FIP แมว คือ โรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบในแมว

FIP แมว คือ โรคติดต่อในแมวชนิดหนึ่ง ย่อมาจาก Feline infectious peritonitis หรือเรียกว่า โรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบ FIP แมว หรือโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบ รู้ไว้และป้องกัน เพื่อให้น้องแมวที่รักของเราห่างไกลจากโรคติดต่อ วันนี้ คุณหมอได้อธิบายเกี่ยวกับโรคนี้ไว้อย่างไร มาติดตามกันเลยค่ะ โรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบเกิดจาก “การติดเชื้อในกลุ่มโคโรนาไวรัส” ที่กลายพันธุ์มาจากเชื้อ Feline enteric coronavirus (FCov) และก่อให้เกิดโรคติดเชื้อรุนแรงในแมว โดยทั่วไป เชื้อไวรัสเยื่อบุช่องท้องมักติดเชื้อในแมว ที่ระบบภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรง เช่น แมวอายุน้อยกว่า 2 ปี และแมวที่มีอายุมาก แมวที่รวมกันเป็นกลุ่มอย่างแน่น และแมวที่เกิดความเครียดเรื้อรัง นอกจานี้ โรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบยังสามารถพบได้ในแมว ที่ป่วยด้วยโรคภูมิคุ้มกันยกพร่อง เช่น โรคลิวคีเมีย และโรคเอดส์แมว เป็นต้น โดยโรคติดต่อชนิดนี้สามารถพบได้ในแมวทุกเพศ และทุกสายพันธุ์ การติดเชื้อโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบในแมว เชื้อ FCoV ที่ยังไม่ได้กลายพันธุ์และไม่ได้อยู่ในขั้นก่อโรครุนแรง สามารถติดต่อแมวตัวอื่นได้ง่าย โดยแพร่ผ่านการสัมผัสทางร่างกายระหว่างแมว หรือการสัมผัสอุจจาระของแมวที่เป็นพาหะ จากการใช้กระบะทรายร่วมกัน หรือการติดเชื้อไวรัสผ่านวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกัน อย่างไรก็ตาม […]

โรคลิวคีเมียในแมว รู้วิธีดูแลก่อน ป้องกันได้

โรคลิวคีเมียในแมว หรือโรคมะเร็งโลหิตขาว เป็นหนึ่งในโรคแมวที่สามารถพบได้ในแมวทั่วโลก และแมวทุกตัวก็มีความเสี่ยงที่จะติดโรคนี้ได้ทุกช่วงวัย ดังนั้น การดูแลที่ดีจากคุณพ่อคุณแม่แมวตั้งแต่แรก จะช่วยลดโอกาสเกิดโรคที่รุนแรงได้ โรคลิวคีเมียในแมว เกิดจากเชื้อไวรัส feline leukemia virus เป็นโรคติดต่อที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะแมวที่เลี้ยงในระบบเปิด เนื่องจากแมวในระบบเปิดมีโอกาสสัมผัสกับแมวตัวอื่นๆ ตลอดเวลา เช่น การสัมผัสน้ำลายจากการเลียขนให้กัน การกินอาหารร่วมกัน หรือการสัมผัสปัสสาวะของแมวที่ติดเชื้ออย่างไม่ตั้งใจ เป็นต้น นอกจากนี้ โรคลิวคีเมียในแมวยังสามารถแพร่ผ่านจากแม่แมวสู่ลูกแมวใรระหว่างการตั้งท้อง หรือระยะให้นมได้เช่นกัน เมื่อแมวติดเชื้อไวรัสลิวตีเมียจะส่งผลให้เกิดความผิดปกในร่างกาย โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มอาการ ได้แก่ กดภูมิคุ้มกันในร่างกาย ทำให้เกิดการติดเชื้อแทรกซ้อนได้ง่าย มีภาวะเลือดจาง เม็ดเลือดขาวต่ำ ซึ่งแมวแต่ละตัวจะมีความรุนแรงของการกดภูมิที่แตกต่างกันไป การเกิดมะเร็งเม็ดโลหิตขาวตามอวัยวะน้ำเหลืองต่างๆ อาการของ โรคลิวคีเมียในแมว แมวที่ติดเชื้อไวรัสลิวคีเมียจะแสดงอาการที่ผิดปกติแตกต่างกันขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น อายุของแมว ชนิดย่อยของไวรัส และจำนวนของไวรัสที่ติดเข้าสู่ร่างกาย เป็นต้น โดยอายุของแมวยิ่งน้อยอาการยิ่งรุนแรง สำหรับแมวที่โตเต็มวัย บางกรณีได้รับเชื้อเข้าไปในร่างกายแล้ว แต่เชื้อยังไม่แสดงอาการ และเชื้อจะแฝงตัวอยู่ในร่างกายตลอดไป อาการที่มักจะแสดงออกเมื่อแมวติดเชื้อลิวคีเมีย ประกอบด้วย ซึม มีไข้ เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลง ร่างกายผอม […]