แต่งบ้านตามจิตวิทยาสี สร้างสุขภาวะที่ดี

ใครๆก็ทราบว่าสีสันมีผลต่ออารมณ์และความรู้สึกของคนเรา อีกทั้งสีสันยังมีผลกับสุขภาพ และพัฒนาการของเด็กด้วย จิตวิทยาสี ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน Research & Innovation for Sustainability Center (RISC) จึงได้ศึกษาการใช้สีที่ส่งผลต่อความรู้สึก พฤติกรรม ระบบการทำงานของร่างกาย ตลอดจนการนำมาใช้กับห้องต่างๆ เพื่อช่วยในการเลือกใช้สีที่สร้างสุขภาวะที่ดี และส่งเสริมสุขภาพ โดยเฉพาะกับพัฒนาการเด็กในแต่ละช่วงวัย เป็นอีกวิธีง่ายๆที่ทำให้เรามีสุขภาพกายดีและมีความสุขขึ้น จิตวิทยาสี มนุษย์รู้สึกเมื่อเกิดการรับรู้ ความรู้สึกของมนุษย์จะเกิดขึ้นหรือไม่ ขึ้นอยู่กับสิ่งเร้า (แสง เสียง กลิ่น รส อุณหภูมิหรือการสัมผัส) และจากกฎของเฟชเนอร์ (Fechner’s law) พบว่า ระดับความเข้มของสิ่งเร้าภายนอกมีผลต่อระดับของการรับรู้ภายในของมนุษย์ โดยประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของมนุษย์ มีความสามารถในการรับรู้แตกต่างกัน ดังนี้ การออกแบบบ้านเพื่อสุขภาพจิตที่ดี จึงสามารถสร้างการกระตุ้นได้ทั้งทางตา หู ผิวหนัง และจมูก ให้มีอิทธิพลต่อผู้อยู่อาศัยได้ตามลำดับ และจะเห็นว่าการรับรู้ทางตา มีสัดส่วนที่มากที่สุดเมื่อเทียบกับประสาทสัมผัสต่างๆ ของร่างกาย (ส่วนลิ้น เป็นประสาทรับรู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ) สีมีผลต่อความรู้สึกได้อย่างไร สิ่งที่กระตุ้นการมองเห็นทางตาก็คือแสง โดยตาคนสามารถมองเห็นคลื่นแสงเป็นสีต่างๆ 7 สี […]

แจกแบบ บ้านประหยัดพลังงาน จาก Young Architect ECO Home Contest

บ้านประหยัดพลังงาน จากผู้ชนะการประกวด พร้อมแบบก่อสร้าง แบบโครงสร้าง BOQ ใช้ก่อสร้างได้ ลงทะเบียน ดาวน์โหลดได้ฟรีเลย

วิธีเลือกซื้อบ้านมือสองฉบับมือใหม่

แนะนำการพิจารณาเลือก ซื้อบ้านมือสอง ว่าควรเลือกอย่างไรจึงจะคุ้มค่าการลงทุน ข้อมูล ซื้อบ้านมือสอง ที่ต้องเช็กก่อนซื้อ ก่อนตัดสินใจ ซื้อบ้านมือสอง ควรเช็กว่าตัวบ้านและที่ดินมีข้อมูลเหล่านี้อยู่ไหม เพื่อป้องกันปัญหา และช่วยให้การรีโนเวตบ้านทำได้ง่ายขึ้น 1. ตรวจสอบเลขโฉนดที่ดินและชื่อเจ้าของทรัพย์ให้ถูกต้อง โดยตรวจสอบที่สำนักงานที่ดินประจำพื้นที่นั้นว่า แปลงที่ดินถูกต้องตรงกับโฉนดและมีชื่อเจ้าของทรัพย์ถูกต้องตรงกันแน่นอน เพราะมีกรณีที่บางทรัพย์อาจติดจำนองอยู่กับธนาคาร บางทรัพย์อาจถูกนำไปฝากขายหรือค้ำประกันเงินกู้นอกระบบ หรืออาจมีผู้ถือครอบครองหลายคน ซึ่งผู้ถือครองนั้นต้องยินยอมขายทุกคน บางทรัพย์ก็ยังเป็นชื่อของบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว และยังไม่ได้โอนมรดกกันอย่างเรียบร้อย กรณีแบบนี้ผู้ซื้อควรจัดจ้างทนายความเข้ามาช่วยดูแลด้วยจะดีที่สุด 2. มีใบอนุญาตปลูกสร้างอาคาร กรณีเป็นบ้านที่ไม่ได้อยู่ในหมู่บ้านหรือโครงการจัดสรร คุณควรถามหาใบอนุญาตปลูกสร้างอาคารจากเจ้าของทรัพย์ (เป็นเอกสารที่จำเป็นในการโอนทรัพย์สิน) 3. ทรัพย์สินที่พ่วงมากับตัวบ้าน ในการเจรจาซื้อ-ขาย ให้พูดคุยเรื่องทรัพย์สินที่พ่วงมากับตัวบ้านให้ชัดเจนว่าสิ่งใดรวมอยู่ในการซื้อขายบ้าง เช่น เฟอร์นิเจอร์บิลท์อินซึ่งติดกับตัวบ้าน สวนและต้นไม้ต่างๆ ปั๊มน้ำและแท็งก์น้ำ เครื่องปรับอากาศ เครื่องกรองน้ำ เครื่องทำน้ำอุ่น ฯลฯ 4. แบบก่อสร้างบ้านเดิม ควรถามหาแบบก่อสร้างบ้านจากเจ้าของบ้านเดิม เนื่องจากแบบก่อสร้างจะมีประโยชน์ในการซ่อมแซมและต่อเติมบ้านในอนาคต 5. ราคาและค่าโอน ต่อรองราคาให้ชัดเจนและพูดคุยเรื่องค่าธรรมเนียมการโอน ค่าภาษี และค่าอื่นๆ ให้ชัดเจน ว่าใครจะเป็นผู้ชำระ หรือจะแบ่งกันรับภาระในสัดส่วนเท่าไหร่บ้าง รวมไปถึงการวางมัดจำและกำหนดระยะเวลาการส่งมอบบ้าน โดยทั้งหมดนี้ให้กรอกในหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายให้ครบถ้วน 6. เข้าดูพื้นที่และตัวอาคาร […]

เลือกซื้อบ้านพร้อมอยู่ บ้านจัดสรร ทาวน์เฮ้าส์ ไม่ให้พลาด

ถ้าจะซื้อบ้านพร้อมอยู่ หรือ บ้านจัดสรร รวมถึงทาวน์เฮ้าส์ ที่อยู่ในโครงการ นอกจากดูฟังก์ชันและรูปทรงบ้านที่ชอบแล้ว ยังควรพิจารณาปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ และการอยู่อาศัยอย่างสงบสุขในระยะยาว มาดู 10 เช็กลิสต์การเลือกบ้านพร้อมอยู่ให้เหมาะกับคุณที่สุด 1.ความสามารถในการซื้อและการผ่อนชำระ งบประมาณเป็นปัจจัยแรกที่ควรพิจารณาก่อน การเลือกบ้านจัดสรร แน่นอนว่าการซื้อสดเต็มจำนวนนั้นดีที่สุด เนื่องจากดอกเบี้ยจากการกู้ซื้อบ้านเริ่มต้นที่ 90 เปอร์เซ็นต์ ภายใต้เงื่อนไขและการพิจารณาจากธนาคาร หรือหากซื้อแบบผ่อนชำระก็ต้องพิจารณารายได้ว่าสามารถผ่อนไหวและต้องผ่อนนาน 25-30 ปี ซึ่งโดยประมาณราคาบ้านทุก 1 ล้านบาทจะต้องผ่อน 7,000 บาทต่อเดือน ซึ่งรายจ่ายส่วนนี้ไม่ควรเกิน 30-40 เปอร์เซ็นต์ ของรายได้ต่อเดือน (กรณีไม่มีภาระหนี้สินอื่น) และยอดดังกล่าวส่วนมากจะเป็นดอกเบี้ยมากกว่าเงินต้น ดังนั้นหากตัดสินจะซื้อบ้านพร้อมอยู่ด้วยการผ่อนชำระแล้วอย่าลืมเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยของแต่ละธนาคารอย่างละเอียดเพื่อจะได้มีภาระดอกเบี้ยที่สมเหตุสมผลที่สุด 2.ทำเลที่ตั้ง ทำเลบ้านที่ดีนั้นสามารถช่วยทั้งประหยัดเงินและสร้างรายได้ที่ดีได้ในอนาคต โดยทำเลที่ควรเลือกนั้นควรพิจารณาถึงความสะดวกในการเดินทาง หรือหากกรณีไม่มีรถยนต์ส่วนตัวก็สามารถเดินทางด้วยระบบคมนาคมอื่นได้สะดวก นอกจากนี้อย่าลืมพิจารณาการพัฒนาโครงการของทั้งรัฐบาลและเอกชนในอนาคต เช่น โครงการก่อสร้างทางด่วนในอนาคต ส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าหรือโครงการสร้างศูนย์การค้า ก็ล้วนแต่ช่วยเพิ่มมูลค่าของบ้านได้เป็นอย่างดี ทั้งในกรณีที่ต้องการจะขายหรือปล่อยเช่าเพื่อเป็น Passive Income รวมถึงการเช็กประวัติน้ำท่วมด้วย 3.บริบทและสถานที่โดยรอบ สถานที่สำคัญใกล้บ้านนั้นเป็นเรื่องที่ดี แต่ถ้าใกล้จนเกินไปก็ไม่ใช่จะดีเสมอไป อาทิ หมู่บ้านที่อยู่ติดกับโรงเรียนซึ่งทุกเช้าก็จะต้องได้ยินเสียงร้องเพลงชาติและเสียงกริ่งเลิกชั้นเรียนดังทุกชั่วโมง หรือหมู่บ้านที่ติดกับวัดก็ต้องฟังเสียงสวดมนต์ไปด้วย รวมไปถึงควรอยู่ห่างไกลแหล่งทิ้งขยะที่มักนำพาปัญหาความสกปรกและกลิ่นไม่พึงประสงค์ลอยเข้ามาในโครงการให้หงุดหงิดใจ […]

พลังงานและการออกแบบ เพื่อทางเลือกที่ดีกว่าในอนาคต

พลังงานเป็นแรงขับเคลื่อนทั้งในการใช้ชีวิตและการออกแบบ แต่ในสภาวะพลังงานใกล้ขาดแคลนและสิ่งแวดล้อมที่แย่ลง การออกแบบบ้านและสถาปัตยกรรมจะช่วยสร้างอนาคตที่ดีขึ้นได้อย่างไร คอลัมน์ Home Expert ร่วมกับ Solar D ชวน 2 สถาปนิกระดับแนวหน้า คุณวสุ วิรัชศิลป์ แห่งVaSLab ARCHITECTURE และ คุณจูน เซคิโน แห่ง Junsekino Architect and Design มาคุยเรื่อง พลังงานและการออกแบบว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร บ้านและไลฟ์สไตล์ในอนาคตจะเป็นอย่างไร และทางเลือกที่ดีกว่าของพลังงานสำหรับอนาคตคืออะไร พลังงานสะอาด ทางเลือกสู่ความยั่งยืน เราต่างใช้ไฟฟ้ากับทุกการใช้ชีวิต และมีแนวโน้มจะใช้มากขึ้น พลังงานแสงอาทิตย์จึงเป็นสิ่งที่เราพูดถึงและใกล้ตัวมากขึ้นเรื่อยๆ และการใช้พลังงานสะอาดกับอาคารเป็นอีกหนึ่งโจทย์จากเจ้าของแทบทุกโครงการ ในฐานะสถาปนิก เราต้องช่วยกันสร้างทางเลือกให้มากขึ้น และโน้มน้าวเจ้าของให้เห็นถึงความยั่งยืนในอนาคต พลังงานสะอาดก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่เราต้องให้ความสำคัญ โดยอาศัยความร่วมมือจากทั้งเจ้าของ ผู้ออกแบบ และผู้ผลิต ความสมดุลในการใช้พลังงาน การติดตั้งโซลาร์เซลล์ในสมัยก่อนมีค่าใช้จ่ายสูงมาก และประสิทธิภาพก็ยังต่ำ จึงต้องติดจำนวนมากเพื่อให้เพียงพอซึ่งมักเกินความคุ้มค่า จึงเลี่ยงไม่ได้ที่ยังต้องใช้พลังงานจากฟอสซิล เราทราบกันอยู่แล้วว่าทรัพยากรธรรมชาติลดน้อยลง พลังงานเริ่มขาดแคลน และการสร้างโรงผลิตไฟฟ้าก็มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมาก เราจึงต้องพิจารณาความสมดุลในการใช้พลังงานจากฟอสซิลและพลังงานสะอาด เดี๋ยวนี้มีรถ EV ให้ใช้ มีระบบโซลาร์เซลล์ที่มีประสิทธิภาพดีขึ้นมากมาเป็นทางเลือกที่ทำให้เราสร้างสมดุลการใช้พลังงานได้ พลังงาน […]

10 เรื่องต้องรู้ก่อนติดโซลาร์เซลล์

อยากเปลี่ยนหลังคาบ้านให้ผลิตไฟฟ้าได้ แต่ก็ยังไม่กล้าลงทุน กลัวทำให้บ้านหมดสวยดูเหมือนโรงงานไฟฟ้า ไม่รู้จะถามใคร หรือกำลังหาข้อมูลอยู่ คอลัมน์ Home Expert จึงชวนมาคุยกับ The expert ด้านระบบโซลาร์เซลล์ คุณเบนซ์ – สัมฤทธิ์ สิทธิวรานุวงศ์ ผู้ก่อตั้งบริษัท Solar D เรื่องต้องรู้ก่อนติดโซลาร์เซลล์ แน่นอนว่าเขาไม่ใช่แค่นักบริหาร แต่มีแบล็กกราวน์ด้านวิศวกรรมพ่วงด้วยเศรษฐศาสตร์ และเป็นคนคุ้นเคยที่มาร่วมงานบ้านและสวนแฟร์บ่อยๆ ครั้งนี้คุณเบนซ์จะมาให้ความรู้และตอบคำถามแบบไม่มีกั๊ก ใครสนใจเรื่องโซลาร์เซลล์ตามมาอ่าน 10 เรื่องต้องรู้ก่อนติดโซลาร์เซลล์กัน เรื่องต้องรู้ก่อนติดโซลาร์เซลล์ 01 ควรลงทุนกับระบบโซล่าเซลล์เท่าไร และคืนทุนนานไหม คำถามนี้คุณเบนซ์บอกว่าเป็นคำถามยอดฮิตและเป็นเรื่องที่ตอบโดยตรงยาก เพราะขึ้นอยู่กับการใช้งาน อย่างถ้าใช้ไฟกลางวันเยอะ ผลิตมาแล้วใช้หมดก็ถือว่าคุ้ม แต่ถ้าผลิตมาแล้วเหลือทิ้ง หรือขายคืนการไฟฟ้าฯ ก็จะได้มูลค่าแค่ครึ่งเดียว และขึ้นอยู่กับขนาดด้วยว่าใหญ่หรือเล็ก สมมุติบ้านที่ใช้ไฟฟ้าประมาณเดือนละ 3,000 บาท แนะนำให้ติดตั้งที่ 5 กิโลวัตต์ ก็ประมาณ 2-3 แสนบาท โดยไม่มี Storage หรือแบตเตอรี่เก็บไฟ ก็จะประหยัดค่าไฟฟ้าได้ประมาณ 1,000-2,000 บาท แต่ขึ้นอยู่กับการใช้ไฟฟ้าช่วงกลางวันด้วย […]

การทำสวนดาดฟ้าและระบบกันซึม

อยากทำสวนดาดฟ้า ต้องทำระบบกันซึมอย่างไร คอลัมน์ Home Expert ชวนมาดูดีเทลจากนักออกแบบสวนชั้นนำ บริษัทกิ่ง ก้าน ใบ จำกัด ในการทำสวนดาดฟ้าสวยๆแห่งนี้ ทั้งการทำพื้นไม้ กระบะต้นไม้ พร้อมวิธีการทำกันซึมดาดฟ้า และแก้ปัญหารอยร้าวกัน แนะนำว่าอย่าปล่อยให้พื้นดาดฟ้ามีน้ำขังหรือรั่วซึมเป็นเวลานาน หากพบปัญหาควรรีบแก้ไข เพื่อป้องกันการลุกลามจนทำให้โครงสร้างบ้านเสียหายได้ Detail A กระบะปลูกและระบบกันซึม 1. ดินปลูกผสมหินภูเขาไฟ กันซึมดาดฟ้า 2. ทรายรองพื้นหนา 5 เซนติเมตร 3. กระบะก่ออิฐ 4. แผ่นจีโอเท็กซ์ไทล์ 5. แผ่น Grain Grid 6. วัสดุกันซึม 7. ช่องระบายน้ำขนาด 5 x 20 เซนติเมตร 8. พื้นไฟเบอร์ซีเมนต์ ตีเว้นร่อง 9. โครงเหล็กกล่องชุบกัลวาไนซ์ 38 x 75 x 2.3 มิลลิเมตร 10.ฐานเหล็กชุบกัลวาไนซ์หุ้มคอนกรีต […]

การปรับบ้านเพื่อสุขภาวะที่ดี ตามหลัก WELL Building Standard

สุขภาวะในการอยู่อาศัยเป็นเรื่องสำคัญมากขึ้น หลังทุกคนเผชิญสถานการณ์โควิด-19 ฝุ่น PM 2.5 และสภาวะโลกร้อน บ้านจึงเป็นจุดเริ่มต้นของสุขภาพที่ดีทั้งด้านร่างกายและจิตใจ แล้วเราจะปรับบ้านเดิมให้มีสุขภาวะที่ดีขึ้นได้อย่างไร คอลัมน์ Home Expert จึงได้พูดคุยกับ ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน Research & Innovation for Sustainability Center (RISC) หน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญด้านนี้ มาดูวิธีปรับบ้านเพื่อสุขภาวะที่ดี และการทำบ้านให้อยู่เย็น เป็นสุขกัน การปรับบ้านเพื่อสุขภาวะที่ดี บ้านที่มี สุขภาวะที่ดี ควรสร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการใช้ชีวิต หรือกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมที่ดี รวมถึงไม่เป็นก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพตามมา ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน Research & Innovation for Sustainability Center (RISC) โดย ดร. สฤกกา พงษ์สุวรรณ ผู้อำนวยการฝ่ายบูรณาการงานวิจัยเพื่อการเผยแพร่ ได้ให้ข้อมูลที่รวบรวมจากการศึกษาและวิจัยของ RISC ด้านสุขภาวะในการอยู่อาศัย และนำเกณฑ์ WELL Building Standard ที่สำนักงาน RISC ได้รับรองมาตรฐาน WELL Version […]

10 จุดการรีโนเวตบ้านที่ไม่ควรพลาด

การรีโนเวตบ้านเก่ามักไม่มีวิธีการตายตัว เพราะต้องปรับไปตามสภาพและปัญหาของบ้านแต่ละหลัง จึงต้องใช้ประสบการณ์กันพอตัว แล้วถ้าหากเราเป็นเจ้าของบ้านมือใหม่ล่ะ จะเริ่มจากตรงไหนดี? สำหรับเจ้าของบ้านมือใหม่ที่จะเริ่มรีโนเวตบ้าน ควรเริ่มจากการสำรวจบ้านเดิมว่าส่วนใดควรเก็บรักษาไว้ และ ส่วนใดควรรื้อทิ้ง จากนั้นมากำหนดขอบเขตว่าจะรีโนเวตทั้งหลัง, รีโนเวตบางส่วนแล้วจัดฟังก์ชันใหม่ หรือเพียงซ่อมแซมส่วนที่เสียหายให้ดีขึ้น  แม้แต่ละบ้านจะมีวิธีแก้ปัญหาต่างกัน แต่ก็มี 10 จุดการรีโนเวตที่มักเจอแทบทุกบ้านที่มือใหม่ควรรู้ รีโนเวทบ้าน 1. การยกพื้นภายใน รีโนเวทบ้าน ด้วยการยกพื้นภายในบ้านบางส่วนให้สูงขึ้นมีหลายกรณี อาจทำเพื่อต้องการแบ่งสัดส่วนพื้นที่ เช่น ยกพื้นเพื่อแทนเตียงนอน  หรือแก้ปัญหาการเดินท่อน้ำไว้ใต้พื้นของห้องครัว ซึ่งควรระวังเรื่องระดับฝ้าเพดานที่จะเตี้ยลง รวมถึงกระทบต่อระดับประตูหน้าต่าง บันได ปลั๊กไฟ และเฟอร์นิเจอร์บิลท์อิน ถ้ายกพื้นเป็นบริเวณกว้าง ไม่ควรเทพื้นคอนกรีตให้สูงขึ้นเพราะแม้สูงขึ้นเพียง 10-15 เซนติเมตร น้ำหนักจะเพิ่มขึ้นอย่างมากจนอาจทำให้โครงสร้างเดิมเสียหายได้ เพราะคอนกรีต 1 ลูกบาศก์หนักประมาณ 2,400 กิโลกรัม วิธีที่ไม่ทำให้โครงสร้างเดิมรับน้ำหนักมากเกินไปคือ การทำพื้นโครงสร้างเหล็กยึดกับเสาและคานของบ้าน ปูด้วยวัสดุแผ่นพื้นอย่างแผ่น ไฟเบอร์ซีเมนต์ แล้วติตตั้งวัสดุปูพื้นระบบแห้งซึ่งมีน้ำหนักไม่มากและทำงานได้เร็ว 2. การเปลี่ยนวัสดุปูพื้น การเปลี่ยนวัสดุปูพื้นไม่ใช่เรื่องยาก และมีวัสดุหลายชนิดที่สามารถปูทับพื้นเดิมได้โดยไม่ต้องรื้อ เช่น ไม้ลามิเนต กระเบื้องไวนิล รวมถึงกาวซีเมนต์ที่ปูกระเบื้องใหม่ทับกระเบื้องเดิมได้เลย แต่มีสิ่งที่ควรพิจารณาคือ ถ้าต้องการทำพื้นให้ระดับเท่าเดิม […]

ราว-เหล็กดัด กันเด็กตกจากระเบียงและหน้าต่าง

ราวกันตก ป้องกันเด็กตก ควรสูงและความถี่เท่าไรจึงปลอดภัย ป้องกันเด็กพลัดตกจากระเบียงห้อง บ่อยครั้งที่มีข่าวเด็กพลัดตกจากระเบียงห้อง โดยเฉพาะเด็กเล็กที่ยังรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จึงเป็นหน้าที่ของผู้ปกครอง ผู้ออกแบบ และเจ้าของอาคารที่จะตระหนักถึงความปลอดภัยในการใช้งาน มาดูกันว่า ราวกันตก และเหล็กดัดควรมีความถี่-ห่างเท่าไร จึงจะปลอดภัยสำหรับเด็ก และจะแก้ไขราวกันตกเดิมได้อย่างไร เด็กอายุเท่าไรต้องเริ่มระมัดระวัง เมื่อเด็กเริ่มขยับตัวเคลื่อนที่ได้เอง เราต้องระมัดระวังทุกๆ ความเสี่ยงที่อาจเกิดอันตราย มาดูพัฒนาการและความสูงของเด็กแต่ละช่วงวัย เพื่อให้ผู้ปกครองได้เตรียมรับมือกัน ซึ่งจะเห็นว่าเด็กอายุประมาณ 1 ปีก็จะเริ่มเดินแล้ว จึงต้องเตรียมทำคอก ทำประตูกั้น และทำราวกันตกที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก โดยมีหลักการคือ ทำราวกันตกสูง 1-1.5 เท่า ของความสูงเด็ก อายุ 7 – 10 เดือน เด็กเริ่มนั่งจนถึงคลานได้ อายุ 11 – 15 เดือน เริ่มจับยืนและเดินเองได้(เด็กมีความสูงประมาณ 68-79 เซนติเมตร) อายุ 2 ปี เดินได้คล่องและเริ่มเดินขึ้นบันไดได้(เด็กมีความสูงประมาณ 79-92 เซนติเมตร) อายุ 4 ปี เด็กสนุกกับการได้ปีนป่าย(เด็กมีความสูงประมาณ […]