SX-2023-Waste-Redefining

ทางออกของ ปัญหาขยะพลาสติก จากเวทีเสวนา Redefining Plastic Waste จากงาน SUSTAINABILITY EXPO 2023

SX-2023-Waste-Redefining
SX-2023-Waste-Redefining

ทุกวันนี้คนทั่วโลกต่างตื่นตัว และเห็นความสำคัญว่าขยะพลาสติกสร้างปัญหาให้โลกมากแค่ไหน แต่หลายคนก็อาจจะยังนึกไม่ออกว่าในฐานะคนตัวเล็กๆ คนนึงในสังคมจะเปลี่ยนแปลงอะไรเรื่องขยะพลาสติกได้บ้าง? และสำหรับผู้ผลิตในระดับมหภาคนั้น เค้ามีมุมมองต่อเรื่องเหล่านี้อย่างไร

.

ในเสวนานี้ที่จัดขึ้นที่ Sustainability Expo 2023 ในวันที่ 8 ตุลาคมที่ผ่านมา room โดย คุณ โบซซึ วุฒิกร สุทธิอาภา บรรณาธิการออนไลน์ และเนื้อหาด้านความยั่งยืน จึงขอพาทุกท่านไปร่วมไขความคิด แลกเปลี่ยนมุมมอง และหาคำตอบร่วมกันในประเด็นของปัญหา ขยะพลาสติก มีประเด็นอะไรบ้าง ไปดูกัน!

.

ซึ่งเรารวบรวมประเด็นมาให้ทุกท่าน เป็นไอเดียให้เห็นมุมมองใหม่ๆ ว่าเราทำอะไรกับขยะพลาสติกได้บ้าง? ในมุมของคนธรรมดาลงมือทำอะไรได้บ้าง? แล้วจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรหากเรามาร่วมกันทำ ไอเดียเหล่านี้อาจทำให้มองเห็นโอกาสต่อยอดขยะพลาสติกให้มีที่ไป เกิดเป็นผลงานสร้างสรรค์ใหม่ๆ ซึ่งช่วยลดการเกิดขยะที่สร้างมลภาวะให้โลก มีประเด็นอะไรบ้าง ไปดูกัน!

.

คุณณัฐนันท์ ศิริรักษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทเอ็นวิโค จำกัด
เล่าถึงกระบวนการผลิตพลาสติกจากพลาสติกรีไซเคิลของบริษัทเอ็นวิโค

.

#ภารกิจเรื่องพลาสติกที่ช่วยให้โลกดีขึ้น

.

แต่ละทีมที่มาร่วมเสวนาในวันนี้ ทุกคนต่างดำเนินงานเกี่ยวข้องกับพลาสติกทั้งสิ้น เริ่มต้นจากห้องวิจัยคิดค้นพลาสติกประเภทใหม่จากวัสดุชีวภาพที่ย่อยสลายได้ วิจัยว่าพลาสติกใช้แล้วนำกลับมาดีไซน์เป็นของชิ้นใหม่ได้อย่างไรอย่างทีม MORE มีทีมที่ทำงานผลิตเม็ดพลาสติกจากพลาสติกใช้แล้วกลับมาทำใหม่ และทีมที่ทำบรรจุภัณฑ์พลาสติกกล่องเครื่องดื่มส่งไปทั่วโลกอย่าง Tetra Pak

.

ทุกทีมมีภารกิจของตัวเองที่ช่วยให้โลกดีขึ้นผ่านการทำงานกับพลาสติก

.

MORE + Waste is More

“เปลี่ยน Waste จากของที่ทุกคนคิดว่าไม่มีค่า กลับมาผลิตนวัตกรรม แล้วออกแบบเป็นผลิตภัณฑ์” 

คุณบาส-จิระวุฒิ จันเกษม นักวิจัยอาวุโส สถาบันนวัตกรรม ปตท. บริษัท เอช จี เนกซ์ จำกัด และหนึ่งในทีม MORE – Waste is More ซึ่งเป็นทีมที่ทำงานวิจัย พัฒนา และออกแบบผลิตภัณฑ์จากขยะพลาสติกให้กลายมาเป็นโปรดักส์ดีไซน์ที่สวย และใช้งานได้จริง 

.

Tetra Pak

.

Tetra Pak เป็นบริษัททำกล่องเครื่องดื่ม ที่มีพันธกิจ คือ “Protects what’s good” หรือ “ปกป้องทุกคุณค่า” ซึ่งเราตีความได้ว่าคือ การนำพาอาหารไปสู่ผู้คนอย่างปลอดภัย และลดการรบกวนโลก – คุณป้ำ ปฏิญญา ศิลสุภดล ผู้อำนวยการฝ่ายความยั่งยืน บริษัท เต็ดตรา แพ้ค (ประเทศไทย) จำกัด

.

เอ็นวิโค

เอ็นวิโค บริษัทผู้ผลิตขวดพลาสติกจากขยะขวดพลาสติก “เราคิดถึงการแก้ไขปัญหาจากการบริหารจัดการขยะ ศึกษาวิธีและกระบวนการเวียนใช้” คุณณัฐนันท์ ศิริรักษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทเอ็นวิโค จำกัด 

.

PASAYA 

เราต้ังต้นใหม่จากการย้ายโรงงานจากสมุทรปราการไปราชบุรี เราคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก ตั้งแต่การออกแบบโรงงาน เราคำนึงถึงที่ไปของน้ำ จากการย้อมผ้าของเรา ต้องทำระบบบำบัดน้ำเสีย การจัดการน้ำที่ดี ได้มาตรฐานโรงงานไปจนถึง NET ZERO 

.

#ความยั่งยืนในระดับอุตสาหกรรมและผู้บริโภคเกี่ยวข้องกันอย่างไร?

.

MORE + Waste is More

“ความยั่งยืนในระดับอุตสาหกรรม และผู้บริโภค เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกัน เป็น Infinity ที่แยกกันไม่ออก เป็นห่วงโซ่ที่เกี่ยวเนื่องกัน ถ้าบริษัทใหญ่ที่เป็นผู้ผลิตเห็นความสำคัญของความยั่งยืนเรื่องพลาสติก ก็จะช่วยลดการเกิดขยะพลาสติกได้ตั้งแต่ต้นทาง ในขณะเดียวกันคนทำงานที่อยู่ในบริษัทใหญ่ก็เป็นผู้บริโภคคนหนึ่ง ถ้าผู้บริโภคลงมือลดการสร้างขยะ ใช้พลาสติกซ้ำก็จะช่วยให้ระบบนิเวศนี้ขับเคลื่อนไปพร้อมกันทั้งระบบ” 

.

Treta Pak

ถ้าจะทำให้การจัดการขยะเกิดประสิทธิภาพ สิ่งที่สำคัญ คือ ทำอย่างไรให้เกิดการต่อยอดจากของเสีย ไปสู่การใช้งานเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้ 

.

เอ็นวิโค

เราใช้ขวดพลาสติก PET ปีละมากกว่า 4 แสนตัน 10,000ล้านขวดต่อปี การรับมือกับพลาสติกให้ยั่งยืนคือการนำมารีไซเคิล เรามีทั้งการจัดการกับขวดพลาสติกข้อกฎหมายที่ให้ความรู้กับผู้บริโภคเกี่ยวกับเทคโนโนโลยีต่าง ๆ ที่นำมาใช้รีโซเคิล

.

PASAYA

โรงงานเรามีโรงอาหารที่อยู่กลางบ่อน้ำที่ถูกบำบัดแล้วให้พนักงานได้พักผ่อน ภายในโรงงานยังมีธรรมชาติ พื้นที่สีเขียว สร้างสภาพแวดล้อมที่ดีในการทำงานซึ่งสามารถส่งผลให้ผลงาน ผลิตภัณฑ์ที่ดีมีคุณภาพส่งต่อไปยังผู้บริโภคได้ 

#จากนวัตกรรมสู่การใช้งานจริง

.

MORE + Waste is More

“ความเข้าของผู้คน มักเข้าใจว่าของที่ทำจากขยะจะไม่สะอาด ไม่แข็งแรง และต้องราคาไม่แพง เพราะตอนเริ่มต้นเราไปรับของเสียจากโรงงานที่เขาต้องการหาที่กำจัดทิ้ง แต่พอเรามาดีไซน์ใหม่ สร้างผลงาน ทีนี้ต้นทางโรงงานก็คิดเงินจากของเสียเหลือทิ้งเหล่านั้น ทำให้คนทำผลิตภัณฑ์จากขยะกลายเป็นมีต้นทุน” คุณจิระวุฒิ จันเกษม เล่าถึงกระบวนการการทำงานกับวัตถุดิบขยะพลาสติก 

.

ซึ่งจากเดิมเป็นของที่โรงงานต้องการกำจัด พอวิจัย และพัฒนาดีไซน์ออกมาเป็นโปรดักส์ กลับเพิ่มมูลค่าให้กับวัตถุดิบ หรือ RAW Material จนทำให้มีต้นทุนเพิ่มขึ้น ซึ่งหลายคนอาจจะไม่เข้าใจในเรื่องนี้ แต่ทีม MORE ก็มีการทำงานร่วมกันระหว่างนักวิทยาศาสตร์ และนักออกแบบทำให้ได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่แข็งแรง หน้าตาดีไซน์สวยงาม จนอาจลืมภาพไปเลยว่านี่เคยเป็นขยะพลาสติกที่คนไม่ต้องการ

.

Treta Pak

“Awareness เรื่องขยะพลาสติกไม่เท่ากับ Action แต่พอเอาทั้งสองอย่างมารวมกัน ทำให้เกิด Action Learning นำไปสู่การใช้งานจริง ทำให้คนเข้าใจมากขึ้นผ่านการลงมือทำด้วยตัวเอง” คุณปฏิญญา ศิลสุภดล พูดถึงการนำความตื่นรู้เรื่องขยะพลาสติก มาผสานรวมกับการลงมือทำ ถ้าคนรับรู้แต่ไม่ได้ Take Action หรือลงมือทำก็ไม่เกิดกระบวนการเรียนรู้ ไอเดียของการลดขยะจะไม่เข้าไปอยู่ในจิตใต้สำนึก แต่หากจัดให้มีกิจกรรม ให้คนได้มาเรียนรู้ และลงมือทำอะไรด้วยตัวเองจากวัสดุขยะพลาสติกมากขึ้น ให้คนได้ใช้งานจากของที่ผลิตขึ้นเอง จะสร้างสำนึกที่ยิ่งไปกว่าการรับรู้เพียงอย่างเดียว ทำให้คนเห็นโอกาสว่าขยะก็เอาไปทำอะไรได้อีกมาก เป็นสิ่งที่คุณป้ำเรียกว่า “Action Learning”

.

เอ็นวิโค

เมื่อผลิตภัณฑ์เรามาจากขวดสู่ขวด นวัตกรรมของเรามาจากเม็ดพลาสติกที่รีไซเคิลมักจะเกิดคำถามว่ามันแตกต่างจากเม็ดพลาสติกที่ไม่ได้ผ่านการใช้งานอย่างไร เม็ดพลาสติกจากการรีไซเคิลจะมีสีที่เข้มขึ้นไม่ใส แต่การที่นำมารีไซเคิลนั้นหมายความลดการผลิตทำให้ตอบโจทย์เรื่องการลดคาร์บอนได้จริง ทั้งนี้การใช้ประโยชน์ได้จริงนั้นขึ้นอยู่กับความเข้าใจและความต้องการผู้บริโภค

.

PASAYA

ได้แรงบันดาลใจที่อยากจะทำโรงงานที่ดีขึ้นจากการไปดูโรงงานที่อิตาลี เราเห็นภาพโรงงานที่ไม่ได้มาตรฐานตั้งแต่ยุคสมัยปฏิวัติอุตสาหกรรม จากตัวอย่างที่ดีและไม่ดี ทำให้ตระหนักถึงผลกระทบที่ตามมาทั้งเรื่องของความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมที่ยั่งยืนในอนาคตภายหน้าต่อไป

.

#เรื่องสิ่งแวดล้อม #เราทำคนเดียวไม่ได้!

.

MORE + Waste is More

“เราทำคนเดียวไม่ได้ แต่เราเริ่มคนเดียวได้ ถ้าเราเริ่มที่ตัวเราเอง คนอื่นก็จะทำตามเราเอง” มุมมองเรื่องการลงมือทำเรื่องขยะพลาสติกจากคุณบาส ที่เห็นความสำคัญของการเริ่ม 

.

Treta Pak

“ปัจจุบันมีเครือข่าย หรือการบูรณาการ ให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า Circular Economy (แนวคิดที่สนับสนุนให้เราใช้สิ่งของหรือทรัพยากรที่มีอยู่ให้คุ้มค่าที่สุด) เป็นเครือข่ายในสังคมที่ขับเคลื่อนเรื่องขยะพลาสติกมาช่วยกันทำงานเพื่อเป็นตัวกลางประสานระหว่างเอกชนกับภาครัฐ” คุณป้ำ เล่าถึงความพยายามในการขับเคลื่อนจากภาคส่วนต่างๆ ในสังคม ซึ่งมีทีมที่คอยทำหน้าที่เชื่อมองค์กรใหญ่ต่างๆ ให้ทำงานเรื่องขยะพลาสติกให้เดินต่อไปข้างหน้า 

.

เอ็นวิโค

เมื่อเล็งเห็นปัญหาและนำนวัตกรรมเข้ามาใช้ในการเปลี่ยนแปลงแล้ว สิ่งที่ทุกคนสามารถช่วยกันได้คือการแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง ทำให้เกิด Circula Economy ได้จริง

.

.

PASAYA

โรงงานที่ราชบุรีมีที่ดินถึง 400 ไร่ นอกจากพื้นที่โรงงาน บ่อบำบัดน้ำเสีย ยังมีหลุมฝังกลบขยะพวกเศษด้าย ที่คิดคำนวณมาแล้ว นอกจากนี้ยังมีพื้นที่สำหรับปลูกป่าที่จัดกิจกรรมเชิญชวนคนมาปลูกป่า ในอนาคตเมื่อป่าเติบโตมาทดแทนการปล่อยคาร์บอน และเข้าสู่กระบวนการ Net Zero อย่างแท้จริง

.

รับรองว่าคุณไม่โดดเดี่ยว และไม่ได้ทำอยู่คนเดียวแน่นอน! 

.

#ความรับผิดชอบต่อการผลิตในมุมของการTakeAction!

.

MORE + Waste is More

“เริ่มจากหากิจกรรมที่ลดใช้พลาสติกก่อนเท่าที่ทำได้ จากนั้นก็ค่อยๆ เลิกใช้ หรือถ้าใช้ก็ลองใช้พลาสติกรีไซเคิล” คุณบาส พูดถึงวิธีการเริ่มต้นที่เราทุกคนทำได้ โดยเริ่มจากทำสิ่งง่ายๆ ที่ทำได้ทันที คือลดการใช้ เช่น อาจจะลดการหยิบหลอดพลาสติกลงเพื่อลดจำนวนขยะเกิดใหม่ จากนั้นค่อยๆ ขยับสเต็ปของแอ็คชั่นไปต่อที่การเลิกใช้งาน พลาสติกอะไรที่เราใช้ในชีวิตประจำวันที่ไม่จำเป็น อาจจะเป็นขวดน้ำ ลองใช้เป็นขวดใช้ซ้ำแทน และถ้าหากต้องใช้จริงๆ ก็ลองดูว่าตอนนี้เรามีพลาสติกอะไรอยู่กับตัวที่ยังใช้ได้อยู่ให้ใช้อันนั้นก่อน จริงๆ แล้วถุงพลาสติกไม่ได้เป็นปัญหาถ้าเราใช้ซ้ำไปเรื่อยๆ 

.

หรือถ้าสนใจโปรดักส์ หรือเฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากพลาสติกรีไซเคิล ตอนนี้ MORE ก็ดีไซน์ออกมาหลายชิ้นที่หน้าตาดูดีไม่แพ้วัสดุทำใหม่เลย ลองเข้าไปชมได้ที่ MORE + Waste is More

.

Treta Pak

“หานวัตกรรมในการนำขยะพลาสติกไปทำผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ถ้าเราทำออกมาได้หลายอย่างก็จะมีที่ไปให้ขยะเหล่านั้น” คุณป้ำพูดถึงมุมมองการนำขยะไปต่อยอด สร้างนวัตกรรมที่จะเป็นทางเลือกให้การกำจัดขยะพลาสติกมีประสิทธิภาพมากขึ้น

.

เอ็นวิคโค

การสร้างความเข้าใจจากรายย่อยสู่รายใหญ่ เพราะผู้ผลิตเองก็คือเป็นผู้บริโภคด้วย การใช้ลดการใช้พลาสติกอาจจะเป็นเรื่องยาก แต่เราสามารถใช้พลาสติกที่มาจากการรีไซเคิล (rPET) เมื่อผู้บริโภคเข้าใจผู้ผลิตถึงไปต่อได้ เพราะเราคือบริษัทที่จัดการขวดพลาสติกเพื่อนำไปทำพลาสติก

.

Pasaya 

ตั้งแต่การเป็นผู้ส่งออกวัตถุดิบจนส่งออกในฐานะผู้ผลิตสินค้าในปัจจุบัน เราคิดถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตั้งแต่ขั้นตอนแรก ทำให้ระบบอุตสาหกรรมในโรงงานของเรามีสภาพแแวดล้อมที่ดี ปล่อยคาร์บอนน้อยที่สุด และปัญหาอื่น ๆ ที่ทำลายสิ่งแวดล้อมนั้นเกิดน้อยลงหรือแทบไม่เกิดขึ้นเลย

บรรยากาศผู้เข้าร่วมฟังงานเสวนา

#SUSTAINABILITYEXPO2023 #SX2023

รู้จักกับงานSUSTAINABILITY EXPO 2023 ได้ที่

มาร่วมเปลี่ยนโลกให้ดีขึ้นใน Sustainability Expo 2023