สิ่งทอ จากวัสดุธรรมชาติและวัสดุรีไซเคิล

หากพูดถึงสิ่งทอ สิ่งแรกที่นึกถึงและใกล้ตัวมากที่สุดคงเป็น “เครื่องแต่งกาย” ที่ผลิตจากเส้นใยและไหม แต่สิ่งที่อยู่ใกล้ตัวและใช้ทุกวันอีกอย่างที่อาจจะมองข้ามไปนั่นคือ “เฟอร์นิเจอร์” ที่นำผ้าต่าง ๆ ไปบุแต่เมื่อความต้องการที่มากขึ้นจนสิ่งทอกลายมาเป็นอุตสาหกรรม จึงได้มีนวัตกรรมใหม่ ๆ คิดค้นวัสดุจากธรรมชาตินอกเหนือจากเส้นใยไหมที่เราคุ้นชิน แต่กลับได้ผลลัพธ์ที่ตอบโจทย์และสามารถนำไปพัฒนาในวงการอุตสาหกรรมได้ไม่ว่าจะเป็นผลผลิตทางการเกษตร วัสดุเหลือใช้รีไซเคิล ก็สามารถเป็นทางเลือกที่ดีทางใหม่ในการนำมาทำเฟอร์นิเจอร์ตกแต่งบ้านใหม่ได้อีกรูปแบบหนึ่ง

อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มถือได้ว่าเป็นอุตสาหกรรมการผลิตขนาดใหญ่ที่มีโครงสร้าง การผลิตที่เชื่อมโยงต่อเนื่องกันเป็นมหภาค ประกอบไปด้วยอุตสาหกรรมย่อยต่าง ๆ ในขั้นตอนการผลิตตั้งแต่ อุตสาหกรรมต้นน้ำ ได้แก่ การผลิตเส้นใย และการปั่นด้าย แล้วจึงส่งผลผลิตที่ได้ต่อไปยังอุตสาหกรรมกลางน้ำ คือ การทอผ้า ถักผ้า ผ้าไม่ถักไม่ทอ (Nonwoven) รวมถึงการฟอกย้อม พิมพ์ และตกแต่งสำเร็จ และขั้นตอนสุดท้าย คือ อุตสาหกรรมปลายน้ำ และในทุกขั้นตอนนั้น หากพิจารณาดูแล้วจะเห็นได้ว่า มีเศษเหลือที่เกิดขึ้นในขั้นตอนการผลิตเกือบทุกขั้นตอน บทความนี้จึงตั้งใจที่จะนำเสนอ ตัวอย่างที่น่าสนใจ จาก การ มองหาความเป็นไปได้ในการผลักดันเศษเหลือเหล่านั้น ให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อสร้างให้วงจรทั้งหมด มีความยั่งยืนที่มากขึ้น 

เฟอร์นิเจอร์สำเร็จรูปมักหาชิ้นที่ถูกใจได้ยาก บางทีเจอรูปทรงถูกใจแล้ว แต่กลับไม่ชอบแพตเทิร์นของผ้า ดังนั้น การได้ลงมือเลือกผ้าบุเฟอร์นิเจอร์เอง จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะทำให้เราได้เฟอร์นิเจอร์ชิ้นที่ถูกใจ เข้ากับพื้นที่อย่างเหมาะสม โดยลวดลาย เท็กซ์เจอร์ และเนื้อผ้านี้สามารถถ่ายทอดความเป็นตัวตน และรสนิยมของเจ้าของได้เป็นอย่างดี 


SUPER ECO BLACK​ ผ้าฝ้ายทอมือย้อมสีมะเกลือ​ 
รหัสวัสดุ: MI : 01028-01​ 
โดย :  Wisdomative 
สืบค้นเพิ่มเติม: SUPER ECO BLACK​ ผ้าฝ้ายทอมือย้อมสีมะเกลือ​   
วัสดุ:ผ้าฝ้ายทอมือย้อมสีดำธรรมชาติ 100%  
รายละเอียด: แก้ปัญหาการย้อมผ้าสีดำที่ได้จากยางของผลมะเกลือ ซึ่งเป็นไม้หายากราคาแพง และมีจำนวนใช้ที่จำกัดในปัจจุบัน ทอโดยชุมชนบ้านกกบก ตำบลหนองงิ้ว อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย  
จุดเด่น :ใช้เทคนิคพิเศษโดยการย้อมสีธรรมชาติอื่นที่ให้สีเข้มก่อน ทำให้ไม่จำเป็นต้องย้อมด้วยมะเกลือถึงหลายสิบครั้ง จนได้สีดำสนิทชื่อ “ดำอุมา”  
ลักษณะการใช้งาน: สามารถนำไปตัดเย็บเป็นเสื้อผ้า เครื่องประดับ ตลอดจนบุเฟอร์นิเจอร์ หรือทำของแต่งบ้านได้ตามต้องการ 

SONY DSC


ผ้าทอมือจากใบสับปะรดและฝ้าย
รหัสวัสดุ MI : 00421-05  
โดย บริษัท ไทยนำโชคเท็กซ์ไทล์ จำกัด 
สืบค้นเพิ่มเติม : ผ้าทอมือจากใบสับปะรดและฝ้าย
วัสดุ: ผ้าทอมือจากใบสับปะรด 15% และฝ้าย 85% 
รายละเอียด: เริ่มจากการนำใบสับปะรดมาผ่านเครื่องบดนวดเพื่อทำให้ใบสับปะรดแตกออกจากกัน แช่หมักใบสับปะรดในน้ำเป็นเวลา 10-15 วัน แล้วนำมาขูดเอาเส้นใยออกจากใบ ล้างทำความสะอาด ผึ่งแห้ง แล้วตัดเป็นเส้นยาวประมาณ 2 นิ้ว ผ้านี้มีจำหน่ายที่ขนาดหน้ากว้าง 44 นิ้ว และ 62 นิ้ว โดยมีความยาวต่อเนื่อง 
จุดเด่น:  ใบสับปะรดมีคุณสมบัติต้านทานแบคทีเรียได้เล็กน้อยตามมาตรฐานการทดสอบ AATCCTM 146:2004 ผ้านี้ไม่ผ่านการย้อมสีแต่จะมีสีครีมตามธรรมชาติซึ่งเกิดจากเส้นใยฝ้าย ลักษณะการใช้งาน: เหมาะใช้ทำผ้าบุเฟอร์นิเจอร์และผ้าม่านสำหรับงานเชิงพาณิชย์และที่พักอาศัย  


ผ้าจากเส้นด้ายไม้ไผ่ 
รหัสวัสดุ MI : 00421-07 
โดย : บริษัท ไทยนำโชคเท็กซ์ไทล์ จำกัด 
สืบค้นเพิ่มเติม: ผ้าจากเส้นด้ายไม้ไผ่ 
วัสดุ: ผ้าและเส้นด้ายจากเส้นใยฝ้ายและเรยอนผสมเส้นใยไผ่  
รายละเอียด: เส้นใยไผ่นี้แตกต่างจากไผ่ทั่วไปนำมาใช้โดยไม่ผ่านการละลายและขึ้นรูปเป็นเส้นใยใหม่แบบเรยอน เส้นใยจากลำไผ่จะถูกนำมาผสมกับฝ้ายไม่ฟอกสีแล้วปั่นรวมกันเป็นเส้นด้าย เส้นด้ายฝ้ายผสมใยไผ่นี้สามารถนำไปทอกับด้ายยืนเรยอนเพื่อทอผ้าแบบต่างๆ ทั้งลายขัด ลายทแยง และลายด็อบบี้ เนื้อผ้าจะมีสีเหลือบ แทรกด้วยเส้นด้ายปมในแนวเส้นพุ่ง สามารถนำไปย้อมสีได้ทั้งสีย้อมธรรมชาติ หรือจะใช้สีสังเคราะห์ซึ่งย้อมได้ทุกสีตามต้องการ 
จุดเด่น: ใยไผ่มีคุณสมบัติระบายอากาศได้ดี สามารถต้านทานแบคทีเรียได้โดยธรรมชาติจึงช่วยลดกลิ่นอับได้  
ลักษณะการใช้งาน : เหมาะทำเครื่องแต่งกาย ผ้าบุเฟอร์นิเจอร์ และอุปกรณ์ประดับตกแต่ง 


FP-HIDE 
รหัสวัสดุ MI : 00396-01 
โดย บริษัท เท็กซ์ไทล์ แกลลอรี่ จำกัด 
สืบค้นเพิ่มเติม: FP-HIDE 
วัสดุ: ผ้าโพลีเอสเตอร์ 100% 
รายละเอียด : ออกแบบเป็นลวดลายสองสี ซึ่งเกิดจากการสร้างลวดลายที่พิเศษบนพื้นหลังที่มีสีเข้มกว่า มีสีเทอร์คอยซ์ สีส้มและสีทราย มีหน้ากว้าง 54 นิ้ว น้ำหนัก 459 กรัมต่อตารางเมตร 
จุดเด่น : ผ้านี้ต้านทานการขัดถู ต้านการลามไฟ และทนรอยเปื้อนลักษณะการใช้งาน: เหมาะใช้บุเฟอร์นิเจอร์ที่มีลวดลายเหมือนหนังสัตว์ และงานตกแต่ง 


ผ้ารีไซเคิล 
โดย บริษัท บูลเลียนเท็กซ์ จำกัด 
รหัสวัสดุ MI : 01018-01 
สืบค้นเพิ่มเติม: ผ้ารีไซเคิล   
วัสดุ: ผ้าแคนวาสเส้นใยรีไซเคิล 100% จากขวดน้ำพลาสติกที่ใช้แล้ว  
รายละเอียด:กระบวนการเริ่มจากบดขวดพลาสติกจนกลายเป็นเศษพลาสติกชิ้นเล็ก ๆ ก่อนจะผ่านความร้อนจนหลอมเหลว และฉีดออกมาเป็นเส้นใย เพื่อนำมาทอเป็นผ้า  
จุดเด่น : สามารถปรับสัดส่วนของเส้นใยรีไซเคิลเพื่อนำมาผสมกับเส้นใยอื่น ๆ ได้ตามต้องการ เช่น 59% หรือ 42% มีสีพื้นฐาน 5 สี คือ Recreate (ขาว ดำ) Regenerate (เทา) Revive (เทาเข้ม) Reborn (เขียวเข้ม) สามารถสั่งสีสันและออกแบบลวดลายได้ตามต้องการ  
ลักษณะการใช้งาน: เหมาะกับนำมาตัดเย็บเป็นเสื้อผ้า กระเป๋า ผ้าม่าน ผ้าหุ้มเฟอร์นิเจอร์ 


GARMENTO Board
รหัสวัสดุ MI : 00407-01  
โดย: บริษัท สามพิม จำกัด  
สืบค้นเพิ่มเติม:  GARMENTO Board
วัสดุ :แผ่นวัสดุเนื้อแข็งจากผ้าเดนิมรีไซเคิล  
รายละเอียด :นำผ้าฝ้ายเดนิมที่ผ่านการใช้งานแล้ว 100% มาตัดเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วผสมกับกาว PMDI ที่ไม่มีฟอร์มัลดีไฮด์ จากนั้นนำไปผ่านเครื่องอัดที่ความร้อนสูง แล้วจึงเจียรขอบและตกแต่งผิวเป็นขั้นตอนสุดท้าย แผ่นวัสดุนี้สามารถใช้ผ้าชนิดอื่นมาผลิตได้ เช่น ผ้าถักโพลีเอสเตอร์ 100% เป็นต้น มีสีและผิวสัมผัสให้เลือกหลากหลาย ขึ้นอยู่กับชนิดของผ้าที่นำมารีไซเคิล แผ่นวัสดุมีขนาด 30 x 30 เซนติเมตร หนา 0.6, 1, 1.5, 2, 2.5 เซนติเมตร 
จุดเด่น: มีคุณสมบัติหน่วงไฟ ทนน้ำ น้ำหนักเบา และมีคุณภาพการใช้งานเทียบเท่ากับแผ่นพาร์ติเคิลบอร์ดทั่วไป 
ลักษณะการใช้งาน: เหมาะใช้ทำผนัง เฟอร์นิเจอร์ งานตกแต่งภายใน จัดสินค้าเพื่อส่งเสริมการขาย และของตกแต่งอื่น ๆ  



Popcorn
รหัสวัสดุ: MI : 00577-01 
โดย:  ห้างหุ้นส่วนจำกัด บัวผัดแฟคทอรี่ 
สืบค้นเพิ่มเติม: Popcorn
วัสดุ: ผ้าฝ้ายสามมิติเย็บมือจากเศษผ้าที่ไม่ใช้แล้ว  
รายละเอียด: ประกอบด้วยผ้าถักที่ม้วนเป็นท่อเกลียวขนาดเล็ก นำมาเย็บติดด้วยมือกับผืนผ้าทอให้มีลักษณะเป็นขนตั้งสูง เป็นการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่จากเศษวัสดุผ้าฝ้ายที่เหลือจากโรงงาน มีความคงทนของสีสูงมาก สามารถนำไปซักในเครื่องได้ เริ่มจากการนำเศษผ้ามาต้มเพื่อทำความสะอาดและแยกสิ่งสกปรกและสารเคมีเจือปนออก แล้วนำไปย้อมให้ได้สีที่ต้องการโดยใช้สีย้อมที่ปราศจากหมู่อะโซ 
จุดเด่น:  ผ้าที่ย้อมแล้วจะมีสีไม่สม่ำเสมอเนื่องจากเศษผ้าดูดซับสีได้แตกต่างกัน ทำให้เกิดลวดลายของสีที่มีความอ่อนเข้มแตกต่างกันเป็นเอกลักษณ์ 
ลักษณะการใช้งาน:  เหมาะสำหรับของแต่งบ้าน พรม ปลอกหมอน และเครื่องแต่งกาย  


ผ้าทอมือจากฝ้ายผสมขนแกะ 
รหัสวัสดุ : MI 00618-01 
โดย : ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอสเคเจ ดีไซน์ 
สืบค้นเพิ่มเติม: ผ้าทอมือจากฝ้ายผสมขนแกะ  
วัสดุ :ผ้าทอมือจากฝ้ายผสมไหมหรือขนแกะย้อมสีธรรมชาติ  
รายละเอียด: ผ้านี้ย้อมโดยใช้สีที่ได้จากพืชและเปลือกไม้ชนิดต่าง ๆ เช่น ต้นครามและต้นมะม่วง มีขนาดหน้ากว้าง 20 เซนติเมตร ยาว 30 เมตร สีมาตรฐานได้แก่ น้ำเงินคราม สีน้ำตาลเข้ม สีฝ้ายดิบ และสีเขียวใบมะม่วง 
จุดเด่น:สามารถสั่งผลิตสีสันและลวดลายพิเศษได้ตามต้องการ  ผ้านี้มีความทนทานและง่ายต่อการดูแลรักษา 
ลักษณะการใช้งาน :เหมาะสำหรับเครื่องแต่งกาย รองเท้า ผลิตภัณฑ์เคหะสิ่งทอและงานตกแต่งภายใน  


ผ้าทอมือจากเส้นด้ายกัญชงผสมไหม 
รหัสวัสดุ MI : 00353-05 
โดย: บริษัท ดีดีเนเจอร์คราฟท์ จำกัด 
สืบค้นเพิ่มเติม: ผ้าทอมือจากเส้นด้ายกัญชงผสมไหม  
วัสดุ:  ผ้าทอมือจากเส้นด้ายกัญชงผสมไหมเกลียวแน่น  
รายละเอียด: ผ้านี้สามารถย่อยสลายทางชีวภาพได้ ระบายอากาศได้ดี ต้านทานเชื้อรา ต้านทานการขัดถูและรังสียูวี ผลิตโดยการนำไหมและกัญชงมาปั่นรวมกันเป็นเส้นด้าย แล้วจึงนำไปทอเป็นผ้าโดยใช้โครงทอลายสอง ด้านหลังของผ้ามีลักษณะพื้นผิวที่เรียบร้อย 
จุดเด่น: กระบวนการผลิตผ้าทั้งหมดนี้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและไม่ใช้สารเคมี ผ้าทอนี้ผ่านการทดสอบมาตรฐานความคงทนของสีต่อการซัก รวมถึงการรับแรงดึง 
ลักษณะการใช้งาน: เหมาะสำหรับบุเฟอร์นิเจอร์ ปูผนัง งานแฟชั่นและเครื่องแต่งกาย 


room Books ร่วมกับ CEA สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy Agency) และ ศูนย์นวัตกรรมด้านวัสดุและการออกแบบ (Material & Design Innovation Center) ขอนำเสนอวัสดุไทยที่อยู่ในฐานข้อมูลวัสดุไทย TCDC Material Database โดยวัสดุส่วนใหญ่ได้รับการคัดเลือกเข้าฐานข้อมูลวัสดุระดับนานาชาติจาก Material ConneXion เพื่อร่วมสร้างความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ให้กับนักออกแบบ และผู้ประกอบการสู่แนวทางวัสดุที่ตอบสนองต่อทั้งธุรกิจและงานออกแบบ โดยเฉพาะในแง่ของความยั่งยืนที่เปิดกว้าง  

ข้อมูลเพิ่มเติม: www.tcdcmaterial.com  

อีเมล: [email protected]  

โทร. 0-2105-7400 ต่อ 254, 241  

ตั้งแต่เวลา 10.30-19.00 น. (ปิดวันจันทร์)  

เนื้อหา: ศูนย์นวัตกรรมด้านวัสดุและการออกแบบ (Material & Design Innovation Center)  

เรียบเรียง: Lily J.  

#MaterialRoom #Betterism  

อัพเดตวัสดุใหม่ วัสดุน่าสนใจ เพื่องานออกแบบของคุณ  

#roomBooks #circulardesigns #tcdc #CEA