วิธีจัดเก็บ เครื่องมืองานช่าง ให้ใช้ง่าย ประหยัดพื้นที่

40 วิธีจัดเก็บ เครื่องมืองานช่าง และอุปกรณ์งานคราฟต์ให้เรียบร้อย และใช้งานเวิร์ค สำหรับ 5 งานคราฟต์ ได้แก่ งานไม้ งานเครื่องหนัง งานผ้า งานทำขนม-อาหาร และงานศิลปะ งานไม้ การทำงานไม้มีการใช้ เครื่องมืองานช่าง และอุปกรณ์ทั้ง Hand Tools และ Power Tools ใช้พื้นที่ทำงานและเก็บอุปกรณ์ค่อนข้างมาก ขึ้นอยู่กับชิ้นงานที่ทำ มีเสียงดัง เกิดฝุ่นและมีเศษเหลือใช้เยอะ จึงควรเป็นมุมทำงานที่แยกจากส่วนพักอาศัยอย่างชัดเจน ไม่อับชื้น และระบายอากาศได้ดี การจัดเก็บเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ดีจะช่วยให้หาง่าย ทำงานสะดวก และไม่รก โดยเฉพาะอุปกรณ์ชิ้นเล็กที่มักปนกัน ที่เก็บเศษไม้สั้น-ไม้ยาว เศษไม้ที่เหลือมักมีขนาดเล็ก ใหญ่ สั้น ยาว คละกัน หากเก็บไม้รวมกันจะยากต่อการนำมาใช้งานต่อ สามารถใช้ท่อพีวีซีขนาด 4 นิ้ว ตัดให้มีขนาดสั้นยาว ต่อกันเป็นทรงก้นหอยแล้วยึดด้วยสกรู ก็ใช้เก็บเศษไม้แยกตามความยาวได้สะดวกยิ่งขึ้น แถบแม่เหล็กสารพัดประโยชน์ แถบแม่เหล็กที่นิยมใช้ติดมีดในครัวก็นำมาใช้ติดอุปกรณ์ที่มีโลหะเป็นส่วนประกอบได้อย่างเป็นระเบียบ จัดเรียงดีๆก็ดูสวยงามได้ ช่องเก็บอุปกรณ์ นำท่อพีวีซีมาตัดเอียง 45 องศา ให้มีความยาวตามสิ่งของที่จะใส่ […]

แก้กรรไกรหลวม ตัดไม่เข้า ด้วยวิธีง่ายๆ

แก้กรรไกรหลวม เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้กรรไกรของเราตัดอะไรก็ไม่เข้า ไม่ขาด อย่าพึ่งโยนทิ้งแล้วซื้อใหม่ เรามีวิธีแก้ปัญหาแบบง่ายๆ ใช้เวลาไม่นาน มาฝากกัน กรรไกรหลวม ลักษณะช่องว่างระหว่างคมกรรไกร วิธีที่ 1 | ใช้มือดัดเพื่อคืนรูปกรรไกร เมื่อเราใช้กรรไกรตัดสิ่งของต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกระดาษ โลหะ หรือพลาสติกที่มีความหนามากเกินไป อาจทำให้เกิดร่องหรือช่องว่างระหว่างคมกรรไกรขึ้นได้ (คมกรรไกรประกบกันไม่สนิท) ถ้ากรรไกรมีขนาดเล็กถึงปานกลาง เราสามารถใช้มือดัดเพื่อคืนรูปให้กรรไกรได้ โดยค่อยๆออกแรงดัดเหล็กหรือสเตนเลสที่โก่งงอทีละนิดๆ เพื่อให้โลหะชิดกันมากขึ้น จากนั้นนำไปทดสอบตัดกระดาษ หรือเศษผ้าเพื่อดูผลงานกัน กรรไกรที่ผ่านการแก้ไขแล้วทำให้คมกรรไกรประกบกันได้สนิทมากขึ้น Before ผลงานก่อนการแก้ไข After ผลงานหลังการแก้ไข วิธีที่ 2 | ใช้ค้อนตีหมุดยึดกรรไกร กรณีหมุดยึดกรรไกรเริ่มหลวมหรือโยกคลอน ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างคมกรรไกร ให้หาไม้หรือโลหะมารองตัวกรรไกรเพื่อลดแรงกระแทก จากนั้นใช้ค้อนตีที่หมุดยึด 1-2 ครั้ง (ทุบเบาๆ ไม่ต้องออกแรงแบบเอาเป็นเอาตาย) แล้วนำกรรไกรมาลองขยับเข้าออก เพื่อเช็กว่ากรรไกรกลับมาใช้งานได้ดีแล้วหรือยัง ถ้ากรรไกรเริ่มแน่น เราจะได้ยินเสียงโลหะเบียดหรือเสียดสีกัน แต่ถ้ายังหลวมอยู่ก็ใช้ค้อนตีย้ำไปที่หมุดยึดอีกครั้ง แต่ระวังอย่าให้พลาดไปโดนตัวกรรไกร อาจทำให้กรรไกรเสียหายได้ วิธีที่ 3 | ใช้ประแจขันนอตยึดกรรไกร กรรไกรตัดแต่งกิ่ง เมื่อเราใช้งานต่อเนื่องนานๆ […]

วิธีใส่ใบเลื่อย และการเลือกใช้ใบเลื่อยตัดเหล็กที่ถูกต้อง

ใส่ใบเลื่อยกันผิดอยู่หรือเปล่า? เวลาเลื่อยจึงกินแรง มาดูวิธีเปลี่ยนใบเลื่อยเหล็กที่ถูกต้อง ไม่ทำให้ใบเลื่อยเสียหายง่าย สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงการเลือกใช้ใบเลื่อยให้ถูกประเภท ก็จะช่วยให้ทำงานได้เรียบร้อยและเบาแรง วิธีเปลี่ยนใบเลื่อยตัดเหล็ก 1.ถอดใบเลื่อยตัดเหล็กที่แตกหัก บิดงอ หรือเสียหายออกจากโครงเลื่อยเดิม แล้วนำ ใบเลื่อย ที่ต้องเปลี่ยนใหม่มาใส่แทน โดยสังเกตเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์คล้ายๆ ลูกศรบอกทาง ซึ่งพิมพ์อยู่บนใบเลื่อยนั่นเอง ถ้ามีลูกศรกำกับอยู่ก็ให้ใส่ใบเลื่อยไปตามทิศทางนั้นๆได้เลย 2.กรณีที่ใบเลื่อยตัดเหล็กไม่มีสัญลักษณ์ลูกศรบอกทาง ให้พิจารณาจากคมฟันของใบเลื่อยแทนได้ โดยให้ฟันเลื่อยชี้ไปด้านหน้า 3.ปรับตั้งระยะโครงเลื่อยให้พอดีกับขนาดความยาวของ ใบเลื่อย ตัดเหล็ก จากนั้นประกอบใบเลื่อยเข้ากับโครงเลื่อยให้เรียบร้อย 4.จากนั้นขันสกรูหรือนอตหางปลาเพื่อปรับความตึงใบเลื่อยตัดเหล็ก โดยขันให้ตึงพอประมาณ (บิดแค่ตึงมือก็หยุดได้) แล้วให้สังเกตใบเลื่อยว่าอยู่ในแนวหรือตำแหน่งเดียวกับโครงเลื่อยหรือไม่ โดยใบเลื่อยต้องไม่บิดไปด้านใดด้านหนึ่ง เพราะเป็นสาเหตุทำให้ใบเลื่อยหัก หรือเลื่อยไม่ตรงแนวได้ เทคนิคการเลือกใบเลื่อยตัดเหล็กให้เหมาะกับงาน ปกติแล้วโครง เลื่อย มือตัดเหล็กหรือตัดวัสดุอื่นๆที่ใช้กันทั่วไปนั้น จะมีขนาดความยาวมาตรฐานอยู่ที่ 12 นิ้ว ส่วนหน้ากว้างใบเลื่อยที่ใช้คือ 1/2 นิ้ว โดยสามารถแบ่งตามชนิดของวัสดุที่นำมาใช้ทำใบเลื่อยได้ดังนี้ 1.ใบเลื่อยคาร์บอนสตีล (Carbon Steel) มีราคาถูก ผลิตจากเหล็กมาตรฐาน นำมาชุบแข็งเพื่อเพิ่มความทนทาน แต่มีความยืดหยุ่นน้อย จึงเปราะและแตกหักง่าย รวมถึงฟันเลื่อยก็สึกง่าย เหมาะสำหรับมือใหม่ที่ใช้ตัดชิ้นงานเป็นครั้งคราว เช่น ท่อพีวีซี […]

รู้จักเลือกใช้ ดอกสว่านเจาะปูน เจาะไม้ เจาะเหล็ก และอีกมากมาย

ดอกสว่านเจาะปูน เจาะไม้ เจาะเหล็ก และอีกมากมายสำหรับสว่านไฟฟ้าที่เราอยากเอามาแนะนำให้คุณผู้อ่านได้รู้จัก เพราะไม่ใช่แค่งานเจาะ แต่งานแกะ กัด ขัด แต่ง คว้าน สว่านไฟฟ้าก็สามารถทำได้แค่เลือกดอกสว่านให้เหมาะสมเท่านั้นเอง ดอกสว่านเจาะปูน อ่าน : เครื่องมือ(ช่าง)สามัญประจำบ้าน ดอกเจาะโลหะ ใช้สำหรับ : งานเจาะโลหะ แต่สามารถใช้กับงานเจาะไม้ได้ด้วย ดอกเจาะปูน ใช้สำหรับ : งานเจาะคอนกรีต เจาะวัสดุก่อ ปูน ฯลฯ โดยใช้ร่วมกับสว่านแบบเจาะกระแทก ดอกเจาะไม้ ใช้สำหรับ : งานเจาะไม้ ดอกสว่านมีความคมจึงสามารถเจาะไม้ได้ดีกว่าดอกเจาะโลหะ ดอกใบพาย ใช้สำหรับ : เจาะรูขนาดใหญ่บนวัสดุไม้ ข้อดีคือแกนจับของดอกยังเล็กพอที่จะใช้กับสว่านไฟฟ้าโดยทั่วไปได้โดยง่าย ดอกเจาะเลื่อย ใช้สำหรับ : ใช้เจาะวัสดุไม้ และยังสามารถเลื่อยไปทางด้านข้างได้อีกด้วย เหมาะกับงานตัด กัด และเซาะร่องไม้ ดอกเจียร ใช้สำหรับ : เจียร ขัด กัด และตกแต่งชิ้นงาน สามารถใช้ได้กับวัสดุเกือบทุกประเภททั้งไม้ ปูน […]

รวมฮิต 8 แบบบันไดงานช่างที่ควรมีติดบ้าน

บันไดงานช่าง เป็นเครื่องมืออีกชิ้นหนึ่งที่ควรมีติดบ้านไว้ เพราะสามารถช่วยให้เราทำงานได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการทำงานในที่สูงๆ ใครกำลังคิดจะซื้อบันได ไปดูบันไดงานช่างยอดฮิต 8 แบบที่เราแนะนำกัน บันไดเก้าอี้ คุณสมบัติ : บันไดงานช่าง แบบง่ายๆ ที่ทำจากพลาสติกใช้หยิบ หรือเก็บสิ่งของในที่ที่สูงไม่มากนัก เพราะมีความสูงเพียง 40.5 เซนติเมตร อาจใช้หยิบเครื่องปรุงจากตู้ครัว เครื่องมือช่างจากห้องเก็บของ หรือเป็นเก้าอี้นั่งพักเหนื่อยก็ยังได้รับน้ำหนักได้ : 120 กิโลกรัมราคา : 259 บาท บันไดอเนกประสงค์ คุณสมบัติ : ทำจากอะลูมิเนียม สามารถปรับระดับความสูงได้ตั้งแต่ 2.40 – 4.80 เมตร โดยเปลี่ยนฟังก์ชันได้หลายรูปแบบ อาทิ ทำเป็นบันไดพาด-ข้ามสิ่งกีดขวางเพื่อตัดแต่งกิ่งไม้ ใช้แทนนั่งร้านยาวสำหรับงานทาสี หรือจะนำแผ่นไม้มาวางพาดเพื่อทำเป็นโต๊ะทำงานก็ยังได้ แต่เนื่องจากมีน้ำหนักมาก จึงเหมาะกับมืออาชีพมากกว่านำมาใช้ในบ้าน หรือที่พักอาศัยทั่วไป นอกจากนี้เวลากางบันไดออก ยังใช้พื้นที่มาก จึงไม่เหมาะกับพื้นที่เเคบ ๆรับน้ำหนักได้ : 120 กิโลกรัมราคา : 3,800 บาท บันไดอะลูมิเนียม […]