เทคนิคทำผิวสนิมให้สวยทน โชว์เสน่ห์อินดัสเทรียลลอฟต์

การโชว์ให้เห็นสภาพจริงของผิววัสดุ เป็นนิยามความดิบที่มีเสน่ห์ของสไตล์อินดัสเทรียลลอฟต์มักเลือกใช้ โดยเฉพาะวัสดุอย่าง “เหล็ก” ที่มักเป็นส่วนประกอบหนึ่งของการตกแต่ง เพื่อแสดงถึงความแข็งแกร่ง ดุดัน และความมีตัวตน และจะยิ่งมีเสน่ห์มากขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ เมื่อปรากฏสีส้มสนิมที่สวยงามแปลกตา สำหรับใครที่หลงใหลในเสน่ห์แห่งความไม่สมบูรณ์ของวัสดุ สู่ความงามของเนื้อแท้ งานเหล็กสีสนิมจึงนับเป็นอีกลูกเล่นหนึ่งที่คาเฟ่ หรือร้านอาหารหลาย ๆ แห่งเลือกนำมาใช้ตกแต่งสถานที่ วันนี้ room จึงมี เทคนิคทำผิวสนิม ให้สวยทนทานมาฝากว่ามีขั้นตอน และวิธีการอย่างไร เพื่อคงสภาพสีสันตามอย่างที่ต้องการไว้ให้คงทนยาวนาน เริ่มจากทำการล้างผิววัสดุ แล้วเคลือบด้วยกรดเกลือ (กรดไฮโรคลอริก HCI) ทิ้งไว้ เพื่อให้เกิดปฏิกิริยาการกัดกร่อนระหว่างสารเคมีกับเหล็ก เสร็จแล้วล้างออก วิธีนี้จะทำให้วัสดุเกิดการเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติ เมื่อทิ้งไว้นาน ๆ กลายเป็นสีส้มสนิมที่สวยงามแปลกตา แล้วจึงค่อยทาน้ำยาเคลือบเพื่อหยุดปฏิกิริยาของการเกิดสนิมและคงสภาพสีสันแบบแผ่นเหล็กที่ชอบ หรือหากพื้นผิวเป็นไม้ละ เราก็สามารถตกแต่งสีให้ดูเหมือนสนิมได้เช่นกัน ด้วยการเพ้นต์สีโครเมียม หรือโลหะลงไปบนพื้นผิว จากนั้นใช้แปรงชุบสีเทาและดำปัดไปมาให้เกิดเส้นทีแปรงบาง ๆ สีสันไม่สม่ำเสมอกัน เป็นเสน่ห์ดิบ ๆ ให้พื้นผิวส่วนต่าง ๆ ของบ้านได้ นอกจากสีสนิมเหล็กแล้ว สีสนิมเขียว สนิมทองแดง สีแตกลายงาต่าง ๆ เราก็สามารถใช้สเปรย์พ่นเฉพาะจุดให้เกิดสีสนิมประเภทต่าง ๆ ได้อย่างง่ายดาย […]

THE MEMORY CAFE คาเฟ่อุบลราชธานี ดื่มกาแฟชมวิวน่าจดจำริมโขง

ความทรงจำ : The Memory Cafe คาเฟ่อุบล ที่ตั้งใจให้งานสถาปัตยกรรมเป็นส่วนหนึ่งของความทรงจำ พร้อมกับวิวพานอรามาของโขงเจียม DESIGNER DIRECTORYออกแบบ:  SA-ARD architecture & construction คาเเฟ่อุบล แห่งนี้ มีจุดตั้งต้นมาจากแนวคิดการรีแบรนด์ดิ้ง Memory Café จากร้านกาแฟที่ผู้คนมาเพียงซื้อกาแฟ แล้วออกไปเสพวิวแลนด์สเคปที่รังสรรค์โดยธรรมชาติ ให้ร้านกลายเป็นส่วนหนึ่งของบริบทริมแม่น้ำโขงอย่างกลมกลืน และเป็นจุดหมายใหม่ของการมาเยือนอุบลฯ ออกแบบโดยสถาปนิกจาก SA-ARD architecture & construction ด้วยทำเลและบริบทที่มีศักยภาพสูง อย่างพื้นที่หน้ากว้างของร้านที่เปิดรับวิวพานอรามาริมโขงสวยตราตรึงใจ ประกอบกับทางเจ้าของคาเฟ่ชื่นชอบการถ่ายภาพด้วยกล้องฟิล์ม ทุกองค์ประกอบจึงถูกจัดวางอย่างมีที่มา นำมาต่อยอดเป็นแนวความคิดในการออกแบบตัวอาคารใหค่อย ๆ สร้างประสบการณ์การเข้าถึงให้กับลูกค้า หากมองจากหน้าร้านภายนอกจะเห็นฟาซาดแนวเฉียง ระหว่างช่องว่างกรุด้วยแผ่นพอลิคาร์บอเนตสีขาวขุ่น จงใจไม่เปิดวิวในคราวเดียว เพราะตั้งใจจะเก็บวิวไว้เป็นเซอร์ไพรส์ในสเปซซีนสุดท้าย มีประตูทางเข้าถูกวางตำแหน่งอยู่ตรงกลางของผนัง ทำหน้าที่เสมือนเป็นวิวไฟน์เดอร์ของกล้อง และหากมองตรงไปจะพบกับเคาน์เตอร์ขนาดใหญ่ และวิวของโขงเจียมที่อยู่ด้านหลัง ประหนึ่งเหมือนเรากำลังกดชัตเตอร์ แล้วจะได้ภาพวิวพานอรามา โดยมีสถาปัตยกรรมเป็นกรอบของภาพ เส้นสายจากฟาดซาดเส้นเฉียงได้ถูกดึงต่อมาเป็นฝ้าภายในคาเฟ่ โดยความเฉียงที่เกิดขึ้นนี้ จะเป็นองศาที่เกิดจาก Mirror เช่นเดียวกับหลักการการสะท้อน เวลาถ่ายรูปจากกล้อง เพื่อให้เส้นสายทั้งภายในและภายนอกเกิดความเชื่อมต่อ อีกทั้งยังออกแบบให้ระดับของฝ้ามีความสูงลดหลั่นกัน จากระดับพื้นถึงฝ้าราว […]

ASTON GILBERT คาเฟ่นครศรีฯ เป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติกลางสวนป่ายางพารา

Aston Gilbert คาเฟ่นครศรีฯ กลางสวนยางพารา ในอำเภอพรหมคีรี เกิดขึ้นจากความตั้งใจของคุณแชมป์-ภวัต สุวรรณมาศ เจ้าของร้านที่อยากดึงเอกลักษณ์สภาพแวดล้อมที่ตั้ง ซึ่งอยู่ในสวนยางพารากว่า 30 ไร่ ของครอบครัว ให้มาเป็นส่วนหนึ่งกับอาคารเพื่อให้ลูกค้าได้สัมผัสประสบการณ์การดื่มกาแฟที่แปลกใหม่ พร้อม ๆ กับการได้เฝ้ามองสีสันของธรรมชาติที่เปลี่ยนไปตามฤดูกาล DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: VARC HD+ID สถาปนิกผู้ออกแบบ Aston Gilbert จาก VARC HD+ID เล่าว่า เนื่องจากบริบทรอบ ๆ ของที่ตั้งอยู่กลางสวนยางพารา รอบ ๆ เป็นสวนผลไม้ และชุมชนเล็ก ๆ มีถนนลัดเลาะไปตามภูเขา จึงออกแบบอาคารของคาเฟ่ให้กลมกลืนไปกับธรรมชาติ ไม่ดูแปลกแยกจากบริบทจนเกินไป นำมาสู่รูปแบบสถาปัตยกรรมสไตล์โมเดิร์นแบบถ่อมตน โชว์สัจวัสดุและความงามของธรรมชาติรอบ ๆ ที่ตั้ง ซึ่งไม่ซ้ำกันสักวันอย่างในฤดูฝนสวนยางจะเขียวชอุ่มสดชื่น ต่างจากฤดูร้อนที่จะมองเห็นต้นยางทิ้งใบสีน้ำตาล ลำต้นโอนเอนไปตามแรงลม และแสงแดดที่ลอดผ่านกิ่งก้านลงมายังพื้นดินเบื้องล่าง ภาพเหล่านี้ถูกสะท้อนไปที่ฟาซาดกระจกเงานับ 90,000 ชิ้น ซึ่งช่วยเปลี่ยนมู้ดของอาคารไปตามแต่ละช่วงเวลา และกระจกเงาที่ใช้กรุฟาซาดนี้ ยังนับเป็นงานสุดท้าทายของสถาปนิก เสมือนการทดลองเรียนรู้ไปพร้อมกัน ทั้งเจ้าของร้าน ผู้ออกแบบ และช่างประจำท้องถิ่น […]