ดัชชุน
โรคหมอนรองกระดูก (Intervertebral Disc Disease : IVDD)
ไขสันหลังจัดเป็นอีกหนึ่งอวัยวะที่สำคัญและอ่อนไหวได้ง่ายในร่างกาย หากได้รับความเสียหายเซลล์ประสาทจะไม่สามารถสร้างใหม่ แต่จะถูกทดแทนด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน การบาดเจ็บของไขสันหลังมักจะไม่สามารถกลับมาทำงานปกติแบบเดิมได้ ดังนั้นเพื่อปกป้องไขสันหลัง ไขสันหลังจึงอยู่ภายในบริเวณกระดูกสันหลังที่มีกระดูกรอบข้างปกคลุมในทุกด้าน ยกเว้นบริเวณที่มีรอยต่อของกระดูกสันหลัง บริเวณดังกล่าวเป็นที่อยู่ของหมอนรองกระดูก (Intervertebral Discs) ที่มีลักษณะคล้ายยางนิ่ม ๆ ซึ่งกระดูกสันหลังและหมอนรองกระดูกช่วยให้บริเวณหลังสามารถขยับขึ้นลงได้หรือไปด้านข้างได้ โดยที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายกับไขสันหลัง โรคหมอนรองกระดูก หมอนรองกระดูกประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนด้านนอก เรียกว่า Annulus Fibrosus ทำหน้าที่คล้ายกับเปลือกหอย ซึ่งมีส่วนประกอบของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่เหนียวทำให้สามารถปกป้องและรักษาส่วนด้านในไว้ได้ โดยส่วนด้านใน เรียกว่า Nucleus Pulposus มีลักษณะนุ่มกว่าด้านนอก เนื้อสัมผัสคล้ายกับเยลลี่ หมอนรองกระดูกส่วนปลายทั้งสองข้างมีลักษณะบางเรียว ซึ่งบริเวณดังกล่าวอยู่ด้านใต้ของไขสันหลัง การเกิด โรคหมอนรองกระดูก มักเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของหมอนรองกระดูกส่วนด้านนอก หรือเกิดการฉีกขาดทำให้ส่วนด้านในทะลักออกมา เรียกว่า slipped disc หรือ herniated disc ซึ่งทำให้สัตว์แสดงอาการปวด สูญเสียการทำงานของขาจนทำให้เกิดภาวะอัมพฤกษ์ หรือถึงขั้นเป็นอัมพาตได้ และบางครั้งรุนแรงจนถึงขั้นไม่มีความรู้สึกที่ขาได้ ความผิดปกติของหมอนรองกระดูกสามารถเกิดได้หลายตำแหน่งไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งกระดูกสันหลังส่วนคอ (cervical), ส่วนอกและเอว (thoraco–lumbar region), หรือตำแหน่งเอวต่อก้นกบ (lumbosacral) ลักษณะการกดทับมีอยู่ […]
โรคลิ้นหัวใจเสื่อมในสุนัข (Degenerative Valve Disease)
โรคลิ้นหัวใจเสื่อมในสุนัข (Degenerative Valve Disease) หรือโรคลิ้นหัวใจรั่ว (Valve Regurgitation) เป็นโรคหัวใจที่พบได้มากที่สุดในสุนัข โดยพบได้มากในสุนัขพันธุ์เล็ก เช่น ชิวาวา ชิสุ พุดเดิ้ล ดัชชุน เนื่องจาก โรคลิ้นหัวใจเสื่อมในสุนัข เป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมของลิ้นหัวใจ จึงพบได้มากในสุนัขที่อายุมาก โดยมักพบในสุนัขที่อายุมากกว่า 7 ปี ขึ้นไป ยกเว้นในสุนัขบางพันธุ์ เช่น คาร์วาเลียร์ คิงส์ ชาล์ส สเปเนียล อาจเป็นโรคนี้ได้ตั้งแต่อายุยังไม่มาก โดยอาจพบได้ตั้งแต่อายุ 4-5 ปี อุบัติการณ์การเกิดโรคจะพบในเพศผู้มากกว่าเพศเมีย และตัวผู้มักจะมีความรุนแรงของโรคมากกว่าเพศเมีย ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่แน่ชัด จึงยังไม่มีวิธีป้องกันหรือชะลอการเสื่อมของลิ้น อย่างไรก็ตาม คาดว่าโรคลิ้นหัวใจเสื่อมเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ด้วยเหตุนี้พ่อแม่สุนัขที่เป็นโรคนี้จึงสามารถถ่ายทอดยีนที่ผิดปกติสู่ลูกและอาจส่งผลให้ลูกเป็นโรคนี้เมื่ออายุมากขึ้นได้ ดังนั้นผู้เลี้ยงจึงเป็นส่วนหนึ่งที่สามารถช่วยลดอุบัติการณ์การเกิดโรคนี้ได้โดยการไม่นำสุนัขที่เป็นโรคนี้ไปเป็นพ่อแม่พันธุ์ โรคลิ้นหัวใจเสื่อม มักเกิดรอยโรคที่ลิ้นหัวใจไมทรัล ซึ่งเป็นลิ้นที่กั้นระหว่างหัวใจห้องบนซ้ายและล่างซ้าย ในภาวะปกติลิ้นไมทรัลจะทำหน้าที่ในการกั้นไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับสู่หัวใจห้องบนซ้าย ในขณะที่หัวใจห้องล่างซ้ายบีบตัว เมื่อเกิดการเสื่อมของลิ้นไมทรัล อาจทำให้ลิ้นหนาตัว หรือโป่ง จึงทำให้ปลายลิ้นสบกันไม่สนิท และทำเกิดการรั่วขึ้น เมื่อหัวใจห้องล่างซ้ายบีบตัวเพื่อไล่เลือดออกไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย จึงมีเลือดบางส่วนไหลย้อนกลับไปที่หัวใจห้องบนซ้าย เมื่อความรุนแรงของการเสื่อมเพิ่มมากขึ้น […]
เมื่อสุนัขหรือแมวจมูกแห้ง แปลว่าป่วยจริงหรือไม่?
ผู้เลี้ยงสุนัขและแมวส่วนใหญ่มักจะเคยได้ยินมาว่า ความชื้นหรือแห้งของจมูกนั้น สามารถบอกถึงการเจ็บป่วยของสัตว์เลี้ยงได้ และบางครั้งเวลาที่เราเห็น สุนัข หรือ แมวจมูกแห้ง ผิดปกติ ก็อาจจะรู้สึกกังวลว่า ตอนนี้สัตว์เลี้ยงของเรากำลังป่วยอยู่หรือเปล่า หมาจมูกแห้ง บ้านและสวน Pets คงต้องขอเล่าว่าตามหลักกายวิภาคศาสตร์แล้ว จมูกสุนัขและแมวจะประกอบด้วย รูจมูก (Nares) ขีดแบ่งแยกตรงกลาง (Philtrum) และ พื้นผิวด้านบนปลายจมูกซึ่งเป็นตรงส่วนที่ไม่มีขน (Nasal planum) ซึ่งตรงส่วนที่เรียกว่า Nasal planum นี่ละคือส่วนที่เราสังเกตได้ว่า สุนัข หรือ แมวจมูกแห้ง อยู่หรือไม่ ปกติแล้วหน้าที่หลักของจมูก คือ การดมกลิ่น ซึ่งจมูกสุนัขสามารถรับกลิ่นได้ดีกว่ามนุษย์ถึงพันเท่า ส่วนอีกหน้าที่สำคัญสำหรับจมูกในสุนัขและแมว คือ การระบายความร้อน โดยบริเวณจมูกและฝ่าเท้าของสุนัขและแมวจะมีต่อมเหงื่อ (Eccrine sweat glands) ซึ่งเป็นต่อมเหงื่อที่มีลักษณะเป็นท่อเปิดออกบนพื้นผิวของผิวหนัง ทำให้สามารถขับน้ำออกมาได้ แต่การระบายความร้อนวิธีนี้ไม่ใช่วิธีหลักที่ร่างกายของสุนัขและแมวใช้ เพราะ การระบายความร้อนของสุนัขและแมวจะระบายออกจะใช้วิธีการการหายใจมากกว่า ซึ่งแตกต่างจากมนุษย์ที่มีต่อมเหงื่ออยู่ที่บริเวณผิวหนัง มีงานวิจัยที่ทดลองเทียบคุณสมบัติของเหงื่อมนุษย์และสุนัขแล้วพบว่า เหงื่อของมนุษย์และสุนัขมีความคล้ายคลึงกันอย่างมาก เนื่องจากมีองค์ประกอบของน้ำที่คล้าย ๆ กัน แต่ด้วยปริมาณต่อมเหงื่อของสัตว์ที่น้อยกว่ามนุษย์ ทำให้เราไม่เห็นเม็ดเหงื่อที่ชัดเจนเหมือนในมนุษย์หรืออาจทำให้ดูว่าแห้งได้ […]
ดัชชุน (Dachshund) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย
ประวัติสายพันธุ์ สุนัขพันธุ์ดัชชุน Dachshund ได้รับการพัฒนามาจากสุนัขแบดเจอร์ที่เรียกว่า “ดอกซี่ (Doxie)” มีต้นกำเนิดมาจากประเทศเยอรมนีตั้งแต่ก่อนสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 15 เริ่มแรกสุนัขพันธุ์ดัชชุนเป็นสุนัขสำหรับล่าสัตว์ โดยต้นกำเนิดของสุนัขพันธุ์นี้มาจากสุนัขขนาดใหญ่ (ช่วงน้ำหนัก 10-20ปอนด์) พวกมันล่าทุกอย่างที่อยู่ในป่า ไม่ว่าจะเป็นหมูป่าไปจนถึงกระต่ายขนาดเล็ก แถมยังขึ้นชื่อว่ามีความคล่องแคล่วและล่าสัตว์เก่ง เมื่อพูดถึงสุนัขบรรพบุรุษในประเทศเยอรมนีช่วงคริสต์ศตวรษที่ 18 และ 19 นายพรานหรือกลุ่มที่เลี้ยงสุนัขพันธุ์นี้ ได้พัฒนาประสิทธิภาพของสายพันธุ์ และสร้างธุรกิจการล่าสัตว์จากสุนัขพันธุ์ดัชชุนให้มีความสามารถที่สมบูรณ์เหมาะเเก่การใช้งาน ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ดัชชุนได้รับความนิยมเลี้ยงจากเหล่าราชวงศ์โดยเฉพาะพระราชินีวิกตอเรีย ทำให้นักเพาะพันธุ์มีการพัฒนาสุนัขพันธุ์ดัชชุน (Dachshund) ให้มีความเป็นสัตว์เลี้ยงมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของขนาดให้เหลือเฉลี่ยประมาณ 10 ปอนด์ ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าสุนัขล่าสัตว์ หลังจากมีการพัฒนาสายพันธุ์ได้มีการส่งออกสุนัขไปยังประเทศสหรัฐอมเริกา ก่อนที่สุนัขพันธุ์ดัชชุนจะเป็นที่รู้จักเเละได้รับความนิยมเลี้ยงในปัจจุบัน ลักษณะทางกายภาพ โดยทั่วไปสุนัขพันธุ์ดัชชุนมีลำตัวยาว มีกล้ามเนื้อเยอะ มีขาที่สั้นและอวบอ้วน อุ้งเท้าไม่ใหญ่มากมีรูปร่างคล้ายใบพายไว้ใช้สำหรับการขุดคุ้ย พวกมันมีผิวหนังที่หย่อนมากพอที่จะไม่ฉีกขาดเมื่อผ่านโพรงไม้แคบ ๆ ขณะล่าเหยื่อ ดัชชุนมีช่องอกลึก เพื่อให้มีพื้นที่ในการขยายของปอดมากเพียงพอในขณะวิ่งล่าสัตว์ มีส่วนหน้าของจมูกยาว ร่วมกับมีบริเวณส่วนของจมูกกว้าง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดมกลิ่น พวกมันมีทั้งหมด 3 กลุ่ม แบ่งตามลักษณะของขน คือ ขนสั้น เรียกว่า smooth […]
รวม 8 น้องหมาขาโหลด ที่ไม่โหดแต่น่ารัก
วันนี้ my home จึงได้ยกทับขบวน น้องหมาขาสั้น ที่แม้จะมีรูปร่างไม่สมส่วน แต่ก็แสนจะดุ๊กดิ๊กน่ารักมาแนะนำให้รู้จักกันทีละตัวเลยค่ะ