ม  กลีบปากเล็กและสั้น สีเข้มกว่ากลีบอื่นๆ กลางกลีบปากคอดกิ่ว ปลายแผ่เป็นแผ่นกว้าง ออกดอกตลอดปี ดิน: วัสดุที่เก็บความชื้นได้ดี โปร่ง ระบายน้ำและอากาศดี เช่น ถ่านทุบ อิฐมอญทุบ กาบมะพร้าว รากเฟินชายผ้าสีดา เศษกระถางแตก หินภูเขาไฟ เป็นต้น น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: รำไร หรือได้รับแสงในช่วงเช้า ขยายพันธุ์: แยกกอหรือเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การใช้งานและอื่นๆ: ออกดอกดกช่วงเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม ต้นจะสร้างหัวใหม่ขยายกอออกไปเรื่อยๆ ปลูกเลี้ยงง่าย

เหลืองพิศมร

เหลืองศรีสะเกษ/เอื้องหัวข้าวเหนียว ชื่อวิทยาศาสตร์: Spathoglottis affinis de Vriese ชื่อพ้อง :  Spathoglottis Lobbii  Rchb.f. วงศ์: Orchidaceae ประเภท: กล้วยไม้ดิน ลำต้น: มีหัวใต้ดิน รูปร่างไม่แน่นอน ผิวเรียบมีเยื่อบางใสคลุม ใบ: เป็นแถบ ปลายแหลม แผ่นใบบาง   ดอก: ออกเป็นช่อโปร่ง 5-8 ดอก ช่อดอกยาว 20-40 เซนติเมตร ออกค่อนไปทางปลายช่อ  กลีบเลี้ยงและกลีบดอกคล้ายกัน กางผายออกเกือบเป็นระนาบเดียวกัน สีเหลือง อาจมีขีดสีม่วงที่โคน ช่วงกลางกลีบปากคอดกิ่ว ปลายกว้างและหยักเว้า โคนมีหูปากพับตั้งขึ้นทั้งสองข้าง สีเหลืองมีขีดสีม่วงหนาแน่น ออกดอกเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน ดิน: ใบไม้ผุผสมอิฐมอญทุบ น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: รำไร หรือได้รับแสงในช่วงเช้า ขยายพันธุ์: แยกกอหรือเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การใช้งานและอื่นๆ: พักหัวในหน้าแล้ง  แตกใบในหน้าฝน

เอื้องพวงพลอย

ชื่อวิทยาศาสตร์: Sarcoglyphis mirabilis  (Rchb.f.) Garay วงศ์: Orchidaceae ประเภท: กล้วยไม้อิงอาศัย ขนาดเล็ก ลำต้น: กลมแข็งและผอม ยาว 5-10 เซนติเมตร ใบ: เป็นแถบ ยาว 10-15 เซนติเมตร ปลายหยัก 2 แฉก ไม่เท่ากัน แผ่นใบหนา แต่ไม่แข็ง ดอก: ออกเป็นช่อ ห้อยลง ความยาวใกล้เคียงใบ  ช่อดอกโปร่ง กลีบเลี้ยงและกลีบดอกคล้ายกัน กางผายออกเกือบเป็นระนาบเดียวกัน สีเขียวอ่อน ปลายสีม่วงอมน้ำตาลเล็กน้อย โคนกลีบปากกระดกตั้งขึ้นทั้งสองข้าง ปลายแผ่เป็นแผ่นและหยักเว้าเป็นแฉก สีขาวอมชมพู ด้านหลังเป็นเดือยยาว ออกดอกเดือนมีนาคม-เมษายน ดิน: วัสดุที่เก็บความชื้นได้ดี โปร่ง ระบายน้ำและอากาศดี เช่น ถ่านทุบ อิฐมอญทุบ กาบมะพร้าว รากเฟินชายผ้าสีดา เศษกระถางแตก หินภูเขาไฟ เป็นต้น น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: […]

สร้อยระย้า

ชื่อวิทยาศาสตร์: Otochilus porrectus  Lindl. วงศ์: Orchidaceae ประเภท: กล้วยไม้อิงอาศัย ลำต้น: เป็นปล้องคล้ายไส้กรอกเรียงต่อกัน ปล้องใหม่เกิดข้างยอด ใบ: รูปรีหรือรูปรีแกมใบหอก โคนใบเรียวเป็นก้าน ใบหนาและเหนียว ผิวใบมัน ดอก: ออกเป็นช่อที่ปลายของปล้องใหม่ ช่อดอกห้อย ยาว 6-8 เซนติเมตร ดอกเรียงสลับซ้ายขวา แกนช่อหยักคดไปมา กลีบและกลีบปากเรียวยาว สีขาว ขอบกลีบกระดกงุ้มขึ้น  ออกดอกเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ดิน: วัสดุที่เก็บความชื้นได้ดี โปร่ง ระบายน้ำและอากาศดี เช่น ถ่านทุบ อิฐมอญทุบ กาบมะพร้าว รากเฟินชายผ้าสีดา เศษกระถางแตก หินภูเขาไฟ เป็นต้น น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: รำไร หรือได้รับแสงในช่วงเช้า ขยายพันธุ์: แยกกอหรือเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การใช้งานและอื่นๆ: มีอีกชนิดคล้ายกันคือ Otochilus albus  Lindl.

มังกรทอง

ชื่อวิทยาศาสตร์: Ornithochilus difformis  (Will. ex Lindl.) Schltr. วงศ์: Orchidaceae ประเภท: กล้วยไม้อิงอาศัย ลำต้น: รากใหญ่ ต้นสั้น ใบ: รูปรีหรือรูปรีแกมรูปช้อน ปลายมนหรือแหลม ใบค่อนข้างใหญ่  ผิวใบมันเล็กน้อย ดอก: ช่อดอกโปร่ง ยาว 20-25 เซนติเมตร กลีบดอกสีเหลืองอมเขียว มีเส้นสีม่วงแดงตามยาว 2-5 เส้น หูกลีบปากตั้งขึ้นทั้งสองด้าน ขอบกลีบปากย้วยเป็นคลื่นและฉีกเป็นครุย มีเดือย  ออกดอกเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม ดิน: วัสดุที่เก็บความชื้นได้ดี โปร่ง ระบายน้ำและอากาศดี เช่น ถ่านทุบ อิฐมอญทุบ กาบมะพร้าว รากเฟินชายผ้าสีดา เศษกระถางแตก หินภูเขาไฟ เป็นต้น น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: รำไร หรือได้รับแสงในช่วงเช้า ขยายพันธุ์: แยกกอหรือเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การใช้งานและอื่นๆ: –

เอื้องใบพลู

ชื่อวิทยาศาสตร์: Nervilia plicata (Andr.) Schltr. วงศ์: Orchidaceae ประเภท: กล้วยไม้ดิน ลำต้น: มีหัวอยู่ใต้ดิน แตกไหลสร้างหัวใหม่ แต่ละหัวมี 1 ใบ ใบ: คล้ายใบพลูหรือเกือบกลม ก้านใบสั้น ใบเกือบติดดิน แผ่นใบและขอบใบมีขนละเอียด ดอก: ออกเป็นช่อตั้ง ยาว 10-15 เซนติเมตร หนึ่งช่อมักมี 2 ดอก กลีบดอกเรียวยาว สีเขียวอมน้ำตาล กลีบปากม้วนเป็นหลอด สีม่วงอ่อน มีแถบสีเหลืองตามยาวกลีบที่กลางดอก ออกดอกเดือนมีนาคม-เมษายน ดิน: ใบไม้ผุผสมอิฐมอญทุบ น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: รำไร หรือได้รับแสงในช่วงเช้า ขยายพันธุ์: แยกไหลหรือเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การใช้งานและอื่นๆ: ในธรรมชาติบางครั้งก็พบขึ้นตามพื้นดินในที่ร่มตามป่าดิบ

เอื้องลิ้นดำ

ชื่อวิทยาศาสตร์: Luisia thailandica Seidenf. วงศ์: Orchidaceae ประเภท: กล้วยไม้อิงอาศัย ลำต้น: กลมยาวและแข็ง ตั้งตรง สูง 20-50 เซนติเมตร ใบ: กลมยาวคล้ายต้น เรียงเป็นระยะๆ รอบต้น   ดอก: ออกเป็นช่อสั้นที่ซอกใบ กลีบเลี้ยงและกลีบดอกหนาเป็นมันและงุ้มลงมาคลุมกลีบปาก สีเหลืองอมเขียว กลีบปากเป็นแผ่นหนา สีม่วงอมน้ำตาลเข้ม แยกเป็นสองช่วง ช่วงโคนผิวเรียบและมีหูปาก ช่วงปลายแผ่เป็นแผ่นกลมหรือรูปไข่ ผิวขรุขระเป็นตุ่ม ดอกบานหลายวัน ออกดอกเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ดิน: วัสดุที่เก็บความชื้นได้ดี โปร่ง ระบายน้ำและอากาศดี เช่น ถ่านทุบ อิฐมอญทุบ กาบมะพร้าว รากเฟินชายผ้าสีดา เศษกระถางแตก หินภูเขาไฟ เป็นต้น น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: รำไร หรือได้รับแสงในช่วงเช้า ขยายพันธุ์: แยกกอหรือเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การใช้งานและอื่นๆ: ในธรรมชาติบางครั้งก็พบขึ้นบนหิน

เอื้องดอกหญ้า

ชื่อวิทยาศาสตร์: Goodyera procera  (Ker-Gawl.) Hook.f. วงศ์: Orchidaceae ประเภท: กล้วยไม้อิงอาศัย ลำต้น: เป็นลำ สูง 20-40 เซนติเมตร โคนต้นมักมีกาบใบหุ้ม ขึ้นเป็นกอ ใบ: รูปรีแกมขอบขนาน ปลายแหลม แผ่นใบบางและอ่อน ดอก: ออกเป็นช่อ ค่อนข้างแน่นที่ยอด ช่อดอกยาว 13-20 เซนติเมตร ดอกสีนวลหรือสีเขียวอ่อน ดูคล้ายดอกหญ้า ออกดอกเดือนพฤศจิกายน-มกราคม ดิน: วัสดุที่เก็บความชื้นได้ดี โปร่ง ระบายน้ำและอากาศดี เช่น ถ่านทุบ อิฐมอญทุบ กาบมะพร้าว รากเฟินชายผ้าสีดา เศษกระถางแตก หินภูเขาไฟ เป็นต้น น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: รำไร หรือได้รับแสงในช่วงเช้า ขยายพันธุ์: แยกกอหรือเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การใช้งานและอื่นๆ: ในธรรมชาติพบขึ้นบนหินหรือเปลือกไม้

เอื้องม้าลาย

ชื่อวิทยาศาสตร์: Phalaenopsis minus  Seidenf. วงศ์: Orchidaceae ประเภท: กล้วยไม้อิงอาศัย ลำต้น: คล้ายตากาฉ่อ (P.deliciosum) ใบ: รูปขอบขนาน คล้ายตากาฉ่อ แต่กว้างกว่า ดอก: ออกเป็นช่อ บานค่อนข้างพร้อมกัน กลีบเลี้ยงละกลีบดอกสีเหลืองนวล มีแถบเส้นสีม่วง กลีบปากแคบ สีเหลือง ปลายแหลม มีแต้มจุดประสีม่วง ออกดอกเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ดิน: วัสดุที่เก็บความชื้นได้ดี โปร่ง ระบายน้ำและอากาศดี เช่น ถ่านทุบ อิฐมอญทุบ กาบมะพร้าว รากเฟินชายผ้าสีดา เศษกระถางแตก หินภูเขาไฟ เป็นต้น น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: รำไร หรือได้รับแสงในช่วงเช้า ขยายพันธุ์: แยกกอหรือเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การใช้งานและอื่นๆ: เป็นกล้วยไม้ที่พบเฉพาะในประเทศไทย พบได้ในภาคอิสาน แต่หายาก

เอื้องนิ่มดอกเหลือง

ชื่อวิทยาศาสตร์: Eria Bractescens  Lindl. วงศ์: Orchidaceae ประเภท: กล้วยไม้อิงอาศัย ลำต้น: เป็นลำอวบ รูปรี มักแบนเล็กน้อย ผิวมีร่องตื้นตามยาว ขึ้นเบียดกันแน่นเป็นกลุ่ม ใบ: รูปรี แผ่นใบหนาเหนียว แต่ไม่แข็ง มี 1-2 ใบที่ยอด     ดอก: ออกเป็นช่อ 6-8 ดอกใกล้ยอด ช่อดอกโปร่ง กลีบดอกสีเหลือง กลีบเลี้ยงผายออก และมีขนาดใหญ่กว่ากลีบดอก โคนกลีบปากกระดกขึ้นทั้งสองข้าง สีน้ำตาลแดง ปลายแผ่เป็นแผ่นและงอนออก ขอบย้วยเล็กน้อย กลางกลีบปากมีสันตามยาว ออกดอกเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ ดิน: วัสดุที่เก็บความชื้นได้ดี โปร่ง ระบายน้ำและอากาศดี เช่น ถ่านทุบ อิฐมอญทุบ กาบมะพร้าว รากเฟินชายผ้าสีดา เศษกระถางแตก หินภูเขาไฟ เป็นต้น น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: รำไร หรือได้รับแสงในช่วงเช้า ขยายพันธุ์: แยกกอหรือเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ […]

Orchid anatomy

ทำความรู้จักกับเรือนร่างอันสวยงาม แตกต่าง และหลากหลายของกล้วยไม้กัน ราก เป็นเนื้อเยื่อพิเศษ สีขาว ลักษณะคล้ายฟองน้ำเรียกว่า วีลาเมน (velamen) ที่ห่อหุ้มรากจริงเอาไว้ มีหน้าที่กักเก็บความชื้นป้องกันแสงแดดให้รากที่แท้จริงที่อยู่ภายใน ส่วนปลายรากมีสีเขียว สามารถสังเคราะห์แสงได้ ลำต้น มีหลายลักษณะ ทั้งแบบลำต้นตั้งขึ้น เป็นลำ อวบน้ำ เติบโตตามแนวดิ่ง ตั้งขึ้นหรือห้อยลง มีลำเป็นทรงกระบอกแคบยาวหรือรูปทรงกลมแป้น คล้ายผลกล้วย จึงเรียกว่า ลำลูกกล้วย (pseudobulb) บางสกุลมีลำต้นขนาดเล็กทอดเลื้อยไปกับผิวดินหรือลำต้นของไม้ใหญ่ แตกรากสั้นเป็นกระจุกตามข้อเรียกว่า เหง้า (rhizome) เช่น สกุลสิงโตกลอกตา (Bulbophyllum) นอกจากนี้กล้วยไม้บางชนิดมีลำต้นเป็นหัวทำหน้าที่เก็บน้ำและสะสมอาหารใต้ดิน สามารถแตกกอได้ หรือบางชนิดก็ไม่มีลำต้นเลย เช่น กล้วยไม้รองเท้านารี ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อกระจะ ช่อแยกแขนง หรือช่อกระจุกแน่น ออกจากหัวหรือตามข้อตรงข้ามกับใบ หรือออกจากโคนลำลูกกล้วย เป็นดอกสมบูรณ์เพศมี 6 กลีบ แบ่งเป็น ชั้นนอก คือ กลีบเลี้ยง(sepal) หรือกลีบชั้นนอก อยู่ด้านบน 1 กลีบ  ด้านล่าง […]

เหยือกน้ำดอย

ชื่อวิทยาศาสตร์: Acanthephippium striatum  Lindl. วงศ์: Orchidaceae ประเภท: กล้วยไม้ดิน ลำต้น: มีเหง้าใต้ดิน ลำต้นเหนือดินมีลักษณะเป็นหัว ใบ: รูปขอบขนาน แผ่นใบหนาอวบและแข็ง   ดอก: ออกเป็นกระจุกจากโคนหัว ดอกสีขาว โคนกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน ปลายแยกเปิดออก ทำให้ดอกเป็นถุง กลีคบปากเล็ก สีเหลือง ทยอยบานครั้งละ 1-2 ดอก  ออกดอกเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ดิน: ใบไม้ผุผสมอิฐมอญทุบ น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: รำไร หรือได้รับแสงในช่วงเช้า ขยายพันธุ์: แยกกอหรือเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การใช้งานและอื่นๆ: เป็นกล้วยไม้หายาก

เอื้องช้างสารภี

เอื้องสารภี/เอื้องเจ็ดปอย ชื่อวิทยาศาสตร์: Acampe rigida (Buch.-Ham. ex J.J.Sm.) Hunt วงศ์: Orchidaceae ประเภท: กล้วยไม้อิงอาศัย ลำต้น: ขนาดใหญ่ สูง 30-50 เซนติเมตรหรือมากว่า มีใบจำนวนมาก ใบ: รูปชอบขนาน แผ่นใบหนาอวบและแข็ง    ดอก: ออกเป็นช่อสั้นตามซอกใบ 5-10 ดอก กลีบงุ้มเข้าหากัน สีเหลืองอมเขียว มีขีดสีม่วงแดงตามขวาง โคนกลีบปากม้วนเป็นถุงสั้นๆ ปลายแผ่เป็นแผ่นกว้าง สีขาว มีเนื้อเยื่อนูนเป็นตุ่มเล็กๆ หนาแน่น ดอกบานนาน มีกลิ่นหอม  ออกดอกเดือนสิงหาคม – ตุลาคม ดิน: วัสดุที่เก็บความชื้นได้ดี โปร่ง ระบายน้ำและอากาศดี เช่น ถ่านทุบ อิฐมอญทุบ กาบมะพร้าว รากเฟินชายผ้าสีดา เศษกระถางแตก หินภูเขาไฟ เป็นต้น น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: รำไร […]

เรื่องกล้วยไม้ที่คุณอาจไม่รู้

กล้วยไม้ เป็นดอกไม้ที่ใครเห็นใครก็รัก เพราะเป็นไม้ประดับที่มีรูปแบบหลากหลายและแตกต่างกันมากมาย ปัจจุบันพบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วโลกมากกว่า 796 สกุล 19,000 ชนิด และในจำนวนนี้มีถิ่นกำเนิดในเมืองไทยถึง 168 สกุล มากกว่า 1,170 ชนิด มีทั้งที่เจริญเติบโตอยู่บนดิน (terrestrial) อาศัยอยู่บนพืชอื่น (epiphytic) หรือเจริญอยู่ตามซากสิ่งมีชีวิตอื่นๆ (saprophyte) ส่วนใหญ่พบในประเทศเขตร้อน โดยประเทศไทยจัดเป็นแหล่งที่มีกล้วยไม้ป่ามากแห่งหนึ่งในโลก ในทางพฤกษศาสตร์ จัดกล้วยไม้เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว และจำแนกออกเป็นสกุลต่างๆ มากมาย ซึ่งในที่นี้ขอกล่าวเพียงบางส่วน อาทิ * สกุลรองเท้านารี (Paphiopedilum) พบกระจายพันธุ์อยู่ตามทิวเขาที่มีระดับความสูงไม่มากนัก และตามป่าผลัดใบ ส่วนใหญ่เติบโตอยู่ตามพื้นดินหรือซอกหิน บางชนิดก็เกาะอาศัยอยู่ตามต้นไม้                   * สกุลหวาย (Dendrobium) เป็นกล้วยไม้สกุลใหญ่ ค้นพบแล้วประมาณ 1,000 ชนิด จำแนกเป็นหมวดหมู่ย่อยมากกว่า 20 หมู่ เป็นสกุลที่นิยมพัฒนาพันธ์ุเพื่อการค้า * สกุลคัทลียาและสกุลใกล้เคียง (Cattleya & allied genera) ประกอบด้วยสกุลย่อย […]