BLOCK WALL HOUSE บ้านบล็อกช่องลมกลางป่า ที่สร้างด้วยคอนกรีตรักษ์โลก

บ้านช่วยโลก เมื่อบ้านของเราสร้างจากวัสดุที่สามารถดักจับคาร์บอนไดออกไซด์เอาไว้ได้! นี่คือบ้านท่ามกลางธรรมชาติ ซึ่งเป็นต้นแบบของวัสดุก่อสร้างที่ยั่งยืนแห่งอนาคตอันใกล้ DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: nendo บล็อกช่องลมที่สร้างจากวัสดุ CO2-SUICOM จำนวน 2,050 ก้อน ได้รับการนำมาใช้ในการสร้างแนวผนังของบ้านหลังนี้ โดยวัสดุนี้เป็นส่วนผสมครึ่งต่อครึ่งระหว่างปูนซีเมนต์กับวัตถุดิบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะสร้างให้เกิดกระบวนการดักจับ CO2 ในขั้นตอนของการแข็งตัวของซีเมนต์ เป็นผลให้วัสดุ CO2-SUICOM สามารถช่วยลดภาวะโลกร้อนได้เป็นอย่างดี โดยวัสดุนี้เป็นการพัฒนาที่เกิดจากความร่วมมือของบริษัท Kajima, The Chugoku Electric Power Co., Denka, และ Landes Co. จนเกิดเป็นคอนกรีตที่สามารถดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ได้เป็นครั้งแรกของโลก บ้านหลังนี้ตั้งอยู่ในจังหวัดนากาโนะ ประเทศญี่ปุ่น ท่ามกลางธรรมชาติอันไร้ซึ่งสิ่งรบกวน ความโดดเด่นของบ้านหลังนี้ คือแนวผนังที่ใช้อิฐบล็อกก่อเป็นบล็อกช่องลมที่มีการหันแนวช่องเปิดแตกต่างกันไปในแต่ละช่วงของอาคาร สัมพันธ์ไปกับรูปแบบการใช้งานในส่วนต่าง ๆ ทั้งยังช่วยพรางอาคารทั้งหลังให้กลมกลืนไปกับผืนป่ารอบด้านได้อย่างดี ช่องเปิดเหล่านี้ เป็นตัวกำหนดมุมมอง และแนวลมที่ไหลผ่านตัวบ้านไปพร้อมกัน ในส่วนที่ต้องการความเป็นส่วนตัวจะมีแนวกำแพงซ้อนกันสองชั้นเพื่อให้มุมมองที่ดูเหลื่อมซ้อนกัน สร้างให้เกิดความจำเพาะของตำแหน่งที่มองทะลุผ่านได้ แม้จะช่วยปิดกั้นสร้างความเป็นส่วนตัว แต่ก็ยังรู้สึกปลอดโปร่ง ไม่อึดอัด แม้วัสดุ CO2-SUICOM ที่นำมาใช้ก่อสร้างบ้านหลังนี้ ยังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนา แต่คาดว่าจะสามารถออกสู่ท่องตลาดได้จริงก่อนปี 2030 อย่างแน่นอน เพื่อแก้ปัญหามลพิษจากอุตสาหกรรมก่อสร้าง […]

อาคารชีวานามัย ออกแบบอาคารจัดการขยะอย่างไร? ให้เป็นมิตรต่อบริบทเมือง

อาคารจัดการขยะ? เป็นมิตรต่อพื้นที่โดยรอบได้จริงหรือ? นี่คือตัวอย่างการออกแบบอาคารจัดการขยะที่เป็นมิตรต่อหน่วยงานโดยรอบ ทั้งยังมีความโดดเด่นในแง่ของรูปลักษณ์ที่สดใส และมีต้นไม้ช่วยปรับทัศนียภาพ รวมทั้ง การออกแบบให้จัดการขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เกิดกลิ่นรบกวนออกไป และทำให้ขยะแห้งไวขึ้น ซึ่งหมายถึงการจัดการขยะที่ง่ายขึ้น กับ “อาคารชีวานามัย” โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย Waste Management Building, King Chulalongkorn Memorial Hospital, Bangkok โดย ARCHITECTS 49 LIMITED โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย มีขยะที่เกิดขึ้นและต้องจัดการในปริมาณที่มากถึง 16 ตันต่อวัน และมีปริมาณถังขยะหมุนเวียนมาทำความสะอาด ตากถังขยะ และส่งออกไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ของโรงพยาบาลมากถึง 600 ถังต่อวัน รวมทั้งมีการปฏิบัติงานภายในอาคารตลอด 24 ชั่วโมง และเนื่องจากพื้นที่อาคารจัดการขยะเดิม มีพื้นที่ไม่เพียงพอต่อการจัดการ จึงมีความต้องการจัดสรรพื้นที่ และอาคารหลังใหม่ที่มีการออกแบบให้จัดการขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบไปด้วยพื้นที่จัดการขยะทั่วไป ขยะติดเชื้อ ขยะพิษ ขยะรีไซเคิล มีพื้นที่สำนักงาน พื้นที่พักผ่อน สำหรับเจ้าหน้าที่ พื้นที่เก็บพัสดุของหน่วยงานต่าง ๆ ของโรงพยาบาล […]

นวัตกรรม เซลลูโลส จากเศษเหลือทางอุตสาหกรรมเกษตร

เซลลูโลส มีประโยชน์มีส่วนช่วยในการลดปัญหามลภาวะ อีกทางหนึ่งสร้างธุรกิจสร้างสรรค์จากการออกแบบเพื่อเพิ่มมูลค่าได้อย่างหลากหลาย

สิ่งทอ จากวัสดุธรรมชาติและวัสดุรีไซเคิล

สิ่งทอ ที่ผลิตจากเส้นใยและไหม แต่สิ่งที่อยู่ใกล้ตัวและใช้ทุกวันอีกอย่างที่อาจจะมองข้ามไปนั่นคือ “เฟอร์นิเจอร์” จนสิ่งทอกลายมาเป็นอุตสาหกรรม

ไอเดียออกแบบ – ตกแต่งด้วย วัสดุแก้ว

วัสดุแก้ว สามารถนำมาตกแต่งบ้านได้ในสไตล์ที่หลากหลาย ที่พัฒนาจากนวัตกรรมวัสดุรีไซเคิลหรือวัสดุธรรมชาติที่ผ่านกรรมวิธีที่นำเป็นเทรนด์แต่งบ้าน

วัสดุขยะ จากงานอีเว้นต์ ทางเลือกใหม่โปรดักต์ยั่งยืน

room ขอแนะนำเหล่า วัสดุขยะ น่าสนใจที่ล้วนแล้วแต่เป็นทางออกของการใช้เศษเหลือจากจัดงานอีเว้นต์แทบทั้งสิ้นไม่ว่า กากกาแฟ เศษอาหาร ขวดพลาสติก

10 โปรดักต์ สีจากธรรมชาติ ยั่งยืน ปลอดภัย ไร้สารเคมี

โปรดักซ์ สีจากธรรมชาติ จากดอกไม้ ต้นไม้ จนไปถึงวัสดุเศษเหลือในร้านอาหาร คาเฟ่ผ่านกรรมวิธีสกัดมาเป็นสีที่นำมาใช้แทนสีโปสเตอร์จากอุตสาหกรรม

THOC หัตถกรรมกระเป๋าจากเส้น “ตอกไม้ไผ่” โดย COTH studio

COTH studio กับผลงาน THOC หัตถกรรมกระเป๋าจากเส้น “ตอกไม้ไผ่” ที่ตั้งใจหยิบใช้เทคนิคของงานจักสานโบราณ “ไม้ไผ่ขด” ที่ซ่อนอยู่ในงานเครื่องเขิน มาผสมกับเทคนิคสมัยใหม่ เพื่อให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ของยุคปัจจุบัน จากความชื่นชอบและคุ้นเคยในการทำงานคราฟต์ ร่วมกับชุมชนมาตลอด 6 ปี ในฐานะ COTH studio ทำให้ได้มีโอกาสเดินทางไปตามหมู่บ้านต่าง ๆ จนเมื่อ 4 ปีก่อน ดีไซเนอร์ได้เดินทางไปพบกับป้าสร้อย ซึ่งเป็นทายาทของบ้านกันธิมาที่ทำไม้ไผ่ขดเป็นบ้านแรก และเกือบจะเป็นบ้านสุดท้ายในชุมชนศรีปันครัว จังหวัดเชียงใหม่ ทำให้พวกเขาได้มองเห็นศักยภาพของงานหัตถกรรมที่สามารถผลักดันให้ไปได้ไกลกว่าการเป็นแค่โครงสร้างภายในของงานเครื่องเขินที่ปัจจุบันความนิยมน้อยลง กลายเป็นจุดเริ่มต้นที่ COTH studio ได้เข้าไปศึกษา และทดลองเทคนิคร่วมกับป้าสร้อยและครอบครัว โดยพัฒนาและใส่คุณค่าใหม่ให้กับเทคนิคนี้ จนออกมาเป็นไอเดียกระเป๋าแบรนด์ THOC มีที่มาจากเส้น “ตอกไม้ไผ่” โดยคอลเล็กชั่นแรกชื่อ BARE เด่นด้วยการเล่นกับโครงสร้างสัจวัสดุของเทคนิคไม้ไผ่ขดที่ไม่ถูกปิดทับหรือซ่อนอยู่ภายในแบบเดิมอีกต่อไป จากการทำงานในฐานะ COTH studio เป็นเวลากว่า 6 ปี และได้ทำงานร่วมกับชุมชนหัตถกรรมในการทำงาน Functional Art เช่น ของตกแต่งบ้าน เฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ ทำให้ได้มีโอกาสเจอชุมชน […]

เฌย เก้าอี้ร่วมสมัยที่ถูกปลุกชีพขึ้นมาโดย Rumba Bor

“เราหนีพลาสติกไม่พ้น ถ้าในโลกเรายังเลิกใช้พลาสติกไปเลยทีเดียวไม่ได้ ถ้า product บางชนิดยังเหมาะกับการใช้ material plastic อย่างน้อยก็อยากจะใช้มันให้ยั่งยืน ก็อยากจะใช้งานออกแบบทำให้ พลาสติกเหล่านี้ถูกใช้ด้วยความรัก ไปเนิ่นนาน” Rumba Bor แทนตัวเองว่าเป็น Curator มากกว่า ดีไซเนอร์ พวกเขาพบแบบเก้าอี้ตัวนี้จากโรงงาน King Kitchen และถูกใจในความเชยอันเปี่ยมรสนิยมของมัน จึงได้เลือกนำมาเปลี่ยนวัสดุใหม่ โดยที่สีใสนั่นจะเป็นพลาสติก 50% recycled Polyethylene ชื่อว่า สาคู และสีขาว กะทิ นั้นจะเป็น 100% recycled Polyethylene ซึ่งความยั่งยืนนั้นก็เป็นหนึ่งในสิ่งที่แบรนด์มีความตั้งใจเป็นอย่างมาก “ถ้า product บางชนิดยังเหมาะกับการใช้ material plastic อย่างน้อยก็อยากจะใช้มันให้ยั่งยืน material ที่เปลี่ยนจาก PVC เป็น recycled PP เป็นเพราะ ถึง PVC จะแข็งแรงและตอบโจตความ durable แต่เป็นวัสดุที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ ใช้พลังงานและเคมีเยอะในการผลิต จึงเป็นเหตุผลที่เลือกวัสดุทดแทนเป็น […]

Polyformer เปลี่ยน ขวดพลาสติก (PET)ให้กลายเป็นวัสดุพร้อมพริ้นต์ได้ทันที

นี่คือ เครื่องพิมพ์ที่เปิดให้โหลดแบบ Open Source และพริ้นต์ใช้เองได้! เพื่อ เปลี่ยนขวดพลาสติก(PET)ให้กลายเป็นวัสดุพร้อมพริ้นต์ได้ทันทีด้วยเครื่องพิมพ์ที่เปิดให้โหลดแบบ Open Source และพริ้นต์ใช้เองได้! เพราะกว่า 90% ของขยะพลาสติกทั้งโลกนั้นมาจากขวดพลาสติก(PET) จะดีกว่าไหมถ้าเครื่องพิมพ์สามมิติสามารถใช้งานขยะเหล่านี้เป็นวัตถุดิบได้โดยตรง นักออกแบบ Reiten Cheng ได้ออกแบบเครื่องพิมพ์นี้อย่างมุ่งมั่น เพื่อลดขั้นตอนการรีไซเคิลลงให้สั้นที่สุด เพราะจากขวดพลาสติกที่ถูกทิ้งกลายเป็นขยะ กว่าจะเข้าสู่ขั้นตอนรีไซเคิลนั้น ไม่ใช่เพียงแค่เวลาที่เสียไป แต่ยังรวมถึงทรัพยากรและพลังงานที่ต้องใช้ไประหว่างทางอีกด้วย การทำงานของเครื่อง Polyformer นั้นสามารถแบ่งออกได้เป็นสองส่วนหลักๆก็คือ การสร้างวัตถุดิบสำหรับพิมพ์ หรือที่เรียกว่าเส้นพลาสติก Filament และส่วนที่นำเข้าสู่การพิมพ์นั่นเอง Filament นั้นส่วนใหญ่มีความอ่อนไหวต่อความชื้นซึ่งจะเป็นผลให้การพิมพ์นั้นขาดช่วงไม่ราบรื่นได้ การสร้างวัตถุดิบพร้อมใช้โดยตรง ในทางทฤษฏีจึงเป็นการลดขั้นตอนการเก็บที่เสี่ยงต่อความชื้น ทั้งยังสามารถผลิตเพียงเท่าที่ต้องการได้อีกด้วย ขั้นแรกนั้นเมื่อได้ขวดพลาสติกเก่าที่จะนำมาใช้ป้อนเข้าสู่เครื่อง เครื่องจะเป็นการตัดให้ขวดนั้นกลายเป็นริ้วเส้นก่อน เมื่อเครื่องจับปลายริ้วพลาสติกได้ก็จะเริ่มกรีดเข้าสู่ขั้นตอนผลิตโดยอัตโนมัติ เมื่อริ้วพลาสติกผ่านเข้าไปยังเครื่องทำความร้อนภายใน ริ้วเหล่านั้นจะถูกหลอมและเกลาให้ได้รูปเป็นเส้น Filament จัดเก็บเข้าสู่กระสวยต่อไป เมื่อขวดหนึ่งหมดก็ใส่ขวดต่อไปเครื่องจะเชื่อม Filament เหล่านั้นให้กลายเป็นเส้นต่อเนื่องกันจนเต็มกระสวย หรือเท่าที่ต้องการในการใช้งานนั่นเอง จากนั้นก็นำกระสวยไปติดตั้งลงในเครื่องพิมพ์เพื่อใช้งานเป็นอันจบขั้นตอน Reiten Cheng ตั้งใจออกแบบเครื่องนี้แบบ Open Source หรือก็คือแพลตฟอร์มเปิดที่ใครก็สามารถโหลดไปพริ้นต์ใช้งาน และร่วมกันพัฒนาได้ เพราะเทคโนโลยีเหล่านี้ยังคงต้องการการพัฒนาอีกมาก […]

เตรียมพบกับ Sustainability Expo (SX2023) มหกรรมด้านความยั่งยืนที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน

แถลงข่าวการจัดงาน Sustainability Expo (SX2023) มหกรรมด้านความยั่งยืนที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 4 ตอกย้ำแนวคิดหลักของการจัดงาน “พอเพียง ยั่งยืน เพื่อโลก” (Sufficiency for Sustainability) ที่จะชวนให้คุณได้ร่วม “ลงมือทำจริง” และร่วมกันสร้างอนาคตให้โลกใบนี้น่าอยู่อย่างยั่งยืนไปด้วยกัน ระหว่างวันที่ 29 กันยายน – 8 ตุลาคม 2566 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ SX2023 ประกอบด้วยนิทรรศการ 8 โซน ได้แก่ โซน SEP Inspiration โซน Better World โซน Better Me โซน Better Living โซน Better Community โซน SX Food Festival โซน SX Marketplace และ โซน […]

SWEEPER แม้ E-Sports ก็ควรต้องเท่าเทียม เมาส์ ใช้เท้าสำหรับผู้พิการทุพพลภาพ โดย LOGA x Dots design studio

เพราะทุกคนต้องเท่าเทียม แม้ใช้เท้า ก็ลากหัวคมๆได้! และนี่คือเมาส์ที่เกิดขึ้นจากแรงบันดาลใจที่ได้เห็นเกมเมอร์ท่านหนึ่งเล่นเกม VALORANT ด้วยเท้า เนื่องจากเกิดอุบัติเหตุ ทำให้ใช้แขนขวาไม่ได้ “เราอยากทำเมาส์สำหรับคนที่ใช้เท้าเล่นเกม” คือสิ่งที่ทีม LOGA ได้ยกหูโทรศัพท์หา Dots design studio และโปรเจ็กต์ดี ๆ จนกระทั่งเกิดการพัฒนาเมาส์ตัวนี้จึงเกิดขึ้นเมื่อครึ่งปีก่อน หัวใจสำคัญของการออกแบบเมาส์ตัวนี้คือ “ต้องไม่ให้ความรู้สึกของความเป็นผู้พิการ” แต่จะต้องรู้สึกเหมือนได้ใช้สิ่งที่เข้ามาเสริมการเล่นเกม เป็นอุปกรณ์ของบุคคลนั้นๆ ที่ไม่ทำให้ผู้ใช้รู้สึกด้อยค่า ส่วนตัวของเมาส์นั้นได้ใช้ต้นแบบมาจากรุ่น Garuda PRO+ ที่ได้เพิ่มแท่นแม่เหล็ก และสายรัดเพื่อปรับการใช้งานให้เหมาะกับบุคคลได้เหมาะสม และหลากหลายยิ่งขึ้น การเลือกใช้โมเดล Garuda PRO+ นั้นไม่เพียงแค่เรื่องของประสิทธิภาพความละเอียดของเซนเซอร์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงคุณลักษณะที่สามารถเปลี่ยนแบตได้ง่ายอีกด้วย ปัจจุบัน เมาส์รุ่นนี้ได้ไปชนะรางวัล DEmark,Design Award มาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ในกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมและดิจิทัล และกำลังเตรียมการที่จะวางจำหน่ายโดยทั่วไปในเร็ววัน ไม่ว่าคุณจะเป็นคนที่มีปัญหากับการใช้มือจับเมาส์ หรือเพียงแค่อยากลองเปลี่ยนการทำงานไปสู่การใช้เท้า Sweeper จาก Loga ก็น่าจะเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่เปิดประตูสู่การใช้งานใหม่ ๆ ได้ไม่มากก็น้อย หรืออย่างน้อยก็สำหรับผู้พิการทุพลภาพให้ได้มีสิทธิ์ในการเล่นเกม(หรือทำงาน)เทียบเท่า หรืออาจจะเก่งกว่าคนทั่วไปก็เป็นได้ #เกร็ดน่ารู้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals) […]

“Strata Wall Panel” วัสดุตกแต่งผนังผลิตจากพลาสติกรีไซเคิลผสมกากกาแฟ

Strata Wall Panel ผสมกากกาแฟเกิดจากการเล็งเห็นโอกาสและอยากเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดปริมาณ ‘ขยะ’ จำนวนมหาศาลนี้จากคาเฟ่ ร้านกาแฟมากมาย

“Enviro Board” วัสดุทดแทนไม้จากขยะกล่องนม

ทางเลือกวัสดุทดแทนไม้ ที่ได้จากการรีไซเคิลกล่องนมจากการคัดกรอง ทำความสะอาด และป่นกล่องเครื่องดื่มเพื่อนำไปบีบอัดเป็น “Enviro Board”

Unburnt Circular Brick อิฐสีพาสเทล จากวัสดุเหลือทิ้ง

อิฐสีพาสเทล กระเบื้องและอิฐจากเศษเซรามิกของอุตสาหกรรมต่าง ๆ กว่า 80 – 90% ที่ผ่านการขึ้นรูปทางพันธะเคมี (Non-toxic Chemical)

Loqa แบรนด์วัสดุที่ตั้งใจสร้างการหมุนเวียนของเศษวัสดุก่อสร้าง และเฟอร์นิเจอร์

วัสดุเหล่านี้อาจดูเหมือนวัสดุก่อสร้างโดยทั่วไป แต่แท้จริงแล้วนี่คือวัสดุที่ตั้งใจสร้างการหมุนเวียนของเศษเหลือวัสดุ เพื่อเกิดเป็นแบรนด์เฟอร์นิเจอร์และวัสดุก่อสร้างแนว Circular Design ในนาม loqa Loqa เป็นแบรนด์ไทยที่ก่อตั้งโดย คุณนนท์-นรฤทธิ์ วิสิฐนรภัทร และ คุณมาย-มนัสลิล มนุญพร ด้วยความหวังในการเริ่มต้น “ทำ” ในสิ่งที่ทำได้ เพื่อความยั่งยืนของโลกอย่างเป็นรูปธรรม วัสดุก่อสร้าง และเฟอร์นิเจอร์ คือสิ่งที่ทั้งสองให้ความสนใจ และด้วยพื้นฐานธุรกิจทางบ้านของคุณนนท์ที่เป็นผู้ผลิตอิฐทนไฟ การเริ่มต้นกับวัสดุประเภทอิฐจึงไม่ใช่สิ่งที่ยากเกินกำลัง Loqa เริ่มต้นจากการทดลองใช้เศษวัสดุเหลือทิ้งหลากหลาย เช่น เซรามิก แก้วจากขวดเก่า หรือวัสดุอื่นๆ เช่น บรรจุภัณฑ์ หรือขยะทางการเกษตร ณ ปัจจุบัน Loqa แบ่งผลิตภัณฑ์ออกเป็น 2 รูปแบบ นั่นคือ กลุ่มประเภท Surface เช่น วัสดุก่อผนัง ปูพื้น และอิฐช่องลม และกลุ่มประเภทงาน Casted หรือการหล่อขึ้นรูปเป็นชิ้นงาน เช่น แจกัน ประติมากรรม เชิงเทียง และกระถาง จุดเด่นของ Loqa […]

บ้านพอดี พอดี บ้านเรียบง่าย ที่ใครๆ ก็สร้างได้

โครงการ แบบบ้านพอดี พอดี มีจุดเริ่มต้นในช่วงเหตุการณ์มหาอุทกภัยเมื่อปี พ.ศ. 2554 ซึ่งทำให้ใครหลายคนต้องจากที่อยู่อาศัย ไปพักพิงตามศูนย์อพยพ

INFINITUDE ด้วยวัฏจักรอันไม่มีที่สิ้นสุด

PIPATCHARA แบรนด์แฟชั่นไทยในเวทีโลกที่บอกเลยว่าไม่ธรรมดา โดย คุณเพชร-ภิพัชรา แก้วจินดา และ คุณทับทิม-จิตริณี แก้วจินดา ด้วยแนวคิดการใช้แรงขับเคลื่อนของโลกแฟชั่นเพื่อสร้างการมีส่วนรวมย้อนกลับไปช่วยเหลือชุมชน จนเกิดเป็นคอลเลคชั่น Infinitude ที่ไม่เพียงเลือกช่างฝีมือไทยในการผลิตเพียงเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการเลือกใช้วัสดุหลักของคอลเลคชั่นเป็น “พลาสติกกำพร้า” อีกด้วย Fashion for Community หรืองานออกแบบที่สร้างการมีส่วนร่วมกลับคืนสู่สังคม คือแนวทางการทำงานของ PIPATCHARA ตลอดมา เมื่อมาถึงคอลเลคชั่น Infinitude นี้ จึงเริ่มมองหามิติของความยั่งยืนที่หลากหลายออกไป ความไม่มีที่สิ้นสุดในความหมายของ Infinitude นั้นสามารถแปลออกมาได้ทั้งมิติของการสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชน โดยเลือกทำงานกับครูที่แม่ฮ่องสอนเพื่อเป็นการสร้างอาชีพเสริมให้กับเหล่าครู ออกแบบชิ้นส่วนต่างๆโดยคำนึงถึงการทำงานกับคนในชุมชน ตลอดจนวัตถุดิบที่เหลือใช้ก็มาจากการรวมรวบขยะพลาสติกที่ไม่สามารถนำกลับเข้าระบบได้ หรือที่เรียกว่า ‘พลาสติกกำพร้า’ มาใช้เป็นวัสดุหลัก จึงเป็นที่มาของคำว่า Infinitude เราต้องการต่อยอดความเป็นไปได้เหล่านี้ให้ต่อเนื่องไปได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด นอกจากตัวชิ้นงานเองแล้ว ก็หวังว่าคอลเลคชั่นนี้จะกลายเป็นแรงบันดาลใจให้หลายๆคนเห็นความเป็นไปได้ใหม่ๆของ Circular Economy ที่จับต้องได้เช่นกัน พลาสติกกำพร้า เหมือนไร้ค่า แต่สร้างสรรค์ได้ด้วยงานออกแบบ พลาสติกที่เลือกใช้ในคอลเลคชั่นนี้ทั้งหมดคือ ‘พลาสติกกำพร้า’ ซึ่งเป็นขยะที่ไม่มีมูลค่าในตลาด ไม่ถูกนำไปใช้ซ้ำ รีไซเคิลก็ให้กลับมาเป็นตัวมันเองก็ไม่ได้ เราใช้พลาสติกที่มาจาก Post-Consumer Waste ซึ่งคือพลาสติกที่ผ่านการใช้มาจากในครัวเรือนมาแล้ว […]