เปิดเส้นทางไม้ดอกไม้ประดับไทยสู่เวทีโลก โดย มาลัยวิทยสถาน

มาลัยวิทยสถาน โครงการที่พลักดัน “ไม้ดอกไม้ประดับ” ให้พัฒนาก้าวกระโดดสู่ระดับนานาชาติ เป็นที่ยอมรับของต่างประเทศ

ไม้ดอกไม้ประดับ นิยมใช้อย่างแพร่หลายทั้งใช้ตกแต่งสถานที่ เป็นของขวัญในโอกาสพิเศษ ใช้เป็นสื่อกลางในการสื่อความหมาย ซึ่งแหล่งผลิตไม้ดอกไม้ประดับที่สำคัญในไทย ส่วนหนึ่งถูกปลูกโดยกลุ่มเกษตรกร ผู้ปลูกไม้ดอกไม้ประดับในจังหวัดเลย ซึ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับการสนุบสนุนจาก มาลัยวิทยสถาน

มาลัยวิทยสถาน
พี่อ๋อง พิเชษฐ์ อุทธังชายา เกษตรกร ผู้ปลูกลิเซียนทัส
มาลัยวิทยสถาน
แม่อ้อน เสถียร ธัญญารักษ์ เกษตรกร ผู้ปลูกต้นคริสต์มาส

พี่อ๋อง พิเชษฐ์ อุทธังชายา สวนอุทยานไม้ดอก อ.ภูเรือ จ.เลย หนึ่งในเกษตรกร ผู้ปลูกไม้ดอกไม้ประดับ
ลิเซียนทัส เบญจมาศ เก๊กฮวย ที่ได้รับการส่งเสริมในการนำสายพันธุ์ใหม่ๆ ซึ่งตรงต่อความต้องการของตลาด มาทดลองปลูกในพื้นที่ อ.ภูเรือ จังหวัดเลย เช่นเดียว กับ แม่อ้อน เสถียร ธัญญารักษ์ แปลงใหญ่ไม้ดอกไม้ประดับ เกษตรกร ผู้ปลูกต้นคริสต์มาส ที่ได้รับการส่งเสริมพัฒนากระบวนการปรับปรุง วัสดุเพาะชำปลอดโรคสำหรับ ต้นคริสต์มาส ช่วยให้ต้นกล้าคริสต์มาสมีอัตราการรอดสูง เจริญเติบโตดี และ เพิ่มปริมาณต้นพันธุ์ได้มากกว่าอดีต เกษตรกรทั้ง 2 รายได้ล้วนรับการสนับสนุนจาก โครงการมาลัยวิทยสถาน  

มาลัยวิทยสถาน
ดร.อนันต์ พิริยะภัทรกิจ จากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) หัวหน้าโครงการ มาลัยวิทยสถาน

โครงการมาลัยวิทยสถาน เป็นโครงการฯ เพื่อ พัฒนาการผลิตไม้ดอกไม้ประดับ กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดเลย และ จังหวัดลำปาง ให้เป็นพื้นที่ต้นแบบโดยนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และ นวัตกรรม รวมถึงสร้างเครือข่าย กับ ภาครัฐ เอกชน และ นานาชาติ เพื่อขยายผลไปที่อื่นๆ ทั่วประเทศ โดยมี ดร.อนันต์ พิริยะภัทรกิจ จากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) เป็นหัวหน้าโครงการฯ ซึ่งได้รับงบประมาณการสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

ปัจจุบันแบ่งกิจกรรม ในการส่งเสริมการปลูกไม้ดอกไม้ประดับออกเป็น 4 กิจกรรมย่อย ได้ดังนี้ 

  1. เว็บไซต์จัดเก็บข้อมูลเกษตรกร เพื่อประโยชน์เชิงพาณิชย์เป็นแพลตฟอร์ม ที่ให้ผู้บริโภคสามารถซื้อออนไลน์ได้โดยตรง การคัดเลือกสายพันธุ์ ไม้ดอกไม้ประดับ ที่ตรงต่อความต้องการของตลาด พัฒนาองค์ความรู้ และ ถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่เกษตรกร
  2. ผลิต และ ขยายพันธุ์พันธุ์ปลอดโรคจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ สำหรับให้เกษตรกรผลิตเป็นแม่พันธุ์ พัฒนาวัสดุปลูก โดยใช้เครื่องอบไอน้ำกำจัดโรค พัฒนาภาชนะปลูกควบคุมการปลดปล่อยธาตุอาหารพืช และ กระถางเพาะชำย่อยสลายได้ จากเศษวัสดุจากธรรมชาติที่มาจากการปลูกไม้ดอกไม้ประดับ
  3. คู่มือการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช การติดตั้งอุปกรณ์ Smart Farming
  4. การพัฒนาเทคโนโลยีการเก็บเกี่ยว ฮอร์โมนพืชสำหรับการยืดอายุไม้ดอกไม้ประดับ เพื่อใช้ในการขนส่ง
    การพัฒนาบรรจุภัณฑ์สำหรับการขนส่งให้ผู้บริโภค
มาลัยวิทยสถาน
มาลัยวิทยสถาน
ดอกลิเซียนทัส

จากการส่งเสริมกิจกรรมย่อยของ โครงการฯ ช่วยให้เกษตรกรมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ ซึ่ง พี่อ๋อง เกษตรกรรุ่นใหญ่ที่ได้รับการส่งเสริมปลูกลิเซีนยทัสกับโครงการฯ เล่าว่า “ทางโครงการได้เข้ามาส่งเสริมตั้งแต่ปีที่แล้ว (พ.ศ. 2564) ซึ่งตอนนั้น ต้องใช้เวลาในการปรับตัวสักพัก แต่พอมาปีนี้อะไรต่างๆ เริ่มเข้าที่เข้าทางผลตอบรับจากลูกค้าดีขึ้น ลูกค้าเห็นว่า อ.ภูเรือ ของเรามีไม้ดอกสายพันธุ์ใหม่ เข้ามาเรื่อยๆ ลูกค้าก็ให้ความสนใจมากขึ้น เลยติดต่อผ่านเพจเข้ามาอยากซื้อ อยากเดินทางมาเยี่ยมที่สวน”

มาลัยวิทยสถาน
มาลัยวิทยสถาน
ต้นคริสต์มาส

แม่อ้อน เกษตรกรที่ใช้วัสดุปลอดโรคในการปักชำต้นคริสต์มาส กับโครงการ ฯ เล่าว่า “แต่ก่อนการปักชำต้นคริสต์มาสกิ่งชำมักเน่าตาย แต่ปีนี้เมื่อนำกระบวนการพัฒนาวัสดุเพาะกล้าแบบปลอดโรค กับ โครงการ
มาลัยวิทยสถานมาใช้ทำให้เปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตของต้นกล้ามากขึ้น ทำให้ ต้นทุนการผลิตลดลง มีต้นกล้ามาปลูกเลี้ยง เพื่อส่งจำหน่ายมากขึ้น นอกจากนี้ ต้นกล้ายังเจริญเติบโตดี และ แข็งแรง ช่วยสร้างรายได้ให้กับกลุ่ม และ ชุมชนมากขึ้น สิ่งเหล่านี้นับว่าเป็นผลสำเร็จที่ได้จากการเข้าร่วมงานโครงการ มาลัยวิทยสถานเป็นอย่างยิ่ง”

มาลัยวิทยสถาน
ดร.อนันต์ กับเครือข่ายนานาชาติเยี่ยมชมแปลงเกษตรในโครงการ มาลัยวิทยสถาน

นอกจากที่ได้ส่งเสริมความรู้ และ เทคนิคต่างๆ ให้กับเกษตรกร ทางโครงการฯ เห็นว่า ในธุรกิจไม้ดอกไม้ประดับนั้น มีการนำเข้าส่งออกปัจจัยการผลิตกับต่างประเทศอยู่เป็นประจำ ทั้งวัสดุ อุปกรณ์ แม่พันธุ์จากต่างประเทศ ทำให้ มีความตั้งใจที่จะสร้างเครือข่ายนานาชาติ เพื่อเป็นประโยชน์แก่เกษตรกร ดังนั้น จึงได้มีการจัดอบรมในการพัฒนาไม้ดอกไม้ประดับ กับ เครือข่ายนานาชาติ โดยมีหัวข้อในการบรรยายที่น่าสนใจทั้งจาก ประเทศเนเธอแลนด์ และ ญี่ปุ่น เช่น ภาพรวมไม้ดอกไม้ประดับในประเทศเนเธอร์แลนด์ , แนวทางการพัฒนาไม้ดอกไม้ประดับในเมืองไทย, ธุรกิจไม้ดอกไม้ประดับในตลาดโลก และ การรักษาคุณภาพไม้ดอกไม้ประดับหลังการเก็บเกี่ยว

พี่บุญคอง สายคำตั้ง (ขวา) เกษตรกรผู้ปลูกกุหลาบตัดดอก

พี่บุญคอง สายคำตั้ง เกษตรกรผู้เข้าร่วมสัมนา และ เป็นผู้ผลิตกุหลาบตัดดอก ได้รับการส่งเสริมการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ และ น้ำยายืดอายุของดอกกุหลาบ เพื่อให้คงทนต่อการขนส่ง พี่บุญคอง เล่าว่า “จากการทดสอบส่งกุหลาบตัดดอกไปให้ลูกค้า ปรากฏว่า หลังจากที่ลูกค้าได้รับดอกกุหลาบ สามารถอยู่ได้ประมาณ 7 วัน ลูกค้าชื่นชอบเป็นอย่างมาก และ ปีหน้าในเทศกาลวาเลนไทน์ ก็จะส่งดอกกุหลาบตัดสดให้ลูกค้า ซึ่งลูกค้าสามารถเลือกซื้อกุหลาบจากเราได้โดยตรง”

การจัดอบรม โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเชิงพื้นที่ด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัย
และ นวัตกรรมเพื่อกลุ่มไม้ดอกไม้ประดับ และ เครือข่ายนานาชาติ ตามแนวทาง มาลัยวิทยสถาน

การจัดอบรมช่วยให้เกษตรกรมองเห็นภาพรวมของตลาดไม้ดอกไม้ประดับมากขึ้น ได้เรียนรู้เทคนิค และ นวัตกรรมจากประเทศต้นแบบ เพื่อนำมาต่อยอดในการผลิต นอกจากนี้ มีการสร้างเครือข่าย ระหว่างผู้ประกอบการ กับ เกษตรกรกลุ่มไม้ดอกไม้ประดับ จากทั่วประเทศ เพื่อให้เกิดการซื้อขายระหว่างกันโดยตรง

ทั้งนี้ทางโครงการ มาลัยวิทยาสถาน ผลักดัน และ สนับสนุน ให้เกษตรกรปลูกพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับที่ตลาดต้องการ ส่งเสริมความรู้ และ เทคนิคการปลูกพืชให้มีประสิทธิภาพ เพื่อลดการสูญเสียจากโรคศัตรูพืช พัฒนาบรรจุภัณฑ์ และ น้ำยายืดอายุ สามารถจัดส่งถึงผู้บริโภคได้โดยตรง เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้ที่เพิ่มมากขึ้น รวมถึงสร้างเครือข่ายเกษตรกร กับ ผู้ประกอบการ เพื่อสร้างตลาดรองรับผลผลิต พร้อมทั้งพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน

เกษตรกรผู้ที่ปลูกไม้ดอกไม้ประดับ สามารถเข้าร่วมโครงการมาลัยวิทยสถาน เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ สินค้า และ วิธีการ หรือ กลุ่มผู้ประกอบการที่ใช้ไม้ดอกไม้ประดับ ในการตกแต่งภูมิทัศน์ สามารถติดต่อผ่านเบอร์โทร 0-2577-9018 อีเมลล์ [email protected] หรือ เว็บไซต์มาลัยวิทยสถาน

เรื่อง : กิตตินัย อัศวเลิศลักษณ์

ภาพ : อภิรักษ์ สุขสัย

10 ดอกไม้กินได้ เพิ่มสีสันให้กับจานอาหารของคุณ

ใส่ปุ๋ยต้นไม้อย่างไรให้ถูกวิธี ไม้ดอกไม้ประดับ เติบโตงามดีและไม่ทำร้ายดิน