รีโนเวตตึกเก่า
GRAPH PHUKET ชุบชีวิตตึกเก่าเป็นคาเฟ่ เพื่อส่งต่อรสชาติกาแฟจากเหนือสู่แดนใต้
ท่ามกลางความเคลื่อนไหวของเมืองท่องเที่ยวอย่างภูเก็ต ริมถนนพังงาที่มุ่งหน้าสู่สี่แยกธนาคารชาร์เตอร์ด ปรากฏคาเฟ่ชื่อ GRAPH Phuket สาขาน้องใหม่ล่าสุดของ GRAPH แบรนด์คาเฟ่ชื่อดังจากเชียงใหม่ ที่เจ้าของแบรนด์อย่าง คุณฆฤพร สาตราภัย ขอขยายสาขามุ่งหน้าลงใต้ สู่ร้าน GRAPH Phuket เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้แก่นักดื่มกาแฟ พร้อมการนำตัวเองเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเมือง ภายในตึกแถวสไตล์ชิโน-ยูโรเปียนอายุกว่าร้อยปี จากแนวทางของ GRAPH หลาย ๆ สาขา จะพบว่ามักตั้งอยู่ในเมืองเก่าที่มีคาแร็คเตอร์ชัดเจน ทั้งวัฒนธรรมและการเป็นเมืองท่องเที่ยว สำหรับที่ภูเก็ตก็เช่นกัน นี่จึงเป็นเหตุผลให้ภูเก็ตถูกเลือกให้เป็นทำเลใหม่ของการขยายสาขาเป็น GRAPH Phuket ครั้งนี้ ซึ่งแน่นอนว่าต้องมีเรื่องราวให้พูดถึงไม่แพ้สาขาอื่น เริ่มตั้งแต่ฟาซาดที่ยังเก็บรายละเอียดของสถาปัตยกรรมชิโน-ยูโรเปียนไว้ให้คงเสน่ห์และกลิ่นอายดั้งเดิม ร่วมกับแนวทางการรีโนเวตที่กลมกลืนกับอาคารหลังอื่น ๆ ในย่านโอล์ดทาวน์ของภูเก็ต คุณฆฤพร สาตราภัย เจ้าของแบรนด์ GRAPH เล่าว่า เดิมที่นี่เป็นตึกร้างและทรุดโทรมมานาน กระทั่งได้ตัดสินใจเช่าและรีโนเวตใหม่ โดยให้ความสำคัญกับคุณค่าด้านสถาปัตยกรรมเป็นหลัก สิ่งต่อเติมใดที่ไม่ตรงกับยุคของอาคาร และวัสดุที่ชำรุดจะถูกรื้อออกเกือบหมด เช่น หลังคาสังกะสี ฝ้า โครงสร้างไม้ และบันไดผุพัง ก่อนเสริมด้วยโครงสร้างใหม่ให้แข็งแรง อย่างพื้นชั้น 2 ที่นำไม้เนื้อแข็งมาปูลงไปใหม่ ตงและคานไม้ก็เปลี่ยนใหม่เช่นกัน […]
IM EN VILLE “อิ่มในเมือง” บิสโทร คาเฟ่ บรรยากาศคลาสสิก บนถนนเฟื่องนคร
“อิ่มในเมือง” ปลุกชีวิตตึกเก่าย่านถนนเฟื่องนครอายุกว่า 150 ปี สู่ร้านอาหารและคาเฟ่บรรยากาศคลาสสิกสไตล์คอนเทมโพรารีอินดัสเทรียล ให้ทั้งความอิ่มเอมไปกับรสชาติอาหาร และสัมผัสวิววิจิตรสวยงามของวัดราชบพิธฯ อาคารที่ตั้งของร้าน “อิ่มในเมือง” ช่วงหนึ่งเคยใช้เป็นโรงพิมพ์ลมูลจิตต์ ก่อนถูกทิ้งร้างมานานกว่า 20 ปี จนกระทั่งได้รับการรีโนเวตใหม่ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ กลายเป็น IM En Ville (อิ่ม-ออง-วิล) บิสโทร คาเฟ่ ชื่อฝรั่งเศสสุดเก๋ ซึ่งแปลว่า “ฉันอยู่ตรงนี้” เหมือนฉันอยู่ในเมือง และยังอ่านออกเสียงคล้ายคำว่า “อิ่ม” ในภาษาไทย สื่อได้ถึงความอิ่มอร่อย อิ่มสุข อิ่มใจ อิ่มบรรยากาศ ภายในคาเฟ่บรรยากาศสไตล์คอนเทมโพรารีอินดัสเทรียล ที่ตั้งอยู่บริเวณหัวมุมถนนราชบพิธตัดกับถนนเฟื่องนคร รับกับวิววัดราชบพิธฯ ที่สวยงามได้อย่างพอดิบพอดี คาเฟ่ในย่านเก่าเล่ายุคการพิมพ์เฟื่องฟู จากเรื่องราวของอาคารที่สร้างขึ้นในช่วงหลังการสร้างถนนเฟื่องนครไม่นาน (เฟื่องนคร เป็นถนนที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 หรือราวปี พ.ศ.2407 เป็นถนนที่สร้างตามแบบตะวันตก เป็นถนนสายเริ่มแรกของกรุงเทพฯ นอกจากถนนเจริญกรุง และถนนบำรุงเมือง) โดยสันนิษฐานว่าอาคารนี้ น่าจะสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2410 หลังจากนั้นก็ถูกเปลี่ยนมือมาเรื่อย ๆ ก่อนจะมาถึงกิจการโรงพิมพ์ที่กินเวลายาวนานกว่ากิจการอื่น ซึ่งตรงกับยุคที่การพิมพ์เฟื่องฟู โดยเฉพาะถนนเฟื่องนครที่ได้ชื่อว่าเป็นย่านโรงพิมพ์และสำนักพิมพ์ […]
KATINAT-BINH PHU เปลี่ยนโรงเรียนอนุบาลเป็นคาเฟ่อบอุ่นสีโกโก้
รีโนเวตตึกเก่า ซึ่งเคยเป็นโรงเรียนอนุบาลอยู่บริเวณหัวมุมสี่แยกของถนนสายเก่าแก่ Rue Catinat กลางนครโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม ให้กลายเป็นคาเฟ่คอนเซ็ปต์เหนือกาลเวลา มีเส้นโค้งและสีโกโก้เพิ่มความอบอุ่นให้ทุกอณู ก่อนจะได้รับการปลุกชีพผ่านการ รีโนเวตตึกเก่า ให้เป็นคาเฟ่อีกสาขาหนึ่งของแบรนด์กาแฟ Katinat ซึ่งมีสาขากว่า 50 แห่ง ทั่วประเทศเวียดนาม เจ้าของและทีมสถาปนิกมีความตั้งใจอยากจะอนุรักษ์อาคารดั้งเดิม พร้อมกับมอบประสบการณ์การดื่มกาแฟ ท่ามกลางบรรยากาศอบอุ่นดูทันสมัย หลอมรวมความงามของยุคใหม่กับยุคเก่าให้เป็นหนึ่งเดียว สำหรับ DNA ของคาเฟ่เกือบทุกสาขาของ Katinat นั้น เรียกว่าทุก ๆ แห่ง ล้วนตั้งใจสื่อสารความเป็นจิตวิญญาณ หรือบริบทแวดล้อมที่มีความโดดเด่นของแต่ละท้องถิ่น เพื่อชูเรื่องราวและเอกลักษณ์ซึ่งหาซ้ำไม่ได้จากที่ไหน เช่นเดียวกับที่นี่ที่สร้างความเซอร์ไพรส์ให้แก่ผู้คนในย่าน กับการเปลี่ยนโรงเรียนอนุบาลที่มีสระว่ายน้ำอยู่ข้างใน โดยผู้ออกแบบยังคงรูปลักษณ์ของตัวอาคารเดิมที่ยังมีโครงสร้างที่แข็งแรงไว้เพื่อเชื่อมโยงกับอดีต ภายใต้การมอบประสบการณ์ใหม่ เลือกดีไซน์เคาน์เตอร์โค้ง บันไดโค้ง และหุ้มผิวด้วยสังกะสี เพื่อสะท้อนภาพความแข็งแรงของโครงสร้าง พื้นเป็นหินขัด เสาคอนกรีตเผยให้เห็นร่องรอยของพื้นผิวแบบหยาบ นำแสงเข้าสู่พื้นที่ภายในอาคารด้วยผนังบล็อกแก้วที่สูงขึ้นไปถึงชั้นสอง ตรงกลางมีมุมไฮไลต์คือ บันไดคอนกรีตทรงกลมโค้งมน มีชั้นลอยแบบโค้งมองลงมาเห็นวิวความคึกคักของบรรยากาศชั้นล่าง เคาน์เตอร์บาร์มีรูปทรงแบบฟรีฟอร์มหุ้มหน้าเคาน์เตอร์ด้วยแผ่นสเตนเลส ล้อมกรอบถ้วยแถบอะลูมิเนียมสีบรอนซ์ เช่นเดียวกับแถบตกแต่งผนัง สเตชั่นที่นั่งทำจากคอนกรีตทรงโค้งออร์แกนิกช่วยลดความแข็งกระด้างของโครงสร้างอาคารทั้งหมด โต๊ะเป็นทรงกลมทำจากหินขัด เบาะที่นั่งและพนักพิงบุหนังเทียมสีน้ำตาลโกโก้ เพื่อสื่อถึงสีของกาแฟลาเต้และมอคค่าที่ดูอบอุ่น ตัดกับสีเทาของวัสดุสมัยใหม่อย่างเหล่าคอนกรีต กระจก และบล็อกแก้ว […]
ZORBA SPACE สตูดิโอในตึกแถวเก่าสไตล์โคโลเนียล
รีโนเวตตึกแถวเก่า สไตล์โคโลเนียลสองชั้นบนถนน Nguyen Cong Tru ที่เก่าแก่ที่สุดของกรุงโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม ให้เป็นสตูดิโอทำงานด้านภาพยนตร์และโฆษณาของคนรุ่นใหม่ โดยที่นี่ไม่ได้มีเพียงพื้นที่ของสำนักงานธรรมดา ๆ แต่ยังมีฟังก์ชันการใช้งานที่ยืดหยุ่น เช่น มุมฉายภาพยนตร์ ร้านกาแฟ และแกลเลอรี่ โดยทีมสถาปนิก sgnhA เป็นผู้รับหน้าที่ รีโนเวตตึกแถวเก่า แห่งนี้ โดยยังคงเก็บรายละเอียดที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ดั้งเดิมของสถานที่ตั้งเอาไว้อย่างดี ผสมผสานไปกับวัสดุสมัยใหม่ที่ตอบโจทย์การใช้งานมากขึ้น เรียกได้ว่ารื้อถอนวัสดุหรือโครงสร้างดั้งเดิมน้อยมากที่สุด โดยเลือกที่จะเผยเสน่ห์ของพื้นผิวและองค์ประกอบบางอย่างไว้ อันเป็นของขวัญแห่งกาลเวลา เช่น ร่องรอยของสีลอกล่อนบนผนัง กระเบื้องปูพื้นลายตารางขาว-ดำ ตะแกรงลวดตาข่ายทำมือบริเวณเหนือวงกบไม้ ประตู และหน้าต่างไม้ รวมถึงคอร์ตยาร์ดในอาคาร ขณะที่การรีโนเวตพื้นที่ให้เหมาะสมกับการใช้งานใหม่ สถาปนิกได้ใช้โครงสร้างเหล็กเข้ามาเป็นส่วนเติมเต็มและเป็นเสมือนการค้ำยันโครงสร้าง ร่วมด้วยแผ่นพอลิคาร์บอเนตวัสดุสมัยใหม่ทั้งในส่วนผนังและหลังคาสกายไลท์ เพื่อเรียกแสงธรรมชาติและความปลอดโปร่งเข้ามาสู่พื้นที่ ลดปัญหาความทึบตันของตึกแถวได้อย่างดี พื้นที่เด่น ๆ ที่อยากพูดถึง นั่นคือโถงอเนกประสงค์ซึ่งมีลูกเล่นด้วยการติดตั้งรางโค้งจากโครงเหล็ก ติดแผ่นพอลิคาร์บอเนตที่เลื่อนเปิด-ปิดได้ เมื่อต้องการแบ่งสัดส่วนการใช้งานหรือจัดกิจกรรมต่าง ๆ ตกแต่งด้วยเฟอร์นิเจอร์สีสันจี๊ดจ๊าดแนวสตรีทที่คุ้นตาในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นม้านั่งพลาสติกสีแดงและสีน้ำเงิน เฟอร์นิเจอร์ไม้ที่นำกลับมาใช้ใหม่ เคล้าด้วยกลิ่นอายวินเทจจากของตกแต่งแนวอวกาศ อีกโซนที่เป็นไฮไลต์คือบันไดวนสีเหลืองสดตรงพื้นที่คอร์ตกลาง ใช้เชื่อมต่อระหว่างชั้นล่างกับชั้นบนนำขึ้นสู่มุมทำงาน ที่มองเห็นบรรยากาศของท้องฟ้าและชมวิวเรือนยอดของต้นไม้อายุกว่าศตวรรษได้ ช่วยให้ไอเดียการสร้างสรรค์งานเป็นไปอย่างบรรเจิดและลื่นไหล ออกแบบ : sgnhA […]
DEGUCHISHOTEN ปรับปรุงโรงเก็บของเสื่อมโทรมให้กลับมาสวยด้วยสังกะสี
Deguchishoten เป็นโครงการปรับปรุงโรงเก็บของเก่าของร้านขายส่งสุราในเขตโอะฮะระ เมืองอิสุมิ จังหวัดชิบะ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งร้านค้าแห่งนี้สร้างขึ้นมาตั้งแต่ปีค.ศ.1911 ก่อนถูกปล่อยทิ้งร้างมานานนับตั้งแต่เจ้าของอาคารเสียชีวิตลง จนมีสภาพเสื่อมโทรมตามกาลเวลา
FAN WORKING BEIJING ร้านขายและพื้นที่เวิร์คชอป “พัด”
ร้านขายพัดพร้อมพื้นที่เวิร์กชอปแห่งนี้ตั้งอยู่บนถนนเฉียนเหมิน ถนนที่ถูกขนานนามว่าถนนสายวัฒนธรรมในกรุงปักกิ่ง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยที่นี่ต้องการเผยแพร่วัฒนธรรมพัดจีนที่มีมาอย่างยาวนานให้คนรุ่นใหม่ได้เห็นคุณค่าและความสำคัญ จึงวางใจให้สถาปนิกจาก Golucci Interior Architects เข้ามา รีโนเวตตึกแถว ขนาด 2 ชั้นให้ดูเรียบง่าย สวยงาม และใช้งานได้จริงเหมือนกับ “พัด” ถนนเฉียนเหมินเป็นที่รู้กันดีว่าเป็นย่านที่มีบ้านแบบหูตง หรือบ้านแบบดั้งเดิมของจีนที่เก่าแก่ที่สุดในปักกิ่ง ดึงดูดใจนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกให้แวะเวียนมาท่องเที่ยวอย่างไม่ขาดสาย โดยปัจจุบันพื้นที่ย่านนี้ได้รับการพัฒนาให้เป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์มากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับกาลเวลาที่เปลี่ยนไป กลายเป็นพื้นที่ผสมผสานระหว่างความเก่ากับความใหม่ รวมไปถึงการ รีโนเวตตึกแถว เป็นร้านพัดแห่งนี้เช่นกัน พัดพกพานี้นับเป็นสิงประดิษฐ์เก่าแก่ที่มีถิ่นกำเนิดจากทั้งจีนและญี่ปุ่น อาจพูดได้ว่าต่างคนต่างเป็นแรงบันดาลซึ่งกันและกันก็คงไม่ผิดนัก ผู้ออกแบบจึงนำประวัติศาสตร์นี้มาประยุกต์ลงไปในการออกแบบสเปซ โดยแทรกกลิ่นอายความเป็นญี่ปุ่นลงไปในอาคารเก่าแบบสถาปัตยกรรมจีน ผ่านการตกแต่งภายใน จากลักษณะของพื้นที่อาคารขนาดสองชั้นที่ไม่ได้มีพื้นที่เต็มตลอดทั้งตึก จึงแบ่งโปรแกรมออกเป็น 2 ส่วน โดยให้ชั้นล่างที่มีขนาดเพียงหนึ่งคูหาเป็นส่วนของหน้าร้าน แล้วชั้นบนเป็นพื้นที่เวิร์กชอปให้บุคคลทั่วไปที่สนใจได้เข้ามาเรียนรู้การทำพัดแบบดั้งเดิมด้วยมือของคุณเอง สำหรับการตกแต่งภายในนอกจากความสวยงามแล้ว ยังออกแบบให้สามารถใช้ประโยชน์ได้ด้วย พื้นหินขัดเข้าคู่กับผนังสีขาวโพลน เสริมด้วยตู้เครื่องมือไม้สีอ่อนที่ใช้งานได้จริงพร้อมเป็นตัวแบ่งสเปซภายในไปในตัว ช่วยสะท้อนอัตลักษณ์ของพัดที่ว่าเรียบง่ายแต่ใช้งานได้จริง ออกแบบ: Golucci International Design 古魯奇建築諮詢公司 ภาพ: : Lulu Xi เรียบเรียง: Woofverine QISHER COURTYARD รีโนเวตบ้านจีนโบราณ […]