InJoy Snow Hotel Bangkok วิลล่ากลางม่านหมอกหิมะในบรรยากาศทรอปิคัล

แปลงโฉมบ้านหลังเก่าสู่โรงแรมกลางกรุง InJoy Snow Hotel Bangkok นำเสนอความงามแห่งสถาปัตยกรรมร่วมสมัย ที่แฝงตัวหลังม่านหมอกหิมะและธรรมชาติเมืองร้อน เนื่องจากเจ้าของโครงการใช้ชีวิตในกรุงปารีสมายาวนาน และด้วยความหลงใหลในสภาพอากาศ และภูมิประเทศอันสวยงามของฝรั่งเศส เมื่อมีโอกาสสร้างสรรค์โปรเจ็คต์โรงแรมแห่งใหม่ InJoy Snow Hotel Bangkok จึงตั้งใจถ่ายทอดแรงบันดาลใจของทิวทัศน์ท่ามกลางหิมะของฝรั่งเศส ผสานกับองค์ประกอบของธรรมชาติเขตร้อน ภายใต้แนวคิดการบูรณะสถาปัตยกรรมอย่างยั่งยืน งานออกแบบนำเสนอแนวคิดที่แตกต่างเฉพาะตัวของ “หิมะ” ในบริบทไทย เพื่อเชื่อมต่องานสถาปัตยกรรม และภูมิทัศน์โดยรอบเข้าด้วยกัน รวมถึงตอบรับกับลักษณะสภาพภูมิอากาศของที่ตั้งโครงการ เพื่อสร้างพื้นที่สำหรับการพักผ่อนอย่างแท้จริง แยกตัวจากความหนาแน่นจอแจของเมืองใหญ่ จากภายนอก แผงอะลูมิเนียมเจาะรูพับที่สลับลดหลั่นต่อเนื่องกันไปมาได้รับการออกแบบให้เป็นเหมือนรั้ว ที่แบ่งกั้นความวุ่นวายของบริบทภายนอกออกจากพื้นที่ภายใน ขณะเดียวกันช่องเปิดที่เกิดจากการเจาะรูจำนวนมากบนแผงอะลูมิเนียมก็ได้สร้างภาพความงามอันเลือนลางของสถาปัตยกรรมคล้ายกับแฝงตัวอยู่ท่ามกลางหมอกยามเช้า คลื่นแผงอะลูมิเนียมที่พับบิดไปมาหลายร้อยชุดนั้น นอกจากจะมีขนาดสัดส่วนเชื่อมโยงกับผู้คนที่สัญจรไปมาบนท้องถนนของกรุงเทพฯ แล้ว ยังช่วยกรองแสงแดด และเปิดรับลมธรรมชาติ เพื่อให้บรรยากาศภายในอาคารสดชื่น และโปร่งสบายตลอดวันด้วย จากแผงอะลูมิเนียมภายนอก เชื่อมต่อสู่พื้นที่ภายในผ่านการพลิ้วไหวของม่านเส้นด้ายสีขาวบริเวณโถงทางเข้า สร้างการรับรู้ให้นึกถึงหิมะที่โปรยปราย ช่วยสร้างประสบการณ์ให้กับสเปซ เส้นด้ายกว่าพันเส้นยังเชื่อมต่อสเปซแนวตั้งของชั้นบนและชั้นล่าง และในขณะเดียวกันก็แบ่งกั้นพื้นที่ต่างๆ ในแนวราบด้วย แต่ละห้องพักมีการใช้สิ่งทอเป็นองค์ประกอบในรูปแบบ และความหนาแน่นที่แตกต่างกันไป เพื่อให้เปิดรับปริมาณของแสงธรรมชาติได้พอดีกับการใช้งานในพื้นที่นั้นๆ และเพื่อให้ตอบรับกับแนวคิดของ “ห้องพักตามฤดูกาล” จึงเน้นการใช้สิ่งทอแทนผนังเพื่อแบ่งกั้นพื้นที่สำหรับกิจกรรมต่าง ๆ และพื้นที่ที่มีการสัญจร ช่วยให้สามารถจัดวางห้องพักได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งยังสามารถปรับเปลี่ยนให้เปิด-ปิดได้ตามสภาพอากาศในแต่ละฤดูกาล นอกจากนี้ […]

LIVIST RESORT PHETCHABUN พักผ่อนกลางประติมากรรมคอนกรีตสุดท้าทาย

ทันทีที่ภาพสระว่ายน้ำที่ล้อมรอบไปด้วยคอนกรีตรูปทรงพีระมิดกลับหัวของโครงการ Livist Resort Phetchabun ถูกโพสต์ลงในสื่อออนไลน์ ก็กลายเป็นกระแสในวงกว้างทันที ด้วยรูปทรงสะดุดตาของสถาปัตยกรรมดิบกระด้างที่โดดเด่นท่ามกลางธรรมชาติ ที่นี่ได้รับการออกแบบภายใต้ความตั้งใจที่จะสร้างประสบการณ์ใหม่ในการพักผ่อน พร้อมท้าทายความรู้สึกและทดลองกับพฤติกรรมของผู้ใช้งาน DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: POAR Livist Resort Phetchabun  รีสอร์ตขนาด 76 ห้อง ออกแบบโดย POAR ตัวโครงการตั้งอยู่ห่างจากสถานที่ท่องเที่ยวชื่อดังอย่างเขาค้อเพียง 30 นาที โดยคำว่า Livist (ลิวิสต์) นั้น มาจากชื่อ Livistona Speciosa ซึ่งเป็นชื่อวิทยาศาสตร์ของต้นค้อ ที่ทางสถาปนิกตั้งใจเลือกชื่อนี้เพื่อต้องการสื่อถึงการนำบริบทมาถ่ายทอดเป็นงานออกแบบที่ผ่านการตีความอย่างตรงไปตรงมาจากทิวเขาค้อที่โอบล้อมพื้นที่แบบ 270 องศา โดยถอดเส้นสายจากระนาบแนวนอนมาผสานกับลักษณะพื้นที่ตั้งโครงการที่เป็นพื้นที่ราบเชิงเขา ตัวอาคารจึงมีลักษณะเป็นแนวยาวทอดตัวล้อไปกับแนวเขา โดยมีความยาวถึง 99 เมตร นำเสนอความต่อเนื่องของเส้นสายจากธรรมชาติมาสู่งานสถาปัตยกรรม ด้วยทำเลที่ตั้งจึงทำให้ทางโรงแรมตั้งใจจะเป็นศูนย์กลางการพักผ่อนไปพร้อมกับการสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวเขาค้อที่มีมากกว่าแค่การมาดูทะเลหมอกยามเช้า ด้วยการสร้างสระน้ำกลางแจ้งไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของคอร์ตยาร์ดโรงแรม เพื่อให้แขกสามารถใช้ว่ายน้ำได้หลังจากกลับมาจากการดูทะเลหมอก สถาปนิกจึงเลือกใช้วงกลมที่ได้แรงบันดาลใจมาจากจานมาเป็นรูปทรงของสระ และไล่ระดับความลึกไปยังกลางสระเช่นเดียวกับจานโดยไม่มีสเต็ป โดยมีพีระมิดกลับหัว ที่สร้างจากการหล่อคอนกรีตในที่วางตำแหน่งไว้อยู่กลางสระ และด้วยระดับความลึกที่ค่อยๆ ลดลงทำให้ผู้ใช้สระสามารถสัมผัสกับระดับความสูงของพีระมิดที่ค่อยๆ เปลี่ยนไป จากที่เมื่ออยู่ขอบสระว่ายน้ำ พีระมิดจะมีความสูงราว 3 เมตร […]

10 โรงแรมน่าพัก สำหรับนักเดินทางผู้มี “ดีไซน์” เป็นหมุดหมายของการท่องเที่ยว

room ฉบับล่าสุดมาพร้อมสกู๊ปพิเศษที่รวบรวม 10 โรงแรมจากทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งโดดเด่นในการออกแบบด้วยการดึงปัจจัยด้าน ทำเลที่ตั้งมาใช้ในการสร้างความพิเศษ

THE 7th ROOM – ห้องพักลอยฟ้า กลางป่าสน

THE 7th ROOM ห้องพักลอยฟ้า ท่ามกลางป่าสนหรือโรงแรมบนต้นไม้บริเวณตอนเหนือของสวีเดนหลังนี้ เป็นผลงานสุดเท่จากสตูดิโอออกแบบ Snøhetta

SALA AYUTTHAYA สะท้อนบริบทของกรุงเก่าผ่านก้อนอิฐ

สถาปัตยกรรมโมเดิร์นอิงบริบท ที่นำอิฐรวมถึงสีขาวตามสีของพระปรางค์วัดพุทไธศวรรย์ท่ี่ต้ังอยู่ตรงข้ามอีกฟากฝั่งของแม่น้ําเจ้าพระยามาเป็นตัวแปรหลักในการออกแบบ