RE-UP COLLECTION โต๊ะจากขยะพลาสติก

“งานดีไซน์ที่ให้ความสำคัญกับแนวคิดความยั่งยืนตลอดทั้งกระบวนการ ตั้งแต่การใช้วัสดุเป็นพลาสติกรีไซเคิลที่ปกติแล้วมักจะเป็นสีทึบ แต่ TAKE HOME DESIGN ใช้วัสดุพลาสติกรีไซเคิลแบบโปร่งแสงทำให้ชิ้นงานมีลูกเล่นสวยงาม รวมถึงมีแนวคิดการใช้แม่พิมพ์ผลิตภัณฑ์เดิมมาออกแบบและเปลี่ยนฟังก์ชันใหม่ ซึ่งเป็นกระบวนการคิดแบบยั่งยืนอย่างแท้จริง” ดำรง ลี้ไวโรจน์ บรรณาธิการอำนวยการบ้านและสวน RE-UP Collection เฟอร์นิเจอร์ที่ผลิตอย่างยั่งยืนในทุกขั้นตอน ทั้ง Reduce Reuse และ Recycle เพื่อลดการผลิตใหม่ ใช้ซ้ำทรัพยากรที่มีอยู่ และหาทางในการนำกลับขยะพลาสติกให้เข้าสู่กระบวนการใช้ใหม่ให้ได้มากที่สุด หาทางไปให้พลาสติกกำพร้า ใช้วัสดุจากกล่องข้าวและแก้วน้ำพลาสติกใช้แล้วที่ปกติมักถูกทิ้งแบบฝังกลบที่ต้องใช้เวลาย่อยสลายนานถึง 450 ปี นำมารีไซเคิลแล้วผลิตเป็นเฟอร์นิเจอร์ที่ใช้งานได้ยาวนาน ความเป็นไปได้ใหม่ๆ จากสิ่งเดิมที่มีอยู่ ดีไซน์ชิ้นงานใหม่จากแม่พิมพ์ (Mold) สินค้าเดิมของแบรนด์ Qualy ภายใต้วิธีคิดในการใช้วัสดุให้คุ้มค่าและประหยัดต้นทุน โดยเดิมทีเป็นแม่พิมพ์สำหรับผลิตกล่องใส่กระดาษทิชชู่ ชิ้นส่วนนี้นำมาออกแบบใหม่กลายเป็นเฟอร์นิเจอร์ทรงสวย ออกแบบให้คนตกหลุมรักของรีไซเคิล พลาสติกรีไซเคิลมักมีทึบแสบ แต่ชิ้นงานในคอลเลคชัน RE-UP ผลิตออกมาให้มีลักษณะโปร่งแสง เมื่อนำมาผลิตเป็นเฟอร์นิเจอร์เอฟเฟกต์ของแสงที่ส่องผ่านพลาสติกขุ่นทำให้ชิ้นงานดูสวยงามยิ่งขึ้น ติดตามเฟอร์นิเจอร์ที่ออกแบบมาเพื่อความยั่งยืนแบบนี้ได้ที่ TAKE HOME DESIGN

ทางออกของ ปัญหาขยะพลาสติก จากเวทีเสวนา Redefining Plastic Waste จากงาน SUSTAINABILITY EXPO 2023

ทุกวันนี้คนทั่วโลกต่างตื่นตัว และเห็นความสำคัญว่าขยะพลาสติกสร้างปัญหาให้โลกมากแค่ไหน แต่หลายคนก็อาจจะยังนึกไม่ออกว่าในฐานะคนตัวเล็กๆ คนนึงในสังคมจะเปลี่ยนแปลงอะไรเรื่องขยะพลาสติกได้บ้าง? และสำหรับผู้ผลิตในระดับมหภาคนั้น เค้ามีมุมมองต่อเรื่องเหล่านี้อย่างไร . ในเสวนานี้ที่จัดขึ้นที่ Sustainability Expo 2023 ในวันที่ 8 ตุลาคมที่ผ่านมา room โดย คุณ โบซซึ วุฒิกร สุทธิอาภา บรรณาธิการออนไลน์ และเนื้อหาด้านความยั่งยืน จึงขอพาทุกท่านไปร่วมไขความคิด แลกเปลี่ยนมุมมอง และหาคำตอบร่วมกันในประเด็นของปัญหา ขยะพลาสติก มีประเด็นอะไรบ้าง ไปดูกัน! . ซึ่งเรารวบรวมประเด็นมาให้ทุกท่าน เป็นไอเดียให้เห็นมุมมองใหม่ๆ ว่าเราทำอะไรกับขยะพลาสติกได้บ้าง? ในมุมของคนธรรมดาลงมือทำอะไรได้บ้าง? แล้วจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรหากเรามาร่วมกันทำ ไอเดียเหล่านี้อาจทำให้มองเห็นโอกาสต่อยอดขยะพลาสติกให้มีที่ไป เกิดเป็นผลงานสร้างสรรค์ใหม่ๆ ซึ่งช่วยลดการเกิดขยะที่สร้างมลภาวะให้โลก มีประเด็นอะไรบ้าง ไปดูกัน! . . #ภารกิจเรื่องพลาสติกที่ช่วยให้โลกดีขึ้น . แต่ละทีมที่มาร่วมเสวนาในวันนี้ ทุกคนต่างดำเนินงานเกี่ยวข้องกับพลาสติกทั้งสิ้น เริ่มต้นจากห้องวิจัยคิดค้นพลาสติกประเภทใหม่จากวัสดุชีวภาพที่ย่อยสลายได้ วิจัยว่าพลาสติกใช้แล้วนำกลับมาดีไซน์เป็นของชิ้นใหม่ได้อย่างไรอย่างทีม MORE มีทีมที่ทำงานผลิตเม็ดพลาสติกจากพลาสติกใช้แล้วกลับมาทำใหม่ และทีมที่ทำบรรจุภัณฑ์พลาสติกกล่องเครื่องดื่มส่งไปทั่วโลกอย่าง Tetra Pak . ทุกทีมมีภารกิจของตัวเองที่ช่วยให้โลกดีขึ้นผ่านการทำงานกับพลาสติก . […]

LET’S (NOT) KICK BUTT เปลี่ยนก้นบุหรี่เป็นวัสดุใหม่ดั่งงานศิลป์

ก้นบุหรี่ ภัยร้ายที่น่ากลัวกว่าหลอดพลาสติก เชื่อหรือไม่ว่า ขยะที่ปนเปื้อนไหลลงทะเลนั้น มากกว่าหลอดพลาสติก มันคือก้นบุหรี่ที่เป็นขยะยากแก่การรีไซเคิล อาจจะดูเหมือนเป็นวัสดุนุ่มนิ่มที่น่าจะรีไซเคิลได้ไม่ยาก แต่แท้จริงแล้วก้นบุหรี่เหล่านี้ประกอบขึ้นจากพลาสติก ประเภทเซลลูโลสอะซีเตต (Cellulose Acetate) เป็นประเภทเดียวกับที่ใช้ทำแผ่นฟิล์มกันแสงจอโทรทัศน์ ฟิล์มถ่ายรูป และฝาครอบหลอดไฟ มีความเหนียว และทนทานต่อแรงกระแทก ซึ่งจะต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 10 ปี ในการย่อยสลายเลยทีเดียว และมักจะจบลงที่การนำไปฝังกลบ โดยเฉพาะก้นบุหรี่ใช้แล้วยังมีเศษยาสูบที่มีสารท็อกซิน นิโคติน สารหนู ยาฆ่าแมลง นิโคตินเหล็ก สารก่อมะเร็ง และเอทิลฟีนอล ซึ่งเป็นสารพิษที่จะตกค้างในสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะเมื่อฝังกลบแล้ว อาจถูกพัดพาไป จนเป็นขยะทางทะเลในที่สุด ด้วยเหตุนี้เอง Sachi Tungare นักออกแบบชาวอินเดีย จึงเริ่มต้นโปรเจ็กต์ let’s (not) kick butt ตั้งแต่ปี 2019 โดยเป็นหนึ่งในโปรเจ็กต์ทางการศึกษาที่ Design Academy Eindhoven ประเทศเนเธอร์แลนด์ก่อน ซึ่งในโครงการนี้ก็คือการหาวิธีที่จะนำเอาเศษก้นบุหรี่เหลือทิ้ง มาขจัดสารพิษออกด้วยวิธีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ก่อนจะผสมสีลงไปในวัสดุเพื่อให้ดูเป็นมิตร และน่านำกลับไปใช้มากขึ้น ก่อนจะทดลองการขึ้นรูปให้กลายเป็นชิ้นงานต่อไป อย่างไรก็ตามปัจจุบันการขึ้นรูปนั้นยังทำได้ในระดับหนึ่ง ผลลัพธ์ในตอนนี้จึงเป็นเหมือนกับผลงานศิลปะ […]

Recycle เศษวัสดุก่อสร้าง ให้เป็นแผ่นวัสดุอเนกประสงค์สไตล์สัจวัสดุ

ด้วยตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการขยะ SEMBA บริษัทก่อสร้างจากประเทศญี่ปุ่น จึงได้เริ่มโครงการ Recycle เศษวัสดุก่อสร้าง SEMBA ethical design thinking โดยมี we+ ทีมดีไซเนอร์หัวก้าวหน้า เข้ามาช่วยจุดประกายในโครงการนี้ จนออกมาเป็นวัสดุที่น่าสนใจในวิธีการใช้งานที่ยืดหยุ่น และที่สำคัญ “มันเคยเป็นขยะ” เนื่องจากอาคารในประเทศญี่ปุ่น มักมีอายุการใช้งานประมาณ 5-10 ปี ตั้งแต่ก่อสร้างจนถูกทุบทำลาย we+ จึงมองเห็นว่ามันช่างเป็นอายุการใช้งานที่สั้น ซึ่งส่งผลไปถึงปัญหา “ขยะ” ที่เกิดจากการทุบทำลาย โดยเศษวัสดุเหล่านั้นแทบไม่มีค่าไปกว่าการนำถมที่ดินเลย ดังนั้นการหาทางออกให้กับการจัดการขยะจากอาคารเก่าจึงเริ่มต้นขึ้น เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับเศษวัสดุให้สามารถนำกลับมาใช้งานได้ใหม่ ทั้งตัวของวัสดุ และวิธีการความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ของกระบวนการออกแบบก่อสร้าง “Link” คือชื่อของโปรเจ็กต์นี้ ด้วยการออกแบบวัสดุอเนกประสงค์ชนิดแผ่น ที่สามารถนำมาต่อเข้าด้วยกันนี้ ซึ่งเกิดจากการศึกษาความเป็นไปได้อันหลากหลายผ่านวัสดุที่มาจากซากตึก ตั้งแต่เศษไม้ อิฐ หิน และเหล็ก ตลอดจนวัสดุอย่าง เศษพรม ผ่านม่าน หรือแม้แต่แผ่นปูพื้น โดย we+ ได้นำซากวัสดุมาผสมรวมกันด้วยการบดให้กลายเป็นชิ้นเล็ก ๆ ก่อนจะหลอมและเทวัสดุประสาน รวมทั้งเศษวัสดุต่าง ๆ ลงไปในแม่พิมพ์ […]

THAIS ECOLEATHERS ความงามจากเศษหนังสู่วัสดุใหม่

THAIS ECOLEATHERS (อ่านว่า ธา-อิส) หนึ่งในแบรนด์ไทยจากโครงการ Talent Thai โดย DITP หรือ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ที่เราอยากแนะนำ เพราะไม่เพียงแค่ผลิตภัณฑ์ที่มีลวดลายและพื้นผิวที่น่าสนใจ หรือการนำไปใช้ที่หลากหลายเพียงเท่านั้น แต่การได้มาซึ่งวัสดุอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของแบรนด์นั่นก็คือ “หนังรีไซเคิล” ซึ่งเรียกได้ว่ามีความโดดเด่นและมีเพียงเจ้าเดียวในโลกที่สามารถผลิตสิ่งนี้ได้ จึงทำให้เราสนใจแบรนด์เครื่องหนังที่ชูวัสดุรักษ์โลกแบรนด์นี้เป็นพิเศษของคุณธันย์-ธันยวัฒน์ ทั่งตระกูล และคุณเม-พัณณ์ชิตา ธราดลศิริฐิติกุล จุดเริ่มต้น ถ้าพูดถึงจุดเริ่มของTHAIS ECOLEATHERS“เราเริ่มจากเป็นคนชอบเครื่องหนัง ชอบจนถึงขนาดที่อยากจะหัดทำเครื่องหนังด้วยตัวเอง” คุณธันย์เริ่มต้นเล่าให้เราฟัง “พอเราเริ่มทำหนังไปเรื่อย ๆ เราก็ค้นพบว่าสิ่งที่กวนใจเราคือ เศษหนัง ที่เหลือจากการผลิต จะเอาไปทิ้งก็เสียดาย พอจะนำเศษเหล่านั้นมาลองเย็บเป็นกระเป๋าแล้วเอาไปวางขายในอินเทอร์เน็ตก็ค้นพบว่า มันแทบจะไม่ได้ราคา เหมือนเป็นความคาใจจนเราเริ่มศึกษาลงไปว่า คนอื่นเขาจัดการกับเศษหนังกันอย่างไร และก็ค้นพบว่าเศษเหลือเหล่านี้มีอยู่มากมายในอุตสาหกรรมเครื่องหนัง และไทยเราเองก็เป็นประเทศส่งออกหนังอันดับที่ 4 ของโลก ถ้าอย่างนั้นก็แปลว่า ปัญหาเศษเหลือเหล่านี้ ต้องมีอยู่มากมายเช่นเดียวกัน“ “พอเราเริ่มสนใจในปัญหาเศษเหลือเราก็ค้นพบว่า โรงงานส่วนใหญ่ต้องจ้างให้นำไปทิ้ง เป็นมูลค่าที่สูงพอสมควรเลยทีเดียว สิ่งที่ทำได้คือนำฝังกลบ หรือนำไปเผาทำลาย” คุณเมเล่าต่อ “ซึ่งเราอาจเคยได้ยินว่า มีการนำเศษหนังมาทำเป็นวัสดุใหม่ แต่นั่นไม่ใช่เศษหนังในขั้นตอนสุดท้ายแบบที่เป็นเศษเหลือแบบนี้ สิ่งเหล่านั้นคือเศษหนังที่มาจากขั้นตอนการผลิต คือหลังจากการฟอกเสียมากกว่า เราก็เลยคิดกันว่า […]