โรคระบบประสาทในสัตว์เลี้ยง ที่พบได้บ่อย

ความเจ็บป่วยในสัตว์เลี้ยงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้เช่นเดียวกับความเจ็บป่วยของมนุษย์ แตกต่างกันตรงที่ สัตว์เลี้ยงไม่สามารถสื่อสารกับมนุษย์ได้โดยตรง โดยสัตวแพทย์ และคุณพ่อคุณแม่ต้องใช้วิธีการสังเกตอาการ เพื่อทำความเข้าใจกับปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้น ซึ่งบางโรคก็ต้องพิจารณาอาการอื่นๆ ร่วมด้วย โดยเฉพาะ โรคระบบประสาทในสัตว์เลี้ยง เมื่อสัตว์เลี้ยงที่เจ็บป่วยเข้ามารักษากับสัตวแพทย์ การวินิจฉัยเบื้องต้นที่สัตวแพทย์มักใช้เป็นข้อบ่งชี้ว่าเป็น โรคระบบประสาทในสัตว์เลี้ยง หรือไม่ คือการพิจารณาอาการที่ผิดปกติ ร่วมกับระยะเวลาที่เกิดความผิดปกติ โดยอาการที่ร่างกายมักแสดงออกส่วนใหญ่จะเกิดความปกติของท่าทาง หรือการเคลื่อนไหว  หลังจากพบความผิดปกติของการเคลื่อนไหว หรือท่าทาง สัตวแพทย์จะวินิจฉัยโรคในลำดับต่อไป เพื่อหาสาเหตุของความผิดปกติที่เกิดขึ้น ด้วยวิธีการตรวจทางระบบประสาท เพื่อกำหนดตำแหน่งของจุดที่ผิดปกติ แล้วเลือกวิธีการรักษา หรือวินิจฉัยเพิ่มเติม และประเมินโรคที่อาจเกิดขึ้นต่อไป โรคระบบประสาทที่พบได้บ่อยในสัตว์เลี้ยง 1. ลมชัก หรือการชักในสัตว์เลี้ยง  โรคลมชักในสัตว์เลี้ยง เป็นโรคระบบประสาทที่พบได้บ่อย และไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไร อาการชักสามารถเกิดขึ้นได้เฉพาะจุด เช่น กล้ามเนื้อใบหน้ากระตุก กระพริบตาเป็นจังหวะ หัวสั่น และกล้ามเนื้อขากระตุก ไปจนถึงระดับความรุนแรงที่อันตราย อย่างการชักเกร็งทั้งตัว และหมดสติ โดยสาเหตุการเกิดโรคลมชักในสัตว์เลี้ยงเป็นไปได้ทั้ง  – กรรมพันธุ์  ที่ผ่านมา สัตวแพทย์พบว่า กรรมพันธุ์เป็นสาเหตุประมาณร้อยละ 60 ของการเกิดโรคลมชักในสัตว์เลี้ยง ซึ่งสัตว์เลี้ยงที่มีกรรมพันธุ์โรคลมชักจะแสดงอาการในช่วงอายุ 6 เดือน – […]

โรคลมชักในสุนัขและแมว (epilepsy)

โรคลมชักในสุนัขและแมว หรือ epilepsy เป็นโรคที่เกิดจากการที่มีคลื่นไฟฟ้าในสมองผิดปกติ หรืออาจเรียกได้ว่าเกิดไฟฟ้ารั่วในสมอง ทำให้เกิดอาการชัก (seizure) ให้เห็น โดยสามารถพบได้ทั้งในสุนัขและแมว ซึ่งอาการ หรือ โรคลมชักในสุนัขและแมว อาจจะพบเห็นได้หลายแบบ ได้แก่ พบเพียงครั้งเดียวแล้วหายไป (isolated seizure) เกิดการชักซ้ำภายใน 24 ชั่วโมง (cluster seizure) หรือเกิดการชักต่อเนื่องไม่หยุด (status epilepticus) ซึ่งการชักต่อเนื่องไม่หยุดนี้ ถือเป็นภาวะฉุกเฉินต้องรีบแก้ไขและรีบพาสัตว์เลี้ยงไปพบสัตวแพทย์โดยด่วน จุดกำเนิดของไฟฟ้ารั่วหรือจุดลมชัก เรียกว่า seizure focus ชนิดของอาการโรคลมชัก 1. การชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัว (Generalized epilepsy) เป็นการชักที่เกิดขึ้นจากการที่มีการกระจายตัวของกระแสไฟฟ้าที่รั่วไปทั่วทั้งสมอง ทำให้สุนัขแสดงอาการแบบชักเกร็งกระตุกทั้งตัว อาจพบอาการเหยียดเกร็งแหงนคอ (รูปที่ 1) ร่วมกับอาการตะกรุยขาทั้ง 4 ข้าง อาจพบอาการน้ำลายไหล ปัสสาวะหรืออุจจาระราด รวมทั้งสามารถพบอาการร้องครางขณะชักร่วมด้วย บางครั้งจะพบอาการกัดลิ้นได้บ้างเช่นเดียวกับการชักในคน พบอาการได้ตั้งแต่เพียงแค่ไม่กี่วินาทีจนถึงหลายนาทีได้ การชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัวจะพบการสูญเสียระดับความรู้สึกตัวร่วมด้วย บางครั้งสุนัขหรือแมวสามารถพบอาการก่อนจะมีอาการชักได้ เช่น เดินวน กระวนกระวาย ร้อง […]