น้องหมาเกา บ่งบอกถึงอะไรได้บ้าง

ผู้ปกครองของน้องหมาคงได้พบเห็นพฤติกรรมของสัตว์เลี้ยงแสนรัก ที่น้องมักแสดงออกอยู่เป็นประจำ เช่น การเลียหรือแทะตามลำตัว น้องหมาเกา ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย หรือบางครั้งพบว่า น้องหมาใช้หน้า หรือลำตัวถูไถไปตามพื้นและกำแพงบ้าน พฤติกรรมที่ น้องหมาเกา และเอาลำตัวไปถูไถกับวัตถุต่างๆ อาจบ่งบอกว่าน้องกำลังเกิดความคันตามผิวหนัง ซึ่งอาจมีสาเหตุจจากบาดแผลที่ผิวหนัง หรือเกิดการแพ้และระคายเคืองต่อสิ่งเร้าตามธรรมชาติ รวมไปถึงปัจจัยอื่นๆ ที่กระตุ้นการคัน ในบทความนี้ เราจะพาคุณพ่อคุณแม่ไปรู้จักกับสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการคันของน้องหมา และวิธีดูแลรักษาอย่างเหมาะสม สาเหตุของอาการคันในน้องหมา 1. เกิดจากความเครียด เมื่อเกิดความวิตกกังวล หรือความเครียด น้องหมาจะแสดงพฤติกรรมเปลี่ยนไปจากเดิม เช่น กินอาหารน้อยลง หรือแทบไม่กินอาหารเลย มีพฤติกรรมแยกตัวไปอยู่ตามลำพัง เซื่องซึม เล่นน้อยลง รวมไปถึงใช้ขาเกา และใช้ปากกัดแทะตามร่างกายตัวเองจนเป็นแผล หากคุณพ่อคุณแม่พบอาการที่กล่าวมาข้างต้น ให้เริ่มต้นจากการหาสาเหตุว่า อะไรเป็นตัวกระตุ้นความเครียดของน้อง หรือลองใช้เวลากับน้องหมาให้มากขึ้น ชวนเล่นหรือทำกิจกรรมร่วมกัน และจัดเตรียมพื้นที่สงบ ๆ ในบ้านให้น้องได้พักผ่อนเต็มที่ เมื่อน้องหมาเริ่มคลายกังวลพฤติกรรมการกัดแทะตัวเองก็จะลดลงตามไปด้วย 2. เกิดจากแมลงปรสิตภายนอก ปรสิตภายนอกที่เป็นสาเหตุของอาการคันอาจเป็นกลุ่มแมลง เช่น เห็บ หมัด และยุง ซึ่งส่งผลให้เป็นตุ่ม และเป็นสะเก็ดแผลตามลำตัว นอกจากนี้ […]

ความสำคัญของการให้ อาหารสุนัข ที่เหมาะสมตามช่วงวัย

สุนัขในแต่ละช่วงวัยจะมีพัฒนาการและความต้องการด้านโภชนาการที่แตกต่างกัน เพราะในแต่ละช่วงวัยนั้นจะต้องคำนึงถึง อายุ ขนาดตัว สายพันธุ์ กิจกรรมในแต่ละวัน และพฤติกรรมต่าง ๆ ของสุนัข รวมถึงเงื่อนไขด้านสุขภาพของสุนัขด้วย ดังนั้นการเลือก อาหารสุนัข ในแต่ละช่วงวัยจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่จะช่วยดูแลให้สุนัขของเรามีสุขภาพที่ดี และเติบโตได้อย่างสมบูรณ์แข็งแรง อาหารสุนัข ช่วงแรกเกิด – ลูกสุนัขวัยเด็ก ในช่วงแรกเกิดสารอาหารที่จำเป็นสำหรับลูกสุนัขในวัยแรกเกิดถึง  2 เดือนจะต้องการนมจากแม่สุนัข โดยเฉพาะในช่วง 3 วันแรกที่คลอดแม่สุนัขจะผลิต “น้ำนมเหลือง” หรือ Colostrum (โคลอสตรุ้ม) เป็นน้ำนมที่มีโปรตีนสูงกว่าน้ำนมปกติมีวิตามินต่าง ๆ มีสารอาหารครบถ้วนช่วยเสริมสร้างร่างกายลูกสุนัขให้แข็งแรงเป็นแหล่งภูมิคุ้มกันหลักของลูกสุนัข และเมื่อเข้าช่วงอายุประมาณ 6-8 สัปดาห์ หรือ เดือนครึ่งถึง 2 เดือนลูกสุนัขจะเริ่มหย่านม ในช่วงนี้สามารถปรับมาให้อาหารเม็ดหรืออาหารเปียกได้แล้ว สุนัขแต่ละสายพันธุ์จะเข้าสู่ช่วงโตเต็มวัยที่อายุต่างกัน สำหรับลูกสุนัขสายพันธุ์ใหญ่ เช่น โกลเด้น รีทรีฟเวอร์, เยอรมัน เชฟเพิร์ด สามารถให้ทาน Royal Canin สูตร MAXI PUPPY อาหารสำหรับลูกสุนัขพันธุ์ใหญ่ อายุ 2-15 […]

โรคนิ่วในแมว ปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นได้กับแมวทุกตัว

โรคนิ่วในแมว เป็นหนึ่งในโรคที่ทาสแมวอาจมองข้าม หรือไม่ทันได้สังเกต และหากไม่ได้รับการรักษาอาจส่งผลอันตรายถึงสุขภาพโดยรวมได้ โรคนิ่วในแมว หรือโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะ เกี่ยวข้องกับระบบการขับถ่ายของเสียในแมว อาการที่แสดงออกเบื้องต้นสามารถเกิดได้หลายอาการ เช่น เดินเข้าและออกกระบะทรายบ่อยกว่าปกติ ใช้เวลาในกระบะทรายนานเกินไป มีเลือดปนออกมากับน้ำปัสสาวะ มีอาการซึม และเบื่ออาหาร เป็นต้น โดยอาการทั้งหมดที่กล่าวมาอาจทำให้ทาสแมวเข้าใจผิดว่า เป็นปัญหาเรื่องพฤติกรรมส่วนตัวของแมว จึงส่งผลให้แมวได้รับการรักษาที่ล่าช้า ในทางการสัตวแพทย์ โรคนิ่วไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในแมวเท่านั้น แต่สามารถเกิดขึ้นกับสุนัขได้เช่นกัน ที่ผ่านมา การเกิดก้อนนิ่วสามารถพบได้ทั้งในระบบทางเดินปัสสาวะ ไต ท่อไต ท่อปัสสาวะ และกระเพาะปัสสาวะ และก้อนนิ่วที่เกิดขึ้นมีหลายชนิด โดยแต่ละชนิดเกิดจากสาเหตุที่แตกต่างกัน เช่น เกิดจากโรคหรือความเจ็บป่วย เช่น โรคไทรอยด์ โรคทางระบบประสาททำให้ควบคุมการขับถ่ายไม่ได้ โรคมะเร็งบางชนิด ความผิดปกติทางร่างกาย และการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ เกิดจากพฤติกรรม เช่น พฤติกรรมไม่ค่อยกินน้ำ และไม่ค่อยเคลื่อนไหวออกกำลังกาย การอั้นปัสสาวะ ส่งผลให้น้ำปัสสาวะมีความเข้มข้นสูงขึ้น เกิดจากเพศ อายุ และสายพันธุ์ โดยส่วนใหญ่ โรคนิ่วมักจะพบในแมวเพศผู้มากกว่าเพศเมีย เพราะแมวเพศผู้มีท่อปัสสาวะเล็กแคบและยาวกว่า นอกจากนี้ ความเสื่อมของร่างกายเมื่อแมวอายุมากขึ้น และปัญหาน้ำหนักตัวมากเกินไป ก็เป็นสาเหตุของการเกิดนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะได้ เกิดจากสภาพแวดล้อมหรือความเครียด เช่น […]

การตรวจสุขภาพประจำปีในสัตว์เลี้ยง มีความสำคัญอย่างไร

สุขภาพเป็นเรื่องที่สำคัญทั้งในมนุษย์และสัตว์เลี้ยง การดูแลสัตว์เลี้ยงในปัจจุบันเป็นเรื่องที่พ่อแม่ทุกคนเริ่มตระหนักมากขึ้น

ทำอย่างไร ไม่ให้ลูกรักสัตว์เลี้ยงเครียด เมื่อต้องพาน้องหมาน้องแมวไปหาหมอ

เมื่อถึงเวลาต้องพาน้องหมาน้องแมวไปหาหมอ คุณพ่อคุณแม่สัตว์เลี้ยงมักเกิดปัญหาหนักใจ เพราะประสบการณ์การไปหาหมอครั้งแรก จะเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของน้องหมาน้องแมวในครั้งถัดไป หลายครั้งสัตว์เลี้ยงได้รับประสบการณ์ไม่พึงประสงค์ระหว่างการรักษา ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดพฤติกรรมฝังใจ และต่อต้านการไปพบสัตวแพทย์ในครั้งต่อไป หรือทำให้เกิดความเครียดทุกครั้งเมื่อต้องไปพบสัตวแพทย์  ความเครียดในสัตว์เลี้ยงส่งผลกระทบเชิงลบต่อสุขภาพสัตว์เลี้ยงในหลายรูปแบบ ทำให้พฤติกรรมของสัตว์เลี้ยงเปลี่ยนไป หรืออาจเจ็บป่วยมากขึ้นได้ ดังนั้น การช่วยฝึกน้องหมาน้องแมวก่อนการไปพบสัตวแพทย์ จะช่วยลดความเครียด และผ่อนคลายมากขึ้น ส่งเสริมให้พฤติกรรมของลูกรักสัตว์เลี้ยง เอื้อประโยชน์ต่อการรักษาของสัตวแพทย์มากขึ้น 1. ฝึกใส่สายจูง หรือฝึกให้อยู่ในกระเป๋า หรือตะกร้า สำหรับการเดินทาง สำหรับน้องแมว ควรเตรียมอุปกรณ์สำหรับเคลื่อนย้ายน้องไว้ล่วงหน้า 2 – 3 วัน ก่อนไปพบสัตวแพทย์ โดยวางตะกร้า หรือกระเป๋าไว้บริเวณจุดที่แมวชอบนอนประจำ เหมือนเป็นเฟอร์นิเจอร์ในบ้าน พร้อมกับเปิดฝาทิ้งไว้ และใช้ผ้าห่มหรือของเล่นที่มีกลิ่นแมววางไว้ด้านใน เพื่อให้แมวค่อย ๆ ทำความคุ้นเคย เมื่อแมวคุ้นเคยกับตะกร้า หรือกระเป๋าแมวจะรู้สึกปลอดภัยทางอารมณ์ และช่วยสร้างความอบอุ่นใจเมื่อต้องเดินทางไปในสถานที่ที่ไม่คุ้นเคย  เลือกขนาดของตะกร้า และกระเป๋าให้มีขนาดใหญ่กว่าตัวแมวเล็กน้อย และควรมีฝาเปิดด้านบน เพื่อสร้างความสบายตัว และนำตัวแมวออกมาได้ง่าย คุณพ่อคุณแม่อาจปูแผ่นรองซับไว้เสมอ ในกรณีที่แมวอาจขับถ่ายหรืออาเจียน  สำหรับน้องหมา การฝึกใส่สายจูงตั้งแต่อายุยังน้อยคือกุญแจสำคัญ ในช่วงแรก น้องหมาอาจมีพฤติกรรมต่อต้านให้ค่อย ๆ ฝึกด้วยการส่งเสริมพฤติกรรมเชิงบวก อย่างการให้รางวัลเมื่อน้องหมาสามารถอยู่ในสายจูงได้ และไม่ให้รางวัลเมื่อน้องหมาเกิดพฤติกรรมต่อต้านเมื่ออยู่ในสายจูง […]

วัคซีนสุนัข และวัคซีนแมว ความจำเป็นพื้นฐานสำหรับสุขภาพที่ดีของสัตว์เลี้ยง

วัคซีนสุนัข และวัคซีนแมว เป็นหนึ่งในกระบวนการดูแลสัตว์เลี้ยงที่สำคัญและจำเป็น ดังนั้น เมื่อครบกำหนดอายุ คุณพ่อคุณแม่ควรนำสัตว์เลี้ยงไปรับวัคซีนที่โรงพยาบาลสัตว์ หรือคลินิกใกล้บ้าน เพื่อให้น้องสุนัขน้องแมวมีภูมิคุ้มกันและสุขภาพที่แข็งแรง ความสำคัญของ วัคซีนสุนัข และวัคซีนแมว ในช่วงแรกเกิด สุนัขและแมวต้องอาศัยแหล่งอาหารโดยกินน้ำนมจากแม่เท่านั้น ซึ่งในน้ำนมของแม่มีภูมิคุ้มกันของสัตว์เลี้ยงตามธรรมชาติ แต่หลังจากนั้น เมื่อลูกสุนัขและแมวเริ่มหย่านม ภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติจะค่อยๆ ลดลง โดยเฉพาะในช่วงอายุ 8 – 12 สัปดาห์ ในช่วงนี้จึงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่จะพาน้องแมวน้องหมาไปรับวัคซีนกระตุ้นภูมิคุ้มกันโรคต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เนื่องจากโรคในสัตว์เลี้ยงหลายโรครักษาได้ยาก หรือเกิดขึ้นแล้วมีโอกาสเสียชีวิตสูง เช่น โรคไข้หัด โรคลำไส้อักเสบในสุนัข และโรคพิษสุนัขบ้า เป็นต้น ดังนั้นการทำวัคซีนจึงเป็นเรื่องสำคัญที่เจ้าของสัตว์เลี้ยงไม่ควรมองข้าม เพราะการทำวัคซีนจะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันเชื้อก่อโรคชนิดต่างๆ และช่วยป้องกันไม่ให้สัตว์เลี้ยงของเรากลายเป็นพาหะนำโรคติดต่อบางชนิดที่ติดต่อมาถึงมนุษย์ได้ นอกจากนี้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่แข็งแรงจะทำหน้าที่ช่วยลดการติดเชื้อ ลดโอกาสป่วยเป็นโรคน้อยลง และช่วยลดการแพร่ระบาดของเชื้อได้ วัคซีนของสุนัขและแมว สามารถแบ่งได้ 2 ประเภท ได้แก่ 1. วัคซีนหลัก (Core vaccine) เป็นกลุ่มของวัคซีนที่น้องสุนัขและน้องแมวทุกตัวจำเป็นต้องได้รับ โดยวัคซีนหลักช่วยป้องกันโรคติดเชื้อรุนแรงที่มีการแพร่ระบาดทั่วโลก ประกอบด้วย วัคซีนหลักของสุนัข ประกอบด้วย วัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า (Rabies virus) […]

“เตรียมพร้อมรับมือปัญหาที่พบบ่อยในลูกแมว”

การเลี้ยงลูกแมวตั้งแต่วัยเบบี๋เป็นช่วงเวลาสำคัญที่เจ้าของต้องดูแลลูกแมวเป็นพิเศษ นอกจากการดูแลด้านพัฒนาการให้เจริญเติบโตสมวัยแล้ว ยังต้องเตรียมพร้อมรับมือกับปัญหาต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น เพราะในช่วงปีแรกลูกแมวมีโอกาสที่จะเกิดภาวะผิดปกติต่างๆ อาการเจ็บป่วย หรือได้รับบาดเจ็บได้มากกว่าแมวโต เจ้าของควรเตรียมพร้อมไว้ เมื่อลูกแมวเกิดปัญหาเหล่านี้จะได้พร้อมรับมือและแก้ไขได้ทันที 1. ภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าปกติ โดยปกติแล้วลูกแมวแรกเกิดอุณหภูมิร่างกายจะอยู่ที่ประมาณ 33-36 องศาเซลเซียส และเมื่ออายุประมาณ 1 เดือนอุณหภูมิร่างกายจะอยู่ที่ 33.5-37.5 องศาเซลเซียส ภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าปกติจะเกิดขึ้นกับลูกแมวช่วงหลังคลอด เพราะร่างกายจะยังปรับอุณหภูมิเองไม่ได้ ซึ่งอาจจะพบได้ในลูกแมวแรกเกิดที่มีขนาดตัวที่เล็กมากและไวต่อสภาพอากาศแม้จะอยู่ในอุณหภูมิปกติ เมื่อร่างกายไม่สามารถควบคุมให้อุณหภูมิอยู่ในเกณฑ์ปกติ อุณหภูมิร่างกายจะเริ่มลดลง ซึ่งความรุนแรงของอาการจะแบ่งเป็น 3 ระดับ ดังนี้ ระดับอ่อน อุณหภูมิร่างกายจะอยู่ที่ประมาณ 32 – 35 องศาเซลเซียส อาการ  ที่พบคือร่างกายจะอ่อนแรง หนาวสั่น และไม่ค่อยเคลื่อนไหวขยับตัว เซื่องซึม ระดับปานกลาง อุณหภูมิร่างกายจะอยู่ที่ประมาณ 28 – 32 องศาเซลเซียส อาการที่พบคือจะมีอาการกล้ามเนื้อชักกระตุก หัวใจเริ่มเต้นผิดจังหวะ หายใจลึกและช้า ความดันเลือดต่ำ  ระดับรุนแรง จะมีอุณหภูมิต่ำกว่า 28 องศาเซลเซียส อาการที่พบคือลูกแมวอ่อนแรง […]

วิธีดูแลสุขภาพสุนัขตามช่วงวัย

สุนัขในแต่ละช่วงวัยจะมีความต้องการการดูแลด้านสุขภาพและคุณค่าทางโภชนาการสารอาหารนั้นแตกต่างกันไปตามอายุ ขนาดตัว สายพันธุ์และกิจวัตป

ทำไมน้องหมาถึงไม่ควรกิน “อาหารคน”

เคยคิดไหมว่าเรากำลังทำร้ายสุขภาพของสุนัขที่เรารักโดยไม่รู้ตัวอยู่ ด้วยการตามใจให้อาหารหรือขนมของคนกับสุนัข และหลายๆคนก็เคยมีความคิดที่ว่า “อาหารที่คนกินได้ สุนัขก็ต้องกินได้เหมือนกัน” แต่จริงๆแล้วเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำเพราะคนและสุนัขมีร่างกายและระบบการทำงานต่างๆ ที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นการย่อยอาหาร การกำจัดสารพิษ และการขับของเสีย จึงทำให้ความต้องการสารอาหารที่ควรได้รับไม่เหมือนกัน  การเลี้ยงสุนัขด้วยอาหารคนอาจจะไม่ได้ส่งผลเสียให้เห็นในทันที แต่จะส่งผลกระทบในระยะยาวต่อสุขภาพของสุนัข เพราะจะทำให้สุนัขขาดสารอาหารชนิดใดชนิดหนึ่ง หรือได้รับสารอาหารบางชนิดมากจนเกินไป มักจะมีสัญญาณที่แสดงให้เห็นว่าสุนัขได้รับสารอาหารไม่เหมาะสม เช่น เจ็บป่วยง่าย เป็นโรคผิวหนัง ผิวหนังแห้ง ขนหลุดร่วงผิดปกติ มีอาการคัน ผอมหรืออ้วนเกินไป รวมถึงปัญหาท้องเสีย อึไม่เป็นก้อน หรือท้องอืด และอาหารบางชนิดที่มีประโยชน์ต่อร่างกายของมนุษย์ แต่อาจไม่จำเป็นสำหรับสุนัขและบางครั้งอาจก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ ดังนั้นเราควรหลีกเลี่ยงไม่ให้อาหารเหล่านี้กับสุนัข  1. อาหารคน ของทอด อาหารที่มีรสเค็ม และอาหารที่มีไขมัน เจ้าของสุนัขหลายคนมักให้สุนัขกินอาหารที่ปรุงเอง เช่น ตับย่าง หมูย่าง ไก่ย่าง  อาหารของคนจะถูกปรุงรสชาติด้วยเครื่องปรุงต่างๆมากมาย ทั้งโซเดียมจากเกลือและน้ำปลา ไขมันจากน้ำมันในของทอด ความหวานจากน้ำตาล และในอาหารคนยังมีส่วนผสมของวัตถุดิบที่สุนัขไม่ควรกิน เช่น หอม กระเทียม ซึ่งการปรุงรสเหล่านี้ไม่ได้มีผลต่อความอยากอาหารของสุนัข เนื่องจากสุนัขถูกกระตุ้นจากกลิ่นอาหารมากกว่ารสชาติ และอาหารคนยังมีสารอาหารไม่สมดุลสำหรับสุนัข หากให้กินอาหารคนเป็นประจำจะทำให้ขาดสารอาหาร ส่งผลเสียต่อสุขภาพ เช่นโรคผิวหนัง ขนร่วง เจ็บป่วยง่ายขึ้น […]

เลี้ยงน้องแมวในบ้านอย่างไรให้น้องแมวมีความสุข

ในอดีตคนส่วนใหญ่จะเลี้ยงแมวแบบปล่อยอิสระไม่จำกัดบริเวณ หรือที่เรียกว่าเลี้ยงแบบระบบเปิด (outdoor) เพื่อไว้ใช้จับหนู หรือไว้ให้คอยไล่พวกแมลงสัตว์ต่างๆ ทำให้แมวมีอิสระที่จะไปไหนมาไหนได้เต็มที่ แต่การเลี้ยงแบบปล่อย ก็นำมาซึ่งความเสี่ยงหลายอย่าง  เลี้ยงแมวในบ้าน เสี่ยงเป็นโรคที่ติดมาจากเห็บหมัดนอกบ้าน เช่น โรคพยาธิเม็ดเลือด การติดเชื้อจากพยาธิตัวตืด หรือปัญหาโรคผิวหนังจากการแพ้น้ำลายหมัด  โรคติดต่ออื่นๆ เช่น โรคลิวคีเมีย โรคเอดส์แมว หรือ โรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบในแมว (feline infectious peritonitis; FIP)  ซึ่งโรคเหล่านี้เป็นโรคร้ายแรงที่อาจนำไปสู่การจากไปก่อนวัยอันควร  การบาดเจ็บหรืออาจจะถูกทำร้าย จากการต่อสู้ของแมวด้วยกัน การถูกทำร้ายจากสัตว์อื่น เช่น ถูกหมากัน ถูกสัตว์มีพิษกัดต่อย หรือแม้กระทั่งถูกทำร้ายจากมนุษย์  ยังไม่รวมถึงการสร้างความเดือดร้อนให้กับเพื่อนบ้านจากการที่แมวขับถ่ายไม่เป็นที่ หรือในช่วงที่แมวติดสัดแมวจะส่งเสียงร้องดังรบกวนซึ่งอาจสร้างความรำคาญได้ และการเลี้ยงแบบปล่อย แมวสามารถออกไปเที่ยวเล่นนอกบ้านได้ไกลถึง 3 กิโลเมตร ก็ยิ่งเพิ่มโอกาสที่จะสูญหายมากยิ่งขึ้น จากความเสี่ยงต่างๆ และเทรนด์การเลี้ยงสัตว์ที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน เป็น(เทรนด์ Pet Humanization คือการดูแลเอาใจใส่สัตว์เลี้ยงของตัวเองเปรียบเสมือนคนในครอบครัว) รวมถึงการเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย (Aging Society) ที่ผู้สูงอายุเลี้ยงสัตว์เพื่อคลายเหงา และเป็นช่วงที่ผู้คนทำงานอยู่กับบ้าน (Work From Home) มากขึ้น ล้วนก็เป็นปัจจัยที่ทำให้คนนิยมเลี้ยงแมวในบ้านหรือในคอนโดกันมากขึ้น […]

วิธีคลายเหงาให้น้องหมาเวลาที่เจ้าของไม่อยู่บ้าน

การได้อยู่บ้านกับน้องหมาที่เรารักเป็นความสุขที่หลายๆคนเฝ้ารอ แต่ในความเป็นจริง เจ้าของต้องออกไปทำงาน ไปทำธุระจำเป็นนอกบ้าน หรือช่วงเทศกาลวันหยุดยาวที่ต้องออกจากบ้านไปนานหลายๆวัน การให้น้องหมาอยู่เฝ้าบ้านเพียงลำพัง โดยเฉพาะน้องหมาที่ผูกพันกับเจ้าของมากๆ อาจทำให้น้องหมาเกิดความเครียด เกิดความรู้สึกวิตกกังวลขึ้นมาได้ อาจมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจากเดิม เช่น การเลียเท้าเยอะขึ้นจากความเครียด หรือมีนิสัยดุร้ายมากขึ้น กัดแทะทำลายข้าวของในบ้าน หรือขับถ่ายเรี่ยราด ดังนั้นเจ้าของควรจะต้องเตรียมความพร้อมไว้ หาวิธีคลายเหงาเวลาที่เจ้าของไม่อยู่บ้าน หรือเวลาที่ต้องปล่อยให้น้องหมาอยู่ตามลำพัง วิธีคลายเหงาให้น้องหมา เจ้าของต้องค่อยๆฝึกน้องหมาให้อยู่ตามลำพัง เพื่อให้เกิดความเคยชินเวลาที่เจ้าของออกไปข้างนอก อาจจะเริ่มให้อยู่ห่างกันคนละพื้นที่ คนละห้อง หรือคนละชั้น แต่ยังอยู่ในบ้านเดียวกัน เริ่มจากระยะเวลาสั้น ๆ 1- 2 ชั่วโมง ในการฝึกช่วงแรกน้องหมาอาจจะร้องเรียกแต่เจ้าของห้ามใจอ่อนเด็ดขาด เมื่อน้องหมาเริ่มคุ้นเคยแล้วค่อยขยับระยะเวลาออกไปให้นานขึ้น ออกไปข้างนอกครั้งละ 2-3 ชั่วโมง แล้วค่อยๆขยายเวลามากขึ้น เวลาที่เจ้าของกลับเข้าบ้านให้ใช้น้ำเสียงเรียกด้วยโทนปกติ ลูบหัวลูบตัวทักทายน้องหมาให้เขาเรียนรู้ว่าเจ้าของไม่ได้ทิ้งหนีหายไปไหน การฝึกแบบนี้น้องหมาจะค่อยๆเรียนรู้และเข้าใจว่าการที่เจ้าของไม่อยู่บ้านนั้นเป็นเรื่องปกติ วิธีคลายเหงาให้น้องหมา หากน้องหมามีนิสัยชอบกัดแทะ หรือทำลายข้าวของในบ้านเวลาที่เจ้าของไม่อยู่ ให้ลองใช้วิธีพาออกไปเดินเล่น หรือชวนเล่นด้วยกันภายในบ้านอย่างน้อย 30 นาที ก่อนที่เจ้าของจะออกนอกบ้านแล้วต้องปล่อยให้อยู่ตัวเดียว วิธีนี้ช่วยให้น้องหมาได้ใช้พลังงาน และถือเป็นการช่วยให้ได้ออกกำลังกายอีกด้วย หลังจากน้องได้ออกแรงไปแล้ว เขาก็จะนอนหลับพักผ่อนในช่วงที่เจ้าของออกไปข้างนอก และเมื่อตื่นขึ้นมาก็จะผ่อนคลายมากขึ้น นอกจากนี้ควรเตรียมของเล่นชิ้นโปรดเพื่อช่วยคลายเหงา ให้น้องหมาได้มีกิจกรรมทำในเวลาที่ต้องอยู่ตัวเดียวแทนที่จะไปกัดแทะข้าวของในบ้าน เตรียมของเล่นชิ้นโปรดเอาไว้ให้น้องหมา […]

อย่ามองข้ามเมื่อแมวขย้อนก้อนขน

ภาพที่คนเลี้ยงแมวมักจะเห็นเป็นประจำก็คือน้องแมวกำลังนั่งเลียขนตัวเอง ซึ่งบางตัวก็ชอบเลียตัวเองมากๆแบบที่เห็นทีไรก็กำลังนั่งเลียขนอยู่ทุกที แต่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าการที่แมวเลียขนตัวเองไม่ใช่แค่เป็นการทำความสะอาดร่างกายเท่านั้นแต่ยังเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น  การเลียขนหลังจากที่แมวไปนอนอาบแดดเป็นการรับวิตามินดี (Vitamin D) เข้าร่างกาย  การเลียขนเป็นการผ่อนคลายอารมณ์ของน้องแมว การเลียขนเป็นการช่วยระบายความร้อนออกจากร่างกาย เนื่องจากแมวไม่มีต่อมเหงื่อเหมือนกับมนุษย์ แมวจึงใช้วิธีการเลียขนให้เปียกแล้วปล่อยให้แห้งเอง เมื่อแมวกำลังรู้สึกเครียดสับสนหรือเกิดความรู้สึกไม่สบายใจ แมวจะเลียขนตัวเอง ช่วงผลัดขนตามธรรมชาติแมวจะใช้วิธีเลียตัวเพื่อให้ขนหลุดออกไปจากร่างกาย หากเป็นโรคผิวหนัง เช่น เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย หรือโรคที่เกิดจากตัวหมัดตัวไรทำให้แมวมีอาการคันผิวหนังแมวจะเลียขนตัวเองซ้ำๆในบริเวณที่คัน จากสาเหตุต่างๆ ข้างต้นการขย้อนก้อนขน (Hairball) จึงสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในแมวสายพันธุ์ขนสั้นและในแมวสายพันธุ์ขนยาว แมวแต่ละตัวจะมีความถี่ในการขย้อนก้อนขนที่แตกต่างกัน ในบางตัวอาจขย้อนก้อนขนออกมาทุกสัปดาห์ หรือทุกเดือน บางตัวก็ขย้อนก้อนขนเพียงปีละ 1-2 ครั้งเท่านั้น แต่ถ้าเทียบกันในแมวสายพันธุ์ขนยาวและสายพันธุ์ขนสั้น แมวสายพันธุ์ขนยาวจะมีอัตราการขย้อนก้อนขนมากกว่าแมวสายพันธุ์ขนสั้นถึง 2 เท่า เวลาที่แมวเลียตัวเองลิ้นของแมวจะลักษณะเป็นหนามแหลมทำหน้าที่คล้ายหวี ตุ่มหนามถี่ ๆ ที่ลิ้นจะช่วยดักจับสิ่งสกปรกที่ติดตามตัวรวมถึงเซลล์ขนที่ตายแล้วสางออกจากตัว ขนที่หลุดออกมาจากการเลียตัวของแมว แมวจะกลืนขนเหล่านั้นเข้าไปในทางเดินอาหาร ยิ่งในช่วงผลัดขนแมวจะกลืนขนเข้าไปมากกว่าปกติถึง 3 เท่า วิธีที่แมวใช้ในการขับก้อนขนออกจากร่างกายก็คือการอาเจียนหรือคำที่เราคุ้นเคยพูดกันว่า “การขย้อนก้อนขน” ก้อนขนที่ถูกขย้อนออกมาพบได้ทั้งแบบเป็นแท่งยาวๆรีๆหรือเป็นก้อนกลมๆ  และอีกวิธีคือการขับออกมาทางทวารหนัก ขนจะปนออกมาเวลาที่แมวถ่ายหนัก  แต่ถ้าแมวเลียขนมากเกินไป  หรือมีการสะสมของเส้นขนจำนวนมากจนไม่สามารถขับก้อนขนออกมาจากร่างกายได้ จะทำให้เกิดโรคต่างๆ เช่น ถ้าก้อนขนหลุดเข้าไปในช่องคอหอยร่วมกับจมูกจะเกิดภาวะหลอดอาหารอักเสบหรือหลอดอาหารตีบ วิธีสังเกตอาการคือ แมวมีอาการจาม […]