สิรินธรวัลลี

ประดงแดง สามสิบสองประดง
ชื่อวิทยาศาสตร์: Bauhinia sirindhorniae K.Larsen & S.S.Larsen
วงศ์: Leguminosae-Caesalpinioideae
ประเภท: ไม้เถาเนื้อแข็งขนาดใหญ่
ลำต้น: มีเนื้อไม้ กิ่งอ่อนปกคลุมด้วยขนละเอียดสีน้ำตาลแดง กิ่งแก่เรียบมีใบพัน ออกตามซอกใบแยกเป็นสองแฉก
Bauhinia sirindhorniae 1ใบ: ใบเดี่ยว ออกเรียงเวียน รูปไข่ กว้าง 4 -17 เซนติเมตร ยาว 5 -18 เซนติเมตร ปลายใบหยักเว้าลึกเกือบครึ่งใบ ดูคล้ายใบแฝดปลายหยักแหลม โคนใบรูปหัวใจ แผ่นใบหนาสีเขียวเข้มเป็นมัน
ดอก: เป็นช่อกระจุกออกตามซอกใบ ดอกย่อยจำนวนมาก มีขนสีน้ำตาลปกคลุม ดอกบานเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 – 3 เซนติเมตร กลีบดอก 5 กลีบสีส้มอมชมพูถึงส้มหรือสีขาว  ออกดอกเดือนกรกฎาคม – กันยายน
ผล: เป็นฝักแบน กว้าง 3 – 5 เซนติเมตร ยาว 10 – 18 เซนติเมตร มีขนอ่อนปกคลุม ภายในมี 5 – 7 เมล็ดดิน: ดินร่วนระบายน้ำดี
น้ำ: ปานกลาง
แสงแดด: ตลอดวัน
ขยายพันธุ์: ตอนกิ่งและเพาะเมล็ด
การใช้งานและอื่นๆ : เหมาะปลูกเพื่อให้ร่มเงา ชาวบ้านในท้องถิ่นใช้เป็นสมุนไพร รากและลำต้นแห้งแก้หนอง ฝี แก้ปวดตามข้อและลมพิษ ดอกช่วยให้เจริญอาหารและบำรุงประสาท เป็นพืชถิ่นเดียวของไทย พบตามป่าดิบแล้งทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ความสูง 150 – 200 เมตรเหนือระดับทะเล สำรวจพบครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2538 โดย ดร.ชวลิต นิยมธรรม ในป่าภูทอกน้อย อำเภอบุ่งคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา ต่อมาศาสตราจารย์ Kai Larsen พบว่าเป็นพืชชนิดใหม่ของโลก กรมป่าไม้จึงขอพระราชทานพระนามสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีมาตั้งเป็นคำระบุชนิดและชื่อไทย