โล่รางวัล 10 บ้านน่าอยู่ 10 สวนสวย และบ้านและสวน Awards ประจำปี 2565

10 บ้านน่าอยู่ 10 สวนสวย ประจำปี 2565 ที่นิตยสารบ้านและสวน ร่วมงานกับทีมออกแบบจาก ดอยตุง โดยใช้เศษฝ้ายเป็นวัสดุประกอบในการทำโล่ด้วยการหล่อปูนหลายหินขัด(Terrazzo)

โล่รางวัล 10 บ้านน่าอยู่ 10 สวนสวยประจำปี 2564

โล่รางวัล 10 บ้านน่าอยู่ 10 สวนสวย ประจำปี 2564 ที่ นิตยสารบ้านและสวน ตั้งใจจัดทำขึ้นเป็นพิเศษ โดยร่วมงานกับสตูดิโอ Bope ในจังหวัดเชียงใหม่ ด้วยการนำเศษขยะพลาสติกเหลือทิ้งมาผ่านกระบวนการ Upcycle สร้างคุณค่าใหม่ให้กลายเป็นโล่รางวัลสีสวยภายใต้รูปสัญลักษณ์ของบ้านที่เรียบง่ายและสวยงามอยู่บนฐานไม้ที่ดูอบอุ่น ตลอดปี 2564 แม้จะเป็นปีที่ยากลำบากสำหรับคนทำงานในทุกวงการ รวมถึงการออกแบบก่อสร้างบ้านที่อาจต้องล่าช้าหรือหยุดชะงักไปบ้าง แต่เราก็ยังได้เห็นบ้านหลายหลังที่สร้างเสร็จพร้อมให้เจ้าของบ้านได้เข้าอยู่และใช้ชีวิตอย่างปลอดภัยอยู่ในบ้านหลังใหม่ เช่นเดียวกับอีกหลายสวนที่ทั้งรีโนเวตและจัดแต่งใหม่เพื่อเป็นพื้นที่สีเขียวให้เจ้าของบ้านได้ออกมาคลายความอึดอัดกัน นั่นทำให้เรามีบ้านน่าอยู่และสวนสวยๆ มานำเสนอผ่านหน้านิตยสารบ้านและสวน room และหนังสือจากสำนักพิมพ์บ้านและสวน ตลอดจนเว็บไซต์บ้านและสวนได้อย่างต่อเนื่อง และเช่นเคยเหมือนทุกปีที่เราจะคัดสรรบ้านและสวนที่มีอยู่ทั้งหมดเพื่อมอบรางวัล 10 บ้านน่าอยู่ 10 สวนสวย โดยปี 2564 นี้ยังแบ่งเป็นหมวดต่างๆ เพื่อให้เห็นถึงเรื่องราวพิเศษของบ้านและสวนนั้นๆ ได้อย่างชัดเจนขึ้น เพื่อมอบความประทับใจให้เจ้าของบ้าน เจ้าของสวน และผู้ออกแบบที่ได้รับรางวัลในปีนี้ เรายังได้จัดทำโล่รางวัลพิเศษขึ้นมาภายใต้แนวคิดของการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า โดยร่วมกับคุณโบ-เปมิกา สุคีตาและคุณตื้อ-ศุภฤกษ์ ทาราศรีคู่หูนักออกแบบจาก Bope สตูดิโอในจังหวัดเชียงใหม่ที่มุ่งมั่นผลิตงานแบบ Upcycle โดยเน้นใช้ขยะพลาสติกที่เหลือทิ้งและไม่สามารถกลับคืนสู่อุตสาหกรรมการผลิตเมล็ดพลาสติกได้ เพื่อสร้างคุณค่าของพลาสติกให้กลับมาหมุนเวียนอยู่ในวิถีชีวิตอีกครั้ง “พลาสติกที่เรานำมารีไซเคิลเป็นพวกพลาสติกแข็ง อย่างฝาขวดน้ำ ถัง กะละมัง ขวดแชมพู และก็ยังมีถุงพลาสติก […]

โล่รางวัล 10 บ้านน่าอยู่ 10 สวนสวย ประจำปี พ.ศ.2563

โล่รางวัลสำหรับโครงการ 10 บ้านน่าอยู่ 10 สวนสวย ประจำปีพ.ศ.2563 สวยพิเศษด้วยแนวคิดของ ‘Origin’ หรือความงามกำเนิดจากธรรมชาติ โล่รางวัล นี้มาพร้อมกับโครงการ 10 บ้านน่าอยู่ 10 สวนสวย ประจำปีพ.ศ.2563  ที่คัดเลือกมาจากนิตยสารบ้านและสวน, room และ my home รวมถึงสำนักพิมพ์บ้านและสวน โดยปีนี้นิตยสารบ้านและสวนนำเสนอมุมมองของงานศิลปะยุคแรกเริ่มที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นจากวัสดุตามธรรมชาติ นั่นคือ “เครื่องปั้นดินเผา” เพราะแม้ว่าปัจจุบันเครื่องปั้นดินเผาจะมีวิวัฒนาการผ่านเทคโนโลยีสมัยใหม่มากมายกว่ายุคแรกเริ่ม แต่นั่นก็ไม่เคยทำให้เสน่ห์ของสัมผัส สีสัน และความสร้างสรรค์ที่มนุษย์มีต่อการปั้นดินลดลงหรือ ถูกหลงลืมไปตามกาลเวลาเลย นิตยสารบ้านและสวนจึงได้ร่วมงานกับ เตาหลวงสตูดิโอในอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นทั้งสตูดิโอสร้างผลงานเซรามิก ร้านค้า และแหล่งทำเวิร์คชอปปั้นดิน เพื่อออกแบบ โล่รางวัล สำหรับปีนี้ขึ้นมาโดยนำดินแดงจากดอยสะเก็ดและดินดำแม่ริมมาใช้สร้างสรรค์ ผ่านเทคนิคแรกเริ่มของมนุษย์ นั่นคือ ทำงานสแล็บดินแผ่นหรือขึ้นรูปจากดินแผ่นด้วยมือ และใช้เครื่องมือช่างพื้นบ้านเพียงเล็กน้อย ตั้งแต่ ขั้นตอนการนวดดิน ขึ้นรูป ไปจนถึงลวดลายที่ ใช้การพิมพ์ลายใบไม้คล้ายรอยจารึกที่ปรากฏในฟอสซิล นอกจากนี้สีสันที่เกิดขึ้นยังมาจากส่วนผสมของขี้เถ้าจากต้นไม้ชนิดต่างๆ ในธรรมชาติอีกด้วย พื้นผิวของดินที่ขึ้นรูปในครั้งแรกจะมีการแตกตามธรรมชาติ ให้ผิวสัมผัสสวยงาม ก่อนใช้ลูกกลิ้ง กลิ้งให้ได้รูปทรงที่อิสระตามแรงในครั้งแรกเช่นกัน สุดท้ายรูปทรงที่เกิดขึ้นกลับมาคล้ายรูปทรงของ […]

Kamon Indigo : ความแสบสันของผ้าย้อมสีธรรมชาติที่กล้าใส่แบบไม่เขิน

แม้จังหวัดแพร่จะขึ้นชื่อเรื่องของการย้อมฮ่อม หนึ่งในกรรมวิธีการสร้างสีครามลงบนผืนผ้าของชาวเหนือ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมาช้านาน แต่สำหรับ กมลชนก แสนโสภา เด็กสาวอายุ 18 ที่กำลังจะก้าวเท้าเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัยในตอนนั้น เธอรู้เพียงแค่ว่าฮ่อมคือสีย้อมผ้าที่ใช้สวมใส่ในช่วงวันสงกรานต์ และเมื่อโดนน้ำสีจากผ้าจะตกจนเปรอะเปื้อนร่างกาย “ความไม่รู้” ที่เธอมีในตอนนั้น เหมือนเป็นประตูบานใหญ่ที่ทำให้หญิงสาวย้อนกลับมาหาคำตอบกับสิ่งใกล้ตัวที่เคยมองข้ามไป ซึ่งการมองย้อนกลับไปค้นหาภูมิปัญญาเรื่อง “ฮ่อม” พืชที่อยู่คู่กับชุมชนของเธอมานาน ได้นำมาสู่ต้นกำเนิดของสตูดิโอเล็ก ๆ ที่เปลี่ยนจากโรงเลี้ยงหมาหลังบ้าน กลายเป็นห้องเรียนเรื่องสีธรรมชาติ และทำให้ Kamon Indigo เดินหน้าขึ้นมาเป็นงานคราฟต์ที่ทำให้คนรุ่นใหม่กล้าสวมใส่ผ้าย้อมสีธรรมชาติกันมากขึ้น เริ่มต้นที่สตูดิโอหลังบ้าน “ตรงนี้เคยเป็นบ้านหมามาก่อนค่ะ แต่พอเราคิดจะทำงานนี้อย่างจริงจังหลังเรียนจบก็เลยเปลี่ยนมาเป็นโรงย้อม ช็อปจำหน่ายสินค้า และสตูดิโอสำหรับเวิร์กชอป ใครอยากเรียนรู้วิธีย้อมสีธรรมชาติก็มาเจอเราที่นี่ได้เลย” กมลชนกเล่าถึงสถานที่ที่เป็นจุดเริ่มต้นของ Kamon Indigo อย่างติดอารมณ์ขัน “สิ่งที่ทำให้เราหันมาสนใจเรื่องย้อมสี เริ่มจากความไม่รู้ก่อนค่ะ ตอนสอบสัมภาษณ์เข้ามหาวิทยาลัยเราตอบคำถามง่าย ๆ ของอาจารย์ที่ถามว่าใครคือศิลปินแห่งชาติคนแรกของจังหวัดแพร่ไม่ได้ ซึ่งเป็นบ้านเกิดของเราเองเเท้ ๆ เพราะตอนนั้นมัวแต่ไปหาความรู้เรื่องอื่น แต่สิ่งใกล้ตัวเเบบนี้กลับตอบไม่ได้ เราเลยกลับมาหาคำตอบและเรียนรู้จากผู้ที่อยู่ในวงการจนได้รู้จักกับคุณป้าท่านหนึ่งซึ่งแกย้อมฮ่อมขาย เราเองก็อยากหารายได้พิเศษ จึงไปขอเรียนรู้งานตรงนั้น  “ตอนนั้นเราไม่รู้จักฮ่อมเลย ทั้ง ๆ ที่เราเป็นคนจังหวัดแพร่ จังหวัดที่ขึ้นชื่อเรื่องฮ่อม  เรารู้แค่ว่าเสื้อย้อมฮ่อมมักนิยมใส่กันในช่วงวันสงกรานต์ และสีจะตกเลอะตัวตอนเล่นน้ำ  เรารู้แค่นั้น เเต่พอได้มาทำความรู้จักลึก […]

Run Ga Run เทคนิคแพรวพราวของงานคราฟต์ที่กล้าใช้หัวหอมแดงมาย้อมสีผ้า

พาไปชมโรงย้อมผ้าสีธรรมชาติของแบรนด์ Run Ga Run งานคราฟต์ที่เต็มไปด้วยลูกเล่นและเทคนิคย้อมสีใหม่ๆ และตามไปดูไร่ครามออร์แกนิกแบบ 100%

ผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติจากคีรีวงที่บินตรงสู่เลสเตอร์ ซิตี้

ฉากเปิดตัวนักเตะของสโมสรฟุตบอลเลสเตอร์ ซิตี้ ที่สวมเสื้อแจ็กเก็ตผ้ามัดย้อมสีน้ำเงิน-เหลืองทอง ในพิธีเปิดการแข่งขันวัน Boxing Day (วันที่ 26 ธันวาคมที่ผ่านมา) ไม่เพียงเรียกเสียงเชียร์จากแฟนบอลรอบสนาม เเต่ยังถือเป็นการเปิดตัวสินค้าที่ระลึกคอลเล็กชั่นใหม่ของสโมสรฯประจำปี 2020 อย่างเป็นทางการไปพร้อมกัน ผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติ เสื้อแจ็กเก็ตของเหล่านักเตะทีมเลสเตอร์ ซิตี้ที่เห็นอยู่นั้น คือคอลเล็กชั่นพิเศษที่ใช้ชื่อว่า “From Leaves to Lively Thai Dye Collection” โดยกลุ่มบริษัท คิง พาวเวอร์ ได้ออกแบบร่วมกับทีมครีเอทีฟของสโมสรเลสเตอร์ ซิตี้ โดยนำภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทยอย่างการมัดย้อมสีธรรมชาติมาสร้างสรรค์ให้เกิดลวดลายพิเศษ โดดเด่นด้วยสองโทนสี หลัก ๆ ซึ่งเกิดจากการ Collaborate ระหว่างเทคนิคการย้อมสีธรรมชาติของภาคใต้ จากชุมชนหมู่บ้านคีรีวง ตำบลกำโลน อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ใช้ใบหูกวางมาย้อมผ้าเพื่อให้เกิดเป็นสีเหลืองทอง กับเทคนิคการย้อมผ้าของทางภาคเหนือ จากชุมชนตะเคียนปม อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน ซึ่งใช้เทคนิคการย้อมคราม จนได้เนื้อผ้าโทนสีน้ำเงิน ก่อนนำมาตัดเย็บเป็นเสื้อเเจ็กเก็ต พร้อมด้วยของที่ระลึกต่าง ๆ อันเป็นส่วนหนึ่งของคอลเล็กชั่นนี้  โดยคอลเล็กชั่นนี้ถือเป็นสินค้า Ready-to-wear รุ่น Limited […]

“สาธุ” : ฝ้าย-ใยกัญชง-สีธรรมชาติ สู่เสื้อผ้าที่ถักทอจากสัญชาตญาณ

สาธุ แบรนด์เสื้อผ้าปลอดสารเคมี ทักทอจากใยธรรมชาติ ฝ้าย และ กัญชง ย้อมสีธรรมชาติจากเปลือกไม้ ทอมือและตัดเย็บโดยชาวเขา สู่การสวมใส่ในรูปแบบศิลปะ

งานทดลองที่เปลี่ยนกระสอบและกระดาษให้กลับมาเป็นถุงใส่ของ

คุณบาส-ศิรวิชญ์ ชัยอภิสิทธิ์ เจ้าของผลงานและผู้ก่อตั้งแบรนด์ Dhammada Garden ช่วยยืนยันความคิดนี้อีกที เมื่อเขาเล่าว่า “ผมชอบความธรรมดาสามัญซึ่งมีความพอดี

ซอสพริกศรีราชาพานิช ตำนานที่มีชีวิตกว่า 80 ปี

ในบรรดาซอสพริกที่ขึ้นชื่อในบ้านเรา ผมเชื่อเหลือเกินว่า ซอสพริกศรีราชาพานิช นั้นเป็นยี่ห้อที่คนไทยส่วนใหญ่รู้จักและคุ้นเคยกันดี ถึงขั้นมีติดประจำครัวเสียด้วยซ้ำไป

ละมุนละไม สองนักปั้นเซรามิกที่หยิบดอกไม้มงคลมาปั้นเป็นจานชาม

ใครที่ชอบเดินดูของในโซน Art Market จะต้องคุ้นหน้าคุ้นตาศิลปินคู่นี้และผลงานที่สุดแสนน่ารักของพวกเขาเป็นอย่างดี แม้ปัจจุบันจะมีงาน เซรามิก

ช่างเขียนเบญจรงค์สมัยใหม่ที่เขียนลายจากคำถามในจินตนาการ

คงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะให้คนไทยทุกคนหันมาใส่ผ้าไทยในชีวิตประจำวัน หยิบภาชนะ เบญจรงค์ มาใช้บนโต๊ะอาหาร หรือแต่งบ้านด้วยถ้วยโถที่ลงรักปิดทอง

10 คอลเลคชั่นใหม่ เบญจรงค์ไทย ที่ก้าวไกลไปกว่าเดิม

อวดโฉมผลงานจากโครงการ SACICT Signature Collection โดยศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ SACICT ในพัฒนาอัตลักษณ์ เบญจรงค์ ของไทย

SACICT Signature Collection 2019 แสงไฟที่ส่องสว่างให้งานเบญจรงค์โชติช่วงอีกครั้ง

SACICT Signature Collection 2019 งานเบญจรงค์ที่ได้ลบความคิดเหล่านั้นไปจนสิ้น ซึ่งเราจะพาไปชมกันว่าผลงาน ทั้ง 10 ชิ้นนั้นมีรูปลักษณ์เป็นเช่นใด

La Rocca แบรนด์เสื้อผ้าไทยจากชุมชนกลางกรุง

La Rocca แบรนด์เสื้อผ้าดัง ของ นิ – รุ่งโรจน์ จันทร์กระจ่าง ชายหนุ่มวัยสี่สิบต้นๆ มีจุดเด่นที่การนำถุงผ้าเก่าที่ผ่านการใช้งานแล้วมาเป็นวัตถุดิบในการตัดเย็บ

สำริดศิลป์ บ้านช่างหล่อ

บ้านช่างหล่อ คือชุมชนช่างกลางกรุงที่มีเรื่องราวความเป็นมากว่าร้อยปี ตั้งอยู่ในเขตบางกอกน้อย บริเวณเชิงสะพานข้ามคลองบ้านขมิ้น – คลองคูเมือง

“เส้ง ซอย 7” ตำนาน เวสป้า เมืองไทย

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่หลงใหลและมีรถเวสป้าในครอบครอง คุณต้องรู้จักผู้ชายคนนี้ “เส้ง ซอย 7” หรือ คุณวีระ ธีรเกตุ ชายไทยเชื้อสายจีนอายุเจ็ดสิบปีต้นๆ ผมขาวท่าทางทะมัดทะแมงสมเป็นนักเลงเวสป้า

เปลี่ยน เครื่องปั้นดินเผา ธรรมดาให้มีค่ามากกว่าเดิม

จังหวัดนนทบุรีไม่ได้มีเพียงแค่วัดเก่านามระบือ เลื่องลือทุเรียนนนท์ น่ายลศูนย์ราชการ หากแต่ยังเป็นแหล่งงานศิลปะ เครื่องปั้นดินเผา ที่เก่าแก่และน่าสนใจ

อิฐโบราณทำมือฝาแฝดที่พลัดพรากของอิฐมอญ

การทำ อิฐโบราณ ประดับเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น เพราะเชื่อกันว่าดินจากท้องนาที่จังหวัดอ่างทองนั้นดีและเหมาะกับการทำอิฐมากที่สุด