นวัตกรรม เซลลูโลส จากเศษเหลือทางอุตสาหกรรมเกษตร

เคยสังเกตหรือไม่ว่าสิ่งของรอบตัวที่ใช้ในชีวิตประจำวันที่มาที่ไปมาจากไหนกันบ้าง โดยทั่วไปแล้วมาจากการสังเคราะห์จากพลาสติก ไม่ก็วัสดุธรรมชาติรักษ์โลกซึ่งเป็นทางเลือกที่ควรเลือกใช้ เพราะสามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติไม่ก่อเกิดมลภาวะ แต่ทราบหรือไม่ว่าวัสดุธรรมชาติบางส่วนนั้นมีที่มาจากภาคอุตสาหกรรมเกษตร 

เคยสังเกตหรือไม่ว่าสิ่งของรอบตัวที่ใช้ในชีวิตประจำวันที่มาที่ไปมาจากไหนกันบ้าง โดยทั่วไปแล้วมาจากการสังเคราะห์จากพลาสติก ไม่ก็วัสดุธรรมชาติรักษ์โลกซึ่งเป็นทางเลือกที่ควรเลือกใช้ เพราะสามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติไม่ก่อเกิดมลภาวะ แต่ทราบหรือไม่ว่าวัสดุธรรมชาติบางส่วนนั้นมีที่มาจากภาคอุตสาหกรรมเกษตร 

คุณสมบัติของเซลลูโลสนั้นเป็นเส้นใยชนิดไม่ละลายน้ำ ดังนั้นจึงสามารถดูดซับน้ำได้ดี 
จึงทำให้บริเวณที่เกิดการพองตัวของการดูดซับน้ำนั้นจับตัวเป็นเส้นหนาทึบหยาบ ทำให้เส้นใยแข็งแรงไม่เปราะ เมื่อเซลลูโลสได้คุณภาพก็สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ทั้งนี้การนำเซลลูโลสมาใช้ประโยชน์มีส่วนช่วยในการลดปัญหามลภาวะทางอากาศpm 2.5 จากการเผาเศษเหลือทางการเกษตร อีกทางหนึ่งคือสามารถสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรจากการขายเศษเหลือทิ้งทางการเกษตร และสร้างธุรกิจสร้างสรรค์จากการออกแบบเพื่อเพิ่มมูลค่าได้อย่างหลากหลายไม่ว่าจะเป็นวงการแฟชั่น จนไปถึงวงการทางการแพทย์ 


แผ่นฟิล์มอ่อนตัวโปร่งแสง
MI : 00364-03  
โดย: บริษัท ไทยนาโนเซลลูโลส จํากัด 
สืบค้นเพิ่มเติม : แผ่นฟิล์มอ่อนตัวโปร่งแสง
วัสดุ แผ่นเมมเบรนอ่อนตัวจากวัสดุธรรมชาติที่รับแรงได้ดีและดูดซับน้ำได้  
รายละเอียด แผ่นเส้นใยโปร่งแสงนี้ผลิตจากเศษข้าวที่ผ่านกระบวนการซึ่งอาศัยแบคทีเรียสายพันธุ์ A.xylinum ในการสร้างเส้นใยเซลลูโลสขนาดเล็ก จากนั้นนำไปผ่านกระบวนการทางเคมีและทางกายภาพให้มีความบริสุทธิ์เพียงพอสำหรับการใช้งานทางการแพทย์ ก่อนจะนำไปบีบอัดจนเป็นแผ่นบาง และเติมสารเติมแต่งจากธรรมชาติ (27% ของผลิตภัณฑ์สำเร็จ) เพื่อเพิ่มความอ่อนตัว  
จุดเด่น แผ่นฟิล์มนี้รับแรงได้สูง สามารถดูดซับน้ำได้ถึง 600% ของน้ำหนักตัว สั่งผลิตขนาดและความหนาของแผ่นวัสดุได้ตามต้องการ  
ลักษณะการใช้งาน เหมาะใช้ในงานทางการแพทย์ การดูแลสุขภาพและความงาม และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ 


บราวน์ ซูการ์ พาเนล​ 
รหัสวัสดุ MI : 00307-02​ 
โดย : บริษัท ออลล์ อาร์ท คราฟท์ จำกัด 
สืบค้นเพิ่มเติม : บราวน์ ซูการ์ พาเนล
วัสดุ วัสดุสำหรับปูพื้นและผนัง ที่ทำด้วยมือจากป่านศรนารายณ์ 60% และใยกาบมะพร้าว 40% รองหลังด้วยตาข่ายอะคริลิกและฝ้าย  
รายละเอียด กาบมะพร้าวจะมีสีน้ำตาลและป่านศรนารายณ์จะมี 5 สีให้เลือก สามารถทำให้สีซีดจางลงได้ตามต้องการ ขนาดเล็กที่สุดได้แก่ 30 x 30 หรือ 60 x 90 เซนติเมตร ขึ้นอยู่กับลวดลายการจัดเรียง และแผ่นใหญ่ที่สุดมีขนาด 4 x 15 เมตร  
จุดเด่น มีการเคลือบกันน้ำด้วยสารเคมีที่เป็นลิขสิทธิ์เฉพาะ  
ลักษณะการใช้งาน  เหมาะใช้ปูพื้น ผนัง ฝ้าเพดาน และทำเฟอร์นิเจอร์  


แผ่นฟิล์มอ่อนตัวโปร่งแสง 
รหัสวัสดุ MI : 00364-03 
โดย: บริษัท ไทยนาโนเซลลูโลส จํากัด 
สืบค้นเพิ่มเติม : แผ่นฟิล์มอ่อนตัวโปร่งแสง 
วัสดุ แผ่นเมมเบรนอ่อนตัวจากวัสดุธรรมชาติที่รับแรงได้ดีและดูดซับน้ำได้  
รายละเอียด แผ่นเส้นใยโปร่งแสงนี้ผลิตจากเศษข้าวที่ผ่านกระบวนการซึ่งอาศัยแบคทีเรียสายพันธุ์ A.xylinum ในการสร้างเส้นใยเซลลูโลสขนาดเล็ก จากนั้นนำไปผ่านกระบวนการทางเคมีและทางกายภาพให้มีความบริสุทธิ์เพียงพอสำหรับการใช้งานทางการแพทย์ ก่อนจะนำไปบีบอัดจนเป็นแผ่นบาง และเติมสารเติมแต่งจากธรรมชาติ (27% ของผลิตภัณฑ์สำเร็จ) เพื่อเพิ่มความอ่อนตัว  
จุดเด่น แผ่นฟิล์มนี้รับแรงได้สูง สามารถดูดซับน้ำได้ถึง 600% ของน้ำหนักตัว สั่งผลิตขนาดและความหนาของแผ่นวัสดุได้ตามต้องการ  
ลักษณะการใช้งาน เหมาะใช้ในงานทางการแพทย์ การดูแลสุขภาพและความงาม และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ 


วัสดุทดแทนโฟมจากเส้นใยเห็ด
รหัสวัสดุ MI : 00987-01  
โดย: ฟันไจแมทเทอร์ฟันไจแมทเทอร์ 
สืบค้นเพิ่มเติม : วัสดุทดแทนโฟมจากเส้นใยเห็ด
วัสดุ วัสดุทดแทนโฟมบรรจุภัณฑ์จากเส้นใยเห็ด
รายละเอียด ผลิตมาจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและเส้นใยเห็ด ด้วยเทคโนโลยีพิเศษที่ทำให้มีกระบวนการผลิตที่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์น้อยกว่า ใช้พลังงานน้อยกว่า และย่อยสลายตามธรรมชาติ (Home Compostable) ภายใน 90 วัน  
จุดเด่น มีคุณสมบัติลอยน้ำ น้ำหนักเบา เป็นฉนวนกันความร้อน ทนไฟ รับแรงกระแทกได้ดี  
ลักษณะการใช้งาน  สามารถขึ้นรูปเป็นบรรจุภัณฑ์ได้ตามต้องการ 


เส้นใยนุ่น
รหัสวัสดุ MI : 00447-01 
โดย: ที่นอนจารุภัณฑ์ 
สืบค้นเพิ่มเติม :  เส้นใยนุ่น
วัสดุ เส้นใยนุ่นที่เก็บเกี่ยวด้วยมือ ประกอบด้วยเซลลูโลส 64% ลิกนิน 13% และเพนโตซาน 23%  
รายละเอียด เป็นเส้นใยฟูนุ่มที่ห่อหุ้มเมล็ดของต้นนุ่นซึ่งเป็นต้นไม้ที่ขึ้นในเขตร้อน รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งคือต้น ceiba เป็นเส้นใยธรรมชาติที่เบาที่สุดในโลก มีความหนาแน่น 0.35 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร เบากว่าฝ้ายถึงห้าเท่า ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ ไม่เป็นพิษ ไม่มีกลิ่น และดูดซับน้ำมัน มีลักษณะกลวงจึงลอยน้ำได้ดี เมื่ออยู่ในน้ำ  
จุดเด่น วัสดุสามารถรับน้ำหนักที่มากกว่าตัวมันได้ถึง 30 เท่า และมีคุณสมบัติในการควบคุมอุณหภูมิ เส้นใยมีความยาวตั้งแต่ 10-15 มิลลิเมตร มีสีครีมโดยธรรมชาติ 
ลักษณะการใช้งาน เหมาะใช้ทำไส้หมอน ที่นอน เบาะ ถุงนอน และเสื้อแจ็กเก็ต ตลอดจนใช้เป็นฉนวนกันร้อนในอาคาร 


วัสดุตกแต่งผนังจากเส้นใยเห็ด
รหัสวัสดุ MI : 00983-01  
โดย: Mush Composites 
สืบค้นเพิ่มเติม : วัสดุตกแต่งผนังจากเส้นใยเห็ด
วัสดุ วัสดุตกแต่งผนังจากเส้นใยเห็ดไบโอคอมโพสิต มีความเป็นธรรมชาติของผิววัสดุที่เป็นเอกลักษณ์  
รายละเอียด วัสดุเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจากกระบวนการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีจากธรรมชาติโดยการให้เห็ดเติบโตเพื่อสร้างเส้นใยไมซีเลียม (เส้นใยส่วนรากของเห็ด)และใช้การถักทออย่างเป็นร่างแหเป็นเสมือนกาวธรรมชาติในการผสานกับเส้นใยวัสดุเศษเหลือทางการเกษตรคงรูป เพื่อให้ได้วัสดุเบา  
จุดเด่น มีความสามารถในการดูดซับเสียง และไม่ลามไฟ   
ลักษณะการใช้งาน  เหมาะสำหรับงานตกแต่งภายใน  


หนังชีวภาพ 
รหัสวัสดุ MI : 00364-04 
โดย: บริษัท ไทยนาโนเซลลูโลส จํากัด 
สืบค้นเพิ่มเติม : หนังชีวภาพ   
วัสดุ แผ่นหนังชีวภาพ ผลิตจากเซลลูโลสที่ได้จากข้าวเล็บนกจังหวัดพัทลุง 
รายละเอียด เป็นโครงสร้างที่ผ่านการปรับสภาพทางเคมีด้วยโปรตีน ไขมัน และสารอนินทรีย์ มีการย้อมสีเพื่อให้มีสีสันตามที่ต้องการ ทำให้แผ่นหนังจากชีวภาพนี้มีผิวสัมผัสเหนียวนุ่ม คืนตัวคล้ายหนังสัตว์  
จุดเด่น ไม่พองตัวเมื่อโดนน้ำ รวมถึงปฏิกิริยาทางเคมีที่ช่วยเชื่อมต่อโครงสร้างของเซลลูโลส ทำให้หนังแข็งแรง กระชับ ฉีกขาดยาก  
ลักษณะการใช้งาน สามารถนำไปตัดเย็บเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า หรือใช้สำหรับงานเฟอร์นิเจอร์ เช่น เบาะนั่ง เพื่อทดแทนหนังสัตว์ อีกหนึ่งทางเลือกใหม่สำหรับผู้ที่ไม่อยากใช้หนังจากสัตว์หรือพลาสติก 


วัสดุชีวมวลจากดิน 
รหัสวัสดุ : MI : 00979-01 
โดย: อินดิน สตูดิโอ 
สืบค้นเพิ่มเติม : วัสดุชีวมวลจากดิน 
วัสดุ คล้ายหนังสัตว์จากเซลลูโลสชีวภาพที่สร้างด้วยแบคทีเรียชนิด Streptomyces ซึ่งพบในดิน 
รายละเอียด เป็นวัสดุเซลลูโลสชีวภาพ 100% จากการสังเคราะห์เมลานินในแหล่งธรรมชาติเพื่อวิเคราะห์คุณภาพและศึกษาความเป็นไปได้เพื่อใช้ในงานแฟชั่นและสิ่งทอ ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าเมลานินจากดินมีลักษณะเหมือนเมลานินในมนุษย์ เนื่องจากคุณสมบัติทางกายภาพของยีนและฟีโนไทป์สามารถแสดงกลไกทางเคมีที่คล้ายคลึงกัน มีพื้นผิวที่ไม่สม่ำเสมอแต่เรียบลื่น และผิวโปร่งแสงถึงทึบแสง มีสีน้ำตาลระดับต่าง ๆ กันตามธรรมชาติ วัสดุแผ่นเซลลูโลสเมลานินที่ผ่านการทดสอบมีลักษณะทางกายภาพอ่อนตัวและมีความคงทนของสีต่อการซัก 
จุดเด่น วัสดุแผ่นเซลลูโลสเมลานินที่ผ่านการทดสอบมีลักษณะทางกายภาพอ่อนตัวและมีความคงทนของสีต่อการซัก 
ลักษณะการใช้งาน เหมาะใช้ในงานออกแบบตกแต่งภายใน แฟชั่น เครื่องแต่งกาย และสื่อศิลปะหรือการออกแบบ 

SONY DSC


ฉนวนเส้นใยเซลลูโลส 
โดย : บริษัท เนเชอรัล อินซูเลชั่น จำกัด 
รหัสวัสดุ MI : 00449-01 สืบค้นเพิ่มเติม : ฉนวนเส้นใยเซลลูโลส   
วัสดุ ฉนวนซับเสียงและกันความร้อนจากเส้นใยเซลลูโลส ทำจากกระดาษรีไซเคิล 80% และสารประกอบโบรอนธรรมชาติ 20% 
รายละเอียด บอแร็กซ์และกรดบอริก จะช่วยเพิ่มคุณสมบัติกันไฟได้อย่างสมบูรณ์และต้านทานเชื้อโรคจากแมลงต่าง ๆ วัสดุมีน้ำหนักเบา ติดตั้งได้ง่าย ต้านทานเชื้อราและการควบแน่นของความชื้น หากมีการระบายอากาศที่เหมาะสม
จุดเด่น ฉนวนไม่มีส่วนผสมของแร่ใยหิน สารเคมีสังเคราะห์ เส้นใยที่เป็นสารก่อมะเร็ง และสามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติได้อย่างปลอดภัย สั่งทำขนาดพิเศษได้ วัสดุนี้มีคุณสมบัติตามมาตรฐาน AS.2462 มาตรฐานการผลิตฉนวนเส้นใยเซลลูโลสของประเทศออสเตรเลีย 
ลักษณะการใช้งาน เหมาะใช้เป็นฉนวนสำหรับติดตั้งภายในโรงแรม ที่พักอาศัย และสำนักงาน  


เซลลูโลสชีวภาพ
รหัสวัสดุ MI : 00364-01  
โดย: บริษัท ไทยนาโนเซลลูโลส จํากัด 
สืบค้นเพิ่มเติม: เซลลูโลสชีวภาพ
วัสดุ สิ่งทอพลังชีวภาพ ที่ให้ความชุ่มชื้นและสมานแผลได้ เป็นสิ่งทอเซลลูโลสที่ทำจากแบคทีเรีย เกิดจากการเพาะเลี้ยงโดยใช้น้ำสับปะรดเป็นอาหาร   
รายละเอียด ประกอบด้วยเจลชนิดชุ่มน้ำที่ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นและสมานแผลทั้งชนิดเฉียบพลันและชนิดเรื้อรังได้ ช่วยลดอาการถูกแดดเผา และสามารถช่วยปรับสภาพผิวให้เนียนนุ่ม ยกกระชับเพื่อคุณภาพผิวที่ดีขึ้น
ลักษณะการใช้งาน เหมาะใช้ปิดแผล แผ่นมาสก์หน้า หรือผ้าในงานทางการแพทย์อื่นๆ  


room Books ร่วมกับ CEA สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy Agency) และ ศูนย์นวัตกรรมด้านวัสดุและการออกแบบ (Material & Design Innovation Center) ขอนำเสนอวัสดุไทยที่อยู่ในฐานข้อมูลวัสดุไทย TCDC Material Database โดยวัสดุส่วนใหญ่ได้รับการคัดเลือกเข้าฐานข้อมูลวัสดุระดับนานาชาติจาก Material ConneXion เพื่อร่วมสร้างความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ให้กับนักออกแบบ และผู้ประกอบการสู่แนวทางวัสดุที่ตอบสนองต่อทั้งธุรกิจและงานออกแบบ โดยเฉพาะในแง่ของความยั่งยืนที่เปิดกว้าง  

ข้อมูลเพิ่มเติม: www.tcdcmaterial.com  

อีเมล: [email protected]  

โทร. 0-2105-7400 ต่อ 254, 241  

ตั้งแต่เวลา 10.30-19.00 น. (ปิดวันจันทร์)  

เนื้อหา: ศูนย์นวัตกรรมด้านวัสดุและการออกแบบ (Material & Design Innovation Center)  

เรียบเรียง: Lily J.  

#MaterialRoom #Betterism  

อัพเดตวัสดุใหม่ วัสดุน่าสนใจ เพื่องานออกแบบของคุณ  

#roomBooks #circulardesigns #tcdc #CEA