AKANEE ตีความวิธีทำอาหารจากเตาไฟ สู่ร้านอาหารไทยโบราณสี่ภาค

Akanee ร้านอาหารไทยโบราณ แรงบันดาลใจจากเตาไฟ ตั้งอยู่ภายในโครงการ Earth Ekamai โดยมีเชฟเป่าเป้ – เจสสิก้า หวัง และเชฟเอียน – พงษ์ธวัช เฉลิมกิตติชัย มาช่วยกันสร้างสรรค์เมนูอาหารจากสูตรตำรับดั้งเดิม เพื่อนำพาผู้คนยุคนี้ให้ได้สัมผัสกับรสชาติอาหารที่ไม่คุ้นเคย หรือหารับประทานยาก อิ่มอร่อยในบรรยากาศแบบ Casual Dining

DESIGNER DIRECTORY
ออกแบบ: Tastespace.co

จากชื่อ Akanee (อัคนี หรือไฟ) เป็นการตั้งชื่อร้านและสื่อสารอย่างตรงมาตรงไป เพราะไฟถือเป็นสิ่งสำคัญของการประกอบอาหาร จุดกำเนิดเมนูต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการปิ้ง ย่าง ผัด ทอด ต้ม นึ่ง ฯลฯ ที่ล้วนแต่ต้องใช้ไฟทั้งสิ้น ดังนั้นเพื่อเป็นการนำมาสู่การตีความในแง่ของการออกแบบ ทีมผู้ออกแบบจาก Tastespace.co จึงหยิบประเด็นของการใช้เตาไฟหรือ “เตาอั้งโล่” ที่ต้องควบคุมไฟโดยใช้พัดโบกเตาเครื่องจักสานไม้ไผ่ทรงสี่เหลี่ยมเพื่อใช้เร่งไฟ จากองค์ความรู้ดังกล่าว จึงถูกเลือกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์และแรงบันดาลใจในการออกแบบตกแต่งร้าน

AKANEE ตีความวิธีทำอาหารจากเตาไฟ สู่ร้านอาหารไทยโบราณสี่ภาค
ไฮไลต์อยู่ที่ครัวหัวใจหลักของร้าน ด้วยการผลักโซนย่างให้มาอยู่ข้างหน้าเพื่อให้โชว์ให้คนเห็น
AKANEE ตีความวิธีทำอาหารจากเตาไฟ สู่ร้านอาหารไทยโบราณสี่ภาค
โถงดับเบิ้ลสเปซนี้ อ้างอิงมาจากบ้านไทยสมัยก่อนที่มักทำใต้ถุนสูง
ชั้นล่างจึงจัดสรรพื้นที่ให้เป็นที่นั่ง ซึ่งมีทั้งเฟอร์นิเจอร์หวายแบบลอยตัวที่เคลื่อนย้ายปรับเปลี่ยนได้ และชุดโซฟาสีส้มถอดรายละเอียดมาจากหมอนอิงสามเหลี่ยม

ดังนั้นเพื่อเน้นสื่อสารถึงความเป็นครัวไทย และบอกเล่าถึงเมนูเด่นของร้านที่เน้นการย่าง โดยคุณฮิม-กิจธเนศ ขจรรัตนเดช จึงได้ทำการรีเสิร์ชข้อมูลต่าง ๆ หลังจากทราบความพิเศษของอาหารที่เชฟทั้งสองท่านตั้งใจรังสรร ก่อนตกตะกอนจนกลายเป็นร้านที่มีบรรยากาศหรูหรา แต่มีความแคชวลสบาย ๆ อยู่ในที โดยยังคงสื่อสารถึงความเป็นไทยภายใต้รูปแบบที่ถูกลดทอนให้เรียบง่าย สะดวก และเหมาะสมกับการใช้งาน

AKANEE ตีความวิธีทำอาหารจากเตาไฟ สู่ร้านอาหารไทยโบราณสี่ภาค
AKANEE ตีความวิธีทำอาหารจากเตาไฟ สู่ร้านอาหารไทยโบราณสี่ภาค
AKANEE ตีความวิธีทำอาหารจากเตาไฟ สู่ร้านอาหารไทยโบราณสี่ภาค

ท่ามกลางสวนสีเขียวของโครงการ ก่อนเข้าร้านทุกคนจะต้องสะดุดตากับโลโก้กราฟิกขนาดใหญ่ที่ดูคล้ายเปลวไฟ รับกับผนังด้านหลังที่ติดตั้งอาร์ตวอลล์ผลงานหนังสานโดย ease-studio ที่ออกแบบให้มีลวดลายคล้ายละอองไฟกำลังลอยพลิ้วขึ้นไป เมื่อเปิดประตูเข้ามาภายใน พื้นที่ร้านดูโปร่งโล่งด้วยโถงดับเบิ้ลสเปซที่มองขึ้นไปเห็นแชนเดอเลียร์รูปพัดโบกเตาขนาดยักษ์ที่สั่งทำพิเศษ โดยโถงดับเบิ้ลสเปซนี้ อ้างอิงมาจากบ้านไทยสมัยก่อนที่มักทำใต้ถุนสูง ดังนั้นชั้นล่างจึงจัดสรรพื้นที่ให้เป็นที่นั่ง ซึ่งมีทั้งเฟอร์นิเจอร์หวายแบบลอยตัวที่เคลื่อนย้ายปรับเปลี่ยนได้ และชุดโซฟาสีส้มถอดรายละเอียดมาจากหมอนอิงสามเหลี่ยม ขณะที่พื้นเลียนแบบลายสานทำจากกระเบื้องนำมาปูให้มีแพตเทิร์ตและสีสันตัดกัน

AKANEE ตีความวิธีทำอาหารจากเตาไฟ สู่ร้านอาหารไทยโบราณสี่ภาค
AKANEE ตีความวิธีทำอาหารจากเตาไฟ สู่ร้านอาหารไทยโบราณสี่ภาค
พื้นเลียนแบบลายสานทำจากกระเบื้องนำมาปูให้มีแพตเทิร์ตและสีสันตัดกัน
AKANEE ตีความวิธีทำอาหารจากเตาไฟ สู่ร้านอาหารไทยโบราณสี่ภาค
โซนที่นั่งลักษณะคล้ายตัวแอล (L) สามารถมองลงมายังห้องครัวด้านล่างได้
ชั้นลอยนี้วางแปลนคล้ายรูปตัวยู (U) โอบล้อมโถงดับเบิ้ลสเปซไว้ ตำแหน่งเหนือห้องครัวบนชั้นลอยใช้เป็นห้องเก็บของ

เมื่อเข้ามาจะสังเกตเห็นว่า ตำแหน่งครัวถูกกำหนดให้อยู่ทางด้านขวามือ เนื่องจากลักษณะของอาคารมีโครงสร้างเหมือนโรงนา จึงทำให้หลังคาของโครงการด้านขวาลาดต่ำกว่าด้านซ้าย ด้านซ้ายที่มีหลังคาสูงกว่าจึงจัดให้เป็นโซนที่นั่งทั้งหมด แล้วมีบันไดไม้ลามิเนตหลบอยู่ด้านหลังอย่างแนบเนียนและประหยัดพื้นที่ เพื่อนำทางสู่ชั้นลอยที่คล้ายกับชานบ้านเรือนไทยล้อมด้วยระเบียงไม้ตกแต่งโคมไฟหัวเสาซ่อนไฟไว้ด้านในให้มีแสงเรืองรองออกมา ชั้นลอยนี้วางแปลนคล้ายรูปตัวยู (U) โอบล้อมโถงดับเบิ้ลสเปซไว้ ตำแหน่งเหนือห้องครัวบนชั้นลอยใช้เป็นห้องเก็บของ พื้นที่ที่เหลือจึงกลายเป็นโซนที่นั่งลักษณะคล้ายตัวแอล (L) สามารถมองลงมายังห้องครัวด้านล่างได้ โดยจะเห็นว่าหน้าเตานั้นมีการย่างอยู่ตลอด และจะเห็นเชฟนำอาหารออกเสิร์ฟได้จากตรงนั้นเช่นกัน

AKANEE ตีความวิธีทำอาหารจากเตาไฟ สู่ร้านอาหารไทยโบราณสี่ภาค
แชนเดอเลียร์ “พัดโบกเตา” สัญลักษณ์ในการตกแต่งและออกแบบร้าน
AKANEE ตีความวิธีทำอาหารจากเตาไฟ สู่ร้านอาหารไทยโบราณสี่ภาค
โซนบาร์เครื่องดื่มเสริมช่วยสร้างมูฟเม้นต์จากสต๊าฟและบาร์เทนเดอร์
AKANEE ตีความวิธีทำอาหารจากเตาไฟ สู่ร้านอาหารไทยโบราณสี่ภาค

ไฮไลต์จึงอยู่ที่ครัวหัวใจหลักของร้าน ผู้ออกแบบตั้งใจให้ลูกค้าสามารถมองเห็นกรรมวิธีการใช้เตาย่างของเชฟได้ชัดเจน ด้วยการผลักโซนย่างให้มาอยู่ข้างหน้าเพื่อให้โชว์ให้คนเห็น ขณะที่พื้นที่ทำงานอื่น ๆ ผู้ออกแบบได้วางแปลนกำหนดโซนการทำงานร่วมกับเชฟเพื่อกำหนดโซนนิ่งที่เชฟและพนักงานในร้านทำงานสะดวก สะอาด และเรียบร้อย นอกจากไฮไลต์อย่างครัวที่ตั้งใจโชว์บรรยากาศการทำงานของเชฟแล้ว ยังมีโซนบาร์เครื่องดื่มเสริมช่วยสร้างมูฟเม้นต์จากสต๊าฟและบาร์เทนเดอร์ เพื่อให้รู้สึกถึงความที่เป็นแคชวลมากขึ้น แต่ไม่ให้เด่นเกินไปกว่าโซนครัว ผู้ออกแบบจึงเลือกใช้กระจกฝ้าลอนโค้งหลบมุมลึกเข้าไป

เมนูพริกแกงปลาย่าง ส่งตรงปลาทะเลตามฤดูกาลมาจากจังหวัดภูเก็ต
ไส้กรอกปลาแนม เป็นอาหารไทยสมัยรัชกาลที่ 2 เมนูหารับประทานยาก ใช้เนื้อปลาช่อน ข้าวคั่ว หนังหมูนำมาคลุกเคล้าให้เข้ากัน โรยด้วยผิวส้มซ่าและน้ำส้มซ่า เสิร์ฟคู่กับไส้กรอกหมูแบบโบราณ
แกงหัวหงอก เมนูที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ในส่วนผสมของพริกแกงนั้นไม่มีพริกและกะปิเป็นส่วนประกอบ โดยในแกงจะใส่เนื้อหมูแดดเดียวและหน่อไม้ดอง

ส่วนเมนูและความพิเศษ แน่นอนว่าการันตีความอร่อยโดยเชฟทั้งสองท่าน ที่ทั้งคู่ตั้งใจรังสรรสูตรอาหารซึ่งมีแรงบันดาลใจมาจากอาหารไทยโบราณ 4 ภาค เน้นกลิ่นหอมจากการย่างบนเตาถ่าน ที่ส่งตรงวัตถุดิบมาจากท้องถิ่นต่าง ๆ อาทิ เมนู “พริกแกงปลาย่าง” ส่งตรงปลาทะเลตามฤดูกาลมาจากจังหวัดภูเก็ต “ไส้กรอกปลาแนม” อาหารไทยมีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2 “แกงหัวหงอก” เมนูอาหารโบราณมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา

ขนมเปียกปูน ท็อปปิ้งจัดเต็ม มีทั้งฝอยทอง วุ้นมะพร้าว ลูกชิด เสิร์ฟพร้อมน้ำกะทิอบควันเทียนหอม ๆ
น้ำมะนาวอัญชันรสเปรี้ยวชื่นใจ

ส่วนเมนูของหวานแนะนำ “ขนมเปียกปูน” ที่แตกต่างจากขนมเปียกปูนทั่วไป กับหน้าตาการจัดจาน และท็อปปิ้งจัดเต็ม เสิร์ฟพร้อมน้ำกะทิควันเทียนหอมฟุ้ง อ่านมาถึงตรงนี้ใครอยากไปชิมอาหารไทยหารับประทานยาก หaneeรือแทบไม่เคยได้ยินชื่อมาก่อน ร้าน Akanee จะทำให้เมนูดั้งเดิมเหล่านั้นหวนคืนกลับมาสร้างความประทับใจ ผสานกับบรรยากาศของงานดีไซน์สไตล์ Thai Modern รับรองว่าความอร่อยจะยิ่งทวีคูณกว่ามื้อไหน ๆ แน่นอน

ที่ตั้ง
Akanee
109-110 โครงการ Earth Ekamai ถนนเอกมัย แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ
พิกัด https://goo.gl/maps/etU9Fu8ebud5HTDz7
เปิด ทุกวัน 11.00-22.00 น.
โทร. 06-5048-7788

เจ้าของ : เชฟเป่าเป้ – เจสสิก้า หวัง และเชฟเอียน – พงษ์ธวัช เฉลิมกิตติชัย
ออกแบบ : Tastespace.co

เรื่อง : Phattaraphon
ภาพ : อนุพงษ์ ฉายสุขเกษม และธวัชชัย ทิพย์โยธา