มันเทศประดับ

    Sweet Potato ชื่อวิทยาศาสตร์: Ipomoea barbatus (L.) Poir. & hybrid วงศ์: Convolvulaceae ประเภท: ไม้เลื้อย ลำต้น: ทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน ลำต้นอวบน้ำ มีรากสะสมอาหารขนาดใหญ่อยู่ใต้ดิน ใบ: ใบเดี่ยวออกเรียงสลับ รูปหัวใจ ขนาด 5 – 7เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบรูปหัวใจ แผ่นใบอาจหยักเว้าเป็น 3-5 พู ก้านใบยาว ดอก: ดอกเดี่ยวออกตามซอก ดอกรูปแตร สีชมพูอ่อน เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6 เซนติเมตร  ผลเป็นฝัก แต่มีพิษ อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ดินร่วนและดินร่วนปนทราย แสงแดด: แสงแดดตลอดวัน น้ำ: ปานกลาง การขยายพันธุ์: ปักชำกิ่ง การใช้งานและอื่นๆ: นิยมปลูกเป็นไม้กระถางแขวน หรือปลูกคลุมดิน ปลูกเลี้ยงง่าย […]

ว่านนิลพัตร

ไดคอนดรา/ว่านไก่ชน/Lawn Leaf/Gelenga Grass ชื่อวิทยาศาสตร์: Dichondra  micrantha Urb. วงศ์: CONVOLVULACEAE ประเภท: ไม้ล้มลุก อายุหลายปี ลำต้น: มีลำต้นใต้ดินคล้ายเผือกขนาดเล็ก ลำต้นทอดเลื้อยไปตามผิวดินเป็นพุ่มสูง 15-30 เซนติเมตร รากออกตามข้อ ใบ: ใบรูปหัวใจ ออกใกล้กันเป็นกระจุก ขนาด 2-4 เซนติเมตร โคนใบรูปหัวใจ ปลายใบมน แผ่นใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ดอก: ดอกเล็ก สีเหลืองอมเขียว อัตราการเจริญเติบโต: ช้า พักตัวในฤดูร้อนและฤดูหนาว ดิน: ชอบดินร่วนระบายน้ำดี แสงแดด: แสงแดดรำไรถึงแดดจัด น้ำ: ปานกลาง การขยายพันธุ์: แยกหน่อหรือปักชำลำต้น การใช้งานและอื่นๆ: ปลูกเป็นไม้ประดับคลุมดินแทนหญ้า และเชื่อว่าเป็นว่านทางคงกระพันชาตรี สามารถป้องกันศัสตราวุธมีคมทั้งปวง ถ้านำหัวมาฝนใช้ทาตัว จะสามารถนอนบนกองไฟได้โดยไม่รู้สึกเจ็บ ปวดแสบปวดร้อน หากกินหัวว่านนี้เข้าไปด้วยจะสามารถแบกหาม ชักลากไม้ได้ตลอดโดยไม่เหน็ดเหนื่อย เมื่อนึกจะทำการใดๆ ก็สำเร็จดีสิ้นทุกอย่าง ถ้าทาที่แข้งไก่ชนอีกฝ่ายจะแพ้ไปเอง จึงนิยมใช้กันมาก และเรียกกันว่า […]

ว่านเถาวัลย์หลง

เครือเขาหลวง/เถาหมาหลง/มันฤาษี/ฮ้านผีป้าย ชื่อวิทยาศาสตร์: Argyreia  splendens (Hornem.) Sweet วงศ์: CONVOLVULACEAE   ประเภท: ไม้เลี้อย อายุหลายปี ใบ: ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรี ปลายใบแหลม โคนใบมน ใต้ใบมีขนสีขาวปกคลุม ดอก: ช่อดอกออกจากซอกใบเป็นกระจุก มี 4-6 ดอก แต่ละดอกมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวย มี 5 กลีบ สีขาวและสีม่วง อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง ดิน: ชอบดินร่วนระบายน้ำดี  แสงแดด: แสงแดดครึ่งวัน น้ำ: ปานกลาง การขยายพันธุ์: ปักชำต้นแตกจากราก ปักชำเถา การใช้งานและอื่นๆ: มีสรรพคุณเป็นสมุนไพร ช่วยรักษาแผล โดยนำต้นมาตำให้ละเอียด ใช้พอกแผล ช่วยให้หายเร็ว ความเชื่อ: คนโบราณเกือบทุกภาคนิยมปลูกไว้หน้าบ้าน เพราะเชื่อว่าเป็นว่านเสน่ห์เมตตามหานิยม ทำให้ค้าขายดี โบราณว่า หากเดินป่าแล้วข้ามเถาต้นเถาวัลย์หลง […]

เถาวัลย์หลง

เครือเขาหลง/เถาหมาหลง/มันฤาษี/ฮ้านผีป้าย ชื่อวิทยาศาสตร์: Argyreia mollis (Burm.f.) Choisy วงศ์: Convolvulaceae ประเภท: ไม้เถาเลื้อยขนาดกลาง อายุหลายปี ลำต้น: ลำต้นอ่อนมีขนยาวสีเงินหรือสีน้ำตาลปนเหลืองอ่อน ทุกส่วนมีน้ำยางสีขาว ใบ: เดี่ยว ออกสลับ รูปรี ขนาด 3-5 x 5-15 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนสอบ แผ่นใบด้านบนมีขนกระจาย ใต้ใบมีขนนุ่มสีเงินคล้ายเส้นไหมปกคลุมหนาแน่น ดอก: ออกเป็นช่อกระจะ มี 1-5 ดอก รูปกรวย กลีบดอกสีขาวหรือม่วงอ่อนอมชมพู โคนเชื่อมติดกัน เส้นผ่านศูนย์กลางดอก 4-6 เซนติเมตร ออกดอกเดือนตุลาคมถึงธันวาคม ผล: ค่อนข้างกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.8 x 1 เซนติเมตร สีแดงหรือแดงอมส้ม เมื่อแก่สีดำ อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง ดิน: ดินทั่วไปที่ระบายน้ำดี แสงแดด: แสงแดดจัด น้ำ: […]

ผักบุ้งทะเล

ผักบุ้งขน/ละบูเลาห์/Beach Morning Glory/Goat’s Foot/Railroad Vine ชื่อวิทยาศาสตร์: Ipomoea pes-caprae (L) R.Br. วงศ์: Convolvulaceae ประเภท: ไม้เลื้อยเนื้ออ่อนขนาดเล็ก อายุหลายปี ลำต้น: ทอดเลื้อยไปได้ไกล 20 เมตร ทุกส่วนของต้นมีน้ำยางสีขาว รากออกตามข้อ ใบ: เดี่ยว ออกสลับ รูปค่อนข้างกลม ขนาด 6-10 x 14-16 เซนติเมตร ปลายใบและโคนใบเว้า ลักษณะคล้ายใบแฝดติดกัน แผ่นใบหนาเหมือนแผ่นหนังสีเขียวสด เส้นใบสีเหลือง ดอก: ออกเป็นช่อกระจะตามซอกใบและข้อลำต้น มี 3-5 ดอก ดอกรูปแตร กลีบเลี้ยงสีเขียว กลีบดอกสีชมพูอมม่วงแดง โคนดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแผ่แบน เส้นผ่านศูนย์กลางดอก 4-6 เซนติเมตร ออกดอกตลอดปี ผล: ค่อนข้างกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 2 เซนติเมตร เมล็ดสีดำมีขนสีน้ำตาลปกคลุม อัตราการเจริญเติบโต: […]

ผักบุ้งแดง

ชื่อวิทยาศาสตร์: Stictocardia beraviensis (Vatke) Hallier f. วงศ์: Convolvulaceae ประเภท: ไม้เลื้อยขนาดเล็ก อายุหลายปี  ลำต้น: ทอดเลื้อยได้ไกล 3-5 เมตร ใบ: เดี่ยว ออกสลับ รูปหัวใจ ขนาด 6-10 x 6-14 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนเว้าลึก แผ่นใบมีขนเล็กน้อยปกคลุม ขอบใบเรียบ ดอก: ออกเป็นช่อกระจะตามซอกใบและตามข้อ มี 1-3 ดอก ดอกรูปกรวย กลีบดอกสีแดงอมส้ม โคนดอกเชื่อมติดกัน ปลายแผ่แบน เส้นดอกเป็นแฉก ด้านในสีเหลือง เส้นผ่านศูนย์กลางดอก 3-5 เซนติเมตร ออกดอกตลอดปี ผล: ผลแห้งเมื่อแก่แล้วแตก เมล็ดกลมแบน อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ดินร่วนระบายน้ำดี แสงแดด: แสงแดดจัด น้ำ: ปานกลาง ขยายพันธุ์: […]

บานดึก

ชมจันทร์/ดอกพระจันทร์/ผักบุ้งดอย/Belle De Nui/Moon Flower ชื่อวิทยาศาสตร์: Ipomoea alba L. วงศ์: Convolvulaceae ประเภท: ไม้เลื้อยเนื้ออ่อนขนาดเล็ก อายุหลายปี มีหัวใต้ดิน ลำต้น: ทุกส่วนมีน้ำยางใส ใบ: เดี่ยว ออกสลับ รูปหัวใจ กว้าง 5-10 เซนติเมตร ยาว 8-17 เซนติเมตร ปลายเรียวแหลม ก้านใบยาว 5-18 เซนติเมตร เส้นใบเป็นร่องชัดเจน ดอก: ออกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกย่อย 2-8 ดอก ดอกรูปกรวย กลีบเลี้ยงสีเขียวอมแดงเรื่อ กลีบดอกสีขาว โคนดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแผ่บาน มีเส้นดอกเป็นแฉก เส้นผ่านศูนย์กลางดอก 10-13 เซนติเมตร มีกลิ่นหอม บานช่วงค่ำถึงเช้า ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน  ผล: รูปไข่ เส้นผ่านศูนย์กลาง 2-2.5 เซนติเมตร ปลายมีติ่งแหลม เมื่อแก่สีน้ำตาล […]

จิงจ้อเหลี่ยม

จิงจ้อแดง ชื่อวิทยาศาสตร์: Operculina turpethum (L.) S. Manso วงศ์: Convolvulaceae ประเภท: ไม้เลื้อยเนื้ออ่อน ลำต้น: ทอดเลื้อยไปตามผิวดิน หรือพันไม้ระดับต่ำ กิ่งมีปีกขนาบเป็นเหลี่ยม 3 เหลี่ยม สีเขียวเรื่อม่วงแดง ใบ: มีหลายแบบ เช่น รูปไข่แกมใบหอก รูปหัวใจแคบ-กว้าง ปลายเรียวแหลม โคนเว้า ขอบจักฟันเลื่อยหยาบ ผิวใบด้านบนเกลี้ยง ใต้ใบมีขนนุ่ม ดอก: เดี่ยวหรือช่อขนาดเล็ก ใบประดับ 2 ใบ กลีบเลี้ยงสีเขียวเรื่อแดงรูปท้องเรือ 5 อัน ดอกสีขาว รูปกรวย ปลายแผ่ติดกัน ขนาดดอก 4-5 เซนติเมตร ออกดอกเดือนตุลาคม-เมษายน ผล: รูปกลม เมื่อแก่แตกได้ เมล็ดสีดำ มีขน 4 เมล็ด อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง ดิน: ทั่วไป น้ำ: […]

จิงจ้อเหลือง

จิงจ้อขน/จิงจ้อใหญ่ ชื่อวิทยาศาสตร์: Merremia vitifolia (L.) Hall. f. วงศ์: Convolvulaceae ประเภท: ไม้เลื้อยเนื้ออ่อน ลำต้น: ทอดเลื้อยไปตามผิวดิน หรือพันไม้พุ่มเตี้ยๆ ลำต้นกลมมีขนแข็ง สีน้ำตาลเป็นเส้นยาว ใบ: รูปหยักเว้า 5 พู โคนเว้า ผิวใบมีขนทั้งสองด้าน ดอก: ออกเป็นช่อกระจุก ดอกสีเหลืองสด รูปกรวยตื้น ปลายแผ่บานหยักเป็น 5 แฉก เส้นดอกเป็นแฉกรูปดาว ขนาดดอก 3-4 เซนติเมตร ออกดอกเดือนตุลาคม-มีนาคม ผล: แห้งสีฟางข้าว มี 4 เมล็ดหรือมากกว่า เมล็ดสีดำหรือน้ำตาล อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง ดิน: ทั่วไป น้ำ: ปานกลาง-มาก แสงแดด: รำไร ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด การใช้งานและอื่นๆ: เป็นวัชพืช

เถาดอกบานตูม

 เอน/จิงจ้อขาว ชื่อวิทยาศาสตร์: Merremia umbellata (L.) Hall. f. วงศ์: Convolvulaceae ประเภท: ไม้เลื้อยเนื้ออ่อน ลำต้น: มีรากออกตามข้อ เลื้อยไปตามผิวดิน ใบ: รูปรีหรือรูปไข่แกมขอบขนาน ปลายเรียวแหลม โคนเว้า มนหรือตัดตรง ผิวใบด้านบนมีขนประปราย ใต้ใบมีขนสั้นหนาแน่น ก้านใบมีขนสั้น ดอก: ออกเป็นช่อกระจุกแบบซี่ร่ม ดอกสีเหลืองอมส้ม รูปกรวยตื้น ปลายแผ่บาน เส้นดอกเป็นแฉกรูปดาว ขนาดดอก 3-4 เซนติเมตร ออกดอกเดือนกันยายน-กรกฎาคม ผล: เกลี้ยง เมล็ดมีขนสั้นหนาแน่น อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง ดิน: ทั่วไป น้ำ: ปานกลาง-มาก แสงแดด: รำไร ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด การใช้งานและอื่นๆ: เป็นวัชพืช พบตามริมถนน ที่รกร้าง ทุ่งหญ้า ยอดและใบอ่อนรับประทานได้ ใบใช้ตำพอกแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก

เถาสะอึก

 ฉะอึก/มะอึก ชื่อวิทยาศาสตร์: Merremia hederaceae (Burm. f.) Hall. f. วงศ์: Convolvulaceae ประเภท: ไม้เลื้อยเนื้ออ่อน ลำต้น: เกลี้ยง เลื้อยพันต้นหญ้าหรือไม้พุ่ม ใบ: รูปหัวใจ ปลายแหลม ขอบหยักเป็น 3 พู ใบเสีเขียวเข้ม ดอก: ออกเป็นช่อกระจุก กลีบเลี้ยงรูปไข่ 5 กลีบ ดอกสีเหลือง กลางดอกสีขาว รูปกรวยตื้น ปลายแผ่บานแยก 5 แฉก ขนาดดอก 1-2 เซนติเมตร ออกดอกเดือนกันยายน-มีนาคม ผล: กลม ปลายแหลม มี 4 พู เมล็ดมีขน อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง ดิน: ทั่วไป น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: ตลอดวัน ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด การใช้งานและอื่นๆ: เป็นวัชพืช […]

จิงจ้อผี

จิงจ้อเขา ชื่อวิทยาศาสตร์: Jacquemontia paniculata (Burm. f.) Hall. f. วงศ์: Convolvulaceae ประเภท: ไม้เลื้อยเนื้ออ่อน ลำต้น: ทอดเลื้อยตามผิวดินหรือพันไม้ระดับต่ำ กิ่งอ่อนมีขนสีขาว ใบ: รูปหัวใจ ปลายเรียวแหลม ใต้ใบมีขนตามเส้นใบ ดอก: ออกเป็นช่อแบบซี่ร่มขนาดเล็ก ดอกสีฟ้าอมม่วงอ่อนถึงขาว ดอกรูปกรวยตื้น ปลายแผ่ติดกัน ขอบหยัก 5 แฉก ขนาดดอก 2 เซนติเมตร ออกดอกเดือนตุลาคม-มีนาคม ผล: กลมเกลี้ยง เมล็ดสีน้ำตาลอ่อน ขอบมีปีกสั้นๆ อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง ดิน: ทั่วไป น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: ตลอดวัน ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด การใช้งานและอื่นๆ: เป็นวัชพืช พบตามริมถนน ริมทุ่งนา ที่ความสูงใกล้ระดับน้ำทะเลถึง 600 เมตร

จิงจ้อเล็ก

 โตงวะ ชื่อวิทยาศาสตร์: Ipomoea obscura (L.) Ker-Gawl วงศ์: Convolvulaceae ประเภท: ไม้เลื้อยเนื้ออ่อน ลำต้น: ทอดเลื้อยตามผิวดินหรือพันไม้พุ่มเตี้ย ใบ: รูปหัวใจกว้าง ขอบเรียบ ผิวใบทั้งสองด้านมีขนประปราย ดอก: ออกเป็นช่อกระจุก 2-3 ดอก สีเหลืองนวล กลางดอกสีม่วงแดงเข้ม ดอกรูปกรวยตื้น ปลายแผ่บาน มีแถบเส้นดอกสีเหลืองเข้มพาดเป็นแฉกรูปดาว ขนาดดอก 3-3.5 เซนติเมตร ออกดอกเดือนกันยายน-เมษายน ผล: รูปไข่ ปลายมีติ่งแหลม เมล็ดกลมเกลี้ยง มี 4 เมล็ด อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง ดิน: ทั่วไป น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: ตลอดวัน ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด การใช้งานและอื่นๆ: ทางสมุนไพรใช้ทั้งต้นตำพอกแก้ปวดศีรษะ ใช้ใบย่างบดเป็นผงต้มในน้ำมันเนย ใช้ทาแผลในปาก

สะอึก

จิงโจ้ ชื่อวิทยาศาสตร์: Ipomoea maxima (L. f.) ex Sweet วงศ์: Convolvulaceae ประเภท: ไม้เลื้อย ล้มลุก เนื้ออ่อน ลำต้น: ทอดเลื้อยตามผิวดินหรือพันไม้ระดับต่ำ ลำต้นสีม่วงแดง ใบ: รูปหัวใจ ปลายเรียวแหลม ใบสีเขียวเข้ม ดอก: ออกเป็นช่อ 1-5 ดอก สีม่วงอ่อนหรือสีชมพูอ่อน กลางดอกสีม่วงแดงเข้ม โคนกลีบเป็นหลอด ปลายแผ่ติดกัน ขนาดดอก 2.5 เซนติเมตร ออกดอกเดือนสิงหาคม-กันยายน ผล: กลมแบน มี 4 เมล็ด มีขนสั้นสีเทาหรือขาวปกคลุมหนาแน่น อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง ดิน: ทั่วไป น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: ตลอดวัน ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด การใช้งานและอื่นๆ: ทางสมุนไพรใช้ใบตำผสมเมล็ดเทียนแดง (Nigella sativa L.) พอกแก้ปวดหัว

เครือพูเงิน

เครือพูเงิน/ย่านตาน ชื่อวิทยาศาสตร์: Argyreia mollis (Burm.f.) Choisy วงศ์: Convolvulaceae ประเภท: ไม้เลื้อยเนื้อแข็ง ลำต้น: เลื้อยได้ไกล 10 เมตร กิ่งอ่อนมีขนสีขาวเงินปนสีน้ำตาลอ่อน เส้นยาวราบหนาแน่น ใบ: ใบรูปรีแกมขอบขนาน ปลายแหลม ผิวใบด้านบนมีขนประปราย ใต้ใบมีขนสีขาวเงินนุ่มคล้ายเส้นไหมหนาแน่น ดอก: ออกเป็นช่อตามซอกใบ 1-5 ดอก สีม่วงอ่อนหรือสีชมพู โคนกลีบสีขาว ปลายแผ่ติดกัน ด้านนอกของโคนดอกมีขนเป็นแฉก ขนาดดอก 3.5-4 เซนติเมตร ออกดอกเดือนตุลาคม-ธันวาคม ผล: ค่อนข้างกลม สีส้มอมแดง เมล็ดสีดำ มี 4 เมล็ด อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง ดิน: ทั่วไป น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: ตลอดวัน ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด การใช้งานและอื่นๆ: พบตามริมลำธารที่ความสูงใกล้ระดับน้ำทะเลถึง 1500 เมตร ทางสมุนไพรใช้น้ำคั้นจากต้นหยอดตา […]

ผักบุ้ง

กำจร ผักทอดยอด Water Morning Glory ชื่อวิทยาศาสตร์: Ipomoea aquatica Forsk. วงศ์: Convolvulaceae ประเภท: ไม้เลื้อยเนื้ออ่อน ลำต้น: ทอดเลื้อยตามผิวน้ำ พื้นดินที่แฉะ ลำต้นกลวง มีน้ำยาง รากออกตามข้อ มีทั้งพันธุ์ลำต้นสีเขียวและสีม่วงแดง ใบ: รูปหัวใจแคบหรือกว้าง ปลายแหลม ดอก: สีม่วงอ่อน กลางดอกสีเข้มหรือขาว ออกเป็นช่อ ดอกรูปกรวย ปลายแผ่ติดกัน ขนาดดอก 4-6 เซนติเมตร ออกดอกตลอดปี ผล:รูปไข่หรือกลม มี 4 เมล็ด อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง ดิน: ทั่วไป น้ำ: ปานกลาง-มาก แสงแดด: ตลอดวัน ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ดหรือปักชำ การใช้งานและอื่นๆ: ใบและยอดกินเป็นผักจิ้มน้ำพริก และใช้ประกอบอาหารได้หลายอย่าง ให้ วิตามินเอสูง ช่วยบำรุงสายตา สรรพคุณทางสมุนไพร ใบและเถาต้มน้ำดื่ม […]

ใบต่างเหรียญ

Roundleaf bindweed ใบต่างเหรียญ ชื่อวิทยาศาสตร์: Evolvulus nummularius (L.) L. วงศ์: Convolvulaceae ประเภท: พืชล้มลุก อายุหลายปี/วัชพืช ลำต้น: ใบต่างเหรียญ ทอดเลื้อยตามผิวดิน ออกรากตามข้อ มีขนทั่วไป ใบ: ออกสลับ รูปไข่ถึงเกือบกลม ปลายมนถึงป้าน โคนเว้าเล็กน้อยหรือรูปหัวใจ ขอบเรียบขนาด 1-2 X 1-2.5 เซนติเมตร ก้านใบสีม่วงแดง มีขนยาว ดอก: เดี่ยวออกตามซอกใบ สีขาว 5 กลีบ โคนกลีบเชื่อมติดกัน ปลายแยก 5 แฉกซ้อนเหลื่อมกัน บานเป็นรูปกรวย ขนาด 0.5-1 เซนติเมตร ผล: กลมแป้น เป็นสันตามยาว มี 4 เมล็ด ขนาดเล็กมาก อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ดินปนทราย น้ำ: […]

ใบต่อก้าน

Creeping Bindweed/Dwarf Morning Glory ชื่อวิทยาศาสตร์: Evolvulus alsinoides (L.) L. var. alsinoides วงศ์: Convolvulaceae ประเภท: พืชล้มลุก/วัชพืช ลำต้น: ตั้งตรงหรือทอดเอนกึ่งพาดเลื้อย ลำต้นเรียวเล็ก ยาว 10-40 เซนติเมตร มีขนยาวปกคลุมทั่วไป ช่วงระหว่างข้อยาว   ใบ: รูปหอกหรือรูปรีแกมขอบขนาน บาว 0.5-2 เซนติเมตร ปลายแหลมถึงมน ขอบเรียบ ก้านใบสั้นถึงไม่มี ดอก: เดี่ยวหรือเป็นช่อ 2-3 ดอก ก้านช่อยาว 1.5-3 เซนติเมตร ดอกเล็ก สีม่วงถึงฟ้าอมม่วง เส้นแฉกสีขาวหรือสีจาง เกสรเพศผู้สีขาว ออกดอกเดือนกันยายน-เมษายน ผล: กลมแป้น เมื่อแก่แห้งและแตก 4 พู อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ดินปนทราย น้ำ: น้อย-ปานกลาง แสงแดด: ตลอดวัน […]