Bugar Collection นำพาวัสดุยั่งยืนพื้นถิ่นในวิถีชาวบ้านอย่าง ไม้ไผ่ และไม้ตาล มาสร้างสรรค์เป็นงานออกแบบร่วมสมัย

Bugar Collection นำพาวัสดุยั่งยืนพื้นถิ่นในวิถีชาวบ้านอย่าง ไม้ไผ่ และไม้ตาล มาสร้างสรรค์เป็นงานออกแบบร่วมสมัย

ดื่มกาแฟแบบรักษ์โลก ด้วยแคปซูลกาแฟอะลูมิเนียม รีไซเคิลได้ร้อยเปอร์เซ็นต์

#รู้หรือไม่ วัสดุที่สามารถรีไซเคิลได้โดยไม่ด้อยคุณสมบัติลง ไม่ว่าจะรีไซเคิลซ้ำ ๆ กี่ครั้งต่อกี่ครั้ง และสามารถรีไซเคิลได้ถึงร้อยเปอร์เซ็นต์ นั่นก็คือ “อะลูมิเนียม” เพื่อเป็นมิตรกับโลกมากขึ้น Nespresso จึงได้เปลี่ยนแปลงบรรจุภัณฑ์กาแฟแคปซูลให้กลายเป็น “วัสดุอะลูมิเนียม” ทั้งหมด แทนที่แคปซูลพลาสติกอย่างแต่ก่อน ชงกาแฟแคปซูลกินทุกวัน วันละหลายๆแก้ว แล้วจะเอาแคปซูลไปทิ้งอย่างไรให้ไม่เสียเปล่า? โพสต์นี้มีคำตอบ!! ด้วยแนวคิดของการรีไซเคิลวัสดุนี้เอง จึงทำให้ในปัจจุบัน Nespresso ได้เปิดรับแคปซูลเก่าที่ทำจากวัสดุอะลูมิเนียม เพื่อนำไปแปรรูปกลับมาเป็นผลิตภัณฑ์อีกครั้ง โดยสามารถขอถุงสำหรับใส่แคปซูล เพื่อเตรียมนำกลับไปรีไซเคิลได้ตามจุดรับคืนแคปซูล หรือส่งคืนทางไปรษณีย์ก็ได้ ที่ไปรษณีย์ไทยกว่า 1,200 สาขา ทั่วประเทศ เมื่อ Nespresso ได้รับแคปซูลกลับไปแล้ว ขั้นตอนแรกเขาจะนำกากกาแฟออกมาย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ย และดินปลูกต้นไม้ จากนั้นจึงทำการย่อยแคปซูลให้กลายเป็นผงอะลูมิเนียม ก่อนจะนำไปหลอมกลับมาใช้อีกครั้ง อย่างไม่น่าเชื่อ กว่า 70% ของแคปซูลที่ Nespresso ใช้ในปัจจุบันนั้น ถูกผลิตขึ้นจากอะลูมิเนียมรีไซเคิล และมากกว่านั้น Nespresso Global ยังนำอะลูมิเนียมเหล่านี้ ไปออกแบบเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถใช้งานได้จริงในชีวิตประจำวัน ร่วมกับแบรนด์ชั้นนำ เช่น Caran d’Ache ที่ผลิตปากกาจากแคปซูล 24 […]

Microlino รถ 2 ที่นั่ง พลังไฟฟ้า สุดปุ๊กปิ๊ก

รถยนต์ก็ไม่น่าใช่! มอเตอร์ไซค์ก็ไม่เชิง!เพราะนี่คือรถไฟฟ้าขนาด 2 ที่นั่ง ที่กลับมาใหม่ในสไตล์ที่สปอร์ตกว่าเดิม MICROLINO 2.0 ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจโดยตรงมาจาก BMW Isetta ในอดีต ซึ่งในรุ่น 2.0 นี้ ไม่ได้มีเพียงที่นั่งที่เพิ่มเข้ามาเท่านั้น แต่แทบจะเรียกว่ายกเครื่องใหม่หมดทั้งคันเลยก็ว่าได้ โดดเด่นด้วยประตูเปิดด้านหน้าบานใหญ่ ซึ่งเป็นผลดีช่วยให้การออกแบบโครงสร้างของรถคันนี้ สามารถใช้โครงรถ Aluminum Monocoque Chassis แบบ Space Frame ที่เบา แต่แข็งแรง ตกแต่งภายในลุคสปอร์ต มาพร้อมกับพวงมาลัยหนังสามก้านแบบเรโทร ชวนให้นึกถึง Mini Cooper Gran Prix จากยุคก่อนปี 2000 ขึ้นมาทันที เส้นสายภายนอกเน้นความเรียบง่าย สื่อถึงความปราดเปรียวทันสมัย ทำสีเงินด้านให้ความรู้สึกล้ำยุคแบบสัจวัสดุ มาพร้อมหลังคา Sunroof กับมอเตอร์ไฟฟ้าที่ส่งแรงบิดได้ถึง 89 นิวตันเมตร ทำอัตราเร่ง 0-50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ได้ใน 5 วินาที และมีความเร็วสูงสุดที่ 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เพียงพอต่อการใช้งานในเมืองใหญ่อย่างเหลือเฟือ […]

STALLIONS “TANYA” มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าแบรนด์ไทยที่ไปไกลถึงมิลาน

น้ำมันแพงไป! ใช้มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าคือทางออก!! STALLIONS แบรนด์ไทย จึงร่วมกับ DOTS ออกแบบมอเตอร์ไซค์ที่จะเข้ามาเป็นอวัยวะใหม่ของคนเมือง TANYA by DOTS X STALLIONS EV MOTORCYCLE คือมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าที่เตรียมจะวางจำหน่ายเร็ว ๆ นี้อย่างแน่นอน หลายคนคงคุ้นเคยกับ STALLIONS แบรนด์มอเตอร์ไซค์ลุคเรโทรสุดเท่กันมาบ้าง และนี่ก็คืออีกหนึ่งก้าวถัดไปของแบรนด์ STALLIONS ก็ว่าได้ TANYA คือมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าเต็มรูปแบบที่ออกแบบสร้างขึ้นบนแพลตฟอร์ม DOTS EV สามารถทำความเร็วได้ถึง 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง รวมทั้งระยะการขับขี่ต่อการชาร์จ 1 ครั้ง อยู่ที่ 150 กิโลเมตร เรียกว่าชาร์จครั้งเดียวขับไปพัทยาได้เลยทีเดียว และด้วยแพลตฟอร์ม DOTS EV จึงทำให้ในอนาคตหลังจากวางจำหน่าย การปรับเปลี่ยนต่าง ๆ เพื่อปรับลุค หรือการใช้งานของตัวมอเตอร์ไซค์จะเป็นไปได้ง่ายขึ้น เพราะแพสชั่นคือสิ่งที่ทำให้คนตัดสินใจเลือกพาหนะในการขับขี่ที่เด่นชัดที่สุด ยิ่งสำหรับกรุงเทพฯ แล้ว มอเตอร์ไซค์เปรียบได้กับพาหนะที่กลายมาเป็นอีกหนึ่งอวัยวะของเจ้าของเสียด้วยซ้ำ และแน่นอนว่าการออกแบบรูปลักษณ์ของ TANYA จึงถูกคิดขึ้นมาเพื่อตอบสนองต่อไลฟ์สไตล์ของคนเมือง สื่อถึงความโฉบเฉี่ยวล้ำสมัยอย่างเด่นชัด แต่คงไว้ซึ่งเส้นสายที่สื่อออกมาจากฟังก์ชัน ไม่ใช่เพียงการประดับตกแต่ง […]

Common Neglect Material เก้าอี้จากลังปลาเหลือทิ้ง

ชุดเฟอร์นิเจอร์สาธารณะจากขยะอุตสาหกรรมประมง ที่สะท้อนภาพเมืองชายฝั่งของญี่ปุ่นที่ถูกทิ้งร้าง ท่ามกลางความหวังจะชุบชีวิตย่านนี้ขึ้นมาใหม่ผ่านงานศิลปะที่สร้างการรับรู้ในวงกว้าง เมื่อทศวรรษก่อน ย่านคิชู (Kishu) ในจังหวัดมิเอะ (Mie) เมืองชายฝั่งทางภาคใต้ของญี่ปุ่น เคยเป็นหนึ่งในศูนย์กลางอุตสาหกรรมประมงของชายฝั่งทางใต้ของญี่ปุ่น แต่ปัจจุบันประสบภาวะจำนวนประชากรที่ลดลง เช่นเดียวกับหลายพื้นที่ห่างไกลของญี่ปุ่น ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมๆ กับการขยายตัวของสังคมผู้สูงอายุ เห็นได้จากหมู่บ้านชายขอบเล็กๆ มากมายที่ถูกทิ้งร้าง ผู้คนโยกย้ายเข้าไปสู่เมืองใหญ่ที่กระจุกตัวของความเจริญ ปล่อยบ้านเรือนให้ว่างเปล่า ประชากรที่ยังอยู่ก็ล้วนมีรายได้ต่ำ พื้นที่ตรงนี้จึงเหลือทิ้งไว้เพียงขยะจากอุตสาหกรรมประมง เมื่อ Takuto Ohta นักออกแบบชาวญี่ปุ่น ได้ลงพื้นที่สำรวจแถบ Kii, Miyama และ Owase ซึ่งเคยเป็นฐานอุตสาหกรรมประมงในย่านนี้ เขาได้พบกับตู้แช่ปลาจำนวนนับไม่ถ้วนบริเวณท่าเรือ ลังใส่ปลา แห อวน ทุ่น รวมถึงท่อพีวีซีที่ใช้ในฟาร์มปลากระเบนตลอดแนวชายฝั่ง ทั้งหมดนี้ถูกทิ้งร้างไร้เจ้าของมานานกว่า 12 ปี Common Neglect Material (CNM) จึงคอลเล็กชั่นเฟอร์นิเจอร์สาธารณะของ Ohta ที่ตั้งใจสร้างประโยชน์ใช้สอยใหม่ให้กับขยะอุตสาหกรรม วัสดุ และสิ่งของเหลือทิ้ง ที่พบในเมืองที่ถูกทิ้งร้างแห่งนี้ เพื่อสร้างสรรค์คุณค่าใหม่ พร้อมฉายสปอตไลต์ให้กับพื้นที่ว่างเปล่าไร้ชีวิตชีวาแห่งนี้อีกครั้ง ลังใส่ปลาสีเหลืองสดใสได้รับการแปลงโฉมใหม่ให้กลายเป็นชุดเฟอร์นิเจอร์ขี้เล่น ที่มีทั้งเก้าอี้ ม้านั่ง สตูล […]

บ้านตากอากาศ กึ่งแคมปิ้งสร้างจากเหล็กรีไซเคิล

บ้านตากอากาศ กึ่งแคมปิ้งกลางทุ่งหญ้า ให้โมเมนต์การพักผ่อนที่ใกล้ชิดและเป็นมิตรกับธรรมชาติในประเทศออสเตรเลีย บ้านตากอากาศ ท่ามกลางทุ่งหญ้าเขียวขจี แถมยังมองเห็นมหาสมุทรแปซิฟิกได้แห่งนี้ ตั้งอยู่ใน Berry หมู่บ้านเล็ก ๆ ในประเทศออสเตรเลีย โดดเด่นด้วยหน้าตาของอาคารที่มีลักษณะเป็นหอคอยสีทองแดงสองหลังต่างขนาดกันสองฝั่ง ซึ่งได้รับการออกแบบมาเพื่อตอบสนองกับความต้องการที่จำเป็นสำหรับการพักอาศัย อาทิ เตียงนอน ดาดฟ้า เตาผิง และห้องน้ำ ความน่าสนใจของที่นี่ คือโครงสร้างของเปลือกอาคารทำมาจากเหล็กรีไซเคิล ซึ่งเคยเป็นทุ่นลอยน้ำที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว ภายในกรุไม้เนื้อแข็ง และทำช่องเปิดแบบบานเกล็ดเต็มผืนผนังด้านหนึ่ง โดยมีรอกแบบแมนนวลสามตัว คอยทำหน้าที่ยกและลดระดับผนังด้านข้างของอาคารขึ้นลง เพื่อสร้างส่วนยื่นสำหรับช่วยป้องกันแสงแดดในฤดูร้อน มีพื้นที่ใช้สอย 3×3 เมตร ชั้นล่างมีสิ่งอำนวยความสะดวกพรั่งพร้อม ทั้งพื้นที่ปรุงอาหาร จัดเก็บสิ่งของ และเตาผิง ขณะที่เตียงนอนสามารถเข้าถึงได้โดยใช้บันไดบนชั้นลอย ส่วนห้องน้ำถูกแยกส่วนให้อยู่ที่อาคารหลังเล็ก เชื่อมต่อกันด้วยดาดฟ้าที่ขึ้นได้จากบันไดด้านข้างอาคาร สำหรับอาคารหลังเล็กได้ออกแบบให้มีถังเก็บน้ำฝน แถมมีถังเก็บสิ่งปฏิกูลสำหรับใช้ทำปุ๋ยหมัก เป็นการออกแบบที่นอบน้อม โดยพยายามลดผลกระทบที่อาจมีต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ได้มากที่สุด ส่วนพลังงานที่ใช้ในการอยู่อาศัย ไม่ว่าจะเป็นส่วนของเตาผิง เตาประกอบอาหาร หรือไฟฟ้าที่ให้ส่องแสงยามค่ำคืน ก็มาจากแผงโซลาร์เซลล์ที่ติดตั้งอยู่บนหลังคา ที่นี่จึงเปรียบเสมือนสถานที่หลบภัยทางจิตวิญญาณ ให้เจ้าของบ้านได้ปลีกวิเวก เพื่อมาสัมผัสกับการพักผ่อน เพลิดเพลินไปกับธรรมชาติ และใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย มองเห็นทัศนียภาพของชายฝั่งทางใต้ของออสเตรเลียได้แบบพานอรามาจากภูเขาสู่ท้องทะเล ออกแบบ : Casey Brown […]

IKEA ชวนทุกคน เปลี่ยนชีวิตประจำวันสู่ความยั่งยืน

IKEA ได้เชิญชวน room ไปเยี่ยมชมพื้นที่ใหม่ๆ ณ IKEA BANGNA ซึ่งล้วนแล้วแต่ส่งเสริมถึงความยั่งยืนต่อโลกของเรา ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ Circular Shop พื้นที่โซนต้นไม้จริงใหม่ และ Sustainable Weekend Market โดย room Magazine ได้รับเกียรติจาก คุณวรันธร เตชะคุณากรผู้จัดการแผนก Inspiration & Communication อิเกียประเทศไทย มาเล่าให้ฟังถึงแนวคิดเบื้องหลัง และพาชมพื้นที่ของ IKEA จะเป็นอย่างไรนั้น ไปชมพร้อมๆกันได้เลย ในสายตาของ IKEA แล้ว ความยั่งยืนคืออะไร? “ที่ IKEA เรามองถึงความยั่งยืนตลอดมา เป็นหัวข้อสำคัญในใจอยู่แล้ว และในวันนี้เราก็อยากจะส่งผ่านความคิดเหล่านี้ออกไปให้กว้างยิ่งขึ้น เมื่อกล่าวถึงความยั่งยืนแล้ว หลายคนจะนึกไปถึงสิ่งที่เห็นได้ชัดเจน อย่างเรื่องมลภาวะ เรื่องการจัดการขยะ หรือแม้แต่เรื่องของนวัตกรรมต่างๆ แต่แท้จริงแล้ว ความยั่งยืนนั้นสามารถเริ่มต้นได้ที่ตัวเรา ในชีวิตประจำวันหรือกิจวัตรของทุกๆคน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการใช้ชีวิต เรื่องของอาหาร หรือแม้แต่การอยู่อาศัยภายในบ้าน ซึ่ง “เราและโลกของเรา” ก็จะเป็นหนังสือที่จะมาเล่าเรื่องการสร้าง “ชีวิตที่ยั่งยืน” ในหลากรูปแบบมากกว่านั้น เริ่มต้นจากเรื่องเล็กๆในชีวิตของเราเอง เพราะอิเกียนั้นเชื่อว่าเมื่อทุกๆคนมีชีวิตที่ยั่งยืนได้แล้ว […]

MAGMA FLOW PUBLIC SPACE ปะทุความสดใสด้วยสวนแมกมา กระตุ้นย่านให้คึกคักมีชีวิตชีวา

Magma Flow Public Space ขยายภาพลาวาปะทุ สู่ไอเดียการออกแบบสวนสาธารณะสีสันสดใส กระตุ้นให้ย่านถนนคนเดินในหนิงป่อ มณฑลเจ้อเจียง ประเทศจีน ซึ่งเป็นย่านการค้าและที่อยู่อาศัยแห่งใหม่อันสำคัญให้คึกคัก ลักษณะเด่นอย่างหนึ่งของโปรเจ็กต์นี้ คือการมีบันไดขนาดใหญ่ที่ใช้เป็นทางเดินไปยังชั้น 2 ของอาคารที่พักอาศัยใกล้เคียง ก่อนจะถ่ายเททางเดินลงสู่พื้นที่ทางเท้าด้านล่าง ซึ่งกลายเป็นพื้นที่สาธารณะที่เต็มไปด้วยองค์ประกอบและสีสันสะดุดตา จุดไฮไลต์ของพื้นที่ คงหนีไม่พ้นภาพขั้นบันไดที่ทอดตัวจากอาคารสู่พื้นชั้นล่าง สีเหลือง สีส้ม และสีแดง สีสันโทนร้อนที่เห็นนี้ ถูกนำมาใช้เป็นธีมสีหลัก อันเป็นตัวแทนของภาพแมกมาที่ไหลปะทุลงมาจากยอดภูเขาไฟ เป็นภาพดึงดูดสายตาให้ผู้คนอยากมาใช้เวลาพักผ่อนในพื้นที่ใช้สาธารณะ แทนการเล่าเรื่องภาพภูเขาไฟและแมกมาที่ไหลนอง ด้วยเหล่าสเตชั่นสำหรับทำกิจกรรมสาธารณะต่าง ๆ ที่สามารถใช้งานได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ จุดพักผ่อนในแต่ละสเตชั่นออกแบบโดยเลียนแบบการปะทุของภูเขาไฟ แม้แต่สไลด์เดอร์สำหรับเด็ก ๆ บางอันที่คล้ายกับแมกมาไหลลงไปตามเนินเขา นอกจากนี้ยังมีชิงช้า กระดานหก เนินเขาจำลอง ทางลาด อุโมงค์ ฯลฯ เป็นอีกพื้นที่สาธารณะที่ทำหน้าที่เป็นจุดไฮไลต์ของเมือง และเป็นจุดรวมความบันเทิงภายในการพัฒนาเชิงพาณิชย์ ออกแบบ : 100 Architects (https://100architects.com/) ภาพ : Rex Zhou เรียบเรียง : Phattaraphon

ENVELOPE HOUSE บ้านโมเดิร์น ของครอบครัวใหญ่ ที่เผื่อพื้นที่ให้ต้นไม้ได้เติบโตและสายลมพัดผ่าน

บ้านโมเดิร์น ของครอบครัวขนาดใหญ่ในสิงคโปร์ กับการเนรมิตพื้นที่ให้เต็มไปด้วยสีเขียวของต้นไม้ พร้อมการมอบนิยามใหม่ให้การสร้างบ้านในเขตร้อนชื้น ช่วยให้บ้านมีเอกลักษณ์ไปพร้อมกับการอยู่อาศัยที่ดี เพราะ สิงคโปร์ เป็นประเทศที่ได้ชื่อว่าทุกตารางนิ้วบนเกาะเล็ก ๆ แห่งนี้มีคุณค่าและราคาสูง การสร้างบ้านสักหนึ่งหลังจึงต้องคำนึงถึงฟังก์ชันและการใช้ประโยชน์อย่างสูงสุด บ้านโมเดิร์น หลังนี้ ก็เช่นกัน กับการรวบรวมสมาชิกของครอบครัวไว้ถึง 3 ครอบครัว และหลายเจเนอเรชั่น บ้างหลังนี้จึงต้องตอบสนองคนทุกช่วงวัย โดยไม่ละทิ้งสเปซที่เป็นส่วนตัว ควบคู่ไปกับการสร้างพื้นที่ส่วนกลาง เพื่อเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัว เพิ่มเติมคือพื้นที่สีเขียว ที่ไม่ว่าจะอยู่มุมไหนก็สัมผัสได้ถึงธรรมชาติ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนโหยหา และเชื่อว่าจะช่วยเยียวยาใจทุกครั้งเมื่อกลับถึงบ้าน เอกลักษณ์ของบ้านหลังนี้ เด่นด้วยบ้านรูปทรงกล่องโมเดิร์นดีไซน์เรียบง่าย ออกแบบโดยสถาปนิกจาก Asolidplan สะดุดตาเป็พิเศษกับช่องเปิดสี่เหลี่ยมหลากหลายขนาดที่กระจายอยู่ทั่วอาคาร จนเปรียบเสมือนเป็นลวดลายให้แก่เปลือกอาคาร หรือฟาซาดไปในตัว ทำหน้าที่ช่วยนำแสงและลมให้พัดผ่านเข้ามาสู่พื้นที่พักอาศัยด้านใน ทำให้บ้านเย็นตลอดเวลา แม้หน้าบ้านจะหันไปทางทิศตะวันตกก็ตาม เมื่อเข้ามาภายในบ้าน มุมมองของสวนสีเขียวด้านนอกยังตามเข้ามาสู่พื้นที่ส่วนกลางของบ้านเกือบทุกอณู เพื่อให้เกิดความรู้สึกสดชื่นท่ามกลางบรรยากาศสวนสีเขียวในร่ม ปลูกต้นไม้อยู่ใต้บันไดของคอร์ตกลางบ้าน ให้แทงยอดสูงชะลูดขึ้นไปจนถึงชั้นสอง คล้ายยกธรรมชาติมาไว้ใกล้ตัว เสริมด้วยบ่อน้ำเล็ก ๆ ที่มีแผ่นทางเดิน สำหรับเดินเชื่อมต่อไปยังมุมนั่งเล่น และมุมนั่งเล่นเล็ก ๆ ริมหน้าต่าง รับรู้ถึงความผ่อนคลายได้อย่างเต็มที่ สวนพักอาศัยชั้นสอง เป็นชั้นพักผ่อนของผู้สูงอายุของครอบครัว ส่วนชั้นสามเป็นส่วนพักอาศัยของครอบครัวรุ่นใหม่ โดยระหว่างขึ้นบันไดยังจะสัมผัสได้ถึงความเขียวชอุ่มของยอดไม้ แถมมีที่นั่งเล็ก […]

BOGOR CREATIVE HUB ครีเอทีฟฮับของคนรักงานสร้างสรรค์ ศูนย์กลางช่วยส่งเสริมแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ประจำเมือง

ครีเอทีฟฮับ ดีไซน์โดดเด่นรูปตัวซี (C) สีขาว ที่เปิดให้เหล่านักคิดนักสร้างสรรค์ รวมถึงชาวเมืองทุกคน ได้มีพื้นที่สาธารณะสำหรับพักผ่อน และระดมความคิด เพื่อช่วยการส่งเสริมและพัฒนาเมือง Bogor Creative Hub ครีเอทีฟฮับ แห่งนี้ ตั้งอยู่ในพื้นที่อาคารประวัติศาสตร์เก่าแก่ประจำเมือง Bogor ประเทศอินโดนีเซีย เป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับพักผ่อน และระดมความคิด เพื่อช่วยการส่งเสริมและพัฒนาเมือง ผ่านพื้นที่ที่ได้รับการออกแบบฟังก์ชันการใช้งานเพื่อกระตุ้นไอเดียไว้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นคาเฟ่ ฮอลล์สำหรับจัดงานประชุม ห้องเวิร์กชอป และแกลเลอรี่แสดงงานศิลปะ โดดเด่นด้วยตัวอาคารรูปตัวซี (C) สีขาว เปิดโล่งเพื่อเชื่อมต่อกับลานกลางแจ้งที่ขยายไปยังสวนสาธารณะที่ร่มรื่นไปด้วยต้นไม้ขนาดใหญ่ มองไปด้านหน้าจะเห็นอาคารเก่าสไตล์โคโลเนียลซึ่งยังคงอยู่ในสภาพดี จากทำเลที่ตั้งที่เปรียบเสมือแลนด์มาร์กหนึ่งของเมือง Local Architecture Bureau จึงหยิบองค์ประกอบอย่างซุ้มโค้งของอาคารเก่ามาเป็นส่วนหนึ่งของอาคารครีเอทีฟฮับแห่งนี้ด้วย เห็นได้จากการออกแบบทางเข้าอาคารที่มีลักษณะเป็นซุ้มโค้งแบบซ้อนเลเยอร์ เปลี่ยนภาพประตูทางเข้าอาคารที่ซ้ำซากให้มีมิติสวยงาม ระเบียงทางเดินภายในอาคารเปิดมุมมองออกสู่สวนสาธารณะ รองรับการใช้งานได้อย่างยืดหยุ่น อาทิ การเปิดเป็นเวทีกลางแจ้งสำหรับแสดงงานศิลปะ แสดงดนตรี งานเสวนา ฯลฯ   “เราพยายามให้ความเคารพต่อสถานที่ตั้งมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้เกิดความกลมกลืนระหว่างอาคารประวัติศาสตร์กับอาคารหลังใหม่ นอกจากนี้ยังเน้นการออกแบบที่เรียบง่าย สามารถใช้งานได้อย่างยืดหยุ่น รองรับทุกกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมจิตวิญญาณแห่งการสร้างสรรค์” สถาปนิกผู้ออกแบบอธิบายเกี่ยวกับแนวคิดที่ต้องการให้ที่นี่เป็นครีเอทีฟฮับประจำเมือง ช่วยสนับสนุนเหล่านักคิดที่เต็มเปี่ยมไปด้วยไอเดีย ได้มีพื้นที่แสดงผลงานและความคิดเห็นที่สร้างสรรค์ ซึ่งเป็นสิ่งช่วยขับเคลื่อนสังคมในแง่มุมต่าง ๆ […]

GAWTHORNE’S HUT กระท่อมที่ออกแบบให้พึ่งพาธรรมชาติและลดการใช้พลังงาน

บ้านประหยัดพลังงาน ที่ออกแบบให้พึ่งพาธรรมชาติและลดใช้พลังงาน โดยอ้างอิงอาคารเดิมในพื้นที่อย่างโรงเก็บหญ้าแห้งจึงห่อหุ้มอาคารด้วยสังกะสี

JETTY GARDEN สวนสาธารณะริมท่าเทียบเรือ ที่ส่งเสริมทั้งการพักผ่อนและภูมิทัศน์อันสวยงามในประเทศอินเดีย

สวนสาธารณะ ริมท่าเทียบเรือ Nani Daman ในเมือง Daman ประเทศอินเดีย อยู่ใกล้กับป้อมปราการ St. Jerome ซึ่งมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ย้อนไปแต่เดิมที่นี่เคยเป็นพื้นที่สวนสาธารณะมาก่อน แต่กลับถูกเลิกใช้และปล่อยให้เสื่อมโทรมอยู่เป็นเวลานาน เพราะไม่ตอบโจทย์ความต้องการของชาวบ้านเท่าไหร่นัก กระทั่งมีนโยบายให้ฟื้นฟูและออกแบบใหม่ โดยครั้งนี้เป็นหน้าที่ของทีมออกแบบจาก ARUR, KTA ซึ่งให้ความสำคัญกับความต้องการของผู้ใช้งาน และบริบทที่ตั้งเป็นสำคัญ การออกแบบ สวนสาธารณะ นี้ เรียกว่าถูกกำหนดด้วยองค์ประกอบหลาย ๆ ปัจจัย นอกจากโจทย์ด้านการใช้งานแล้ว ยังต้องตอบโจทย์ด้านภูมิทัศน์ด้วย เนื่องจากทำเลสามารถมองเห็นความสวยงามของวิวริมน้ำ โดยเฉพาะฝั่งตรงข้ามที่มองเห็นป้อมปราการ St. Jerome และภาพเรือประมงหลากสีสันที่สัญจรผ่านไปมาบนผิวน้ำ ซึ่งเหมาะแก่การมาพักผ่อนชมวิวเป็นอย่างมาก взять автокредит онлайн เพื่อตอบสนองจุดประสงค์การใช้งานดังกล่าว จึงออกแบบอาคารพาวิเลียนให้ขนานไปกับแนวถนนชายฝั่ง แล้วทำทางเดินชั้นบนให้เชื่อมต่อถึงกันได้ แบบยาว ๆ ให้เดินเล่นชมวิวมุมสูงได้แบบจุใจ โดยพาวิเลียนแต่ละหลังจะไม่บดบังกัน หลังคาด้านบนทำจากไม้ระแนงเพื่อช่วยกรองแสงเท่านั้น จึงเป็นภาพโครงสร้างที่ดูโปร่งเบา ขณะที่ชั้นล่างก็ได้ร่มเงาจากใต้ท้องอาคาร ช่องว่างด้านล่างของพาวิเลียนที่สร้างแบบสับหว่างกัน ทำพื้นที่เป็นคอร์ตสวนขนาดเล็ก ปลูกไม้ยืนต้นที่ขุดล้อมมาจากสวนเก่ากว่า 20 ต้น เติมด้วยไม้พุ่มทรงเตี้ยที่มีใบสีสันสดใสช่วยเพิ่มความสดชื่น และเมื่อยอดไม้แผ่กิ่งก้านเติบโตเต็มที่ก็จะกลายเป็นร่มเงาแผ่ปกคลุมไปทั่วทั้งบริเวณ ช่วยให้อาคารไม่ร้อนจนเกิน […]

บ้านไม้ไผ่ อยู่อย่างเป็นมิตรกับธรรมชาติในกาลาปากอส

บ้านไม้ไผ่ รูปทรงโมเดิร์นตั้งอยู่ที่เกาะซานกริสโตบาล ส่วนหนึ่งของหมู่เกาะกาลาปากอส ในประเทศเอกวาดอร์ ก่อสร้างขึ้นโดยใช้ทรัพยากร พลังงาน แรงงาน และการขนส่งในพื้นที่ โดยพยายามให้เกิดความยั่งยืนและเป็นมิตรกับธรรมชาติมากที่สุด Dany และ Jenny คู่สามีภรรยาเจ้าของ บ้านไม้ไผ่ ตั้งใจสร้างที่นี่ขึ้น หลังจากที่ทั้งคู่มีลูกคนแรก แล้วต้องการพื้นที่พักอาศัยที่กว้างขึ้น โดยได้รับคำปรึกษาจาก ESEcolectivo ก่อนออกมาเป็นบ้านที่ใช้โครงสร้างไม้ไผ่ทั้งหลัง โดยใช้แรงงานและภูมิปัญญาท้องถิ่นภายใต้งบประมาณที่ไม่สูงนัก เพื่อให้เข้ากันดีกับบริบททางธรรมชาติอันเปราะบางของหมู่เกาะกาลาปากอส บ้านทั้งหลังจึงต้องออกแบบให้สามารถอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างสมดุล ลดการใช้พลังงาน และพึ่งพาตนเองได้ เห็นได้จากการแบ่งพื้นที่รอบบ้านสำหรับทำแปลงปลูกผักใช้รับประทานในครอบครัว ขณะที่พื้นที่ใช้สอยภายในขนาด 120 ตารางเมตร สถาปนิกได้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 ชั้น ชั้นล่างประกอบด้วยส่วนห้องน้ำ ส่วนซักล้าง และห้องพักสำหรับผู้สูงอายุ แบ่งพื้นที่รอบแกนบันไดให้มีขนาดกว้าง เพื่อทำหน้าที่เป็นทางเดินไปขึ้นสู่ชั้นบนสุดมองเห็นวิวทะเลได้ ทั้งยังช่วยในการไหลเวียนอากาศทั่วทั้งบ้าน ชั้น 2 มีห้องพัก 2 ห้อง คือ ห้องนอนใหญ่ และห้องเด็กเล่น เผื่อสำหรับในอนาคตเมื่อลูกเติบโตขึ้น เขาสามารถย้ายมาพักที่ห้องนี้ได้เพื่อความเป็นส่วนตัว ส่วนชั้น 3 มีห้องสตูดิโอขนาดเล็ก และจุดชมวิวที่สามารถทอดสายตาชมวิวทะเล และพระอาทิตย์ตกดินได้อย่างโรแมนติก ด้านการตกแต่งเน้นเฟอร์นิเจอร์และส่วนต่าง ๆ […]

“มีวนา” แบรนด์กาแฟไทยกับวิถีวนเกษตรอินทรีย์ คนกับป่าพึ่งพากันอย่างยั่งยืน

ทุกครั้งที่ยกแก้วกาแฟขึ้นดื่ม ถ้าได้รู้ถึงที่มาของความอร่อยตรงหน้า ความสุขจะเพิ่มขึ้นเป็นเท่าทวีรึเปล่านะ? สำหรับเราความรู้สึกนี้ได้เกิดขึ้นหลังจากการไปเยือน MiVana Coffee Flagship Store  แฟล็กชิปสโตร์คาเฟ่ที่มีบรรยากาศร่มรื่นย่านศรีนครินทร์ของ “ มีวนา ” โดยเปิดขึ้นเพื่อหวังให้ที่นี่เป็นโมเดลต้นแบบในการส่งต่อแนวคิดการดูแลธรรมชาติ ผ่านไลฟ์สไตล์การดื่มกาแฟ กระตุ้นให้คนเมืองสนใจกาแฟออร์แกนิกกันมากขึ้น ตลอดการทำงานมากว่าสิบปีของแบรนด์กาแฟ “มีวนา” ได้ดำเนินธุรกิจภายใต้แนวทางเพื่อสังคม ผลิตกาแฟอาราบิก้าด้วยระบบวนเกษตรแบบอินทรีย์ กับการปลูกกาแฟแทรกไปกับต้นไม้ในผืนป่า แตกต่างจากการทำไร่กาแฟที่ต้องใช้ปุ๋ยและสารเคมีที่สามารถควบคุมปริมาณผลผลิตได้ตามความต้องการของตลาด ขณะที่การปลูกกาแฟใต้ร่มเงาป่าของมีวนา แม้จะไม่สามารถสู้เรื่องจำนวนการผลิตได้ แต่ในด้านคุณภาพที่ปลอดภัยและเป็นมิตรกับระบบนิเวศควบคู่ไปกับการส่งเสริมให้ชาวบ้านมีอาชีพและปลูกฝังความหวงแหนรักษาป่าละก็นั่นนับเป็นพันธกิจและเป้าหมายอันสำคัญกว่า เบื้องหลังแนวคิดนี้ คุณมิกิ-ชัญญาพัชญ์ โยธาธรรมสิทธิ์ รองกรรมการผู้จัดการงานพัฒนาธุรกิจและการตลาด บริษัท มีวนา จำกัด คือตัวแทนที่จะมาเล่าให้ฟังถึงแนวทางการทำงานของมีวนา ภายใต้เหตุผลของความยั่งยืนดังกล่าวว่า สิ่งนี้ได้สร้างผลลัพธ์ใดกลับคืนสู่สังคมและโลกใบนี้อย่างไร นอกเหนือจากมูลค่าทางธุรกิจ การปลูกกาแฟอินทรีย์กับการอนุรักษ์ป่าสองเรื่องนี้มาบรรจบกันได้อย่างไร คุณมิกิ : “เนื่องจากกาแฟอาราบิก้าต้องปลูกในพื้นที่สูงมีระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,000 เมตร ขึ้นไป และต้องมีสภาพภูมิอากาศที่เย็นจึงจะได้ผลผลิตที่ดีในเชิงของพื้นที่ป่าที่เราเข้าไปทำงานในเชียงราย จะมีสองส่วนคือพื้นที่ป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์อยู่แล้ว เราก็อนุรักษ์ไว้แล้วก็เอากาแฟไปปลูกใต้ร่มเงาป่าในพื้นที่ อีกส่วนคือป่าเสื่อมโทรมหรืออาจจะถูกทำลายไปแล้วเราจะปลูกต้นกาแฟควบคู่ไปกับต้นไม้ที่มีความหลากหลายทางนิเวศ เป็นไม้ที่ให้ร่มเงาในระดับที่แตกต่างกัน ทำให้พื้นที่ป่ามีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้นเรื่อย ๆ “ในอดีตที่ผ่านมาคนอาจจะคุ้นเคยกับการทำไร่กาแฟแบบเป็นแปลงปลูก จะไม่ได้เป็นการปลูกแบบร่วมกันกับป่าเท่าไหร่มากนัก เขาจะมีการจัดการบริหารที่ง่ายกว่าเรา เดินตามแปลงก็จบ บริหารจัดการง่าย พอเจอศัตรูพืชก็ใช้สารเคมีเร่งดอก เร่งผล […]

LET’S (NOT) KICK BUTT เปลี่ยนก้นบุหรี่เป็นวัสดุใหม่ดั่งงานศิลป์

ก้นบุหรี่ ภัยร้ายที่น่ากลัวกว่าหลอดพลาสติก เชื่อหรือไม่ว่า ขยะที่ปนเปื้อนไหลลงทะเลนั้น มากกว่าหลอดพลาสติก มันคือก้นบุหรี่ที่เป็นขยะยากแก่การรีไซเคิล อาจจะดูเหมือนเป็นวัสดุนุ่มนิ่มที่น่าจะรีไซเคิลได้ไม่ยาก แต่แท้จริงแล้วก้นบุหรี่เหล่านี้ประกอบขึ้นจากพลาสติก ประเภทเซลลูโลสอะซีเตต (Cellulose Acetate) เป็นประเภทเดียวกับที่ใช้ทำแผ่นฟิล์มกันแสงจอโทรทัศน์ ฟิล์มถ่ายรูป และฝาครอบหลอดไฟ มีความเหนียว และทนทานต่อแรงกระแทก ซึ่งจะต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 10 ปี ในการย่อยสลายเลยทีเดียว และมักจะจบลงที่การนำไปฝังกลบ โดยเฉพาะก้นบุหรี่ใช้แล้วยังมีเศษยาสูบที่มีสารท็อกซิน นิโคติน สารหนู ยาฆ่าแมลง นิโคตินเหล็ก สารก่อมะเร็ง และเอทิลฟีนอล ซึ่งเป็นสารพิษที่จะตกค้างในสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะเมื่อฝังกลบแล้ว อาจถูกพัดพาไป จนเป็นขยะทางทะเลในที่สุด ด้วยเหตุนี้เอง Sachi Tungare นักออกแบบชาวอินเดีย จึงเริ่มต้นโปรเจ็กต์ let’s (not) kick butt ตั้งแต่ปี 2019 โดยเป็นหนึ่งในโปรเจ็กต์ทางการศึกษาที่ Design Academy Eindhoven ประเทศเนเธอร์แลนด์ก่อน ซึ่งในโครงการนี้ก็คือการหาวิธีที่จะนำเอาเศษก้นบุหรี่เหลือทิ้ง มาขจัดสารพิษออกด้วยวิธีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ก่อนจะผสมสีลงไปในวัสดุเพื่อให้ดูเป็นมิตร และน่านำกลับไปใช้มากขึ้น ก่อนจะทดลองการขึ้นรูปให้กลายเป็นชิ้นงานต่อไป อย่างไรก็ตามปัจจุบันการขึ้นรูปนั้นยังทำได้ในระดับหนึ่ง ผลลัพธ์ในตอนนี้จึงเป็นเหมือนกับผลงานศิลปะ […]

เปลี่ยนรังผึ้ง เป็นโหลน้ำผึ้ง ที่ทำมาจากขึ้ผึ้ง Bee Loop

ใช้เพียงขึ้ผึ้งร้อยเปอร์เซ็นต์ และเชือกลินินเท่านั้น เพื่อสร้างโหลใส่น้ำผึ้งนี้ขึ้นมา ด้วยเหตุนี้เองภาชนะใส่น้ำผึ้งจาก Bee Loop จึงเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมร้อยเปอร์เซ็นต์เช่นกัน และมากกว่านั้นคือโหลน้ำผึ้งนี้ไม่เป็นพิษ สามารถนำมาใช้ซ้ำได้ ต่อต้านเชื้อราและแบคทีเรีย มีความเป็นออร์แกนิกถึงขนาดที่ถ้าจะกินก็กินเข้าไปได้โดยปลอดภัย(แต่ไม่น่าอร่อย และเชือกที่มาด้วยกันน่าจะทานยาก) Bee Loop ได้สร้างเทคนิคการบรรจุและขึ้นรูปขึ้ผึ้งให้กลายเป็นภาชนะขึ้นมา โดยใช้สีและพื้นผิวของโหลในการแยกประเภทของน้ำผึ้งออกจากกันคือ สีเหลืองหม่นจะเป็นน้ำผึ้งป่า สีเหลืองเข้มสำหรับน้ำผึ้งบัควีท และสีเหลืองอ่อนสำหรับนึกปกติ บนภาชนะมีเพียงการปั้๊มโลโก้ของ Bee Loop ด้วยความร้อนเพียงเท่านั้น และฝั่งเชือกลินินไว้สำหรับรูดเปิดฝาที่ซีลไว้กับตัวภาชนะ(ฝาก็คือขี้ผึ้งที่หลอมเป็นชิ้นเดียวกันจากโรงงาน) ในท้ายที่สุดแล้ว ผู้ใช้อาจนำภาชนะที่เหลือไปใช้ทากระดาษเพื่อกันน้ำ ใช้จุดเป็นเชิงเทียน นำไปใส่ของ และอีกมากมาย หรือทิ้งไปตามธรรมชาติก็ย่อมได้ การออกแบบนี้ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าหลักการ Zero Waste เกิดขึ้นได้จริง และ Circular Economy นั้น สามารถเกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้หากเราค่อยปรับวิถีชีวิตของเราให้ดีต่อโลกมากยิ่งขึ้น แต่ไม่ต้องกังวลไปนะครับ เพราะงานออกแบบที่ดีจะช่วยให้คุณค่อย ๆ ปรับตัวไปกับวิถีที่ดีต่อโลกได้ในทุกวันแน่นอน ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.beeloop.lt ออกแบบโดย: Pencil and Lion (fb.com/pencilandlion) ภาพ: Bee Loop เรียบเรียง: Wuthikorn […]

เยื่อกระดาษกันกระแทกจากเศษลัง Re-Krafts x Re-Hyacinths

นี่คือบรรจุภัณฑ์ที่ทำให้เราประหยัดวัสดุไปได้ถึงกว่าเท่าตัว ดูดี มีความรักษ์โลก เพราะใช้วัสดุธรรมชาติผสมวัสดุรีไซเคิล ทำไมเราต้องซ้อนพลาสติกกันกระแทกหนาหลาย ๆ ชั้น เวลาจะส่งของบรรจุในกล่องพัสดุ หลายคนคงเคยสงสัย และกลุ้มใจกับจำนวนพลาสติกกันกระแทกมากมายเหล่านั้น เพื่อลดปริมาณพลาสติกที่มากับกล่องพัสดุ นี่คือบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบมาเพื่อให้ใช้วัสดุกันกระแทกและทำหน้าที่เป็นกล่องไปในตัว Re-Krafts x Re-Hyacinths หนึ่งในงานออกแบบที่ชนะรางวัล DEmark, Thailand ในปีนี้ คือบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบด้วยการสร้างความงามจากวัสดุกันกระแทกภายในออกสู่ความงามภายนอก ซึ่งเกิดจากการผสมเศษเยื่อกล่องกระดาษลังที่เหลือใช้ หรือหมดสภาพการใช้งาน มาผสมกับเยื่อปอสา ซ้อนกลางด้วยผักตบชวาอบแห้งสำหรับกันกระแทก และเพื่อลดการใช้ผักตบชวาในปริมาณมาก จึงผลิตด้วยกระบวนการซ้อนเยื่อกระดาษลงบนแม่พิมพ์เซรามิกในโครงการพัฒนาดอยตุง โดยนำเสนอเป็นรูปแบบบรรจุภัณฑ์ชุดของขวัญชุดกาแฟ Espresso เผาด้วยเปลือกแมคคาดาเมีย ตกแต่งภายนอกด้วยเศษผ้าทอจากดอยตุง และสีครามธรรมชาติ นับว่าเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่ยอดเยี่ยมในการสร้างนิยามความงามใหม่จากเป้าประสงค์ของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และเปลี่ยนให้บรรจุภัณฑ์นั้นถูกรังสรรค์จากฟังก์ชันการใช้งานอย่างแท้จริง ออกแบบโดย จักรายุธ์ คงอุไร [email protected] ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ fb.com/DEmarkthailand fb.com/MaeFahLuangFoundation ภาพ: ทีมออกแบบมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงเรียบเรียง: Wuthikorn Sut

เฟอร์นิเจอร์จากใย กัญชง อัด ทำเองได้ง่ายนิดเดียว สู่การใช้งานใหม่ที่หลากหลายยิ่งขึ้น

Hannah Segerkrantz นักศึกษาจาก Design Academy Eindhoven ประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้เลือกทำวิทยานิพนธ์ซึ่งต่อยอดวัสดุ Hempcrete หรือก้อนอิฐจากใยกัญชงอัด ให้กลายเป็นเฟอร์นิเจอร์ในหลากหลายการใช้งาน โดยมาพร้อมคุณสมบัติที่ทนทาน ปลอดภัย ใช้งานง่าย เข้ากับทุกการตกแต่ง ทั้งยังกันน้ำได้อีกด้วย ด้วยวิธีที่การเหมือนจะง่าย(แต่จริง ๆ แล้วไม่ง่ายเท่าไหร่) Hannah เลือกที่จะออกแบบเฟอร์นิเจอร์เหล่านี้จากรูปทรงพื้นฐานคล้ายรูปถ้วย 6 ขนาด ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะจำกัดขนาดของแม่พิมพ์ให้ไม่มากจนเกินไป รูปถ้วยเหล่านี้นอกจากจะเป็นรูปทรงที่มั่นคงแล้ว ยังสะดวกต่อการเข้าพิมพ์และแกะออกจากพิมพ์อีกด้วย พิมพ์ที่ใช้นั่นเป็นแม่พิมพ์ผ้าซึ่งใช้วิธีรัดเข้าให้พอดี จากนั้นจึงกรอกใยกัญชงที่ผสมน้ำแล้วลงไป และนำแม่พิมพ์สองชิ้นที่เลือกมาประกบกัน ด้วยวิธีการนี้เมื่อใยกัญชงจากทั้งสองพิมพ์เชื่อมติดกัน เราจะได้ผลลัพธ์คือเฟอร์นิเจอร์สำหรับการใช้งานที่แตกต่างกันถึง 15 แบบ ตั้งแต่เก้าอี้ทรงเตี้ย ไปจนถึงโต๊ะข้างทรงเตี้ย หรือแท่นวางของ Hannah ตั้งใจให้ HEMP-IT-YOURSELF เป็นวิธีการที่เปิดกว้างที่จะช่วยผลักดันให้ใครก็ตามที่ได้ทดลองได้ตระหนักถึงความเป็นไปได้จากวัสดุธรรมชาติ รวมทั้งคุณค่าของรูปทรงเรียบง่ายที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้ได้ร่วมออกแบบบรรยากาศโดยรอบของเฟอร์นิเจอร์เหล่านี้เอง สำหรับใครที่สนใจและอยากลองทำเฟอร์นิเจอร์จากใยกัญชงแบบ Hannah ดูบ้าง ลองเข้าไปศึกษาได้ที่ https://hannahsegerkrantz.com/hemp-it-yourself-process ข้อมูลเพิ่มเติม https://hannahsegerkrantz.com ภาพ: Luca Tichelman, Hannah Segerkrantzเรื่อง: Wuthikorn Sut […]