โรคกล้ามเนื้อหัวใจชนิดห้องหัวใจขยายใหญ่ (dilated cardiomyopathy : DCM)

โรคกล้ามเนื้อหัวใจชนิดห้องหัวใจขยายใหญ่ หรือ dilated cardiomyopathy (DCM) เป็นโรคที่เกี่ยวกับกล้ามเนื้อหัวใจที่พบได้มากที่สุดในสุนัข และถือเป็นโรคหัวใจอันดับที่สองที่พบได้มากรองจากโรคลิ้นหัวใจเสื่อม หรือ degenerative mitral valve disease (DMVD) โรคกล้ามเนื้อหัวใจชนิดห้องหัวใจขยายใหญ่ เป็นโรคที่พบได้มากในสุนัขพันธุ์ใหญ่ เช่น บ๊อกเซอร์ โดเบอร์แมน เกรทเดน และอาจพบได้บ้างในสุนัขพันธุ์ขนาดกลาง เช่น ค๊อกเกอร์ สเเปเนียล โดยโรคนี้จะพบได้มากในสุนัขอายุมาก สาเหตุของการเกิดโรค อาจเกิดจากความผิดปกติของยีน ซึ่งส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติโดยตรง หรืออาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ โน้มนำ เช่น ภาวะหัวใจเต้นเร็วที่เกิดขึ้นต่อเนื่องเป็นเวลานาน ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจากการติดเชื้อไวรัส หรือโปรโตซัว ความเป็นพิษจากยาบางชนิดที่มีผลต่อกล้ามเนื้อหัวใจโดยตรง เช่น ยาดอกโซรูบิซิน ซึ่งเป็นยาที่ใช้ในการรักษามะเร็ง หรืออาจเกิดจากภาวะพร่องฮอร์โมนบางชนิด เช่น ภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ นอกจากนั้นอาจเกิดจากการขาดโปรตีนบางชนิด เช่น ทอรีน หรือ แอล คาร์นิทีน ซึ่งเป็นโปรตีนที่มีความสำคัญต่อการทำงานของหัวใจ การขาดโปรตีนดังกล่าวอาจเกิดจากชนิดของอาหารที่กิน ที่อาจส่งผลต่อเมตาบอริซึมหรือการสร้างโปรตีน เมื่อระดับโปรตีน โดยเฉพาะ ทอรีน และ แอล […]

โรคกระเพาะอาหารขยายและบิดหมุน (Gastric Dilatation and Volvulus : GDV)

Gastric Dilatation and Volvulus (GDV) หรือ โรคกระเพาะอาหารขยายและบิดหมุน จัดเป็นภาวะที่อันตรายถึงชีวิตต้องได้รับการรักษาในทันที โดยมักจะเกิดขึ้น ประมาณ 2 – 3 ชั่วโมง หลังจากการกินอาหารเข้าไปเป็นปริมาณมากใน 1 มื้อ โรคกระเพาะอาหารขยายและบิดหมุน คือ การที่กระเพาะอาหาร (Stomach) มีการขยายตัวคล้ายลูกโป่ง หรือเรียกว่า “Bloat” หรือ  Gastric Dilatation จากการมีปริมาณแก๊ส น้ำ และอาหารที่สัตว์กินสะสมอยู่มากกว่าปกติ และถ้าเกิดการบิดหมุนของกระเพาะอาหารที่มีอาหารและแก๊สขึ้น จะก่อให้เกิด โรคกระเพาะอาหารขยายและบิดหมุน (GDV)  ซึ่งสามารถเกิดอันตรายถึงชีวิตได้ การปฐมพยาบาลเบื้องต้น คือการระบายแก๊สออกจากกระเพาะอาหาร ซึ่งจะมีขั้นตอนกระบวนการนำแก๊สออกจากกระเพราะอาหารได้หลายวิธี เพราะในขณะที่กระเพาะอาหารเริ่มมีการพองขยายใหญ่ แรงดันในกระเพาะอาหารจะเริ่มสูงขึ้น และเมื่อกระเพาะอาหารมีการขยายตัวมากขึ้นและบิดหมุนไปมาภายในช่องท้อง เรียกว่า “Volvulus” โดยการบิดหมุนของกระเพาะอาหารบางส่วนจะมีทิศทางตามเข็มนาฬิกา ซึ่งสามารถเกิดการบิดตัวของกระเพาะอาหารได้ตั้งแต่ 180-360 องศา การบิดส่วนใหญ่จะเป็นแบบ 180 องศาตามเข็มนาฬิกา การขยายตัวและบิดทำให้ไปกดเส้นเลือดหลักที่เดินทางเข้าสู่หัวใจ ทำให้เกิดปัญหาตามมา ได้แก่ เลือดบริเวณช่องท้องไหลกลับเข้าสู่หัวใจน้อยลง การไหลเวียนของเลือดบริเวณช่องท้องลดลง […]